Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2557
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
28 สิงหาคม 2557
 
All Blogs
 
สารเคมีชีวภาพที่พบในพืชผลไม้ หรือ สารพฤกษเคมี หรือ ไฟโตนิวเทรียนท์


ท่านขุนกะว่าที่แรกจะนำเรื่องย่อๆสั้นๆมาลงที่ไหนได้เนื้อหาสำคัญๆและมีประโยชน์ เลยตัดไม่ลงฮ่าๆ คุยก่อนเข้าเรื่อง วันนี้ได้ซื้อแตงโมมาทาน  ใบโตเนื้อกรอบหวานอร่อย นึกในใจว่านี้เป็นแตงโมที่ดีที่สุดในรอบปี ก็ทำให้คิดถึงเรื่องหนึ่งได้ว่า เมื่อปีก่อน นักวิทยาศาสตร์ ออกมาพูดว่า ทานแตงโมแล้วดีทำให้มีพลัง ก็เลยเข้าค้นหาดูในเนท บอกว่านอกจากทานแล้วทำให้สุขภาพแข็งแรง ก็ยังมี สารประกอบพฤกษเคมีพบในแตงโมประกอบด้วย ไลโคปีน เบต้า แคโรทีน และดาวเด่นที่สุดคือ ซิทรูไลน์ (citruline) เป็นกรดอัลฟ่า อะมิโน คำว่า ซิทรูไลน์มาจากภาษาละตินว่า ซิทรูลัส (citrulus) แปลว่า แตงโม สารดังกล่าวถูกสกัดได้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2473 นักวิจัยพยายามไขความลับของสารซิทรูไลน์จนพบว่า สารเคมีชนิดนี้ช่วยขยายเส้นเลือด คล้ายกับการทำงานของยารักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ


เนื้อหา บทนำ ....สารพฤกษเคมี หรือ ไฟโตนิวเทรียนท์ ที่มีในพืชผักผลไม้

สารพฤกษเคมี หรือ ไฟโตนิวเทรียนท์ ( Phytochemical หรือ Phytonutrients) หมายถึง สารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่พบเฉพาะในพืช สารกลุ่มนี้อาจเป็นสารที่ทำให้พืชผักชนิดนั้นๆ มีสี กลิ่นหรือรสชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว สารพฤกษเคมีเหล่านี้หลายชนิดมีฤทธิ์ต่อต้านหรือป้องกันโรคบางชนิดและโรคสำคัญที่มักจะกล่าวกันว่าสารกลุ่มนี้ช่วยป้องกันได้คือ “ โรคมะเร็ง ” กลไกการทำงานของสารพฤกษเคมีเมื่อเข้าสู่ร่างกายอาจเป็นไปโดยการช่วยให้เอ็นไซม์บางกลุ่มทำงานได้ดีขึ้น เอ็นไซม์บางชนิดทำหน้าที่ทำลายสารก่อมะเร็งที่เข้าสู่ร่างกาย มีผลทำให้สารก่อมะเร็งหมดฤทธิ์ ซึ่งปัจจุบันพบสารพฤกษเคมีแล้วมากกว่า 15,000 ชนิด



ผักและผลไม้รวมเข้มข้น คือ สารสกัดเข้มข้นที่ได้จากผักและผลไม้ชนิดต่างๆ ซึ่งให้สารอาหารและสารพฤกษเคมีที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย นอกจากนั้น ผักและผลไม้ยังเป็นแหล่งที่ดีที่สุดสำหรับสารต้านอนุมูลอิสระ คนไทยส่วนมากรับประทานผักและผลไม้ได้ไม่เพียงพอในแต่ละวัน จึงอาจจะมีสารต้านอนุมูลอิสระในระดับต่ำ การบริโภคผักและผลไม้ในปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน จะช่วยให้ประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระเพียงพอในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้


นักวิทยาศาสตร์พบว่าสารพฤกษเคมีสร้างประโยชน์ด้วยกลไกการออกฤทธิ์ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้

  •     ต้านออกซิเดชั่น ทำลายฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ
  •     ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับดีเอ็นเอ เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้สารพฤกษเคมีลดการเกิดโรคมะเร็งได้
  •     เพิ่มภูมิต้านทานโรค
  •     ควบคุมการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน

งานวิจัยจำนวนมากแนะนำว่าการผสมผสานของสารต้านอนุมูลอิสระที่พบในผักและผลไม้ชนิดต่างๆ หลากชนิดจะให้คุณภาพการต้านอนุมูลอิสระที่ดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากแหล่งอาหารเพียงแหล่งเดียว

งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เกี่ยวกับสารพฤกษเคมีจากผักและผลไม้รวมเข้มข้นที่น่าสนใจ

  • ประเภทของสารพฤกษเคมี

    >แคโรทีนอยด์ (Carotenoids)
   > กลูโคไซโนเลท (Glucosinolate) / ไอโซโธโอไซยาเนท (Isothiocynate)
   > โพลีฟินอล (Polyphenols) : ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) , แอนโธไซยานินส์ (Anthocyanins) , ไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoids) , โพรแอนโธไซยานิน (Proanthocyanidins)
   > ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogens)
    >เฟนโนลิก (Phenolics) / สารประกอบซีสติก (Cystic Compound)
    >ซาโปนินส์ (Saponins)
   > ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol)
   > ซัลไฟด์ (Sulfide) และไธออล (Thiols)


เควอซิทิน (Quercetin)

เควอซิทินกับบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคหลอดเลือดและหัวใจ เควอซิทินเป็นสารพฤกษเคมีที่อยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์ เป็นสารที่ให้ฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชั่นสูงที่สุด มีมากในหัวหอม หอมแดง และพืชตระกูลถั่ว ให้ฤทธิ์ในการป้องกันการอักเสบ ป้องกันแบคทีเรีย และไวรัส ช่วยป้องกันอาการแพ้ ป้องกันการแข็งตัวของเลือด ป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นในหลอดเลือด และป้องกันหลอดเลือดเลี้ยงสมองอุดตันได้ การรับประทานผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยเควอซิทินในปริมาณสูงมีส่วนสัมพันธ์กับการทำงานของหัวใจที่ดี จากการศึกษาจำนวนมากพบว่า เควอซิทินถือว่าเป็นไฟโตนิวเทรียนท์ที่ปกป้องหลอดเลือด (vasoprotective) และช่วยในการทำงานของหลอดเลือดหัวใจ ช่วยให้ระบบการไหลเวียนและการทำงานหัวใจดีขึ้น


    การได้รับฟลาโวนอลและฟลาโวนในระดับที่สูง ( มากกว่า 30 มิลลิกรัมต่อวัน ) จะช่วยลดความเสี่ยงของ การเกิดโรคลมชักในระยะแรกในผู้ป่วยสูงอายุได้สองในสามส่วน เควอซิทิน คือ ฟลาโวนอยด์ที่สำคัญในอาหารที่ทำการศึกษาในครั้งนี้


    เควอซิทินมีคุณสมบัติในการป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดและปกป้องหลอดเลือด และลดการเป็นพิษต่อเซลล์ไขมันแอลดีแอล (LDL) จากการทดลองในหลอดทดลอง ซึ่งถือว่าเป็นกลไกที่สำคัญที่จะช่วยในการทำงานของหลอดเลือด หัวใจและลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เควอซิทินกับบทบาทสำคัญในการต่อต้านเซลล์มะเร็ง


  เควอซิทินทำให้เกิดการยับยั้งวงจรชีวิตเซลล์ หยุดการขยายตัวของเซลล์ และรวมถึงการทำให้เกิดอะพ็อพโทซิส (apoptosis) หรือการตายของเซลล์ในการเจริญเติบโตของเซลล์เต้านมที่ผิดปกติได้

    เควอซิทินได้รับการพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นตัวนำการตาย ของเซลล์ในเซลล์เนื้องอกลำไส้ รวมทั้งยังช่วยยับยั้งฟอสโฟริลเลชั่น (phosphorylation) ของกลุ่มเซลล์ที่ได้รับสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอก และลดทางการเจริญเติบโตในเซลล์เนื้องอกชนิดนี้


กรดเอลลาจิก (Ellagic Acid)

กรดเอลลาจิกอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการถูกทำลายดีเอ็นเอของเซลล์บางชนิด

    กรดเอลลาจิกช่วยลดการทำลายดีเอ็นเอที่จะทำให้ เกิดโรคเรื้อรังทำให้เกิดภาวะแก่ขึ้น (Ageing) และเป็นโรคมะเร็ง

  กรดเอลลาจิกจะยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์บางชนิด เช่น เอ็น - อะซิติลทรานเฟอเรส ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยน แปลงโครงสร้างดีเอ็นเอในเนื้องอกในกระเพาะ ปัสสาวะของมนุษย์ กรดเอลลาจิกในปริมาณที่มากขึ้นจะยับยั้ง การทำงานของเอ็นไซม์ในขอบเขตที่มากขึ้นได้


    เมื่อเซลล์กลายเป็นมะเร็ง กรดเอลลาจิกอาจจะสามารถหยุดการขยายตัวของเซลล์ กรดเอลลาจิกช่วยยับยั้ง การแบ่งเซลล์ในเซลล์มะเร็งปากมดลูก และยังช่วย ป้องกันการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้


  • เฮสเพอริดิน (Hesperidin)

เฮสเพอริดินช่วยเสริมสร้างสุขภาพหัวใจและเส้นเลือดดำ

  เฮสเพอริดินมีส่วนสำคัญในการพัฒนาสุขภาพของ เส้นเลือดดำ โดยเฉพาะการลดการซึมผ่านและความ อ่อนแอของเส้นเลือดดำ โดยเฉพาะโรคที่สัมพันธ์กับ การเพิ่มการซึมผ่านเส้นเลือด เช่น ริดสีดวงทวาร ลักปิดลักเปิด แผลเน่าเปื่อยพุพอง แผลถลอก


    การขาดเฮสเพอริดินจะเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของ เส้นเลือดฝอย ความอ่อนเพลีย และตะคริวที่ขาในเวลา กลางคืน การเสริมเฮสเพอริดินจะช่วยลดอาการบวมน้ำ หรือการบวมเนื่องจากการสะสมของของเหลว โดยสาร เฮสเพอริดินจะทำงานดีที่สุดเมื่อมีวิตามินซีร่วมด้วย


เฮสเพอริดินที่รวมกับฟลาโวนอยด์จากผลไม้จำพวกส้ม เช่น ไดออสมิน (Diosmin) มีประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงของเส้นเลือดดำขอด ริดสีดวงทวาร ได้โดยการช่วยลดความตึงและความยืดหยุ่นของเส้นเลือดดำ และช่วยลดการซึมผ่านของเส้นเลือดจึงสามารถลดอาการบวมน้ำได้

  • เฮสเพอริดินอาจจะลดระดับพลาสมาคอเลสเตอรอล

    บุคคลที่ดื่มน้ำส้มถึง 3 แก้วต่อวัน จะเพิ่มระดับไขมัน ชนิดดี (HDL) ได้ถึง 21% และลดระดับคอเลสเตอ-รอลและไตรกลีเซอไรด์

>>สารลูทีน (Lutein)

ลูทีนเป็นแคโรทีนอยด์สีเหลืองซึ่งมีส่วนอย่างมากในการต่อต้านสารต้านอนุมูลอิสระ ลูทีนพบได้ทั่วไปในผักใบเขียวและมีส่วนสำคัญในการบำรุงสายตา โมเลกุลของลูทีนพบในปริมาณสูงในจุดของดวงตา โดยเฉพาะพื้นที่ของเรตินาที่เกี่ยวกับการรับภาพ ซึ่งจะช่วยในการดูดซับแสงสีน้ำเงินในแถบสีการมองเห็นและช่วยปกป้องการทำลายของคลื่นสั้นที่มีต่อเยื่อบุผิวเรตินาจากการศึกษา พบว่า ระดับลูทีน 2.0 – 6.9 มิลลิกรัมต่อวัน จะช่วยป้องกันความเสื่อมของจุดด่างในดวงตาได้

>>>สารลูทีนจะช่วยสร้างสารต้านอนุมูลอิสระในการป้องกันเยื่อแก้วตา (retina)

    การรับประทานแคโรทีนอยด์ในปริมาณที่สูงที่สุดจะมี อัตราเสี่ยงต่ำกว่า 43% สำหรับภาวะการเสื่อมของจอประสาทตาตามอายุอย่างเฉียบพลันของจอประสาทตา เมื่อเปรียบเทียบการรับประทานในปริมาณที่ต่ำที่สุด จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 876 คนซึ่งมีอายุ ระหว่าง 55-80 ปี การได้รับลูทีนและซีซานทีน ในอัตราสูงจะช่วยลดความเสี่ยงของจอประสาทตาเสื่อมอย่างเฉียบพลันตามอายุได้

    จากการศึกษาคนไข้จำนวน 421 คน แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ได้รับลูทีนและซีซานทีนในระดับสูงที่สุดจะมีส่วน สำคัญต่อการลดระดับอัตราเสี่ยงของความเสื่อมของ ตาตามอายุได้


  จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า หญิงและชายที่ได้รับ ลูทีนในระดับสูงที่สุดจะเป็นต้อกระจกในอัตราที่ต่ำกว่า ผู้ที่ไม่รับประทานลูทีนจากผักและผลไม้เละสารลูทีนอาจช่วยป้องกันมะเร็งปอด มะเร็งสำไส้ และมะเร็งเต้านม พบว่าการรับประทานสารลูทีน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ในทั้งผู้ชาย ผู้หญิง และการลดอัตราเสี่ยงที่สำคัญที่สุดคือการตรวจพบการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ระยะเริ่มแรก การรับประทานผักที่อุดมไปด้วยแคโรทีนอยด์ ซึ่งประกอบด้วยลูทีนในปริมาณสูงจะมีความสัมพันธ์กับอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านมที่ลดลง โดยเฉพาะสำหรับสตรีที่มีประวัติว่ามีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งเต้านม


>>>ไลโคปีน (Lycopene)

ไลโคปีนช่วยลดอัตราเสี่ยงการเป็นมะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมาก

    ผู้เข้ารับการทดสอบที่รับประทานมะเขือเทศในปริมาณสูงที่สุด 10 ครั้งต่อสัปดาห์ มีอัตราเสี่ยง ในการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากต่ำกว่าเมื่อเปรียบ เทียบกับผู้ที่รับประทานน้อยกว่า 1.5 ครั้งต่อสัปดาห์


    การรับประทานมะเขือเทศในอัตราสูงจะช่วยลดอัตราการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากทุกประเภท ได้ถึง 35% และลดความรุนแรงของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก 53%


    สารสกัดจากมะเขือเทศที่ประกอบด้วยไลโคปีน 30 มิลลิกรัมต่อวัน จะช่วยลดการเจริญเติบโตของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในคนไข้ภายหลังจากการรักษา โรคมาแล้ว 3 สัปดาห์


    ไลโคปีนอาจจะมีส่วนสำคัญในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก โดยจะลดการเกิดเนื้องอกและยับยั้งการพัฒนา วงจรชีวิตของเซลล์ในช่วงต้นของการเกิดเซลล์มะเร็ง (ระยะ G1) ไลโคปีนอาจช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ


    บุคคลที่มีสารสกัดพลาสมาไลโคปีนที่สูงที่สุดจะมี เปอร์เซ็นต์ของการเกิดการหนาตัวของหลอดเลือด IMT (intima-mediated thickness) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ของโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดระยะเริ่มต้นได้ต่ำสุด ถึง 90% ดังนั้น การได้รับไลโคปีนในปริมาณที่สูงอาจช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด


  การรับประทานไลโคปีนสามารถอัตราเสี่ยงของการ เป็นกล้ามเนื้อหัวใจอุดตันต่ำกว่า 60% สำหรับบุคคลที่ มีสารสกัดไลโคปีนสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มีสารสกัดไลโคปีนต่ำสุดไลโคปีนอาจจะลดความรุนแรงของการเผาไหม้ของผิวหนังจากแสงอาทิตย์


  บุคคลที่รับประทานมะเขือเทศบด 40 กรัมต่อวัน ได้รับสารไลโคปีน 16 กรัมต่อวัน จะมีอัตราของอาการ เผาไหม้ของผิวหนังจากแสงอาทิตย์ลดลง 40% หลัง จากรับประทานมะเขือเทศติดต่อกันนาน 10 สัปดาห์


อ้างอิง

    รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน , เอกสารประกอบการบรรยาย "โภชนาการพื้นฐานเพื่อการมีสุขภาพสมบูรณ์สูงสุด" , พ.ศ. 2550

พฤกษเคมี สารสำคัญในพืช แบ่งเป็น7 กลุ่มใหญ่

1. คาร์โบไฮเดรต ย่อย 3 เช่น น้ำตาล อนุพันธ์ โพลีแซคคาไรด์

2.สารในกลุ่มไขมัน lipids wax

3.น้ำมันหอมระเหย 8ย่อย เช่น hydrocarbon volatile oils น้ำมันจากมินต์

4.เรซินและบาลซัม 4 ย่อย เช่น เรซิน โอเลโอซิน โอเลโอกัมเรซิน และ บาลซัม

5.โปรตีน กรดอะมิโน และเอนไซม์ ย่อย 3 โปรตีน กรดอะมิโน และเอนไซม์

6. แอลคาลอยด์ แบ่ง เป็น 4ประเภท

-แบ่งตามกลุ่มของพืช

-แบ่งตามคุณสมบัติทางเภสัชวิทยา

-แบ่งตามสารตั้งต้น 3 ย่อย protoalkaloids truealkaloids pseudoalkaloids

-แบ่งตามสูตรทางเคมี 2 แบบ

-- non-heterocyclic alkaloids 3 ย่อย เช่น ephedrine colchicine mescaline

-- heterocyclic alkaloids 13 ย่อย เช่น

1.pyrrole และ pyrrolidine 2.pyridine piperidine นิโคติน ยาสูบ piperine ในผล +เมล็ดพริกไท 3.pyrrolizidine 4.tropane สารcocaine ใบโคคา 5.quinoline ควินิน ยาไข้มาลาเรีย 6.isoquinoline มอร์ฟีนระงับปวด 7.aporphine ยางผลฝิ่น 8.nor-lupinane 9.indole หรือbenzopyrrole เมล็ดแสลงใจ ยาเบื่อหนู 10.imidazole หรือ glyoxaline 11.purine กระตุ้นประสามส่วนกลาง หายใจ จากใบเลี้ยงต้นอ่อนโคล่า เมล็ดสุกกาแฟ ใบชา 12.steroid 13.terpenoid

7.กลัยโคไซด์ สารกลุ่มใหญ่ในการรักษา ย่อย 11 กลุ่ม

1.cardiac (glycosides / G-) ฤทธิ์ ต่อกล้ามเนื้อหัวใจ2. anthraquinone G- พบมากในพืชตระกูลถั่ว ยาระบาย 3.saponin G- 4. cyanogenetic G- 5. isothiocyanate G- 6. flavonol G- or flavonoids พบเยอะในพืชที่มีสี ป้องกันมะเร็ง7. alcoholic G- 8.phenolicglycosides 9.aldehyde G- 10 lactone G- 11.tannins ยาฝาดสมานแก้ท้องเสีย

thyco ย่อ ย่อย เอกสาร วันดี กฤษณพันธ์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


หมวด วิทยาศาสตร์


Create Date : 28 สิงหาคม 2557
Last Update : 28 สิงหาคม 2557 6:20:44 น. 20 comments
Counter : 2285 Pageviews.

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: puzzle man (เตยจ๋า ) วันที่: 28 สิงหาคม 2557 เวลา:7:10:03 น.  

 
ไฟโตนิวเทรียนท์ แว่วๆว่ามียี่ห้อดังๆ อัดแคปซูลเป็นอาหารเสริมอยู่ แต่เพิ่งอ่านสรรพคุณแบบละเอียดๆ

กลับมาจากอินเดียก็จัดน้ำมะเขือเทศเต็มสูบค่ะ ผิวไหม้เกรียมมาก เชื่อในสรรพคุณว่ามันจะช่วยได้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เศษเสี้ยว Photo Blog ดู Blog
พรไม้หอม Health Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: กาบริเอล วันที่: 28 สิงหาคม 2557 เวลา:20:19:16 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ คุณท่านขุน ^^
เฟสเก่านุ่นเสีย
เอาไว้นุ่นขอแอดเฟสใหม่นะคะ

ขอบคุณมากๆค่า



โดย: lovereason วันที่: 28 สิงหาคม 2557 เวลา:21:30:54 น.  

 
มีประโยชน์มากค่ะ
ขอเซฟ เนื้อหาบล็อกนี้เก็บไว้นะคะ
ขอบคุณที่นำมาฝากค่ะ

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
วนารักษ์ Literature Blog ดู Blog
JewNid Book Blog ดู Blog
ที่เห็นและเป็นมา Art Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog


โดย: ฝากเธอ วันที่: 28 สิงหาคม 2557 เวลา:21:41:02 น.  

 

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
วนารักษ์ Literature Blog ดู Blog
Tristy Food Blog ดู Blog
กาบริเอล Travel Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: pantawan วันที่: 29 สิงหาคม 2557 เวลา:0:04:45 น.  

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog


ส่งกำลังใจให้ท่านขุนด้วยค่ะ


โดย: เวียงแว่นฟ้า วันที่: 29 สิงหาคม 2557 เวลา:19:22:12 น.  

 
ไม่ชอบกินมะเขือเทศเลยอะ ต้องพยายาม

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog


โดย: ALDI วันที่: 29 สิงหาคม 2557 เวลา:23:57:47 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ
แวะมาโหวตให้ท่านขุนนะ


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog




โดย: หอมกร วันที่: 30 สิงหาคม 2557 เวลา:9:58:29 น.  

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog


โดย: เนินน้ำ วันที่: 30 สิงหาคม 2557 เวลา:22:04:19 น.  

 
สวัสดีค่ะท่านขุน
แวะมาเยี่ยมวันหยุดค่ะ


โดย: pantawan วันที่: 30 สิงหาคม 2557 เวลา:22:43:43 น.  

 
อิฉันแวะมาทักทายเจ้าค่ะ

ถ้าว่างแวะไปดูคุณนายเตยนะคะ เธอหายแล้วค่ะ


โดย: ลั่นทมขาว วันที่: 30 สิงหาคม 2557 เวลา:23:40:23 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
สายหมอกและก้อนเมฆ Photo Blog ดู Blog
ปีศาจความฝัน Book Blog ดู Blog
Tui Laksi Travel Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


สวัสดียามค่ำคืนค่ะท่านขุน


โดย: Close To Heaven วันที่: 31 สิงหาคม 2557 เวลา:0:08:44 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต

เตยจ๋า Dharma Blog ดู Blog
กาปอมซ่า Travel Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog

ราตรีสวัสดิ์ค่ะท่านขุนฯ


โดย: Sweet_pills วันที่: 31 สิงหาคม 2557 เวลา:23:45:35 น.  

 
สวัสดีตอนเช้าวันฝนโปรยปรายค่ะท่านขุน
ขอบคุณข้อมูลนะคะ
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: เฉลิมลาภ ทราบแล้วเปลี่ยน วันที่: 1 กันยายน 2557 เวลา:7:40:32 น.  

 


โดย: หอมกร วันที่: 1 กันยายน 2557 เวลา:8:50:36 น.  

 


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กะว่าก๋า Literature Blog ดู Blog
Opey Art Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


หวัดดียามเข้าค่ะพี่ขุน


โดย: mariabamboo วันที่: 1 กันยายน 2557 เวลา:10:10:24 น.  

 
สวัสดีวันจันทร์ที่รีบๆค่ะ อิอิ

ปล.งบหมดแล้วคราวหน้ามาใหม่นะคะ


โดย: ญามี่ วันที่: 1 กันยายน 2557 เวลา:11:18:14 น.  

 
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog


แวะมาเยี่ยมท่านขุนฯ ด้วยความคิดถึง งานแยะไหมคะช่วงนี้


โดย: ดอยสะเก็ด วันที่: 1 กันยายน 2557 เวลา:23:07:39 น.  

 
มาโหวตให้เรื่องราวดีๆค่ะท่านขุน

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Close To Heaven Parenting Blog ดู Blog
toor36 Book Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น




โดย: mambymam วันที่: 2 กันยายน 2557 เวลา:4:49:27 น.  

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เตยจ๋า Dharma Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: ญามี่ วันที่: 2 กันยายน 2557 เวลา:11:24:16 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.