Group Blog
 
<<
มกราคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
3 มกราคม 2555
 
All Blogs
 

หยุดให้เป็น : ตอนที่ 1



1 พอแล้วสำหรับข้อมูลข่าวสาร

ถ้ามีตำรวจจะบุกเข้ามาตอนนี้ อาจจะต้องมีการอธิบายกันหน่อย ผมนั่งอยู่บนสตูลเตี้ยในกระท่อมบ้านนา ที่มองออกไปก็จะเห็นวิวสีเขียวของชนบทอังกฤษ ใส่หมวกว่ายน้ำที่มีรูเล็กๆ เต็มไปหมด หมวกใบนี้มีสิบหกรูพร้อมด้วยสายไฟหลากสีพันกันเป็นโยงใยโผล่ออกมา ที่นี่ไม่มียาเสพติดมาเกี่ยวข้องและไม่มีการทำร้ายสัตว์ แต่ห้องนี้อัดแน่นไปด้วยสิ่งของแปลกๆ รวมทั้งตัวอย่างเนื้อเยื่อที่ใส่กรอบไว้ แบบจำลองเครื่องบินยุคเก่า วัตถุโบราณเป็นรูปสมองคน และโต๊ะตัวหนึ่งที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นสมบัติของนักปราชญ์ ลอร์ดเบอร์ทรันด์ รัสเซล ถัดจากนั้นเป็นหัวลิงอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกตั้งโปรแกรมไว้ให้หัวเราะเอิ๊กอ๊ากทุกครั้งที่คนในห้องส่งเสียง แม้แต่เสียงหัวเราะเบาๆ บรรยากาศยุคโกธิกที่นี่ดูจะไม่เข้ากันเสียเลยกับการลองใช้วิธีไฮเทคเพื่อที่จะกระหน่ำยัดเยียดข้อมูลเพิ่มเติมให้กับสมองที่บรรจุข้อมูลไว้เต็มเอี๊ยดแล้วของเรา


ผมกำลังเป็นแขกของ ดร.เดวิด ลูอิส นักประสาทวิทยาศาสตร์ ที่ใช้เวลาช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมาพัฒนากลไกเพื่อศึกษาว่าสมองของคุณมีกระบวนการตัดสินใจอย่างไร
ตัวเขาเองนั่งอยู่บนเก้าอี้สีดำมีพนักพิงที่มีแผงรีโมตคอนโทรลแลหลอดไฟฝังติดอยู่ เขาเป็นคนชอบสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ โครงการล่าสุดของเขาใช้เทคโนโลยีการตรวจสมองใหม่ล่าสุดในการตีโจทย์ที่ยากและท้าทายขึ้นทุกทีสำหรับนักการตลาดทั้งหลาย นั่นก็คือทำอย่างไรที่จะทิ่มทลายหมอกที่ปกคลุมสมองของเรา ซึ่งเกิดจากการกระตุ้นอย่างไม่หยุดหย่อนของสื่อต่างๆ และจากการส่งสารทะลวงลึกเข้าไปในหัวที่สับสนมากพอแล้วของเราเพื่อจะกระตุ้นให้เราซื้อมากขึ้น



ลูอิสและผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ ในสาขานี้ได้รับเงินค่าจ้างจากบริษัทธุรกิจชั้นนำทั่วโลก
เพื่อที่จะบุกเบิกเทคนิคนี้ที่เรียกว่านิวโรมาร์เก็ตติ้งหรือประสาทวิทยาการตลาด เนื่องมาจากปัญหาที่หนักหน่วงขึ้นทุกทีที่ว่าเรากำลังสำลักข้อมูลข่าวสารที่เราได้รับจนล้น ถึงขนาดที่ว่าสารในโฆษณาที่ออกแบบมาอย่างดีพวกนั้นล้นทะลักออกนอกหัวเราไป พร้อม


กับข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญด้วย ขณะเดียวกันเมื่อย้อนไปในช่วงทศวรรษ 1970 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแถวบ้านผมได้ออกคำสั่งให้สวนน้ำเลิกเลี้ยงปลาโลมา เพราะว่าผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิสัตว์ประท้วงว่า ในสระน้ำที่แออัดยัดเยียดนั้น เสียงโซนาร์ของเหล่าปลาโลมาสะท้อนย้อนกลับมาหาสัตว์ที่น่าสงสารเหล่านี้เอง “ปลาเหล่านี้กำลังจะต้องตาบอดและหูหนวก


ไปกับโลกที่เต็มไปด้วยเสียงอันน่ารำคาญของพวกมันเอง” กลุ่มผู้รณรงค์อธิบาย ตอนนี้เรารู้แล้วว่าปลาโลมารู้สึกอย่างไร ทุกที่ที่คุณหันไปดู ทุกครั้งที่คุณรับฟัง จะมีใครสักคนกำลังพยายามเรียกร้องความสนใจของคุณอยู่ เซลล์สมองของคุณกำลังโดนสื่อการตลาดโจมตีกระหน่ำ โดนโฆษณารุมเร้า และโดนยัดเยียดด้วยการจัดวางสินค้าเพื่อการโฆษณา



เราโดนโฆษณาขายสินค้าโหมกระหน่ำโดยเฉลี่ยแล้ววันละ 3,500 ชิ้น หรือทุกๆ 15 วินาทีในยามตื่น ในปี 2004 บริษัททั่วโลกใช้งบประมาณสองแสนกว่าล้านปอนด์ไปเพื่อการนี้ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จำนวนสปอตโฆษณาโทรทัศน์ในอังกฤษก้าวกระโดดจาก 3,000 ไปเป็น 8,000 ชิ้น และจำนวนช่องโทรทัศน์ทวีคูณจาก 4 ช่องไปเป็น 123 ช่อง ในปี


2006 มีการส่งอีเมลธุรกิจจำนวนหกล้านล้านฉบับ แต่ละวันมีสแปมอีเมลส่งออกไปจำนวนสิบล้านฉบับ และมีการผลิตข้อมูลใหม่อีกนับไม่ถ้วนออกมาในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมาเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวน 5,000 ฉบับในปีก่อนหน้านั้น คิดว่านี่คงเป็นข้อมูลมากพอให้คุณเก็บไปย่อยในตอนนี้อ้อ...และทุกสัปดาห์เราก็ยังมีพอดคาสต์ นิตยสาร แผ่นพับ ช่องเคเบิลทีวี


กับช่องสถานีวิทยุเพิ่มขึ้นไม่หยุด นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์ เอกสาร บล๊อก กับดีวีดีที่แถมดิสก์นำเสนอสิ่งที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน กระทั่งโทนี่แอนด์กายซึ่งเป็นเครือข่ายร้านทำผมก็ยังเริ่มติดตั้งไวร์เลสบรอดแบนด์ในร้านแล้ว ต่อไปนี้คุณไม่อาจนั่งตัดผมโดยไม่ต้องส่งข้อความสั้นๆ ว่า ”ที่รัก ตอนนี้ผมกำลังนั่งอยู่ในแฮร์เน็ต*



บางคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่สุดในสังคมถูกดึงดูดโดยเงินเดือนสูงลิ่วกับเกียรติคุณโก้หรูในการช่วยอุตสาหกรรมโฆษณาและการตลาดยัดเยียดขายสินค้าให้เรา สมัยก่อนคนเหล่านี้อาจเป็นศิลปินหรือนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ แต่เมื่อเวลาผ่านไปข้อมูลเนี้ยบๆ จำนวนมากที่พวกเขาเหล่านี้ผลิตออกมาป้อนเรานั้นทำให้เราต้องทึ่ง ผู้เชี่ยวชาญจากเฮนลีย์เซ็นเตอร์


ซึ่งเป็นบริษัททำนายแนวโน้มเกี่ยวกับสื่อเกรงว่าพวกเราจะหูหนวกไปกับสารการขายของที่เจี๊ยวจ๊าวเหล่านี้ ไม่ถึงหนึ่งในห้าของแคมเปญโฆษณาแบบเดิมๆ ที่ได้ผลอย่างมีนัยสำคัญ อาการข้อมูลท่วมหัวจุดชนวนให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองตามสัญชาตญาณมนุษย์ซึ่งทุกวันนี้รังแต่จะทำให้เลวร้ายลง เพราะเมื่อเรารู้สึกสับสนจากการได้รับข้อมูลมากเกินไป เราจะรู้สึกกดดันให้ยิ่งต้องไปหาข้อมูลเพิ่มเติมอีกเพื่อพยายามทำความเข้าใจกับความสับสนของเรา



การสำรวจชิ้นหนึ่งของเฮนลีย์ระบุว่า เรากำลังกลายเป็นสังคมคนงกข้อมูล เทียบเท่ากับคนบ้าในยุคนิวมีเดียที่อาศัยอยู่ในบ้านที่เต็มไปด้วยหนังสือพิมพ์ จากผลสำรวจผู้ตอบแบบสอบถามกว่าร้อยละ 70 กาช่องที่บอกว่า “ฉันไม่มีทางที่จะได้รับข้อมูลมากเกินไป” แต่กว่าครึ่งก็ตอบด้วยว่า พวกเขาไม่มีเวลาหรือมีแรงมากพอที่จะใช้ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดที่กำไว้ในมืออยู่แล้ว วิธีหนึ่งที่จะพยายามจัดการกับความรู้สึกเอ่อล้นในที่นี้คือ การยิ่งพยายามอัดข้อมูลเข้าไปอีกในกระบวนการหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยการทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ผู้คนส่วนใหญ่ในวัยยี่สิบกว่าๆ ทุกวันนี้ดูโทรทัศน์ไปด้วยออนไลน์ไปด้วย แต่พวกเขารับข้อมูลได้มากแค่ไหนกัน? ผู้ลงโฆษณาในสื่อโทรทัศน์กังวลว่า ความสนใจของคนดูกับการมัดใจคนดูไว้กำลังหลุดลุ่ยไร้ทิศทาง ยิ่งเราได้รับข้อมูลมากเท่าใด เราก็ยิ่งเข้าใจน้อยลงเท่านั้น



สาเหตุหนึ่งที่ผมถ่อสังขารไปถึงกระท่อมของ ดร.ลูอิสก็คือว่า เขาอาจเป็นผู้บุกเบิกที่เน้นปัญหานี้ ย้อนไปเมื่อปี 1996 เขาเป็นผู้นิยามความเจ็บป่วยทางสังคมชนิดใหม่ และให้ชื่อทางการแพทย์กับอาการนี้ว่า“อาการเบื่อหน่ายข้อมูลข่าวสาร” หรือ “information fatigue syndrome”ลูอิสได้ทำการศึกษาในระดับโลกให้กับรอยเตอร์สในกลุ่มนักธุรกิจ 1,300


คน ที่ต้องทำงานภายใต้ภาวะที่คนทุกวันนี้เทียบแล้วถือว่าเป็นกระแสปริมาณข้อมูลข่าวสารอันน้อยนิด สองในสามของกลุ่มที่เขาสัมภาษณ์กล่าวว่า ความเครียดจากการล้นเอ่อของข้อมูลข่าวสารบั่นทอนความสัมพันธ์กับมนุษย์ของพวกเขา ทำให้พวกเขานอนไม่หลับ และไม่มั่นใจในกระบวนการตัดสินใจของตน ผู้ทนทุกข์หลายรายมีปฏิกิริยาตอบสนองด้วยการไขว่คว้าหาข้อมูลเพิ่มขึ้นอีก หวังจะแสวงหาคำตอบให้กับตัวเอง ลูอิสในวัยหกสิบกว่ายังดูเป็นคนตัวเล็กที่กระฉับกระเฉง โทษการปฏิวัติข้อมูลข่าวสารว่าเป็นต้นตอของโรคดังกล่าว โรคที่เขาตั้งชื่อใหม่เสียหรูนั้นสอดคล้องเป็นอย่างดีกับยุคสมัยของเราเสียจนมันได้กลายเป็นเทพนิยายในตัวของมันเองไปแล้ว จากนั้ันหนังสือพิมพ์เดลีเทเลกราฟสัมภาษณ์ “ผู้ป่วยโรค IFS” รายหนึ่งเรื่องที่เธอต้องใช้เวลารักษาโรคนี้ถึงห้าปี ในปีต่อมา เอ็ดเวิร์ด เวลช์ เสนอรายงานในซันเดย์ไทมส์ว่ามีการค้นพบอาการโรคนี้ครั้งแรกในหมู่เจ้าหน้าที่ข่าวกรองของฝ่ายพันธมิตรในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2



การศึกษาในช่วงที่ผ่านมาสนับสนุนการค้นพบของลูอิส นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลอนดอนรายงานถึงผลกระทบของการสื่อสารมากเกินไปว่ามันอาจทำให้เราเพี้ยนได้ยิ่งกว่าพี้กัญชา พวกเขาอ้างว่า ถ้าคุณสูบกัญชาหนึ่งมวน ไอคิวคุณจะหายไปสี่จุด แต่เพียงแค่การไปตกอยู่ในสภาพที่คุณสามารถทั้งส่งข้อความก็ได้ หรืออีเมลก็ได้ จะทำให้ไอคิวในสมองคุณหายไปสิบจุด เท่ากันกับความขุ่นมัวในสมองอันเนื่องมาจากอดนอนหนึ่งคืนเต็ม งานศึกษานี้บอกว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะสมาธิของคุณจะหดหายไปกับความรู้สึกที่ว่าต้องคอยหยุดเพื่อเช็กข้อความใหม่ๆ ในอีเมลอยู่ตลอดเวลา สภาวะที่เราถูกเบี่ยงเบนความสนใจอยู่ตลอดเวลาเช่นนี้หมายความว่า ผลิตภาพของเราสูญเสียไปกับการต้องคอยเช็กข้อความ ที่โดยหลักการแล้วควรจะกระตุ้นให้เราเพิ่มผลิตภาพ ทำนองเดียวกัน ทำให้ชีวิตทางสังคมของเราเน่าไปด้วยการหมกมุ่นกับข้อความที่อาจมีใครส่งมาหาเรา แทนที่จะสนใจคนตัวเป็นๆ ที่อยู่รอบข้าง รายงานชิ้นนี้คิดค้นคำที่กระชับสำหรับนิสัยนี้ว่า “อาการคลั่งข้อมูลข่าวสาร” หรือ “infomania” การจะพิสูจน์ว่าอาการนี้สาหัสขนาดไหน คุณเพียงแค่ไปนั่งในผับที่วุ่นวายสักแห่ง แล้วคอยดูมารยาทอันแสนศิวิไลซ์ในการแสดงความใส่ใจคนที่มาด้วยกันแวบหายไปทุกครั้งที่เสียงโทรศัพท์มือถือดังขึ้นมา เราต่างกลายเป็นพวกคลั่งข้อมูลข่าวสารมากยิ่งขึ้นทุกวัน กระเหี้ยนกระหืออยากรู้ไปเสียทุกอย่างด้วยความหวังว่า สักวันหนึ่งเราจะเจอข้อมูลชิ้นมหัศจรรย์ที่ช่วยไขปริศนาทั้งปวงสำหรับทุกข้อสงสัยของเรา
credit : maitchon




 

Create Date : 03 มกราคม 2555
0 comments
Last Update : 3 มกราคม 2555 18:04:52 น.
Counter : 1240 Pageviews.


Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.