Group Blog
 
<<
มกราคม 2553
 
26 มกราคม 2553
 
All Blogs
 

นักบริหารกับ "เพื่อนร่วมงาน" และ "บ่าวรับใช้"



ผู้บริหารจำนวนมาก ทั้งในภาครัฐและเอกชน จะมีจุดอ่อนในการ "บริหารคน"

ผู้บริหารในภาคเอกชนมักจะเป็นผู้ที่ทำงานในระดับผู้จัดการ หรือผู้อำนวยการฝ่าย
จนถึงประธานกรรมการ ผู้บริหารในภาครัฐ มักจะดูกันที่ตั้งแต่หัวหน้าฝ่าย จนถึงผู้อำนวยการส่วน
ผู้อำนวยการสำนัก รองอธิบดีจนถึงปลัดกระทรวง

ในส่วนรัฐวิสาหกิจ การพิจารณาแบ่งระดับของผู้บริหารก็คงจะดูกัน ตั้งแต่ผู้อำนวยกองขึ้นไป
จนถึงผู้ว่าการหรือผู้อำนวยการ

ความที่เป็นผู้บริหาร จึงมักจะมีอำนาจพิจารณาสั่งการได้ในหลาย ๆ เรื่อง
จะเป็นคนที่ต้องนำนโยบายหรือแผนงานต่าง ๆ ไปปฏิบัติให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่ได้รับมอบหมาย

การจะทำให้งานต่าง ๆ บรรลุผลตามที่กำหนดไว้
จึงต้องอาศัย "คน" เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนระบบงานต่าง ๆ

ผู้บริหารที่มีความเก่ง ความสามารถในการบริหารคน จะมีความสามารถใน "การนำ"
โดยการทำให้ลูกน้องภายใต้การบังคับบัญชาเป็น "เพื่อนร่วมงาน" ที่ดี มีประสิทธิภาพ
ทำงานด้วยกันเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน มุ่งจุดมุ่งหมายเดียวกัน

ผู้บริหารประเภทนี้ จะเป็นที่รัก เคารพ นับถือของผู้ใต้บังคับบัญชา
เพราะเขาจะทำให้ลูกน้องเกิดความรู้สึกว่า "นาย" ของเขา แม้จะเป็นนายตามตำแหน่ง
แต่เป็น "เพื่อนร่วมงาน" ในสำนักงานที่น่าเคารพยกย่องมากกว่าความเป็นนาย

ผู้บริหารที่เก่งด้านการบริหารงาน จะมีวิธีการทำให้ลูกน้องปรับตัว ปรับความรู้สึกเป็นเพื่อนร่วมงาน
ด้วยการประชุม อธิบาย ชี้แจง เป้าหมายของงานที่จะทำร่วมกัน
จากนั้น ให้ลูกน้องทุกคนช่วยกันแสดงความคิดเห็น และหาวิธีการทำงานเพื่อให้งานบรรลุผล

เขายินดีรับฟังข้อเสนอต่าง ๆ น้อมรับคำตำหนิที่สร้างสรรค์
อธิบายถึงเหตุผลและรายละเอียดต่าง ๆ ว่า ทำไมไม่เห็นด้วยกับวิธีการหรือแนวทางที่ลูกน้องนำเสนอ

เขาจะสนใจสภาพความเป็นไป สภาพความเป็นอยู่ อารมณ์ ความรู้สึกของลูกน้องแต่ละคน
และจะพยายามเข้าไปมีส่วนช่วยเหลือภายในขอบเขตที่เขาจะช่วยได้

ขณะเดียวกัน เขาจะติดตามงานต่าง ๆ จากลูกน้อง
หากคนใดทำงานติดขัดหรือทำไม่ได้ เขาจะเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาให้คำแนะนำ

เขาจะกระตุ้นให้ลูกน้องกล้าแสดงความคิดเห็น กล้าเปลี่ยนแปลงวิธีการคิด วิธีการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน อันจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการทำงานที่กำหนดไว้
โดยเขายินดีรับฟังความคิดเห็นหรือวิธีการทำงานที่แตกต่างจากเขา

เขาจะมีวิธีการพูดและติดตามงานในเชิงบวกมากกว่า "การจิก" หรือ "กัดไม่ปล่อย" หรือเพื่อการล้างแค้น
เขาจะไม่ติดตามงานในเชิงดูถูกหรือ "จับผิด"


ส่วนผู้บริหารที่ต้องการลูกน้องประเภท "บ่าวรับใช้"
เขาจะไม่ต้องการให้ลูกน้องคิด หรือทำงานเก่งจนเกินไป เพราะถ้าเก่งจนเกินไปจะปกครองยาก

ผู้บริหารประเภทนี้ ต้องการให้ลูกน้องทำงานในเชิง "ประจบสอพลอ" "ยกยอ ปอปั้น" เป็น "ลูกขุนพลายพยัก"
หรือทำงานตามสั่ง ประเภท "นายว่า ขี้ข้าพลอย"

นายเสนอหรือคิดเรื่องใด โครงการใด ลูกน้องจะพูดแต่ว่า
"เป็นความคิด แผนงาน โครงการที่วิเศษ"
"นายเป็นคนที่ Genius มาก" หรืออะไรก็ได้ที่จะทำให้นายพึงพอใจ

ผู้บริหารมักจะหลงไหล ได้ปลื้ม
และบางคนก็คิดเลยเถิดไปว่า ตนเองเป็น "ผู้วิเศษ" ที่เกิดมา ไม่เคยคิดหรือทำอะไรผิด
(เพราะถึงผิด ลูกน้องก็จะไม่กล้าบอกหรือพูดความจริง)

หากลูกน้องคนใดกล้าแสดงความเห็นคัดค้าน หรือไม่เห็นด้วยกับความคิดหรือวิธีการของตน
ลูกน้องคนนั้นก็จะเป็น "หมาหัวเน่า" ที่นายจะไม่สนใจ
เพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ ก็จะไม่กล้าสุงสิงกับลูกน้องคนนั้น เพราะกลัวจะรับเคราะห์ติดร่างแหไปด้วย

นายประเภทนี้ต้องการให้ลูกน้องทำงานเยี่ยงบ่าว คือให้ลูกน้องทำงานตามสั่ง
เพราะคิดว่าตนเองคือผู้เก่งกล้าที่สุด คิดและทำอะไรถูกทั้งนั้น

หากลูกน้องทนไม่ไหว ลาออก หรือขอย้ายตัวเองไปหน่วยงานอื่น นายก็จะพูดกับคนอื่น ๆ ว่า
ลูกน้องคนนั้นแย่มาก ไม่อดทนในการทำงาน ชอบเถียงและเกี่ยงงาน ทำงานที่ไหนก็ไม่เจริญ
เวลาตามงานจากลูกน้องจะใจร้อน เร่ง "จะจิก" และ "จับผิด" มากกว่าจะเข้าไปรับรู้ปัญหาและช่วยแก้ไข

หากลูกน้อง (ที่ไม่เห็นด้วย) ทำงานไม่ได้ตามกำหนด ก็จะยิ่งถูกซ้ำเติม

ลูกน้องของนายประเภทนี้สมองจะฝ่อ
เพราะไม่อยากคิดริเริ่มอะไร ให้นายสั่งดีกว่า เพราะหากผิดพลาดนายก็รับไป

ในสังคมคนทำงานของไทยปัจจุบัน ทั้งในภาครัฐและเอกชน จะมี "นาย" ประเภท "หลงตนเอง" มากมาย
และต้องการให้ลูกน้องเป็น "บ่าวรับใช้" มากกว่า "เพื่อนร่วมงาน"

อาจจะเป็นเพราะความจริงในเรื่องนี้นี่เอง
ระบบบริหารราชการแผ่นดินไทย และรูปแบบการบริหารธุรกิจเอกชนจึงยังล้าหลังกว่าสิงคโปร์ ญี่ปุ่น
และอาจจะล้าหลังกว่าเวียดนามในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

ผมยกเรื่องนี้มาเพื่อให้ "นายท่านทั้งหลาย"
โดยเฉพาะข้าราชการ ตั้งแต่ระดับรองอธิบดีขึ้นไป
และผู้บริหารในภาคเอกชนตั้งแต่ผู้จัดการขึ้นไปได้ตระหนักว่า
โลกเปลี่ยนไป ความคิดและวิธีการทำงานของคนทำงานก็เปลี่ยนไป
"การบริหารคน" ภายใต้การบังคับบัญชาจึงเป็นเรื่องสำคัญ

ผู้ที่บริหารลูกน้องให้เป็น "เพื่อนร่วมงาน"
จึงเป็นนักบริหารคุณภาพตัวจริงที่จะประสพความสำเร็จในชีวิตการทำงาน


ที่มา : //www.lionjob.com
ภาพจาก : //www.clipartof.com




 

Create Date : 26 มกราคม 2553
1 comments
Last Update : 26 มกราคม 2553 20:20:41 น.
Counter : 1409 Pageviews.

 

ใช่คะ เอาเหตุและผลมาชี้แจงได้ชัดเจนดี
แต่ไม่รู้ว่าเจ้านายทั้งหลายเค้าจะยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นนี้ได้รึเปล่าหนะสิ

 

โดย: หนุงหนิงคะ (samakrut_008 ) 27 เมษายน 2553 15:34:09 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.