Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2552
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
3 สิงหาคม 2552
 
All Blogs
 
สร้างศักยภาพการแข่งขันของตัวเองจากบทเรียนขององค์กร



ไม่ว่าจะเป็นองค์กรหรือตัวบุคคลจะมี 2 สิ่งเป็นองค์กรประกอบเสมอ นั่นก็คือจุดอ่อนและจุดแข็ง
หรืออาจจะเรียกว่าจุดเด่น จุดด้อย/ข้อจำกัดก็ได้
และแน่นอนว่าในโลกของการแข่งขัน องค์กรต่างๆก็มักจะนำเอาสองสิ่งนี้แหละมาเป็นกลยุทธ์ในการแข่งขัน
และที่นิยมกันมากคือ การแข่งขันกันสร้างจุดแข็งหรือจุดเด่นกัน เช่น แข่งขันกันเรื่องราคาที่ต่ำสุด
แข่งขันกันเรื่องคุณภาพสูงสุด แข่งขันกันส่งมอบตรงเวลามากที่สุด
แข่งขันกันแข่งขันกันลดแลกแจกแถมที่ถูกใจลูกค้า ฯลฯ

และหลายองค์กรที่ต้องออกจากสนามการแข่งขันไปเพราะนำจุดแข็งมาแข่งขันมากเกินไป
เราจะเห็นว่าหลายธุรกิจเคยที่เคยแข่งขันกันเรื่องราคาสินค้าสุดท้ายก็ต้องเลิกกิจการเพราะสายป่านยาวไม่พอ
หรือไม่ก็ต้องหันหน้าเข้าหากัน เพราะยิ่งลดราคายิ่งเจ็บทั้งคู่

เมื่อองค์กรต่างเอาจุดแข็งของตัวเองออกมาชนกันแล้ว ผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุดคือ ลูกค้า
แต่ผลเสียที่เกิดขึ้นคือไม่เจ็บก็เจ๊งทั้งคู่
สุดท้ายหลายองค์กรเริ่มเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ โดยการสร้างความแตกต่าง(Differentiation)
เพื่อหลีกหนีการเอาจุดแข็งมาชนกัน เมื่อเอาความแตกต่างมาแข่งขันกัน
ทำให้ลูกค้าเปรียบเทียบได้ยากสินค้าหรือบริการของที่ไหนดีกว่ากัน เพราะองค์กรหนึ่งมีสินค้าน้อยแต่ราคาถูก
ในขณะที่อีกองค์กรหนึ่งมีสินค้าค่อนข้างแพง แต่มีสินค้าครบทุกประเภท หรือมีสินค้าที่องค์กรอื่นไม่มี

ถ้ากลับมามองถึงตัวบุคคลซึ่งเป็นคนทำงานกันบ้าง ลักษณะของการแข่งขันของคนเราก็ไม่แตกต่างอะไรไปจาก
การแข่งขันขององค์กร ที่เรามัวแต่ไปแข่งกันสร้างจุดเด่นซึ่งเป็นจุดเดียวกัน เช่น แข่งขันกันเรียนเก่ง
แข่งขันกันเรื่องภาษา แข่งขันกันเรื่องคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
สุดท้ายเมื่อแข่งขันกันมากๆคนที่ได้ประโยชน์สูงสุดคือนายจ้างที่มีสิทธิ เลือกคนที่เก่งที่สุด

เราจะเห็นว่าในตลาดแรงงานจะมีคนอยู่เพียงกลุ่มเดียวคือ คนเก่งๆเท่านั้นที่ตลาดต้องการ
ส่วนคนที่เหลือไม่ค่อยมีใครต้องการ ดังนั้นใครที่สมัครที่ไหนก็ได้ตลอด
ใครสมัครงานที่ไหนไม่ได้ ก็ไม่ได้ตลอดเหมือนกัน
เพราะเมื่อวัดกันตัวต่อตัวแล้วจุดแข็งของเรามีน้อยกว่าจุดแข็งของคนอื่น เช่น
มีผู้สมัครสองคนเก่งทั้งคู่ คำถามที่กรรมการสัมภาษณ์หรือคัดเลือกบุคลากร เข้าทำงานคือใครเก่งกว่ากัน
พอตอบคำถามได้ก็เลือกได้ง่าย

ผมคิดว่าสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคนที่ทำงานในองค์กรต่างๆ คือ
การนำเอาบทเรียนทางธุรกิจมาประยุกต์ใช้กับชีวิตตัวเอง
เพราะในความเป็นจริงแล้วองค์กรเปรียบเสมือนคนๆหนึ่งที่ประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตคนหลายคน
ความคิดขององค์กรมาจากไหนก็มาจากคนนั่นเอง
ดังนั้น ผมจึงอยากจะแนะนำแนวทางการสร้างศักยภาพในการแข่งขันของตัวเอง
โดยการนำเอาข้อคิดทางธุรกิจมาประยุกต์ใช้ โดยให้พิจารณาใน 3 ขั้นตอนดังนี้


1.ถ้ารู้ว่าตัวเองเก่งจริงในเรื่องนั้นๆ จงใช้จุดแข็งเป็นตัวนำ
คนเก่งจริงเท่านั้นจึงจะมีโอกาสมากกว่าคนอื่นๆ ดังนั้น เราจะต้องประเมินตัวเองว่าในเรื่องนั้นๆเราเก่งจริงหรือไม่
ถ้าเก่งจริงเราอยู่ระดับท๊อปไฟว์หรือท๊อปเทนของคนที่เก่งในเรื่องเดียวกันกับเรา
ถ้านำหลักการของกฎ 80 : 20 มาคิดแล้ว ผมคิดว่าในกลุ่มคนที่เก่งเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะมีคนเพียง 20 % เท่านั้นที่มี
โอกาสได้รับการคัดเลือกสูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ถ้าเราไม่เก่งจริงในเรื่องหรือด้านนั้นๆ
ขอแนะนำว่าอย่าริไปแข่งกับเขา เพราะโอกาสแพ้มีมากกว่าชนะ


2. ถ้ารู้ว่าจุดแข็งของเราสู้คนอื่นไม่ได้ ก็จงสร้างความแตกต่าง
ถ้าประเมินแล้วจุดแข็งที่เรามีอยู่สู้เขาไปได้ โอกาสพัฒนาให้สูงขึ้นก็ยากแล้ว เช่น
เราเก่งภาษาอังกฤษ แต่ในโลกนี้มีคนเก่งภาษาอังกฤษเยอะมาก
เราควรจะหันกลับมาสร้างความแตกต่างให้กับตัวเอง เช่น รักษาระดับความเก่งของภาษาอังกฤษไว้ที่เดิม
และเพิ่มเติมภาษาอื่นๆเข้าไป เพื่อให้เกิดความแตกต่าง อย่างนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสและลดการแข่งขันลง
เพราะคนที่เก่งสองหรือสามภาษาขึ้นไปนั้นมีน้อยกว่าคนที่เก่งภาษาอังกฤษอย่างเดียว


3. ถ้ารู้ว่าจุดแข็งของเราสู้คนอื่นไม่ได้และสร้างความแตกต่างได้ยาก ก็จงนำจุดอ่อนของคนอื่นมาพัฒนา
สุดท้ายถ้าจุดแข็งของเราก็สู้เขาไม่ได้ ครั้งจะพัฒนาจุดอื่นๆให้มีความแตกต่างออกไปก็ลำบาก
แนวทางอีกอย่างหนึ่งที่น่าจะเป็นทางเลือกคือ การประเมินจุดอ่อนของผู้อื่นแล้วนำจุดนั้นกลับมาพัฒนาตัวเอง
อย่าลืมว่าจุดอ่อนของคนคือ จุดที่อยู่ต่ำกว่าระดับปกติ

ดังนั้นถ้าเราพัฒนาจุดอ่อนของคนทั่วไปขึ้นมาได้แม้ว่าจะไม่ดีที่สุด และไม่ใช่สิ่งที่แตกต่าง
แต่น่าจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวเองได้อีกทางหนึ่ง เช่น เราทำงานด้านคอมพิวเตอร์หรือไอที
จุดแข็งของคนไอทีคือ คิดเป็นระบบมีตรรก (Logical Thinking) ในการคิด
แต่จุดอ่อนของคนคอมพิวเตอร์คือ คุยกับคนไม่ค่อยรู้เรื่อง (เขาว่ามานะครับ ไม่ใช่ผมว่าเอง)
ถ้าเรารู้ว่าระบบการคิดของเราไม่ได้เก่งที่สุดในกลุ่มคนไอที ผมคิดว่าเราลองนำเอาจุดอ่อน (คุยกับคนไม่รู้เรื่อง)
มาพัฒนาปรับปรุงตัวเราเอง แม้จะพัฒนาขึ้นมาเพียงนิดเดียวจากคุยไม่รู้เรื่อง มาพอคุยกันรู้เรื่อง
แค่นี้ก็น่าจะเพียงพอสำหรับการแข่งขันกับคนไอทีทั่วไปแล้ว เพราะจุดอ่อนที่เราพัฒนาขึ้นมานั้น
เป็นสิ่งที่คนอื่นนอกจากสายงานไอทีเขากำลังอยากได้จากคนไอทีอยู่พอดี


สรุป
คนแต่ละคนมีหลายสิ่งหลายอย่างที่คล้ายคลึงกันกับองค์กร ถ้ามองในเชิงกลยุทธ์ของการแข่งขันแล้ว
องค์กรอาจจะมีความก้าวหน้ากว่าตัวบุคคลแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นวิธีคิด กลยุทธ์หรือเทคนิคต่างๆ
องค์กรมีบทเรียนทั้งที่ล้มเหลวและสำเร็จ องค์กรมีอายุยืนกว่าชีวิตคนๆเดียว
ดังนั้น เราควรจะเรียนลัดโดยการเรียนรู้จากประสบการณ์ขององค์กร

ควรพิจารณาเลือกดูว่าบทเรียนขององค์กรเรื่องใดบ้างน่าจะนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตของเราได้
ผมมีความเชื่อมั่นว่ายิ่งเราได้มีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์เชิงกลยุทธ์ของหลากหลายองค์กรเท่าไหร่
โอกาสที่เราจะได้ข้อคิดและแนวทางในการพัฒนาตัวเองก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น

“โอกาสมีอยู่รอบตัวเรา เพียงแต่เราจะเปลี่ยนเลนส์ใจและทัศนคติให้เป็นบวกเท่านั้น”

อ้างอิง : กรุงเทพธุรกิจ


Create Date : 03 สิงหาคม 2552
Last Update : 3 สิงหาคม 2552 14:45:23 น. 0 comments
Counter : 599 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.