Group Blog
 
<<
มกราคม 2553
 
18 มกราคม 2553
 
All Blogs
 

การบริหารและจูงใจคน


"การบริหารและจูงใจคน" (เปิดโลกทัศน์)

คำถามเริ่มแรกที่ผู้บริหารมักถูกถามอยู่เสมอ ก็คือ อะไรเป็นปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในที่ทำงาน
ซึ่งคำตอบที่ได้รับส่วนใหญ่ หรือเป็นคำตอบในอันดับต้นๆ ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของ "คน"
ไม่ว่าองค์กรหรือบริษัทใดจะก้าวล้ำทางเทคโนโลยีไปมากแค่ไหนก็ตาม
แต่ก็ไม่สามารถขาดการขับเคลื่อนและสนับสนุนจากทีมงาน หรือบุคลากรภายในองค์กร ได้

สมัยก่อนผู้บริหารมักจะมองคนเป็นค่าใช้จ่าย (expense)
ที่ทำให้บริษัทต้องสูญเสียเงินไปในแต่ละวันแต่ละเดือน โดยที่ไม่ได้อะไรกลับมา

แต่ ปีเตอร์ เอฟ ดรักเกอร์ (Peter F. Drucker) กลับเป็นนักวิชาการทางด้านการจัดการคนแรกๆ ที่ให้ผู้บริหาร
หรือองค์กรทั้งหลายเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับคนเสียใหม่ จากค่าใช้จ่ายกลายเป็นสินทรัพย์ (asset) เพราะถือว่า
คนเป็นสินทรัพย์ที่สามารถก่อให้เกิดมูลค่าได้ หรือสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้ (Value added)
ทำให้ในปัจจุบันเราจึงใช้คำว่า ทุนมนุษย์กันอย่างแพร่หลาย
เมื่อวิธีคิดเปลี่ยน วิธีการในการจูงใจคนก็ต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

ในกระบวนการการจัดการทรัพยากรมนุษย์นั้น ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 3 ประการได้แก่
การดึงดูดพนักงาน (attracting employees)
การพัฒนาพนักงาน (developing employees) และ การรักษาพนักงานไว้ให้ได้ (retaining employees)

แน่นอนว่าขั้นตอนทั้ง 3 ประการมีความสำคัญ
แต่ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้น เรื่องการรักษาพนักงานไว้กับองค์กร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานที่มีความรู้ ความสามารถหรือคนเก่ง
เพราะคงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับองค์กรที่จะได้คนที่มีความรู้ ความสามารถมาทำงาน
เนื่องจากตลาดแรงงานในปัจจุบันขยายตัวเป็นอย่างมาก และประกอบกับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาใหม่
มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้องค์กรมีโอกาสที่จะได้ตัวเลือกที่ดีที่สุดได้ โดยเฉพาะองค์กรที่ใหญ่และมีชื่อเสียง
ที่มีค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ดี ยิ่งมีโอกาสในการได้มาซึ่งบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ
มากกว่าองค์กรทั่วๆ ไป แต่การได้มาแล้วไม่รู้จักรักษาไว้นั้น อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อองค์กรได้มาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าใช้จ่ายในการสรรหา และคัดเลือกบุคลากรใหม่เพื่อเข้ามาทด แทนบุคลากรเดิมที่ลาออกไป

ด้วยเหตุนี้ในปัจจุบัน จึงได้มีการพูดกันถึงเรื่องการบริหารคนเก่งกันมากยิ่ง ขึ้น (Talent Management)
เพราะการบริหารคนเก่งเป็นเรื่องที่สำคัญต่อความเจริญก้าวหน้า และความสำเร็จ ขององค์กร
ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารคนเก่ง คงหนีไม่พ้นเรื่องการ จูงใจ

วิธีการจูงใจคนในองค์กรมีมากมายหลากหลายวิธี แต่โดยทั่วไปการพนักงานมักถูกจูงใจด้วยรางวัล 2 แบบ
อันได้แก่ รางวัลจากภายนอก (Extrinsic Reward) อันได้แก่ ค่าตอบแทน สวัสดิการ เงินเดือน และคำชมต่างๆ

และรางวัลจากภายใน (Intrinsic Reward) อันได้แก่
ความรู้สึกภาคภูมิใจในการทำงาน และการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
โดยบุคคลที่ถูกจูงใจในลักษณะนี้มักคิดว่า องค์กรไม่สามารถประสบความสำเร็จได้
ถ้าปราศจากการมีส่วนร่วมของตน เมื่อพูดถึงการจูงใจทั้งสองประเภทนี้ เลยทำให้นึกขึ้นมาได้ถึง
ประสบการณ์ในการคัดเลือกหรือสัมภาษณ์คนเข้าทำงานในระดับสูงของคุณ ธนินทร์ เจียรวนนท์ ที่สรุปได้ว่า
บุคคลที่ถามเรื่องเงินเดือนก่อนอื่นเลย มักเป็นคนไม่เก่ง
แต่คนที่เก่ง มักจะถามถึงอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบก่อน
ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า สิ่งสำคัญในการจูงใจต่อการทำงานของคนในลักษณะนี้ คือการจูงใจที่มาจากรางวัลภายใน
ถ้าผู้บริหารรู้ว่าพนักงานคนไหน ที่ถูกจูงใจจากรางวัลภายในมากกว่ารางวัลจาก ภายนอกแล้วละก็
ผู้บริหารต้องพยายามมอบหมายงาน และความรับผิดชอบให้พนักงานมากยิ่งขึ้นใน ระดับของความยาก
ที่เหมือนกันกับงานเดิมที่พนักงานคนนั้นทำอยู่เพื่อทำให้ พนักงานไม่เกิดความเบื่อหน่าย
หรือที่เรียกว่า Job Enlargement หรือให้ภาระหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่มากขึ้นในระดับที่สูงขึ้นแก่พนักงาน
มีอำนาจในการตัดสินใจ หรือที่เรียกว่า Job Enrichment

หลายๆ คนบอกว่าพนักงานมักไม่มีความพึงพอใจที่ดีต่อการทำงานในองค์กร ทั้งนี้ เป็นเพราะเงินเดือนน้อย
ซึ่งอาจเป็นจริงในบางกรณีแต่ไม่ใช่จะเป็นจริงเสมอไป
เพราะความต้องการหรือทัศนคติในการทำงานของบุคคล มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ตามลำดับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น หรือตามสถานการณ์
ทำให้ผู้บริหารต้องทำความเข้าใจพนักงานของตนเองให้ชัดเจน และสร้างระบบการให้รางวัล เพื่อการจูงใจ
หรือกระตุ้นพฤติกรรมในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น
การออกแบบงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การให้ผลตอบแทนที่เป็นธรรม
การสร้างบรรยายกาศในการทำงานที่มีความสุขและเป็นกันเอง
หรือการสร้างค่านิยมในการทำงานที่ส่งเสริมการปฏิบัติงาน ที่มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น

การสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นในที่ทำงานทั้งจากภายใน และภายนอกเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น เป็นอย่างยิ่ง
ที่ผู้บริหารต้องนำมาปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่ใช้เฉพาะแต่การให้เงินหรือผลตอบแทนแต่อย่างเดียว
แต่การให้คำชมหรือการยกย่องก็เป็นอีกรูปแบบของการจูงใจ ที่สำคัญที่ต้องนำมา ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อทำให้เกิดขวัญและกำลังใจที่ดีในการทำงาน

ดังที่ Mary Kay เจ้าของบริษัทเครื่องสำอางชื่อดังได้กล่าวเอาไว้ว่า สองสิ่งที่สำคัญมากกว่า เงิน และ เซ็กส์ ก็คือ
การระลึกถึงจดจำได้ (Recognition) และคำชม (Praise)
อาจกล่าวได้ว่าผู้บริหารที่ได้กระทำ 2 สิ่งนี้แก่พนักงานของตนในจังหวะและเวลาที่ถูกต้องและเหมาะสม
ไม่ใช่การพูดเรื่อยเปื่อย หรือทำให้ดูเป็นเรื่องที่ไม่มีสาระสำคัญ (ชมไปทั่ว)
อย่างนี้ก็สามารถเกาะกุมใจพนักงานของตนได้แล้ว


ที่มา : //www.dmh.go.th
ภาพจาก : //tickledbylife.com




 

Create Date : 18 มกราคม 2553
0 comments
Last Update : 18 มกราคม 2553 21:28:01 น.
Counter : 1287 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.