Group Blog
 
<<
มีนาคม 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
16 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 
วิธีการตอบคำถามที่เกี่ยวกับจุดอ่อนของคุณ

สัมภาษณ์งาน,ชีวิตงาน

ผู้บริหารทุกคนที่ประสบความสำเร็จจะมีทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งในตัว
ที่สำคัญคือจะต้องไม่ให้จุดอ่อนนั้นเข้ามาเป็นอุปสรรคในการทำงาน
ผู้ว่าจ้างจะพยายามมองข้อบกพร่องนั้นเพื่อให้แน่ใจว่า ผู้สมัครที่รับเข้ามาจะไม่สร้างปัญหาให้กับบริษัท
คุณจะต้องทำให้ผู้สัมภาษณ์แน่ใจว่า คุณจะไม่นำปัญหามาให้บริษัทเช่นกัน

หนึ่งวิธีในการเรียนรู้จุดอ่อนของผู้สมัคร คือ การถามตรงๆระหว่างการสัมภาษณ์ว่า จุดอ่อนของคุณคืออะไร
ขณะที่คุณกำลังกังวลอยู่กับการตอบคำถาม ผู้สัมภาษณ์จะยิงคำถามต่อเพื่อประเมินไหวพริบในการโต้ตอบของคุณ


หลัก 7 ประการในการโต้ตอบ
หลักในการตอบคำถามเกี่ยวกับจุดอ่อน โดยไม่ให้จุดอ่อนนั้นเข้ามาเป็นปัญหาในการสัมภาษณ์
จำไว้ว่าแนวทางการตอบสำคัญพอๆกับเนื้อหา
เมื่อคุณพูดถึงจุดอ่อนคุณควรจะพูดให้ผู้สัมภาษณ์สามารถมองมันเป็นจุดแข็งของคุณได้
ต้องซื่อสัตย์ในการตอบคำถาม แต่ต้องไม่ทำให้ผู้สัมภาษณ์รู้สึกว่ามันจะเข้ามาเป็นอุปสรรคในการทำงานและ
คุณยังสามารถนำมาใช้ในทางที่ดีได้ด้วย สำคัญที่การนำเสนอจุดอ่อนของคุณให้สามารถมองเป็นจุดแข็งได้


หลักข้อที่ 1 :ต้องทำจุดอ่อนให้เป็นประโยชน์ได้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

แทนที่คุณจะบอกจุดอ่อนของคุณตรงๆ คุณควรจะทำให้มันเป็นไปในทางบวก เช่น
“ฉันเป็นคนบ้างาน ฉันใช้เวลาส่วนมากกับการทำงานเพื่อให้งานของฉันมีความถูกต้อง ”

ผู้สัมภาษณ์โดยทั่วไปจะสามารถรู้ได้ในกรณีที่คุณไม่ซื่อสัตย์และเข้าข้างตัวเองในการตอบคำถาม
ทางที่ดีคือพูดถึงในบางสิ่งที่เป็นจุดอ่อนแต่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมก็สามารถเป็นจุดแข็งได้
เช่น ความเห็นอกเห็นใจ เป็นความสามารถในการทำความเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น
มันจะเป็นคุณสมบัติที่ดีเมื่อนำมาใช้กับการทำความเข้าใจคู่แข่ง
แต่ถ้าเป็นผู้จัดการที่มีความเห็นอกเห็นใจอาจจะส่งผลเสียและเป็นจุดอ่อนได้
ผู้สมัครที่มีจุดอ่อนในเรื่องนี้ (แต่รู้ว่ามันสามารถเป็นจุดแข็งได้)
จะสามารถนำมันมาใช้ในการทำความเข้าใจคู่แข่งได้ด้วย

หลักการค้นหาจุดแข็งจากจุดอ่อนจะเป็นประโยชน์มาก
แต่ต้องนำมาใช้ในสภาวะที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
พร้อมทั้งอธิบายถึงวิธีการที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับบริษัทได้ในอนาคต

ยกตัวอย่าง
การที่คุณเป็นคนที่ต้องการความสมบูรณ์แบบในการทำงาน ซึ่งลักษณะแบบนี้จะเป็นจุดแข็งมากกว่า เช่น
ในกรณีที่อาจจะมีการตรวจทานหรือแก้ไขในงานจะรับประกันได้เลยว่างานที่ออกมาจะไม่มีความผิดพลาด
ถ้าคุณมีจุดอ่อนคุณต้องทำให้ผู้สัมภาษณ์คิดว่าคุณสามารถเปลี่ยนมันเป็นจุดแข็งที่เป็นประโยชน์แก่บริษัทได้


หลักข้อที่ 2 : แสดงให้เห็นว่าเป็นจุดอ่อนที่ได้รับการแก้ไข
เป็นจุดอ่อนที่ได้รับการแก้ไขหรือกำลังได้รับการแก้ไข บอกวิธีการแก้ไขการพัฒนาจุดอ่อนที่มีและ
พัฒนาตรงนี้จะเกิดประโยชน์ต่อผู้ว่าจ้างอย่างไร

ยกตัวอย่าง
ผู้บริหารฝ่ายต่างประเทศมีความรู้สึกว่าอาชีพที่เขาทำไม่มีความก้าวหน้า เพราะเขาไม่เก่งภาษาสเปน
หลังจากที่สูญเสียงานในระหว่างนั้น เขาจึงตัดสินใจเข้าคอร์สเรียนภาษาอย่างจริงจังในชิลี
หลังจากนั้น 6 สัปดาห์เขารู้สึกว่าความรู้ภาษาสเปนของเขาจะสามารถช่วยให้งานต่อไปประสบผลสำเร็จ
ระหว่างการสัมภาษณ์เขาจึงมีความพร้อมมากในภาษาสเปน นี่คิอวิธีการพัฒนาตนเองที่สามารถแก้ไขจุดอ่อนนี้ได้

ในกรณีผู้บริหารฝ่ายการตลาดซึ่งขาดความเชี่ยวชาญในการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า
จึงได้มีการเข้าคอร์สสัมนาและอบรมเพื่อพัฒนาความรู้สำหรับงานต่อไป


หลักข้อที่ 3 :แสดงให้เห็นว่าเป็นบทเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แล้ว
คล้ายๆข้อที่แล้ว คือ เป็นข้อผิดพลาดที่ได้รับการเรียนรู้แล้วและอะไรที่คุณเรียนรู้จากข้อผิดพลาดนั้นบ้าง
ผู้ว่าจ้างจะพิจารณา 2 อย่างคือ หนึ่งคุณสามารถเรียนรู้จากข้อผิดพลาดได้
และสอง คุณจะไม่ทำผิดเป็นครั้งที่สอง และคุณจะสามารถนำมันมาเป็นประโยชน์แก่ผู้ว่าจ้างคนใหม่ได้

ยกตัวอย่าง
กรณีของผู้ช่วยผู้จัดการที่มีปัญหาขัดแย้งกับเจ้านาย หลังจากนั้นจึงไปทำงานในตำแหน่งฝ่ายธุระการขาย
แสดงให้เห็นว่าจากประสบการณ์ที่ผ่านมาเธอควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาหลักบริหารให้ดีขึ้น
ถ้าไม่อย่างนั้นอีก 20 ปีข้างหน้าเธอก็คงจะเจอกับปัญหาเดิมๆ


หลักข้อที่ 4 : แสดงให้เห็นวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้
หลังจากที่คุณดูรายละเอียดของงาน คุณเห็นว่าทักษะและประสบการณ์ที่ผู้ว่าจ้างต้องการในงานนั้นๆ
มีมากกว่าที่คุณมีในบางข้อ คุณควรจะนำเสนอคุณสมบัติบางประการที่สามารถทดแทนกันได้

ยกตัวอย่าง
ผู้สมัครงานในตำแหน่งหนึ่ง รู้ว่าเธอมีประสบการณ์ 5 ข้อ จากทั้งหมด 6 ข้อที่ผู้ว่าจ้างต้องการ
ก่อนที่เธอจะไปสัมภาษณ์ก็ได้มีเข้าคอร์สเรียนเพื่อพัฒนาภาษาให้สามารถเก่งกว่าคนอื่นๆ
เมื่อพูดถึงจุดอ่อนนั้นเธอสามารถพูดได้ว่าเธอต้องการเรียนเพื่อพัฒนาจุดอ่อนที่เธอมี
และสามารถกำหนดเวลาที่แน่นอนสำหรับความพร้อมที่จะทำงานได้


หลักข้อที่ 5 :แสดงให้เห็นว่าทักษะที่ขาดไปไม่มีความสัมพันธ์กับงาน
คุณอาจจะรู้ว่าจุดอ่อนหรือสิ่งที่ขาดไปนั้นจะไม่ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของคุณ เช่น
การทำงานในด้านการจัดการไม่ต้องใช้ทักษะในการพูดเท่าที่ควร
แต่ควรจะมีทักษะการเขียนรวมทั้งการสื่อสารทางโทรศัพท์บ้าง ดังนั้นคุณควรจะรู้ในรายละเอียดและ
ความรับผิดชอบของงานก่อน ทำความเข้าใจว่าอะไรที่สำคัญในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ
แน่นอนว่าคุณจะต้องไม่ให้จุดอ่อนนั้นมาส่งผลต่อการทำงานของคุณ


หลักข้อที่ 6 : การเบี่ยงเบนความสนใจ
ถ้าคุณรู้สึกว่าไม่สะดวกที่จะตอบคำถาม คุณสามารถเบี่ยงเบนความสนใจได้ ถึงแม้คุณจะตระหนักดีว่า
จุดอ่อนนั้นจะไม่ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของคุณ ถ้าผู้สัมภาษณ์ยืนกรานที่จะให้คุณตอบ
คุณสามารถเปลี่ยนเป็นโอกาสได้ โดยการบอกว่าอะไรที่สำคัญกับคุณ คุณอาจจะบอกว่า
คุณจะทำงานได้ดีที่สุดกับผู้จัดการที่เชื่อมั่นในตัวคุณ และเป็นการทำงานภายใต้ deadline ถึงแม้จะไม่ได้
ระบุถึงจุดอ่อนโดยตรง แต่ก็เป็นการแสดงเป็นนัยว่าคุณสามารถทำงานได้ดีกว่าถ้าอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่แน่นอน

หรือว่าคุณจะใช้เรื่องตลกขบขันเพื่อเบี่ยงเบนคำถามนั้นก็ได้ โดยจะเห็นได้จากกรณีศึกษาของผู้จัดการทั่วไปคนหนึ่ง
เมื่อเขาถูกถามถึงจุดอ่อนของเขา เขามักจะตอบว่า
“ถามเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ของฉันดูสิ ” แน่นอน เรื่องขำๆนี้ใช้ได้ ถ้าคุณไม่เคยมีคดีอาญาร้ายแรงติดตัวมา


หลักข้อที่ 7 : การรู้ทันหรือทำความเข้าใจกับคำถามที่ซ่อนความนัย
ผู้สัมภาษณ์ที่ถามเกี่ยวกับจุดอ่อนของคุณ บางครั้งอาจจะสนใจในวิธีการตอบโต้ของคุณมากกว่า ว่า
คุณจะมีความซื่อสัตย์ในการสนทนาหรือไม่
คุณควรที่จะพูดความจริงก่อนที่ผู้สัมภาษณ์จะสงสัยและก่อนที่ความจริงจะถูกเปิดเผยออกมา
คุณสมบัติบางอย่างจะมีความสำคัญในการทำงาน รวมทั้งวิธีการแก้ปัญหาในการโต้ตอบของคุณ
ซึ่งการสัมภาษณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์

ก่อนที่คุณจะนำหลักนี้ไปใช้
ต้องดูว่าคุณจะสามารถตอบโต้ผู้สัมภาษณ์ได้ดีขนาดไหน ไม่เป็นไปในแนวทางก้าวร้าวเกินไป

ถึงแม้ว่าทั้งหมดนี้จะเป็นองค์ประกอบในการสัมภาษณ์
แต่ที่สำคัญคือคุณกำลังอยู่ในการสนทนาเพื่อที่จะบอกว่าคุณสามารถทำงานให้มีประสิทธิภาพได้
ไม่ว่าจะเป็นความผิดพลาดหรือว่าจุดอ่อน ถ้าคุณรู้จักมัน
ทำความเข้าใจในผลกระทบของมัน และมีการพัฒนาตัวเองตลอดเวลา
ความสามารถในการตอบคำถามอย่างมั่นใจและน่าประทับใจจะทำให้ผู้ว่าจ้างมองเห็นจุดแข็งของคุณได้

โดย Arlene S. Hirsch


Create Date : 16 มีนาคม 2552
Last Update : 3 กรกฎาคม 2552 14:40:21 น. 1 comments
Counter : 3362 Pageviews.

 
มาอ่านครับ


โดย: byonya วันที่: 16 มีนาคม 2552 เวลา:15:50:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.