Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2552
 
23 กุมภาพันธ์ 2552
 
All Blogs
 
7 วิธี น.ศ.จบใหม่ฝ่าวิกฤต หางานอย่างไรให้ ได้งาน !!

กูรูแนะ 7 วิธี น.ศ.จบใหม่ฝ่าวิกฤต หางานอย่างไรให้ ได้งาน

วิกฤตเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่ลุกลามไปทั่วโลก ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง
ในปี 2552 มีการคาดการณ์ว่าอัตราของคนว่างงานจะสูงกว่า 1 ล้านคนและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มถึง 2 ล้านคน
ทั้งจากผู้ที่ถูกปลดออกจากงาน และบัณฑิตจบใหม่ที่ไม่มีตำแหน่งงานรองรับ

เมื่องานดีๆมีจำนวนจำกัด การสมัครงานอย่างไรให้ได้งานจึงเป็นเรื่องที่หลายคนคิดหนักว่า
จะเตรียมตัวอย่างไรให้เป็นที่ต้องการของนายจ้าง โดยเฉพาะกับบัณฑิตจบใหม่ที่ต้องเจอศึกหนักในปีนี้

การเกิดขึ้นของโปรแกรม “THE GRAD” ของบริษัทควอลิตี้โปรไฟล์
จะเป็นเหมือนตัวช่วยให้ผู้สมัครมีความมั่นใจในการสมัครงาน และค้นพบศักยภาพของตนเองได้ง่ายขึ้น

“คนส่วนใหญ่ที่สมัครงานแล้วไม่ได้งาน ก็เพราะไม่รู้จักการเตรียมความพร้อม
หรือคนรอบข้างที่ เป็นที่ปรึกษาไม่ได้มีความรู้จริง เราพยายามเป็นเหมือนโค้ชให้เด็กว่า
ทำอย่างไรให้เขาโดนใจนายจ้าง สื่อให้ผู้จบการศึกษาใหม่เข้าใจ

ที่ผ่านมาไม่ได้นำเสนอความรู้ความสามารถ ที่จะทำให้บริษัทมั่นใจที่จะรับเข้าทำงาน
เพราะบริษัทย่อมแสวงหาคนที่จะไปช่วยสร้างความเจริญเติบโต
มากกว่าจะรับคนที่มีแนวโน้มไม่สร้างผลงานเข้าทำงาน

ผู้สมัครงานที่อยากได้งานก็ต้องมองว่า ตนเองสามารถให้อะไรกับองค์กรได้บ้าง และเตรียมพร้อมให้ดี”
ปิยะมิทน์ รังษีเทียนไชย กรรมการบริหารบริษัท ควอลิตี้โปรไฟล์ จำกัด กล่าว

นอกจากมีโปรแกรมเป็นตัวช่วยแล้ว สิ่งที่บัณฑิตควรรู้เพื่อเตรียมพร้อมเบื้องต้นก็ไม่ควรละเลย
จากประสบการณ์กว่า 15 ปีของปิยะมิทน์ ที่ทำงานด้านการแนะแนวให้คำปรึกษา
และสรรหาบุคลากรให้กับบริษัทชั้นนำ และมองเห็นปัญหาของผู้สมัครงานมามากมาย
เขาได้แนะแนวทางก่อนเข้าการสมัครงานโดยสรุปได้ 7 ข้อต่อไปนี้

1.รู้จักตนเองว่ามีศักยภาพด้านไหน
รู้จุดอ่อนจุดแข็งของตนเองเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก
การรู้จักตนเองต้องเริ่มจากการที่เราลองไล่ดูว่าเราต้องการอะไร อยากเป็นอะไร
คนส่วนใหญ่อาจจะไม่รู้จักตนเองเพราะใกล้ตัวเกินไปจึงไม่ใส่ใจ
ลองคิดดูว่าในระหว่างที่เรียนในระดับอุดมศึกษา เราเรียนรู้อะไรมากขึ้นจากตอนมัธยมบ้าง
นั่นคือการมองย้อนไปดูประสบการณ์ที่เรามี และต้องย้อนกลับมาถามตนเองว่า ถ้านายจ้างจะจ้างเรา
ทุกวันนี้ก็มีโปรแกรมมากมาย ที่จะช่วยทดสอบวิเคราะห์ความถนัดในแต่ละด้านหรือบุคลิกภาพของคน


2.รู้ความต้องการตลาดว่าต้องการคนแบบไหน
มีอะไรที่เราสามารถไปสร้างประโยชน์ให้กับบริษัทเหล่านั้นได้บ้าง จากนั้นค่อยกลับมาดูว่าเราสนใจงานด้านไหน
เมื่อหางานที่เราชอบได้ความกระตือรือร้น ที่จะทำความรู้จักและพิชิตงานนั้นให้ได้ก็จะตามมา
เหมือนเวลาเราไปชอบใครสักคนหนึ่งก็ต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับคนคนนั้น ให้มากที่สุดเพื่อที่จะชนะใจเขาให้ได้


3.หาองค์กรที่เหมาะกับเรา
เป็นใครก็คงต้องการทำงานอยู่ในองค์กรขนาดใหญ่และมั่นคง จึงมีแห่คนไปสมัครจำนวนมาก
ทั้งๆที่อาจไม่เหมาะกับตนเอง ในตลาดยังมีองค์กรอีกมากมายที่ไม่ได้ต้องการเติบโตอย่างก้าวกระโดด
จึงไม่ได้ต้องการคนที่เก่งที่สุด เพราะการรับคนที่พร้อมจะเติบโตไปกับองค์กรจะสามารถสร้างประโยชน์ได้
มากกว่าทั้งกับตัวองค์กรเองและคนทำงาน
ในขณะที่คนที่มีความสามารถมากๆ เข้าไปทำงานในองค์กรแบบนี้จะรู้สึกเบื่อหน่ายและเกิดปัญหากับองค์กร


4.เตรียมตัวให้พร้อม เพื่อก้าวไปสู่การเป็นมืออาชีพ
จะต้องเรียนรู้การพัฒนาบุคลิกภาพให้น่าสนใจและฝึกตนเองให้มี คุณสมบัติเหล่านี้ คือ
ขยัน อดทน ซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ รู้จักพึ่งพาตนเองและให้ความช่วยเหลือผู้อื่น
คุณสมบัติเหล่านี้ จะช่วยทำให้เราก้าวไปสู่การมีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้


5.การนำเสนอข้อมูลส่วนบุคคล
การเขียนประวัติส่วนบุคคลหรือเรซูเม่ อาจหาตัวอย่างได้ทั่วไป แต่ทางที่ดีควรเขียนด้วยตนเอง
และเรซูเม่ก็ไม่ควรยาวเกินไป ควรเขียนให้สั้นและกระชับจบได้ภายใน 1 หน้า
อธิบายเฉพาะเนื้อหาสำคัญอย่างเช่น ประวัติการศึกษา
ประสบการณ์ที่ทำในระหว่างเรียน หรือสิ่งที่เรียนมาเกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่สมัครอย่างไร

หากพิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด การเลือกใช้แบบตัวอักษรก็สามารถบ่งบอกถึงบุคลิกภาพ
หรือความสามารถของผู้สมัครได้ จึงควรเลือกแบบตัวอักษรให้เหมาะสมกับตำแหน่งที่สมัครงาน
เมื่อเขียนเสร็จตรวจทาน ระวังอย่าให้มีข้อมูลที่ผิดพลาดอย่างปี พ.ศ.เกิด
เพราะอาจแสดงให้เห็นว่าเราไม่ใส่ใจในรายละเอียดเล็กน้อย
สุดท้าย อย่าลืมคัดเลือกรูปถ่ายที่ดูดีที่สุด เพราะบุคลิกภาพก็มีส่วนสำคัญในการรับคนเข้าทำงาน


6.กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน
ถ้าไม่กำหนดเป้าหมายในชีวิตของตนเองก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ จะเดินไปถึงเป้าหมายนั้น
สิ่งที่หลายคนลืมที่จะวางแผนเส้นทางชีวิตของตนเอง
พอเราได้รับการบรรจุงานก็จะคิดว่า นายจ้างเป็นคนกำหนดการก้าวไปสู่ตำแหน่งที่ใหญ่โตขึ้น

แต่จริงๆ แล้วคือตัวเราเองที่ต้องมองว่า งานของเรามีพัฒนาการไปถึงไหน มีประสบการณ์พอแล้วหรือยัง
เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมีระยะเวลาเป็นตัวกำหนด
เราต้องวางแผนว่ากี่ปีเราจะก้าวไปสู่ผู้เชี่ยวชาญ มืออาชีพ และก้าวไปสู่ผู้บริหาร
เมื่อรู้ระยะทางก็จะถึงจุดหมายเร็ว หากเดินเป็นเส้นตรงก็จะถึงเร็ว
แต่ปัญหาของคนคือ จะมี สิ่งเร้าเข้ามาทำให้เดินหลงทาง จนต้องใช้เวลานานกว่าจะประสบความสำเร็จในชีวิต

ถ้าเราวางแผนชีวิตและรู้ศักยภาพตนเอง
แม้นายจ้างมองไม่เห็นเรา ก็สามารถเปลี่ยนไปสมัครงานในตำแหน่งที่สูงกว่าได้


7.พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
เมื่อมีการวางเป้าหมายของชีวิต การพัฒนาตนเองจะทำให้เราก้าวไปสู่จุดที่มุ่งหมายได้
ไม่ว่าจะเป็นการรู้จักการจูงใจผู้อื่น มีความสามารถในการนำเสนอผลงาน จัดการประชุม การเจรจาต่อรอง
และมีวิสัยทัศน์ทางธุรกิจ รู้ว่าจะจัดการองค์กรอย่างไรให้เจริญเติบโตก้าวหน้า เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
ทักษะเหล่านี้จะทำให้ก้าวไปสู่การเป็นผู้บริหารที่ดีในอนาคต

แม้เศรษฐกิจจะตกต่ำ แต่โอกาสยังเปิดรับให้กับคนที่พร้อมเสมอ


ข้อมูลจาก ประชาชาติธุรกิจ

ที่มา :
//women.kapook.com
//campus.sanook.com




Create Date : 23 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 13 เมษายน 2553 0:46:26 น. 0 comments
Counter : 773 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.