Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2552
 
22 กุมภาพันธ์ 2552
 
All Blogs
 

20 วิธีรับมือเพื่อนร่วมงานจอมป่วน

เพื่อนร่วมงาน

1. เปลี่ยนสถานการณ์การตำหนิ
มุ่งประเด็นไปที่เรื่องของการงานมากกว่าการตัวบุคคล แทนที่จะพูดว่า "คุณต้องทำงานนี้ให้เสร็จก่อนพรุ่งนี้"
ลองเปลี่ยนเป็น "รายงานโปรเจกต์นี้ฉันต้องนำไปเสนอลูกค้าพรุ่งนี้นะคะ"

2. แจ้งผลลัพธ์ของการกระทำ
เมื่อเพื่อนร่วมงานส่งงานล่าช้ากว่ากำหนด
พยายามบอกให้เขาหรือเธอรู้ถึงผลกระทบที่จะตามมาถึงตัวเขา ไม่ใช่คุณ อย่างเช่น
"ถ้าคุณไม่ส่งงานให้ฉันในวันนี้ เราจะไม่มีเวลาเช็คความถูกต้องก่อนส่งงานให้ลูกค้าเลย
มันคงดีกว่าถ้าเราได้เช็คกันก่อน"

3. คุยโดยตรงหรือทางโทรศัพท์
เมื่อมีเรื่องผิดพลาดของเพื่อนร่วมงานและคุณจำเป็นต้องบอก
ลองใช้วิธีการพูดคุยเป็นการส่วนตัวหรือโทรศัพท์ถึงโดยตรง
น่าจะดีกว่าการบอกในที่สาธารณะหรือทางอีเมล์ ที่ผู้รับอาจตีความหมายผิดจากที่คุณต้องการบอก

4. มีบทสรุป
เมื่อมีการอธิบายหรือถกเถียงปัญหาทั้งหลายในการทำงาน
สรุปใจความของปัญหานั้นให้กระชับและตรงวัตถุประสงค์ที่สุด จะเป็นการดีกับทั้งสองฝ่าย

5. ใช้ไหวพริบกับจอมขี้บ่น
คุณไม่สามารถแก้นิสัยขี้บ่นของเขาหรือเธอ แต่หลบเลี่ยงที่จะไม่ฟังคำโอดครวญเหล่านั้นได้
อย่าใช้คำถามหรือพูดให้จอมบ่นเปิดประเด็นได้ แม้กระทั่งประโยคพื้นๆเช่น "เป็นอย่างไรบ้าง"
จำกัดไว้แค่เพียงคำทักทายอย่าง "สวัสดี"
และทำตัวให้ดูยุ่งกับการงานตลอดเวลา หรือบอกตรงๆ เลยว่า "ฉันไม่มีเวลาว่างคุยเล่นนะจ๊ะ"

6. ทำการบ้านอย่างดี
เมื่อต้องเข้าพบหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชา เพื่อเสนอประเด็นหรือปัญหาต่างๆ
ควรจดประเด็นสำคัญที่ต้องการนำเสนอ เพื่อให้แน่ใจว่าความคิดของคุณถูกต้องแน่นอน
เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมแล้ว กำหนดตารางการเข้าพบ อย่าตื่นเต้นและทำทุกอย่างแบบมืออาชีพ

7. หยุดบ่น
คุณพูดถึงเรื่องงานกับคนรอบข้างอย่างไรบ้าง ตัวการสำคัญที่ทำให้ความสัมพันธ์เป็นไปในทางลบ
อาจมาจากการพร่ำบ่นตลอดเวลาของคุณ เพราะมันทำให้สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่น่าอยู่
อีกทั้งตัวคุณดูไม่เป็นมิตร ทางที่ดีลองเขียนข้อความระบายบนบอร์ดน่าจะดีกว่านะ

8. ระงับความโกรธ
บางครั้งการระงับอารมณ์โกรธก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
ลองระบายความรู้สึกนั้นแล้วส่งจดหมายถึงตนเอง หรือเขียนเก็บความรู้สึกนั้นไว้
วิเคราะห์สาเหตุเพื่อขจัดความโกรธนั้นทิ้งไป
เวลาผ่านไปสักสองเดือนลองกลับมาอ่านใหม่ คุณอาจรู้สึกประหลาดใจกับความรู้สึกนั้นก็เป็นได้

9. อย่าคิดว่าโดนจับผิด
การเปิดโอกาสและยอมรับฟังคำวิจารณ์งานของคุณในที่ประชุม
ไม่ได้หมายความว่าคุณเปิดโอกาสให้ตัวเองโดนจับผิด
ที่สำคัญอย่าให้คำพูดเหล่านั้นทำลายความมั่นใจของคุณ แปรเปลี่ยนเป็นการพัฒนาปรับปรุงงานให้ดีขึ้นดีกว่า

10. มีประเด็นชัดเจน
ในการถกเถียงประเด็นต่างๆ จดประเด็นหลักเอาไว้ 3-5 ข้อ พูดคุยโดยยึดประเด็นหลักนี้ไว้
หากเขาหรือเธอออกนอกประเด็นและเริ่มออกอาการอารมณ์เสีย
พยายามดึงหัวข้อสนทนากลับมายังประเด็นหลัก นี่คือหนทางหลีกเลี่ยงความขัดแย้งและการโต้เถียงที่รุนแรง

11. แจกแจงงานอย่างมีระบบ
อย่าเปลี่ยนแปลงระบบงาน หรือสร้างความประหลาดใจให้เจ้านายและเพื่อนร่วมงาน ด้วยการเปลี่ยนเดดไลน์
หรือเพิ่มปัญหาใหม่ขึ้นมาๆ เพราะเพื่อนร่วมงานมักจะมีปฏิกิริยาโต้ตอบในทางลบกับเรื่องเหล่านี้

12. จัดการขาวีน
บอกเขาหรือเธอเหล่านั้นว่าคุณรู้สึกยุ่งยากลำบากใจเพียงใด ที่ต้องรับฟังหรือทนพฤติกรรมขี้วีน
และไม่เข้าใจว่าทำไมมืออาชีพอย่างเขาหรือเธอทำอย่างนั้น
ลองพูดว่า "ฉันรู้นะว่าเราทั้งคู่ต้องการเป็นมืออาชีพตลอดเวลา"

13. เลือกคำพูดและน้ำเสียง
อย่าเอะอะโวยวายกับการกระทำที่ไม่ถูกต้องของเพื่อนร่วมงาน
โดยเฉพาะการใช้ถ้อยคำหยาบคายและการตะโกนกรีดร้อง แทนที่จะขึ้นเสียงสูง พูดจาสั้นห้วนประชดประชัน
ลองแสดงความเห็นใจและถามไถ่ "คุณมีเรื่องอะไรในใจหรือเหตุผลอะไรหรือเปล่า"

14. ประเมินบุคคล
การตั้งเป้าหมายเพื่อประเมินผลตัวบุคคลแต่ละคนอย่างชัดเจน ย่อมดีกว่าความคลุมเครือ
การระบุความหมายให้ตรงเป้าที่สุด เช่น แทนที่จะพูดว่า "ฉันหวังว่าคุณจะปรับเปลี่ยนทัศนคติของคุณ"
น่าจะเป็น "ฉันคงไม่เห็นเหตุการณ์ที่คุณขึ้นเสียงกับพนักงานคนอื่นอีกนะ"

15. เลิกซุบซิบ
เป็นเรื่องปกติไปแล้วในวงเม้าท์ที่มักเริ่มทุกเรื่องด้วยคำว่า "จริงเหรอเนี่ย"
เมื่อได้ยินคำนี้ให้ลองดึงบทสนทนากลับเข้าสู่เรื่องการงานทุกครั้ง
ขาเม้าท์ มักวงแตกเสมอ ถ้าต้องคุยเรื่องงานแบบจริงจัง

16. รักษาระยะห่าง
เพื่อนร่วมงานทุกคนไม่จำเป็นต้องเป็นคู่หูของคุณ มนุษยสัมพันธ์และความเป็นมิตรเป็นเรื่องสำคัญ
แต่อย่าลืมว่าการใช้ชีวิตกับการทำงานเป็นคนละเรื่องกัน ต้องแยกให้ได้

17. ผูกมิตรด้วยเรื่องสัพเพเหระ
ลองพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานถึงสิ่งที่เขาหรือเธอชอบดนตรี ภาพยนตร์หรืองานอดิเรก ด้วยการพูดคุยเล่นสบายๆ
คุณอาจเริ่มบทสนทนาง่ายๆ เช่น "ฉันรู้จักร้านอาหารอิตาเลียนดีๆอยู่ร้านนึง คุณชอบลาซานญ่าใช่ไหม"

18. ควบคุมอารมณ์
อย่าส่งเสียงแหลมสูงเมื่ออารมณ์ถึงขีดสุดของสถานการณ์ พยายามปรับน้ำเสียงให้อยู่ในโทนปกติที่ใช้
นอกจากจะไม่เป็นการกระตุ้นอารมณ์พลุ่งพล่านแล้ว ยังช่วยรักษาระดับอารมณ์ของคุณให้เป็นปกติได้ดีขึ้น
ผลกระทบถึงเพื่อนร่วมงานก็จะน้อยลงด้วย

19. วิจารณ์ในแง่ดี
โดยปกติคนเรามักจะสนใจกับข้อผิดพลาดของคนอื่น ลองเปลี่ยนมาสังเกตข้อดี การกระทำที่ถูกต้อง
หรือความสามารถของเพื่อนร่วมงานดูบ้าง คำชมหรือคำวิจารณ์ในแง่ดีจะไม่ทำให้รู้สึกว่าถูกโจมตี

20. เปิดใจกว้าง
เมื่อมีคนวิจารณ์หรือติเตียนชนิดไม่สนว่าคุณจะรู้สึกอย่างไร
ลองใช้โอกาสนี้แสดงให้เขาเหล่านั้นเห็นว่า คุณมีแนวทางที่จะพัฒนาปรับปรุงงานอย่างไร
นี่คือโอกาสสำคัญ ที่คุณจะแสดงให้เห็นเป้าหมายในหนทางสู่ความเจริญก้าวหน้า


ที่มา :
//new.goosiam.com
//women.kapook.com




 

Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2552
1 comments
Last Update : 13 เมษายน 2553 0:46:46 น.
Counter : 1038 Pageviews.

 

แต่บางข้อ ก็อดไม่ได้นะ ถ้าช่วงที่เครียด ๆ มา แล้ว ขี้บ่น ขี้วีน ชอบประเมินบุคคลค่อนข้างต่ำ ถึงต่ำฉิบหาไม่เจอ ฯลฯ จะทำอย่างไรดี

 

โดย: ปอนด์ IP: 192.168.99.8, 127.0.0.1, 118.173.227.182 1 กุมภาพันธ์ 2553 16:08:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.