happy memories
Group Blog
 
<<
กันยายน 2557
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
30 กันยายน 2557
 
All Blogs
 
เสพงานศิลป์ ๑๔๗





ภาพจากเวบ deviantart.com





"ฉันได้จากโลกนี้ไปแล้วโดยไม่เสียใจ

เพราะฉันได้อุทิศชีวิตของฉันให้กับ

บางสิ่งที่เป็นประโยชน์

ในฐานะเป็นผู้รับใช้ที่ต่ำต้อย

ในงานศิลปของฉัน

ชีวิตนั้นสั้น....แต่ศิลปะยืนยาว


ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี





Romance - Yuhki Kuramoto








อาจารย์จิรา จงกลรับเสด็จฯ ในหลวงทอดพระเนตรงานพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ



อาจารย์จิรา จงกล ภูมิรู้พิพิธภัณฑ์วิทยาของแผ่นดิน


โบราณวัตถุนั้นเป็นหลักฐานสำคัญที่โยงไปถึงงานประวัติศาสตร์โบราณคดี ศิลปกรรมและวัฒนธรรม ดังนั้นการจัดพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้นั้นจึงเป็นงานที่มีความสำคัญยิ่งจากห้องเก็บโบราณวัตถุศิลปวัตถุ ทั่วไปให้เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาตินั้นจำเป็นต้องมีการพัฒนาและมีความเป็นสากล อาทิตย์นี้ขอเสนอบุคคลสำคัญผู้วางรากฐานงานพิพิธภัณฑ์อันสืบเนื่องจากงาน ๑๔๐ ปีวันพิพิธภัณฑ์ไทยด้วยปีพ.ศ. ๒๕๓๘ นั้นคณะรัฐมนตรีได้ประกาศให้วันที่ ๑๙ กันยายนเป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทยโดยนับจากวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งมิวเซียมหลวงขึ้นที่หอคองคอเดียหรือศาลาสหทัยสมาคมในพระบรมมหาราชวัง โดยมีพิธีเปิดในวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๗ จึงถือเป็นวันกำเนิดกิจการพิพิธภัณฑ์สถานสำหรับประชาชนในประเทศไทยเป็นครั้งแรก





ผอ.จิรา จงกลนำชมโบราณวัตถุในพิพิธภัณฑ์



สำหรับในโอกาสครบ ๑๔๐ วันพิพิธภัณฑ์ไทยนี้สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติได้จัดนิทรรศการพิเศษเรื่อง “รฦกจิราจงกล” เพื่อเชิดชูเกียรติอาจารย์จิราจงกลผู้อำนวยการกองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติคนแรก และเป็นปูชนียบุคคลผู้วางรากฐานกิจการพิพิธภัณฑสถานของไทย ณ บริเวณโถงส่วนหน้าพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ระหว่างวันที่ ๑๒ กันยายน – ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ นิทรรศการนั้นประกอบด้วยชีวประวัติอาจารย์จิราตั้งแต่วัยเยาว์ครอบครัวการศึกษา ซึ่งอาจารย์จิรานั้นเกิดเมื่อวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๒ เป็นบุตรีของหลวงจันทรานนท์นัยวินิต(สำราญ) และคุณแม่ลำเจียก ในวัยเด็กอาจารย์จิราได้ติดตามบิดาซึ่งรับราชการในกระทรวงมหาดไทยที่ต้องเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในหลายจังหวัด เมื่อเข้ามาอยู่กรุงเทพได้เรียนมัธยมปลายที่โรงเรียนราชินีบนและเรียนโรงเรียนฝึกหัดครูเตรียมอุดมศึกษา เริ่มทำงานเป็นครูแล้วสอบเข้ารับราชการในกองโบราณคดีกรมศิลปากร ตำแหน่งภัณฑารักษ์ เมื่อพ.ศ. ๒๔๙๖ พร้อมกับได้ศึกษาภาคค่ำได้ปริญญษตรีทางการศึกษาและสอบชิงทุนโคลอมโบศึกษาต่อจบปริญญาโท Master of Education นำเสนอวิทยานิพนธ์เรื่อง The Contribution of Museums to Primary Education เมื่อพ.ศ. ๒๕๐๖ อาจารยฺจิราจงกลกลับมาได้ปฏิบัติหน้าที่ในกองโบราณคดีตามเดิมและได้แต่งงานกับนายสวัสดิ์จงกล





สมเด็จพระเทพรัตนาราชสุดาฯทรงเรียนวิธีสำเนาจารึก



สำหรับหน้าที่การงานนั้นอาจารย์จิราจงกลได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบด้านพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและงานคณะกรรมการสภาพิพิธภัณฑ์ระหว่างประเทศ (ICOM) และควบคู่ไปกับการสอนที่โรงเรียนช่างศิลป์และที่คณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากรได้รับความไว้วางใจในการพัฒนางานพิพิธภัณฑสถานให้เป็นไปตามหลักสากล จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้ากองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ คนแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ ตำแหน่งสุดท้ายได้เป็นผู้อำนวยการกองพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ





นักพิพิธภัณฑ์ระลึกถึงผอ.จิรา จงกล ผู้วางรากฐาน



อาจารย์จิราจงกล นั้นได้รับการกย่องว่าเป็นปูชนียบุคคลสำคัญผู้วางรากฐานงานพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ และเป็นผู้มีบทบาทในสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างประเทศ เป็นภัณฑรักษ์ถวายการบรรยายความรู้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระบรมวงศานุวงศ์และพระราชอาคันตุกะอยู่บ่อยครั้ง เป็นครูผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านพิพิธภัณฑวิทยาให้กับศิษย์หลายรุ่นซึ่งบรรดาศิษย์ของอาจารย์จิรา จงกลนั้นต่อมาได้เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในกิจการพิพิธภัณฑ์ของชาติมาทุกวันนี้ โดยสานต่อการพัฒนาที่อาจารย์จิราจงกลได้วางแผนพัฒนาการจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ด้วยระเบียบวิธีและเทคนิคสมัยใหม่ให้มีพื้นที่สำหรับการจัดกิจกรรมบริการ และเริ่มการสอนวิชาพิพิธภัณฑ์สถานวิทยาขึ้นในประเทศไทย อันเป็นผลให้มีการจัดตั้งมีพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติขึ้นหลายแห่งและมีการจัดการงานพิพิธภัณฑ์ให้สอดคล้องตามหลักสากล เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของประเทศในอนาคต





ประธานการประชุมASPACที่ไต้หวัน





การขออนุญาตนำโบราณวัตถุเข้า-ออกนอกประเทศ





คลีนิครักษาโรคโบราณวัตถุ





งานสารสนเทศโบราณวัตถุ





"ภาพเหมือน" (จิรา จงกล) พ.ศ. ๒๕o๒
ศิลปิน จำรัส เกียรติก้อง
เทคนิค สีน้ำมันบนผ้าใบ ขนาด ๑๑๒ x ๘๒.๕ ซม.
สมบัติของ กรมศิลปากร
ภาพจากเวบ psgartgallery.su.ac.th




ภาพและข้อมูลจากเวบ
naewna.com













ศิลปกรรมราชรถ 'สังฆราช' ภูมิปัญญางานช่างบนแผ่นดิน.


ราชรถพระนำและราชรถเชิญพระโกศพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เพื่อใช้ในริ้วกระบวนพระราชอิสริยยศพระโกศพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่เป็นสัญลักษณ์ตามโบราณราชประเพณี คณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระศพสมเด็จพระสังฆราชฯ ให้ ๓ หน่วยงานหลัก คือ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม กรมสรรพาวุธทหารบกและกรมอู่ทหารเรือ ร่วมภารกิจสำคัญบูรณะซ่อมแซมราชรถทั้งสองเพื่อเป็นเกียรติยศของสมเด็จพระสังฆราชฯ องค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์






ในส่วนของงานศิลปกรรม กรมศิลปากรได้มอบหมายให้สำนักช่างสิบหมู่ซ่อมเสริมความมั่นคงแข็งแรงในส่วนของงานโครงสร้างไม้ลวดลายแกะสลักที่ชำรุดเสียหาย ปิดทองประดับกระจกใหม่ทั้งหมด รวมถึงธงสามชายงอนประจำราชรถ หรือผ้าลายทองแผ่ลวด ของราชรถพระนำและราชรถเชิญพระโกศพระศพเปลี่ยนใหม่ โดยรักษารูปแบบศิลปะดั้งเดิมไว้ ขณะนี้งานการบูรณะเสร็จสมบูรณ์ พร้อมใช้ในการจัดริ้วกระบวนพระราชอิสริยยศ






เอนก สีหามาตย์ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า เริ่มดำเนินการซ่อมแซมราชรถเดือนมีนาคม ๒๕๕๗ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๗ รวมระยะเวลา ๖ เดือน ใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น ๒,๑๔๗,๓oo บาท การบูรณะยึดซ่อมแซมในส่วนที่ลวดลายผิดไปจากรูปแบบงานศิลปกรรมไทยที่ถูกต้อง ทำให้ครบถ้วนสมบูรณ์และสวยงาม นอกจากนั้นยังต้องการให้ประชาชนได้รับรู้และเข้าใจงานศิลปกรรมไทยในพระราชประเพณี เพื่อใช้ในพระราชพิธีฯ ที่มีสืบทอดกันมา ด้วยเหตุนี้ ในระหว่างรอโปรดเกล้าฯ กำหนดวันพระราชทานเพลิงพระศพ กรมศิลปากร โดยสำนักช่างสิบหมู่ เปิดให้ประชาชนเข้าชมราชรถพระนำและราชรถเชิญพระโกศพระศพสมเด็จพระสังฆราชฯ ณ อาคารกลุ่มประณีตศิลป์ (โรงเก็บเครื่องราชพิธีฯ) สำนักช่างสิบหมู่ จ.นครปฐม ทุกวัน ยกเว้นวันหยุดราชการ






ราชรถสมเด็จพระสังฆราชฯ ที่ปรากฏ ณ โรงเก็บเครื่องราชพิธีฯ นับเป็นงานศิลปกรรมชิ้นเอก ช่างเขียนและลายรดน้ำ ช่างแกะสลักและช่างไม้ประณีต ผนึกกำลังช่างปิดทองประดับกระจกที่มีความเชี่ยวชาญงานศิลป์โบราณ ทุ่มเทแรงกายแรงใจบูรณะจนแล้วเสร็จ เป็นประจักษ์พยานภูมิปัญญาทางด้านศิลปวัฒนธรรมของผู้คนบนแผ่นดินไทย






ชรินทร์ ฉายอรุณ นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน หัวหน้ากลุ่มงานช่างแกะสลักและช่างไม้ประณีต สำนักงานช่างสิบหมู่ เผยว่า ราชรถทั้งสองเป็นงานศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ ๖ เคยผ่านการบูรณะมาแล้วเมื่อใช้ในงานพระศพของสมเด็จสังฆราชฯ องค์ก่อน พบลวดลายที่ผิดและชำรุด การซ่อมราชรถในครั้งนี้จึงแกะสลักไม้ใหม่ทดแทน เช่น กระจังรวนเกรินหน้าราชรถ แกะสลักไม้กระจังปฏิญาณด้านข้างราชรถ แกะสลักงอนราชรถ แกะลายประจำยามส่วนประกอบลายราชวัตร รวมถึงกระหนกเกรินราชรถ ทำให้ครบถ้วนตามกระบวนราชประเพณี เป็นงานประณีตศิลป์ที่ไม่มีการเรียนการสอนแล้วในวันนี้ แต่ในการซ่อมให้นักศึกษาศิลปะที่มาฝึกงานกับสำนักช่างสิบหมู่มีส่วนร่วม เป็นหนึ่งในการถ่ายทอดภูมิปัญญาไทยด้วย






ด้าน ยุนีย์ ธีระนันท์ กลุ่มงานปิดทองประดับกระจก กล่าวว่า ลวดลายราชรถที่หายไปหรือไม่คมชัด ช่างได้กะเทาะกระจกเก่า และลอกสีเตรียมพื้นผิวลวดลาย และปิดทองประดับกระจกใหม่ทั้งหมด งานปิดกระจกใช้สีกระจกตามงานศิลปกรรมเดิม เมื่อบูรณะเสร็จสมบูรณ์มีความสวยงามยิ่งขึ้น


“ราชรถปิดทองประดับกระจก ใช้กระจกสีขาวเสมือนเพชร กระจกสีเขียวดั่งมรกต และสีน้ำเงินแทนนิล ราชรถทั้งสององค์เป็นงานช่างไทยโบราณที่ยังคงได้สืบทอดบนชิ้นงานศิลปกรรมต่าง ๆ จนถึงทุกวันนี้ งานปิดทองประดับกระจกนอกจากใช้ในงานพระราชพิธีพระบรมศพ พระศพ ยังรวมถึงกระบวนเรือพระราชพิธีทางชลมารค ตกแต่งวิจิตรอลังการ นับเป็นงานที่เหล่าช่างภาคภูมิใจ ขณะที่ประชาชนจะได้ร่วมถวายความอาลัยและตรึงตรากับริ้วกระบวนพระราชอิสริยยศ เชิญพระโกศพระศพสมเด็จพระสังฆราชฯ ในครั้งนี้" ช่างศิลปกรรมผู้ชำนาญงานประณีตศิลป์กล่าวในท้ายที่สุด พร้อมเชิญชวนมาชมงานศิลปกรรมสุดประณีตที่สำนักช่างสิบหมู่.



ภาพและข้อมูลจากเวบ
thaipost.net
manager.co.th














ท่องอดีตบน 'กระดองเต่า ๓,๓oo ปี'


แปดชั่วโมงครึ่ง นับจากคณะนักวิชาการด้านไทศึกษากว่าสิบชีวิต นำโดย อ.อรไท ผลดี ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ผ้าเผ่าไท และ อ.ฟาน จูน ผู้อำนวยการสถาบันไทย-จีนศึกษา พาลัดฟ้าจากสยามประเทศ สู่สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เมืองเจิ้งโจว แล้วต่อรถบัสไปตามทางหลวงสายปักกิ่ง-กวางโจว เพื่อย้อนเวลาสู่แหล่งอารยธรรมโบราณของมนุษยชาติ ราว ๓,๓oo ปีมาแล้ว ณ เมืองโบราณอันหยาง


แม่น้ำเหลือง หรือฮวงเหอ (คนไทยรู้จักในชื่อ ฮวงโห) ทอดตัวอ้อยอิ่งให้เห็นจากสะพานข้าม ผิดจากเรื่องราวของสายน้ำเชี่ยวกรากที่เคยคร่าชีวิตชาวจีนไปนับแสนเมื่อครั้งอดีต ฮวงเหอไหลจากทิศตะวันตกไปยังตะวันออก แบ่งคั่นแดนมังกรออกเป็น ‘จีนตอนเหนือ และจีนตอนล่าง’


เมืองอันหยาง ตั้งอยู่ทางฟากจีนตอนเหนือเฉียงไปทางตะวันออกเล็กน้อย ห่างจากเมืองหลวงปักกิ่ง ระยะทาง ๗oo กิโลเมตรภูมิประเทศเป็นที่ราบ ไม่ไกลกัน คือเทือกเขาไทหางอันยิ่งใหญ่ งดงามติดอันดับ ๑ ใน ๑o หุบเขางามที่สุดของจีน ได้รับฉายาว่า ‘แกรนด์ แคนยอน เมืองจีน’ ไทหางเทือกนี้แผ่ตัวไปจนถึงปักกิ่งขนานไปกับทางหลวง มีทางรถไฟทั้งแบบดั้งเดิมและรถไฟความเร็วสูงสายปักกิ่ง-กวางโจว






อ.ฟาน จูน เล่าว่า ทุกวันนี้รัฐบาลจีนเป็นผู้ส่งออกรถไฟความเร็วสูงไปทั่วโลกในอันดับต้น ๆ ตลอดสองฝั่งถนนมองเห็นไร่ข้าวโพด ชาวจีนนิยมนำแป้งข้าวโพดมาทำข้าวต้ม ขณะที่อาหารหลักของชาวอันหยาง คือข้าวสาลี ใช้ทำหมั่นโถวและบะหมี่


แม้จะมีสถานะเป็นเมืองเล็ก ประชากรราว ๕.๘ ล้านคน ทว่าความสำคัญของเมืองนี้คือการปรากฏอยู่ของ ‘แหล่งโบราณคดียินซวี’ (Yinxu) ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็น ‘มรดกโลก’ จากองค์การยูเนสโก ด้วยเป็นสถานที่ค้นพบมรดกวัฒนธรรมสำคัญยิ่ง นั่นคือ ซากวังราชวงศ์ซาง สุสานรถม้า และแหล่งโบราณคดีอักษรคำทำนายบนกระดองเต่าที่เก่าแก่ของโลก อาณาบริเวณแหล่งยินซวี กว้างขวางกว่า ๒๔ ตารางกิโลเมตร จัดเป็นเส้นทางเดินให้เยี่ยมชมหลุมขุดค้นต่าง ๆ ในรูปของ Site Museum


เริ่มทำความรู้จักประวัติศาสตร์ราชวงศ์ซาง และโบราณวัตถุกว่า ๕oo ชิ้น โดยเฉพาะเอกลักษณ์สำคัญของราชวงศ์ซาง คือ เครื่องสำริดอันวิจิตร และเครื่องหยก ที่ ‘พิพิธภัณฑ์ยินซวี’ พิพิธภัณฑ์ใต้ดิน ตั้งตามตำแหน่งที่ขุดค้นทางโบราณคดี โบราณวัตถุชิ้นสำคัญ ได้แก่ กระถางธูปกำยานสำริดขนาดใหญ่ เรียกว่าติ่ง (Ding) และตำแหน่งหลุมขุดค้น ที่พบอักษรกระดองเต่ากว่าแสนชิ้นขึ้นจากใต้ดิน ลัดเลาะไปตามละเมาะไม้ สู่ ‘พิพิธภัณฑ์สุสานรถม้า’ ที่ยังคงปรากฏซากกระดูกม้าเทียมเกวียนและกระดูกมนุษย์อยู่ร่วมกัน






‘ซากราชธานีใต้ดิน’ ถูกออกแบบให้มองผ่านกระจกชนิดพิเศษ บ่งบอกเรื่องราวของกษัตริย์ราชวงศ์ซางตอนปลาย ที่ย้ายถิ่นฐานจากทางใต้ของจีน ขึ้นมาปักหลักบนดินแดนแถบนี้นานถึง ๒๕๕ ปี มีกษัตริย์ครองราชย์ ๑๒ พระองค์ ก่อนจะถูกโค่นล้ม และตั้งราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์โจว ความสำคัญของดินแดนแห่งอักษรโบราณนี้เอง ทำให้รัฐบาลจีนทุ่มทุนสร้าง ‘พิพิธภัณฑ์แห่งชาติด้านอักษรจีน’ ขึ้นที่เมืองอันหยาง เปิดให้เข้าชมเป็นทางการในปี พ.ศ. ๒๕๕๒


โบราณวัตถุจำนวน ๔,๑๒๓ ชิ้น จากแหล่งโบราณคดีแห่งต่าง ๆ ทั่วประเทศ ที่พบจารึกและอักษรโบราณ ทำให้เข้าใจพัฒนาการของอักษรจีน จากอักษรภาพคำทำนายบนกระดองเต่า เขาสัตว์ กระดูกวัว ภาชนะดินเผา ภาชนะสำริด มาสู่อักษรบนแผ่นไม้ไผ่ ผ้าไหม และกระดาษ ตามลำดับ รวมถึงการจัดแสดงพัฒนาการของอักษรกลุ่มชาติพันธุ์ในจีน รวม ๕๖ ชนเผ่า


คำทำนายบนกระดองเต่าและเขาสัตว์นี้ กลายเป็นบทบันทึกประวัติศาสตร์สังคมของยุคบรรพกาลได้อย่างดี การเสี่ยงทายและถามตอบระหว่างกษัตริย์กับสวรรค์ โดยมีพ่อหมอหรือโหรหลวงเป็นสื่อกลางและเป็นผู้บันทึกคำทำนายบนกระดองเต่า ได้แก่ ปรากฏการณ์สุริยุปราคา พิธีกรรมขอฝน การเพาะปลูก โรคภัยไข้เจ็บ คำพยากรณ์ว่าด้วยจักรราศีต่าง ๆ เป็นต้น






อ.อรไท ผลดี ผู้พยายามเชื่อมโยงหลักฐานอักษรคำทำนายบนกระดองเต่าอันเป็นระบบแบบแผนที่สุดในสมัยราชวงศ์ซางตอนปลาย ว่าเกี่ยวข้องกับอักษรชาวไท (ไต) ที่อพยพจากตอนใต้ของจีนเช่นกัน ให้ความเห็นว่า


“บรรพชนเผ่าไท-จีน น่าจะมีวัฒนธรรมร่วมกัน การค้นพบอักษรคำทำนายบนกระดองเต่าเขาสัตว์ที่ยินซวี ก็เหมือนเราได้ค้นพบรากเหง้าของอักษรไทโบราณด้วย ยังมีหลักฐานโบราณวัตถุจากแหล่งวัฒนธรรมของจีนอีกมากมายที่สะท้อนความสัมพันธ์นี้ เช่น ที่มณฑลกานซู อดีตนครลุง อายุ ๖,ooo ปี มณฑลชานตุง อายุ ๕,ooo ปี รวมถึงวัฒนธรรมต้าซี วัฒนธรรมหลงซาน วัฒนธรรมเลียงจู่ มณฑลเจ้อเจียง อายุ ๕,ooo-๖,ooo ปี ที่พบอักษรภาพบนเครื่องปั้นดินเผา”


ไม่ว่าจะเป็นการตีความด้วยแง่มุมใดมรดกวัฒนธรรมด้านภาษาของมนุษยชาติก็เป็นสิ่งท้าทายให้นักวิชาการเดินหน้าค้นคว้าต่อไป


... เมฆไล้ชะง่อนผาและหุบเขาไทหาง โตรกธารไหลรินชำแรกอดีต


ไม่ผิดเลยที่ภูมิสถานบริเวณที่ราบไม่ไกลจากเทือกเขาใหญ่ จะเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรเมื่อหลายพันปีก่อน



ภาพและข้อมูลจากเวบ
komchadluek.net














สิ้น "ศ.ประหยัด พงษ์ดำ" ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์) ปี ๒๕๔๑


ขอแสดงความเสียใจกับการจากไปของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณประหยัด พงษ์ดำ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๑ ซึ่งขณะนี้แหล่งข่าวแจ้งว่าเป็นการจากไปอย่างสงบ ขณะนอนหลับ ทว่าก่อนหน้านี้หลังจากที่ได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของศิลปินแห่งชาติ ถวัลย์ ดัชนี แหล่งข่าวกล่าวว่าได้สร้างความเสียใจให้กับ ศ.ประหยัด มีผลทำให้มีอาการนอนไม่หลับ ซึ่งไม่น่าแปลกใจที่จะเป็นเช่นนั้น เพราะจากคำบอกเล่าของ ดอยธิเบศร์ ดัชนี ทายาทของถวัลย์ บ่อยครั้งที่จะได้เห็นทั้งศิลปินแห่งชาติทั้งคู่ไปไหนมาไหนด้วยกัน และถวัลย์ก็เคยประกาศว่า "มีพี่หยัดที่ไหน มีถวัลย์ที่นั่น"


ขณะที่ สยมภู พงษ์ดำ ทายาทศาสตราจารย์เกียรติคุณประหยัดก็ได้โพสต์ภาพพ่อ ขณะทำงานศิลปะ และข้อความแจ้งกับทุกคนผ่าน facebook ในเช้าของวันที่ ๑๙ กันยายน ว่า....


เช้าวันนี้พ่อได้จากไปอย่างสงบ
พ่อจะอยู่ในความทรงจำของพวกเราตลอดไป......


โดยที่ก่อนหน้านี้เพิ่งจะมีการเปิด หอศิลป์ประหยัด พงษ์ดำ ที่เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ไปเมื่อไม่นาน


กำหนดการงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์เกียรติคุณประหยัด พงษ์ดำ

ตั้งสวดอภิธรรมศพ ณ วัดเทพศิรินทร์ทราวาส ราชวรวิหาร ศาลา ๑ (ซึ่งเป็นวัดและศาลาเดียวกันกับที่เคยทำพิธีรดน้ำศพ ศิลปินแห่งชาติ ถวัลย์ ดัชนี)

วันรดน้ำศพ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราทานน้ำหลงวงอาบศพ วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ เวลา ๑๗.oo น.

วันสวดอภิธรรมศพตั้งแต่วันศุกร์ที่ ๑๙ กันยายน - วันศุกร์ที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗

จากนั้นจะมีการเก็บศพไว้ ๑oo วัน เพื่อขอพระราชทานเพลิงศพ ในลำดับต่อไป






ศาสตราจารย์เกียรติคุณประหยัด พงษ์ดำ เกิดเมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ที่จังหวัดสิงห์บุรี สนใจวาดภาพสัตว์ต่าง ๆ มาตั้งแต่เด็ก หลังจากเข้ารับการศึกษาศิลปะที่โรงเรียนเพาะช่างและมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับปริญญาตรีศิลปะบัณฑิต (จิตรกรรม) แล้ว ได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลอิตาลีไปศึกษาต่อ ณ สถาบันประณีตศิลป์แห่งกรุงโรมศึกษาจบหลักสูตรได้รับดีโพลมา ในปี พ.ศ. ๒๕o๔ ศาสตราจารย์ประหยัดได้สร้างชื่อเสียงการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ได้รับรางวัลในการแสดงงานศิลปะ ณ ประเทศอิตาลีหลายรางวัล และเมื่อกลับมาเมืองไทยแล้วได้คิดค้นสร้างสรรค์กรรมวิธีภาพพิมพ์ด้วยเทคนิควิธีแปลกใหม่ ที่มีคุณประโยชน์อย่างมาก แก่วงการศิลปะภาพพิมพ์


เป็นผู้ริเริ่มออกแบบสร้างสรรค์ดวงตราไปรษณียากรที่มีคุณค่าทางศิลปะอันงดงาม สร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์ จนได้รับรางวัลทั้งในและต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕o๖ ได้รับเลือกเป็นศิลปินเกียรติยศ สาขาภาพพิมพ์ จากสถาบันศิลปะ กรุงฟลอเรนซ์ อิตาลี โดยรัฐบาลอิตาลี พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับเกียรติเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม ได้รับพระกรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้เขียนภาพประกอบในหนังสือพระมหาชนก จำนวน ๔ ภาพ


ศาสตราจารย์เกียรติคุณประหยัด พงษ์ดำ ยังได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน ผลงานมีคุณค่าเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ เป็นผู้มีอาวุโสผู้หนึ่งที่ยังให้การศึกษาแก่ศิษย์ ในคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากรในปัจจุบัน เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาภาพพิมพ์ คณบดีคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งหอศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้สร้างคุณประโยชน์อย่างมากไว้แก่วงการศิลปะ และการศึกษาศิลปะของไทย


ศาสตราจารย์เกียรติคุณประหยัด พงษ์ดำ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๑






๒ ศิลปินเมืองสิงห์พูดถึงศิลปินเมืองสิงห์ วัย ๗๙ ปี ผู้จากไป



“เพียงเก้าวันผ่านพ้น ความหวังที่วาดไว้ ทำไม่ได้อีกแล้ว เป็นอนุสติเตือนตน ขอให้อาจารย์เฝ้ามองดูและหัวเราะเยาะความโง่เขลาของเรา อยู่บนสรวงสวรรค์ ด้วยเทอญ”


เบี้ยว - เริงศักดิ์ บุณยวาณิชย์กุล ศิลปินไทยในสิงคโปร์ ชาวสิงห์บุรี โพสต์ข้อความผ่าน facebook ในวันที่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณประหยัด พงษ์ดํา ได้อำลาจากโลกนี้ไป พร้อมกับนำภาพถ่ายของตนเองกับศาสตราจารย์ประหยัดที่เพิ่งถ่ายร่วมกันเมื่อช่วง ๙ วันที่ผ่านมา ในงานพระราชทานเพลิงศพของศิลปินแห่งชาติ ถวัลย์ ดัชนี มาโพสต์ซ้ำอีกครั้ง ซึ่งข้อความประกอบภาพได้บรรยายายไว้ว่า


“ตอนอยู่ปีสอง ปี ๒๕๒๕ ท่าน อาจารย์ประหยัดเป็นคณบดี เรียกผมไปเซ็นชื่อ รับทุน มีเซียม ยิบอินซอย จำนวนเงิน สองพันห้าร้อยบาท พออยู่ปีสาม ก็เรียกไปเซ็นชื่อ รับทุนสนับสนุนการศึกษาอีก สามพันบาท เลือดเมืองสิงห์ มันเข้ม เวลาผ่านไปหลายปี อาจารย์ทราบว่า ผมมีนามสกุลเป็นตระกูลเจ้าสัวเมืองสิงห์ แกบอกไม่น่าให้ทุนมันเลย 555 แต่ผมจะบอกอาจารย์ว่า อาจารย์ให้ถูกคนแล้ว เตี่ยผมขายกาแฟ แม่ขายก๋วยเตี๋ยว ลูกหก กิจการเจ๊งไม่เป็นท่า นามสกุลไม่เกี่ยวเลย ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูง ด้วยความเคารพรัก ผมจะไปเยี่ยมอาจารย์ นะ นะ”


ทว่าในที่สุดเขาไม่ได้มีโอกาสไปเยี่ยมอาจารย์ดังที่ตั้งใจไว้ และด้วยความตกใจเมื่อทราบข่าวการเสียชีวิตของอาจารย์ยังได้ส่งข้อความหา


องุ่น- เกณิกา สุขเกษม ประติมากรหญิงและคอลัมนิสต์ “เรื่องเล่าในเงาดิน” ศิลปินรุ่นน้องซึ่งเป็นชาวสิงห์บุรี ด้วยกัน


ซึ่งเธอเป็นคนแรกที่แจ้งข่าวการเสียชีวิตของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณประหยัด ให้ ART EYE VIEW ได้ทราบ และแม้จะไม่ได้มีความผูกพันกับศาสตราจารย์เกียรติคุณประหยัดในฐานะอาจารย์กับลูกศิษย์ดังเช่นเริงศักดิ์ ทว่าครั้งหนึ่งศาสตราจารย์เกียรติคุณประหยัด เคยไปเป็นประธานเปิดนิทรรศการให้กับ "นายดี ช่างหม้อ" ประติมากรชายอดีตคู่ชีวิตขององุ่น


“ท่านเคยมาเปิดงานให้นายดีครั้งหนึ่งด้วยค่ะ องุ่นเคยพบท่าน พี่เบี้ยวเริงศักดิ์ ก็ส่งข้อความมาในกล่องขององุ่น พี่เบี้ยวตกใจ และเสียใจ บอกว่าจะไปเยี่ยมบ้านอาจารย์อยู่แท้ ๆ พี่เบี้ยวบอกว่า


"เราต้องรีบทำอะไร อย่ารีรอจนสายไป เรามีครูบาอาจารย์อีกหลายท่านที่พึงเคารพค่ะ”


และอีกครั้งที่เริงศักดิ์ได้เล่าเพิ่มเติม ในวันที่ ๒o กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ ว่า...


"วันที่เข้ามาสอบสัมภาษณ์เข้าคณะจิตรกรรม เด็กสิงห์อย่างผม ดูจะมีความพิเศษที่ว่า อาจารย์ถามหา 'ไหนคนสิงห์ ' คำถามเกี่ยวกับโรงเรียนสิงห์บุรี พรั่งพรูออกมา จนตอบไม่ทัน อาจารย์คงมีความผูกพันมาก ขึ้นปีสอง อาจารย์รับงานวาดภาพให้พี่สมยศ ไตรเสนีย์ ประดับโรงแรมนายเลิศ แต่มีคำสั่งพ่วงท้ายว่า ให้เอารุ่นน้องไปช่วยวาดด้วยสี่คน หนึ่งในนั้นคือผมเอง อานิสงค์ต่อมาคือ ผมได้รับทุนถึงสองครั้งโดยไม่เคยกรอกแบบฟอร์มขอ ปีสาม อาจารย์พาไปรับงานนอก วาดจิตรกรรมฝาผนังประดับห้องพระของคุณประสาน มาลีนนท์ วาดอยู่สามเดือนกับไอ้จืด กิตติศักดิ์ นวลลักษณ์ ในสวนหลังบ้านอาจารย์ที่บางแค ได้เงินเรียนและฝึกมือไปด้วย ผมละเลยกับการมีปฏิสัมพันธ์กับท่านอาจารย์ จนคิดว่าพบเมื่อไรก็ได้ จวบจนอาจารย์ถวัลย์ลาโลกไป วันงานเผาอาจารย์ถวัลย์ ผมรู้สึกอยากกอดแกมาก ผมพูดมากกว่าปรกติ บอกให้แกเคาะหัวผมที แกทำแค่โอบไหล่ แล้วก็ถ่ายรูปกัน เพียงเท่านั้น ผมบอกจะไปเยี่ยมอาจารย์ จะ จะ จะ มากมาย แล้วผมก็กลับมาสิงคโปร์ คิดว่ากลับไป จะตระเวณไหว้ครูที่รักเคารพ เพียงเก้าวันเท่านั้น อาจารย์ไม่อยู่รอ มันจุกอก อ้างว้าง และเหงาจริง ๆ สายไปแล้ว รักเคารพใคร อย่ารีรอเลย คิดถึงอาจารย์มาก ๆ"


หมายเหตุ:

ศาสตราจารย์เกียรติคุณประหยัด พงษ์ดํา ชาวบางน้ำเชี่ยว อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี

เบี้ยว - เริงศักดิ์ บุณยวาณิชย์กุล ชาว อ.เมือง จ.สิงห์บุรี

องุ่น- เกณิกา สุขเกษม ชาว อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี







ภาพและข้อมูลจากเวบ
manager.co.th













ท่าเตียน กรุงเทพฯ บทที่ ๑
จากเมืองท่า สู่เมืองเที่ยว นิทรรศการแห่งบางกอกนคร ที่คนไทยควรได้ดู



เมื่อคลื่นความล้ำกำลังกระหน่ำเข้าสู่ "ท่าเตียน" ย่านการค้าที่ฮิปที่สุดในประวัติศาสตร์บางกอก เรา..จะปล่อยให้กลิ่นอายอันเป็นเอกลักษณ์ของท่าเตียนเลือนหายไป? หรือจะทำอย่างไร..ให้รากเหง้าและวิถีชีวิตเหล่านี้ดำเนินไปพร้อมกับความเจริญที่ถาโถมเข้ามา


ครั้งแรก! กับการรวบรวมวิถีชีวิตจริงและสถานที่จริงกว่า ๑o ไร่ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ “ท่าเตียน กรุงเทพฯ บทที่ ๑” มิวเซียมสยาม ขอถ่ายทอดเรื่องราวความ original ของท่าเตียนตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยามาถึงปัจจุบัน


เรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์กว่า ๕oo ปี ผ่านจุดบรรจบของ ๓ วัฒนธรรม วัง วัด ตลาด จนกลายเป็นเซ็นเตอร์พอยท์ของการคมนาคม การค้า ศิลปวัฒนธรรม การเมืองการปกครอง การศึกษา แถมเป็นแหล่งสุดฮิปที่หนุ่มสาวยุคนั้นต้องเฉียดมาชิลล์


ชมภาพยนตร์สั้น The Origin of Bangkok, The Origin of Love ควบคุมงานสร้างโดย มะเดี่ยว-ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ถ่ายทอดเรื่องวุ่นๆ ของเด็ก ม.๖ สามคน ที่ช่วยกันออกตามหา ออริจิ้น ออฟ แบงค์ค็อค ... เรื่องที่ต้องสืบค้นด้วยหัวใจ ไม่ใช่ Smart Phone


แล้วมากาง “แผนที่ท่าเตียน” ปั่นจักรยานตามรอยภาพยนตร์สั้น พร้อมไขคำตอบ..ทำไมท่าเตียนถึงเป็นจุดกำเนิดของกรุงเทพฯ? ตื่นตาด้วยเทคโนโลยี AR (Augmented Reality) ผ่านสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ทั้ง ๕ จุด ได้แก่ ป้อมวิไชเยนทร์, ยักษ์วัดโพธิ์, มหาวิทยาลัยแห่งแรก (วัดโพธิ์), ประตูช่องกุด, วัดอรุณฯ ตบท้ายด้วยคลิปเรื่องเล่าชุมชนท่าเตียนผ่าน QR Code อาทิ BTS รุ่น ๑, ละครปิดวิก, คอมมูนิตี้มอลล์แห่งพระนคร, ยี่ปั๊ว, มรดก (นวด) วัดโพธิ์, ตลาดอาหารแห้ง ฯลฯ


นิทรรศการ “ท่าเตียน กรุงเทพฯ บทที่ ๑” เปิดให้ชมตั้งแต่วันที่ ๓o กันยายน ๒๕๕๗ – ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เวลา ๑o.oo – ๑๘.oo น. (ปิดวันจันทร์) ที่ มิวเซียมสยาม (ท่าเตียน) รวมถึงอาณาบริเวณโดยรอบกว่า ๑o ไร่ ชมฟรี!!



ภาพและข้อมูลจากเวบ
เฟซบุค museumsiam














ประกวดภาพเก่าท่าเตียนก่อนปี ๒๕oo


มิวเซียมสยาม ขอเชิญชวนผู้ที่มีภาพถ่ายเก่าของ “ท่าเตียน” ส่งภาพถ่ายเข้าร่วมการประกวดภาพถ่ายเก่า “ท่าเตียน” เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของหน้าประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของท่าเตียน ในนิทรรศการชุดใหม่จากมิวเซียมสยาม


จะเป็นภาพตลาด ชุมชน ผู้คน ขอเพียงต้องบ่งบอกได้ว่าเป็นภาพที่ถ่ายที่ตลาดท่าเตียน ก่อนปี พ.ศ. ๒๕oo โดยสแกนภาพถ่ายดังกล่าว ส่งเป็นไฟล์ jpeg ขนาด 1 MB พร้อมคำบรรยายภาพ มาที่อีเมล piyamas@ndmi.or.th ได้ถึงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗


จะมีเพียง ๕ ภาพเท่านั้น ที่จะได้รับการคัดเลือกให้ร่วมจัดแสดงในนิทรรศการภาพถ่ายเก่าของชุมชน “ท่าเตียน” ณ มิวเซียมสยาม ซึ่งจะเปิดให้ชมในวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ โดยจะประกาศผลภาพที่ได้คัดเลือกทั้ง ๕ ภาพในวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๗ ทาง //www.museumsiam.org


เจ้าของภาพถ่ายที่ได้รับการคัดเลือกทั้ง ๕ ภาพ จะได้รับเชิญมาร่วมเป็นเกียรติในงานเปิดนิทรรศการภาพถ่ายเก่าของชุมชน “ท่าเตียน” ณ มิวเซียมสยาม พร้อมถ่ายภาพร่วมกับวิทยากรรับเชิญ ที่จะมาร่วมเสวนาเรื่องภาพถ่ายเก่าในวันเปิดนิทรรศการฯ


ติดต่อสอบถาม

โทร. o๒-๒๒๕-๒๗๗๗ ต่อ ๔๑๓
เฟซบุค museumsiamfan



ภาพและข้อมูลจากเวบ
contestwar.com














หนึ่งเขต หนึ่งวรรณกรรม
ประภัสสร เสวิกุล


จากการที่กรุงเทพมหานคร ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเมืองหนังสือโลก ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๖ นั้น มีพันธกิจที่กรุงเทพมหานครยังต้องดำเนินการต่อไป คือ การส่งเสริมการอ่านวรรณกรรมในชุมชนต่าง ๆ ของ กทม. อันจะนำไปสู่การเรียนรู้ และการศึกษาค้นคว้าถึงสภาพของสังคมและวิถีชีวิตของผู้คนใน กทม. ซึ่งจะอำนวยประโยชน์ทั้งในด้านการรับสุนทรียรสในผลงานการประพันธ์ การได้รู้ถึงประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม โบราณคดี คุณธรรม และคตินิยมทางสังคม ของคนไทยในอดีต ที่นักเขียนได้สอดใส่ไว้ในวรรณกรรม


กรุงเทพมหานคร โดย ปราณี สัตยประกอบ ผอ.สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กทม. จึงร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จัดโครงการ “เท่ เหนือ ไทย” โดยมี ดร.เพชรยุพา บูรณ์สิริจรุงรัฐ เป็นผู้ดำเนินการ เพื่อศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมที่เหมาะสมกับเขตต่าง ๆ ทั้ง ๕o เขต ใน กทม. แล้วกระตุ้นให้ประชาชนในแต่ละเขตเกิดความสนใจอ่านวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเขตของตน ซึ่งได้รับการคัดเลือกมาแล้ว อาทิ


เขตดินแดง นวนิยายเรื่อง “ฟ้ากระจ่างดาว” ของ “กิ่งฉัตร” เนื่องจากพระเอกเป็นตำรวจปราบปรามยาเสพติด และสำนักงาน ป.ป.ส.ตั้งอยู่ในเขตดินแดง


เขตดุสิต สารคดีเรื่อง “ไกลบ้าน” พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ ที่ทรงส่งถึงพระราชธิดา ณ พระตำหนักสายสุทธานภดล, สารคดีเรื่อง “สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระปิยมเหสีในราชกาลที่ ๕” ของ ม.ร.ว.แสงสูรย์ ลดาวัลย์ และ “ชีวิตในวัง” เรื่องเล่าของ ม.ล.เนื่อง นิลรัตน์


เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย สารคดีเรื่อง “กุหลาบแห่งแผ่นดิน” ของ ชมัยภร แสงกระจ่าง เนื่องจาก กุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) เป็นนักเรียนเก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์


เขตพญาไท นวนิยายชุด พล นิกร กิมหงวน ของ ป. อินทรปาลิต เนื่องจากบ้านของพล พัชราภรณ์ อยู่ถนนพญาไท


เขตพระนคร นวนิยายเรื่อง “ร่มฉัตร” ของ “ทมยันตี” ซึ่งเกี่ยวกับชีวิตในพระบรมมหาราชวัง, นวนิยายเรื่อง “ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน” ของ วินทร์ เลียววารินทร์ ซึ่งสะท้อนภาพเหตุการณ์ทางการเมืองบนถนนราชดำเนิน, เรื่องเล่า “เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก” ของ ทิพย์วาณี สนิทวงศ์ฯ แสดงภาพชีวิตของคนไทยในอดีต, นวนิยายเรื่อง “เด็กชายมะลิวัลย์” ของ ประภัสสร เสวิกุล บอกเล่าชีวิตของคนย่านเสาชิงช้าในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒, นวนิยาย “จากฝันสู่นิรันดร” ของ “แก้วเก้า” ซึ่งใช้ฉากแถวสำราญราษฎร์, นวนิยายเรื่อง “เวลาในขวดแก้ว” ของ ประภัสสร เสวิกุล กล่าวถึงเหตุการณ์ทางการเมืองในช่วง ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙, นวนิยายเรื่อง “กลิ่นสีและกาวแป้ง” ของพิษณุ ศุภ. เล่าถึงชีวิตนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร, นวนิยายเรื่อง “จดหมายถึงดวงดาว” ของ ชมัยภร แสงกระจ่าง เนื่องจากน้องสาวของพระเอกเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นวนิยายเรื่อง “สี่แผ่นดิน” ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่แสดงภาพชีวิตในพระบรมมหาราชวัง


เขตราชเทวี นวนิยายเรื่อง “ชาวกรง” ของ กฤษณา อโศกสิน ที่ใช้ฉากย่านมักกะสัน


เขตวังทองหลาง พระราชนิพนธ์เรื่อง “เรื่องทองแดง” เนื่องจากทองแดงเกิดที่เขตวังทองหลาง


เขตสัมพันธวงศ์ นวนิยายเรื่อง “ลอดลายมังกร” ของ ประภัสสร เสวิกุล เนื่องจากอาเหลียงเริ่มต้นชีวิตในเมืองไทยที่เยาวราช, นวนิยายเรื่อง “จดหมายจากเมืองไทย” ของ “โบตั๋น” ซึ่งใช้ฉากชุมชนชาวจีนย่านสำเพ็ง


เขตพระโขนง สารคดีเรื่อง “เปิดตำนานแม่นาคพระโขนง” ของ เอนก นาวิกมูล และ นวนิยายเรื่อง “ฟ้าสางที่กลางใจ” ของ “นราวดี” ที่ตัวละครอาศัยอยู่ย่านตลาดพระโขนง


เขตวัฒนา นวนิยายเรื่อง “ขอหมอนใบนั้น ที่เธอฝันยามหนุน” ของ ประภัสสร เสวิกุล ที่บ้านพ่อของล่องจุ้น พระเอกของเรื่องอยู่ที่นั่น


ครับ นั่นเป็นข้อมูลเบื้องต้นของบางเขตและวรรณกรรมบางเรื่อง ในโครงการ “หนึ่งเขต หนึ่งวรรณกรรม” ของกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการที่จะเห็นคน กทม. อ่านหนังสือกันอย่างจริงจัง



ภาพและข้อมูลจากเวบ
komchadluek.net














Nai Lert Park International Flower Show : A Tropical Wonderland


งานแสดงดอกไม้ประจำปี โรงแรมปาร์คนายเลิศ กรุงเทพฯ ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งได้ริเริ่มจัดขึ้นโดยดำริของ ท่านผู้หญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ ผู้ก่อตั้งโรงแรมปาร์คนายเลิศ จากการที่ท่านได้รับการปลูกฝังให้รักพันธุ์พืชและดอกไม้เป็นอย่างมากเมื่อครั้งยังเยาว์วัยจากบิดาคือพระยาภักดีนรเศรษฐ (นายเลิศ เศรษฐบุตร) หรือที่รู้จักกันในนาม นายเลิศ คหบดี ผู้มั่งคั่งและมีคุณูปการต่อสังคมไทย ภายในบริเวณ “บ้านนายเลิศ”รายล้อมไปด้วยสวนสวยเขียวขจีขนาดใหญ่ ที่ปกคลุมไปด้วยพันธุ์ไม้และดอกไม้นานาพรรณอันอุดมสมบูรณ์ จนได้รับการขนานนามว่า “ปาร์คนายเลิศ”


เพราะอยู่ในอ้อมกอดของธรรมชาตินี่เอง ทำให้สมาชิกในบ้านนายเลิศทุกคนต่างมีสุขภาพกายและใจที่ดี กระทั่งมีการก่อสร้างโรงแรมปาร์คนายเลิศขึ้นบนพื้นที่ส่วนหนึ่งของสวนในบ้าน ท่านผู้หญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ จึงได้มีดำริให้คงสภาพสวนสวยบนพื้นที่ ๘ ไร่ ของโรงแรมเอาไว้ โดยมิให้มีการตัดต้นไม้แม้แต่เพียงต้นเดียว และต้องการให้ผู้อื่นได้มีโอกาสเข้าชมความงามของพันธุ์ไม้และดอกไม้ที่ท่านรักและหวงแหนดุจชีวัตจิตใจของท่าน จึงให้จัดเป็นงานแสดงดอกไม้การกุศลประจำปีโรงแรมปาร์คนายเลิศขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙





ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากสาธารณชนนับแต่นั้นเป็นต้นมา และประสบความสำเร็จอย่างสูงต่อเนื่องมาอย่างยาวนานจนกลายเป็นที่กล่าวขานในระดับประเทศ ในฐานะงานแดงดอกไม้ประจำปีในโรงแรมแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งยังคงสืบทอดมนต์เสน่ห์และความยิ่งใหญ่ที่สุดจวบจนปัจจุบัน รวมระยะเวลาแล้วกว่า ๒๗ ปี ของการทำหน้าที่เป็นแหล่งรวมความรู้และภูมิปัญญาด้านดอกไม้พันธุ์ไม้และสวน อย่างกว้างขวางแก่สังคมไทยในหลายยุคสมัย กลายเป็นงานสังคมการกุศลขนาดใหญ่ซึ่งอุทิศรายได้สู่สังคมมาแล้วมากกว่า ๓๘ ล้านบาท ตลอด ๒๗ ปีที่ผ่านมาและทั้งยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นจากพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จทรงเป็นประธานเปิดงานแสดงดอกไม้ประจำปีมาอย่างต่อเนื่อง






เที่ยวงานแสดงดอกไม้ประจำปี ๒๕๕๗ ในวันที่ ๒ - ๕ ตุลาคม ๒๕๕๗ ณ โรงแรมสวิสโฮเต็ล ปาร์ค นายเลิศ กทม. ชมความงามของซุ้มดอกไม้นานาพันธ์จากฝีมือนักจัดดอกไม้ชื่อดัง เพลิดเพลินไปกับความบันเทิงต่าง ๆ และชมไอเดียใหม่ๆสำหรับการตกแต่งดอกไม้ และสวนภายในบ้าน


“Nai Lert Park International Flower Show: A Tropical Wonderland” งานแสดงดอกไม้ประจำปี ครั้งที่ ๒๘ ภายใต้คอนเซ็ปต์ ความมหัศจรรย์แห่งมวลดอกไม้และพฤกษาเขตร้อนในสวนนายเลิศ ในวันที่ ๒-๕ ต.ค. เวลา ๑o.oo-๒o.oo น. รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายมอบให้ มูลนิธิคนพิการไทย และกองทุนโครงการฟันเทียมพระราชทาน ที่โรงแรมสวิสโฮเต็ล ปาร์คนายเลิศ กรุงเทพฯ โทร.o๒-๒๕๓-o๑๒๓



ภาพและข้อมูลจากเวบ
wikalenda.com
เฟซบุคนิทรรศการ














เมื่อเส้นผมร้องเพลง


เชื่อหรือไม่ว่าเส้นผมที่แข็งแรงสามารถสรรสร้างความประทับใจที่เหนือความคาดหมาย โดฟจึงเตรียมเปิดคอนเสิร์ตการกุศล “เมื่อเส้นผมร้องเพลง” ในวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เวลา ๑๙.oo น. ณ วังพญาไท โดยคอนเสิร์ตครั้งนี้นับเป็นปรากฏการณ์ทางดนตรีครั้งแรกของโลกที่วงเครื่องสายขนาดใหญ่ (อองซอมเบิล) ใช้เครื่องสายทั้ง ๑o ชิ้นที่ทำด้วยสายคันชักจากผมจริงแทนหางม้าทั้งหมดตลอดการแสดง โดยได้รับเกียรติจาก ๓ พี่น้องวงวีทรีโอ “ดร.ทวีเวท-อุทัยศรี-พินทุสร ศรีณรงค์” อดีตนักเรียนดนตรีคลาสสิคทุนพระราชทานในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มาร่วมถ่ายทอดบทเพลงอันไพเราะตลอด ๑ ชั่วโมงด้วยไวโอลินและเครื่องสายจากเส้นผมชิ้นพิเศษของโลก เพื่อการันตีความแข็งแรงของเส้นผมหากได้รับการบำรุงอย่างถูกวิธี ร่วมด้วยนักร้องรับเชิญเสียงทรงพลัง อาทิ รัดเกล้า อามระดิษ ที่จะมาขับกล่อมบทเพลงเพราะในสไตล์ดนตรีคลาสิคร่วมสมัยภายใต้คอนเซปผมสวยทุกฤดู


โดย “โดฟ” ยังถือโอกาสพิเศษในครั้งนี้เตรียมมอบรายได้ส่วนหนึ่งจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์บำรุงและดูแลเส้นผมในปี ๒๕๕๗ ให้กับสถาบันมะเร็งแห่งชาติสำหรับการทำวิกผมจริง เพื่อให้สาวโดฟได้เป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อความแข็งแรงของเส้นผมให้เป็นแรงใจกับผู้ป่วยหญิงที่สูญเสียเส้นผมจากการรักษาโรคมะเร็งต่อไป สำหรับผู้ที่สนใจจะเข้าชมคอนเสิร์ตการกุศล “เมื่อเส้นผมร้องเพลง” สามารถเข้าไปร่วมกิจกรรมได้ใน เฟซบุค Dove เพื่อลุ้นรับบัตรเข้าชมคอนเสิร์ต ได้ตั้งแต่วันนี้ - ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๗



ภาพและข้อมูลจากเวบ
mbookstore.com














ภาชนะรูปแมว และ การผจญภัยของจ๊างน้อย


นิทรรศการแสดงเดี่ยว ผลงานเครื่องเคลือบดินเผาและภาพถ่าย
ชื่อนิทรรศการ “ภาชนะรูปแมว และ การผจญภัยของจ๊างน้อย”
โดย ธาตรี เมืองแก้ว


สถานที่แสดงผลงาน ณ เถ้าฮงไถ่-ดีคุ้น
และที่ โรงงานเถ้าฮงไถ่ จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย
วันที่ ๒๗ กันยายน – ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๗


เปิดนิทรรศการ วันเสาร์ ที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๗
เวลา ๑๗.oo นาฬิกา
ณ โรงงานเถ้าฮงไถ่ จังหวัดราชบุรี



ภาพและข้อมูลจากเวบ
wikalenda.com













SPIRITSCAPES



นิทรรศการ "SPIRITSCAPES : ทิวทัศน์ในบ้านแห่งจิตวิญญาณ"


ผลงานโดย Stephen Eastaugh


จัดแสดงระหว่างวันที่ ๔ – ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗


และจะมีพิธีเปิดในวันเสาร์ที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๗.oo น. ณ Thavibu Gallery











ภาพและข้อมูลจากเวบ
contestwar.com




บีจีจากคุณเนยสีฟ้า ไลน์จากคุณญามี่ กรอบจากคุณ Hawaii_Havaii

Free TextEditor




Create Date : 30 กันยายน 2557
Last Update : 1 ตุลาคม 2557 19:11:29 น. 0 comments
Counter : 3020 Pageviews.

haiku
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 161 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add haiku's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.