Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2556
 
28 ตุลาคม 2556
 
All Blogs
 

ไขมันทรานซ์ ไขมันอันตราย

แต่ไหนแต่ไร อาหารประเภทไขมันนั้นมักถูกมองเป็นสิ่งที่ไม่ดีเสมอ แต่พอมาถึงในยุคนี้ ข้อมูลทางด้านโภชนาการทนั้นมันนำให้เรารู้ว่าไขมันมีทั้งที่มีประโยชน์และให้โทษ และร่างกายคนเราก็จำเป็นที่จะต้องใช้ไขมันในการทำงานด้วย

ในชีวิตประจำวันของเรานั้น อาหารที่เราบริโภคมักจะมีไขมันอยู่ 4 ชนิดผสมอยู่ในสัดส่วนที่ต่างกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมันที่เราใช้ในการทำอาหาร ได้แก่ ไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง ซึ่งเป็นไขมันที่มีผลดีต่อสุขภาพ ส่วนไขมันไม่ดี ได้แก่ ไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานซ์ จากข้อมูลในปัจจุบันพบว่า ไขมันทรานซ์นั้นร้ายกาจซะยิ่งกว่าไขมันอิ่มตัวเสียอีก เพราะมีผลต่อการเพิ่มคอเลสเตอรอลในร่างกายยิ่งกว่าอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง

ไขมันทรานซ์คืออะไร

เกิดจากการที่เติมไฮโดรเจนลงไปในน้ำมันพืชซึ่งเป็นของเหลว ทำให้น้ำมันเปลี่ยนสภาพและกลายเป็นของแข็ง เราเรียกกระบวนการนี้ว่า ”ไฮโดรจีเนชั่น” (hydrogenation) ไขมันชนิดนี้จะมีอยู่มากที่สุดในมาร์การีนชนิดแท่งเนยขาว แครกเกอร์ เฟรนช์ฟรายส์ คุกกี้ เค้ก และโดนัท
ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารนั้นนิยมใช้ไขมันทรานซ์แทนไขมันอิ่มตัว เช่น เนย เพราะจะทำให้อาหารนั้นคงความแข็งตัวที่อุณหภูมิห้อง นอกจากนี้แล้วไขมันทรานซ์ยังมีอายุการเก็บที่นานกว่า และชะลอการเหม็นหืนได้ดี โดยที่เนื้อสัมผัสของอาหารไม่แห้ง อาหารอบจะลอกเป็นชั้นได้ และมีรสชาติอร่อย

ไขมันทรานซ์มีผลเสียขนาดใหน

ไขมันทรานซ์ก็เหมือนๆกับไขมันอิ่มตัวตรงที่เพิ่มจะความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ โดยการเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (แอลดีแอล) แต่งานวิจัยรายงานว่าไขมันทรานซ์ส่งผลเสียมากกว่า เพราะจะลดคอเลสเตอรอลที่ดี (เอชดีแอล) ด้วย ยิ่งกว่านั้น นักวิจัยได้พบว่าไขมันทรานซ์ยังเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคอัลไซเมอร์ โรคจอประสาทตาเสื่อมโรคนิ่วในถุงน้ำดี และการอักเสบ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเรื้อรังไม่ติดต่อทั้งหลาย โดยล่าสุดในเดือนมกราคม 2550 มีรายงานว่า ไขมันทรานซ์นั้นเพิ่มความเสี่ยงในการมีบุตรยากในเพศหญิง

แต่ไขมันทรานซ์บางชนิดก็พบในผลิตภัณฑ์จากสัตว์เล็กน้อย เช่น ผลิตภัณฑ์นมและเนื้อสัตว์ นักวิจัยพบว่าไขมันทรานซ์ในธรรมชาติไม่ก่อให้เกิดผลเสียแก่ร่างกายเหมือนไขมันทรานซ์แบบแปลรูป

กินแบบไหนให้ปลอดภัย

สถาบันทางการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา (Institute of Medicine) ได้แนะนำเมื่อปี 2548 ว่า ให้บริโภคไขมันทรานซ์น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ของพลังงาน หรือ 2 กรัมต่อพลังงาน 1,800 กิโลแคลอรีต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณไขมันทรานซ์ที่คนเราได้รับจากการบริโภคเนื้อสัตว์

สมาคมโรคหัวใจและองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาได้แนะนำให้บริโภคไขมันรวมให้น้อยกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ของพลังงาน โดยที่มีไขมันอิ่มตัวได้ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ถ้าคุณบริโภคอาหารที่มีพลังงาน 1,800 กิโลแคลอรีต่อวัน ก็จะได้ไขมันทรานซ์รวม 20 กรัม เฟรนซ์ฟรายส์ขนาดใหญ่มีไขมันทรานซ์ประมาณ 6 กรัม

ในปัจจุบันในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นมีข้อบังคับให้ระบุปริมาณไขมันทรานซ์บนฉลากอาหารด้วย โดยเริ่มตั้งแต่มกราคมปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้ผลิตหันมาใช้กรดไขมันอิ่มตัวแทนไขมันทรานซ์ ซึ่งถ้าเราไม่อ่านฉลากให้ละเอียดเราอาจจะพลาดได้ แม้จะยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่ากรดไขมันอิ่มตัวนั้นจะเป็นอันตรายต่อร่างกายของเราเพียงไหน แต่ทางที่ดีที่สุดก็คือ ควรจำกัดปริมาณไขมันรวมที่บริโภค จะช่วยให้จำกัดไขมันทุกชนิดไปด้วย

ไม่มีไขมันทรานซ์จริงหรือ…

ฉลากอาหารที่บอกว่าไขมันทรานซ์เป็น “0″ ก็ไม่ได้แปลว่าปลอดไขมันทรานซ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ ตามกฎระเบียบขององค์การอาหารและยากล่าวไว้ว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันทรานซ์น้อยกว่า 0.5 กรัม ต่อหนึ่งหน่วยบริโภคนั้น สามารถระบุบนฉลากได้ว่า ไขมันทรานซ์เป็น “0″ หรือไร้ไขมันทรานซ์นั่นเอง

แม้ว่าปริมาณไขมันน้อยกว่า 0.5 กรัมนั้นเป็นปริมาณเพียงนิดเดียว แต่ถ้ากินเป็นประจำ จำนวนนิดเดียวนั้นรวมกันทั้งวันและทุกวันก็กลายเป็นมากได้ ยกตัวอย่างเช่น อาหารที่มีไขมันทรานซ์ 0.4 กรัม ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค แต่ถ้าเราบริโภค 5 หน่วยบริโภคก็จะได้ไขมันทรานซ์ถึง 2 กรัม เพราะฉะนั้นอ่านฉลากเพียงอย่างเดียวยังไม่พอ สิ่งที่ควรปฏิบัติมากกว่านั้น คือ

>อ่านฉลากอาหารเพื่อที่จะดูปริมาณไขมันทรานซ์และเปรียบเทียบ ผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันที่ต่างยี่ห้อกัน เลือกชนิดที่เป็น “0″

>อ่านองค์ประกอบของอาหารเพื่อดูปริมาณไขมันทรานซ์และเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันที่ต่างยี่ห้อกัน เลือกชนิดที่เป็น “0″

>อ่านองค์ประกอบของอาหาร ดูว่ามีไขมันทรานซ์ หรือข้อความว่า “partially hydrogenated oil” ซึ่งหมายถึง น้ำมันแปรรูปจากการเติมไฮโดรเจนบางส่วนหรือไม่

>ระวังปริมาณอาหารที่มีไขมันทรานซ์ เพราะถ้าคุณกินเกินกว่าหนึ่งหน่วยบริโภค คุณก็จะได้มากขึ้น ลองคิดถึงคุกกี้ แครกเกอร์ มันฝรั่งทอดกรอบ คุณจะได้ไขมันทรานซ์มากกว่าที่ระบุไว้เสมอ แม่ว่าในฉลากจะระบุว่าเป็น “0″ ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
>ไม่ควรกินไขมันอิ่มตัวแทนไขมันทรานซ์ทางที่ดีควรลดทั้งสองอย่าง

>งดขนมอบกรอบ มาร์การีนชนิดแท่ง ฟาสต์ฟู้ด เฟรนซ์ฟรายส์ ทั้งหมดนี้มีผลต่อการเพิ่มปริมาณไขมันและน้ำหนักตัวทั้งสิ้น

>อย่าปล่อยให้คำว่า “ไร้ไขมันทรานซ์” เป็นเหตุผลทำให้บริโภคอาหารนั้นเพิ่มขึ้น แม้ไร้ไขมันทรานซ์ไม่ได้หมายความว่าอาหารนั้นจะมีคุณค่าทางอาหารเสมอไป

เพียงแค่นี้เจ้าไขมันทรานซ์ก็ไม่สามารถทำอะไรคุณได้แล้วละ

เกร็ดความรู้

>ไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวนั้น มีมากในน้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา อะโวคาโด ถั่วลิสง และถั่วเปลือกแข็ง
>ไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง มีมากในน้ำมันพืช เช่น เมล็ดทานตะวัน ถั่วเหลือง เมล็ดฝ้าย วอลนัท แฟล็กสีด (เมล็ดปอ) น้ำมันข้าวโพด ดอกคำฝอย และน้ำมันของเมล็ดปอ น้ำมันปลา มีอยู่ในปลาที่มีมันมาก ปลาทะเลน้ำลึก (เช่น แซลมอน แมคเคอเรล เฮร์ริง) นอกจากนี้ยังพบในถั่วเหลือง และน้ำมันคาโนลาจำนวนเล็กน้อย

ถ้าไขมันทั้งสองชนิดนี้แทนไขมันชนิดอื่น จะช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและอาจป้องกันหัวใจเต้นผิดปกติ ลดความดันโลหิต เส้นเลือดในสมองตีบ โดยการลดแอลดีแอล ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีได้

>ไขมันอิ่มตัว นั้นเป็นไขมันที่ไม่ดี ส่วนมากมีในเนื้อสัตว์ใหญ่ สัตว์ปีก เนย มะพร้าว ปาล์ม ร่างกายเราสามารถผลิตได้เอง จึงไม่จำเป็นต้องได้รับเพิ่มจากอาหาร ยิ่งได้รับมากเท่าไรก็ยิ่งเพิ่มแอลดีแอลคอเลสเตอรอลในเลือดมากขึ้นเท่านั้น

Credit : //www.shape.in.th




 

Create Date : 28 ตุลาคม 2556
0 comments
Last Update : 28 ตุลาคม 2556 15:25:17 น.
Counter : 1600 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ying_pul501
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add ying_pul501's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.