กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กันยายน 2565
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
space
space
9 กันยายน 2565
space
space
space

วิบเดียว



ใครๆก็ชอบอะไรๆที่มันง่ายๆ ถามว่าผิดไหม ?  ไม่ผิดหรอก  แต่ว่าเรื่องของชีวิตจิตใจมันไม่ง่ายเลย ไม่มีหรอกทางลัดทางตรง 110  

175 175 175

เวลาโกรธ มักจะอารมณ์ร้อนเกินเหตุ ขอหนทางแก้ไขด้วยครับ

ตอนนี้ผมอึดอัดใจมากครับ...

คือเวลาผมโมโห โกรธ หรือหงุดหงิดจากใคร ไม่ว่าจะเป็นจากเพื่อน ที่ทำงาน หรือคนข้างตัว ผมมักจะระเบิดอารมณ์แบบที่ไม่ควรจะเป็น คุมตัวเองไม่อยู่ บางทีชอบขึ้นคำหยาบ อารมณ์พุ่งและลงยากมาก เป็นคนที่ถ้าโกรธ เกลียด อาฆาตแค้นใคร จะฝังใจนานมาก

อย่างล่าสุดจะขี่มอไซชนแกงค์เด็กแว้น เพราะพวกนี้ขวางทางเข้าหอพักผม และมีการต่อปากต่อคำกันเล็กน้อยจนผมเกือบโดนรุมตื้บมาแล้ว

ตอนนี้หัวหน้าที่ทำงาน เรียกผมเข้าไปตักเตือนเรื่องอารมณ์แล้ว เพราะผมโยนแฟ้มงานทิ้ง เหตุขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน

ผมก็ทราบนะครับว่าเรื่องนี้ผลเสียมันจะเกิดขึ้นกับตัวผมเองโดยตรง เพื่อนๆพี่ๆน้องๆมีหนทางระงับอารมณ์แบบง่ายๆไหมครับ


227ตัวอย่างวงจรความคิดกรณีปลีกย่อยในชีวิตประจำวัน


ก. กับ ข. เป็นเพื่อนนักเรียนที่รักและสนิทสนมกัน ทุกวันมาโรงเรียน พบกันก็ยิ้มแย้มทักทายกัน วันหนึ่ง ก. เห็น ข. ก็ยิ้มแย้ม เข้าไปทักทายตามปกติ แต่ ข. หน้าบึ้ง ไม่ยิ้มด้วย ไม่พูดตอบ ก. จึงโกรธ ไม่พูดกับ ข. บ้าง ในกรณีนี้ กระบวนธรรมจะดำเนินไปในรูป ต่อไปนี้


๑. อวิชชา: เมื่อเห็น ข. หน้าบึ้ง ไม่ยิ้มตอบ ไม่พูดตอบ ก. ไม่รู้ความจริงว่าเหตุผลต้นปลายเป็นอย่างไร และไม่ใช้ปัญญาพิจารณาเพื่อหาข้อเท็จจริงว่า ข. อาจมีเรื่องไม่สบายใจ มีอารมณ์ค้างอะไรมาจากที่อื่น


๒. สังขาร: ก. จึงคิดนึกปรุงแต่งสร้างภาพในใจไปต่างๆ ตามพื้นนิสัย ตามทัศนคติ หรือตามกระแสความคิดที่เคยชินของตนว่า ข. จะต้องรู้สึกนึกคิดต่อตนอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วเกิดความฟุ้งซ่าน โกรธ มีมานะ เป็นต้น ตามพื้นกิเลสของตน


๓. วิญญาณ: จิตของ ก. ขุ่นมัวไปตามกิเลสที่ฟุ้งขึ้นมาปรุงแต่งเหล่านั้น คอยรับรู้การกระทำและอากัปกิริยาของ ข. ในแง่ในความหมายที่จะมาป้อนความรู้สึกนึกคิดที่เป็นอยู่ในเวลานั้น เหมือนอย่างที่พูดกันว่า ยิ่งนึกก็ยิ่งเห็น ยิ่งคิดก็ยิ่งเป็นอย่างนั้น สีหน้ากิริยาท่าทางของ ข. ดูจะเป็นเรื่องที่กระทบกระทั่ง ไม่เสียทั้งนั้น


๔. นามรูป: ความรู้สึก ภาพที่คิด ภาวะต่างๆ ของจิตใจ สีหน้า กิริยาท่าทาง คือทั้งกายและใจทั้งหมดของ ก. คล้อยไปด้วยกันในทางที่จะแสดงออกมาเป็นผลรวม คือ ภาวะอาการของคนโกรธ คนปั้นปึ่ง คนงอน เป็นต้น (สุดแต่สังขาร) พร้อมที่จะทำงานร่วมไปกับวิญญาณนั้น


๕. สฬายตนะ: อายตนะต่างๆ มีตา หู เป็นต้น ของ ก. เฉพาะที่เกี่ยวข้องจะต้องได้รับรู้เรื่องราวในกรณีนี้ ตื่นตัว พร้อมที่จะทำหน้าที่รับความรู้กันเต็มที่

๖. ผัสสะ: สัมผัส กับ ลักษณะอาการแสดงออกต่างๆ ของ ข. ที่เด่นน่าสนใจ เกี่ยวข้องกับกรณีนั้น เช่น ความบูดบึ้ง ความกระด้าง ท่าทางดูหมิ่น ไม่ให้เกียรติ หรือเหยียดศักดิ์ศรี เป็นต้น

๗. เวทนา: รู้สึกไม่สบายใจ บีบคั้นใจ เจ็บปวดรวดร้าว หรือเหี่ยวแห้งใจ

๘. ตัณหา: เกิดวิภวตัณหา อยากให้ภาพที่บีบคั้น ทำให้ไม่สบายใจนั้น พ้นหายอันตรธาน ถูกกด ถูกปราบ ถูกทำลายให้พินาศไปเสีย

๙. อุปาทาน: เกิดความยึดติดผูกใจต่อพฤติกรรมของ ข. ว่าเป็นสิ่งเกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับตน กระทบต่อตน เป็นคู่กรณีกับตน ซึ่งจะต้องจัดการเอากันอย่างใดอย่างหนึ่ง

๑๐. ภพ: พฤติกรรมที่สืบเนื่องต่อไปของ ก. ตกอยู่ใต้อิทธิพลของอุปาทาน เกิดเป็นกระบวนพฤติกรรมจำเพาะอย่างใดอย่างหนึ่งที่สนองอุปาทานนั้น คือพฤติกรรมปฏิปักษ์กับ ข. (กรรมภพ) ภาวะชีวิตทั้งทางกายทางใจที่รองรับกระบวนพฤติกรรมนั้น ก็สอดคล้องกันด้วย คือเป็นภาวะแห่งความเป็นปฏิปักษ์ กับ ข. (อุปปัตติภพ)

๑๑. ชาติ: ก. เข้าสวมรับเอาภาวะชีวิตที่เป็นปฏิปักษ์นั้น โดยมองเห็นความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างตนกับ ข. ชัดเจนลงไป แยกออกเป็นเรา - เขา มีตัวตนที่จะเข้าไปกระทำและถูกกระทบกระแทกกับ ข.

๑๒. ชรามรณะ: ตัวตนที่เกิดขึ้นในภาวะปฏิปักษ์นั้น จะดำรงอยู่และเติบโตขึ้นได้ ต้องอาศัยความหมายต่างๆ ที่พ่วงติดมา เช่น ความเก่ง ความสามารถ ความมีเกียรติ ความมีศักดิ์ศรี และความเป็นผู้ชนะ เป็นต้น ซึ่งมีภาวะฝ่ายตรงข้ามขัดแย้งอยู่ในตัว คือ ความด้อย ความไร้ค่า ไร้เกียรติ ความแพ้ เป็นต้น ทันทีที่ตัวตนนั้น เกิดขึ้น ก็ต้องถูกคุกคามด้วยภาวะขาดหลักประกัน ว่าตนจะได้เป็นอย่างอย่างที่ต้องการ และหากได้เป็น ภาวะนั้น จะยั่งยืนหรือทรงคุณค่าอยู่ได้ยาวนานเท่าใด คือ อาจไม่ได้เป็น ก. ในฐานะปฏิปักษ์ที่เก่ง ที่มีศักดิ์ศรี ที่ชนะแต่เป็นปฏิปักษ์ที่แพ้ ที่อ่อนแอ หรือที่ไม่สามารถรักษาเกียรติ ศักดิ์ศรี และความชนะไว้ได้ เป็นต้น ความทุกข์ในรูปต่างๆ จึงเกิดแทรกอยู่ตลอดเวลา เริ่มตั้งแต่ทุกข์จากความหวั่นกลัวว่าอาจจะไม่สมหวัง ความเครียด และกระวนกระวายในการดิ้นรนเพื่อให้ตัวตนอยู่ในภาวะที่ต้องการ ตลอดจนความผิดหวัง หรือแม้สมหวังถึงที่แล้ว แต่คุณค่าของมันก็ต้องจืดจางไปจากความชื่นชม


   ความทุกข์ในรูปต่างๆ เหล่านี้ ปกคลุมห่อหุ้มจิตใจให้หม่นหมองมืดมัว เป็นปัจจัยแก่อวิชชาที่จะเริ่มต้นวงจรต่อไปอีก

   นอกจากนั้น ทุกข์เหล่านี้ ยังเป็นเหมือนของเสียที่ระบายออกไม่หมด คั่งค้างหมักหมมอยู่ในวงจรคอยระบายพิษออกไปรูปต่างๆ ทำให้เกิดปัญหาต่อๆไป แก่ชีวิตทั้งของตนเอง และผู้อื่น มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมครั้งต่อๆไป และการดำเนินชีวิตทั้งหมดของเขา ดังในกรณีของ ก. อาจใจไม่สบายขุ่นมัวไปทั้งวัน เรียนหนังสือ และใช้ความคิดในวันนั้นทั้งหมดไม่ได้ผลดี พลอยให้แสดงกิริยาอาการไม่งาม วาจาไม่สุภาพต่อคนอื่นๆ เกิดความขัดแย้งกับคนเพิ่มขึ้นอีกหลายคน เป็นต้น

   ถ้า ก. ปฏิบัติถูกต้องตั้งแต่ต้น วงจรปัญหาก็ไม่เกิดขึ้น คือ ก. เห็น ข. ไม่ยิ้มตอบ ไม่ทักตอบแล้ว ใช้ปัญญา จึงคิดว่า ข. อาจมีเรื่องไม่สบายใจ เช่น ถูกผู้ปกครองดุมา ไม่มีเงินใช้ หรือมีเรื่องกลุ้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ค้างอยู่ พอคิดอย่างนี้ ก็ไม่มีอะไรกระทบกระทั่งตัว จิตใจยังกว้างขวางเป็นอิสระ และกลับเกิดความกรุณา รู้สึกสงสารคิดช่วยเหลือ ข. อาจเข้าไปสอบถาม ปลอบโยน ช่วยหาทางแก้ปัญหา หรือให้โอกาสเขาที่จะอยู่สงบ เป็นต้น

  แม้แต่เมื่อวงจรร้ายเริ่มขึ้นแล้ว ก็ยังอาจแก้ไขได้ เช่น วงจรหมุนไปถึงผัสสะ ได้รับรู้อาการกิริยาที่ไม่น่าพอใจของ ข. ทำให้ ก. เกิดทุกข์บีบคั้นใจขึ้นแล้ว แต่ ก. มีสติเกิดขึ้น แทนที่จะตกอยู่ใต้อิทธิพลของวิภวตัณหาที่จะตามมาต่อไป ก็ตัดวงจรเสียโดยใช้ปัญญา พิจารณาข้อเท็จจริง และเกิดความรู้รับอย่างใหม่เกี่ยวกับการแสดงออกของ ข. คิดเหตุผลทั้งที่เกี่ยวกับการกระทำของ ข. และข้อควรปฏิบัติของตนเอง จิตใจก็จะหายบีบคั้นขุ่นมัว กลับปลอดโปร่ง และคิดช่วยเหลือแก้ไขทุกข์ของ ข. ได้อีก

   ดังนั้น เมื่อปัญญาหรือ วิชชาเกิดขึ้น จึงทำให้จิตใจเป็นอิสระ ไม่เกิดตัวตนขึ้นมาให้ถูกกระทบกระแทก นอกจากจะไม่เกิดปัญหาสร้างทุกข์แก่ตนแล้ว ยังทำให้เกิดกรุณาที่จะไปช่วยแก้ปัญหาคลายทุกข์ให้แก่ผู้อื่นด้วย ตรงข้ามกับอวิชชา ซึ่งเป็นตัวชักนำเข้าสู่สังสารวัฏ ทำให้เกิดตัณหาอุปาทาน สร้างตัวตนขึ้นมาจำกัดตัวเองสำหรับให้ถูกกระทบกระแทกเกิดทุกข์เป็นปัญหาแก่ตนเอง และมักขยายทุกข์ปัญหาให้แก่ผู้อื่นกว้างขวางออกไปด้วย


  ก่อนจะผ่านตัวอย่างนี้ไป เห็นควรย้ำข้อควรระลึกบางอย่างไว้ เพื่อให้มองเห็นหลักปฏิจจสมุปบาทรอบด้านมากขึ้น

- ในสถานการณ์จริง วงจรหรือกระบวนธรรมทั้งหมดที่กล่าวถึงในตัวอย่างข้างต้น เป็นไปได้อย่างรวดเร็วตลอดสายเพียงชั่วแวบเดียว เช่น นักเรียนบางคนรู้ข่าวสอบตก คนรู้ข่าวการสูญเสียบุคคลผู้เป็นที่รัก หญิงเห็นชายคนรักอยู่กับหญิงอื่น เป็นต้น เสียใจมาก ตกใจมาก อาจเข่าอ่อนทรงตัวไม่อยู่ อาจร้องกรี๊ด หรืออาจเป็นลมล้มพับไปทันที ยิ่งความยึดติดถือมั่นเทิดค่าให้ราคารุนแรงเท่าใด ผลก็ยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

- ขอย้ำอีกว่า ความเป็นปัจจัยในกระบวนธรรมนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นไปอย่างเรียงลำดับ

- การอธิบายหลักปฏิจจสมุปบาทมุ่งให้เข้าใจกฎธรรมดา หรือกระบวนธรรมที่เป็นไปอยู่ตามธรรมชาติเป็นสำคัญ เพื่อให้มองเห็นสาเหตุและจุดที่จะต้องแก้ไข ส่วนรายละเอียดของการแก้ไข หรือวิธีปฏิบัติไม่ใช่เรื่องของปฏิจจสมุปบาทโดยตรง แต่เป็นเรื่องของมรรคหรือมัชฌิมาปฏิปทา

   อย่างไรก็ดี ตัวอย่างที่กล่าวมานี้ มุ่งความเข้าใจง่ายเป็นสำคัญ บางตอนจึงมีความหมายผิวเผิน ไม่ให้ความเข้าใจแจ่มแจ้งลึกซึ้งเพียงพอ โดยเฉพาะหัวข้อที่ยากๆ เช่น อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร และโสกะ ปริเทวะ ทำให้วงจรเริ่มต้นใหม่ เป็นต้น ตัวอย่างข้างบนที่แสดงในข้อ อวิชชา เป็นเรื่องที่มิได้เกิดขึ้นเป็นสามัญ ในทุกช่วงขณะของชีวิต ชวนให้เห็นไปได้ว่า มนุษย์ปุถุชนสามารถเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันโดยไม่มีอวิชชาเกิดขึ้นเลย หรือเห็นว่าปฏิจจสมุปบาท ไม่ใช่หลักธรรมที่แสดงความจริงเกี่ยวกับชีวิตอย่างแท้จริง จึงเห็นว่า ควรอธิบายความหมายลึกซึ้งของบางหัวข้อที่ยากให้ละเอียดชัดเจนออกไปอีก

175 174 175

สุภาษิตไทย "คนโกรธ (โทสะ) มองเห็นช้างเท่าหนู"  คือ เห็นฝ่ายตรงข้ามตัวเล็กนิดเดียว นี่เรื่องจริง   



 




 

Create Date : 09 กันยายน 2565
0 comments
Last Update : 30 กันยายน 2565 10:27:35 น.
Counter : 369 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space