Group Blog
 
<<
มกราคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
13 มกราคม 2555
 
All Blogs
 

วัฒนธรรมไทยวน อ.เสาไห้



ที่ริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี มีเรือนไม้หลังใหญ่ยกพื้นสูง ใต้ถุนบ้านเป็นสถานที่แสดงเครื่องตำข้าวและเครื่องมือทอผ้าแบบโบราณมากมาย
ที่นี่คือ “หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวน สระบุรี ของหมู่บ้านไทยวน ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวไทยวนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดสระบุรีเมื่อ 200 กว่าปีก่อน ปัจจุบันชาวไทยวนยังคงรักษาวัฒนธรรมของตัวเองเอาไว้อย่างเหนียวแน่น ไม่ให้วัฒนธรรมสมัยใหม่มากลืนกิน

โดยมีอาจารย์ทรงชัย วรรณกุล เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการก่อตั้งชมรมไทยวนสระบุรี รวมทั้งเป็นผู้ก่อตั้งหอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวนเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและนำไปสานต่อ

“การตั้งหอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวนมาจากแนวความคิด 3 ส. คือ 1.สืบสาวเรื่องราวความเป็นมา 2.สานต่อวัฒนธรรมให้คงไว้ และ 3.เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในชุมชนไทยวนด้วยกัน”

อาจารย์ทรงชัยบอกว่า จริงๆแล้วชุมชนไทยวนที่ตั้งรกรากอยู่ในอำเภอเสาไห้และอีกหลายอำเภอในจังหวัดสระบุรี หรือแม้กระทั่งชาวไทยวนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดราชบุรี จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ที่ยังมีชีวิตอยู่และจากพงศาวดารต่างๆเชื่อได้ว่าแท้จริงแล้วชาวไทยวนไม่ได้เป็นชนพื้นเมืองของจังหวัดสระบุรีหรือราชบุรี แต่เชื่อว่าน่าจะมาจากไทโยนก หรือคนไทยเมืองเหนือ หรือไทยล้านนา ไม่ใช่ญวน (เวียดนาม) ที่หลายคนเข้าใจกัน

“เดิมทีชาวไทยวนมีถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตรงที่เรียกว่าเมืองหรือเวียงโยนก คำว่าโยนกเป็นภาษาบาลี มาจากคำว่ายะนะ หรือเยนะ ฉะนั้นคนไทที่อาศัยอยู่ในเมืองโยนกจึงเรียกตัวเองว่าไทโยนก หรือไทโยนะกะ หรือไทยวน เมืองโยนกในปัจจุบันคือเมืองเชียงแสนในจังหวัดเชียงราย ซึ่งนับได้ว่าเป็นถิ่นกำเนิดของชาวไทยวนทั้งหมด แต่ต่อมาได้อพยพไปอยู่ตามภาคเหนือของไทย บ้างก็ถูกพม่าจับเป็นเชลย พอถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ทรงมีพระบัญชาให้พระยายมราชยกทัพหลวงไปร่วมกับหัวเมืองฝ่ายเหนือเพื่อกวาดล้างพม่าที่ยึดครองเมืองเชียงแสนอยู่ในขณะนั้นให้สิ้นซาก”

หลังจากตีเมืองเชียงแสนได้สำเร็จแล้วจึงเผาป้อมปราการและกำแพงเมืองทิ้ง พร้อมกับกวาดต้อนผู้คนที่พม่าจับไว้เป็นเชลย ซึ่งก็คือชาวไทยวนจำนวนกว่า 20,000 คนลงมาด้วย ในระหว่างนั้นชาวไทยวนบางกลุ่มขอไปตั้งถิ่นฐานใหม่อยู่ที่เชียงใหม่ น่าน ลำปาง อุตรดิตถ์ เช่น ไทยวนที่อำเภอลับแล ท่าปลา ตรอน เป็นต้น ส่วนที่อพยพลงมาทางใต้ตามทัพหลวงซึ่งนำโดยพระยายมราชก็เลือกมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ลุ่มแม่น้ำป่าสักในเขตอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี และอีกส่วนหนึ่งไปถึงจังหวัดราชบุรี

สำหรับชาวไทยวนที่อำเภอเสาไห้นั้นสืบเชื้อสายกันมากว่า 5 ชั่วคน และกระจายกันอยู่ตามอำเภอต่างๆของสระบุรี

ทั้งนี้ บทบาทสำคัญของหอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวน สระบุรี นอกจากใช้เป็นสถานที่ศึกษาแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวไทยวนแล้ว ยังใช้เป็นสถานที่สำหรับจัดกิจกรรม สัมมนา หรือจัดเลี้ยงแบบวัฒนธรรมล้านนา มีการกินข้าวแลงขันโตก ชมการฟ้อนรำอันสวยงามของเด็กๆ เรียกว่าไม่ต้องไปไกลถึงล้านนาก็สามารถสัมผัสบรรยากาศแบบเดียวกันได้ที่นี่

นอกจากนั้นอาจารย์ทรงชัยยังเปิดบ้านเป็นโฮมสเตย์ (Home Stay) ให้คนที่สนใจได้พักค้างแรม และผัสวิถีชีวิตการอยู่อาศัยแบบชาวไทยวนแท้ๆอีกด้วย

หมายเหตุ : ท่านใดที่ต้องการพักค้างแรมแบบโฮมสเตย์ที่บ้านไทยวนควรจองไว้ล่วงหน้าก่อน ติดต่อสำรองที่พักได้ที่หมายเลข 0-3672-5224

ที่มา : หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน ปีที่ 13 ฉบับที่ 3204 ประจำวันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ.2555 คอลัมน์ วัฒนธรรมบ้านเรา โดย กรวี

credit : dailyworld




 

Create Date : 13 มกราคม 2555
0 comments
Last Update : 13 มกราคม 2555 19:02:05 น.
Counter : 2228 Pageviews.


Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.