Group Blog
 
<<
มกราคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
3 มกราคม 2555
 
All Blogs
 

จากอ่าวปัตตานี ถึงผืนป่ามรดกโลก



Smileyสัปดาห์ก่อน ผู้เขียนมีโอกาสเดินทางไปอ่าวปัตตานีเพื่อเยี่ยมเยียนพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน สัปดาห์ถัดมาได้ไปร่วมกิจกรรม"ธรรมยาตราผืนป่ามรดกโลก" ในการเดินรอบป่ามรดกโลก 5 แห่งคือ เขาใหญ่ ทับลาน ปางสีดา ตาพระยา และดงใหญ่ เป็นระยะทาง 760 กิโลเมตร เพื่อศึกษาสถานการณ์สิ่งแวดล้อมรอบป่าดังกล่าว

Smileyในกรณีแรกผู้เขียนไปที่ตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ส่วนกรณีหลังผู้เขียนไปร่วมเดินอยู่ 2 วันที่ป่าทับลาน ช่วงอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา


แม้จะเป็น 2 พื้นที่ ใน 2 ภูมิภาคที่ห่างไกลกัน แต่ก็ได้เห็นประเด็นบางอย่างที่เชื่อมโยงถึงกัน


Smileyที่อ่าวปัตตานี พี่น้องประมงโดยการนำของ "สมาคมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดปัตตานี" ได้ร่วมกันฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของทะเลปัตตานีให้กลับคืนมา หลังจากที่ทะเลถูกทำลายราบคาบจากเรืออวนรุนขนาดใหญ่


Smileyพ.ร.บ.ประมง 2490 ห้ามเรือขนาดใหญ่เข้าจับปลาในเขต 3,000 เมตรจากชายฝั่งทั่วประเทศ เพื่อกันเขตนี้ให้ประมงพื้นบ้านได้ทำกินโดยใช้เครื่องมือเล็กๆ จับสัตว์น้ำเฉพาะอย่างในปริมาณที่ไม่มากนัก ทะเลชายฝั่งซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์เล็กจึงฟื้นฟูตัวเองได้ทัน


Smileyแต่เรืออวนรุนก็มักลักลอบเข้าไปจับสัตว์เล็กๆ ในเขต 3,000 เมตร เปรียบเสมือนรถแทรกเตอร์ไถพื้นทะเลจนราบเป็นหน้ากลอง ทำให้ปลาใหญ่ ปลาเล็ก ปะการัง หญ้าทะเล ในเขตชายฝั่งพินาศไปต่อหน้าต่อตา ชาวบ้านหมดหนทางทำประมงที่เป็นอาชีพดั้งเดิม ต้องเปลี่ยนไปรับจ้าง ไม่ก็ข้ามไปทำงานในมาเลเซีย ครัวเรือนและชุมชนแตกเป็นเสี่ยงๆ


Smileyแต่พวกเขาก็ไม่ย่อท้อ ค่อยๆ ใช้กิจกรรมหลากหลายในการรวมพลังชุมชนเพื่อต่อกรกับเรืออวนรุนที่มีนักการเมืองระดับชาติและนายทุนเป็นเจ้าของ จนชาวบ้านได้ชัยชนะ เรืออวนรุนกว่า 400 ลำไม่สามารถหาปลาในเขตทะเลปัตตานีได้อีกต่อไป


กลยุทธ์หนึ่งที่ชาวบ้านทำคือการสร้าง "ซั้ง" หรือปะการังเทียมในอ่าวปัตตานีเพื่อเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์เล็กๆ


ซั้งทำจากไม้ไผ่ถ่วงด้วยถุงทราย ล้วนเป็นวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น แล้วช่วยกันเอาไปปักสุมในทะเลตามจุดที่ชาวบ้านช่วยกันกำหนดขึ้น ปีหน้าพอซั้งพังก็ต้องร่วมมือกันทำขึ้นใหม่


Smileyการได้มาซึ่งซั้งแต่ละจุด ต้องมาจากการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน ไม่มีทางทำสำเร็จได้โดยลำพัง ต่างจากปะการังเทียมสำเร็จรูปที่หน่วยงานมักเอาไปจมลงทะเล โดยชาวบ้านไม่มีส่วนร่วมใดๆ มิหนำซ้ำบางทียังเอาไปจมในจุดที่ชาวบ้านใช้วางอวนเสียอีก


ซั้งจึงเป็นกลยุทธ์ที่ล่อทั้งปลาและล่อทั้งคนให้มา "รวมกัน"


เมื่อชาวบ้านรวมตัวกันติดก็เริ่มต่อสู้ในเชิงกฎระเบียบ พ.ร.บ.ประมงที่ห้ามเรือขนาดใหญ่ทำประมงในเขต 3,000 เมตรจากชายฝั่ง แต่ก็มีการฝ่าฝืนเพราะดูไม่ออกว่าอยู่ในหรือนอกเขต 3,000 เมตรนั้น ชาวประมงปัตตานีก็ผลักดันจนเกิดประกาศกระทรวงเกษตรฯ พ.ศ.2546 ห้ามใช้อวนรุนประกอบเรือยนต์ทำการประมงในท้องที่ปัตตานีโดยเด็ดขาด



ทุกวันนี้ชาวบ้านกับราชการตั้ง "กองทุนน้ำมัน" ออกเรือลาดตระเวนทะเลด้วยกัน หากจับเรืออวนรุนได้ก็ส่งดำเนินคดี อัยการและศาลซึ่งเริ่มเข้าใจถึงความสำคัญของทะเลชายฝั่ง และเห็นว่าเรืออวนรุนแต่ละลำล้วนทำผิดซ้ำซาก จึงบังคับใช้กฎหมายเต็มที่ แทนที่จะปรับ 4,000 บาทต่อรายแล้วปล่อยตัวไป ศาลท่านก็สั่งริบเรือราคาหลายสิบล้านด้วย


ทะเลปัตตานีจึงกลายเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่ปลอดเรืออวนรุนเข้าไปทำมาหากิน ความอุดมสมบูรณ์ของทะเลกลับคืนมา สมาชิกในชุมชนกลับบ้านไปทำประมง มีรายได้จากการทำประมงพื้นบ้าน ไม่รวย แต่พึ่งตัวเองได้ เข้มแข็ง ภาคภูมิ และสุขใจ


Smileyป่าชายเลนของอ่าวปัตตานีนั้นใหญ่โตอุดมสมบูรณ์มาก หน่วยงานด้านการท่องเที่ยวพยายามผลักดันให้ชาวบ้านจัดเรือพานักท่องเที่ยวเข้าไปดู แต่ชาวบ้านปรึกษาหารือกันแล้วขอปฏิเสธ อยากเก็บผืนป่านี้ไว้ให้ "unseen" ต่อไป


ขณะที่ "แนวร่วม" ที่เคยไม่ไว้วางใจสมาคมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดปัตตานีจนถึงขนาดเผาที่ทำการทิ้งมาแล้วเพราะเห็นว่าสมาคมฯ ไปติดต่อคบหากับหน่วยราชการต่างๆ ทว่าตอนหลังก็มีความเข้าใจเพราะเห็นว่าชาวบ้านกลุ่มนี้และสมาคมฯ ทำเพื่ออนุรักษ์ท้องทะเล เพื่อประโยชน์ของชาวชุมชนโดยแท้


จากอ่าวปัตตานี สัปดาห์ถัดมาผู้เขียนได้ไปร่วมธรรมยาตราที่เสิงสาง


Smileyขบวนธรรมยาตราเริ่มเดินจากเขาใหญ่เมื่อ 9 ธันวาคม 2554 และจะสิ้นสุดการเดินทางในปลายเดือนมกราคม 2555 (หารายละเอียดจากเครือข่ายออนไลน์ได้จากคำว่า "ธรรมยาตรา ผืนป่ามรดกโลก")


Smileyก่อนที่ผู้เขียนจะไปร่วมเดิน คณะฯ ได้เดินเท้าผ่านเขาใหญ่ วังน้ำเขียว ครบุรี และเสิงสาง ช่วงเขาใหญ่และวังน้ำเขียว คณะธรรมยาตราฯ ได้เห็นปัญหาบ้านพักตากอากาศและรีสอร์ตเอกชนบุกรุกป่า และการขยายถนนกบินทร์บุรี-ปักธงชัย (สาย 304) ที่แยกผืนป่าเขาใหญ่และทับลานออกจากกัน พอข้ามไปเขตครบุรี และเสิงสาง ได้พบการปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ใหญ่โตมโหฬาร ชนิดที่เดินเท้าวันแล้ววันเล่าก็ยังไปไม่พ้นเขตไร่มันเสียที


ประเทศไทยใช้พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังราว 7.5 ล้านไร่ ปลูกอยู่ในอีสาน 4 ล้านไร่ (ขณะที่ประเทศไทยมีป่า 99 ล้านไร่ หรือร้อยละ 30 ของประเทศ)


เมืองไทยส่งออกมันสำปะหลังปีละ 22 ล้านตัน มาจากอีสาน 11 ล้านตัน มูลค่าส่งออกรวมกว่า 2 พันล้านเหรียญ (ขณะที่ปี 2550 ส่งออก 1.4 พันล้านเหรียญ)


ทั่วโลกส่งออกมันสำปะหลัง 224 ล้านตัน 10 ประเทศที่ส่งออกมันมากที่สุดคือ ไนจีเรีย บราซิล ไทย อินโดนีเซีย คองโก กานา เวียดนาม แองโกลา อินเดีย และโมซัมบิก


มันสำปะหลังมักจะนำไปแปรรูป เช่น ทำแป้งเพื่อใช้ทำอาหาร (ขนมปัง บะหมี่ ไส้กรอก ลูกกวาด ฯลฯ) หรือเอาไปอัดเม็ดเป็นอาหารสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหารมนุษย์อีกทีหนึ่ง


ขณะที่เราใช้ผืนป่ามหาศาลปลูกมันเพื่อเลี้ยงคนทั้งโลก ทำให้มีบางคนเหลือกินเหลือใช้ แต่ก็มีทารกทั่วโลกตายด้วยโรคที่ป้องกันได้และอดอาหารตายปีละ 14 ล้านคน


ผืนป่าถูกทำลาย เพื่อให้ฝ่ายหนึ่งอ้วนท้วนร่ำรวย แต่อีกฝ่ายไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรและแหล่งอาหารจนต้องอดตาย สังเกตดูประเทศที่ส่งออกมัน ล้วนยากจนทั้งสิ้น


ย้อนกลับไปที่ธรรมยาตราฯ ตลอดเส้นทางเดินที่ผ่านมา ชาวบ้านหรือแม้แต่นักเรียนแถบนั้นแทบไม่รู้เห็นกับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของป่า 3.8 ล้านไร่ ทั้ง 5 แห่ง เมื่อปี 2548 บางคนเคยได้ยิน "ป่ามรดกโลก" แต่ก็ไม่เคยถูกบอกให้เห็นถึงความสำคัญ หรือไม่รู้ว่าจะมีส่วนร่วมกับป่าข้างบ้านได้อย่างไร โรงเรียนไม่มีหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องป่า ผอ.ไม่อนุญาตให้คุณครูพานักเรียนเดินศึกษาป่า คนกับป่าไม่ถูกทำให้เชื่อมถึงกัน และคนทำลายป่า


ที่น่าสนใจคือ ชุมชนแถบนั้นมักเป็นผู้อพยพไปจากถิ่นอื่น เป็นชุมชนใหม่ การรวมตัวยังไม่เข้มแข็งนัก ขณะที่แรงผลักทางเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อขาย ทำให้เกิดการขยายพื้นที่ทำกินมากขึ้น ใช้เครื่องจักรมากขึ้น ใช้สารเคมีมากขึ้น กู้หนี้ยืมสินมากขึ้น เหนื่อยมากขึ้น แต่กลับพึ่งตัวเองได้น้อย สิ่งที่ปลูกไม่ได้กิน สิ่งที่ใช้กินต้องซื้อ


ที่อ่าวปัตตานี ผู้เขียนเห็นความสุขใจของชาวประมงพื้นบ้านที่พึ่งตัวเองได้ พออยู่พอกินท่ามกลางเสียงปืนเสียงระเบิด ซึ่งเป็นความรุนแรงทางตรง


ที่เขาใหญ่-ทับลาน แม้ปลอดเสียงปืนเสียงระเบิด แต่ความรุนแรงเชิงโครงสร้างทั้งเศรษฐกิจและสังคม ความไม่เท่าเทียม สองมาตรฐาน ฯลฯ กำลังออกฤทธิ์อย่างเต็มที่

รุจน์ โกมลบุตร :คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

credit : matichon




 

Create Date : 03 มกราคม 2555
0 comments
Last Update : 3 มกราคม 2555 16:35:46 น.
Counter : 1018 Pageviews.


Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.