ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง

การเมืองว่าด้วย 'พลังงานไทย'

รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์

ตีพิมพ์ครั้งแรกใน “โลกวันนี้วันสุข”ฉบับวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2556


ขบวนการ 'สามทวงคืน' ของพันธมิตรเสื้อเหลือง

ในช่วงระยะสองปีมานี้ ขบวนการโจมตีรัฐบาลและบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในประเด็นราคาน้ำมันแพง ได้ขยายตัวขึ้นจนเป็นประเด็นถกเถียงทั่วไป เกิดเป็นเครือข่ายกลุ่ม “ทวงคืน ปตท.” หรือ “ทวงคืนพลังงานไทย” มีผู้คนเข้าร่วมบนสื่อออนไลน์หลายพันคน แม้แต่คนเสื้อแดงส่วนหนึ่งก็ได้เข้าร่วมด้วย

ขบวนการ “ทวงคืน” ดังกล่าว มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ริเริ่มโดยนักเคลื่อนไหวองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งปัจจุบันเป็นสมาชิกวุฒิสภา เริ่มแรกมุ่งโจมตีนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลไทยรักไทยโดยรวม และเน้นไปที่การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2544 ในเวลานั้น คนพวกนี้กล่าวหาว่า มีการแจกจ่ายหุ้น ปตท.ในหมู่นักการเมืองพรรคไทยรักไทยและเครือญาติ ชูป้าย “ทวงคืนสมบัติชาติ” ต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งหมด ในกรณีของ ปตท. ก็ได้ไปฟ้องเป็นคดีในศาลปกครอง ให้ยกเลิกการแปลงสภาพ ปตท. ซึ่งยืดเยื้อมาถึงปี 2550

เมื่อเกิดกรณีการจดทะเบียนมรดกโลกของปราสาทพระวิหารในสมัยรัฐบาลพรรคพลังประชาชน กลุ่มสันติอโศก พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และนักการเมือง สว.กลุ่มเผด็จการก็รวมตัวกันเคลื่อนไหว “ทวงคืนแผ่นดินไทย” ฉวยใช้กรณีปราสาทพระวิหาร ปลุกกระแสคลั่งชาติเพื่อโค่นล้มรัฐบาลพรรคพลังประชาชน เรียกร้องให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (เอ็มโอยู) ปี 2543 ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา

การเคลื่อนไหว “ทวงคืนแผ่นดินไทย” ได้ขยายประเด็นปราสาทพระวิหารไปสู่พื้นที่ทับซ้อนอื่นๆ ตลอดแนวพรมแดนไทย-กัมพูชา แล้วเอามาผูกโยงกับประเด็นผลประโยชน์พลังงาน โดยลากเส้นพรมแดนของพวกตนลงไปครอบคลุมแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย เพื่อแสดงว่า การ “สูญเสียดินแดน” บนบกจะนำไปสู่การ “สูญเสียพื้นที่ทางทะเล” ให้แก่กัมพูชาด้วย จากนั้นก็กล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รัฐบาลพรรคพลังประชาชน ต่อเนื่องมาถึงรัฐบาลพรรคเพื่อไทยปัจจุบันว่า เป็น “ทุนสามานย์” ขายแผ่นดินไทย (คือปราสาทพระวิหาร พื้นที่ทับซ้อน และพื้นที่ทะเล) ให้กัมพูชา เพื่อแลกกับสัมปทานก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชาในอ่าวไทย

กลุ่มสันติอโศกและกลุ่มพันธมิตรฯ สูญเสียมวลชนไปเกือบหมดจากความขัดแย้งกับรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์และความแตกแยกกันเองในการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 แต่กลุ่ม “ทวงคืน” ก็ยังเคลื่อนไหวต่อไป โดยหวนกลับมาที่ประเด็น ปตท.อีกครั้ง แต่คราวนี้ได้ผนวกเอาประเด็นราคาน้ำมันแพงเข้ามาด้วย กลายเป็น “กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย” หรือ “กลุ่มทวงคืน ปตท.” ในปัจจุบัน

ขบวนการนี้จึงอาจเรียกได้ว่า เป็น “ขบวนการสามทวงคืน” คือ ทวงคืนสมบัติชาติ (ยกเลิกการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งหมด) ทวงคืนแผ่นดินไทย (ปราสาทพระวิหารและพื้นที่ทับซ้อน) และทวงคืนพลังงานไทย (ต่อต้าน ปตท.และรัฐบาล กรณีก๊าซและน้ำมัน)

การที่กลุ่มสันติอโศก กลุ่มพันธมิตรฯและสมาชิกวุฒิสภากลุ่มเผด็จการต้องหันมาเคลื่อนไหวประเด็นเหล่านี้เข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ ก็เพราะความเสื่อมทรุดในทางการเมืองและความโดดเดี่ยวไร้มวลชน คนพวกนี้ไม่สามารถดึงดูดมวลชนด้วยการอ้างประชาธิปไตยได้อีกต่อไป แม้แต่การอ้างว่า ต่อสู้เพื่อสถาบันกษัตริย์ ก็ไม่ได้รับความเชื่อถือ จึงเหลือแต่ประเด็นราคาน้ำมันแพงอันเป็นความเดือดร้อนร่วมกันของคนส่วนใหญ่ อ้างว่า เป็นประเด็น “ไม่มีสี” เพื่อดึงประชาชน รวมทั้งคนเสื้อแดง มาเข้าร่วมให้ได้มากที่สุด

คนพวกนี้ดำเนินการอย่างชาญฉลาด โดยการปฏิเสธข้อมูลสาธารณะบางส่วนที่ได้จากรัฐบาลและ ปตท. อ้างว่า เป็น “ข้อมูลเท็จ” ขณะเดียวกัน ก็ใช้ข้อมูลสาธารณะส่วนที่เป็นประโยชน์ เอาไปผสมปนเปกับข้อมูลตัวเลขที่อ้างว่า ได้มาจากแหล่ง “ที่น่าเชื่อถือ” เอาชิ้นส่วนมาประกอบกันเป็นนิทานเรื่อง “กลุ่มผลประโยชน์ครอบงำ ปตท. ปล้นชิงพลังงาน” เพื่ออธิบายว่า นี่คือสาเหตุที่น้ำมันมีราคาแพง

กลุ่มพันธมิตรพวกนี้ลงทุนลงแรงอย่างมาก เอาคนมาอุปโลกน์ตัวเองเป็น “นักวิชาการเครือข่ายพลังงาน” เที่ยวเดินสายบรรยายไปทั่วประเทศ อ้างอิงตัวเลขข้อมูลจริงปนเท็จ ปลุกกระแสเกลียดชัง ปตท. กระตุ้นให้มีการตั้ง “กลุ่มทวงคืน” ตามที่ต่าง ๆ เป็นเครือข่ายทั่วประเทศ

คนพวกนี้อาศัยความสลับซับซ้อนของธุรกิจพลังงาน บวกกับความผิดพลาดในนโยบายพลังงานและภาษีของรัฐบาลไทยที่ตกทอดกันมาตั้งแต่ยุค 2520 ถึงปัจจุบัน ใช้เป็นจุดอ่อนในการโจมตีและบิดเบือนความจริง อาศัยความไม่พอใจต่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทยและความเดือดร้อนจากราคาน้ำมันแพงเป็นตัวกระตุ้น

และเพื่อดึงดูดผู้คนให้เข้าร่วมมากที่สุด คนพวกนี้เริ่มต้นจึงยังไม่กล่าวเจาะจงว่า “กลุ่มผลประโยชน์” ดังกล่าวคือใคร แม้หลายครั้งจะกล่าวลอยๆ ว่าเป็น “ทุนสามานย์” (ซึ่งเป็นคำที่พวกพันธมิตรหมายถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและพรรคพวก) จงใจปล่อยให้คนเสื้อแดงที่เข้าร่วมขบวนเข้าใจเอาเองว่า “กลุ่มผลประโยชน์” ที่ว่าคือกลุ่มทุนจารีตนิยม ทั้งที่เป้าโจมตีที่แท้จริงของคนกลุ่มนี้ก็คือ พ.ต.ท.ทักษิณและรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ดังจะเห็นได้ว่า แม้แต่กรณีการเริ่มเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนสามจังหวัดภาคใต้ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ เข้ามาเกี่ยวข้องเมื่อเร็ว ๆ นี้ ก็ยังถูกคนพวกนี้บางคนกล่าวหาว่า พ.ต.ท.ทักษิณทำไปเพื่อต้องการฮุบผลประโยชน์พลังงานในทะเลสามจังหวัดภาคใต้

คนเสื้อแดงที่ไปตามแห่ขบวนการ “ทวงคืนพลังงานไทย” มักจะเป็นกลุ่มที่มีความไม่พอใจพรรคเพื่อไทยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จากประเด็นการแก้ไข ป.อาญา ม.112 กรณีการรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง เป็นต้น คนเสื้อแดงบางส่วนเชื่อไปถึงขั้นที่ว่า รัฐบาลพรรคเพื่อไทยได้หักหลังคนเสื้อแดง หันไป “เกี้ยเซี้ย” สมคบกับพวกจารีตนิยม ร่วมแบ่งปันผลประโยชน์กันในธุรกิจพลังงานโดยผ่าน ปตท.อีกด้วย นัยหนึ่ง เห็นทั้งกลุ่มจารีตนิยมและรัฐบาลพรรคเพื่อไทยเป็นศัตรูร่วมไปแล้ว

คนพวกนี้มีแรงจูงใจทางการเมืองเบื้องหลังเป็นพวกพันธมิตรเสื้อเหลือง การตอบโต้คนพวกนี้ก็คือ ต้องเปิดเผยให้เห็นถึงต้นกำเนิดทางการเมืองและจุดประสงค์ที่แท้จริงของพวกเขา รวมทั้งต้องให้ข้อมูลความจริงที่ชัดเจนแก่ประชาชนในประเด็นเกี่ยวข้องทั้งหมด ในส่วนหลังนี้ ที่ผ่านมา ทั้งกระทรวงพลังงานและ ปตท. บกพร่องอย่างยิ่งในการชี้แจงให้ทันท่วงที เป็นระบบและชัดเจน

ทั้งหมดนี้ ก็มิใช่เพื่อปกป้อง ปตท.หรือพรรคเพื่อไทย แต่เพื่อปกป้องขบวนประชาธิปไตย มิให้ไขว้เขวออกไปจากเป้าหมายที่แท้จริงคือ ต่อสู้กับพวกเผด็จการและบรรลุประชาธิปไตยที่แท้จริงให้ได้เร็ววัน

ที่มา : //www.prachatai.com/journal/2013/03/45758


ตีพิมพ์ครั้งแรกใน “โลกวันนี้วันสุข” ฉบับวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2556

ประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงานจริงหรือ?

ขบวนการ “ทวงคืนพลังงานไทย” มีจุดประสงค์ที่แท้จริงทางการเมืองคือ อาศัยความเดือดร้อนของประชาชนจากราคาน้ำมันแพง มาปลุกระดมความไม่พอใจ โดยพุ่งเป้าไปที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และรัฐบาล โดยอ้างว่า เบื้องหลัง ปตท.ก็คือ “กลุ่มผลประโยชน์” ที่เข้ามาควบคุม ปตท.ด้วยการแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทมหาชน แล้วเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่ปี 2544 คนพวกนี้จึงเรียกร้องให้ “ทวงคืน ปตท.” ซึ่งก็คือ ถอน ปตท.ออกจากตลาดหลักทรัพย์ ยกเลิกหุ้น ปตท. และหวนคืนสู่การเป็นรัฐวิสาหกิจเต็มรูปดังเดิม

นิยายพลังงานไทยที่คนพวกนี้ผูกเรื่องขึ้นมาโดยคร่าว ๆ คือ ประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงาน มีทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบปริมาณมหาศาล แต่คนไทยกลับต้องใช้น้ำมันราคาแพงเพราะมีกลุ่มผลประโยชน์เข้ามาฮุบทรัพยากร เริ่มตั้งแต่สมคบกับบริษัทขุดเจาะต่างชาติที่ได้สัมปทานแบ่งส่วนผลประโยชน์ให้รัฐไทยน้อยมาก แอบส่งออกน้ำมันดิบไทยไปขายในตลาดโลก แล้วนำเข้าน้ำมันดิบราคาแพงจากตะวันออกกลางเข้ามากลั่น บวกต้นทุนเทียมและตั้งราคาหน้าโรงกลั่นเพื่อกินกำไรส่วนต่าง จัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน ทำให้น้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไทยมีราคาขายปลีกแพงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก!

คนพวกนี้กล่าวหาว่า มีการปกปิดบิดเบือนข้อมูลโดยหน่วยราชการไทยที่เกี่ยวข้อง และหันไปอ้างแหล่งข้อมูลต่างประเทศที่ดูขลังน่าเชื่อถือแทน เช่น การสารสนเทศพลังงานของสหรัฐอเมริกา หรืออีไอเอ เป็นต้น อ้างไปถึงว่า เป็นข้อมูลจากหน่วยข่าวกรองกลางของสหรัฐหรือซีไอเอก็มี ทั้งที่ถ้าลงมือตรวจสอบกันอย่างจริงจัง ก็จะพบว่า ข้อมูลพลังงานไทยจากแหล่งข้อมูลต่างประเทศ เช่น อีไอเอ และบีพีโกลบอล ก็ใกล้เคียงกับข้อมูลที่หน่วยราชการไทยเผยแพร่ ทั้งนี้ก็เพราะว่า แหล่งข้อมูลในต่างประเทศเหล่านั้นส่วนใหญ่ก็เอาข้อมูลจากหน่วยราชการไทยไปเผยแพร่อีกทีหนึ่งนั่นเอง

ความจริงคือ ประเทศไทยไม่ได้เป็นเศรษฐีพลังงานแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมันดิบ แม้จะผลิตได้เองจำนวนหนึ่ง ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากทุกปี ปริมาณสำรองที่มีอยู่ก็ไม่มากนักและถ้าไม่มีการค้นพบเพิ่มอีก ก็จะหมดไปในอีกไม่เกินสิบปี

ข้อมูลจากอีไอเอ บีพีโกลบอล และจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติของไทยให้ตัวเลขใกล้เคียงกัน ในปี 2555 ประเทศไทยมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่พิสูจน์แล้วประมาณ 10-10.5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต เป็นอันดับที่ 42 ของโลก และเป็นเพียงร้อยละ 0.1 ของปริมาณสำรองทั้งโลก ไทยมีอัตราการผลิตก๊าซจำนวน 1.3 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อปี ด้วยอัตรานี้ ถ้าไม่มีการค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติใหม่เพิ่มอีก ก๊าซธรรมชาติของไทยจะหมดไปภายใน 7-8 ปี แต่ประเทศไทยมีการบริโภคก๊าซธรรมชาติปีละ 1.6 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ผลก็คือ ประเทศไทยต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากประเทศเพื่อนบ้านปีละ 3 แสนล้านลูกบาศก์ฟุต
ในส่วนน้ำมันดิบ ข้อมูลแหล่งต่าง ๆ ก็ยังให้ภาพรวมที่ใกล้เคียงกัน ในปี 2554 ประเทศไทยมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่พิสูจน์แล้วประมาณ 440 ล้านบาร์เรล เป็นอันดับที่ 47 ของโลกและเป็นเพียงร้อยละ 0.02 ของปริมาณสำรองทั้งโลก ในปี 2555 ไทยมีอัตราการผลิตน้ำมันดิบและคอนเด็นเสท (ก๊าซธรรมชาติเหลว) รวมกันประมาณ 240,000 บาร์เรลต่อวันหรือราว 86 ล้านบาร์เรลต่อปี ในอัตราการผลิตนี้ ถ้าไม่มีการค้นพบแหล่งน้ำดิบเพิ่มอีก น้ำมันดิบไทยก็จะหมดไปในเวลาเพียง 5 ปี

โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยใช้น้ำมันดิบจากแหล่งตะวันออกกลางเป็นหลัก ซึ่งมีคุณสมบัติที่มีสารเจือปนน้อย (เช่น สารปรอท) และกลั่นได้น้ำมันดีเซลเป็นสัดส่วนมาก ตรงกับความต้องการใช้น้ำมันในประเทศไทย แต่น้ำมันดิบที่พบในประเทศไทยบางส่วนมีสารเจือปนสูง และที่พบในอ่าวไทยก็มีองค์ประกอบที่กลั่นแล้วได้น้ำมันเบนซินในสัดส่วนสูง ถ้าโรงกลั่นในไทยรับซื้อและกลั่นออกมา ก็จะมีน้ำมันเบนซินเหลือเกินความต้องการของตลาด น้ำมันดิบไทยส่วนนี้จึงถูกส่งออกไปขายต่างประเทศแทน ทั้งนี้ ในปี 2555 ประเทศไทยส่งออกน้ำมันดิบไปต่างประเทศเป็นปริมาณ 41,000 บาร์เรลต่อวัน เป็นมูลค่าเพียง 51,000 ล้านบาทเท่านั้น นับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่ของโลกซึ่งส่งออกกันเป็นแสนเป็นล้านบาร์เรลต่อวัน

น้ำมันดิบไทยที่โรงกลั่นในไทยสามารถใช้ได้จึงมีราว 200,000 บาร์เรลต่อวัน แต่ประเทศไทยมีอัตราการบริโภคน้ำมันดิบราว 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ประเทศไทยจึงต้องนำเข้าน้ำมันดิบประมาณ 8 แสนบาร์เรลต่อวัน ข้อมูลในอดีตแสดงว่า ในแต่ละปี น้ำมันดิบที่ผลิตในไทยสามารถสนองความต้องการใช้ในประเทศได้เพียงร้อยละ 15-20 เท่านั้น นอกนั้นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
กระทรวงพลังงานมีนโยบายที่จะเลิกส่งออกน้ำมันดิบไทยโดยสิ้นเชิงและให้โรงกลั่นในไทยกลั่นน้ำมันดิบทั้งหมดเอง แต่ก็มีข้อโต้เถียงกันอยู่ว่า ต้องมีการลงทุนปรับปรุงโรงกลั่นปัจจุบันให้สามารถรับสารเจือปนปริมาณสูงได้ ซึ่งใช้เวลาหลายปี ที่สำคัญคือ น้ำมันดิบส่วนนี้มีปริมาณไม่มาก และเมื่อกลั่นออกมาก็จะได้น้ำมันเบนซินสัดส่วนสูง ก็จะต้องมีแผนการส่งออกน้ำมันเบนซินส่วนเกินนี้ไปต่างประเทศอีกอยู่ดี ทั้งหมดนี้จะคุ้มค่าทางเศรษฐกิจหรือไม่

พวก “ทวงคืนพลังงานไทย” อ้างว่า ประเทศไทยผลิตก๊าซและน้ำมันดิบได้มากกว่าประเทศเศรษฐีพลังงาน เช่น บรูไน ซึ่งก็เป็นความจริง ในปี 2554 บรูไนผลิตก๊าซธรรมชาติ 440,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (เป็นหนึ่งในสามของประเทศไทย) ผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสทได้ 126,000 บาร์เรลต่อวัน (เป็นครึ่งหนึ่งของประเทศไทย) แต่คนพวกนี้ไม่บอกว่า บรูไนมีประชากรเพียง 4 แสนคน มีอัตราการบริโภคก๊าซธรรมชาติเพียง 107,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันและบริโภคน้ำมัน 16,000 บาร์เรลต่อวัน บรูไนจึงสามารถส่งออกก๊าซธรรมชาติได้ 330,000 ลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และส่งออกน้ำมันดิบ 136,000 บาร์เรลต่อวัน เป็นสามเท่าของประเทศไทย บรูไนจึงเป็นเศรษฐีส่งออกก๊าซและน้ำมัน

คนพวกนี้ชอบอ้างว่า ในประเทศเศรษฐีน้ำมัน ประชาชนได้ใช้น้ำมันราคาถูก เช่น เวเนซูเอลา ซาอุดิอาระเบีย และที่อ้างบ่อยที่สุดคือ มาเลเซีย แต่ตรรกะที่ว่า ประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงาน คนไทยจึงต้องได้ใช้ก๊าซและน้ำมันในราคาถูก ก็เป็นตรรกะที่ผิดอย่างสิ้นเชิง ทรัพยากรธรรมชาติทั้งก๊าซและน้ำมันใช้เวลาก่อกำเนิดหลายร้อยล้านปี มีปริมาณจำกัด ใช้หมดไปแล้วสร้างขึ้นใหม่ไม่ได้ ถึงมีมากสักเพียงใด ก็มีวันหมดหนทางที่ถูกต้องจึงต้องประหยัดการใช้ให้คุ้มค่าทางเศรษฐกิจอย่างที่สุด ถ้าตั้งราคาต่ำกว่าความเป็นจริงแล้วใช้หมดในเร็ววัน เราและลูกหลานก็ต้องหาพลังงานทดแทนที่มีราคาแพงกว่ามาใช้ นโยบายของรัฐบาลในต่างประเทศที่อุดหนุนราคาให้ประชาชนได้ใช้น้ำมันในราคาถูกจึงเป็นนโยบายที่ผิด ประเทศไทยไม่ควรเอาอย่าง ต้องให้ประชาชนได้ใช้ก๊าซและน้ำมันในราคาที่สอดคล้องกับความหาได้ยากที่แท้จริงของทรัพยากร ส่วนความจริงที่ว่า ราคาน้ำมันบางชนิดในประเทศไทยมีราคาแพงเพราะนโยบายบิดเบือนราคาของรัฐบาลนั้น ก็เป็นความจริง ซึ่งก็ต้องวิจารณ์กันบนข้อเท็จจริง ไม่ใช่บนนิยายที่แต่งขึ้นมาหลอกกันเอง

ที่มา : //www.prachatai.com/journal/2013/03/46009


ผลประโยชน์จากสัมปทานปิโตรเลียม

“กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย” นอกจากจะแต่งนิทานเรื่อง ประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงานแล้ว ยังตั้งข้อกล่าวหาที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือ “กลุ่มผลประโยชน์” ที่ครอบงำ ปตท.ไปอยู่เบื้องหลังบริษัทสำรวจและผลิตต่างชาติ ให้สัมปทานผลิตปิโตรเลียมในเงื่อนไขที่บริษัทต่างชาติได้ผลตอบแทนมหาศาล แต่แบ่งปันผลประโยชน์ให้กับรัฐไทยเป็นจำนวนน้อยนิด

“กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย” อ้างถึงค่าภาคหลวงที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 ว่า มีอัตราเพียงร้อยละ 12.5 ของมูลค่าปิโตรเลียมที่จำหน่าย กับภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียมที่อัตราร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ ซึ่งคนพวกนี้อ้างว่า “ต่ำที่สุดในอาเซียน” และต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่มีทั้งค่าภาคหลวง ส่วนแบ่งผลประโยชน์จากกำไรก่อนหักภาษี แล้วยังมีภาษีเงินได้ปิโตรเลียมอีก รวมเป็นประโยชน์ให้รัฐสูงถึงร้อยละ 80-90

ข้อเสนอของคนพวกนี้มีตั้งแต่ให้แก้กฎหมายเพิ่มสัดส่วนผลประโยชน์ให้รัฐได้สูงขึ้นเป็นร้อยละ 80-90 ไปจนถึงยกเลิกสัมปทานบริษัทต่างชาติทั้งหมด แล้วให้บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) สำรวจ ขุดเจาะและผลิตแต่เพียงรายเดียว

ความจริงคือ ระบบสัมปทานปิโตรเลียมของประเทศไทยมีพัฒนาการมาสามขั้นตอน มีการแก้กฎหมายหลายครั้ง มีการปรับเปลี่ยนอัตราการแบ่งปันผลประโยชน์ไปตามยุคสมัยและประสบการณ์ของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง

ระบบ Thailand I เริ่มตั้งแต่ พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฉบับแรก พ.ศ.2514 กำหนดค่าภาคหลวงร้อยละ 12.5 ของมูลค่าปิโตรเลียมที่จำหน่าย และพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมอีกร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ โครงการระยะที่หนึ่งประสบความสำเร็จพอสมควร จนถึงปี 2524 มีการค้นพบแหล่งปิโตรเลียมจำนวนหนึ่ง ประกอบกับโลกกำลังประสบภาวะวิกฤตราคาน้ำมัน รัฐบาลไทยจึงได้ปรับเปลี่ยนการแบ่งปันผลประโยชน์เสียใหม่ แก้ไขกฎหมายให้ผู้รับสัมปทานแบ่งผลประโยชน์แก่รัฐเพิ่มขึ้น โดยเริ่มต้นปี 2525 กำหนดว่า นอกจากจะจ่ายค่าภาคหลวงร้อยละ 12.5 ของมูลค่าจำหน่ายแล้ว ให้ผู้รับสัมปทานหักค่าใช้จ่ายตามพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของรายรับ (จากที่เคยหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง) และจ่ายโบนัสเพิ่มรายปีเป็นอัตราขั้นบันไดจากร้อยละ 27.5 ถึงร้อยละ 43.5 ของรายได้จากน้ำมันดิบที่ผลิตเฉลี่ยวันละตั้งแต่ 10,000 บาร์เรล ถึงเฉลี่ยวันละ 30,000 บาร์เรล ระบบใหม่นี้เรียกว่า Thailand II

ปรากฏว่า จนถึงปี 2532 มีผู้รับสัมปทานไปเพียง 6 รายเท่านั้น แม้จะมีการสำรวจพบแหล่งปิโตรเลียมบนบกเพิ่มเติม แต่ไม่มีการลงทุนผลิตเชิงพาณิชย์เลย สาเหตุคือ แหล่งปิโตรเลียมบนบกมีขนาดเล็ก กระจัดกระจาย ทำให้มีทั้งความเสี่ยงและต้นทุนในการผลิตต่อบาร์เรลสูง ผู้รับสัมปทานต้องแบ่งผลประโยชน์ให้รัฐสูงจนไม่มีความคุ้มค่าทางธุรกิจ ผลก็คือ รัฐบาลไทยไม่สามารถจัดเก็บผลประโยชน์ปิโตรเลียมตามระบบ Thailand II ได้เลย

ในปี 2532 จึงได้มีการแก้ไขกฎหมายอีกครั้งเป็นระบบ Thailand III ระบุผลประโยชน์แก่รัฐสามส่วน ส่วนแรกคือ ค่าภาคหลวงเป็นอัตราขั้นบันไดตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไปถึงร้อยละ 15 ตามปริมาณจำหน่ายปิโตรเลียมต่ำสุดจากไม่เกิน 60,000 บาร์เรลต่อเดือน ไปจนถึงสูงกว่า 600,000 บาร์เรลต่อเดือน ส่วนที่สองคือภาษีเงินได้ปิโตรเลียมในอัตราร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ ส่วนที่สามคือ ผลประโยชนตอบแทนพิเศษจากกำไรส่วนเกินโดยจะจัดเก็บเมื่อยอดจำหน่ายปิโตรเลียมเพิ่มเกินกว่าระดับที่กำหนด

ระบบ Thailand III จึงมีความยืดหยุ่นมาก ผู้รับสัมปทานที่ค้นพบแหล่งขนาดเล็กและมีต้นทุนต่อหน่วยสูง ผลิตได้น้อยก็สามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ ขณะที่ผู้ที่ค้นพบแหล่งขนาดใหญ่ ต้นทุนต่อหน่วยต่ำกว่าและผลิตได้มากก็ต้องแบ่งผลประโยชน์ให้รัฐเพิ่มขึ้นตามสัดส่วน จนถึงปี 2555 มีการสำรวจพบแหล่งปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นอีกมากและสามารถผลิตเชิงพาณิชย์แล้ว 48 สัมปทาน นอกจากนี้ ผู้รับสัมปทานในระบบ Thailand II ก็ได้โอนมาเข้าระบบ Thailand III ด้วย

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีสัมปทานปิโตรเลียมทั้งสิ้น 63 สัมปทาน โดยมีผู้รับสัมปทานที่ยังอยู่ในระบบ Thailand Iเพียง 9 สัมปทานเท่านั้นและจะเริ่มหมดอายุลงตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป นอกนั้นเป็นผู้รับสัมปทานในระบบ Thailand III แต่ “กลุ่มทวงคืนพลังงาน” ก็บิดเบือนว่า ผู้รับสัมปทานทั้งหมดยังคงแบ่งผลประโยชน์ให้รัฐตามสูตร Thailand I คือจ่ายค่าภาคหลวงเป็นอัตราคงที่ร้อยละ 12.5 ของยอดจำหน่ายและภาษีเงินได้ปิโตรเลียมร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ

เป็นความจริงที่ส่วนแบ่งผลประโยชน์ให้รัฐจาก Thailand I ไม่นับว่าสูงถ้ามองจากธุรกิจปิโตรเลียมในปัจจุบัน แต่ Thailand I มีกำเนิดในยุคสมัยแรกเริ่มที่แตกต่างจากปัจจุบันอย่างมาก ในเวลานั้น ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอยู่ในระดับต่ำเพียงแค่สองดอลลาร์ต่อบาร์เรล อีกทั้งประเทศไทยก็มีการค้นพบแหล่งปิโตรเลียมที่อำเภอฝางเท่านั้นและมีขนาดเล็กจิ๋วมาก แค่วันละ 1,000 บาร์เรล การกำหนดให้แบ่งผลประโยชน์แก่รัฐที่ไม่สูงมากจึงมีเหตุผล ก็เพื่อจูงใจให้บริษัทต่างชาติกล้ารับความเสี่ยงเข้ามาสำรวจขุดเจาะในประเทศไทย เพราะถ้าขุดเจาะแล้วไม่พบอะไร ค่าใช้จ่ายก็สูญเปล่าทั้งหมด

ตั้งแต่มีสัมปทานปิโตรเลียมจนถึงปัจจุบันกว่า 40 ปี รัฐไทยได้รับผลประโยชน์จากปิโตรเลียมรวมกันกว่าหนึ่งล้านล้านบาทแล้ว คิดเป็นสัดส่วนรายได้รัฐต่อรายได้สุทธิของเอกชน (ก่อนหักภาษี) เท่ากับร้อยละ 55:45 และถ้าคำนวณเฉพาะระบบ Thailand III ตั้งแต่ปี 2532 สัดส่วนของรัฐก็ยิ่งสูงคือ ร้อยละ 74:26 ซึ่งเป็นอัตราปานกลางค่อนไปทางสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ

“กลุ่มทวงคืนพลังงาน” อ้างว่า หลายประเทศที่เป็นเศรษฐีพลังงานจัดเก็บผลประโยชน์สูงถึงร้อยละ 80-90 ของรายได้สุทธิของผู้รับสัมปทาน แต่ข้อสังเกตคือ ประเทศเหล่านั้น (เช่น เยเมน บาห์เรน บรูไน พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย) ล้วนเป็นประเทศเศรษฐีพลังงานตัวจริงทั้งสิ้น มีแหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่ ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำ ผู้รับสัมปทานสามารถจ่ายผลประโยชน์เข้ารัฐได้มาก ประเทศที่จัดเก็บผลประโยชน์สูงที่สุดในโลกคือ เวเนซูเอลา จัดเก็บสูงถึงร้อยละ 95 ผลก็คือ ปัจจุบัน อุตสาหกรรมปิโตรเลียมของเวเนซูลามีอัตราการสำรวจใหม่ที่ลดลงอย่างมากและถ้าไม่มีการแก้ไข อีกไม่นาน อัตราการผลิตก็จะลดลงด้วย

ส่วนข้อเรียกร้องให้ยกเลิกสัมปทานต่างชาติทั้งหมด แล้วให้ ปตท.สผ.ผูกขาดการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแต่ผู้เดียวในประเทศไทย เมื่อผนวกกับข้อเรียกร้อง “ทวงคืนปตท.” ที่ให้ปตท.กลับคืนเป็นรัฐวิสาหกิจเต็มรูปเหมือนเดิม ทั้งหมดนี้เป็นข้อเสนอที่อันตรายอย่างยิ่ง เพราะเป็นการสร้างการผูกขาดโดยรัฐแบบครบวงจรตั้งแต่การสำรวจผลิตก๊าซและน้ำมันดิบ ไปจนถึงการกลั่นน้ำมันสำเร็จรูปและขายปลีกที่สถานีจำหน่าย ทำให้ ปตท.และปตท.สผ.รวมกันเป็นแหล่งผลประโยชน์ขนาดมหาศาลในมือรัฐอย่างแท้จริง แล้วรัฐวิสาหกิจไทยแต่ไหนแต่ไรมา เป็นแหล่งผลประโยชน์ของใครบ้าง? มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ รู้จักปรับปรุงคุณภาพของบริการ และเอาใจใส่ประชาชนผู้บริโภคสักแค่ไหนกัน?


หมายเหตุ: ตีพิมพ์ครั้งแรกใน “โลกวันนี้วันสุข” ฉบับวันศุกร์ที่ 12 เมษายน 2556

ที่มา : //www.prachatai.com/journal/2013/04/46205

ห้ามส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป?

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์

“กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย” สร้างนิทานเรื่อง “ประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงาน” และเรื่อง “สัญญาสัมปทานขายชาติ” ก็เพื่อลากไปสู่ประเด็นโจมตีหลักคือ ราคาน้ำมันสำเร็จรูป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำมันเบนซิน ที่คนพวกนี้อ้างว่า มีราคาแพงในอันดับต้น ๆ ของโลก

ในปี 2555 ประเทศไทยกลั่นน้ำมันดิบนำเข้าและน้ำมันดิบ (รวมคอนเดนเสท) ที่ผลิตในประเทศ ออกมาเป็นน้ำมันสำเร็จรูป ประกอบด้วยผลผลิตหลัก เช่น ก๊าซแอลพีจี เบนซิน ดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันเครื่องบิน เป็นต้น รวม 988,964 บาร์เรลต่อวัน แต่ในปีเดียวกัน ประเทศไทยบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปเป็นจำนวน 767,612 บาร์เรลต่อวัน จึงมีเหลือส่งออกไปต่างประเทศจำนวน 199,304 บาร์เรลต่อวัน นัยหนึ่ง ประเทศไทยบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปประมาณร้อยละ 80 ของปริมาณที่กลั่นได้ ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 20 จึงต้องส่งออก


“กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย” โจมตีอีกว่า โรงกลั่นน้ำมันได้กำไรมหาศาลจากการขายน้ำมันสำเร็จรูปในต่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า มูลค่าการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปของไทยในปี 2555 สูงถึง 270,000 ล้านบาท สูงกว่ามูลค่าการส่งออกข้าวไทยที่ 140,000 ล้านบาทเสียอีก!

คนพวกนี้บิดเบือนด้วยการพูดถึงกำไรมหาศาล แต่กลับอ้างตัวเลขยอดขายรวมแทน!

น้ำมันสำเร็จรูปที่ส่งออกไม่ได้เกิดมาจากอากาศธาตุ แต่ต้องใช้น้ำมันดิบเป็นวัตถุดิบ เรามีสถิติทั้งมูลค่าและปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบตลอดปี 2555 สามารถคำนวณราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบนำเข้าต่อบาร์เรลได้เท่ากับ 114 ดอลลาร์สหรัฐฯ ข้อมูลเดียวกันสำหรับน้ำมันสำเร็จรูปส่งออกได้เท่ากับบาร์เรลละ 118 ดอลลาร์สหรัฐฯ คือมีส่วนต่างเพียง 4 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หรือลิตรละ 0.75 บาทเท่านั้น ทั้งที่ยังไม่ได้หักต้นทุนค่าใช้จ่ายของโรงกลั่นแต่อย่างใด

เหตุใดโรงกลั่นจึงผลิตน้ำมันสำเร็จรูปล้นเกินและส่งออกในส่วนต่างราคาอันน้อยนิดเช่นนี้? คำตอบคือ การกลั่นน้ำมันเป็นอุตสาหกรรมหนัก เช่นเดียวกับก๊าซธรรมชาติ เหล็กและเหล็กกล้า ไฟฟ้า เป็นต้น คือต้องเดินโรงงานและเครื่องจักรให้เต็มหรือใกล้เต็มสมรรถนะร้อยละ 80-100 เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงและได้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำ หากเดินเครื่องจักรต่ำกว่าสมรรถนะอย่างมาก ก็จะไม่มีประสิทธิภาพ สิ้นเปลืองพลังงาน และมีต้นทุนต่อหน่วยสูง

แต่ข้อวิจารณ์ที่ว่า น้ำมันสำเร็จรูปส่งออกไปขายในตลาดโลกมีราคาต่ำกว่าราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นในประเทศไทยนั้นมีส่วนจริง เพราะน้ำมันสำเร็จรูปเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ มีการซื้อขายในตลาดโลกเป็นปริมาณมหาศาล มีผู้ซื้อผู้ขายจำนวนมาก ผู้ที่ส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปชนิดใดก็ต้องขายในราคาเดียวกันในตลาดกลางของภูมิภาค ราคาหน้าโรงกลั่นในประเทศไทยยึดราคาอ้างอิงในตลาดกลางสิงคโปร์โดยมีส่วนต่างไม่เกินกว่าค่าขนส่ง ฉะนั้น โรงกลั่นจะส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปได้ ก็ต้องยอมขายต่ำกว่าราคาหน้าโรงกลั่น เพราะถ้าไม่กระทำเช่นนั้น ก็ต้องยอมจัดเก็บน้ำมันสำเร็จรูปส่วนเกินไว้ในคลังและจะมียอดเก็บกักสะสมเพิ่มทุกปี เป็นภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่คุ้มค่า

นัยหนึ่ง โรงกลั่นจะต้องเลือกระหว่างเดินเครื่องใกล้เต็มสมรรถนะให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุด แล้วมีผลผลิตส่วนเกินที่ต้องส่งออกในราคาต่ำกว่าราคาหน้าโรงกลั่น แต่ก็ยังได้ส่วนต่างราคาจากต้นทุนน้ำมันดิบอยู่บ้างดังตัวเลขข้างต้น หรือเดินเครื่องต่ำกว่าสมรรถนะ แล้วมีต้นทุนต่อหน่วยสูงขึ้น แต่มีผลผลิตส่วนเกินน้อยลง ไม่มีปัญหาต้องส่งออกหรือจัดเก็บจำนวนมาก ที่ผ่านมา โรงกลั่นไทยเลือกหนทางแรกเพราะมีความสมเหตุสมผลทางธุรกิจมากกว่า

จากการที่ประเทศไทยผลิตน้ำมันสำเร็จรูปล้นเกินจนต้องส่งออกไปต่างประเทศ ได้นำไปสู่ข้อเรียกร้องของ “กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย” ให้ “งดส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปทั้งหมด เก็บไว้ในประเทศเพื่อให้คนไทยได้ใช้ในราคาถูก”

นี่เป็นข้อเสนออันตรายที่จะทำลายอุตสาหกรรมน้ำมันของไทยทั้งหมด เพราะจะงดส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปได้ รัฐบาลต้องออกกฎหมายห้ามส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปข้ามแดนเท่านั้น ปัจจุบัน อุตสาหกรรมน้ำมันเป็นอุตสาหกรรมเปิดเสรี หากรัฐบาลประกาศห้ามส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป แน่นอนว่า จะทำให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศลดต่ำลงเพราะมีอุปทานล้นเกินในประเทศ ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดการลักลอบส่งออกน้ำมันข้ามแดนแล้ว ยังเป็นการทำลายธุรกิจโรงกลั่น เพราะหากรัฐบาลยังคงจัดเก็บภาษีน้ำมันในอัตราเดิม ราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นจะต้องลดลงอย่างมากด้วย

ถ้าประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงาน มีน้ำมันดิบราคาถูกจำนวนมหาศาลอย่างที่ “พวกทวงคืนฯ” แอบอ้าง ด้วยต้นทุนน้ำมันดิบต่ำ โรงกลั่นก็อาจจะยังมีกำไรอยู่ได้ แต่ความจริงคือ ประเทศไทยไม่ใช่เศรษฐีน้ำมัน จึงยังต้องนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศจำนวนมากในราคาตลาดโลก และด้วยส่วนต่างราคาน้ำมันดิบนำเข้า-น้ำมันสำเร็จรูปส่งออกข้างต้นที่เพียงลิตรละ 0.75 บาท การกดราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นให้ต่ำลง จะทำให้โรงกลั่นประสบภาวะขาดทุนอย่างแน่นอน ซึ่งหากรัฐบาลดำเนินการดังกล่าวเป็นนโยบายถาวรจริง โรงกลั่นก็จะต้องเลิกกิจการไปในที่สุด

ยิ่งกว่านั้น การห้ามส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป นอกจากจะทำให้โรงกลั่นไม่มีแรงจูงใจขยายการผลิตแล้วยังจะลดการผลิตลงอีกด้วย ส่วนการบริโภคน้ำมันก็จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาที่ต่ำลง ในที่สุด การบริโภคจะเกินกว่าการผลิต ประเทศไทยที่เคยส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปก็จะกลับกลายเป็นประเทศนำเข้าทั้งน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป ดังเช่นที่ประเทศไทยเคยเป็นในอดีต เมื่อถึงเวลานั้น คนไทยก็ต้องกลับมาบริโภคน้ำมันราคาแพงอีกอยู่ดี

การให้รัฐบาลเข้าแทรกแซงด้วยการห้ามส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป หมายความว่า ในแต่ละปี รัฐบาลจะต้องวางแผนล่วงหน้าว่า โรงกลั่นจะผลิตน้ำมันสำเร็จรูปเท่าใด ปริมาณบริโภคในประเทศเป็นเท่าใด และต้องนำเข้ามาให้พอเพียงอีกจำนวนเท่าใด หากรัฐบาลคาดการณ์ผิด อาจเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันสำเร็จรูป เป็นภาพรถยนต์เข้าคิวยาวเหยียดแย่งกันเติมน้ำมันที่สถานีจำหน่าย ซึ่งเป็นปัญหาเดียวกันกับสินค้าเกษตรหลายชนิด ที่รัฐบาลแทรกแซงด้วยการห้ามนำเข้า แต่ให้ส่งออกได้ เช่น น้ำตาล น้ำมันปาล์ม ซึ่งเมื่อรัฐบาลคาดการณ์ผิด ก็จะเกิดปัญหาขาดแคลน ผู้บริโภคหาซื้อในตลาดเปิดไม่ได้ ต้องไปซื้อในตลาดมืดในราคาสูง ดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
นอกจากนั้น ธุรกิจน้ำมันของไทยเป็นธุรกิจเสรี มีนักลงทุนต่างชาติเข้ามามีบทบาทมาก ตั้งแต่สัมปทานสำรวจผลิต กลั่น ไปจนถึงการลงทุนในบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไทย การเปลี่ยนนโยบายของรัฐบาลจากการเปิดเสรีมาเป็นการห้ามส่งออกจะกระทบกระเทือนต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาลไทยในสายตานักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติอย่างมาก

ข้อเรียกร้องที่ให้รัฐบาลห้ามส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปก็คือ ข้อเสนอให้ทำลายอุตสาหกรรมน้ำมันทั้งระบบนั่นเอง

เผยแพร่ครั้งแรกใน “โลกวันนี้วันสุข”ฉบับวันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2556

ที่มา : //www.prachatai.com/journal/2013/04/46414

น้ำมันแพงเพราะภาษีและกองทุนฯ

ข้อโจมตีอีกประการหนึ่งของ “กลุ่มทวงคืนพลังงาน” คือ ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินในประเทศไทยมีราคาแพงในอันดับต้น ๆ ของโลก ตัวอย่างที่คนพวกนี้เผยแพร่ไปทั่วคือ ราคาขายปลีกในประเทศไทยยังแพงกว่าในสหรัฐอเมริกาทั้งที่คนไทยโดยเฉลี่ยมีรายได้ต่ำกว่าคนอเมริกันอย่างมาก

คนพวกนี้จงใจเลือกหยิบข้อมูลเฉพาะจุดโดยไม่กล่าวถึงภาพรวมทั้งหมด เป็นความจริงที่ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินในสหรัฐฯมีราคาต่ำกว่าไทย โดยปัจจุบันราคาขายปลีกในสหรัฐฯเท่ากับลิตรละ 32.60 บาท ขณะที่ราคาขายปลีกของไทยอยู่ที่ลิตรละ 45.25 บาท

แต่จากสถิติราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินในเกือบ 200 ประเทศทั่วโลกในเดือนเมษายน 2556 จะพบว่า ประเทศไทยมีราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินอยู่ในระดับกลาง ๆ อันดับที่ 95-100 และยังมีอีกหลายประเทศที่พลเมืองมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าคนไทย แต่มีราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินแพงกว่า เช่น ศรีลังกา (46.8 บาท) เนปาล (47.8 บาท) กัมพูชา (49.2 บาท) ราวันดา (69.6 บาท) เป็นต้น ประเทศที่มีราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินแพงที่สุดในโลกคือ ตุรกี ที่ลิตรละ 90 บาท!

ความจริงคือ ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินไม่ได้สัมพันธ์กับระดับรายได้ของประชากรในแต่ละประเทศ ประเทศยากจนไม่จำเป็นต้องมีราคาน้ำมันถูกกว่าประเทศร่ำรวย เพราะแม้ว่าราคาตัวเนื้อน้ำมันหน้าโรงกลั่นจะไม่แตกต่างกันมากนัก แต่รัฐบาลในแต่ละประเทศก็มีนโยบายภาษีน้ำมันที่ไม่เหมือนกัน ประเทศที่จัดเก็บภาษีน้ำมันสูงก็จะมีราคาขายปลีกสูง ประเทศยากจนที่มีราคาน้ำมันแพงมาก เช่น ในอาฟริกา มักมีสาเหตุจากต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศ มีภาวะขาดแคลนน้ำมัน และรัฐบาลมีฐานจัดเก็บภาษีแคบ จึงต้องหันมาขูดรีดภาษีจากน้ำมันเป็นหลัก เป็นต้น

หากจำแนกโครงสร้างราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินเฉลี่ยในประเทศไทยเดือนเมษายน 2556 ที่ราคาลิตรละ 45.25 บาท จะพบว่า เป็นราคาเนื้อน้ำมัน 21.80 บาท (ร้อยละ 48.2) ภาษีทุกชนิด 10.66 บาท (ร้อยละ 23.6) เงินสมทบกองทุนน้ำมันฯและกองทุนอนุรักษ์พลังงาน 9.45 บาท (ร้อยละ 20.9) และค่าการตลาด 3.34 บาท (ร้อยละ 7.4)

ราคาเนื้อน้ำมันคือราคาหน้าโรงกลั่น ซึ่งกำหนดเทียบเท่าราคากลางที่ตลาดสินค้าสิงคโปร์ โดยมีค่าแตกต่างไม่เกินกว่าค่าขนส่งและประกันภัย เหตุที่ต้องอ้างอิงราคากลางสิงคโปร์เนื่องจากการกลั่นน้ำมันมีวัตถุดิบเป็นน้ำมันดิบ แต่มีผลผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูปและผลพลอยได้รวมกว่าสิบชนิด (เช่น เบนซิน ดีเซล น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันเตา แอลพีจี น้ำมันหล่อลื่น ยางมะตอย เป็นต้น) ซึ่งมีประโยชน์ใช้สอยและความต้องการในตลาดที่แตกต่างกันมาก จึงไม่สามารถใช้ต้นทุนเฉลี่ยน้ำมันดิบมากำหนดต้นทุนของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดเท่า ๆ กันได้ จำเป็นต้องใช้ราคาซื้อขายของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดในตลาดกลางที่มีขนาดใหญ่เป็นราคาอ้างอิง ซึ่งที่ใกล้ที่สุดคือ ตลาดกลางสิงคโปร์ ซึ่งมีปริมาณการซื้อขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมมากเป็นอันดับสามของโลก

ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไทยมีขนาดเล็กจิ๋ว มีผู้ซื้อผู้ขายน้อยราย หากกำหนดราคาซื้อขายกันเองที่สูงกว่าราคากลางสิงคโปร์บวกค่าขนส่ง โรงกลั่นจะเกิดแรงจูงใจนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปเข้ามาจากสิงคโปร์ หรือในทางกลับกัน หากราคากำหนดเองในประเทศไทยต่ำกว่าราคากลางสิงคโปร์หักด้วยค่าขนส่ง ก็จะมีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปไปขายสิงคโปร์ ในที่สุด การไหลเข้าออกของน้ำมันสำเร็จรูประหว่างไทยกับสิงคโปร์จะทำให้ราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นในไทยเท่ากับราคาสิงคโปร์โดยมีส่วนต่างไม่เกินกว่าค่าขนส่ง (ยกเว้นกรณีรัฐบาลห้ามส่งออกนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปโดยสิ้นเชิง ดังที่ “กลุ่มทวงคืนพลังงาน” เรียกร้อง)

โรงกลั่นได้รับประโยชน์ในรูปของ “ค่าการกลั่นรวม” ซึ่งเป็นผลต่างระหว่างต้นทุนน้ำมันดิบ (บวกค่าขนส่งถึงโรงกลั่น) กับราคาเฉลี่ยหน้าโรงกลั่นของผลผลิตการกลั่นทุกชนิด (อ้างอิงราคาสิงคโปร์) แต่ค่าการกลั่นดังกล่าวยังไม่ใช่ “กำไร” ของโรงกลั่นเพราะยังไม่ได้หักต้นทุนค่าใช้จ่ายภายในโรงกลั่น ต่อเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว จึงเรียกว่า “ค่าการกลั่นสุทธิ” ซึ่งเป็นกำไรของโรงกลั่น จะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับทิศทางของราคาน้ำมันดิบเทียบกับทิศทางของราคาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปและต้นทุนการกลั่น (ซึ่งก็มีทิศทางเดียวกันกับราคาผลิตภัณฑ์เพราะการกลั่นก็ต้องใช้พลังงานเช่นกัน)

ค่าการกลั่นรวมสามารถคำนวณได้จากตัวเลขราคาน้ำมันดิบและราคาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปทุกชนิดรวมกัน แต่ “ค่าการกลั่นสุทธิ” เป็นข้อมูลภายในของธุรกิจโรงกลั่น ในประเทศไทย บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เป็นธุรกิจโรงกลั่นล้วน ๆ ฉะนั้น “กำไรสุทธิ” ของไทยออยล์น่าจะสะท้อนแนวโน้มค่าการกลั่นสุทธิโดยคร่าว ๆ ได้ ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แสดงว่า ในปี 2555 ไทยออยล์มีกำไรสุทธิ 12,320 ล้านบาท ขณะที่ในปีเดียวกัน ไทยออยล์กลั่นน้ำมันดิบประมาณ 100 ล้านบาร์เรล คำนวณเฉลี่ยแล้ว คิดเป็นกำไรสุทธิลิตรละ 0.77 บาทเท่านั้น

ยิ่งกว่านั้น กำไรสุทธิดังกล่าวยังคิดเป็นเพียงร้อยละ 2.75 ของยอดขายรวม 447,432 ล้านบาท เป็นร้อยละ 7.2 ของสินทรัพย์รวม 170,676 ล้านบาท และเป็นร้อยละ 13.6 ของส่วนผู้ถือหุ้นสุทธิ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่สูงมากและไม่แตกต่างจากค่าเฉลี่ยของทั้งตลาดหลักทรัพย์มากนัก ข้อสังเกตคือ กำไรสุทธิของไทยออยล์ขึ้นลงผันผวน เช่น ปี 2553 มีกำไรสุทธิ 8,956 ล้านบาท ขณะที่ปี 2551 มีกำไรสุทธิเพียง 224 ล้านบาทเท่านั้น

ธุรกิจโรงกลั่นซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงจากความผันผวนของต้นทุนกับราคาผลิตภัณฑ์ และก็มิได้มีผลตอบแทนที่ห่างไกลจากธุรกิจที่มีกำไรโดยทั่วไป

ฉะนั้น ตัวการที่ทำให้คนไทยต้องใช้น้ำมันแพง ก็คือ ภาษีและเงินสมทบกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงนั่นเอง ดังจะเห็นได้ว่า ราคาน้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลหน้าโรงกลั่น ณ สิ้นเดือนเมษายน 2556 เท่ากับลิตรละ 21.85 บาทและ 22.20 บาทเท่านั้น ขณะที่ราคาขายปลีก ณ สถานีจำหน่ายกลับสูงถึงลิตรละ 44.35 บาทและ 29.99 บาทตามลำดับ นัยหนึ่ง ภาษีบวกเงินสมทบกองทุนฯ รวมกันสูงถึง 22.50 บาทในกรณีเบนซิน และ 7.79 บาทในกรณีดีเซล ลักษณะดังกล่าวเป็นผลจากนโยบายบิดเบือนราคาพลังงานที่ตกทอดต่อเนื่องกันมาหลายรัฐบาลนับสิบปีจนถึงปัจจุบัน

แต่เหตุใด “กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย” จึงมุ่งโจมตีแต่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัทโรงกลั่นเป็นหลัก? ก็เพราะพวกเขาพยายามจะเบี่ยงเบนประเด็นจากนโยบายราคาน้ำมันของรัฐบาลที่ตกทอดกันมา ไปเป็นประเด็นการเมือง โดยชี้ให้เห็นว่า มี “กลุ่มทุนสามานย์” เข้าไปแสวงประโยชน์อยู่ในสัมปทานปิโตรเลียมและในปตท. ด้วยความร่วมมือจากรัฐบาลพรรคเพื่อไทยนั่นเอง แม้คนพวกนี้จะไม่ได้ระบุชัดในเวทีสาธารณะว่า ใครคือ “ทุนสามานย์” แต่ก็เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า พวกพันธมิตรฯเสื้อเหลืองใช้คำนี้หมายถึงทักษิณ ชินวัตรและพรรคพวกนั่นเอง

เผยแพร่ครั้งแรกใน “โลกวันนี้วันสุข”ฉบับวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2556

ที่มา : //www.prachatai.com/journal/2013/05/46679


ความจริงเกี่ยวกับก๊าซแอลพีจี

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์

พันธมิตรเสื้อเหลืองที่สวมเสื้อคลุม “กลุ่มทวงคืนพลังงาน” และ “กลุ่มทวงคืน ปตท.” ยังมีประเด็นโจมตีรัฐบาลที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือ นโยบายก๊าซแอลพีจี

ก๊าซแอลพีจีที่ใช้ในประเทศไทยได้มาจาก 3 แหล่งคือ โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง (ซึ่งนำเข้าน้ำมันดิบมากลั่น) ได้จากอ่าวไทยผ่านโรงแยกก๊าซของ ปตท. และได้จากการนำเข้าจากต่างประเทศ สาเหตุหนึ่งของราคาน้ำมันแพงในประเทศไทยคือ การจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้อุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจี

เช่น ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2556 น้ำมันเบนซินมีราคาขายปลีกลิตรละ 45.15 บาท เป็นเงินสมทบกองทุนฯ ถึง 9.70 บาท ขณะที่น้ำมันดีเซลต้องจ่ายเข้ากองทุนฯ ลิตรละ 3.40 บาท แก๊ซโซฮอล 95 E10 สมทบลิตรละ 3.50 บาท

ประมาณตัวเลขในวันที่ 29 พฤษภาคม 2556 มีเงินเข้าสมทบกองทุนฯ ทั้งสิ้น 254.58 ล้านบาท โดยได้จากน้ำมันดีเซลมากที่สุดคือ 192.20 ล้านบาท จากน้ำมันเบนซิน 18.62 ล้านบาท น้ำมันก๊าซโซฮอล 95 E10 จำนวน 30.42 ล้านบาท และน้ำมันก๊าซโซฮอล 91 E10 จำนวน 12.74 ล้านบาท รัฐบาลจัดเก็บเงินสมทบกองทุนฯสูงมากเพราะเหตุใด?

ข้อมูลแสดงว่า ในวันเดียวกัน กองทุนมีรายจ่ายรวม 57.86 ล้านบาท รายการใหญ่ที่สุดคือ อุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจี สูงถึง 52.28 ล้านบาท นอกนั้น เป็นการอุดหนุนราคาก๊าซโซฮอล 95 E20 และก๊าซโซฮอล 95 E85 รวมกันประมาณ 5 ล้านบาท แต่ทำไมถึงต้องอุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจี?

ราคาก๊าซแอลพีจีหน้าโรงกลั่นจะกำหนดตามราคาตลาดโลก (เช่นเดียวกับ ราคาหน้าโรงกลั่นของน้ำมันเชื้อเพลิงอื่นๆ ที่กลั่นได้) ซึ่งใกล้เคียงกับราคาก๊าซแอลพีจีนำเข้า ปัจจุบัน ราคาตลาดโลกแกว่งตัวในช่วง 750-1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน หรือประมาณ กก.ละ 20-30 บาท ส่วนต้นทุนก๊าซแอลพีจีจากอ่าวไทยที่โรงแยกก๊าซอยู่ที่ 550 ดอลลาร์ต่อตัน หรือ กก.ละ 16.92 บาท

แต่ปัจจุบัน รัฐบาลกำหนดราคาก๊าซแอลพีจีหน้าโรงกลั่นไว้ที่ 333 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน เท่ากับ กก.ละ 9.72 บาท ซึ่งต่ำกว่าทั้งราคาตลาดโลกและต้นทุนที่โรงแยกก๊าซ รัฐบาลจึงต้องชดเชยส่วนต่างให้กับโรงกลั่น โรงแยกก๊าซ และผู้นำเข้า ในปี 2555 กองทุนน้ำมันต้องอุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจีเป็นจำนวนถึง 3.6 หมื่นล้านบาท ทำให้ภาคครัวเรือนได้ใช้ก๊าซหุงต้มในราคาขายปลีกเพียง กก.ละ 18.13 บาท และภาคขนส่งเพียง กก.ละ 21.38 บาท ซึ่งต่ำที่สุดในภูมิภาคนี้ เมื่อเทียบกับเวียดนาม (59 บาท) ลาว (49 บาท) กัมพูชา (45 บาท) พม่า (34 บาท) อินโดนีเซีย (23 บาท) และมาเลเซีย (20 บาท)

นโยบายอุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจีเป็นความผิดพลาดมาตั้งแต่การเปิดเสรีโรงกลั่นน้ำมันเมื่อปี 2534 โดยรัฐบาลเวลานั้นได้ใช้นโยบายลอยตัวราคาน้ำมัน เพื่อจูงใจให้มีการลงทุนสร้างโรงกลั่นเพิ่ม แต่กลับตรึงราคาก๊าซแอลพีจีไว้ และกลายเป็นมาตรการที่ตกทอดมาถึงปัจจุบันในขณะที่ราคาก๊าซแอลพีจีในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้นโดยตลอด

การอุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจีให้ต่ำกว่าความเป็นจริง ไม่สะท้อนความหาได้ยากที่เพิ่มขึ้นในตลาดโลก เป็นผลให้ประเทศไทยมีการใช้ก๊าซแอลพีจีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึงกว่าร้อยละ 10 ต่อปี และเกิดการบิดเบือนการใช้พลังงาน โดยในภาคขนส่ง ได้มีการดัดแปลงยานพาหนะเบนซินมาใช้ก๊าซแอลพีจีเป็นจำนวนมาก (ปี 2555 เพียงปีเดียว เพิ่มถึง 2 แสนคัน รวมเป็นทั้งสิ้นประมาณ 1 ล้านคัน) ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมก็เลิกใช้น้ำมันเตา หันมาใช้ก๊าซแอลพีจีแทน จนประเทศไทยกลั่นได้น้ำมันเตาเหลือใช้ ต้องส่งออกจำนวนมากทุกปี

ผลก็คือ ประเทศไทยจากที่เคยผลิตก๊าซแอลพีจีเหลือใช้และส่งออกได้ถึงวันละ 3 หมื่นบาร์เรล กลายเป็นติดลบ ผลิตไม่พอใช้ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศมาตั้งแต่ปี 2551 โดยในปี 2555 ประเทศไทยต้องนำเข้าก๊าซแอลพีจีถึงวันละ 55,000 บาร์เรล เป็นภาระของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจนถึงขั้นติดลบ

รัฐบาลที่ผ่านมาจึงพยายามที่จะลดการอุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจี แต่ก็ถูกต่อต้านจากพันธมิตรเสื้อเหลือง “กลุ่มทวงคืนพลังงาน” มาโดยตลอด ในทางตรงข้าม คนพวกนี้กลับโยงประเด็นราคาก๊าซแอลพีจี ไปโจมตีอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ใช้ก๊าซแอลพีจีเป็นวัตถุดิบอีก โดยกล่าวหาว่า รัฐบาลขึ้นราคาขายปลีกก๊าซแอลพีจีเพื่อไปอุดหนุนกำไรของ ปตท.และให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีซื้อก๊าซแอลพีจีในราคาต่ำกว่าภาคอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกลุ่มโอเลฟินส์ใช้ก๊าซแอลพีจีเป็นวัตถุดิบขั้นต้นในการผลิตเม็ดพลาสติกประเภท PP ได้รับการส่งเสริมในช่วงปลายยุค 2520 โดยใช้วัตถุดิบก๊าซจากอ่าวไทยผ่านโรงแยกก๊าซของ ปตท.โดยตรง ขณะที่ครัวเรือนในยุค 2530 ได้รับก๊าซหุงต้มจากโรงกลั่นเป็นหลัก แต่การอุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจีก็ทำให้การใช้ก๊าซในภาคครัวเรือน ขนส่ง และอุตสาหกรรมขยายตัวมากจนผลผลิตจากโรงกลั่นไม่พอใช้ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ขณะที่ปตท.ก็ต้องแบ่งก๊าซแอลพีจีจากโรงแยกก๊าซมาให้ด้วยเช่นกัน

ราคาก๊าซแอลพีจีที่ ปตท.ขายเป็นวัตถุดิบปิโตรเคมีนั้น ถูกกำหนดให้แปรผันขึ้นลงตามราคาเม็ดพลาสติก PP ในตลาดโลก โดยมีช่วงราคาระหว่างต้นทุนที่โรงแยกก๊าซ 16.92 บาทต่อ กก.แต่ไม่เกินราคานำเข้าหรือราคาตลาดโลก (ประมาณ 30 บาท ต่อกก.) ฉะนั้น ราคาก๊าซแอลพีจีที่อุตสาหกรรรมปิโตรเคมีซื้อไปนั้นจึงมีราคาขึ้นลง บางช่วงอาจสูงถึงราคาตลาดโลก

“กลุ่มทวงคืนพลังงาน” อ้างว่า ปัจจุบัน อุตสาหกรรมปิโตรเคมีจ่ายเงินสมทบกองทุนน้ำมันในอัตราเพียง กก.ละ 1 บาท ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมต้องจ่ายสมทบถึง กก.ละ 10.87 บาท ทำให้ราคาก๊าซแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมมีราคาขายปลีกสูงถึง กก.ละ 28.07 บาท ซึ่งก็เป็นจริงบางส่วน แต่เบื้องหลังคือ ก๊าซแอลพีจีที่ภาคอุตสาหกรรมได้รับนั้นมีจุดเริ่มต้นที่หน้าโรงกลั่นในราคาเพียง กก.ละ 9.72 บาท ซึ่งเป็นราคาที่รัฐบาลได้ใช้เงินกองทุนไปอุดหนุนตั้งแต่ต้นน้ำเรียบร้อยแล้ว แต่เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายลดการอุดหนุนภาคอุตสาหกรรมเป็นกลุ่มแรก ฉะนั้น เมื่อถึงราคาขายปลีก รัฐบาลจึงได้จัดเก็บเงินสมทบกองทุนจากก๊าซแอลพีจีเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ให้ราคาขายปลีกเข้าใกล้ราคาตลาดโลก

นัยหนึ่ง รัฐบาลจัดเก็บเงินสมทบกองทุนจากราคาขายปลีกก๊าซแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมก็เพื่อ “เอาคืน” เงินอุดหนุนราคาหน้าโรงกลั่นที่ภาคอุตสาหกรรมได้รับไปก่อนหน้านั้นนั่นเอง

แน่นอนว่า เราอาจเรียกร้องให้รัฐบาลจัดเก็บเงินสมทบกองทุนน้ำมันจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในอัตราสูงกว่า 1 บาท ต่อ กก. ได้โดยอ้าง “ความเป็นธรรม” แต่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีมีข้อแตกต่างสำคัญจากผู้ใช้ก๊าซแอลพีจีภาคอื่นๆ คือ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไม่ได้ซื้อวัตถุดิบก๊าซแอลพีจีในราคาที่ได้รับการอุดหนุนจากกองทุน หากแต่ซื้อในราคาที่เคลื่อนไหวตามราคาเม็ดพลาสติกในตลาดโลก การจัดเก็บเงินกองทุนจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจึงเป็นเสมือนการจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่มจากวัตถุดิบต้นน้ำ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตเม็ดพลาสติกที่เป็นผลผลิตไปด้วย

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีเม็ดพลาสติกมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทยอย่างกว้างขวาง เม็ดพลาสติก PP เป็นพลาสติกหลัก (นอกเหนือไปจาก PVC) ที่ใช้ในระบบเศรษฐกิจไทย เป็นวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมไทยแทบทุกสาขา ตั้งแต่รถยนต์ อิเล็กโทรนิกส์ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ของเด็กเล่น ไปจนถึงภาชนะในครัว เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตครัวเรือนไทยทุกด้าน ยิ่งกว่านั้น เม็ดพลาสติก PP ยังเป็นสินค้าส่งออกในอันดับต้นๆ ของอุตสาหกรรมไทยอีกด้วย มีมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งสิ้นหลายแสนล้านบาทต่อปี การจัดเก็บเงินสมทบกองทุนในอัตราสูงจะมีผลกระทบลูกโซ่ถึงอุตสาหกรรมปลายน้ำของไทยทั้งหมด ต่อสินค้าอุปโภคของครัวเรือนไทย และต่อการแข่งขันส่งออกเม็ดพลาสติกของไทย แน่นอนว่า รัฐบาลจะต้องพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ประกอบในการกำหนดนโยบาย

ถึงกระนั้น ไม่ว่ารัฐบาลจะจัดเก็บเงินสมทบจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีสักเท่าไร ก็ไม่มีผลให้ราคาก๊าซแอลพีจีที่ประชาชนใช้มีราคาถูกลง เพราะข้อเท็จจริงคือ ราคาขายปลีกก๊าซแอลพีจีภาคครัวเรือนและภาคขนส่งยังต่ำกว่าความเป็นจริงในตลาดโลก จนเกิดการใช้เกินตัวและใช้ผิดประเภท เป็นภาระแก่ผู้ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ อยู่ดี และหนทางแก้ไขคือ ต้องลดเลิกการอุดหนุนราคาขายปลีกก๊าซแอลพีจีทั้งหมดด้วยมาตรการที่เหมาะสมและเป็นขั้นตอน

หมายเหตุ: ตีพิมพ์ครั้งแรกใน 'โลกวันนี้วันสุข' ฉบับวันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน 2556

ที่มา : //prachatai.com/journal/2013/06/47102




 

Create Date : 23 พฤศจิกายน 2556    
Last Update : 23 พฤศจิกายน 2556 15:08:02 น.
Counter : 1682 Pageviews.  

แรงเงาของประชาชนไทย

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ


ผมเป็นคนชอบงานเขียนของนันทนา วีระชน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนันทนาได้รับอิทธิพลจากสตรีนิยมหลัง ๑๔ ตุลามาไม่น้อย ในนวนิยายของนันทนาหลายเรื่องจะเน้นบทบาทความเด่นของตัวละครสตรี ที่มีความกล้าต่อสู้และท้าทายสังคม โดยเฉพาะการตอบโต้กับผู้ชายชั่วที่เอาเปรียบผู้หญิง และในบรรดางานเขียนหลายเรื่องของเธอ แรงเงาถือได้ว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเรื่องหนึ่ง


เรื่องย่อของแรงเงา เล่าถึงมุตตา ซึ่งเป็นข้าราชการหญิงที่เรียบร้อยและอ่อนต่อโลก จึงตกเป็นภรรยาลับของเจนภพ ซึ่งเป็นชายเจ้าชู้และผู้บังคับบัญชาในที่ทำงาน ต่อมา มุตตาได้ถูกภรรยาของเจนภพชื่อ นพนภา ตามมาตบตีต่อหน้าคนจำนวนมาก และถูกซ้ำเติมโดยเพื่อนข้าราชการ ทำให้เธอต้องอับอายจนต้องหนีกลับบ้านต่างจังหวัด และพบว่าตนเองท้อง ในที่สุด ก็ฆ่าตัวตายหนีปัญหา แต่มุนินทร์พี่สาวฝาแฝด ที่เป็นคนเข้มแข็งไม่ยอมใคร ไม่สามารถจะยอมรับเรื่องความตายของน้องสาวได้ จึงปลอมตัวเป็นมุตตากลับมาแก้แค้น และในที่สุด ก็สามารถที่จะเอาชนะ ทำให้นพนภาและเจนภพได้รับกรรมตามที่ตนเองก่อไว้ และครอบครัวของนพนภาก็ประประสบความแตกแยก ส่วนมุนินทร์ก็ได้แต่งงานกับวีกิจ หลานของเจนภพ ที่เข้าช่วยเหลือมุตตาตลอดมา


หลังจากเรื่องแรงเงาเผยแพร่ตั้งแต่ พ.ศ.2529 ได้มีการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ 4 ครั้ง และขณะนี้ ละครเรื่องนี้ก็ยังออกอากาศอยู่ทางช่อง 3 กลายเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมสูงมาก แม้ว่า ผู้สร้างละครครั้งนี้ จะเน้นฉากตบกันระหว่างผู้หญิงมากไปหน่อย แต่ถ้าดูจากเนื้อหาต้องถือว่า เป็นเรื่องที่ให้บทเรียนแก่สังคมพอสมควร


แต่ที่น่าสนใจคือโครงเรื่องของเรื่องแรงเงา เข้ากันได้กับสถานการณ์การเมืองในประเทศไทย เพราะก่อนหน้านี้ ประชาชนไทยก็ไม่ต่างอะไรกับมุตตา คือไม่เคยมีปากเสียง ยอมจำนนต่อชนชั้นปกครอง และปล่อยชะตากรรมของประเทศไว้ในมือชนชั้นนำจำนวนน้อย ไม่ว่าจะใช้สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ประชาธิปไตยเต็มใบ เผด็จการทหาร ประชาธิปไตยครึ่งใบ ประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อก็ไม่เคยบ่น จะรัฐประหารหรือเอาใครมาเป็นรัฐบาลก็ยอมรับโดยดุษณีภาพ แต่ในระยะ 7 ปีที่ผ่านมานี้ ขบวนการประชาชนไทยกลายร่างเป็นมุนินทร์ ลุกขึ้นตอบโต้กับชนชั้นนำอำมาตย์อย่างไม่หวาดหวั่น ไม่ยอมให้ชนชั้นปกครองกำหนดชะตากรรมของประเทศเช่นเดิมอีก จึงสร้างความยากลำบากอย่างมากแก่ชนชั้นนำอำมาตยาธิปไตย


ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในระยะ 7 ปีที่ผ่านมานี้จึงอยู่ที่ว่า ประชาชนคนส่วนใหญ่ต้องการการเมืองแบบประชาธิปไตย ให้รัฐบาลที่บริหารประเทศมาจากการเลือกตั้งด้วยเสียงข้างมากของประชาชน แต่กลุ่มชนชั้นจารีตประเพณี ต้องการสร้างการเมืองที่พวกเขาควบคุมได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นประชาธิปไตย ขอเพียงให้มีคนดีมาบริหารบ้านเมือง และจะมาด้วยวิธีไหนก็ได้ จากการรัฐประหาร การแต่งตั้ง การกำหนดโดยศาล หรือ โดยผู้ใหญ่ในบ้านเมือง และได้มีการสร้างวาทกรรมตลอดเวลาว่า นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งนั้นเป็นคนชั่ว จึงกลายเป็นว่าการเลือกตั้งเป็นกลไกอำนาจของคนชั่ว คนดีต้องขึ้นสู่อำนาจด้วยวิธีพิเศษ แต่ปัญหาเริ่มต้นตั้งแต่การนิยามคำว่า”คนดี”แล้ว เพราะคนดีในสังคมไทยล้วนแต่เป็นพวกที่ตรวจสอบไม่ได้ ต้องใช้ความเชื่อถือไปรับรองความเป็นคนดีทั้งสิ้น


ทัศนะในลักษณะที่ยกย่องคนดี ไม่เอาประชาธิปไตยนี้ เห็นได้ชัดในการชุมนุมทางการเมืองที่สนามม้านางเลิ้งเมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมานี้ โดยการชุมนุมจัดโดยองค์กรพิทักษ์สยามและภาคีเครือข่าย ที่มี พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ นายทหารนอกราชการเป็นผู้ประสานงาน โดยให้ชื่อการชุมนุมว่า “หยุดวิกฤตและหายนะของชาติ” พล.อ.บุญเลิศแถลงว่า รัฐบาลชุดนี้สร้างความเสียหายมากกว่ารัฐบาลชุดใด โดยเฉพาะการปล่อยให้มีการจาบจ้วงหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ การทุจริตมหาศาล และเป็นนอมินีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่ที่น่าสังเกตคือ พล.อ.บุญเลิศไม่ได้แสดงหลักฐานความล้มเหลวในการบริหารบ้านเมืองที่มีน้ำหนักแต่อย่างใด ส่วนข้อโจมตีรัฐบาลว่า ปล่อยให้หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก็เป็นเพียงการอิงเจ้าเอาเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์มาใส่ร้ายศัตรูทางการเมือง ที่ปราศจากเหตุผล เพราะในระยะที่บริหารประเทศ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรก็ถวายพระเกียรติเสมอมา เพียงแต่ยังไม่ไต้ใช้นโยบายล่าแม่มด จับผู้บริสุทธิ์เข้าคุกแบบรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเท่านั้น


ในการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลครั้งนี้ ได้มีหลายคนมาเข้าร่วมปราศรัย เช่น น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์, พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ, ดร.ต่อตระกูล ยมนาค นายพิเชษฐ์ พัฒนโชติ ดร.เสรี วงศ์มณฑา และนายประสิทธิ์ ไชยทองพันธ์ เป็นต้น แต่ฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังสงวนท่าที ไม่ได้เข้าร่วมอย่างเป็นทางการ


น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ได้อิงแอบกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ คือการสนับสนุนคนดีให้เข้ามาทำงานแทนคนไม่ดี จึงอยากเสนอให้ประชาชนรวมตัวกันตั้งกรรมการขึ้นมาช่วยกันคิดและปรึกษาหารือเฟ้นหาคนดีเสนอให้กับกลุ่มองค์กรพิทักษ์สยาม และสร้างเครือข่าย เพื่อหาคนดีมาทำงานแทนคนไม่ดี และให้ประชาชนไปทำป้ายไปติดที่หน้าทำเนียบกับรัฐสภาว่าที่นี่เป็นเขตอำนาจของประชาชนนักการเมืองทุรชนห้ามเข้าด้วย ซึ่งการอธิบายของ น.ต.ประสงค์ยังคงซ้ำซากในเรื่องการปกครองโดยคนดี ที่ไม่ต้องมาจากประชาธิปไตยอยู่นั่นเอง


แนวคิดลักษณะนี้ตอกย้ำโดยคำอธิบายของ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ว่า ที่พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งมา 15 ล้านเสียงนั้น “ไม่รู้เปลี่ยนหีบมาหรือเปล่า” และถ้าสามารถไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้สำเร็จ ก็จะให้มีการตั้งคณะบุคคลขึ้นมาดูแลการบริหารบ้านเมือง ซึ่งอาจจะให้มีการหยุดเล่นสักพัก แช่แข็งประเทศไทย ตัดบทบาทนักการเมืองอาจถึง 5 ปี แล้วค่อยให้มีการเลือกตั้งกันใหม่ เพราะถ้าปีเดียวแบบ พ.ศ.2549 เดี๋ยวพวกนักการเมืองก็กลับมาใหม่ แล้วจะไม่ได้ผล พล.อ.บุญเลิศอ้างว่า การดำเนินการเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ด้วยการปฏิวัติของประชาชน คณะบุคคลที่บริหารประเทศในภาวะพิเศษนี้ ต้องทำภารกิจ 4 ประการให้สำเร็จ คือ แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพิ่มการศึกษา เพิ่มความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ มาลงโทษตามกฎหมาย


ข้อเสนอของ พล.อ.บุญเลิศเป็นการสะท้อนความฝันกลางวันอันไม่เป็นประชาธิปไตย โดยคิดว่าประชาชนส่วนข้างมากนั้น จะยอมให้มีคนกลางจากฝากฟ้า มาบริหารประเทศชั่วคราวเสีย 5 ปี เพื่อมาร่างรัฐธรรมนูญตามใจชอบของชนชั้นนำ และลงโทษคนไม่มีความผิดเช่น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร


เพียงแต่ประชาชนในวันนี้ ได้เปลี่ยนจาก”มุตตา”เป็น”มุนินทร์”เสียแล้ว สิ่งที่ชนชั้นนำจะต้องเผชิญ คือ การไม่ยอมรับและตอบโต้อย่างเต็มที่จากประชาชน และในที่สุดชนชั้นปกครองจารีตก็จะต้องพ่ายแพ้ด้วยกาลเวลา และพ่ายแพ้ด้วยแรงเงาของประชาชนนั่นเอง


เผยแพร่ครั้งแรกที่: โลกวันนี้วันสุข ฉบับที่384 วันที่3 พฤศจิกายน 2555


ที่มา : //www.prachatai.com/journal/2012/11/43459




 

Create Date : 14 พฤศจิกายน 2555    
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2555 14:56:21 น.
Counter : 1260 Pageviews.  

ผีกลัวแสงสว่าง

ธงชัย วินิจจะกูล


บัดนี้คงชัดเจนแล้วว่าคำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ(ไอซีซี)กรณีอาชญากรรมการเมืองตรงราชประสงค์เมื่อปี 2553 และการดำเนินการต่อเนื่องมาทั้งหลาย ไม่ใช่ละครปลอบใจคนเสื้อแดงและไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันไร้ประโยชน์


ประชาคมโลกจัดตั้งไอซีซีขึ้นมาเพื่อจัดการลงโทษผู้มีอำนาจที่ก่ออาชญากรรมร้ายแรงต่อมนุษยชาติ เช่นสังหารประชาชนจำนวนมากหรือฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งร้อยทั้งร้อยเริ่มต้นจากกระทำผิดก่ออาชญากรรมแล้วลอยนวลไม่ถูกลงโทษ (impunity)


ภารกิจของไอซีซีคือต้องยุติภาวะเช่นนี้ให้จงได้ (“End the Impunity”)


การที่อัยการของไอซีซีเข้าพบรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยก็เพราะเขาเห็นว่ากรณีนี้มีมูลควรสนใจและสะท้อนวัฒนธรรมปล่อยคนผิดที่มีอำนาจลอยนวลซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนเป็นปัญหาใหญ่ของการเมืองไทย ด้วยเหตุนี้ไอซีซีจึงไม่จำหน่ายคำร้องของนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมออกไปตั้งแต่แรกๆที่เขายื่นเมื่อมกราคม 2554


(หวังว่าคงไม่มีใครเพ้อเจ้อกล่าวหาว่าอัยการของไอซีซีรับเงินทักษิณ)


ผู้มีส่วนในการก่ออาชญากรรมเมื่อปี 2553 และบรรดาผู้สนับสนุนต่างพากันออกมาคัดค้านไอซีซีเป็นการใหญ่ด้วยข้ออ้างสารพัด


เรื่องนี้เราควรพิจารณาสาเหตุผลสะเทือนให้กว้างและไกล อย่าหมกมุ่นหลงติดคิดแคบๆสั้นๆหรือคิดแค่ลูบหน้าปะจมูก อย่าหวังปัดปัญหาหรือปิดหูปิดตาตัวเองเด็ดขาด


ถ้ากระบวนการยุติธรรมของไทย(ไม่ใช่แค่ศาล)เชื่อถือได้ ไอซีซีย่อมไม่ต้องการเข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด และคงไม่มีคนไทยต้องพยายามไปร้องต่อไอซีซีด้วยซ้ำเพราะพึ่งกระบวนการยุติธรรมของไทยก็ย่อมได้


แต่ถึงวันนี้ จะมีสักกี่คนที่มั่นใจในกระบวนการยุติธรรมของไทยต่อกรณีอาชญากรรมการเมืองร้ายแรงจะมีสักกี่คนที่มั่นใจว่าไม่มีใบสั่ง ไม่เอียงเข้าข้างอำนาจ ไม่รังแกคนจนคนไร้อำนาจ ไม่มีสี เส้น หรือเอียงตามสถานะทางสังคม เปี่ยมด้วยวุฒิภาวะ หลักการ คงเส้นคงวา เชื่อถือได้ และเคารพสิทธิให้ประกันตัว


ถ้ากระบวนยุติธรรมของไทยเคยกล้าจัดการกับอาชญากรรมเมื่อ 14 ตุลา 16 6 ตุลา 19 และพฤษภา 35 อย่างเที่ยงธรรม ไม่มีการนิรโทษกรรมผู้กระทำผิด ไม่มีการปล่อยลอยนวลครั้งแล้วครั้งเล่าจนเสียนิสัย ไม่ปล่อยให้คนมีอำนาจเคยตัวว่าก่ออาชญากรรมก็ไม่ถูกลงโทษ ป่านนี้ไอซีซีคงทิ้งคำร้องไปตั้งนานแล้ว


ถ้ากระบวนการยุติธรรมของไทยไม่รับรองการรัฐประหารว่าเป็นเรื่องถูกต้อง ถ้านักกฎหมายไม่นิรโทษกรรมผู้ใช้อาวุธยึดอำนาจ ไม่ปกป้องผู้กระทำผิดร้ายแรงถึงขนาดบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ไอซีซีก็คงเอาคำร้องกรณีราชประสงค์ 2553ออกจากสารบบไปตั้งนานแล้ว


ถ้านักกฎหมาย อาจารย์นิติศาสตร์ จนถึงศาลยุติธรรม ไม่รับใช้ช่วยให้ผู้มีอำนาจที่ก่ออาชญากรรมลอยนวลไม่ถูกลงโทษ ไอซีซีคงไม่รับคำร้องกรณีนี้ตั้งแต่ต้น


ตลอด 30-40 ปีที่ผ่านมา อาชญากรรมการเมืองครั้งใหญ่เหล่านั้นอาจไม่เกิดขึ้นด้วยซ้ำไปการนิรโทษกรรมแก่ผู้มีอำนาจที่ก่ออาชญากรรม แถมยกย่องสรรเสริญอาชญากรเป็นการใหญ่ เป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อให้เกิดอาชญากรรมรุนแรงซ้ำแล้วซ้ำเล่า


เราอย่านึกว่าอัยการของไอซีซีไม่ทำการบ้าน ไม่ศึกษา ไม่รู้เรื่องประเทศไทยเลยว่ามีการนิรโทษกรรมผู้มีอำนาจที่ก่ออาชญากรรม ปล่อยลอยนวลครั้งแล้วครั้งเล่า เราอย่านึกเอาเองว่าอัยการของไอซีซีไม่รู้เหนือรู้ใต้ ไม่รู้ว่านับตั้งแต่กรณีราชประสงค์ 2553 ยังมีคนถูกขังคุกโดยไม่ได้รับการประกันตัวทั้งๆที่ยังไม่มีความผิด ในขณะที่ผู้ออกคำสั่งให้ใช้อาวุธสังหารประชาชนยังลอยนวลอยู่ และผู้กระทำผิดร้ายแรงเห็นโต้งๆเช่นการยึดทำเนียบรัฐบาลหรือสนามบินนานาชาติกลับไม่ถูกดำเนินคดี


เพราะเขาทำการบ้าน ทำการศึกษา อัยการของไอซีซีจึงเห็นว่ากรณีอาชญากรรมเมื่อปี 2553 มีวี่แววว่าคนมีอำนาจที่ก่ออาชญากรรมอาจจะไม่ถูกลงโทษอีกเช่นเคย


ดังนั้น เรื่องใหญ่คือเราต้องทำให้ประชาคมโลกและไอซีซีเห็นว่าระบบกฎหมายไทยและกระบวนการยุติธรรมของไทยกำลังปรับปรุงและแก้ปัญหา กำลังมุ่งจัดการเอาผู้สั่งการก่ออาชญากรรมมาลงโทษ พร้อมทั้งแก้ปัญหาความอยุติธรรมที่เกี่ยวเนื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ 2553 อย่างจริงจัง


กระบวนการยุติธรรมของไทยต่อกรณีนี้ต้องดำเนินไปอย่างเที่ยงธรรม จริงจังไม่ล่าช้า พยายามล่าตัวผู้สั่งการมาลงโทษ ไอซีซีจะเห็นเองว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยเชื่อถือได้


ต้องให้ประกันผู้ถูกดำเนินคดีที่ยังอยู่ในคุกทั้งหมด


ต้องปล่อยนักโทษการเมืองและให้ความเป็นธรรมแก่เหยื่อที่ถูกลงโทษซ้ำในความผิดที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีราชประสงค์ 2553


สิ่งที่ควรทำมากไปกว่านั้นก็คือ ต้องแสดงให้ชัดว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยไม่สนับสนุนการรัฐประหาร ด้วยการนำข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ที่ให้ล้มล้างผลพวงของรัฐประหาร 2549 ขึ้นมาพิจารณาและเร่งนำไปปฎิบัติ


(ผู้ที่เห็นว่าข้อเสนอดังกล่าวเหลวไหลน่าหัวร่อคือคนที่คิดแคบคิดสั้น ไม่เข้าใจว่าข้อเสนอดังกล่าวจะมีผลช่วยปรับระบบนิติธรรมและกระบวนการยุติธรรมของไทยให้เข้ารูปรอย ซึ่งจะฟื้นความน่าเชื่อถือขึ้นมามหาศาล)


ความกังวลต่อภาพพจน์ประเทศไทย สะท้อนความคับแคบปิดหูปิดตาตัวเองจนน่าสมเพช เพราะภาพพจน์ประเทศไทยในเรื่องระบบการเมืองและระบบนิติธรรมในสายตานานาชาตินั้น ตกต่ำจนแทบไม่เหลือให้เสียไปกว่านี้อีกแล้ว ตั้งแต่การรัฐประหาร 2549 คำตัดสินไร้หลักการทั้งหลายภายใต้ตุลาการภิวัฒน์ จนถึงกรณีราชประสงค์ 2553


การที่อัยการของไอซีซีเห็นว่าควรสอบสวนเหตุการณ์ 2553 น่าจะสะท้อนว่าภาพพจน์ของการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมไทยในสายตาชาวโลกเป็นอย่างไร


บอกให้ก็ได้ว่ามีอีกมาตรการหนึ่งที่จะสามารถกู้ภาพพจน์ประเทศไทยขึ้นมาอย่างสำคัญและฉับพลันทันที นั่นคือการยกเลิกหรือแก้ม.112


เพราะในขณะนี้กฎหมายหมิ่นฯ คือ ภาพพจน์ของ “อนารยธรรมไทย” ในสายตาชาวโลก เป็นกฎหมายป่าเถื่อนที่อารยชนส่วนใหญ่ในโลกรับไม่ได้


คำอธิบายว่าเป็นเอกลักษณ์ของคนไทยหรือพระมหากษัตริย์ไทยมีคุณวิเศษเหนือคนธรรมดา เป็นเหตุผลที่แย่มากๆเพราะเหมือนกำปั้นทุบดิน (“ก็เราจะเป็นอย่างนี้ เรื่องของเรา”) ไม่ได้ช่วยอะไร แถมกลับทำให้คนไทยดูน่าสมเพชว่าเป็นคนหัวปักหัวปำอย่างขาดเหตุผล ทำนองเดียวกับพวกคลั่งศาสนา

สังคมไทย เจ้าไทย ประชาชนไทยที่อารยะเสียภาพพจน์ไปด้วยกันทั้งหมดเพราะ ม.112เป็นตัวการ

การออกหนังสือเชิดชูเจ้าพระองค์หนึ่งอย่างเก่งก็คงช่วยกู้ภาพพจน์เจ้าพระองค์นั้น แต่มิได้ช่วยสร้างความชอบธรรมแก่ ม.112 หรือระบบนิติธรรมของไทยในสายตาชาวโลกขึ้นมาแม้แต่นิดเดียว

ชาวโลกที่สนใจและแคร์ต่อประเทศไทยรู้ข่าวการตายของอากงมากกว่ารู้จักหนังสือกู้ภาพพจน์เจ้าอย่างเทียบไม่ได้


ม.112 ที่มีไว้ปกป้องภาพพจน์เจ้ากลับทำให้ภาพพจน์เจ้าและประเทศไทยเสื่อมถอยหนัก

ดังนั้น หากไม่กระทำการใดๆต่อม.112 อย่าหวังเลยว่าภาพพจน์ประเทศไทยจะฟื้นขึ้นมา

ตราบใดที่ยังไม่ปล่อยผู้ถูกกล่าวหาและนักโทษม.112ออกมาทั้งหมด ภาพพจน์ประเทศไทยที่ป่าเถื่อนจะไม่มีวันยุติ เสียหายกันทั้งหมดทั้งไพร่อำมาตย์และเจ้าด้วย


การที่รัฐสภาปัดข้อเสนอแก้ ม.112 ของประชาชนสามหมื่นกว่าคนอย่างไม่รับผิดชอบ เป็นการคิดสั้นๆและตื้นเขิน แทนที่จะใช้โอกาสนี้แก้ความป่าเถื่อนของกฎหมายที่มีปัญหา แถมช่วยสร้างภาพพจน์ที่ดีต่อระบบนิติธรรมและประเทศไทย กลับเอาตัวรอดอย่างขี้ขลาด เป็นผู้แทนประชาชนแต่กลัวประชาชน


(คงมีคนแก้ตัวว่าภาพพจน์ประเทศไทยยังดีมากๆดูได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวและความนิยมอาหารไทย เขาคงไม่รู้ว่าของดีๆในแง่เหล่านั้นบวกกับความล้าหลังด้านกฎหมายและระบบการเมืองประกอบกันเข้าเหมาะเหม็งเป็นภาพพจน์ของประเทศเก่าแก่ที่มีดีด้านวัฒนธรรมแต่กฎหมายและความยุติธรรมยังเถื่อนอยู่)


โปรดตระหนักว่าการลูบหน้าปะจมูก ต่อให้หลอกไอซีซีได้ชั่วครั้งคราว สักวันหนึ่งการรัฐประหารและอาชญากรรมการเมืองร้ายแรงก็จะปะทุขึ้นอีก นี่คือมรดกที่เราอยากทิ้งไว้ให้ลูกหลานหรือ

ผู้ก่ออาชญากรรมการเมือง ผู้สนับสนุน ให้ท้าย ร่วมแก้ตัวหรือปกปิดความผิด ทั้งในมหาวิทยาลัย ในสภา และในวงการสื่อมวลชน พวกเขากลัวไอซีซีเสมือนผีกลัวแสงสว่าง


กลัวว่าอาชญากรรม อภิสิทธิ์ อวิชชา และความอยุติธรรมจะถูกประจานต่อชาวโลก


พวกเขาขัดขวางไอซีซีสำเร็จหรือไม่ก็ตาม หรือต่อให้ลงท้ายไอซีซีไม่รับกรณีราชประสงค์ 2553 ก็ตาม โปรดตระหนักว่าประเทศไทยได้ถูกจับตาโดยกระบวนยุติธรรมระดับโลกเรียบร้อยแล้ว


ถ้าครั้งนี้พวกเขาขัดขวางสำเร็จ ประเทศไทยจะยิ่งตกเป็นเป้าจับจ้องของไอซีซีหนักเข้าไปอีก


ที่มา : //www.prachatai.com/journal/2012/11/43576




 

Create Date : 11 พฤศจิกายน 2555    
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2555 15:09:10 น.
Counter : 1173 Pageviews.  

บทขยายปัญหาและความเป็นเหตุผล ‘อเนกนิกรสโมสรสมมติ’ ของ ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล

สุรพศ ทวีศักดิ์


ระยะหลังมานี้ใครอ้างหลักพุทธศาสนาสนับสนุนประชาธิปไตย คนก็มักจะออกอาการเซ็ง แต่การอภิปรายปัญหาและความเป็นเหตุผลของทฤษฎี ‘อเนกนิกรสโมสรสมมติ’ ของฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล ที่อ้างหลักการที่ถูกต้องของพุทธศาสนาตามนัยอัคคัญญสูตร (พระไตรปิฎกเล่ม 11) มาโต้แย้งทฤษฎีอเนกนิกรสโมสรสมมติในการเสวนาหัวข้อ ’การรัฐประหารกับระบอบรัฐธรรมนูญ’ ที่หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมานั้น ดูเป็นที่ ‘ประทับใจ’ ของผู้ฟังไม่น้อย


คงไม่ใช่เพียงเพราะฐาปนันท์เป็นนักวิชาการในกลุ่มนิติราษฎร์ซึ่งเป็นนักวิชาการฝ่ายก้าวหน้าในปัจจุบันเท่านั้น ที่สำคัญคือความ ‘แหลมคม’ ของข้อโต้แย้งตรงๆ ว่า ที่ชนชั้นปกครองมักอ้างกันว่าแนวคิดเรื่องเสรีภาพ ประชาธิปไตย อำนาจของประชาชนเป็นแนวคิดของตะวันตก ไม่เหมาะกับสังคมไทยนั้นมันใช่หรือไม่? แล้วเขาก็แสดงให้เห็นว่าเมื่อมาดูจากความคิดของเราเอง เช่นความคิดแบบพุทธในอัคคัญญสูตร พระตถาคตยืนยันว่า ‘อำนาจเป็นของประชาชน ไม่ใช่ของชนชั้นปกครอง มาตั้งสองพันกว่าปีแล้ว’ แต่ชนชั้นปกครองตั้งแต่ยุค ร.4 เป็นต้นมานำความคิดในอัคคัญญสูตรมาตีความอย่างมี ‘วาระ’ ของตัวเองในนามทฤษฎีอเนกนิกรสโมสรสมมติ ฝ่ายกษัตริย์นิยมเช่นพระองค์เจ้าธานีนิวัตได้รื้อฟื้นขึ้นมาโปรฯเจ้าอีกครั้งในช่วงทศวรรษ 2490 จนทำให้เราลืมสิ่งที่พระตถาคตบอกไว้ในอัคคัญญสูตรไป ผมยินดีมากที่นักวิชาการฝ่ายก้าวหน้านำเรื่องนี้ขึ้นมาพูด ‘อย่างตรงไปตรงมา’ ตามเนื้อผ้าจริงๆ ไม่ใช่เพื่อโปรฯพุทธศาสนา จึงอยากชวนคิดต่อและขยายความบางประเด็นอย่างนี้ครับ


1.จะทำอย่างไรกับพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่โปรโมทอุดมการณ์ราชาชาตินิยมมาอย่างยาวนานจนเกิดสภาพอย่างที่เกษียร เตชะพีระ บอกว่า ‘เรามีโครงสร้างประชาธิปไตย แต่ประชาชนยังมีความคิดในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์’ (ที่จริงเราอาจโต้แย้งได้ว่าโครงสร้างก็ยังไม่เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ เช่น รัฐธรรมนูญหมวดสถาบันกษัตริย์และ ม.112) ถ้าเราคิดว่านี่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย เราจะโต้ตอบอย่างไร


ผมคิดว่าเราอาจทำได้สองทาง คือ ทางแรกปฏิเสธ เลิกพูดถึงพุทธศาสนาในทางการเมือง ไม่อ้างความคิดใดๆ ของพุทธในทางการเมืองอีกเลย เพราะจะเป็นการไปให้เครดิตแก่ความคิดของพุทธศาสนาเหนือความคิดของศาสนาอื่นๆ ซึ่งขัดกับหลักขันติธรรมในสังคมพหุนิยมทางศาสนา แต่แล้วไง เราโยนทิ้ง ไม่พูดถึง หรือปฏิเสธการอ้างความคิดพุทธศาสนาสนับสนุนประชาธิปไตย ทว่าในความเป็นจริงพุทธศาสนาก็ยังถูกใช้สนับสนุนอุดมการณ์ราชาชาตินิยมอยู่ทุกวัน ทางที่สองกลับไปหาหลักการที่ถูกต้องของพุทธศาสนาเพื่อนำมาหักล้างการบิดเบือน และตีความหลักการพุทธศาสนาสนับสนุนประชาธิปไตย ให้พุทธศาสนางอกงามไปอย่างสนับสนุนความงอกงามของประชาธิปไตย คำอภิปรายของฐาปนันท์ดูเหมือนจะสนับสนุนแนวทางนี้


2.เรากำลังคิดแบบ fundamentalism และอ้าง absolute truth ทางพุทธศาสนาอยู่หรือไม่? ผมสนใจข้อเท็จจริงว่ามีการบิดเบือน หรือตีความหลักการพุทธศาสนาเพื่อสนับสนุนสถานะ อำนาจ ผลประโยชน์ของชนชั้นปกครอง (เช่น ทฤษฎีอเนกนิกรสโมสรสมมติ) อยู่จริง และ/หรือมีการตีความ บิดเบือนหลักการพุทธศาสนาสนับสนุนอำนาจบารมีของพระสงฆ์ที่อ้างคุณวิเศษทำการตลาดจากศรัทธาของประชาชนเป็นต้นอยู่จริง วิธีแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างตรงไปตรงมา ก็คือไปสำรวจดูว่าหลักการที่ถูกต้องเป็นอย่างไร แล้วนำมาโต้แย้งหักล้างการบิดเบือนนั้นๆ ฉะนั้น กรณีเช่นนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับเมื่อเราเห็นการบิดเบือนหลักกฎหมาย หลักการประชาธิปไตย แล้วพยายามอ้างอิงหลักกฎหมาย หลักการประชาธิปไตยที่ถูกต้องมาโต้แย้งหักล้างการบิดเบือนนั้นๆ อย่างที่นิติราษฎร์พยายามทำมาตลอด (แล้วทำไมต้องรอให้นิติราษฎร์มาทำงานแทนนักวิชาการพุทธศาสนาอีกล่ะ?)

จุดประสงค์ของการกลับไปหาหลักการที่ถูกต้อง ก็เพื่อนำมาหักล้างการบิดเบือนพุทธศาสนาสนับสนุนชนชั้นผู้มีอำนาจ ไม่ว่าอำนาจทางการเมือง อำนาจทางศาสนา อำนาจศีลธรรม หรืออำนาจบารมีที่อ้างอิงศรัทธาใน ‘คุณวิเศษ’ ใดๆ ที่อยู่เหนือการตรวจสอบ ไม่ใช่เพื่ออ้างหลักการที่ถูกต้องนั้นรองรับการใช้อำนาจรัฐเบียดขับพุทธชายขอบต่างๆ ให้ตายไป หรือไม่ใช่อ้างหลักการพุทธอย่างคับแคบว่าเป็น absolute truth เหนือกว่า ดีกว่าความจริงอื่นๆ ทว่าเพียงนำหลักการพุทธมาแลกเปลี่ยนกับความจริงอื่นๆ ใน ‘ระนาบเดียวกัน’ เท่านั้น


3.Enlightenment ไม่ใช่การเดินหน้าโดยไม่ย้อนมองข้างหลัง ยุคสว่างทางปัญญา หรือบางทีเรียกว่า ‘ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ’ (Renaissance) ในยุโรปช่วงรอยต่อระหว่างสมัยเก่า (Dark Age) กับสมัยใหม่ (Modern Age) นั้น คือการต่อสู้เพื่อหลุดพ้นไปจากการครอบงำให้อยู่ภายใต้ระบบการปกครองแบบเผด็จการ และระบบความคิดความเชื่อเดียว ด้วยการฟื้นฟูภูมิปัญญาเดิม เช่น ฟื้นฟูปรัชญากรีก ความรู้ยุคโรมันให้คืนชีพขึ้นมาสู่เวทีแห่งการปะทะสังสรรค์ พร้อมๆ กับการต่อสู้ขัดขืน ท้าทายระบบอำนาจกษัตริย์ ระบบศักดินา (Feudalism) ศาสนจักร ความคิดความเชื่อเก่าจนนำไปสู่การเปิดกว้างให้ภูมิปัญญาใหม่ๆ ได้งอกงามแตกขยาย แต่มันไม่ได้เกิดขึ้นชั่วข้ามคืน หากต้องเผชิญกับความสับสนขัดแย้งทั้งทางการเมือง ศาสนา วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ที่ใช้เวลากว่าร้อยปี กระทั่งเข้าสู่ศตวรรษที่ 19 สงครามทางปัญญาก็ยังดำเนินต่อมา


สังคมไทยถูกครอบงำด้วยระบบอำนาจและระบบความคิดความเชื่อเดียวตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยมและพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนอุดมการณ์ดังกล่าวมาช้านาน จึงจำเป็นที่เราต้องฟื้นฟูหลักการที่ถูกต้องของพุทธศาสนาเพื่อโต้แย้งหักล้างความคิดความเชื่อที่บิดเบือนไป และตีความหลักการพุทธที่ถูกต้องสนับสนุนเสรีภาพและประชาธิปไตย พร้อมๆ กับเปิดกว้างให้กับความติดอื่นๆ ได้งอกงามแตกขยาย


4.หลักการสากลไม่ใช่สมบัติส่วนตัวของตะวันตกหรือตะวันออก ไมเคิล ไรท์ อดีตคอลัมนิสต์มติชนสุดสัปดาห์เคยเขียนว่า สิ่งที่มันเป็นความจริงหรือที่เรียกว่าเป็นของสากลนั้นมันไม่ได้เป็นสมบัติส่วนตัวของตะวันตกหรือตะวันออก จะเป็นใครค้นพบหรือคิดมันขึ้นมาก็ได้ แต่มันเป็นสมบัติร่วมกันของโลก เช่นความจริงของคณิตศาสตร์ไม่มีใครผูกขาดความเป็นเจ้าของ ความคิดเรื่องเสรีภาพ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนเป็นต้นก็เช่นกัน มันไม่ใช่อย่างที่ชนชั้นปกครองพยายามบอก (หลอก) มาตลอดว่า ความคิดเรื่องเสรีภาพ ประชาธิปไตยเป็นของตะวันตก เหมาะกับสังคมตะวันตก ไม่เหมาะกับสังคมเรา เราเป็นไทยต้องคิดแบบไทยเพื่อรักษา ‘ความเป็นไทย’ เอาไว้ ไม่ตกเป็นทาสทางปัญญาของฝรั่ง


5.เมื่อคิดจากภูมิปัญญาของเราก็ยืนยัน ‘อำนาจเป็นของประชาชน’ เช่นกัน ดังข้อโต้แย้งของ ฐาปนันท์ กล่าวถึงประเด็นสำคัญของอัคคัญญสูตรที่พระตถาคตบรรยายถึงสังคมตามสภาพธรรมชาติ (natural state) หรือสังคมก่อนสังคมการเมืองที่ไร้กฎระเบียบ มีการเบียดเบียนประทุษร้ายทรัพย์สิน ชีวิตร่างกายของกันและกัน เป็นเหตุให้บรรดาผู้คนที่ไม่สามารถทนอยู่กับสภาพอนาธิปไตยเช่นนั้นต่อไปได้ มาร่วมประชุมปรึกษาหารือ และมีข้อตกลงร่วมกันว่า "พวกเราจะสมมติผู้หนึ่งให้เป็นผู้ว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าวได้โดยชอบ ให้เป็นผู้ติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้โดยชอบ ส่วนพวกเราจะเป็นผู้แบ่งส่วนข้าวสาลีให้แก่ผู้นั้น"


ฐาปนันท์บอกว่า มองจากเนื้อหาตรงๆ ไม่ต้องตีความก็เข้าใจได้ว่านี่มันเป็น ‘สัญญาต่างตอบแทน’ เป็นข้อความที่แสดงให้เห็นว่า ‘อำนาจเป็นของประชาชน’ อยู่ก่อน ผู้ปกครองมีอำนาจจากความยินยอมของประชาชน ซึ่งเราสามารถเข้าใจต่อไปได้ว่าการใช้อำนาจนั้น ก็คือการทำหน้าที่ตามเจตจำนงของประชาชน โดยผู้ปกครองได้รับส่วนแบ่งข้าวสาลีเป็นค่าตอบแทน โดยนัยนี้ หากผู้ปกครองใช้อำนาจขัดแย้งกับเจตจำนงของประชาชน ย่อมเป็นสิทธิโดยชอบธรรมที่ประชาชนจะเรียกอำนาจคืน


แต่ตามทฤษฎีอเนกนิกรสโมสรสมมติไปบิดเบือนข้อความในอัคคัญญสูตรว่า มหาชนสมมติหรือตกลงกันเลือกผู้ปกครองขึ้นมาเป็นกษัตริย์ให้มีสถานะอยู่เหนือคนทั้งปวง หมายความว่า คนทั้งหลายเป็นสามัญชนที่มีความเท่าเทียมกัน แต่กษัตริย์อยู่เหนือคนทั้งหลาย เป็นสมมติเทพผู้ทรงทศพิธราชธรรมที่แตะต้องไม่ได้ กลายเป็นว่าชนชั้นปกครองเป็นเจ้าของอำนาจ เป็นเจ้าแผ่นดิน เจ้าชีวิตของประชาชนไปเลย ซึ่งความหมายนี้ขัดแย้งกับความหมายตามนัยอัคคัญสูตรอย่างสิ้นเชิง


6.ความคิดเรื่อง social contract ที่อยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพและความเสมอภาคในอัคคัญญสูตร สมบัติ จันทรวงศ์ พูดถูกที่ว่าแนวคิด ‘เทวสิทธิ์’ เป็นเรื่องสมมติ ‘ประชาธิปไตย’ ก็เรื่องสมมติเช่นกัน ถ้าเรามองว่าทฤษฎีเทวสิทธิ์เป็นการอ้างตำนาน สิ่งที่ไม่เป็นจริง บุญญาธิการ บาป บุญ กฎแห่งกรรมที่มองไม่เห็น ประชาธิปไตยก็กำเนิดจากการสร้างขึ้นมาเช่นกัน โดยมีรากฐานจากสิ่งสมมติว่า ตามหลักตรรกะ ถ้ามีสังคมการเมือง รัฐบาล ต้องมีสภาพก่อนที่จะไม่มีสังคมและรัฐบาล ในสภาพนั้นทุกคนต้องเท่ากัน เพราะยังไม่มีอะไรกำหนด เรียกว่า ‘สภาพธรรมชาติ’


‘สภาพธรรมชาติ’ จึงเป็นสมมติฐานตั้งต้นของทฤษฎีสัญญาประชาคม (social contract) ที่ไม่ต้องพิสูจน์ คือไม่มีใครไปพิสูจน์ว่าในสภาพธรรมชาติก่อนเป็นสังคมการเมืองนั้น ธรรมชาติของมนุษย์เห็นแก่ตัวและใช้ความเห็นแก่ตัวเบียดเบียนกันได้อย่างเสมอภาคตามความคิดของโทมัส ฮอบส์ หรือธรรมชาติของมนุษย์คือเสรีภาพตามความคิดของฌอง ฌากส์ รุสโซ หรือธรรมชาติของมนุษย์คือ ‘จิตบริสุทธิ์’ ที่มาจากโลกอื่นคืออาภัสสรพรหม แล้วจึงแปรเปลี่ยนมามีกิเลสตัณหาเป็นเหตุให้เกิดการเบียดเบียนกันในสภาพสังคมตามธรรมชาติก่อนที่จะเกิด ‘มหาชนสมมติ’ หรือ ‘สัญญาประชาคม’ ที่ยืนยันว่า ‘อำนาจเป็นของประชาชน’ ตามนัยอัคคัญสูตรที่พระตถาคตอธิบาย ฉะนั้น สมมติฐานที่ว่า สังคมตามสภาพธรรมชาติเป็นอย่างนั้นอย่างนี้จึงเป็นเพียงสมมติฐานเพื่อสร้างแนวคิดปรัชญาสังคมการเมืองที่ไม่ต้องพิสูจน์


แต่ประเด็นที่วิเคราะห์กันในปรัชญาสังคมการเมืองคือประเด็นว่า ‘อำนาจเป็นของใคร?’ ซึ่งทฤษฎีสัญญาประชาคมเห็นตรงกันว่า ‘อำนาจเป็นของประชาชน’ และเห็นว่าประชาชนมีความเสมอภาค แต่ความเสมอภาคอาจมองต่างกันไป เช่น ฮอบส์มองว่ามนุษย์มีความเสมอภาคในการใช้กำลังทำร้ายกัน คนอ่อนแอก็สามารถใช้กำลังทำร้ายคนแข็งแรงกว่า คนฉลาดกว่าได้พอๆ กัน (เช่น ลอบทำร้ายเวลาเผลอ ฯลฯ) รุสโซเห็นว่ามนุษย์มีเสรีภาพเท่าเทียมกัน แล้วความคิดเรื่องเสรีภาพ ความเสมอภาคในอัคัญญสูตรมีหรือไม่?


7.ความคิดเรื่องเสรีภาพและความเสมอภาคในอัคคัญญสูตร บางคนบอกว่าพุทธศาสนายืนยันว่ามนุษย์มีเสรีภาพแสวงหาสัจธรรมและมีความเสมอภาคในการบรรลุธรรม แต่จะโยงมาอธิบายเรื่องเสรีภาพ ความเสมอภาคในสังคมประชาธิปไตยได้หรือไม่ การมองแบบนี้ถูกเพียงแง่เดียว เราจะเข้าใจชัดขึ้นเมื่อพิจารณาเนื้อหาและบริบทการปฏิเสธระบบชนชั้นในอัคคัญญสูตร


เนื้อหาในอัคคัญญสูตร เป็นบทสนทนา (dialog) ระหว่างพุทธะกับสามเณรสองรูป คือ สามเณรวาเสฏฐะ กับสามเณรภารทวาชะ ที่ออกบวชจากวรรณะพราหมณ์ โดยพุทธะถามว่า “เธอทั้งสองออกบวชจากวรรณะพราหมณ์ ไม่ถูกพวกพราหมณ์ด่าว่าเอาหรือ” ได้รับคำตอบว่า “พวกพราหมณ์ด่าว่าอย่างรุนแรงเพราะพวกเขาถือว่าวรรณะพราหมณ์เท่านั้นประเสริฐเพราะเกิดจากอุระ เกิดจากปากของพระพรหม พวกสมณะเป็นพวกเลวทรามเพราะเกิดจากเท้าของพระพรหม” เป็นต้น จากนั้นพุทธะก็แสดง “เหตุผลโต้แย้ง” (arguments) ระบบความเชื่อของพราหมณ์ เช่น บอกว่า คนทุกวรรณะต่างก็เกิดจากโยนีของมารดา พร้อมกับอธิบายวิวัฒนาการของมนุษย์ การเกิดสังคมการเมือง และระบบวรรณะ


ใจความสำตัญสรุปได้ว่าสังคมการเมืองเกิดจาก ‘สัญญาประชาคม’ (ตามข้อความที่ฐาปนันท์อ้างถึง) เป็นสัญญาประชาคมภายใต้ข้อตกลงกว้างๆ ร่วมกันว่า  (1) ให้อำนาจผู้ปกครองในการ “ว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าวได้โดยชอบ ติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้โดยชอบ ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ได้โดยชอบ” ทั้งนี้การทำหน้าที่ดังกล่าวอยู่ภายใต้เงื่อนไขของข้อตกลง (2) ว่า สมาชิกของสังคมตกลงจะแบ่งข้าวสาลีให้เป็นการตอบแทนในการทำหน้าที่ของผู้ปกครองนั้น และเนื่องจากการเป็นปกครองดังกล่าวนั้นเกิดจาก “การสมมติของชนหมู่มาก”  จึงมีชื่อเรียกว่า “มหาชนสมมติ”  ต่อมาผู้ปกครองแบบมหาชนสมมตินั้นได้รับการยอมรับจากสังคมว่า เป็นใหญ่ยิ่งแห่งเขตแดนทั้งหลาย จึงเรียกว่า “กษัตริย์” และเพราะความที่กษัตริย์เช่นนั้นทำให้คนจำนวนมากสุขใจได้โดยธรรม จึงเรียกว่า “ราชา” และระบบวรรณะต่างๆ ก็เกิดจากการแบ่งงานกันทำ ไม่ได้เกิดจากการกำหนดเอาไว้อย่างตายตัวโดยพระพรหม หรืออำนาจเทวสิทธิ์


นี่คือการปฏิเสธระบบคิดที่ยืนยันระบบชนชั้นที่อ้างอิงอำนาจเทวสิทธิ์ แล้วยืนยันระบบคิดที่ว่ามนุษย์เท่าเทียมกัน ดังข้อความในอัคคัญญสูตรว่า  “...เรื่องของสัตว์เหล่านั้นจะต่างกันหรือเหมือนกัน จะไม่ต่างกันหรือไม่เหมือนกันก็ด้วยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่นอกไปจากธรรม...ความจริง ธรรมเท่านั้นเป็นของประเสริฐสุดในประชุมชนทั้งในเวลาที่เห็นอยู่ ทั้งในเวลาภายหน้า”  หมายความว่า มนุษย์ไม่ได้มีคุณค่าความเป็นคนต่างกันเพราะถือกำเนิดจากชนชั้นที่ต่างกันตามที่กำหนดไว้อย่างตายตัวโดยอำนาจเทวสิทธิ์ แต่จะต่างหรือเหมือนกันเพราะการกระทำตาม “ธรรม” อะไร ถ้าทำตามธรรมที่เป็นอกุศลก็เลว ทำตามธรรมที่เป็นกุศลก็ดีเสมอภาคกัน และการทำตามธรรมก็เกิดจาก “เสรีภาพในการเลือก” ของแต่ละคน ฉะนั้น มนุษย์จึงมีเสรีภาพและความเสมอภาคทางศีลธรรม คือมีเสรีภาพที่จะเลือกทำถูกหรือผิดด้วยตนเอง และเมื่อทำถูกหรือผิดในเรื่องเดียวกันก็รับผิดชอบทางศีลธรรมเสมอภาคกัน


พูดง่ายๆ คือพุทธะปฏิเสธการตัดสินคุณค่าของคนตามระบบวรรณะ 4 หรือปฏิเสธ ‘ความไม่เสมอภาค’ ตามระบบชนชั้นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทรในยุคนั้น แต่ยืนยันความเสมอภาคทางศีลธรรมว่า ถ้าทำดีก็ดี ทำชั่วก็ชั่วเสมอภาคกัน เช่น เป็นศูทรกับเป็นกษัตริย์ถ้าทำชั่วอย่างเดียวกัน (เช่น ฆ่าคน) ก็ชั่วชั่วและต้องรับผิดชอบอย่างเสมอภาคกัน ฉะนั้น ความเท่าเทียมกันในทางศีลธรรมจึงมีความหมายสำคัญ 2 อย่าง คือ

1) ทุกคนมีเสรีภาพในการเลือกการกระทำเสมอภาคกัน

2) ทุกคนรับผิดชอบต่อการกระทำเสมอภาคกัน


นี่คือ ‘ความเป็นคนที่เท่ากัน’ ที่อยู่บนฐานของความเสมอภาคในการเลือกและรับผิดชอบต่อคุณค่าของชีวิตตนเอง ผมคิดว่านี่คือเหตุผลทางศีลธรรมที่สามารถใช้เป็นเหตุผลรองรับ ‘ความยุติธรรม’ ว่า ทำไมเราจึงต้องมีความเสมอภาคทางกฎหมายตามหลักนิติรัฐในสังคมประชาธิปไตย และเมื่อมองจากหลักการตามนัยอัคคัญญสูตรแล้ว เป็นไปไม่ได้ที่เราจะอ้างคุณธรรมใดๆ ทางพุทธศาสนาเพื่อสนับสนุนสถานะศักดิ์สิทธิ์เหนือการตรวจสอบของชนชั้นปกครอง การกระทำเช่นนั้นเป็นการบิดเบือนพุทธศาสนารับใช้ชนชั้นปกครองที่ผู้รักความถูกต้องไม่อาจยอมรับได้


ฉะนั้น คุณธรรมของผู้ปกครอง เช่นทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร สังคหวัตถุ ที่เป็นเรื่องของความรับผิดชอบต่อทุกข์สุขของราษฎร การรักษาความยุติธรรม ซื่อสัตย์เสียสละเพื่อราษฎรเป็นต้น ก็คือ ‘ข้อเรียกร้องทางศีลธรรม’ ขั้นพื้นฐานต่อผู้ปกครองที่รับข้าวสาลี (ภาษี) ไปจากราษฎร ไม่ใช่คุณธรรมที่มีไว้โปรโมท สรรเสริญ หรือยกให้ผู้ปกครองอยู่เหนือการตรวจสอบของราษฎรแต่อย่างใด หากผู้ปกครองไม่มีคุณธรรมดังกล่าวเขาย่อมหมด ‘ความชอบธรรม’ ที่จะเป็นผู้ปกครองอีกต่อไป นี่คือหลักการสำคัญของพุทธศาสนาที่ชาวพุทธต้องยืนยัน


หลักการพุทธจริงๆ จึงสนับสนุนอุดมการณ์ประชาธิปไตยมากกว่าที่จะสนับสนุนอุดมการณ์ราชาธิปไตย หรือราชาชาตินิยม แต่เนื่องจากพุทธศาสนาถูกตีความรับใช้อุดมการณ์ราชาธิปไตยหรือราชาชาตินิยมมาหลายร้อยปี จึงทำให้คนไทยคิดแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ดังที่ อ.เกษียรว่า ผมเห็นว่าการยืนยันหลักการที่ถูกต้องของพุทธศาสนาเพื่อหักล้างทฤษฎีอเนกนิกรสโมสรสมมติแบบที่ฐาปนันท์ทำเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ ถ้าเราตระหนักในความเป็นจริงว่าการต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยมันคือ ‘สงครามทางปัญญา’ เพื่อพ้นไปจาการครอบงำของระบบอำนาจและระบบความคิดความเชื่อที่เป็นอุปสรรค


ว่าแต่ในมหาวิทยาลัยน้อยใหญ่ของประเทศนี้ ก็มีนักวิชาการพุทธศาสนาอยู่แทบทุกแห่ง แต่เหตุใดต้องปล่อยให้เป็นภาระของนักวิชาการนิติราษฎร์ทำแทน เพราะสำหรับนิติราษฎร์ลำพังการทำในนามนักนิติศาสตร์ หรือทำแทนนักรัฐศาสตร์ในบางเรื่อง และยังต้องเผชิญกับ ‘อันธพาลศาสตร์’ อีก ก็นับว่าหนักหน่วงแล้ว นักวิชาการพุทธควรจะ ‘ตื่นรู้’ กันเสียที เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้!


แนะนำให้อ่านเพิ่มเติม

ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล : ปัญหาและความเป็นเหตุผล "อเนกนิกรสโมสรสมมติ"

สมบัติ จันทรวงศ์: ประชาธิปไตย VS ศีลธรรม ข้อถกเถียงเชิงปรัชญาแห่งยุคสมัย

สรุปปาฐกถาเกษียร เตชะพีระ: นักกฎหมายไทยกับการรัฐประหาร

วรเจตน์ ภาคีรัตน์: เหตุใดจึงควรแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวดสถาบันกษัตริย์

โปรดอ่าน “Renaissance คืออะไร เป็นของใคร? ไทยมีบ้างไหม?” ในหนังสือ “ฝรั่งหลังตะวันตก” ของไมเคิล ไรท์ สำนักพิมพ์มติชน 2547

ดูความคิดเรื่อง “อเนกนิกรสโมสรสมมติ” เพิ่มเติมในหนังสือ “รัฐกับศาสนา” ของพิพัฒน์ พสุธารชาติ สำนักพิมพ์ศยาม 2549


ที่มา : //www.prachatai.com/journal/2012/10/42983




 

Create Date : 11 ตุลาคม 2555    
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2555 15:10:47 น.
Counter : 1574 Pageviews.  

รัฐ 3 แบบใน The Dark Knight Rises

เอกสิทธิ์ หนุนภักดี


ว่าด้วยหนัง

The Dark Knight Rises เป็นภาคสุดท้ายของไตรภาค Batman ของผู้กำกับคริสโตเฟอร์ โนแลน (Christopher Nolan) หนังภาคนี้จับความหลังจากแบทแมนปราบศัตรูสำคัญคือโจ๊กเกอร์ (Joker) สำเร็จ และยอมรับผิดแทนอัยการฮาร์วี่ย์ เด้นท์ (Harvey Dent) ที่กลายเป็นตัวร้ายทูเฟซ โดยเชื่อว่า ชื่อเสียงที่สั่งสมมาก่อนของเด้นท์น่าจะช่วยธำรงสันติในกอทแธม (Gotham) ได้มากกว่าการเปิดเผยความจริง จากนั้นแบทแมนก็หายจากเมืองนี้ไปในฐานะอาชญากร ทว่าสันติภาพที่มี เป็นเพียงภาพลวงตา ลึกลงไป กอทแธมยังมีปัญหา เมื่อความขัดแย้งปะทุหนัก แบทแมนจึงต้องกลับมา

ปมความขัดแย้งของหนังในภาคนี้ลึกซึ้งรุนแรงกว่าภาคก่อน เพราะนอกจากความขัดแย้งระหว่างพระเอก-ผู้ร้ายแล้ว สถานการณ์ทั้งหมดตั้งอยู่บนความขัดแย้งระหว่างคนในสังคมเดียวกันด้วย แม้ว่าในหนังจะไม่ได้เน้นที่ประเด็นนี้ก็ตาม แต่การมีอยู่ของความขัดแย้งนี้ทำให้แบทแมนทำงานยากขึ้นจนถึงขั้นเกือบเอาชีวิตไม่รอด นอกจากนี้คู่ปรับคนสำคัญของแบทแมนในภาคนี้คือ “เบน” (Bane) นั้นน่ากลัวกว่าโจ๊กเกอร์ เพราะเบนมีทั้งพละกำลัง สติปัญญา เงินทุนและอุดมการณ์ (แถมยังมีการจัดองค์กรอย่างดี) ในแง่ของเป้าหมาย โจ๊กเกอร์แค่กวนเมือง แต่เป้าหมายของเบน คือการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างถอนรากถอนโคนโดยทันที


โนแลนเป็นที่จับตาหลังจาก Memento ออกฉายด้วยมุมมองแบบสำรวจจิตมนุษย์ วิธีการเล่าเรื่องถอยหลังทีละช่วงและการหักมุมที่เน้นผลสะเทือนทางความคิดมากกว่าความประหลาดใจ จากนั้นไม่กี่ปี The Dark Knight ก็สถาปนาโนแลนเป็นผู้กำกับวิสัยทัศน์ไกล ผู้เจนจัดศาสตร์และศิลป์ภาพยนตร์ ผลงานต่อจากนั้นก็รักษาคุณภาพระดับสูง The Dark Knight Rises ก็เป็นหนังคุณภาพในระดับดีเด่นเช่นเคย แต่นอกจากอรรถรสของการชมหนังชั้นดีแล้ว ปูมหลังตัวละคร เป้าหมายการต่อสู้ บริบทสภาพแวดล้อมของกอทแธม หลายฉากหลายตอนใน The Dark Knight Rises ทำให้นึกถึงประเด็นทางการเมือง โดยเฉพาะประเด็นว่าด้วยรูปแบบรัฐที่เป็นกรอบใหญ่ควบคุมจำกัดการเคลื่อนไหวของตัวละครต่าง ๆ และเป็นเป้าหมายที่ตัวละครต่าง ๆ ต้องการรักษาไว้หรือเปลี่ยนแปลงในระดับต่าง ๆ กัน


ว่าด้วยรัฐพิจารณาจากฉากตอน บริบทและเป้าประสงค์ของตัวละครต่างๆ แล้ว รูปแบบรัฐในหนังเรื่องนี้อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะคือ หนึ่ง รัฐวีรชน สอง รัฐธนกิจ และสาม เสนารัฐ


รัฐวีรชนกอทแธมหลังแบทแมนใช้แรงส่งจากการเสียชีวิตของเด้นท์ผู้ที่มีชื่อเสียงด้านการปราบปรามอาชญากรออกกฎหมายมอบอำนาจให้ตำรวจจัดการอาชญากรรมอย่างเด็ดขาด (รัฐบัญญัติเด้นท์-Dent Act) ข้อเท็จจริงด้านลบเกี่ยวกับเด้นท์ถูกปิดบัง คนจำนวนหนึ่งต้องรับเคราะห์จากความเท็จนี้ แบทแมนกลายเป็นผู้ต้องหา ผู้การกอร์ดอนต้องฝืนจรรยาชีพตำรวจโกหกสังคมเรื่องเด้นท์ นักโทษจำนวนมากถูกจับไปไว้ในเรือนจำโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมตามขั้นตอนปกติเนื่องมาจากรัฐบัญญัติดังกล่าว


กอทแธมวางความสงบสุขของสังคมบนธงศีลธรรมเป็นหลักและมุ่งไปสู่เป้าหมายทางศีลธรรมนั้นโดยไม่สนวิธีการ รัฐผลิตมายาคติหล่อหลอมประชาชนให้สนับสนุนนโยบายรัฐ สร้างสถาบันพิเศษเป้าหมายเฉพาะเพื่อกวาดล้างสร้างสังคมสะอาด กฎระเบียบบังคับใช้อย่างเข้มงวด ตำรวจทำงานภายใต้ตรรกะความมั่นคง (คุณผิดจนกว่าคุณจะพิสูจน์ตัวเองได้ว่าไม่ผิด) สังคมมีแนวโน้มอิงหลักการของปรัชญาอรรถประโยชน์นิยม(Utilitarianism) ว่าด้วยการเสียสละส่วนน้อยเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่

ผลที่ได้คือ เบื้องหน้าสังคมที่ดูเหมือนสงบสุข มีระเบียบเรียบร้อย แต่เบื้องลึกกอทแธมยังมีปัญหาอาชญากรรม เพิ่มเติมด้วยปัญหาการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลในนามของความดี ประชาชนถูกทำให้สูญเสียศักยภาพในการคิดและแก้ปัญหาด้วยตนเอง ยึดติดตำนานวีรชน เมื่อเผชิญวิกฤตทางออกของประชาชนในรัฐเช่นนี้คือเรียกหาอัศวิน


สังคมในรัฐเช่นนี้ มีแนวโน้มรักษาสถานะอำนาจเดิมไว้เหนียวแน่น ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ปรับตัวยาก เมื่อเผชิญปัญหาหนักมักช็อก ประชาชนและเจ้าหน้าที่มักสยบต่ออำนาจ


กองกำลังติดอาวุธจำนวนหนึ่งและระเบิดไม่กี่ลูกของเบนจึงทำให้เบนควบคุมกอทแธมได้เบ็ดเสร็จ

เมื่อสังคมมีภูมิต้านทานต่ำ รัฐธนกิจก็สามารถสวมทับเข้ามาอย่างแนบเนียน เพราะหนึ่ง กลไกควบคุมรักษาระเบียบเข้มข้น สอง ประชาชนหมดสมรรถภาพในการคิด (รัฐเข้มแข็ง-ประชาสังคมอ่อนแอ) กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ รัฐธนกิจฝังตัวเติบโตได้ดีในรัฐที่อำนาจรวมศูนย์ในกลุ่มคนจำนวนน้อยและประชาสังคมอ่อนแอ


รัฐธนกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และตลาดหุ้นเป็นกลไกทางเศรษฐกิจสำคัญของกอทแธม เศรษฐกิจเติบโตก้าวหน้า แต่ก็มีปัญหาการกระจายรายได้จนกลายเป็นความเหลื่อมล้ำทางสังคม ในขณะที่ทุนใหญ่กอทแธมมุ่งขยายกิจการ นายหน้าค้าเงิน-หุ้นร่ำรวย ปรากฏว่ามีเด็กกำพร้าขาดแคลนปัจจัยดำรงชีพที่เหมาะสม มีหญิงสาวขายบริการทางเพศเพื่อเลี้ยงชีพ เซลิน่า ไคล์ (Selina Kyle) สาวผู้มากความสามารถยังไม่อาจมีที่ยืนในสังคมปกติต้องผันตัวเป็นนางโจร ผลประโยชน์ทางธุรกิจมีบทบาทนำหน้าปัญหาสังคมโดยรวม เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม


ในกอทแธมมีทั้งกลุ่มทุนเก่าแก่อย่างตระกูลเวนย์ และนักธุรกิจเศรษฐินีใหม่ใจถึงอย่างมิแรนด้า เทต (Miranda Tate) ที่สร้างตัวขึ้นมาจากความว่างเปล่า รุ่งเรืองด้วยการทำธุรกิจ ในขณะที่เศรษฐีเก่าอย่างบรูซ เวนย์ (Bruce Wanye) มุ่งมั่นพัฒนาพลังงานทางเลือกที่สะอาดจน Wayne Enterprises ผลประกอบการตกต่ำ ทุนหายกำไรหด บ้านเด็กกำพร้าที่เคยได้รับการอุปถัมภ์จากมูลนิธิของเขาจึงพลอยถูกตัดความช่วยเหลือทางการเงินลง หรือกระทั่งล้มละลายในพริบตาเมื่อตกเป็นเหยื่อของเกมตลาดหุ้น (อาจเป็นครั้งแรกในจักรวาลที่ซูเปอร์ฮีโร่ล้มละลาย)


กลไกตลาดเสรีในกอทแธมทำงานล้มเหลว เพราะไม่สามารถทำให้ทุกคนสามารถเข้าไปแข่งขันในตลาดได้อย่างเสรีจริง กลไกการกระจายความมั่งคั่งกลับคืนสู่สังคมบิดเบี้ยวกระจายไปไม่ถึงผู้ที่จำเป็นต้องได้รับ นอกจากนี้สังคมยังตั้งอยู่บนความเสี่ยงผันผวน มหาเศรษฐีอย่างบรูซ เวนย์ ยังสามารถกลายเป็นยาจกชั่วข้ามคืน ปัญหาการเติบโตทางเศรษฐกิจมีความสำคัญกว่าปัญหาสังคม-สิ่งแวดล้อม


สังคมรัฐธนกิจเป็นสังคมแข่งขันแบบแพ้คัดออก พัฒนาทางวัตถุรวดเร็ว ความมั่งคั่งกระจุกตัว ผู้คนจำนวนมากถูกละเลยทอดทิ้งตราหน้าว่าไร้ความสามารถ ยิ่งความเหลื่อมล้ำยิ่งห่างและเห็นได้ชัด ความตึงเครียดระหว่างผู้มั่งมีและผู้ยากไร้ยิ่งสูง ข้อเสนอของเบน (ผู้ที่เสียงระคายหู)ให้ยึดทรัพย์สินจากคนรวยจึงได้รับการตอบรับอย่างดีจากมหาชนที่ถูกกดขี่ในรูปแบบต่าง ๆ มายาวนาน


เสนารัฐเบนมีพร้อมทั้งพละกำลัง สติปัญญา เงินทุนและอุดมการณ์ เขาร่วมมือกับนายทุนยึดกอทแธมได้โดยสะดวกก่อนสังหารนายทุนบางเจ้าทิ้งเมื่อหมดประโยชน์ ช่องความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ถ่างกว้างช่วยให้อุดมการณ์สุดโต่งและความรุนแรงที่เบนใช้สาแก่ใจประชาชนผู้เสียเปรียบ ในการปกครองประชาชน เบนระเบิดสนามฟุตบอล วางระเบิด ติดตั้งระเบิดนิวเคลียร์ข่มขู่ประชาชนให้อยู่ในอำนาจ ประชาชนชาวกอทแธมสามารถเคลื่อนไหวอิสระได้ตราบเท่าที่ไม่ขวางแผนการ ผู้ที่เป็นปฏิปักษ์จะถูกพิพากษาด้วยศาลเตี้ย (ยิงทิ้ง ณ ที่เกิดเหตุ) หากรอดศาลเตี้ยมาขึ้นศาลยุติธรรมก็เป็นศาลยุติธรรมที่ขาดกระบวนการอันเป็นที่ยอมรับ (รีบร้อนจับกุม ฟ้องศาลไม่ผ่านอัยการ ตัดสินโดยไม่ฟังความจำเลย พิพากษาโทษล่วงหน้า)


ความมั่นคงของสังคมที่เบนปฏิวัติตั้งบนปากกระบอกปืน ปกครองด้วยความกลัว ปั่นหัวประชาชนให้หวาดหวั่นโยนความหวังให้เล็กๆ น้อยๆ ป้องกันการลุกฮือครั้งใหญ่ ประชาชนหวาดระแวงกันและกัน ศาลยุติธรรมตัดสินคดีตามใจผู้มีอำนาจ อย่างไรก็ตามอุดมการณ์ของเบนนั้นแน่วแน่ ทำให้เขามีสาวกที่ยอมสละชีพเพื่อแผนการใหญ่ อำนาจเบ็ดเสร็จช่วยให้เขาเปลี่ยนแปลงสังคมในชั่วพริบตาเดียว ประชาชนกอทแธมบางส่วนอาจหวังว่า เหล่าทหารจรยุทธ์เหล่านี้จะมาช่วยเปลี่ยนชะตาเมือง แต่สิ่งที่ได้อาจจะเป็นแค่ความหวังลม ๆ แล้ง ๆ เพราะเสนาเบนกระทำการเพื่อตอบสนองความต้องการตนเองมากกว่าเพื่อพลเมืองทั้งหลาย


เสนารัฐเช่นนี้กุมอำนาจเบ็ดเสร็จ ปรับเปลี่ยนนโยบายรวดเร็วทันใจ ทุ่มทรัพยากรทั้งหมดเพื่อเป้าหมายเฉพาะได้ไม่ต้องฟังเสียประชาชนหรือต่อรองกับกลุ่มผลประโยชน์ แต่ก็ไม่มีหลักประกันว่าปากกระบอกปืนของรัฐจะหันไปหาใครบ้างเพราะอำนาจไม่ถูกถ่วงดุล


รัฐ 3 แบบ กับเป้าหมายที่ไปไม่ถึงเมื่อเปรียบเทียบรัฐทั้ง 3 แบบแล้ว อาจจะเป็นที่ถกเถียงได้ว่า รัฐแบบใดดีกว่ากัน แต่ผลสรุปที่แน่นอนคือ รัฐแต่ละแบบนั้นต่างมีปัญหาในการบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ทั้งสิ้น รัฐวีรชนไม่สามารถสร้างสังคมสะอาดบริสุทธิ์ รัฐธนกิจไม่สามารถสร้างสังคมที่มั่งคั่งทั่วถึง เสนารัฐไม่สามารถเปลี่ยนแปลงชุมชนไปสู่อุดมคติที่ตั้งไว้ได้


รัฐวีรชนมุ่งสร้างสังคมคนดีบริสุทธิ์ด้วยการให้อำนาจพิเศษกับบุคคลบางกลุ่มดำเนินโครงการสร้างสังคมอุดมคติบนฐานศีลธรรม ผลของการกระทำเช่นนี้ คือสังคมที่ขาดความเท่าเทียมทางการเมือง เพราะอำนาจกระจุกตัวไม่กระจายทั่วสังคมเท่าเทียม “คนดี” มีอำนาจมากกว่าคนทั่วไป วิธีการเน้นไปที่การตัด “เนื้อร้าย” ของสังคมทิ้ง ซึ่งมีปัญหาหลายประการที่ต้องคำนึงโดยเฉพาะประเด็นการนำศีลธรรมที่อาจเป็นเครื่องมือที่ดีในการกำกับพฤติกรรมมนุษย์ของแต่ละบุคคล แต่เป็นเครื่องมือที่อันตรายในการใช้เป็นเกณฑ์วัด/ตัดสินคน เพราะว่ามนุษย์เป็นสิ่งที่ไม่สมบูรณ์ หมายความว่ามนุษย์นั้นเปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่ง การจะแยกดีเลวเด็ดขาดถาวรเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้


รัฐธนกิจส่งเสริมการสร้างประสิทธิภาพเฉพาะด้านเพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยคาดหวังว่าเมื่อเศรษฐกิจเติบโตแล้วจะกระจายให้สังคมอย่างทั่วถึง แต่ในทางปฏิบัติ บริษัทและภาคเอกชนที่รัฐธนกิจสนับสนุนอุ้มชูอยู่นั้นแย่งกันโต เมื่อแย่งกันโตก็มีการแข่งขันอย่างเข้มข้น นำไปสู่สภาวะแพ้คัดออก เหลือผู้อยู่รอดน้อยรายปริมาณทรัพย์สินไหลไปรวมกับผู้ชนะ การเติบโตทางเศรษฐกิจจึงเติบโตอย่างกระจุกตัว ในขณะที่กลไกการกระจายความมั่งคั่งกลับคืนสู่สังคม เช่น ระบบภาษี ก็ทำงานไม่เต็มที่เพราะขัดกับตรรกะการสะสมทุนไปแข่งขันต่อของภาคเอกชน


ผลอย่างเป็นรูปธรรมคือ นอกจากจะไม่สามารถกระจายความมั่งคั่งไปทั่วสังคมแล้ว ยังถ่างช่องความเหลื่อมล้ำกว้างขึ้น มีผู้พ่ายแพ้แข่งขันไม่ได้มากขึ้น ผู้พ่ายแพ้เหล่านี้จะหันหน้าไปประกอบอาชีพอื่นก็ลำบากเพราะถูกฝึกมาให้ทำงานเฉพาะด้าน จะมีความสงบสุขทางจิตใจกับตนเองก็ยากเพราะไม่ได้มีชีวิตในสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์อย่างรอบด้าน ส่วนผู้ชนะที่อยู่ในกระบวนการเดียวกันก็ง่ายที่จะเพิกเฉยละเลยต่อเพื่อนมนุษย์ร่วมสังคม มองความยากลำบากของผู้พ่ายแพ้เป็นเรื่องปกติธรรมดาในนามของประสิทธิภาพและการแข่งขัน


เสนารัฐนั้นต้องการถอนรากถอนโคนสังคมเดิมทันที เพื่อเปลี่ยนแปลงสร้างสังคมใหม่ที่คาดว่าจะดีกว่าสังคมเก่า


วิธีการที่จะทำเช่นนี้ได้ต้องมีความคิดสุดโต่งและสร้างความคิดสุดโต่งให้แพร่กระจายไปในสังคมจนผู้คนพร้อมจะกระทำความรุนแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม มองเห็นผู้ที่คิดต่างเป็นศัตรู เป็นผู้ล้าหลัง โดยมีทั้งชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมากเป็นต้นทุนของการเปลี่ยนแปลงสังคม ตัดโอกาสของการเรียนรู้ประสบการณ์เพื่อพัฒนาหาทางออกของประชาชนในสังคม ในด้านผลลัพธ์ก็ไม่มีหลักประกันได้ว่าเมื่อเปลี่ยนแปลงสังคมในทันทีแล้วสังคมใหม่จะดีขึ้นกว่าสังคมเก่า


กอทแธมหลังการจากไปของแบทแมน การล่มสลายของตลาดหุ้นและความพ่ายแพ้ของเบน ได้เพิกถอนมายาคติบางประการออกไปจากสังคม ประชาชนได้เรียนรู้ว่า ความเพิกเฉยต่อผู้อื่นและความสุดโต่งในท้ายที่สุดล้วนกลายเป็นความรุนแรงในสังคมได้ ซึ่งแลกมาด้วยต้นทุนที่แสนแพง


แน่นอนว่ายังไม่มีบทสรุปอนาคตของกอทแธม ไม่มีหลักประกันว่า กอทแธมจะเป็นเมืองที่ดีขึ้น แต่ดูเหมือนว่า สังคมที่ยอมรับความจริงของกันและกันมากขึ้น ใส่ใจกันและกันมากขึ้น ปรองดองกันมากขึ้น จะทำให้ใครบางคนสามารถปลดภาระบนไหล่ให้ผู้อื่นช่วยแบกรับ ใครบางคนได้มีโอกาสแก้ไขข้อผิดพลาดในอดีตเริ่มชีวิตใหม่ และทำให้ใครอีกหลายคนได้มีหลักประกันในสิทธิเสรีภาพในชีวิตของตนเองมากขึ้น


ที่มา : ประชาไท




 

Create Date : 27 กันยายน 2555    
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2555 15:07:21 น.
Counter : 823 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.