ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง

กรรมกรเป็นยังไงมายังไงกันแน่กับโรคแอสเพอร์เกอร์

ต้องขอบอกว่าตัวผมนั้นเพิ่งจะรู้จักโรคนี้เมื่อไม่กี่เดือนนี่เองครับ และหมอที่โรงพยาบาลก็เพิ่งจะลงความเห็นเรื่องนี้เช่นกันว่าสาเหตุที่ผมมีอาการสมาธิสั้นเวลาที่ต้องอยู่เฉยๆโดยเฉพาะในช่วงที่ว่างจากการทำงาน
อีกทั้งเมื่อสมัยยังเป็นเด็กประถมหรืออนุบาลผมก็มีปัญหาในเรื่องของการเรียนรู้อยู่มากพอสมควร จนเกือบถูกเข้าใจว่าผมเป็นโรคออทิสติกไปแล้ว เพราะลูกชายของน้าที่เป็นคุณหมอเอง อายุน้อยกว่าผมไม่ถึง5ปีด้วยซ้ำก็ป่วยเป็นออทิสติกปัจจุบันก็ยังพูดคุยสื่อสารอะไรด้วยนี่ไม่ได้เลย ช่วงนั้นผมต้องหยุดเรียนไปหาหมอที่โรงพยาบาลรามาอยู่เนืองๆ และแอสเพอร์เกอร์ก็จัดว่าเป็นออทิสติกอย่างอ่อนๆเหมือนกัน
ก่อนที่หมอจะลงความเห็นว่าผมเป็นAsperger ผมเองก็ให้Link Weblogนี้ของผมให้หมอเข้ามาแวะเยี่ยมชมไปเหมือนกัน
ได้ยินว่าที่เมืองไทยมีการก่อตั้งสมาคมผู้ปกครองที่มีบุตรหลานเป็นแอสเพอร์เกอร์อยู่เหมือนกันเมื่อช่วงปี2542 แต่ปัจจุบันได้สลายตัวยกเลิกไปแล้ว

ทุกวันนี้ถึงผมจะว่างงานแต่ผมก็ยังใช้ชีวิตได้อย่างปกติและสบายดีครับ จะขาดก็แต่การงานที่เมื่อไหร่จะมีโรงพยาบาลที่ไหนรับเอาตัวผมเข้าไปทำงานสักทีเท่านั้นเอง เพราะผมไม่อยากรบกวนเงินทองของแม่ที่เกษียณอายุแล้วไปมากกว่านี้นะครับ




 

Create Date : 21 ธันวาคม 2549    
Last Update : 21 ธันวาคม 2549 10:47:09 น.
Counter : 829 Pageviews.  

เกณฑ์การวินิจฉัยกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์

เกณฑ์การวินิจฉัยกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ โดย กิลเบอร์ก ค.ศง 1989
Diagnostic criteria for Asperger’s Syndrome from Gillberg and Gillberg (1989)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

1. ความผิดปกติด้านสังคม (เป็นตัวของตัวเองมาก)
(พบอาการอย่างน้อย 2 ข้อ จากทั้งหมด)

ก.ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนได้
ข. ไม่ต้องการจะมีปฎิสัมพันธ์กับเพื่อน
ค. ไม่ชื่นชมยินดีกับกฎระเบียบของสังคม
ง. พฤติกรรมทางสังคมและอารมณ์ไม่เหมาะสม

2. ความผิดปกติทางด้านความสนใจ
(พบอาการอย่างน้อย 1 ข้อจากทั้งหมด)

ก. ไม่ร่วมกิจกรรมอื่น
ข. ติดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งซ้ำๆ
ค. ใช้ความจำมากกว่าเข้าใจความหมาย

3. การทำกิจวัตรซ้ำๆ
(พบอาการอย่างน้อย 1 ข้อจากทั้งหมด)

ก. พึ่งพาตนเองในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่
ข. พึ่งพาคนอื่น

4. ภาษาและการสื่อความหมายแปลก ๆ
(พบอาการอย่างน้อย 3 ข้อจากทั้งหมด)

ก. พัฒนาการทางภาษาช้า
ข. การอธิบายหรือการเล่าจะดีมากเกินไป
ค. ภาษาพูดจะเป็นทางการมากไป
ง. สำเนียงและน้ำเสียงแปลก ๆ
จ. แสดงปัญหาในเรื่องความเข้าใจภาษา เช่น แปลความหมายคำพูดของบุคคลอื่น แบบคำต่อคำหรือแปลความหมายของคำที่ใช้ผิด

5. ปัญหาในการใช้ภาษาท่าทาง
(พบอาการอย่างน้อย 1 ข้อจากทั้งหมด)

ก. การแสดงท่าทางประกอบทำได้จำกัด
ข. ท่าทางที่แสดงออกงุ่มง่าม เก้งก้าง
ค. การสื่ออารมณ์ทางใบหน้าทำได้จำกัด
ง. การแสดงออกด้วยท่าทางหรืออารมณ์ทางใบหน้าไม่เหมาะสม
จ. ท่าทางแข็ง ๆ แลดูแปลก ๆ

6. การเคลื่อนไหวเก้งก้าง ไม่พลิ้วไหว

ก. ผลคะแนนทดสอบในเรื่องพัฒนาการการเคลื่อนไหวค่อนข้างต่ำ

เกณฑ์การวินิจฉัยกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์โดย Szatmari, Bremner และ Nagy ค.ศ. 1989
Diagnostic criteria for Asperger’s Syndrome from Szatmari, Bremner and Nagy (1989)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

1. ความสันโดษ
(พบอาการอย่างน้อย 2 ข้อ จากทั้งหมด)

ก. ไม่มีเพื่อนสนิท
ข. หลีกเลี่ยงบุคคลอื่น
ค. ไม่สนใจจะสร้างมิตรสัมพันธ์กับใคร
ง. พวกชอบอยู่คนเดียว

2. ความผิดปกติด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
(พบอาการอย่างน้อย 1 ข้อ จากทั้งหมด)

ก. เข้าหาบุคคลอื่นเพียงเพื่อให้ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ
ข. วิธีการเข้าหาบุคคลแปลก ๆ
ค. ตอบสนองต่อเพื่อนแบบฝ่ายเดียว
ง. มีปัญหาในเรื่องการรับรู้ความรู้สึกผู้อื่น
จ. ไม่ผูกติด/ยึดติดกับผู้อื่นทางด้านความรู้สึก

3. ความผิดปกติในด้านภาษาท่าทาง
(พบอาการอย่างน้อย 1 ข้อ จากทั้งหมด)

ก. การสื่ออารมณ์ทางใบหน้าทำได้จำกัด
ข. ไม่สามารถอ่านความรู้สึกที่แสดงออกทางใบหน้าของเด็กได้
ค. ไม่สามารถสื่อความทางตา
ง. ไม่มองคนอื่น
จ. ไม่ใช้มือเพื่อแสดงความต้องการของตัวเอง
ฉ. การแสดงท่าทางประกอบมากและเก้งก้างเกินไป
ช. เข้าใกล้ผู้อื่นมากเกินไป

4. ภาษาพูดแปลก ๆ
(พบอาการอย่างน้อย 2 ข้อ จากทั้งหมด)

ก. ระดับเสียง (สูง – ต่ำ) ผิดปกติ
ข. พูดมากเกินไป
ค. พูดน้อยเกินไป
ง. บทสนทนาไม่ปะติดปะต่อกัน
จ. ใช้คำพูดแปลก ๆ
ฉ. คำพูดมีลักษณะซ้ำ ๆ เป็นแพทเทิรน์

5. อาการไม่เข้าข่ายในแบบประเมิน DSM-III-R สำหรับ

ก. โรคออทิสติก




 

Create Date : 01 กันยายน 2549    
Last Update : 1 กันยายน 2549 21:23:07 น.
Counter : 523 Pageviews.  

ข้อแนะนำในการช่วยเหลือเด็กสำหรับผู้ปกครองและครู

ข้อแนะนำการช่วยเหลือเด็กจะแยกเป็นประเด็นตามความบกพร่องแต่ละด้านเพื่อที่ผู้ปกครองและครูจะนำไปใช้กับเด็กได้ง่ายขึ้น

ด้านสังคม

1. ควรอธิบายเรื่องกฎระเบียบในการปฏิบัติตัวและตอบสนองต่อผู้อื่นในสังคมให้เด็กเข้าใจเป็นเรื่องๆ เฉพาะไป


2. อาจจะใช้วิธีการเขียน “เรื่องราวทางสังคม” (Social Stories) หรือเรื่องราวเฉพาะเหตุการณ์ที่ต้องการสอนเด็กขึ้นมาใหม่เพื่อส่งเสริมความเข้าใจให้ดีขึ้น


3. อาจต้องแสดงท่าทางหรือวาดภาพประกอบเรื่องทางสังคมนั้นเพื่อเสริมความเข้าใจ (เด็กเหล่านี้จะไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือความคิดรวบยอด จุดแข็งของเด็ก อยู่ที่การรับภาพและแปลข้อมูลทางสายตามากกว่าการฟัง)


4. อาจซักซ้อมความเข้าใจเพิ่มเติมโดยการให้เด็กแสดงให้ดูหรือพูดทวนซ้ำในสิ่งที่ท่านสอนอีกครั้งหนึ่ง


5. ควรหลีกเลี่ยงการทำหน้าปั้นปึ่งหรือประชดประชันใส่เด็ก วิธีที่ดีที่สุดคือบอกเด็กไปตรง ๆ ว่าท่านมีความรู้สึกอย่างไรและต้องการให้เขาทำตัวอย่างไร


6. ควรหาโอกาสสอนหรือให้ความรู้เพื่อน ๆ ของเด็กถึงวิธีการแก้ปัญหาความผิดปกติทางด้านสังคมของเขา


7. พยายามหาโอกาสเชิญเพื่อนของเด็กมาเล่นที่บ้านเพื่อส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างกันให้ดีขึ้น


8. สอนหรืออธิบายให้เด็กเข้าใจถึงกฎการเล่น เช่น วิธีเริ่ม วิธีเล่นและวิธีเลิกเล่น


9. พยายามให้เด็กเล่นเกมด้วยกันเป็นคู่หรือคัดเลือกประเภทกีฬาที่ไม่ต้องการการแข่งขันเพื่อหวังผลแพ้ ชนะ


10. สอนให้เด็กรู้จักยืดหยุ่น ร่วมมือและแบ่งปันกับเพื่อน


11. สอนเด็กให้รู้จักแก้ไขพฤติกรรมตัวเองหากเพื่อนไม่ยอมรับการกระทำนั้น


12. ครูอาจจะคอยช่วยกำกับหรือให้ความช่วยเหลือเด็กในเรื่องการเล่นระหว่างช่วงเวลาพักสั้นหรือพักกลางวัน


13. ครูควรช่วย “หาคู่” ให้เด็ก โดยวิธีคัดเลือกเด็กที่มีวุฒิภาวะและจิตใจดีเป็น “เพื่อนคู่หู” (บัดดี้) คอยทำหน้าที่แนะนำและช่วยเหลือในยามที่เด็กเข้าร่วมกลุ่มกับเด็กอื่นและทำหน้าที่ “ไกล่เกลี่ย” หากเด็กเผชิญกับสถานการณ์กดดันจากเพื่อน


14. ครูและเพื่อนควรช่วยปกป้องเด็กจากการถูกรังแก ถูกกล่าวหาหรือถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้อื่น


15. ครูควรกล่าวคำชมเชยเด็กอื่น ๆ เมื่อเขาปฏิบัติกับเด็กแอสเพอร์เกอร์ด้วยความเมตตา วิธีนี้จะส่งเสริมให้เด็กทุกคนรู้จักเห็นอกเห็นใจและอดทนกับเพื่อนที่ด้อยกว่า


16. ครูควรหาโอกาสให้เด็กแอสเพอร์เกอร์ได้แสดงความสามารถทางวิชาการโดยการอธิบายหรือสอนเพื่อนแทนครูในบางครั้ง วิธีนี้จะช่วยเรียกความมั่นใจให้เกิดขึ้นกับเขาและเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีให้กับเพื่อน ๆ ทุกคน


17. ครูอาจจะหาโอกาสที่เหมาะสมอธิบายให้เพื่อนในชั้นเรียนฟังถึง “ความแตกต่าง” และ “ความไม่เท่ากัน” ในความสามารถของแต่ละคนและสอนให้เด็กรู้จักยอมรับในความแตกต่างนั้น


18. ท่าทีและทัศนคติที่ดีของครูต่อเด็กแอสเพอร์เกอร์เป็นตัวแปรที่สำคัญตัวหนึ่งที่จะทำให้เด็กผ่านพ้นปีการศึกษานั้นไปได้อย่างราบรื่น


19. การจัดกลุ่มซ่อมเสริมทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจะทำให้ผู้ใหญ่มองเห็นปัญหาของเด็กชัดเจนขึ้นและจะสามารถวางแผนแก้ปัญหานั้นได้ตรงประเด็น


20. สอนให้เด็กเข้าใจความหมายของ “สิทธิส่วนบุคคล” ซึ่งถือเป็นเรื่องมารยาททางสังคมที่จำเป็นต้องปลูกฝังให้กับเด็กแอสเพอร์เกอร์แต่เนิ่น ๆ และสม่ำเสมอ


21. พยายามจับตาอย่าให้เด็กแยกตัวออกจากกลุ่มเพื่อนบ่อยเกินไป


22. ครูอาจจะเริ่มต้นชวนเด็กเล่นหรือพูดคุยด้วยถ้าเห็นเขาแยกไปอยู่คนเดียว


23. อย่าได้ไว้วางใจว่าเด็กเข้าใจในสิ่งที่ครูพูดทุกอย่างเช่นกัน ควรทดสอบความเข้าใจของเด็กโดยให้เด็กอธิบายหรือพูดทวนกลับในสิ่งที่ได้ยิน


24. ควรหมั่นสังเกตและระมัดระวังเหตุการณ์ที่อาจจะเป็นสาเหตุให้เด็กแสดงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ออกมา พยายามระงับเหตุ แต่เนิ่น ๆ อย่างปล่อยให้ผลเสียเกิดขึ้น แล้วค่อยมาคิดระงับทีหลัง คำกล่าวที่ว่า “ป้องกันดีกว่าแก้ไข” ยังคงใช้ได้ดีกับเด็กแอสเพอร์เกอร์ทุกคน


25. การปลูกฝังให้เด็กเป็นคนมองโลกในแง่ดี พูดดีและประพฤติตัวดีจะช่วยทำให้เด็กเป็นที่รักของคนอื่นมากขึ้น


26. สอนให้เด็กรู้จักเคารพ ยอมรับในความคิดเห็นของผู้อื่นและกล่าวคำชมในความสำเร็จของผู้อื่นบ้าง


27. พยายามกระตุ้นให้เด็กเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวให้มากที่สุด โดยอาจจะสังเกตจากเพื่อน ๆว่าเขาชอบ (พูด ทำ ฯลฯ) อะไรกันในขณะนั้น


28. สอนเด็กให้รู้จักดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย ทรงผมและการแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยอยู่เสมอ


29. อธิบายเรื่องภาพพจน์และบุคลิกว่าสำคัญอย่างไรเมื่อต้องออกไปพบปะผู้คนภายนอก


30. สอนเรื่องสีของเครื่องแต่งกาย รองเท้าและชุดที่จะสวมใส่ไปงานต่าง ๆ ให้ดูเหมาะสม


31. อย่าขู่เด็กว่าจะลงโทษอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ให้ตั้งกฎเกณฑ์ให้ชัดเจนและปฏิบัติตามนั้น เช่น ถ้าเด็กพูดทำร้ายจิตใจพี่หรือน้องอีกจะถูกตัดสิทธิพิเศษหนึ่งอย่าง เป็นต้น


32. อย่าลงโทษพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กด้วยการทำร้ายร่างกายเขากลับแต่ให้ใช้วิธีการลงโทษอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับพฤติกรรมปัญหาแต่ละอย่าง เช่น ตัดคะแนนสะสม ตัดเบี้ยเลี้ยง ตัดสิทธิพิเศษบางอย่าง เป็นต้น


33. ไม่แสดงความสนใจหรือควรเพิกเฉยต่อพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของเด็ก (เฉพาะเรื่องที่ไม่เป็นอันตรายต่อเด็กเองและที่ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น)


34. ควรให้ความสนใจหรือตอบสนองทันทีต่อพฤติกรรมพึงประสงค์ของเด็ก เช่น เอ่ยชม ปรบมือ ลูบศีรษะ เป็นต้น


35. ให้ความสนใจที่พฤติกรรมของเด็กมิใช่ตัวเด็ก


36. บอกให้เด็กทราบถึงพฤติกรรมของเขาที่เราต้องการเห็นและไม่ควรตำหนิพฤติกรรมไม่ดีที่เขาทำไปแล้วและควรหลีกเลี่ยงคำพูดตอกย้ำที่เราไม่ต้องการจะให้เด็กทำอีก เช่น “แม้ว่าเสียงพูดระดับนี้ของหนูกำลังดีเลยทีเดียว” แต่ไม่ใช่ “ทำไมต้องพูดเสียงดังด้วยบอกกี่ครั้งกี่หนแล้ว!” เป็นต้น


37. อย่าบังคับให้เด็กต้องร่วมแข่งกีฬาประเภททีม เช่น บาสเกตบอล ฟุตบอล ฯลฯ แต่ควรให้การส่งเสริมกีฬาที่เขาสามารถทำได้ด้วยตัวของเขาเองโดยไม่ต้องอาศัยความร่วมมือเป็นทีม เช่น เทนนิส ว่ายน้ำ สควอซ์ ขี่จักรยาน กอล์ฟ เป็นต้น


38. เมื่อถึงเวลาหนึ่งที่คาดว่าเด็กสามารถเข้าใจได้ ผู้ปกครองอาจจะต้องอธิบายให้เด็กรับรู้ว่าเขามีข้อจำกัด หรือข้อบกพร่องอะไรโดยต้องพูดอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยท่าทีที่สงบ อ่อนโยน หลีกเลี่ยงคำพูดที่จะทำให้เด็กรู้สึกเป็นกังวลหรือเครียดที่ได้รับรู้ความจริง ผู้ปกครองอาจยกตัวอย่างหรือหาข้อมูลของบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการต่าง ๆ ที่มีอาการแอสเพอร์เกอร์มาประกอบคำอธิบายนั้นด้วยว่าเขาเหล่านั้นสามารถมีชีวิตที่ประสพความสำเร็จและมีความสุขกับครอบครัวของเขาได้เช่นกัน เช่น เทมเปิล แกรนดิน อัจฉริยะออทิสติก ปัจจุบันทำงานด้านออกแบบที่อยู่และสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับสัตว์เลี้ยงในฟาร์มหลายแห่งในประเทศสหรัฐอเมริกาและผู้ประพันธ์หนังสือเกี่ยวกับออทิซึม 2 เล่ม อีกคนหนึ่งคือ ไลแอน ฮอลลิเดย์วิลลี่ย์ คุณแม่แอสเพอร์เกอร์ผู้มีลูกสาวเป็นแอสเพอร์เกอร์ซินโดรมเช่นกัน ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนหนังสือและเป็นผู้ประพันธ์หนังสืออัตชีวประวัติเรื่อง Pretending To Be Normal คนต่อมาคือ บิล เกทส์ อัจฉริยะคอมพิวเตอร์เจ้าของบริษัท Microsoft ที่นักเล่นคอมพิวเตอร์ทุกคนรู้จักดี


นอกจากนี้ ผู้ปกครองอาจนัดหมายรวมกลุ่มเด็กแอสเพอร์เกอร์สัก 2-3 คนมาเจอกัน โดยเลือกที่มีอายุใกล้เคียงกันเพื่อช่วยให้เขารู้สึกว่าเขามิได้เป็นแบบนี้เพียงคนเดียว ในการพบปะกันครั้งแรกนี้อาจจะให้เด็กนำของเล่น หนังสือหรือสิ่งที่ตัวเองชอบติดตัวมาด้วยเพื่อความมั่นใจและผู้ใหญ่ควรหาโอกาสให้เด็กได้อธิบายหรือสาธิตถึงสิ่งที่ตนนำมานั้นให้เพื่อนฟัง หากเราค้นพบว่าเด็กคนใดคนหนึ่งในกลุ่มมีความสนใจสิ่งเดียวกัน เช่น ชอบอ่านหนังสือเหมือนกันก็จะอาจจะจับคู่ให้เขาได้เป็น “บั๊ดดี้” กัน เด็กจะรู้สึกดีขึ้นเมื่อรู้ว่าอย่างน้อยก็มีเด็กคนอื่นที่ชอบในสิ่งที่เขาชอบเช่นกัน นอกจากนี้อาจจะเตรียมกิจกรรมเสริมอื่น ๆ ไว้ด้วยเพื่อว่าเด็กจะได้มีสิ่งอื่นทำร่วมกันนอกเหนือจากได้พูดคุยถึงสิ่งที่ตัวเองสนใจแล้ว กิจกรรมที่ว่านี้ควรจะให้เป็นลักษณะที่มีโครงสร้างชัดเจนจะดีกว่า กล่าวคือมีขอบเขต กฎเกณฑ์แน่ชัดที่เราต้องการให้เด็กปฏิบัติตาม เพราะไม่อย่างนั้นเด็กจะแยกตัวออกไปทำอย่างที่ใจชอบมากกว่าที่จะให้ความสนใจหรือให้ความรร่วมมือกับสิ่งที่เราเตรียมไว้ กิจกรรมแต่ละอย่างควรจะเป็นแบบสั้น ๆ ไม่เกิน 10 นาที (แต่ถ้าเด็กชอบอาจจะขยายเวลาไปเรื่อย ๆ ) โดยเตรียมเผื่อไว้สัก 3-4 กิจกรรม การพบกันใน 2-3 ครั้งแรกนี้ควรจะใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมงก็พอและค่อย ๆ เพิ่มเวลามากขึ้นหากเด็กคุ้นเคยกับเพื่อนและสถานที่แล้ว
ส่วนเด็กแอสเพอร์เกอร์ที่อายุเกิน 12 ปีแล้วนั้น อาจจะจัดให้ไปเล่นโบว์ลิ่งหรือทัศนศึกษานอกสถานที่หรืออาจจะช่วยกันทำอาหารง่าย ๆ ที่บ้าน เป็นต้น ควรจะมีผู้ใหญ่อย่างน้อย 1 คนคอยดูแลติดตามและรับผิดชอบเด็กกลุ่มนี้ตลอดเวลา และคอยให้คำแนะนำหากเด็กไม่สามารถเข้ากับเพื่อนได้ ส่วนเด็กแอสเพอร์เกอร์ที่โตกว่าคนอื่น ๆ ในกลุ่มและเป็นผู้ที่มีความสามารถดี ผู้ใหญ่อาจจะให้มาทำหน้าที่พี่เลี้ยงหรือเป็นผู้ช่วยแทนผู้ใหญ่ในบางโอกาสด้วย



ด้านภาษา

1. ควรพูดกับเด็กด้วยท่าทีที่เป็นมิตรและนุ่มนวล เด็กจะเรียนรู้และซึมซับน้ำเสียง สีหน้า และการกระทำของผู้ใหญ่หรือผู้ที่ดูแลเขาตลอดเวลา ดังนั้น ผู้ใหญ่ควรระมัดระวังกิริยาหรือพฤติกรรมของตัวเองด้วยเช่นกัน


2. เมื่อพูดกับเด็กอย่าพูดยาว ใช้คำพูดสั้น ๆ ชัด ๆ ตรงประเด็นจะได้ผลดีกว่า


3. ควรหลีกเลี่ยงการใช้สำนวน คำแสลง หรือคำที่แปลได้หลายความหมายกับเด็ก เพราะเด็กไม่เข้าใจคำต่าง ๆ เหล่านี้และจะจับประเด็นไม่ได้ว่าท่านต้องการจะสื่ออะไร


4. พยายามสอนหรืออธิบายคำสุภาษิต คำพังเพยหรือคำที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ให้กับเด็กบ้างเพื่อที่เด็กจะได้ไม่สับสนเมื่อได้ยินคำต่าง ๆ เหล่านี้และให้โอกาสเด็กได้ฝึกใช้เป็นบางโอกาสตามความเหมาะสม


5. ขอให้ครูพูดกับเด็กเป็นการสวนตัวไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานที่เด็กทุกคนในชั้นจะต้องทำหรือข้อความที่ต้องการจะให้เด็กกลับไปเล่าให้ผู้ปกครองทราบ ให้เด็กทบทวนคำพูดของครูกลับอีกครั้งหนึ่งเพื่อความแน่ใจว่าเด็กเข้าใจความหมายของคำพูดนั้นอย่างแท้จริง


6. บางทีเด็กอาจจะใช้คำศัพท์เกินเด็กในวัยเดียวกันบ้างแต่ไม่ได้หมายความว่า ความเข้าใจภาษาของเด็กดีตามนั้น หลายครั้งที่เด็กจำจากหนังสือที่อ่านหรือจำจากทีวีมาพูด ฉะนั้น ผู้ใหญ่อย่างได้หลงเข้าใจว่าเด็กเข้าใจสิ่งที่ตัวเองพูดออกมาทั้งหมด


7. เด็กจะแปลคำพูดของทุกคนแบบคำต่อคำ ดังนั้น ครูจึงควรอธิบายเรื่องนี้ให้เพื่อนในชั้นเรียนได้ทราบด้วยและกำชับไม่ให้ใครจงใจกลั่นแกล้งเด็กด้วยวิธีการหลอกเด็กให้ทำในสิ่งที่เพื่อนพูด


8. หากต้องการจะพูดหรือบอกกับเด็ก ให้เรียกชื่อเด็กก่อนและให้แน่ใจว่าเด็กหันความสนใจมาที่ท่านก่อนที่ท่านจะเริ่มต้นคุย


9. สอนให้เด็กทำเหมือนข้อ 8 หากเด็กต้องการจะพูดคุยกับใครก็ตาม


10. ในขณะที่พูดกับเด็ก พยายามให้เด็กประสานสายตากับท่านเป็นระยะ ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กเข้าใจสิ่งที่ท่านพูดด้วย


11. ใช้รูปภาพหรือแสดงท่าทางประกอบการอธิบายของท่านหากเด็กไม่สามารถคิดตามสิ่งที่ท่านพูดได้


12. สอนให้เด็กรู้จักฟังความเห็นของผู้อื่นด้วยความตั้งใจและหากเด็กต้องการจะแสดงความเห็นหรือต้องการขัดจังหวะสิ่งที่ผู้อื่นกำลังพูดอยู่นั้นขอให้อดทนรอจนกระทั่งผู้พูดได้พูดจบเสียก่อน


13. สอนให้เด็กรู้จักชวนเพื่อนคุยในหัวข้อทั่ว ๆ ไปบ้าง เช่น เรื่องกีฬา ภาพยนตร์ เพลง หนังสือ ข่าวประจำวัน ฯลฯ ถึงแม้เด็กจะชวนเพื่อนพูดได้เพียงเล็กน้อยในช่วงต้น ๆ ก็ยังดีกว่าที่เด็กจะพูดแต่เรื่องที่ตัวเองสนใจอยู่ตลอดเวลา


14. กำชับเด็กให้หลีกเลี่ยงการสอบถามถึงเรื่องที่เป็นส่วนตัวของคนอื่น เช่น เรื่องของใช้ เรื่องรายได้ เรื่องครอบครัว เป็นต้น (นอกจากเพื่อนที่สนิทกันจริง ๆ )


15. สอนเด็กให้เข้าใจว่าบุคคลใดที่เด็กควรจะพูดคุยปรึกษาในเรื่องส่วนตัวได้และบุคคลใดที่ควรจะพูดในหัวข้ออื่น ๆ


16. กำชับไม่ให้เด็กพูดกับคนแปลกหน้าโดยเด็ดขาด


17. สอนให้เด็กรู้จักสร้างคำถามต่อเนื่องจากหัวข้อที่กำลังพูดคุยกับเพื่อนในระหว่างนั้น อย่างเปลี่ยนเรื่องไป มาทันทีเพราะจะทำให้เพื่อนรู้สึกสับสนได้


18. สอนให้เด็กอย่างจ้องมองผู้อื่นหรือคู่สนทนาตลอดเวลาเพราะจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกเครียดและอาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดขึ้นได้


19. สอนให้เด็กยืนห่างจากคู่สนทนาประมาณ 1 ฟุต ไม่ควรจะยืนประชิดตัวถึงแม้จะพูดคุยกับเพศเดียวกันก็ตาม


20. สอนให้เด็กรู้จักตรวจสอบกลิ่นปากของตัวเองโดยฝึกทำในห้องน้ำแต่เพื่อความมั่นใจควรให้เด็กบ้วนปากทุกครั้งหลังรับประทานอาหารและหมั่นดูแลรักษาความสะอาดของฟันอยู่เสมอ


21. หาวีดีโอเทป (ที่ไม่มีบทพูด) หรือรูปภาพคนที่แสดงท่าทาง สีหน้า อารมณ์ ลักษณะต่าง ๆ กันให้เด็กได้ดูบ้างเพื่อให้เด็กเรียนรู้ความหมายของภาษาท่าทางเหล่านั้น


22. ให้เด็กเลียนแบบหรือฝึกทำตามสิ่งที่ดูโดยอาจจะฝึกทำหน้ากระจกเงาบ่อย ๆ


23. สุ่มสำรวจว่าเด็กสามารถแสดงท่าทาง สีหน้า อารมณ์ที่ได้ฝึกทำไปแล้วนั้นในสถานการณ์จริงหรือไม่


24. บอกหรือสอนให้เด็กเก็บมือไว้ในกระเป๋ากางเกงหรือเกี่ยวหัวแม่มือไว้ที่หูเข็มขัด หรือถือสิ่งของไว้ในมือในกรณีที่เด็กใช้มือประกอบคำพูดมากเกินความจำเป็น


25. ส่งสัญญาณมือหรือทำท่าทางบอกความหมายถึงสิ่งที่เราต้องการจะให้เด็กหยุดการกระทำหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในตอนนั้นให้เด็กเห็นอย่างชัดเจน เช่น ยกมือปิดปากหรือเม้มริมฝีปากเมื่อต้องการให้เด็กเงียบเสียงลง ยกนิ้วชี้ขึ้นแตะริมฝีปากเมื่อเด็กพูดเสียงดังเกินไป โบกมือข้างหูเมื่อเราไม่ได้ยินสิ่งที่เด็กพูดเป็นต้น


26. อธิบายให้เด็กฟังถึงผลกระทบของคำพูดที่เขาได้พูดออกไป (โดยมิได้ตั้งใจ) เช่น พูดโอ้อวดว่าตัวเองเก่งกว่าผู้อื่น พูดว่าตัวเองดีกว่าผู้อื่นในเรื่อง…. พูดวิจารณ์คนอื่นตรง ๆ โดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสม เป็นต้น


27. สอนให้เด็กกล่าวคำขอโทษทันทีหลังจากที่ได้กระทำในข้อ 26


28. สอนเด็กให้รู้จักพูดหรือถามเมื่อสับสนหรือไม่เข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น “สิ่งที่เธอพูดเมื่อตะกี้เป็นจริงหรือ ไม่ได้หลอกกันใช่ไหม” “ทำไมฉันต้องทำอย่างที่เธอบอกด้วยล่ะ” “อันนั้นหมายความว่าอย่างไร” เป็นต้น เพื่อที่เด็กจะสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้ถูกต้องและเหมาะสม


29. หากเด็กมีอาการพูดซ้ำ ๆ หรือถามเรื่องซ้ำ ๆ อยู่ตลอดเวลา ครูอาจจะเบนความสนใจเด็กโดยชวนคุยหรือให้เด็กตอบคำถามเรื่องอื่น ๆ บ้าง


30. อาจจะบอกให้เด็กทำสิ่งที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จก่อนครูจึงจะอนุญาตให้พูดหรือถามเรื่องซ้ำ ๆ นั้นได้ เช่น “ถ้าหนูทำแบบฝึกหัดหน้านี้เสร็จหนูมาเล่าเรื่องที่หนูต้องการให้ครูฟังได้ 5 นาที” หรือ “หนูมาเล่าเรื่องนี้ได้หลังจากรับประทานอาหารกลางวันเสร็จเรียบร้อยแล้ว” เป็นต้น


31. บันทึกเสียงของเด็กลงในเครื่องอัดเสียงและเปิดให้เด็กฟังเพื่อให้เด็กวิเคราะห์ระดับเสียง น้ำเสียง ความชัดเจน ความเร็วของตัวเองว่าเป็นอย่างไรโดยไม่กล่าวตำหนิเด็กแต่ให้เด็กลองวิจารณ์ตัวเองและผู้ใหญ่เป็นผู้ให้คำแนะนำ


32. ให้คำชมเชยหรือให้รางวัลเด็กเมื่อเขาสามารถแก้ไขข้อ 31 ได้ในสถานการณ์จริง




 

Create Date : 01 กันยายน 2549    
Last Update : 1 กันยายน 2549 21:21:42 น.
Counter : 380 Pageviews.  

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กแอสเพอร์เกอร์และบทบาทของครู

นอกจากประเด็นปัญหาในเรื่องความผิดปกติของพัฒนาการในเด็กแอสเพอร์เกอร์ที่ได้กล่าวมาทั้งหมดแล้ว ยังมีประเด็นปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ผู้เขียนอยากขอกล่าวถึง ณ ที่นี้ นั่นคือเรื่องสถานศึกษาและการจัดการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กแอสเพอร์เกอร์ ถึงแม้ว่าเด็กแอสเพอร์เกอร์จะไม่แสดงพฤติกรรมปัญหาทางด้านสังคมและการเรียนรุนแรงเหมือนเด็กออทิสติก แต่ไม่ได้หมายความว่าเด็กไม่จำเป็นต้องได้รับการบริการช่วยเหลือพิเศษในเรื่องการศึกษาแต่อย่างใด เราทุกคนคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าการมีสติปัญญาดีและการเรียนหนังสือได้เพียงอย่างเดียวนั้นจะเพียงพอที่จะทำให้เราอยู่รอดปลอดภัยและอยู่อย่างมีความสุขในสังคมได้ตลอดไป เด็กแอสเพอร์เกอร์ก็เช่นกัน เขาจะไม่สามารถอยู่อย่างมีความสุขได้หากเขาไม่เข้าใจการปฏิบัติตัวและการตอบสนองต่อเหตุการณ์ในสังคมอย่างถูกต้องเหมาะสม ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใหญ่ทุกคนจะหันมาเอาใจใส่กับประเด็นปัญหานี้อย่างจริงจัง โดยการสอนทักษะการดำรงชีวิตให้เขาเหมือนกับการสอนวิชาบังคับอื่น ๆ และหากสามารถบรรจุเรื่องที่สอนนั้นเข้าในแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Plan: IEP) ด้วยก็จะยิ่งเป็นการดีเพราะครูจะสามารถซ่อมเสริมในสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ถูกต้องและได้เต็มที่

ผู้เขียนเคยมีโอกาสได้พบและพูดคุยกับเด็กหนุ่มแอสเพอร์เกอร์อายุประมาณ 25 ปี สัญชาติอเมริกัน เชื้อชาติเช็กคนหนึ่ง ในตอนที่พาลูกชายไปเข้าค่ายแห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา เขาเป็นชายหนุ่มที่มีระดับสติปัญญาสูงมาก ประมาณ 174 จุด เลยทีเดียว แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าเขาไม่สามารถจะใช้ความปราดเปรื่องนั้นให้เป็นประโยชน์กับตัวเองได้ เขาจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า แต่ยังหางานไม่ได้เพราะสอบสัมภาษณ์ไม่ผ่าน พอเขาได้ข่าวว่ามีการจัดค่ายสำหรับบุคคลแอสเพอร์เกอร์เขาจึงเดินทางมาร่วมด้วยความเชื่อว่าเขาจะได้รับความรู้เพิ่มเติมใหม่ ๆ โดยเฉพาะความรู้ทางด้านสังคม ผู้เขียนซาบซึ้งกับความพยายามของเขาในการเดินทางข้ามรัฐมาเพื่อวัตถุประสงค์นี้ ในขณะเดียวกันก็รู้สึกหดหู่ใจเป็นอย่างมากที่ได้มารับรู้เรื่องราวในชีวิตของเขา ชายหนุ่มผู้นี้ได้แสดงออกถึงความต้องการอยากมีเพื่อน อยากจะพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อยากจะเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กับคนอื่น ๆ แต่เขาก็ไม่สามารถพาตัวเองให้เข้าไปทำอย่างที่ใจปรารถนาได้ มีอยู่วันหนึ่ง ผู้เขียนบังเอิญได้ยินคำสนทนาระหว่างเด็กสาวคนหนึ่ง (ที่เป็นอาสาสมัคร) กับเด็กหนุ่มคนนี้ว่า “เธออยากเต้นรำไหม” เด็กสาวเอ่ยชวน ชายหนุ่มคนนี้ตอบรับด้วยน้ำเสียบเรียบ ๆ ว่า “อยาก” โดยไม่แสดงท่าทางหรือสีหน้าประกอบถึงอารมณ์ความรู้สึกแต่อย่างใด สักครู่เขาก็ถามเด็กสาวคนนั้นว่า “แล้วฉันต้องทำอย่างไรล่ะช่วยสอนหน่อยสิ” เด็กสาวคนนั้นตอบว่า “ได้สิ เธอเลียนแบบท่าทางของฉันก็แล้วกัน” ผู้เขียนจึงหยุดดูว่าชายหนุ่มคนนี้จะสามารถเลียนแบบท่าทางของเธอได้หรือไม่ ปรากฎว่าเขาพยายามจะทำทุกอย่างให้เหมือนเธอแต่ท่าทางและลีลาของเขาเก้งก้างราวกับหุ่นกระบอก ในวินาทีนั้น ไม่มีใครกล้าที่จะหัวเราะออกมาแต่ทุกคนจะติดตามว่าเขาจะสามารถเต้นจนจบเพลงได้หรือไม่ ในที่สุดเมื่อเสียงเพลงหยุดลงทุกคนต่างก็ร่วมแสดงความชื่นชมยินดีในความพยายามของเขาและต่างก็แสดงความขอบคุณเด็กสาวคนนี้ที่ให้โอกาสเขาได้เต้นรำด้วย หากสังคมนอกค่ายให้โอกาสเด็กหนุ่มคนนี้ได้ร่วมฝึกร่วมทำโดยมีพี่เลี้ยงหรืออาสาสมัครให้การสนับสนุนช่วยเหลือแล้ว บุคคลแอสเพอร์เกอร์อย่างชายหนุ่มคนนี้คงจะไม่กลายเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ไร้ค่า ในวันสุดท้ายของโปรแกรมค่าย ผุ้จัดได้ให้โอกาสเขาเล่าเรื่องประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาทุกคนนั่งฟังด้วยความเข้าใจและซาบซึ้งใจและอีกหลายคนแอบซับน้ำตาตามไปด้วย เขาบอกว่าเขามีเพื่อน้อยมากเพราะเพื่อน ๆ จะรู้สึกว่าเขามีบุคคลิกลักษณะแปลก ๆ ไม่เหมือนคนอื่น ๆ ไม่สรวลเสเฮฮา ไม่แสดงอารมณ์ตอบสนอง ไม่สนใจพูดคุยเรื่องทั่วไป ฯลฯ ดังนั้น ทุกคนจึงค่อย ๆ ห่างเหินเขาออกไปเรื่อย ๆ เขารู้สึกโดเดี่ยวอ้างว้างและต้องการจะทำแบบคนอื่นบ้างแต่เขาไม่รู้ว่าเขาควรจะเริ่มต้นอย่างไร เขาปรารถนาให้มีใครสักคนหยิบยื่นโอกาสและความเอื้ออาทรต่าง ๆ เหล่านี้กับเขาบ้าง การมาเข้าค่ายในครั้งนี้ช่วยทำให้เขามีความรู้สึกที่ดีกับตัวเองมากขึ้นเพราะคนในค่ายนี้ให้โอกาสเขาได้แสดงออกอย่างเต็มที่ ได้ให้คำแนะนำปรึกษาและได้แสดงไมตรีจิตที่ดีตลอดเวลา เขารู้สึกผ่อนคลายและมองโลกในแง่ดีมากขึ้น เขาไม่ปรารถนาที่จะเห็นเด็กแอสเพอร์เกอร์รุ่นน้องต้องทนทุกข์หรือมีสภาพจิตใจแบบเดียวกับเขาและเขายินดีจะเป็นตัวแทนคนแอสเพอร์เกอร์ทั้งหมดในค่ายนี้พูดถ่ายทอดความรู้สึกเบื้องลึกในใจ ให้คนในสังคมได้รับรู้โดยหวังว่า สักวันหนึ่งสังคมจะเข้าใจและให้การยอมรับบุคคลแอสเพอร์เกอร์มากขึ้น ผู้ฟังทุกคนที่อยู่ในบริเวณนั้นต่างปรบมือและมอบช่อดอกไม้เป็นกำลังใจให้กับเขา นับว่าเป็นวันที่ผู้เขียนเกิดความรู้สึกทั้งดีและแย่ในคราวเดียวกัน แต่อย่างน้อยผู้เขียนก็เห็นคล้อยตามกับความหวังของชายหนุ่มคนนี้ที่ว่า สักวันหนึ่งสังคมจะเข้าใจและให้การยอมรับบุคคลแอสเพอร์เกอร์มากขึ้น จึงอยากขอฝากให้ผู้เกี่ยวข้องกับเด็กทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการจัดให้มีหลักสูตรเรื่องทักษะการเข้าสังคมเพื่อเด็กแอสเพอร์เกอร์อย่างจริงจังด้วย

นอกจากประเด็นการจัดการศึกษาที่กล่าวมาแล้วนี้ยังมีประเด็นปัญหาเรื่องการหาสถานศึกษาให้เหมาะกับความต้องการของเด็กแอสเพอร์เกอร์อีกเรื่องหนึ่งที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักจะสอบถามเข้ามายังผู้เขียนๆ จึงอยากฝากข้อแนะนำบางประการ (ซึ่งอาจจะไม่แตกต่างจากประเด็นหัวข้อที่ผู้ปกครองของเด็กปกติหาโรงเรียนใหม่ให้ลูก) ไว้พอเป็นสังเขป ดังนี้

1. ให้พิจารณาเลือกโรงเรียนที่มีขนาดเล็กแทนโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่เพราะโรงเรียนขนาดเล็กมักจะดูแลเอาใจใส่เด็กได้ทั่วถึงกว่าโรงเรียนใหญ่ ๆ และมีชื่อเสียงโด่งดัง

โดยทั่วไปเด็กแอสเพอร์เกอร์ไม่จำเป็นต้องเข้าเรียนในโรงเรียนพิเศษเฉพาะทาง หรือสถานบำบัดแต่ควรจะส่งเข้าโรงเรียนปกติที่เปิดรับเด็กพิเศษเข้าเรียนปกติที่เปิดรับเด็กพิเศษเข้าเรยนร่วมชั้นกับเด็กอื่น ๆมากกว่า และไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นโรงเรียนของรัฐบาลหรือเอกชนแต่ควรจะได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาอย่างถูกต้อง ขณะนี้ในต่างประเทศ (อังกฤษ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฯลฯ) มีโรงเรียนที่เปิดรับเฉพาะเด็กแอสเพอร์เกอร์เข้าเรียนอยู่หลายโรงซึ่งจุดมุ่งหมายของทางโรงเรียนคือมุ่งเน้นที่จะสอนหรือปรับพฤติกรรมทางสังคมและภาษาของเด็กให้ดีขึ้นก่อนที่จะส่งออกไปเรียนร่วมกับเด็กปกติในโรงเรียนอื่น ๆ จากการที่ผู้เขียนได้อ่านสมุดภาพ และผลการดำเนินงานของโรงเรียนเฉพาะทางที่ว่านี้ ผู้เขียนมีความรู้สึก (ส่วนตัว) ว่าอาจจะเหมาะกับเด็กแอสเพอร์เกอร์ที่ยังไม่สามารถปรับตัวในเรื่องต่าง ๆ ได้ดีเท่าที่ควร กล่าวคือ เด็กยังมีปัญหาในเรื่องทางสังคม เช่นไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับคนหมู่มากได้หรือไม่สามารถทนฟังเสียงอึกทึกที่มาจากการเล่นของเด็กในโรงเรียนได้ หรือไม่สามารถเรียนร่วมกับเด็กอื่น ๆ ในชั้นเดียวกันได้ (อาจจะเรียนเร็วกว่า) เป็นต้น ดังนั้น เด็กเหล่านี้จะประสบความสำเร็จได้ดีกว่าหากได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากโรงเรียนประภทนี้เพราะจะมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางคอยช่วยเหลือแนะนำตลอดเวลาและจะจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะกับศักยภาพที่แท้จริงของเด็กแต่ละคน แต่ข้อเสียก็คือเด็กจะไม่เห็นหรือไม่ได้รับแบบอย่างจากเด็กปกติซึ่งก็ถือเป็นเรื่องสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เด็กควรจะได้มีโอกาสเรียนรู้จากการอยู่ปะปนกับเด็กอื่น อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจเลือกว่าโรงเรียนประเภทใดจะเหมาะสมกับลูกของท่านแค่ไหนก็คงจะเป็นเรื่องที่บุคคลในครอบครัวต้องช่วยกันพิจารณาต่อไป



2. ผู้บริหารหรืออาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนนั้นให้ความสำคัญในเรื่อง การจัดการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กพิเศษแต่ละคน


3. ผู้บริหารหรืออาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนนั้นแสดงการต้อนรับและแสดงความเต็มใจที่จะช่วยเหลือเด็กโดยยินดีที่จะพูดคุยกับผู้ปกครองในประเด็นความช่วยเหลือต่างๆ (ถึงแม้ว่าอาจจะยังไม่เคยได้ยินหรือไม่มีความรู้ในเรื่องแอสเพอร์เกอร์ซินโดรมมาก่อนก็ตาม)


4. อัตราส่วนนักเรียนต่อครูต่อชั้นไม่มากจนเกินไปจนครูไม่สามารถดูแลเอาใจใส่เด็กได้ทั่วถึง (จำนวนนักเรียนประมาณ 15-18 คน : ครู 1 คน)


5. ตัวอาคารโรงเรียนควรอยู่ห่างจากถนนใหญ่พอที่จะไม่ได้ยินเสียงรถในขณะที่มีการเรียนการสอน


6. สถานที่ตั้งของโรงเรียนควรอยู่ในที่ ๆ ปลอดภัย ไม่ได้อยู่ห่างไกลจากแหล่งชุมชนมากนักและผู้ปกครองสามารถไปรับ ส่งได้สะดวก


7. โรงเรียนสะอาด มีรั้วรอบขอบชิด มีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ดีเพียงพอ มีบริเวณให้เด็กได้วิ่งเล่น ทำกิจกรรมและพักผ่อนตามสมควร


8. คุณสมบัติของครูที่จะดูแลเด็กควรจะเป็นครูที่มีความตั้งใจดี มีพื้นฐานจิตใจโอบอ้อมอารี ไม่เข้มงวดจนเกินไป เป็นคนใจกว้าง มีอารมณ์ขัน ยอมรับฟังความเห็นของผู้ปกครองและยินดีที่จะศึกษาเรื่องแอสเพอร์เกอร์ซินโดรมเพิ่มเติม ถึงแม้ว่าจะไม่ได้จบวิชาการศึกษาพิเศษมาก่อนก็ตาม


9. มีสื่อการเรียนการสอนและอุปกรณ์ที่จำเป็นเพียงพอกับจำนวนนักเรียน


10. มีบริการเสริมสำหรับเด็กพิเศษ เช่น บริการแก้ไขการพูด บริการให้คำปรึกษาแนะแนว บริการในห้องสอนเสริม เป็นต้น


บทบาทของครูต่อเด็กแอสเพอร์เกอร์

ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งในการปรับสภาพความบกพร่องของเด็กให้กระเตื้องขึ้น ถึงแม้เด็กแอสเพอร์เกอร์จะมีจุดอ่อนและจุดเด่นที่แตกต่างกันและมีความต้องการการช่วยเหลือที่หลากหลายไม่เท่ากันแต่เขาก็แสดงปัญหาพื้นฐานหลัก ๆ ที่ละม้ายคล้ายคลึงกัน นั่นคือ ความบกพร่องใน 8 ประเด็นหลัก ๆ ที่กล่าวมาโดยละเอียดในตอนต้นแล้ว ดังนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่ายิ่งที่ครูจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเพียงพอในเรื่อง “ปัญหาพื้นฐาน” เหล่านั้น ในขณะเดียวกันก็ต้องศึกษา “จุดเด่นและจุดอ่อนและระดับความสามารถทางสติปัญญา” ของเด็กเหล่านี้ควบคู่กันไปด้วย หากครูเข้าใจธรรมชาติของเด็กแล้วการช่วยเหลือเด็กให้ไปได้ดีและถูกทางจึงไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ยากเกินความเป็นจริง ฉะนั้นบทบาทของครูจึงน่าจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยการอุ่นเครื่องตัวเองให้พร้อมก่อนที่จะได้สอนเด็ก วิะที่น่าจะดีและทำได้ทันทีคือการหาหนังสือเรื่องแอสเพอร์เกอร์ซินโดรมมาอ่านให้มาก ๆ และสม่ำเสมอหรือเข้ารับการฝึกอบรม สัมมนาเพื่อรับข้อมูลและเทคนิคในการบริหารจัดการเพิ่มเติม ผู้เขียนมั่นใจว่าหากครูกระตือรือร้นทำดังที่กล่าวนี้ ผลสัมฤทธิ์จะต้องเกิดขึ้นกับเด็กอย่างเห็นได้ชัดแน่นอน




 

Create Date : 01 กันยายน 2549    
Last Update : 1 กันยายน 2549 21:05:11 น.
Counter : 429 Pageviews.  

บทบาทของพ่อ แม่ และบุคคลในครอบครัวของเด็กแอสเพอร์เกอร์

พ่อ แม่ และบุคคลในครอบครัวของเด็กแอสเพอร์เกอร์ถือเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากและเป็นกำลังหลักในชีวิตเด็ก เขาจะก้าวหน้าไปได้อย่างไรในทิศทางใดและได้มากน้อยเพียงใดคงขึ้นอยู่กับความร่วมแรงร่วมใจและความพยายามของสมาชิกทุกคนในครอบครัวพื้นฐาน อันที่จริงคงอาจจะเป็นเรื่องยากที่จะให้พ่อ แม่หรือญาติผู้ใหญ่ยอมรับ “สภาพความบกพร่อง” ของเด็กในทันทีและคงจะเป็นเรื่องยากที่จะจูงใจให้ผู้ปกครองลืมความทุกข์โศกนั้นในชั่วระยะข้ามคืน ผู้เขียนในฐานะมารดาของเด็กแอสเพอร์เกอร์คนหนึ่งเข้าใจและรู้สึกเห็นใจทุก ๆ ท่านที่ต้องเผชิญกับวิกฤตชีวิตในครั้งนี้ แต่อยากขอวิงวอนท่านว่าไม่ควรจะเสียเวลากับการทำใจยอมรับหรือจมอยู่กับความโศกเศร้าเสียใจนานจนเกินไปจนลืมนึกถึงเวลาและโอกาสที่มีค่าที่ท่านจะนำมาคิดวางแผนช่วยเหลือกอบกู้ ฟื้นฟูสภาพความบกพร่องของเขาให้กลับมาดีใกล้เคียงกับเด็กปกติทั่วไปโดยเร็วที่สุด ผู้เขียนเห็นด้วยและสนับสนุนคำกล่าวที่ว่า ถ้าจะให้การช่วยเหลือได้ประสิทธิผลดีสูงสุด ผู้ปกครองควรจะต้องเริ่มทำทันทีที่รู้ว่าเด็กผิดปกติ เข้าทำนอง ยิ่งรู้ตัวเร็วยิ่งดี ฉะนั้น จึงอยากขอให้ทุกท่านอย่างได้ปล่อยให้เวลาที่มีค่าและความหมายนี้หลุดลอยไปโดยเปล่าประโยชน์ จงเริ่มต้นเสาะแสวงหาความรู้ในเรื่องแอสเพอร์เกอร์ซินโดรมและวิธีการช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรมให้มาก ๆ ผู้เขียนขอส่งกำลังใจและขออวยพรให้ท่านประสบความสำเร็จในความพยายามครั้งนี้

เทคนิคที่ควรและไม่ควรปฏิบัติสำหรับผู้ปกครอง

1. หมั่นศึกษาหาความรู้ในเรื่องกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ให้มากขึ้น เช่น จากจดหมายข่าวเพื่อบุคคลแอสเพอร์เกอร์ (จัดทำทุก 2 เดือนเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการและแนวทางการช่วยเหลือสำหรับ พ่อ แม่ ผู้ปกครองและครู นอกจากนี้ก็ยังมีการลงสรุปข่าวการจัดฝึกอบรมสัมมนาเพื่อผู้ปกครองที่ทางชมรมฯจัดเป็นระยะ ๆ ด้วย หากท่านใดสนใจต้องการสมัครเป็นสมาชิกชมรมฯ ขอให้ดูรายละเอียดในตอนท้ายของหนังสือเล่มนี้) จากตำราที่แต่งโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้โดยเฉพาะ (รายละเอียดอยู่ในภาคผนวก) จากทางอินเตอร์เน็ทหรืออาจจะพูดคุยขอคำแนะนำจาก พ่อ แม่ ที่มีประสบการณ์ตรงกับลูกและจากครูการศึกษาพิเศษประจำโรงเรียน เป็นต้น ในขณะนี้การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องแอสเพอร์เกอร์ซินโดรมไม่ได้มีจำกัดอยู่แต่เพียงโรงพยาบาลเท่านั้นแต่ได้แพร่หลายออกไปในสถานศึกษาทั่วประเทศ ฉะนั้นขอให้ท่านลองสอบถามจากสถานศึกษาของลูกท่านหรืออาจจะเขียนมาสอบถามโดยตรงที่ชมรมเพื่อบุคคลแอสเพอร์เกอร์ตามรายละเอียดที่อยู่ในตอนท้ายของหนังสือเล่มนี้


2. พยายามวิเคราะห์และทำความเข้าใจปัญหาพฤติกรรมแต่ละอย่างของลูกให้รอบคอบเพื่อที่ท่านจะแก้ไขได้อย่างถูกวิธี


3. ขอให้พึงระลึกไว้เสมอว่าพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ เหล่านั้นหาได้เกิดจากความตั้งใจกระทำของลูกไม่ แต่เป็นเพราะสาเหตุ “ความบกพร่องหรือความไม่ปกติ” ที่ติดตัวเขามาตั้งแต่กำเนิด


4. ไม่ควรใช้อารมณ์เข้าจัดการสลายพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเหล่านั้นแต่ขอให้ใช้ความอดทน ความรัก และความเมตตาเป็นเครื่องนำสติให้กับตัวเองเสมอ


5. ควรวางแผนนำการช่วยเหลือให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นมากที่สุด ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวโดยใช้หลักการพัฒนาเด็กปกติเป็นเกณฑ์


6. ควรมีความมุ่งมั่น มีเจตนาแน่วแน่ที่จะพัฒนาฝึกฝนลูกให้ก้าวหน้าใกล้เคียงกับเด็กปกติคนอื่น ๆ (ถึงแม้จะใช้เวลานานก็ตาม)


7. ควรเคารพในสิทธิอันพึงมีพึงได้ของเขาเหมือนกับที่พี่ น้องคนอื่น ๆ ได้รับ


8. ไม่ควรเปรียบเทียบความสามารถของเขากับสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัว


9. ไม่ควรคาดหวังสูงเกินไปแต่ควรตั้งความหวังให้ใกล้เคียงกับความสามารถของเขา และสนับสนุนให้เขาไปให้ได้หรือไปให้ถึงสิ่งที่ตั้งใจไว้


10. ควรเสริมสร้างกำลังใจและบรรยากาศของความเอื้ออาทรให้เกิดขึ้นกับสมาชิกทุกคน


11. ควรกลับวิกฤตให้เป็นโอกาสโดยหันมาศึกษาเรื่องแอสเพอร์เกอร์ซินโดรมอย่างจริง ๆ จัง ๆ


12. ควรระลึกไว้เสมอว่า คนเราทุกคนต่างก็มีปัญหาของตัวเองด้วยกันทั้งสิ้นไม่มีใครเกิดมาและไม่เคยเผชิญกับปัญหาเลย ฉะนั้น เราควรจะใช้เวลาคิดถึงแผนการแก้ไขปัญหานั้นอย่างสร้างสรรค์


13. ควรมองโลกในแง่ดีไว้ก่อน หมั่นทำจิตใจให้สดใสอยู่เสมอเพราะถ้าท่านเป็นบุคคลที่มีอารมณ์แจ่มใสมั่นคงตลอดเวลาแล้ว ลูกของท่านก็จะเป็นเด็กที่มีสุขภาพจิตดีตามไปด้วย


14. สนับสนุนให้ลูกได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ หรือรับผิดชอบดูแลงานทางบ้านอย่างเต็มความสามารถเพื่อให้เขารู้สึกว่าเขามีคุณค่ากับคนอื่นเช่นกัน


15. ควรแสดงออกถึงความรัก ความภูมิใจที่มีต่อเขาอย่างเป็นรูปธรรม เช่น กอด ลูบศีรษะ ตบมือ เอ่ยคำชม ฯลฯ


16. ควรพาเขาออกสู่สังคมบ้างตามโอกาสเพื่อให้เขาได้เรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับคนหมู่มาก


17. อย่าปล่อยให้อารมณ์เศร้า เสียใจ ผิดหวังมาทำลายความมุ่งมั่น พยายามของท่าน


18. อย่าปล่อยให้ความเครียดครอบงำจิตใจจนถึงขั้นล้มป่วย


19. หาเวลาพักผ่อนสำหรับตัวเองบ้างโดยไม่ควรรับบท “อัศวินม้าขาว” อยู่เพียงลำพัง


20. อย่าฝืนทำในสิ่งที่เกินกำลังกาย ใจและสติปัญญา บางครั้งบางคราวเราอาจจะต้องปล่อยให้สิ่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างนั้นก่อนและค่อยกลับมาเริ่มใหม่อีกครั้งหนึ่ง


21. ควรยอมรับว่าไม่มีอะไรในโลกนี้ที่จะทำสำเร็จได้ในข้ามคืน กรุงโรมมิได้สร้างให้เสร็จได้ในหนึ่งวันฉันใด อาการแอสเพอร์เกอร์ก็ไม่สามารถจะแก้ไขให้ดีขึ้นได้เพียงข้ามคือฉันนั้น




 

Create Date : 01 กันยายน 2549    
Last Update : 1 กันยายน 2549 21:02:23 น.
Counter : 450 Pageviews.  

1  2  3  

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.