ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง

ครม.เงาผิดรัฐธรรมนูญโทษหนักถึงยุบปชป. นักกฎหมายฟันธงเถื่อนต่างจากแม่แบบอังกฤษ

ที่มา : Websiteของคณิน บุญสุวรรณ
7 กันยายน 2554

นายคณิน บุญสุวรรณ เขียนบทความลงในเวบไซต์ คณิน บุญสุวรรณ
//www.kaninboonsuwan.com/article/detail.php?id=68
โดยเตือนว่าการที่พรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาลเงา หรือครม.เงานั้น ผิดกับต้นแบบอังกฤษถึง 4 ประเด็น จึงเข้าข่ายกระทำผิดกฎหมาย ซึ่งมีโทษถึงยุบพรรคและถอดถอนจากตำแหน่งส.ส.

ทั้งนี้นายคณินกล่าวว่า คำว่า “ครม. เงา” แปลมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า “Shadow Cabinet” เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทางการเมืองในระบบรัฐสภาของประเทศอังกฤษ ชื่อเต็มๆ ของ Shadow Cabinet ดังกล่าว คือ The Official Loyal Opposition Shadow Cabinet แปลเป็นไทยได้ว่า คณะรัฐมนตรีเงาของฝ่ายค้านในสมเด็จพระราชินี ซึ่งประกอบด้วย ส.ส. อาวุโสของฝ่ายค้านในสมเด็จพระราชินี มีหน้าที่ในการตรวจสอบการทำงานของฝ่ายรัฐบาล พิจารณาและเสนอแนะนโยบายที่แตกต่างออกไปจากของฝ่ายรัฐบาล รวมทั้งการควบคุมให้ฝ่ายรัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อการกระทำที่ผิดพลาดของตน

นับตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นมา พรรคแรงงาน เป็นฝ่ายค้านในสมเด็จพระราชินี และหัวหน้าพรรคก็เป็นผู้จัดตั้ง ครม.เงา ขึ้นมา องค์ประกอบ ครม. เงา ของประเทศอังกฤษ โดยปกติแล้ว ประกอบด้วย ส.ส. อาวุโสสูงสุด ในซีกฝ่ายค้านประมาณ ๒๐ คน ใน ครม. เงา ของอังกฤษ นั้น มีเพียงผู้นำฝ่ายค้าน ประธานวิปฝ่ายค้าน และรองประธานวิปฝ่ายค้าน เท่านั้น ที่ได้รับค่าตอบแทนในฐานะที่เป็น ครม. เงา นอกเหนือจากเงินประจำตำแหน่งในฐานะ ส.ส. นอกนั้น ไม่ได้รับเงินค่าตอบแทนใดๆ

เมื่อพรรคแรงงานหรือ เลเบ้อร์ปาร์ตี้ (Labour Party) ของประเทศอังกฤษ เป็นฝ่ายค้าน ครม. เงา ประกอบด้วย อดีตสมาชิกอาวุโส จำนวน ๕ คน และ ส.ส. อีกจำนวน ๑๙ คน ที่ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ ส.ส. ของพรรคแรงงาน โดยผู้นำฝ่ายค้านเป็นผู้แต่งตั้งรัฐมนตรีเงาของแต่ละกระทรวง และตั้งวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๑๑ เป็นต้นมา ครม. เงา ของประเทศอังกฤษ ประกอบด้วย ส.ส. เอ็ด มิลลิแบนด์ (Ed Milliband) ผู้นำฝ่ายค้านในสมเด็จพระราชินี ในฐานะหัวหน้าพรรคแรงงานเป็นหัวหน้า รองหัวหน้าพรรคในฐานะรองผู้นำฝ่ายค้าน คือ ส.ส. Harriet Harman เป็นรัฐมนตรีเงา กระทรวงการพัฒนาการระหว่างประเทศ ส.ส. Ed Balls เป็นรัฐมนตรีเงากระทรวงการคลัง และ ส.ส. Douglas Alexander เป็นรัฐมนตรีเงากระทรวงการต่างประเทศและกิจการเครือจักรภพ เป็นต้น นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของอังกฤษ คือ David Cameron ก็เคยเป็นผู้นำฝ่ายค้านและหัวหน้า ครม. เงา มาก่อน และในจำนวน ครม.เงา ที่มี Ed Milliband เป็นหัวหน้า นั้น ก็มีรัฐมนตรีเงาที่มาจากสภาขุนนางรวมอยู่ด้วย จำนวน ๓ คน ได้แก่ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาขุนนาง ประธานวิปฝ่ายค้านในสภาขุนนาง และรัฐมนตรีเงากระทรวงยุติธรรมกำกับดูแลเรื่องเกาะอังกฤษและเวลส์ นอกจากนั้น ยังมีประธาน ส.ส. พรรคแรงงานร่วมอยู่ด้วย

ทีนี้ ลองหันมาดู ครม. เงา ของไทย ที่จัดตั้งกันไปอย่างอึกทึกครึกโครม ทำราวกับว่าเป็นเรื่องที่ “เท่” เสียเต็มประดา นั้น ดูเหมือนว่าจะตั้งขึ้นในเวลาเดียวกับคณะรัฐมนตรีจริง ที่มี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี และนัยว่าจะลอกเลียนแบบมาจาก ครม. เงา ของอังกฤษ ที่กล่าวไปแล้วข้างต้น นั่นแหละ นี่ถ้าหากเพิ่งมี ครม. เงา ในสมัยที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร แล้ว ก็คงต้องพูดว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นต้นแบบ เหตุเพราะ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เติบโตและเรียนจบมาจากประเทศอังกฤษ แต่บังเอิญที่ว่า ครม. เงา นี้ มีมาหลายยุคหลายสมัยแล้ว และถ้าจำไม่ผิดดูเหมือนว่า ทุกครั้งที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้าน ก็จะตั้ง ครม. เงา ขึ้นมา เพราะอย่างน้อยที่สุดก็เรียกเสียงฮือฮาและเป็นข่าวทางสื่อมวลชนได้หลายวัน หลังจากที่เพิ่งแพ้เลือกตั้งไปหยกๆ

แต่เอาเป็นว่า กล่าวโดยเฉพาะเจาะจง ครม. เงา ที่มี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้าพรรค นั้น แตกต่างไปจาก ครม. เงา ของประเทศอังกฤษอยู่หลายประการทีเดียว ดังจะกล่าวต่อไปนี้

ประการที่หนึ่ง ครม. เงา ของประเทศอังกฤษ มีรัฐธรรมนูญรองรับอย่างเป็นกิจจะลักษณะ และที่สำคัญ เป็น ครม. เงา ในสมเด็จพระราชินี แต่ ครม. เงา ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่มีอะไรรองรับเลย ไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หรือแม้แต่ข้อบังคับการประชุมสภา

ประการที่สอง ครม. เงา ของประเทศอังกฤษ ตั้งขึ้นภายหลังการเข้ารับตำแหน่ง “ผู้นำฝ่ายค้านในสภาสามัญ” เรียบร้อยแล้ว และผู้นำฝ่ายค้าน นั่นแหละ จะเป็นผู้ตั้ง ครม. เงา ในสมเด็จพระราชินี ส่วน ครม. เงา ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้น ตั้งขึ้นตั้งแต่ไก่โห่ โดยที่ยังไม่มีแม้แต่ตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

ประการที่สาม คณะรัฐมนตรีเงาของประเทศอังกฤษ มีผู้ได้รับเงินตอบแทนจากการทำหน้าที่นอกเหนือจากเงินประจำตำแหน่ง ส.ส. ได้แก่ ตัวผู้นำฝ่ายค้านเองในฐานะหัวหน้า ครม. เงา ประธานวิปฝ่ายค้าน และรองประธานวิปฝ่ายค้าน ในขณะที่ ครม. เงา ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่มีใครได้เงินเดือนเลยสักคน เพราะเป็นตำแหน่งเถื่อนกันทุกคน จะเรียกว่า ครม. นอกทำเนียบ ก็คงจะได้

ประการที่สี่ ครม. เงา ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่มีบุคคลภายนอกมาร่วมใน ครม. เงา แต่ ครม. เงา ของอังกฤษ มีสมาชิกสภาขุนนางในซีกฝ่ายค้านมาร่วมอยู่ด้วย ๓ คน

จากข้อเปรียบเทียบ ทั้ง ๔ ข้อ ระหว่าง ครม. เงา ของอังกฤษ กับ ครม. เงา ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ก็สรุปได้ว่า ครม. เงา ซึ่งมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้า นั้น เป็นการอุปโลกน์ขึ้นมาเอง โดยไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายรองรับ โดยมีเจตนาที่จะจับผิดคณะรัฐมนตรีจริงเพียงอย่างเดียว ดังนั้น จึงน่าจะเรียกว่า ครม. นอกทำเนียบ หรือ ครม. เถื่อนมากกว่า หรือไม่อีกทีก็น่าจะเรียกว่า ครม. หลงเงาก็ได้ เพราะแทบจะทุกคนที่อยู่ใน ครม. เงา ล้วนเคยเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดที่แล้ว ทั้งสิ้น ดังนั้น จึงอาจเป็นไปได้ว่า เป็นพวกที่ยังหลงเงาตัวเองอยู่

เพราะมันคงจะฟังดูตลกพิลึกน่าดู ถ้าหากมาตั้งกติกานอกรัฐธรรมนูญกันเอาเองว่า ถ้าพรรคใดชนะเลือกตั้งก็ตั้ง ครม. จริง แต่ถ้าแพ้เลือกตั้ง ก็ตั้ง ครม. เงา

ทำอะไรอย่างอื่นไม่เป็นกันแล้วหรืออย่างไร ?

ระวังให้ดีเถอะ มัวแต่จะจ้องเล่นงานคนอื่นเขา ทั้งๆ ที่เขายังไม่ได้เริ่มต้นทำงานเลย ระวังให้ดีเถอะ ทั้งหัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรค และ ส.ส. ทั้งหมดของพรรค จะเจอข้อหา “จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย” ซึ่งอาจถูกยื่นถอดถอนออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ ๒๗๑ โทษฐานตั้ง ครม. เงา โดยไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายรองรับ แถมยังอาจเข้าข่ายความผิดตามมาตรา ๙๔ (๓) ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ โทษฐานกระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีโทษถึงขั้นส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค มีกำหนดห้าปี อีกด้วย
ตอนเป็นรัฐบาลมีบางคนได้รับสมญานามว่า “ดีแต่พูด” แต่พอเป็นฝ่ายค้าน คนคนเดียวกันอาจได้สมญานามใหม่ คือ “ดีแต่พล่าม” พล่ามจนได้เรื่อง ว่าอย่างนั้นเถอะ

นพดล ปัทมะ ยันอีกรายครม.เงามาร์คต่างจากแม่แบบอังกฤษ!

ทางด้านนายนพดล ปัทมะ เขียนลงในเฟสบุ๊คว่า อังกฤษที่เป็นแม่แบบประชาธิปไตย เขาก็ไม่เคยเรียกฝ่ายค้านว่ารัฐมนตรีเงาเหมือนที่บ้านเราทำ แต่จะใช้คำว่าโฆษกแทน เช่น ในขณะที่ ปชป ตั้ง รัฐมนตรีการศึกษาเงา ในประเทศอังกฤษจะใช้คำว่า Education spokesman แปลว่า โฆษกด้านการศึกษา ความแปลกประหลาดจึงเกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย ที่ยังสับสนว่าคุณอภิสิทธิ์จะนั่งควบสองตำแหน่ง คือผู้นำฝ่ายค้าน ตามรัฐธรรมนูญ แต่ ปชป ตั้งให้เป็น นายกเงา ฟังแล้วสับสนอลหม่านดีแท้ๆ




 

Create Date : 07 กันยายน 2554    
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2555 14:28:18 น.
Counter : 1272 Pageviews.  

คำสาบแช่งจากหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ในช่วงรัฐประหาร2490

คำสาปจากหลวงธำรงค์ ฯ โดยมหาชำร่วย


นี่เป็นเรื่องเล่าที่ไม่ค่อยจะแพร่หลายนัก และเป็นการอ้างว่าเรื่องราวทั้งหมดนับจากนี้เป็นเรื่องที่ได้มาจากการบอกเล่าของอดีตนักหนังสือพิมพ์ท่านหนึ่ง ที่บังเอิญได้อยู่ในเหตุการณ์ระหว่างที่คณะรัฐประหาร 2490 เตรียมเข้าจับกุมหลวงธำรงค์ นาวาสวัสดิ์
ผมไม่ยืนยันว่าทั้งหมดนี้จะเป็นเรื่องจริงหรือเท็จ และขอให้พวกเราอ่านด้วยวิจารณญาณและกรุณาวิจารณ์ด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากหลายท่านที่มีส่วนในเรื่องราวนี้ได้ถึงแก่อสัญกรรมไปแล้วครับ

เหตุการณ์เริ่มขึ้นในเดือน ต.ค. 2490 กลุ่มนายทหารซึ่งประกอบด้วย น.อ.กาจ เก่งระดมยิง, พ.ท.ก้าน จำนงภูมิเวท, ร.อ.ขุนปรีชารณเสฏฐ์, พ.อ.ศิลป์ รัตนพิบูลย์ชัย ได้ไปชักชวนให้ พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากหลวงธำรงค์ นาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น แต่ อ.ปรีดี ซึ่งเป็นพันธมิตรกับหลวงธำรงค์ ฯ ได้ระแคะระคายถึงเรื่องนี้และได้วางแผนกับหลวงธำรงค์ ฯ เพื่อเข้าจับกุมคณะผู้ก่อการรัฐประหารในเช้ามืดของวันที่ 9 พ.ย. 2490
แต่เรื่องจริงกลับเป็นเสียยิ่งกว่านิยาย .. ข่าวการเตรียมการจับกุมคณะผู้ก่อการ ฯ ก็ได้รั่วไปถึงกลุ่มของพล.ท.ผิน ชุณหะวัณ เช่นกัน ทางกลุ่มคณะรัฐประหารจึงต้องชิงลงมือก่อน โดยบุกเข้ายึดอำนาจในคืนวันที่ 7 พ.ย. 2490 ก่อนหน้าแผนของรัฐบาล 2 วัน คณะทหารกลุ่มนึงได้ไปควบคุมตัว อ.ปรีดี แต่ อ.ปรีดีได้หลบหนีไปก่อนหน้าแล้ว ขณะที่ทหารอีกส่วนหนึ่งได้มุ่งหน้าไปจับกุม หลวงธำรงค์ ฯ ที่สวนอัมพร

ทำไมต้องเป็นสวนอัมพร ?
คืนวันที่ 7 พ.ย. 2490 นั้น พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดงานราตรีการกุศล “เมตตาบันเทิง” ขึ้นที่สวนอัมพร หลวงธำรงค์ ฯ ได้เป็นแขกรับเชิญของนายควง และในคืนนั้นได้เกิดปรากฏการณ์พิเศษขึ้น โดยหลวงธำรงค์ ฯ และนายควง ผู้ซึ่งเป็นขมิ้นกับปูนอย่างถาวรได้ร่วมกันนั่งรถสามล้อถีบคันเดียวกัน ซึ่งมี ดร.โชติ คุ้มพันธุ์ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปไตย ซึ่งได้ย้ายเข้ามาเป็น ส.ส. ประชาธิปัตย์เป็นผู้ถีบรถสามล้อพาวนไปรอบสวนอัมพร แขกเหรื่อและนักข่าวที่มาร่วมงานต่างก็ยินดี คิดว่าทั้งสองขั้วคงจะประสานกันได้แล้วแต่ไม่ทันจะได้เต้นรำ นายทหารเรือคนสนิทของหลวงธำรงค์ ฯ ได้เข้ามากระซิบว่าคณะรัฐประหารกำลังจะเข้ามาจับกุมตัวหลวงธำรงค์ ฯ ขอให้หลบหนีไปเสียแต่ตอนนี้
เมื่อหลวงธำรงค์ได้ทราบข่าวนี้ ท่านก็ปักใจในทันทีว่านายควง อภัยวงศ์ ต้องมีส่วนรู้เห็นกับคณะรัฐประหาร และร่วมลวงให้ท่านมาถูกจับที่สวนอัมพรซึ่งเป็นการสะดวกสำหรับคณะรัฐประหารเนื่องจากไม่มีกองกำลังของรัฐบาลคอยอารักขาท่าน

ไคลแมกซ์ของเรื่องนี้อยู่ตรงช่วงเสี้ยวของนาทีก่อนที่หลวงธำรงค์ ฯ จะหลบหนีจากสวนอัมพร มีนักข่าวจากหนังสือพิมพ์การเมืองรายสัปดาห์ได้ยินหลวงธำรงค์ ฯ หันมากล่าวกับนายควง ก่อนที่จะจากไปว่า


“ผมเสียใจที่เราทั้งสองไม่มีโอกาสจะร่วมกันสร้างชาติให้วัฒนาต่อไปได้และผมไม่เคยคิดว่านักการเมืองที่ทรงเกียรติอย่างท่านจะมีเล่ห์กลมากมายอย่างนี้ ผมไม่เสียดายในตำแหน่งของผมแม้แต่น้อย แต่ผมเสียดายที่ประเทศของเราไม่มีโอกาสให้ประชาธิปไตยได้อยู่บนแผ่นดินนี้นานนักและผมชิงชังเหลือเกินกับผู้ที่มุ่งหาประโยชน์ใส่ตัวด้วยการหักหลังและตระบัดสัตย์ที่เคยให้ไว้แก่ประชาชน ผมขอสาปแช่งทุกคนที่มีส่วนทำให้ประชาชนและแผ่นดินนี้ต้องย้อนกลับไปสู่อำนาจศักดินาที่กดขี่และตักตวงมันผู้ใดคิดคดทรยศต่อประชาชนเพื่อหวังในอำนาจบารมี ผมขอให้มันมีอันเป็นไปต้องทุกข์ทรมานด้วยสิ้นลมก่อนจะสิ้นใจ และพบกับความวิบัติจัญไร ล่มสลายไปด้วยน้ำมือของประชาชนภายใน 7 ชั่วคน”


นั่นคือบันทึกถ้อยคำสุดท้ายของหลวงธำรงค์ นาวาสวัสดิ์ ที่นักข่าวท่านนั้นบันทึกไว้ก่อนที่หลวงธำรงค์ ฯ จะหลบหนีไปลี้ภัยที่ฮ่องกง
ผมไม่ทราบว่าคำสาปแช่งของหลวงธำรงค์ ฯ ท่านจะเป็นจริงขึ้นมาหรือไม่แต่ก็ให้น่าแปลกใจที่ในเวลาต่อมา นายควง อภัยวงศ์ ได้ถึงแก่อสัญกรรมลงในวัย 66 ปี ด้วยโรคทางเดินหายใจขัดข้อง
ท่านต่อมาก็ได้แก่ มรว.เสนีย์ ปราโมช ซึ่งเชื่อกันว่าท่านมีส่วนในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ”ใต้ตุ่ม” ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่คณะรัฐประหาร 2490 ได้นำออกประกาศใช้หลังจากที่ได้ทำรัฐประหารสำเร็จ ซึ่งในเวลาต่อมาท่าน มรว. เสนีย์ ปราโมช ป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังอยู่นานหลายปี และได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกรุงเทพ จนถึงแก่อสัญกรรมในวัย 92 ปี ด้วยโรคถุงลมโป่งพอง

ยังมีอีกหลายเหตุการณ์ที่ฟังแล้วดูเหมือนจะสอดคล้องและทำให้อดคิดไม่ได้ว่าอำนาจความเคียแค้นที่รุนแรงจนกลายเป็นคำสาปแช่งนั้น อาจจะมีอยู่จริงและยังคงดำเนินต่อไปอย่างซื่อสัตย์จนทุกวันนี้ และที่ใกล้ตัวเราที่สุดในขณะนี้ก็ได้แก่ เรื่องอนาคตของพรรคประชาธิปัตย์เองซึ่งดำเนินงานทางการเมืองผิดพลาดจนเป็นเหตุให้ประชาชนจำนวนไม่น้อยเกลียดชังและเบื่อหน่ายกับรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์ รวมทั้งคดียุบพรรคที่กำลังดำเนินอยู่ถึง 2 คดีไล่เลี่ยกันทำให้อนาคตของพรรคประชาธิปัตย์เริ่มอยู่บนความไม่แน่นอน และสิ่งที่ผมอยากจะเรียนให้พวกเราจับตาดูในเรื่องนี้เป็นพิเศษก็คือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 7 !!

ผมจึงอดขนลุกไม่ได้กับประโยคสุดท้ายในคำสาปแช่งของหลวงธำรงค์
.. “และพบกับความวิบัติจัญไรล่มสลายไปด้วยน้ำมือของประชาชนภายใน 7 ชั่วคน” ..




 

Create Date : 11 พฤศจิกายน 2553    
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2553 4:52:22 น.
Counter : 831 Pageviews.  

นิธิ เอียวศรีวงศ์ ถูกหรือผิด "ประชาธิปัตย์จึงควรถูกยุบไปตั้ง 60 ปีแล้ว"

เป็น Topic ที่ถูกโยนออกมาจาก อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการที่ผมให้ความเชื่อถือและนิยมในหลักคิดของท่านและเป็น 1 ในคณะกรรมการ“ปฏิลูบ”ของนายอานันท์ ทำให้เด็ก ปชป. หลายต่อหลายคนออกมาเถียงกันระงม วันนี้เราจะมาดูกันว่า อะไรที่ทำให้อ.นิธิ เชื่ออย่างนั้น

ผมขอเท้าความกลับไปเมื่อ พ.ศ.2488 เมื่อหม่อมเสนีย์ ปราโมช ท่านได้ประกาศยุบสภาฯ เพื่อเลือกตั้งกันใหม่เนื่องจากสภา ฯ ได้ครบวาระไปแล้ว เมื่อผลการเลือกตั้งในเดือน ม.ค. 89 ออกมา ปรากฏว่าสภาได้แต่งตั้งให้นายควง อภัยวงศ์ รับตำแหน่งนายก ฯ ไป แต่หลังจากนั้นเพียง 2 เดือน สภา ฯ มีมติผ่านร่าง พรบ.ที่เรียกกันว่า พรบ.ปักป้ายข้าวเหนียว ที่เสนอโดย ส.ส.ฝ่ายค้านคนสนิทของนายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งที่จริงก็คือกฏหมายกำหนดให้ปักป้ายบอกราคาสินค้านั่นเอง แต่นายควงไม่เห็นด้วยและต้องลาออกเนื่องจากแพ้โหวตในสภาไป65 ต่อ 63

หลังจากนายควงลาออก อ.ปรีดี ก็ได้เสียงจากสภาสนับสนุนให้ขึ้นเป็นนายก ฯ แทนและได้ผลุบๆโผล่ ๆ อยู่จนถึงเดือน ส.ค. 2489 ก็ต้องลาออกไปเนื่องจากกรณีสวรรคต ประเทศไทยจึงได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ภายในเดือนเดียวกันนั้น ได้แก่ พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ หรือ หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพรรคแนวรัฐธรรมนูญและพรรคสหชีพซึ่งเป็นแนวร่วมของ อ.ปรีดี นี่แหละครับที่เป็นจุดเริ่มต้นของรอยตำหนิที่ติดตัวประชาธิปัตย์มาจนทุกวันนี้

ย้อนกลับไปดูทางด้านนายควงบ้างว่า เกิดอะไรขึ้นและดำเนินงานทางการเมืองอย่างไรบ้าง

หลังจากที่ นายควง ได้พ้นจากตำแหน่งนายก ฯ ไปตามที่ผมได้เล่าไปในตอนต้นนั้น นายควง ได้ร่วมกับนักการเมืองกลุ่มหนึ่งรวมทั้ง ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งเป็น loyalist ชนิดเข้มข้น ก่อตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2489 โดยมี นายควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรค

เมื่อวันที่ 19 - 26 พฤษภาคม 2489 พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านในขณะนั้นได้เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจยาวถึง 7 วัน 7 คืน ด้วยกล่าวหาว่าระดมส่งข้าวสารชั้นดีเทออกขายให้เมืองนอก และปล่อยให้ประชาชนไทยต้องทนกินแต่ปลายข้าว ทั้ง ๆ ที่ข้อเท็จจริงแล้วไทยเราจะต้องชดเชยการจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามให้กับอังกฤษเป็นข้าวสารจำนวน 1.5 ล้านตัน ต่อมารัฐบาลของ อ.นายปรีดี ได้เจรจาแก้ไขข้อตกลงใหม่ ทำให้ไทยสามารถเปลี่ยนจากการส่งข้าวให้อังกฤษฟรี ๆ มาเป็นการขายข้าวให้อังกฤษแทน แถมยังมีจำนวนลดลง จากเดิมถึง 3 แสนตัน โดยต้องเสร็จสิ้นภายใน 1 ปี มิฉะนั้นไทยต้องส่งข้าวให้อังกฤษโดยไม่คิดมูลค่าเหมือนเดิม
รัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ จึงต้องเร่งระดมผูกขาดการรับซื้อข้าวโดยให้ราคาไม่สูงนัก ด้วยเหตุที่เป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ใหม่ ๆ เงินทองในคลังของเรายังมีไม่มากนัก พวกคนกลางรับซื้อข้าวมันก็เลยกักตุน บ้างก็ลักลอบส่งออกเองเพราะราคาข้าวในตลาดโลก ขณะนั้นราคาสูงกว่าที่รัฐบาลรับซื้อในประเทศ เจตนาดีของ อ.ปรีดี เลยกลับกลายมาเป็นศาตราวุธให้พรรคประชาธิปัตย์นำกลับมาทิ่มแทงตัวเอง หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ทนต่อแรงกดดันทั้งจากนอกสภาและในสภาไม่ไหว แกจึงต้องลาออกไปในวันรุ่งขึ้น แต่แกก็ได้กลับมาเป็นนายก ฯ อีกครั้งนึงในวันถัดมาโดยการแต่งตั้งจากสภา ฯ ... หึหึ เอาเรื่องเหมือนกันแฮะ

ในช่วงที่ หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้กลับมาอีกครั้งนั้น บ้านเมืองระส่ำระสายมากทีเดียวครับ ทั้งสภาพเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง, การแตกคอกันของนักการเมืองต่างกลุ่ม รวมทั้งแรงกดดันจากกรณีสวรรคต เป็นช่องให้กลุ่มทหารซึ่งนำโดยพล.ท.ผิน ชุณหะวัณ, พ.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์, พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์, พ.อ.ถนอม กิตติขจร, น.อ.กาจ กาจสงคราม, พ.ท.ประภาส จารุเสถียร และ ร.อ.สมบูรณ์ หรือที่พวกเราคุ้นกันดีในนาม ชาติชาย ชุณหะวัณ นำกำลังเข้าทำรัฐประหารจนสำเร็จ

ในการรัฐประหารครั้งนี้ เราจะได้เห็นบทบาทของนายควง อภัยวงศ์ในฐานะของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการล้มล้างรัฐบาลบ้างแล้ว เล่ห์เหลี่ยมกลโกงทั้งหลายถูกนำมาใช้ลวงหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ และ อ.ปรีดี อย่างไร

แม้หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์จะกลับมาได้ก็ตาม แต่เรื่องอื้อฉาวต่าง ๆ ก็ยังไม่จบ ข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงและโด่งดังมากในคราวนั้นได้แก่ “คดีกินจอบกินเสียม” เรื่องมันมีอยู่ว่ามีการป้ายสีรัฐบาลของหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ว่าสั่งซื้อจอบเสียม เพื่อมาแจกให้ชาวนา แต่ถูกพวก ส.ส.พรรครัฐบาลแอบเอาไปขายกินเสียเอง อย่างไรก็ตาม กรณีนี้ก็ได้มีการสอบสวนในช่วงเวลาหลังรัฐประหาร 2490 แต่ก็เอาผิดใครไม่ได้เพราะหลักฐานไม่พอ

รัฐบาลของหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ต้องประสบกับมรสุมมากมาย เหตุเพราะขณะนั้นเป็นช่วงหลังสงครามโลก เศรษฐกิจของไทยอยู่ในขั้นย่ำแย่ เกิดเงินเฟ้อขึ้นสูงเป็นประวัติการ เกิดความขาดแคลนในเครื่องอุปโภคและบริโภค ประชาชนเริ่มระส่ำระสาย นอกจากนี้รัฐบาลยังโดนข่าวปล่อยในเชิงทุจริตคอรัปชั่นอยู่ตลอดเวลา ไม่เว้นแม้กระทั่งการใส่ความว่าการที่ อ.ปรีดี ได้ก่อตั้ง ธ.เอเชียขึ้นมาให้แก่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองเพื่อช่วยเหลือทางการเงินแก่มหาวิทยาลัยนั้น แท้จริงเป็นการตั้งแหล่งฟอกเงินขึ้นเพื่อรองรับเงินที่ อ.ปรีดีและกลุ่ม ส.ส.พรรคสหชีพได้มาจากการทุจริตคอรัปชั่น
ซึ่งก็อีกเช่นเคย .. คณะทหารที่พยายามจะเอาผิด อ.ปรีดีและกลุ่มของพรรคสหชีพนั้น ก็ไม่สามารถเอาผิดอะไรได้แม้แต่คนเดียวเมื่อตรวจพบว่าตัว อ.ปรีดีเองนั้นแทบจะไม่มีเงินเลย และกลุ่มส.ส. สหชีพนั้น นอกจากจะไม่มีเงินแล้ว ยังเป็นหนี้จำนวนมากอีกด้วย

ทายสิครับ .. ใคร ไอ้ตัวไหนที่มันอยู่เบื้องหลังการป้ายสีครั้งนี้และครั้งอื่น ๆก่อนหน้านี้ รวมทั้งการที่ว่าจ้างคนให้ไปตะโกนในโรงหนังว่า ““ปรีดีฆ่าในหลวง” สารเลวได้คลาสสิคมาก

สาเหตุอีกประการนึงที่ทำให้เกิดการรัฐประหารในครั้งนั้น ก็คือการที่ อ.ปรีดี ใจดีพยายามจะประนีประนอมกับกลุ่มอำนาจเก่าที่เรียกกันว่า “กลุ่มนิยมเจ้า” ยอมปล่อยนักโทษกบฎ ทำให้ฝ่ายนิยมเจ้าเริ่มเกาะกลุ่มกันอีกครั้งหนึ่ง และต่อมาในปี 2489 กลุ่มนิยมเจ้าร่วมกับพวกขุนนางเก่า ก็จัดตั้งพรรคประชาธิปัตย์ขึ้น โดยมี ควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้า ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นรองฯ และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นเลขาธิการพรรค

พรรคประชาธิปัตย์นี้แหละครับที่กลายมามีบทบาทในการบริหารประเทศภายหลังจากการรัฐประหารในครั้งนั้น .. พวกเราอ่านช้า ๆ นะครับ ทำความเข้าให้ดี ท่านจะเห็นได้ว่า อดีตมันย้อนกลับมาถึงยุคนี้ได้อย่างแทบจะเป็นเรื่องเดียวกัน

เมื่อเหตุการณ์มันสุกงอม ผู้ก่อการรัฐประหารอันมี น.อ.กาจ เก่งระดมยิง, พ.ท.ก้าน จำนงภูมิเวท, ร.อ.ขุนปรีชารณเสฏฐ์, พ.อ.ศิลป์ รัตนพิบูลย์ชัย จึงได้ไปชักชวนให้ พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ให้ร่วมก่อการ

ด้วยทุนเดิมที่กองทัพได้ตกต่ำลงในช่วงหลังสงคราม ทหารถูกปลดประจำการกันจำนวนมาก บทบาทของกองทัพในยุครัฐบาลพลเรือนจึงถูกจำกัดลง และเกิดการเปรียบเทียบว่ารัฐบาลของหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์เป็นผู้ทำให้กองทัพเสื่อม จึงคิดการเอาไว้ว่าจะต้องเปลี่ยนให้ หลวงพิบูลย์สงครามหรือ จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม ในเวลาต่อมา ขึ้นมามีอำนาจแทน กองทัพน่าจะได้รับการดูแลได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ การทำรัฐประหารจึงเริ่มขึ้น

พล.ท. ผิน ชุณหะวัณจึงชวนเผ่า ศรียานนท์ ให้มาร่วมด้วย นอกจากนี้ยังมีนายทหารคนสำคัญอีกหลายนายเช่น พันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์, พ.ท.ละม้าย อุทยานนท์, พ.ท.กฤช ปุณณกันต์, พ.อ.หลวงสวัสดิ์สรยุทธ, พ.อ.เจริญ สุวรรณวิสูตร์ และที่เป็นเรื่องใหม่ก็คือ พันโทถนอม กิตติขจร ซึ่งขณะนั้นเป็นครูโรงเรียนนายร้อยได้นำเอากำลังนักเรียนนายร้อย เข้าร่วมทำรัฐประหารด้วย

ตอนนั้นได้มีกระแสก่อการรัฐประหารออกมาเข้าหูรัฐบาลแล้ว แต่หลวงธำรงค์ ฯ มั่นใจเกินไป ซ้ำยังท้าทายจนเป็นข่าวออกไปทาง นสพ.ว่า “นอนรอปฏิวัติมานานแล้ว ไม่เห็นปฏิวัติเสียที” ขณะที่อ.ปรีดี กลับไม่ไว้ใจสถานการณ์จึงสั่งให้นายทองเปลว ชลภูมิ, นายปราโมช พึ่งสุนทร, นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ และนายถวิล อุดล ออกหาข่าวการพยายามรัฐประหารเช่นกัน ซึ่งต่อมา 3 ใน 4 ท่านนี้ได้ถูกฆาตกรรมหมู่พร้อมกัน ณ หลักกิโลเมตรที่ 12 ถนนพหลโยธิน หลังเหตุการณ์กบฏวังหลวงในอีก 2 ปีถัดมา

จากการที่ อ.ปรีดีส่งฝ่ายข่าวออกไปนั้น จึงทราบถึงรายละเอียดของผู้ก่อการและได้กำหนดจะเข้าจับกุมผู้ก่อการทั้งหมดในเช้ามืดของวันที่ 9 พ.ย. 2490 ข่าวนี้ก็รั่วออกไปอีกเช่นกัน ดังนั้นจากเดิมที่ ร.ต.ทองคำ ยิ้มกำภู ได้ดูฤกษ์ยามว่า จะทำรัฐประหารในเวลา 05.00 น. ของวันที่ 8 พ.ย. คณะรัฐประหารจึงต้องชิงลงมือให้เสร็จสิ้นก่อนจะถูกทลายแก๊งค์ เรื่องมันจึงระเบิดเอาในคืนวันที่ 7 พ.ย. 2490 นั้นเอง

พรรคประชาธิปัตย์ได้ จัดงานเต้นรำการกุศลขึ้นที่สวนอัมพร หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้รับเชิญไปในงานนี้ด้วย และไฮไลท์ของงานก็คือการที่หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ และ นายควง อภัยวงศ์ ผู้นำฝ่ายค้าน ซึ่งเป็นคู่แค้นตลอดกาลได้ร่วมกันนั่งรถสามล้อคันเดียวกันวนไปรอบเวทีสวนอัมพร ผู้คนก็พากันยินดี คิดว่าจากนี้ไปความปรองดองน่าจะเกิดขึ้นและพาประเทศให้พ้นจากช่วงเวลาอันยากลำบากนี้ไปได้

แต่การกลับไม่เป็นเช่นนั้น ทหารคนสนิทของหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ได้เข้ามากระซิบด่วนว่า ขณะนี้มีทหารกำลังเคลื่อนกำลังมาจะจับกุม นายกรัฐมนตรีจึงได้หลบออกจากงานเลี้ยงของพรรคประชาธิปัตย์ในทันที ส่วนในอีกทางหนึ่งนั้น อ.ปรีดี ได้หลบหนีไปทางเรือแล้วเช่นกัน

วันรุ่งขึ้นคณะรัฐประหาร ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าบรมวรวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร หนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการ ฯ ให้ทรงลงนามประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่นี้แต่เพียงพระองค์เดียว ในขณะที่พระยามานวราชเสวี ผู้สำเร็จราชการฯ อีกคนนั้นไม่เห็นด้วยและไม่ยอมลงนาม ทำให้รัฐธรรมนูญมีผลไม่สมบูรณ์ แต่คณะรัฐประหารนั้นก็ไม่สนใจและถูกนำออกประกาศใช้จนได้ในวันที่ 9 พ.ย. ทั้ง ๆ ที่มีผู้สำเร็จราชการฯ ลงพระนามเพียงคนเดียว

ไอ้รัฐธรรมนูญ 2490 หรือที่เรียกกันว่ารัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม(เนื่องจากมีการนำไปซ่อนไว้ใต้ตุ่ม ก่อนจะทำการรัฐประหาร)นี้ ได้แอบร่างขึ้นมาก่อนการทำรัฐประหาร โดยเชื่อว่ามีคณะบุคคลเหล่านี้เป็นผู้จัดร่าง มรว. เสนีย์ , มรว.คึกฤทธิ์, พระยาลัดพลี ธรรมประคัลภ์ อธิบดีศาลฎีกา, พระยารักต ประจิตธรรมจำรัส, ร.อ. ประเสริฐ สุดบรรทัดส.ส.ปชป., นายเลื่อน พงษ์โสภณ, พ.อ. สุวรรณ์ เพ็ญจันทร์ และนายเขมชาติ บุญยรัตพันธ์

รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ได้ให้ความเห็นในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่า

“เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ให้มีสองสภา คือมีสภาผู้แทนฯ กับวุฒิสภาที่มีจำนวนเท่ากัน ให้กษัตริย์ทรงเลือกตั้งวุฒิสภา (มาตรา33) นอกจากนั้นมีการฟื้น ‘อภิรัฐมนตรีสภา’ ซึ่งยุบไปตั้งแต่รัชกาลที่ 7 โดยอภิรัฐมนตรีสภาเป็นต้นกำเนิดของ ‘องคมนตรี’ ซึ่งเป็นสภาที่ยังคงมีอำนาจเกรียงไกรอยู่ในปัจจุบัน

รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม ไม่มีมาตราห้ามวุฒิสภาเป็นข้าราชการประจำ แปลว่า ข้าราชการประจำเป็นวุฒิสภาได้ ให้อำนาจฉุกเฉินแก่พระมหากษัตริย์ในการออกพระราชกำหนดเช่นเดียวกับ พระราชบัญญัติ เมื่อเปิดประชุมรัฐสภาแล้วก็ให้เอาพระราชกำหนดนั้นมาเสนอให้ทราบ ไม่ต้องพิจารณาโดยที่สภาค้านไม่ได้ นี่คือการให้อำนาจเต็มแก่ฝ่ายบริหาร ให้อำนาจพระมหากษัตริย์ตราพระราชกำหนดด้านการเงิน แปลว่ารัฐบาลออกกฎหมายด้านการเงิน เช่นพระราชบัญญัติได้”

หลังจากที่การรัฐประหารสำเร็จลงแล้ว จึงมอบให้พรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาล ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าเหตุการณ์หลายต่อหลายอย่างที่เกิดขึ้นจากการเข้าบริหารประเทศของพรรคประชาธิปัตย์ในครั้งนั้น ได้เกิดขึ้นซ้ำรอยอีกครั้งในปัจจุบันนี้ อาทิเช่น การใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองความสงบสุข เข้ากวาดล้างจับกุมสมาชิกพรรคเสรีไทยสายของ อ.ปรีดี เช่น นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ถูกจับกุมพร้อมพรรคพวกรวม 21 คนในข้อหาครอบครองอาวุธโดยมิชอบ จับกุมนายจำลอง ดาวเรือง และนายทอง กันฑาธรรม ในข้อหาฆ่าคนตาย จับนายวิจิตร ลุลิตานนท์ และนายทองเปลว ชลภูมิ ในข้อหาทุจริต
แต่สุดท้ายก็ต้องปล่อยตัวเพราะไม่มีพยานหลักฐาน นอกจากนี้ยังมีการคุกคามฝ่ายตรงข้ามอย่างเช่น นายอ้วน นาครทรรพ, นายพึ่ง ศรีจันทร์, ร.ท.กระจ่าง ตุลารักษ์, นายทิม ภูริพัฒน์ และนายเยื้อน พานิชย์วิทย์ เป็นต้น ยังไม่รวมถึงการที่ 3 ผู้ต้องหากรณีสวรรคตถูกสั่งให้ประหารชีวิตอย่างไม่เป็นธรรม หรือจะเป็นการอนุมัติเงินงบประมาณ จำนวน 8 ล้านบาทให้เป็นค่าใช้จ่ายในการรัฐประหาร และยังได้ออก พรบ.นิรโทษกรรมให้แก่คณะผู้ทำก่อการรัฐประหารอีกด้วย

แต่ต่อมาไม่นาน ในวันที่ 6 เม.ย. ปีเดียวกัน คณะรัฐประหารก็ไล่นายควง อภัยวงศ์ ให้หลีกทางแก่ จอมพล ป. พิบูลสงครามที่นึกอยากจะเป็นนายกรัฐมนตรีดูบ้าง สุดท้าย .. นายควง ก็ต้องอำลาตำแหน่งหัวโขนไปหลังจากที่ไม่ประสบความสำเร็จในการวิ่งล๊อบบี้แม่ทัพเรือและแม่ทัพอากาศ แต่ลืมวิ่งเข้าหารือสภา

สังเกตุมั๊ยครับ ว่านายควงเองก็ไม่ได้เชื่อในระบบรัฐสภา แต่กลับหวังไปพึ่งพาอำนาจจากกองทัพในยามที่กำลังจะถูกถอนหัวโขน

ทั้งหมดนี้อาจตอบคำถามของผมที่ตั้งไว้เป็นหัวกระทู้ได้ และผมเชื่ออย่างที่สุดว่า พวกเราในที่นี้คงคิดคำตอบนั้นได้อยู่ในใจแล้ว แต่คนที่ผมเป็นห่วงที่สุดนั้น กลับเป็นทั่นนายก ฯ อภิสิทธิ์ เหตุเพราะว่า เพราะทุกวันนี้ คุณอภิสิทธิ์กำลังเดินตามรอยท่านอดีต หน.พรรค อย่างแทบจะเป็นรอยเท้าเดียวกัน แต่เนื่องจากสังคมที่เปลี่ยนไป ความเสียหายจากการบริหารงานที่ปราศจากอำนาจที่แท้จริงและมีอุดมคติที่จะสนองประโยชน์ให้แก่ประชาชนอย่างไม่เท่าเทียมกันนั้น อาจจะพาบ้านเมืองให้เสียหายและวิบัติได้รุนแรงกว่าเมื่อ 60 ปีที่แล้วมากนัก

ผมเห็นด้วยกับ อ.นิธิ นะ ถ้า ปชป.โดนยุบไปตั้งแต่ 60 ปีที่แล้ว ประเทศนี้คงจะไม่เกิดเรื่องราวยุ่ง ๆ หรือเรื่องเศร้า ๆ อย่างที่ผ่านมา จะว่าไปจริง ๆ แล้ว


.. ประชาธิปัตย์เนี่ย ไม่มีก็ได้นะ ..

โดยคุณ มหาชำร่วย แห่ง บ้านราชดำเนิน
ที่มา บ้านราชดำเนิน
https://www.rajdumnern.net/showthread.php?tid=1617
https://www.rajdumnern.net/showthread.php?tid=1636




 

Create Date : 11 พฤศจิกายน 2553    
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2553 4:51:35 น.
Counter : 607 Pageviews.  

สองมาตรฐานของพรรคกะจั๊วกรณีMartha StewartกับRobert Amsterdam

Democrat Party double standards
June 26, 2010
ที่มา – Political Prisoners in Thailand
แปลและเรียบเรียง – แชพเตอร์ ๑๑

โพลิติคอลพรีซันเนอร์อินไทยแลนด์ (พีพีที) ได้เคยชี้ให้เห็นหลายครั้งแล้วว่า บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์นั้น ใช้กษัตริย์เป็นเครื่องมือในทางการเมือง (จากบทความของเราเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๒) และเป็นผู้สนับสนุนวิธีบีบบังคับทางการเมือง (ดูจากบทความของเราเมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๒)

อันเนื่องจากบางกอกโพสต์ การปฏิบัติการครั้งล่าสุดของบุรณัชย์เข้าตำราเล่นการเมืองระบบออร์เวลล์ (ระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จในการครอบงำความคิด – ผู้แปล) โดยการออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลพรรคตัวเอง “ห้ามทนายต่างชาติ (โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม) ซึ่งเป็นตัวแทนอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร เข้าประเทศ เนื่องจากความเห็นที่ดูหมิ่น และเข้าใจประเทศไทยอย่างผิดๆ….”

บุรณัชย์เรียกร้องให้มีการห้ามอัมสเตอร์ดัมเข้าประเทศเนื่องจากกระทำ “อาชญากรรม” โดยการวิจารณ์ “แผนการสมานฉันท์ของรัฐบาลว่า “แหกตา” ในขณะที่ให้สัมภาษณ์สื่อในญี่ปุ่น” บล็อกของอัมสเตอร์ดัมในประเทศไทย ซึ่งต่างจากพีพีที ที่ไม่โดนสกัดกั้นได้แจงรายละเอียดไว้ตามนี้ เนื้อความนั้นเขากล่าวว่า: “เป็นไปไม่ได้ที่จะมาสร้างความสมานฉันท์ในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองซึ่งคุณจับยัดคุกโดยใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ นำกฎหมายฉุกเฉินมาใช้โดยขัดกับหลักนิติธรรม…รัฐบาลไทยทำทุกวิถีทางเพื่อจำกัดสิทธิในทรัพย์สินของพวกเขา เพื่อจำกัดสิทธิในการเดินทาง เพื่อจำกัดสิทธิในการพูด ที่เป็นอยู่อย่างนี้นะหรือ ต้องขอโทษด้วยหากผมจะพูดว่า เป็นการสร้างความสมานฉันท์อย่างแหกตา” อัมสเตอร์ดัมกล่าวต่อโดยการเรียกร้องให้ “มีการสมานฉันท์ผ่านศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ และ “เปลี่ยนแปลงการปกครองบางอย่างที่เรียกกันว่า การเลือกตั้ง””

บางกอกโพสต์เสริมต่อว่า อัมสเตอร์ดัมยังได้ “โจมตีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินของรัฐบาลไทย โดยกล่าวว่าเป็นการขัดต่อหลักนิติธรรม”

ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่เหตุผลเพียงพอที่จะห้ามอัมสเตอร์ดัมเข้าประเทศไทย และห่างไกลกับคำที่เรียกว่าสมานฉันท์ ซึ่งพีพีที และนักข่าวหลายคนได้เคยกล่าวเอาไว้

แต่บุรณัชย์ไม่เพียงแต่ขาดเหตุผล แถมยังอวดอ้างอีกว่า “อัมสเตอร์ดัมตั้งใจแสดงความเห็นเช่นนี้ที่ญี่ปุ่น เพราะนักข่าวญี่ปุ่นคนหนึ่งถูกสังหารในการยิงโต้ตอบกันเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ในเหตุการณ์รุนแรงระหว่างทหารและผู้ประท้วงเสื้อแดง”

พีพีทีไม่ทราบถึงวัตถุประสงค์ของอัมสเตอร์ดัม และเราสงสัยว่าบุรณัชย์เองก็ไม่ทราบเช่นกัน – บุรณัชย์เองที่สร้างเรื่องขึ้นมา แต่การอ้างประเด็นเรื่องการเสียชีวิตของนักข่าวญี่ปุ่นนั้น เป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งที่ว่า ยังไม่มีรายงานว่าได้เกิดอะไรจริงๆขึ้นกับนักข่าวญี่ปุ่นคนนี้ ตามที่รัฐบาลได้เคยสัญญาเอาไว้ก่อนหน้านี้

บุรณัชย์ที่คลั่งเจ้าอย่างสุดลิ่มตั้งข้อกล่าวหาอื่นอีกโดยนำมาตรฐานของตัวเองมาใช้ อ้างว่าอัมสเตอร์ดัมต้องการลากกษัตริย์ลงมาสู่การเมือง บุรณัชย์อ้างว่า อัมสเตอร์ดัมต้องการ “สร้างความเข้าใจผิด” ให้เกิดขึ้นระหว่างกษัตริย์และการเมือง นอกจากใช้กษัตริย์เพื่อเหตุผลในทางการเมืองเป็นประจำของบุรณัชย์แล้ว (ค้นหาจากพีพีที ได้ที่นี่) ดูเหมือนว่า เขาต้องการยึดกษัตริย์มาใช้แต่เพียงผู้เดียว ทุกคนทราบดีว่า กษัตริย์และราชวังพัวพันทางการเมืองอย่างหนัก

การอ้าง “หลักนิติธรรม” ของบุรณัชย์ พีพีทีดีใจเป็นล้นเหลือที่จะโยงลัทธิออร์เวลล์ของบุรณัชย์ กับการที่รัฐบาลของเขากำลังว่าจ้าง มาร์ธา สจ๊วต ให้มาถ่ายทำรายการอาหารในประเทศไทย

เอ็มแอนด์ซีรายงานว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้จ้างมาร์ธา “เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวหญิง….” และจะต้องจ่ายค่าตัวอย่างน้อย ๑๐ ล้านบาทเพื่อให้ “มาร์ธาช่วยโฆษณาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศ…” จากรายงานข่าวการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยหวังว่า “การใช้ยี่ห้อ” ของแม่ครัวระดับดาราสหรัฐฯนั้น จะช่วยดึงนักท่องเที่ยวกลับมาสู่ประเทศไทย

มาร์ธายังพอมีผู้ติดตามชมในสหรัฐฯ แต่ด้วยอายุ ๖๙ ปี เคยติดคุกด้วยข้อหาถึง ๙ คดี รวมถึงข้อหาใช้ข้อมูลภายในเก็งกำไรในการซื้อขายหุ้น และขัดขวางขบวนการยุติธรรมในปี ๒๕๔๖ มาร์ธาติดคุก ๕ เดือน และได้รับการปลดปล่อยโดยจะต้องเข้ารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่คุมประพฤติเป็นเวลา ๒ ปี จากเทเลกราฟของอังกฤษรายงานว่า มาร์ธาถูกห้ามเข้าอังกฤษเนื่องจากมีประวัติอาชญากรรม

เมื่อทบทวนเรื่องที่รัฐบาลซึ่งนำโดยพรรคประชาธิปัตย์กระโดดโลดเต้นโห่ร้องยินดีเมื่อทักษิณถูกห้ามเข้าอังกฤษ เนื่องจากมีความผิดตามคำสั่งของศาลไทย พีพีทีสงสัยว่าบุรณัชย์จะสามารถอธิบายการกระทำสองมาตรฐานของพรรคของเขาในเรื่องนี้ได้หรือไม่ ดูช่างประหลาดที่เขาต้องการห้ามใครบางคนเข้าประเทศไทยด้วยเหตุผลทางการเมือง แต่เตรียมที่จะยอมรับผู้เคยต้องคดีอาชญากรรมเพื่อให้มาโฆษณาประเทศไทยหรือ




 

Create Date : 30 มิถุนายน 2553    
Last Update : 30 มิถุนายน 2553 2:53:13 น.
Counter : 1474 Pageviews.  

การให้ข่าวกลับกลอกไปมาจนส่งผลเสียในตลาดหุ้นของกรณ์

Posted: Tue Mar 16, 2010 11:37 am Post subject:

----------------------------------------------------------------

สถาบันวิจัยนครหลวงไทย : ADVANC แนะนำ “ซื้อ” มูลค่าเหมาะสมในกรณีที่ไม่มีผลกระทบใดๆอยู่ที่ 115 บาท

ADVANC รัฐบาลจะไม่ยื่นฟ้องบริษัทที่เกี่ยวข้องในคดียึดทรัพย์ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (ที่มา : หนังสือพิมพ์ Bangkok Post)
นายกรณ์ จาติกวานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาเปิดเผยว่า รัฐบาลจะไม่ฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งของรัฐวิสาหกิจที่เกิดจากการแก้ไขใดๆในอดีต จากบริษัท ADVANC และ THCOM ที่ถูกนำไปใช้เป็นพยานหลักฐานในการตัดสินคดียึดทรัพย์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ เนื่องจากเหตุการณ์ผ่านมานาน และ ไม่เป็นการยุติธรรมต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท

ความเห็นนักวิเคราะห์ :
TOT และ CAT จะไม่เรียกร้องค่าเสียหายใดๆที่เกิดขึ้นการแก้ไขใดๆที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งประกอบด้วย 3 กรณี คือ 1) การแก้ไขสัญญาสัมปทานโดยการลดส่วน แบ่งรายได้ของระบบ Prepaid ลงจาก 25% เป็น 20% ซึ่งมีผลกระทบต่อหุ้น 6.40 บาท และ 2) การจ่ายส่วนแบ่งรายได้ลดลงจากการหักค่าใช้โครงข่ายร่วม (Roaming) ซึ่งมีผลกระทบหุ้นละ 2.40 บาท 3) การเรียกร้องส่วนแบ่งรายได้จากการหักจ่ายเป็นภาษีสรรพสามิต ที่ TOT ได้ยื่นข้อพิพาทไปยังคณะอนุญาโตตุลาการเมื่อต้นปี 2551 ซึ่งมีผลกระทบหุ้นละ 13.40 บาท
SCRI ประเมินว่า ADVANC ยังมีความเสี่ยงเดียวที่เหลืออยู่ คือ กรณีการเปลี่ยนส่วนแบ่งรายได้ของระบบ Prepaid กับไปที่สัญญาดั้งเดิม ซึ่งกรณีนี้ยังอยู่ในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมการประสานงานตามมาตรา 22 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุน และ ต้องผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยหากว่าคณะรัฐมนตรีให้เพิกถอนสัญญาต่อท้ายและให้แก้ไขกลับไปตามฉบับดั้งเดิม จะมีผลทำให้มูลค่าที่เหมาะสมของ ADVANC ลดลง 15.00 บาท
หากว่ารัฐบาลไม่เรียกร้องค่าเสียหายจากเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้น มูลค่าเหมาะสมของ ADVANC อยู่ที่ 100 บาท
คำแนะนำการลงทุน : SCRI มีมุมมองเป็นบวกต่อประเด็นดังกล่าว ทำให้ราคาของหุ้น ADVANC มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นในวันนี้ SCRI จึงแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าเหมาะสมในกรณีที่ไม่มีผลกระทบใดๆอยู่ที่ 115 บาท

เรียบเรียง โดย สุกัญญา ลาสุธรรม
อีเมล์แสดงความคิดเห็น commentnews@efinancethai.com

กลุ่มสื่อสารฯ ร่วงหลัง คลังส่งสัญญาณ ฟ้องเรียกค่าเสียหายกว่า 1.23แสนลบ. ด้านโบรกฯ
แนะซื้อขายในกรอบแนวรับ-ต้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวราคาหุ้นกลุ่มสื่อสาร ปรับตัวลดลง ตั้งแต่เปิดการซื้อขายช่วงเช้า ตามทิศทางของตลาดฯอาทิ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ (ADVANC), บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)(DTAC) และ บริษัท ทูร คอร์ปอเรชั่น
จำกัด (มหาชน) (TRUE)
ทั้งนี้วันนี้มีกระแสข่าวว่า นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตัดสินใจฟ้องกลุ่มสื่อสารเรียกค่าเสียหายกว่า 1.23 แสนล้านบาท ระบุสัญญาสัมปทานที่เอกชนทำไว้กับ TOT และ CAT ต้องแก้ไขทั้งหมด 8 ฉบับ ประเด็นหลักลดส่วนแบ่งรายได้ Prepaid ภาษีสรรพสามิต เตรียมเสนอคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงแก้สัญญาสัมปทานมือถือ และ ดาวเทียม สรุปได้ในเดือนหน้าก่อนรายงานนายกรัฐมนตรี
ด้านฝ่ายวิจัย สถาบันวิจัยนครหลวงไทย (SCRI)ประเมินว่าประเด็นข่าวดังกล่าวเป็นลบต่อกลุ่มสื่อสารในระยะสั้น การตัดสินใจฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกับบริษัทในกลุ่มสื่อสาร ADVANC DTAC
และ TRUEMOVE เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ได้เคยนำเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังว่า TOT และ CAT ได้รับผลค่าเสียหายจำนวนมากจากการแก้ไขสัญญาสัมปทาน
ปัจจัยความเสี่ยงสูงสุดที่จะเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการ คือ การแก้ไขสัญญาสัมปทานกลับไปเป็นตามฉบับดั้งเดิม ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการดำเนินงานของผู้ประกอบการปรับตัวสูงขึ้น โดยจะกระทบต่อ ADVANC มากที่สุด เพราะจะต้องจ่ายค่าสัมปทานสูงถึง 30% ของรายได้ค่าบริการกลุ่ม Prepaid เมื่อเทียบกับระดับปัจจุบันที่จ่ายอยู่ที่ 20%
อย่างไรก็ดี การกลับไปจ่ายค่าสัมปทานระดับเดิมจะต้องใช้เวลาในการต่อสู้ในชั้นของศาลนาน และอาจจะกินเวลานานกว่าระยะเวลาสัมปทานของผู้ประกอบการที่กำลังจะสิ้นสุดลงในอีก 5 – 8 ปีข้างหน้า
SCRI ประเมินว่า ประเด็นข่าวนี้จะกดดันราคาหุ้นในระยะสั้นๆ ดังนั้นจึงแนะนำให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงการเก็งกำไรระยะสั้น แต่หากเป็นการลงทุนระยะยาวแล้ว SCRI เชื่อว่า กลุ่มสื่อสารมีปัจจัยบวกเพียงเรื่องเดียว คือ การที่ กทช. ประกาศเดินหน้าเพื่อเปิดให้มีการประมูลใบอนุญาตของคลื่นความถี่ 2.1 GHz ภายในปีนี้ให้ได้ ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้ผู้ประกอบการหลุดพ้นจากพันธนาการของการดำเนินธุรกิจภายใต้สัญญาสัมปทาน โดยยังเลือกให้ ADVANC เป็นหุ้นเด่นของกลุ่ม
ด้านนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟินันเซียไซรัส ประเมินสัญญาณทางเทคนิคของ ADANC ,DTAC, TRUE มีลักษณะแกว่งตัว แนะให้ซื้อขายในกรอบแนวรับ-แนวต้าน โดยประเมิน ADVANC ให้แนวรับที่ 71.00 บาทแนวต้าน 78 บาทหากหลุดแนวรับให้ถือเป็นจุดตัดขาดทุน ส่วน DTAC ให้แนวรับที่ 33 บาท และแนวต้านที่ 35.50 บาท หากหลุดแนวรับให้เป็นจุดตัดขาดทุนเช่นกัน ส่วน TRUE ให้แนวรับที่ 2.66 บาทและแนวต้านที่ 2.84 บาท หากหลุดแนวรับให้เป็นจุดตัดขาดทุน
ล่าสุดเมื่อเวลา 10.38น. ราคาหุ้น ADVANC อยู่ที่ 74.25 บาท ลดลง 1.75บาทหรือ
2.30% มูลค่าการซื้อขาย167.12 ล้านบาท ,DTAC อยู่ที่ 34.00บาท ลดลง 0.50บาท หรือ 1.45% มูลค่าการซื้อขาย 32.30ล้านบาทและ TRUE อยู่ที่ 2.72บาทลดลง 0.04บาทหรือ 1.45% มูลค่าการซื้อขาย 15.48ล้านบาท

รายงาน โดย พัทธนันท์ เปี่ยมสมบูรณ์
เรียบเรียง โดย พรทิพย์ พลสิทธิ์
อนุมัติ โดย ประสิทธิ์ กรโชคอนันต์
อีเมล์แสดงความคิดเห็น commentnews@efinancethai.com

ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 27/04/10 เวลา 10:40:25


“กรณ์"ตัดสินใจฟ้องกลุ่มสื่อสาร เรียกค่าเสียหายกว่า 1.23 แสนล้านบาท
*ADVANC/DTAC/TRUE
-นสพ.รายงาน “กรณ์"ตัดสินใจฟ้องกลุ่มสื่อสาร เรียกค่าเสียหายกว่า 1.23 แสนล้านบาท เอสไอเอสอาการหนักสุด ที่เหลือดีแทค ทรูมูฟ ไม่รอด ระบุสัญญาสัมปทานที่เอกชนทำไว้กับทีโอทีและกสท.ฯ ต้องแก้ไขทั้งหมด 8 ฉบับ ประเด็นหลักลดส่วนแบ่งรายได้พรีเพด ภาษีสรรพสามิต เตรียมเสนอคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงแก้สัญญาสัมปทานมือถือและดาวเทียมสรุปได้ในเดือนหน้าก่อนรายงานนายกฯ



มาลองมองย้อนกลับ แล้วทบทวนกัน นะครับ


1 มี.ค. 53 / หลังจากมีคำพิพากษาคดียึดทรัพย์ฯ ในวันที่ 26 ก.พ. 53
------------------------------------------------------------------------

"กรณ์" ยืนยันคำพิพากษายุติธรรมทุกฝ่าย

เรียก 3 หน่วยงานประชุมด่วนเดินหน้า 3 ภารกิจสานต่อยึดทรัพย์ ย้ำล็อกเงินภาษี 1.2 หมื่นล้าน พร้อมให้ศึกษาความเสียหายของทีโอทีและเอ็กซิมแบงก์ กำชับกรมบัญชีกลางวางขั้นตอนยึดทรัพย์ 4.63 หมื่นล้าน

นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีคลัง เปิดเผยหลังเรียกทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการภายหลังศาลตัดสินยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี 4.63 หมื่นล้านบาทวานนี้ (1 มี.ค.) ว่า

เพื่อซักซ้อมแนวทางการปฏิบัติหลังจากนี้ ซึ่งประเด็นหลัก คือ ให้ทุกหน่วยงานอ่านคำพิพากษาของศาลอย่างละเอียด พร้อมกับดำเนินภารกิจสำคัญใน 3 ส่วน คือ

1.กรมสรรพากร ที่รับผิดชอบคดีภาษีหุ้นชินคอร์ปที่ยังค้างอยู่ 1.2 หมื่นล้านบาทซึ่งศาลได้วินิจฉัยไว้ชัดเจนว่า เป็นเรื่องต่างหากจากกรณียึดทรัพย์

โดยเบื้องต้นได้ให้กรมสรรพากร หาแนวทางดำเนินการกับเงินในส่วนที่ศาลไม่ได้มีคำพิพากษาให้ยึดทรัพย์ด้วย ยืนยันตอนนี้เงินทั้ง 7.6 หมื่นล้านบาทยังเคลื่อนย้ายไม่ได้ทันที

2.กรมบัญชีกลาง ต้องประเมินว่ามีขั้นตอนในการที่จะรับโอนทรัพย์สิน ที่ศาลพิพากษาให้เป็นของแผ่นดินจะดำเนินการอย่างไรต่อไปและ

3.ได้ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ สคร. ดำเนินการประเมินความเสียหายของหน่วยงานอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากคำพิพากษาของศาล อาทิ บริษัท ทีโอที และ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์)

ซึ่งคำพิพากษาของศาลระบุชัดเจนว่าการกระทำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้สร้างความเสียหายให้แก่หน่วยงานทั้งสองแห่ง


//www.suthichaiyoon.com/detail/634

ต่อมา เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 53

มีรายงานข่าวว่า
--------------------------------

นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ระบุว่า รัฐบาลอาจจะไม่ยื่นคำฟ้องร้องเรื่องค่าเสียหายจากการแก้ไขสัญญาสัมปทานในอดีตกับบริษัทเอกชนผู้ประกอบการ

ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากคดียึดทรัพย์พ.ต.ท.ทักษิณ โดยเห็นว่าการฟ้องร้องจะกระทบต่อผู้ถือหุ้นในขณะนี้

----------------------------------------------------------------

บล.ทรีนิตี้ เห็นว่า เป็นประเด็นบวกต่อหุ้นในกลุ่มสื่อสารที่มีสัมปทานกับภาครัฐ และมีการแก้ไขสัมปทานในอดีต โดยเฉพาะ ADVANC, SHIN, THCOM อาจสบายใจได้ว่า

รัฐน่าจะไม่เรียกเก็บผลประโยชน์ย้อนหลัง แต่ยังไม่แน่ว่าอาจต้องปรับสัมปทานไปเป็นฉบับก่อนแก้ไขหรือไม่


//www.efinancethai.com/investor_station/filepdf/INV190310.pdf


เริ่มเห็นภาวะ งูกินหาง หรือ การขว้างงูไม่พ้นคอของ คำพิพากษา นี้แล้ว หรือยังครับ

---

จากข้อความ ...ย่อหน้าแรก...

ตกลงว่า รมว.คลัง สามารถใช้ ดุลยพินิจของตัวเองในเชิงนโยบายเหนือคำพิพากษา ของศาลฏีกาฯได้ด้วยหรือ

=================================

รมว.คลัง มีสิทธิที่จะเลือกฟ้อง หรือ ไม่ฟ้อง ได้ด้วยหรือ

คำพิพากษาของศาลฏีกาสามารถให้เลือกจะปฏิบัติ หรือ ไม่ปฏิบัติ ได้ด้วยหรือ

จะไม่เป็นการ ละเว้น การปฏิบัติหน้าที่ ตลอดจนละเว้นการปฏิบัติให้สอดคล้องตามคำพิพากษา แล้วหรือ

เพราะ การไม่ฟ้องเรียกค่าเสียหาย จากบริษัทฯ คืนกลับรัฐจะไม่เป็นการ ทำให้รัฐเสียหาย เช่นเดียวกันกับในคำพิพากษา หรอกหรือ

---

คำพิพากษา ได้ตัดสินให้บุคคล มีความผิดโดยเอาความเสียหายต่อรัฐเป็นข้ออ้าง

ด้วยเหตุผล เรื่อง มีการแก้ไขสัญญาสัมปทานในบริษัทเอกชน ที่ผู้นั้นถือหุ้นอยู่

---

เมื่อ ศาลฏีกา มีวินิจฉัยแบบนี้ และพิพากษาออกมาแบบนี้

ประเด็นก็คือ หากนำคำพิพากษาไปขยายผลและปฏิบัติตาม ในทุกประเด็นอย่างเคร่งครัด

อาจจะพบว่า คำพิพากษานี้ กลับไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ เสียเองทั้งในแง่ที่เป็นตัวเงิน และ ไม่ใช่ตัวเงิน

แต่หาก ผู้เกี่ยวข้องไม่นำไปปฏิบัติ โดยเคร่งครัด ผู้ดำรงตำแหน่งทั้ง นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรี ในขณะนี้ ในอนาคตอาจถูกฟ้องร้องและพิพากษา ว่า ละเว้นการปฏิบัติ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐได้เช่นกัน

คือ ไม่ว่าฝ่ายบริหาร ในขณะนี้ จะตัดสินใจ อย่างไร มีเหตุให้นำไปสู่ การทำความเสียหายต่อรัฐ ได้ทั้ง สองกรณี

---

สุดท้ายแล้ว อาจจะพบว่า คำพิพากษาของศาลฏีกา ในวันที่ 26 กุมภาฯ ที่ดำเนินการไป โดยพยายามจะเอาผิดย้อนหลังกับ คนคนเดียว ให้ได้นั้น

ได้ก่อให้เกิด ความลักลั่นในกระบวนการยุติธรรม และ ปรากฎการณ์ ย้อนคำพิพากษา ในตัวของมันเอง

ซึ่งอาจจะกลายเป็นทั้ง งูกินหาง และ ขว้างงูไม่พ้นคอในเวลาเดียวกัน

เพราะเมื่อ ฝ่ายตุลาการพาตัวเอง เข้ามาล้ำเส้นในอาณาบริเวณ ของอำนาจฝ่ายบริหาร โดยเข้ามาตัดสิน ถูก-ผิด ในเชิงนโยบาย ของฝ่ายบริหาร

นั่นหมายถึง คำตัดสินนี้ จะกลายเป็นนโยบายในการบริหารประเทศ เสียเอง

กรณีการแก้ไข สัญญาสัมปทานนี้ ฝ่ายบริหารในปัจจุบัน อาจจะไม่สามารถดำเนินการ ในเรื่องนี้ ตามนโยบายของตนให้แตกต่าง จากคำพิพากษานี้ เลยด้วย

เพราะ คำพิพาษา ถือว่า เป็นที่สุด และทุกฝ่ายต้องปฏิบัติตาม

ดังนี้แล้ว จะเกิดคำถาม ตามมาอีกว่า การบริหารประเทศ ด้วยนโยบายใดๆก็ตามแต่ ซึ่งออกมาเพื่อประโยชน์ของประชาชนและรัฐหรือ เน้นไปที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แล้วแต่กรณีของนโยบาย

ทำไม ไม่ให้ศาลฏีกา ตั้งองค์คณะ มาตัดสิน ความถูก-ผิดของนโยบาย นั้นๆ ก่อน เสียเลยล่ะและถ้าหาก เป็นเช่นนั้น อำนาจในการบริหารประเทศ จะถือว่า อยู่ในมือของฝ่ายใด

---

โดยส่วนตัว จึงถือว่า คำพิพากษานี้เป็นปรากฎการณ์ และ เป็นกรณีศึกษา ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง


กรณีนี้ยังมีปมปัญหาที่ต้องมาพิจารณากันอีกเยอะ และอีกนานครับ

ที่สำคัญ กระบวนการยุติธรรม น่าจะย้อนศรจริงๆ อย่างที่เคยตั้งข้อสังเกต ไว้แล้วล่ะครับ

================================

...ทำไม กระบวนการยุติธรรม ตรงนี้ เสมือนหนึ่ง ทำย้อนศร

คือ กล่าวหาและตัดสิน บุคคล หนึ่ง ให้มีความผิดในภาพรวมก่อน แล้วย้อนไปพิจารณา ความผิด และ ความเสียหายจริงๆ ในรายละเอียด

ทำไม กระบวนการในการระบุความเสียหายต่อรัฐไม่ดำเนินการเอาผิดกับผู้เกี่ยวข้อง ในตัวบริษัทและจนท.ของรัฐ ก่อน ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไข สัญญา สัมปทาน โดยตรง

ซึ่งต้องถูกกล่าวโทษ และตัดสินให้ ถือว่า กระทำความผิดโดยก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ ก่อนด้วยซ้ำ

จากนั้น ต้องทำการแก้ไข สัญญาสัมปทาน ให้ถูกต้อง โดยเรียก ประโยชน์ที่มิควรได้ทั้งหมด กลับคืน จากบริษัท

จากนั้น จึงค่อยมาฟ้องและกล่าวหาผู้ดำรงตำแหน่งนายกในขณะนั้น

ซึ่งจะทำให้ ความผิดที่ก่อ ความเสียหายต่อรัฐที่เกิดตลอดจน โทษ และ ความรับผิด ที่พึงมี

ของบุคคลต่างๆต่อสิ่งต่างๆในประเด็นต่างๆ นั้น มีความชัดเจน และได้รับการพิจารณา อย่างเป็นขั้นเป็นตอน

เป็นกรณีๆ ไป...


ความเห็นเพิ่มเติม ต่อข่าวในวันที่ 19 มีนาคม 2553
----------------------------------------------------

-----------
คำถาม ที่1
-----------

ถ้าปฏิบัติ ตามแนวทางของคำพิพากษา คือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ( เท่าไหร่ก็ยังไม่รู้)จากบริษัท คืนกลับสู่รัฐ ตรงนี้ ถือว่าเป็นธรรม ต่อ ผู้ถือหุ้น ที่ไม่ได้ร่วมกระทำผิดแค่ไหน และอย่างไร เพราะการตัดสินใจลงทุนนั้น ผู้ลงทุนกระทำไปด้วยความสุจริต โดยเห็นว่า บริษัทฯได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ในขณะนั้นอย่างถูกต้อง ทุกประการ

-----------
คำถาม ที่2
-----------

ถ้าไม่ปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับคำพิพากษา ด้วยการใช้นโยบาย เพื่อให้ความเป็นธรรม ต่อผู้ถือหุ้นตามเหตุผลข้างต้น ก็ต้องถือว่า ได้ใช้นโยบาย ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐโดยเอื้อประโยชน์ให้บริษัทและผู้ถือหุ้น เช่นเดียวกัน ตามบรรทัดฐาน ของคำพิพากษา นั้นเอง ใช่ หรือ เปล่า

====================================

----------------
คำถาม ชวนคิด
----------------

บริษัท สื่อสารที่ไม่ได้มีชื่อยู่ใน คำพิพากษา เช่น Dtac True ที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายดังกล่าว ร่วมกันในบางแง่ และ ได้มีการแก้ไขสัญญาสัมปทาน ในบางลักษณะที่คล้ายคลึงกันควรจะต้องได้รับการปฏิบัติ แบบใด จึงจะเหมาะสม

เพราะ บริษัท Dtac และ True ได้ปฏิบัติตามกฎหมายและนโยบาย ของรัฐในขณะนั้น ทุกประการ อีกทั้ง ผู้มีอำนาจที่ถูกตัดสินว่ากระทำผิด ไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทเหล่านี้เลยด้วย

รวามถึง การแก้ไขสัญญา เป็นความตกลงร่วมกันทั้งสองฝ่ายระหว่าง บริษัท และ รัฐฯ ซึ่งไม่ได้มีอำนาจของผู้ถูกกล่าวหามาเอื้อประโยชน์ ให้แต่อย่างใด เพราะ อยู่ในสถานะคู่แข่ง เสียด้วยซ้ำ

จะเป็นธรรม ต่อ บริษัท และ ผู้ถือหุ้น ของ Dtac และ Trueหรือเปล่า หากต้องถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ย้อนหลัง จากที่นโยบายดังกล่าวถูกพิพากษา ย้อนหลัง ว่าเป็นนโยบาย ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ

แต่ถ้าไม่ฟ้อง Dtac กับ True ก็จะมีคำถามแย้ง มาอีกว่า

ทำไม กรณี AIS รัฐ จึงเกิดความเสียหาย แต่ Dtac กับ True รัฐ ถึงไม่เกิดความเสียหาย


ประเด็นเรื่อง การแก้ไขสัญญาสัมปทานและการฟ้องเรียกค่าเสียหายมีมาตั้งแต่ ปลายปีที่แล้ว แล้วนะครับ

ก่อนมีคำพิพากษา ในวันที่ 26 ก.พ. 53 ประมาณ 3 เดือน

และในตอนนั้น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)ระบุชัดเจนว่า

การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต้องฟ้องร้องเอากับบริษัทเนื่องจากเป็นคู่สัญญา กับ รัฐฯ

ดังนั้น การที่ รมว.คลัง ออกข่าวว่าจะไม่ฟ้อง บริษัทฯตามที่ปรากฎ

หลังจาก มีคำพิพากษาของศาลฏีกาแล้ว (ก.พ. 53 )
และหลังจากมี รายงานของ สคร. แล้ว ( พ.ย. 52)

---

น.ส.สุภา ปิยะจิตติ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ให้สัมภาษณ์ว่า

ได้เสนอเรื่องการแก้ไขสัญญาสัมปทานไม่ชอบด้วยกฎหมายของบริษัททีโอทีฯ และบริษัท กสท โทรคมนาคมฯ กับคู่สัญญา 3 แห่ง ได้แก่

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส,
บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค
และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือทรู

ให้กับนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรับทราบแล้ว เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เศรษฐกิจพิจารณาเห็นชอบในวันที่ 2 ธ.ค.นี้ เพราะที่ผ่านมามีการแก้ไขสัญญาสัมปทานหลายครั้ง ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนและไม่ทำตามขั้นตอน ส่งผลให้รัฐเกิดความเสียหายนับแสนล้านบาท

น.ส.สุภา กล่าวว่า แนวทางการทำสัญญาให้ถูกต้องตามกฎหมายนั้น กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ต้องเป็นผู้ดำเนินการและเสนอมาให้ ครม.พิจารณาว่าเห็นชอบหรือไม่ โดยไอซีที รวมถึงทีโอที และ กสท ต้องกลับไปทบทวนสัญญาที่แก้ไขไปแล้วว่า สมควรหรือมีเหตุผลหรือไม่

เธอระบุด้วยว่า หาก ครม.พิจารณาแล้ว ไม่เห็นชอบตามที่ไอซีทีเสนอมา เพราะเห็นว่าเหตุผลในการแก้ไขสัมปทานที่ผ่านมาไม่สมควร ก็ต้องยกเลิกสัญญาสัมปทานที่แก้ไขแล้วกลับไปใช้สัมปทานเดิม ซึ่งส่งผลให้เอกชนต้องจ่ายค่าเสียหายจากการแก้ไขสัญญาสัมปทาน
ให้ทีโอทีและ กสท ซึ่งจากการประเมินของ สคร.พบว่า

การแก้ไขสัญญาสัมปทานจำนวน 10 สัญญา ตั้งแต่ปี 2543 ทำให้ทีโอทีเสียหายโดยได้รับส่วนแบ่งรายได้จากสัมปทานน้อยลง 1.3 แสนล้านบาท และ กสท เสียหาย 8.3 หมื่นล้านบาท รวมเป็นเงินที่ทั้งสองแห่งได้รับความเสียหาย 2.2 แสนล้านบาท

สำหรับตัวอย่างการแก้ไขสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อาทิ การแก้ไขสัญญาสัมปทานของเอไอเอส ที่เดิม 5 ปีแรกต้องจ่ายรายได้ให้กับรัฐ 15% หลังจากนั้นปีที่ 6-10 จ่าย 20% ปีที่ 11-15 จ่าย 25% ปีที่ 16-20 จ่าย 30% ปีที่ 21-25 จ่าย 35%

ซึ่งในส่วนนี้มีการแก้ไขให้จ่ายค่าสัมปทานเหลือ 30% ทำให้รายได้ของทีโอทีหายไป 5 พันล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการแก้ไขสัญญาของเอไอเอส ให้ในส่วนของโทรศัพท์ประเภทเติมเงิน (พรีเพด) ให้จ่ายส่วนแบ่งรายได้แค่ 20% เท่านั้น

จากที่ต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้เหมือนกับโทรศัพท์จ่ายรายเดือนปกติทำให้รัฐสูญเสียรายได้ไป 8.1 หมื่นล้านบาท

ส่วนความเสียหายที่เหลือ เป็นการแก้ไขสัญญาสัมปทานของ ดีแทค และ ทรู

-----------------------------
หวั่นอายุสัมปทานหมดก่อน
-----------------------------
"กระทรวงการคลังเห็นว่าเรื่องนี้ต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมายและเอาเงินที่สูญเสียจากการแก้ไขสัญญาที่ไม่ถูกต้องกลับคืนมาให้ได้ก่อน
ส่วนเรื่องหาคนรับผิดชอบเป็นเรื่องทีหลัง ที่ต้องมาดูเจตนาว่าเป็นอย่างไร เพราะหากปล่อยไปช้ากว่านี้แล้วอายุสัมปทานเอกชนหมด รัฐอาจไม่ได้อะไรคืนเลย"

น.ส.สุภากล่าว

ที่มา : thaipost 30 พฤศจิกายน 2552


ที่สำคัญ

หลังจากมีคำพิพากษา ในวันที่ 26 ก.พ. 53 แล้วอีก 1 เดือนต่อมา

ทางสคร. ก็ยังยืนยันว่าต้องฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย กับ บริษัท ฯ

---

คลัง ดักคอไอซีที ไล่บี้ หน่วยงานใต้สังกัด "ทีโอที-กสท" เร่งฟ้อง 4 ค่ายมือถือ เรียกค่าเสียหายเรียงตัวทั้งเอไอเอส,ดีแทค,ทรูมูฟ และดีพีซี

กรณีภาครัฐเสียรายได้แปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิตรวมมูลค่า 75,798 ล้านบาท

ชี้หากซื้อเวลา ส่งผลให้คดีความหมดอายุ คนรับผิดชอบ เจอข้อหาเองฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ...

---

"ส่วนที่เสียหายในมุมของกฎหมายต้องฟ้องบริษัทเอกชนด้วย เพราะเป็น นิติบุคคล ผู้รับประโยชน์

ส่วนเอกชนจะต่อสู้อย่างไรเป็นเรื่องของเอกชน แต่ทีโอที และ กสท ต้องฟ้องไปตามขั้นตอน เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาชี้ขาด" นางสาวสุภา กล่าว

*** ละเว้นหน้าที่มีสิทธิ์ติดคุก........

นางสาวสุภา ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับการยึดทรัพย์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

ขั้นตอนหลังจากนี้สำนักงานอัยการสูงสุดต้องทำเรื่องเพื่อขอบังคับคดีไปยังศาลฎีกาฯ เพื่อบังคับให้ทรัพย์สินที่ยึดตกเป็นของแผ่นดิน

ขณะที่ตัวบุคคลที่ศาลฎีกาฯ ชี้ ว่ามีส่วนกระทำการที่ไม่ถูกต้องหรือทำให้รัฐเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นคณะรัฐมนตรี ข้าราชการประจำ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ได้มีการกล่าวอ้างว่าเป็นผู้มีส่วนที่ทำให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นก็ให้ดำเนินคดีทางแพ่งและคดีอาญาต่อไป

ใครทำให้เสียหายก็ต้องฟ้องไล่เบี้ยตามลำดับ

"อายุความของคดีนี้สิ้นสุด 2 ปีนับจากวันที่ศาลตัดสิน ถ้าปล่อยให้อายุความหมดไป ผู้ที่รับผิดชอบคือเจ้าของเรื่องที่ถือเรื่องนี้ เอาไว้ตอนนี้ สคร.มีข้อมูลทั้งหมดแล้ว

ซึ่งทาง ไอซีที ,ทีโอที และแคท ต้องทำ

ถ้าไม่ทำหรือทิ้งไว้จนขาดอายุความ จะกลายเป็นความผิดเสียเอง ในประเด็นละเว้นปฏิบัติหน้าที่ไม่ดูแลรักษาผลประโยชน์ของรัฐ"


//www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=26260:4-13-&catid=89:2009-02-08-11-24-05&Itemid=417

โยงใย ที่ซ่อนเร้น
-------------------

ข่าวในวันอังคารที่ 16 มีนาคม 2553

ADVANC,THCOM,TRUE เทรดคึกคักตอบรับข่าวกรณ์ไม่ฟ้องย้อนหลังแก้สัมปทาน

----

น.ส.ศลยา ณ สงขลา ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กิมเอ็ง(ประเทศไทย)

กล่าวว่า เช้านี้ แนะ "ซื้อเก็งกำไร"

หุ้น บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส(ADVANC),บมจ.ไทยคม(THCOM) และบมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น(TRUE) ภายหลังจากที่มีข่าวออกมาว่า นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง

จะไม่ฟ้องร้องย้อนหลังเพื่อเรียกค่าเสียหาย กรณีการแก้ไขสัมปทานในอดีต เพราะเห็นว่าอาจกระทบผู้ถือหุ้นในปัจจุบันที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแก้ไขสัมปทาน


//www.ryt9.com/s/iq05/864057

----

มนตรี ศรไพศาล
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท หลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน)

แม้มนตรีจะอายุเพียง 43 ปี แต่ก็วนเวียนอยู่ในแวดวงการเงินมานานเกือบ 20 ปี เรียนจบมาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ(การเงิน)ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผ่านการอบรมหลักสูตร DAP รุ่น 21/2004 ของสถาบันส่งเสริมสถาบัน
กรรมการบริษัทไทย...

เริ่มต้นสายงานวาณิชธนกิจที่ บริษัทหลักทรัพย์ เจ เอฟ ธนาคม

ภายหลังลาออกไปเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการลงทุนที่ เอไอเอ และผู้จัดการอาวุโสฝ่ายวาณิชธนกิจที่ บริษัทหลักทรัพย์ เอส จี สินเอเชีย และกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ วิคเคอร์ส บัลลาส(ประเทศไทย) ก่อนมาร่วมงานกับ บมจ. กิมเอ็งฯ ในปี 2544 จนถึงปัจจุบัน

ก่อนหน้านี้เคยมีกระแสข่าวว่าเขากำลังจะก้าวเข้าสู่เส้นทางการเมืองจากแรงสนับสนุนของ กรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์

อดีตลูกพี่เก่าที่ เจ เอฟ ธนาคม


//www.giggog.com/economic/cat5/news8813/

จากคุณ : The Rounder เขียนเมื่อ : 30 เม.ย. 53 08:32:39


ที่มา โต๊ะสินธร

ที่ผมยกข่าวเอามาให้อ่านเป็นข้อเท็จจริงนี่ก็เพื่อจะสรุปให้ทราบว่า การให้ข่าวว่าจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากสัมปทานของกลุ่มธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์หรือไม่ มีผลต่อการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ด้วย ต่อให้ยกข้ออ้างเรื่องการลงทุนมีความเสี่ยงผู้ซื้อขายต้องศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจทุกครั้ง แต่ผู้ลงทุนเองก็ต้องล่วงรู้ในเล่ห์กลการปั่นหุ้นอันทุจริตและแจ้งให้กลต.ทราบเพื่อดำเนินการเอาผิด รักษาผลประโยชน์ของผู้ที่ถือและปล่อยหุ้นปั่นโดยไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ด้วยเช่นกัน
ถ้าการให้ข่าวเรื่องนี้ไม่ชัดเจนมีการชัดออกชักเข้าอย่างที่เอามาให้อ่านกันอยู่นี่ จะกลายเป็นช่องว่างสำคัญของพวกนักปั่นที่สามารถล่วงรู้ข้อมูลวงในการตัดสินในรัฐบาลในการปั่นหรือทุบราคาหุ้นเพื่อหาผลประโยชน์ของตัวเองได้ ยิ่งถ้ารมต.คลังมีการติดต่อกับกลุ่มบุคคลที่ได้ประโยชน์จากการปั่นและทุบหุ้นละก็ ยิ่งต้องสงสัยอย่างมากว่าได้กระทำการทุจริตรับผลตอบแทนจากนักปั่นเพื่อแลกกับการกลับกรอกไปมาในการให้ข่าว
ขอดักคอพวกคนที่ยังเชียร์รัฐบาลว่า พวกนี้ก็จะพยายามปกป้องโดยโทษนักลงทุนที่ไม่มีความสามารถเอง หรือ โง่เองว่างั้นเถอะ หรือพยายามบอกว่านี่เป็นผลประโยชน์ที่ประเทศชาติจะได้รับ (เงินที่ได้เข้าคลังจากนั้นพวกนักการเมืองก็เอาไปทำงบประมาณรายจ่ายให้พรรคพวกได้โกงกินกัน นั่นจะเรียกว่าผลประโยชน์ของชาติได้ไหม?)




 

Create Date : 01 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 4 พฤษภาคม 2553 15:04:51 น.
Counter : 600 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.