ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง

เจาะฐานการเมืองท้องถิ่นผ่านชื่อนายกอบจ.ภาคตะวันตกและปริมณฑล

รายชื่อนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภาคตะวันตก

กาญจนบุรี
นายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์
มีผู้ลงสมัครเพียง 2 คนเท่านั้น คือ นางอุไรวรรณ พงษ์ศักดิ์ อดีตนายก อบจ.กาญจนบุรี ในฐานะที่เป็นเจ้าของเก้าอี้นายกก็ต้องป้องกันเก้าอี้ของตัวเองไว้ และก็จับหมายเลขได้เบอร์ 1
ส่วนคู่แข่งก็เป็นไปตามที่รู้ๆ กันอยู่แล้ว เพราะคนนี้ประกาศตัวที่ลงจะชิงตำแหน่งนายก อบจ.กาญจนบุรีมาล่วงหน้าถึง 2 ปี ใช่แล้วนายรังสรรค์ หรือ “เสี่ยสรรค์” รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลวังกะ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี และอดีตสมาชิก อบจ.กาญจนบุรี เขตอ.สังขละบุรี ก็ย่อมแน่นอน ก็ต้องได้เบอร์ 2 เป็นเลขประจำตัว เมื่อต่างก็ได้เบอร์ประจำตัวแล้ว ยุทธการหาเสียงก็ระเบิดขึ้นแล้ว และนับจากวันนี้จนถึงก่อนวันเลือกตั้งคือ วันที่ 20 เมษายน 2551 แต่ละฝ่ายก็ต้องงัดเอาวิทยายุทธต่างๆ มาใช้ เพื่อที่จะดึงใจประชาชนให้ไปลงคะแนนเสียงให้กับตนเอง ในเวลานี้เสียงจากประชาชนถือเป็นเสียงสวรรค์สำหรับผู้ที่ลงสมัครรับเลือก ตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรีจริงๆ ใครได้คะแนนมากกว่าก็จะได้นั่งเก้าอี้นายก อบจ.กาญจนบุรี ในครั้งนี้
ถ้าจะมองกันว่า ในการเลือกตั้งครั้งนี้ใครจะเต็งหนึ่งนั้นคงจะฟันธงลงไปไม่ได้ ผู้สมัครทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น “เจ๊กุ้ง” อุไรวรรณ พงษ์ศักดิ์ ที่มีดีกรี “แชมป์เก่า” เจ้าของเก้าอี้นายกฯ หรือ “เสี่ยสรรค์” รังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ ที่มีฐานกำลังเป็นสมาชิกสภา อบจ.กาญจนบุรีอยู่ในขณะนี้จำนวน 24 คน ต่างก็มีประสบการณ์ทางการเมือง อีกทั้งความรู้ความสามารถในการบริหารงาน ก็ทัดเทียมกัน ถึงแม้ “เสี่ยสรรค์” จะเป็นนักการเมือง “รุ่นพี่” ก็ตาม
ลองมาเปรียบดูทั้ง 2 ฝ่าย มีพื้นฐานอย่างไร?.. เพื่อจะเอามาเปรียบเทียบถึงความได้เปรียบเสียเปรียบของทั้ง 2 ฝ่ายนี้?!?
เริ่มที่นางอุไรวรรณ พงษ์ศักดิ์ในฐานะเจ้าของเก้าอี้เดิม มีศักดิ์เป็นน้องสาว นายสันทัด จีนาภักดิ์ สส.กาญจนบุรี เขต 2 พรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็น ส.ส.จังหวัดกาญจนบุรีหลายสมัย และนายสันทัด เองมีความใกล้ชิดกับแกนนำของพรรคพลังประชาชนหลายท่าน และเป็นเพื่อนนักเรียนกับ พล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์ ส.ส.กาญจนบุรี เขต 1 พรรคพลังประชาชน ซึ่งเชื่อว่านางอุไรวรรณ พงษ์ศักดิ์ ได้รับการสนับสนุนจากนายสันทัด พี่ชาย อย่างเต็มที่ นั่นก็ย่อมแน่นอน ฐานเสียงที่สนับสนุนนายสันทัด ก็ต้องถูกดึงมาช่วยอย่างเต็มที่ อีกทั้งคะแนนเสียงเดิมที่เคยเทให้กับนาง อุไรวรรณ ในการเลือกตั้งคราวที่แล้ว คงยังเหนียวแน่น แต่ นางอุไรวรรณ จะเสียเปรียบที่ว่าสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) กาญจนบุรีในสังกัดตนเอง มีเพียง 6 คนเท่านั้น
ในส่วนคู่แข่งนายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ หรือ “เสี่ยสรรค์” จากที่ได้ผันตัวเองจากสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ คือเคยเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี เขตอำเภอสังขละบุรีหลายสมัยติดต่อกัน ลงเล่นการเมืองระดับท้องถิ่น (อำเภอ) ลงสมัครเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลสังขละบุรี และครองเก้าอี้นายกเทศมนตรีฯ ถึง 3 สมัย เป็นบุตรชายคนโตของ นายสุนทร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ “เสี่ยฮุก” นักธุรกิจค้าไม้ชื่อดังระดับประเทศ ซึ่งมีทั้งบารมี อำนาจและทรัพย์สินเงินทองเหลือล้น นอกจากนี้ นายสุนทร หรือ “เสี่ยฮุก” ยังมีความสนิทสนมและเคยให้การสนับสนุนพรรคการเมืองต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์และพรรคพลังประชาชน รวมทั้งนักการเมืองระดับชาติหลายคน เมื่อลูกชายหัวแก้วหัวแหวนลงเล่นการเมืองระดับจังหวัด ที่มีเก้าอี้ “นายก อบจ.” เป็นเดิมพันเช่นนี้ “เสี่ยฮุก” นายสุนทรจะนั่งนิ่งดูดายได้ยังไง? และสำหรับตัวนายรังสรรค์เอง ก็มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ ในสังกัดตนเองจำนวน 24 คน ที่เป็นหัวหอกในการทะลวงคะแนนเสียงจากชาวบ้านก็ได้เปรียบตั้งเยอะแล้ว
ผลการนับคะแนนการเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ อบจ.กาญจนบุรี ซึ่งมีผู้ลงสมัครเพียงแค่ 2 คน ปรากฎว่า นายรังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ อดีตนายกเทศมนตรีตำบลวังกะ บุตรชายคนโตของนายสุนทร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ หรือ “เสี่ยฮุค” นักธุรกิจค้าไม้ชื่อดัง นำมาเป็นอันดับ 1 โดยได้ 124,281 คะแนน ส่งนอันดับที่ 2 คือ นางอุไรวรรณ พงษ์ศักดิ์ น้องสาวของสันทัด จีนาภักดิ์ สส.กาญจนบุรีได้ 79,436 คะแนน

ประจวบคีรีขันธ์
นายทรงเกียรติ ลิ้มอรุณรักษ์
มีเพียงนายทรงเกียรติ ลิ้มอรุณรักษ์ อดีต นายกอบจ.ประจวบฯสมัยล่าสุดเท่านั้นที่ลงสมัคร และทำให้ชาวบ้านร้านช่องทั่วไปทราบกันว่าเก้าอี้นายก อบจ.สมัยต่อไปคงเป็นใครไม่ได้นอกจาก “ทรงเกียรติ ลิ้มอรุณรักษ์”คนเดิมนั่นเอง
สาเหตุหลักมาจากนายทรงเกียรติ ทำการเมืองอย่างต่อเนื่องยาวนาน ทำให้มีต้นทุนทางการเมืองสูง ที่สำคัญมีฐานคะแนนจัดตั้งจากเพื่อน ส.อบจ.ภายใต้ “กลุ่ม 16”มา จาก ส.อบจ.จำนวน 16 คน ที่ให้การสนับสนุนนายทรงเกียรติมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง โดยมีฐานเสียงคลุมพื้นที่ทั้ง 8 อำเภอใน 24 เขตเลือกตั้ง เป็นแรงผลักดัน ทำให้การ เลือกตั้งนายก อบจ.ประจวบคีรีขันธ์ ครั้งนี้กร่อยลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ที่ยังมีให้เห็นเป็นสีสันได้บ้าง คือการเลือกตั้ง ส.อบจ.ในบางพื้นที่
เมื่อตรวจรายชื่อผู้สมัคร ส.อบจ.ทั้ง 24 เขต ปรากฎว่า ล้วนเป็น ส.อบจ.กลุ่ม 16 หน้าเก่าแทบทั้งสิ้น และเขตที่น่าจับตามองคือที่ อ.หัวหิน อ.กุยบุรี อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ และ อ.บางสะพาน เนื่องจากมีการแข่งขันทางการเมืองที่เข้มข้น
เริ่มที่ อ.หัวหิน มีจำนวนเขตเลือกตั้ง 4 เขต เขตเลือกตั้งที่น่าจับตามอง เป็นเขตเลือกตั้งที่ 2 เดิมเป็นพื้นที่ของ นายธันว์ ออสุวรรณ เพื่อนกลุ่ม 16 หลังได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา (สว.)ทำให้เขตนี้ว่างลง กลุ่ม 16 จึงส่งนายสมเกียรติ กอไพศาล อดีต ส.อบจ. เขต 3 .อ.ปราณบุรี ข้ามห้วยไปลงสมัครในเขตนี้แทน
ทั้งนี้ เพื่อเปิดทางให้นายจักพันธ์ ปิยพรไพบูลย์ ทายาททางการเมือง ของนายวิรัช ปิยพรไพบูลย์ มังกรปราณบุรี คหบดีใหญ่ และประธานที่ปรึกษาสาขาพรรคพระแม่ธรณีบีบมวยผม(ประชาธิปัตย์) จังหวัดประจวบฯ ลงสมัครแทนนายสมเกียรติ ในเขตเลือกตั้งที่ 3 อ.ปราณบุรี โดยไร้เงาคู่แข่ง
ขณะเดียวกัน เขต 4 อ.หัวหิน เป็นการประลองกันระหว่างนายบุญเชิด กลิ่นลำภู ผู้สมัครหมายเลข 1 อดีต ส.อบจ.กลุ่ม 16 ปัจจุบัน กับนายสายหยุด น้ำกลั่น ผู้สมัครหมายเลข 2 อดีต ส.อบจ.เก่าในเขต นี้เช่นกัน เนื่องจากการเลือกตั้งครั้งนั้น นายสายหยุด พลาดท่าเสียตำแหน่งให้นายบุญเชิด ทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้นายสายหยุด สบโอกาสหวังกลับมาทวงตำแหน่งคืน
อ.กุยบุรี มี 2 เขต ต้องให้ความสนใจในเขตเลือกตั้งที่ 1 เป็นการต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรี ระหว่างนายสมหมาย แดงโชติ อดีต ส.อบจ.กลุ่ม 16 เจ้าของพื้นที่ กับนายเท๊า ชัยนิรัติศัย อดีต ส.อบจ.เดิมในเขตนี้เช่นกัน เนื่องจากการเลือกตั้ง ส.อบจ.ที่ผ่านมานายสมหมาย ได้แย่งตำแหน่งจากนายเท๊า เจ้าของพื้นที่เดิม ทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้ นายเท๊า ต้องกู้ศักดิ์ศรี และเตรียมตัวมาอย่างดี
ที่ อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ มีทั้งหมด 4 เขต แต่ที่เป็นสีสันและน่าจับตามอง อยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 3 เขตนี้มีผู้สมัคร 5 คน ล้วนมีดีกรี มีต้นทุนทางสังคมด้วยกันทั้งสิ้น เริ่มจากหมายเลข 1. นายนรสภณ หรือ ธนู หินแก้ว อดีต ส.อบจ กลุ่ม 16 เจ้าของพื้นที่เดิม หมายเลข 2.นายวสันต์ แก้วแจ่มใส อดีตรองนายก ทม.ประจวบคีรีขันธ์ หมายเลข 3.นายวีรเวทย์ ไลยยางกูล อดีตว่าที่ประธานสภา ทม.ประจวบคีรีขันธ์
หมายเลข 4. นายจตุรงค์ เขียวหวาน หลานชายนายประกิตติ อาจพันธ์ อดีต ส.อบจ.กลุ่ม 16 และ หมายเลข 5.นายแพทย์สนิท อาชีพสมุทร ข้า ราชการบำนาญระดับ 9 อดีตผอ.โรง พยาบาลประจวบคีรีขันธ์ แต่ที่น่าจับตามองคือ หมายเลข 2 นายวสันต์ และหมายเลข 3 นายวีรเวทย์ ที่ต่างก็มาแรง
ขณะที่ อ.ทับสะแก มีจำนวน 2 เขต โฟกัสไปเขตเลือกตั้งที่ 2 ระหว่าง นายสถิตย์ ตังคณากุล ผู้สมัครหมายเลข 1 กลุ่ม 16 อดีต ส.อบจ.เจ้าของพื้นที่ กับ ร.ต.ท.แฉล้ม ภู่ทอง ผู้สมัครหมายเลข 2 อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)นาหูกวาง อ.ทับสะแก ซึ่งทั้ง 2 ต่างมีบารมีในพื้นที่ไม่แพ้กัน
ส่วนที่ อ.บางสะพาน มีทั้งหมด 4 เขต แต่เขตที่น่าสนใจเป็นเขตเลือกตั้งที่ 2 เขตนี้มีผู้สมัคร 5 คน คือ หมายเลข 1 นายชัยวัฒน์ พิริยะสงวนพงศ์ คหบดีใหญ่ อ.บางสะพาน หมายเลข 2.นายไพรสน ปานทอง น้องชาย นายสมหมาย ปานทอง กำนันชื่อดัง ต.ธงชัย อดีต ผู้สมัคร ส.ส.เขต 3 พรรคไทยรักไทย หมายเลข 3.นายนัฐพงศ์ เจียมพานทอง กลุ่ม 16 อดีต ส.อบจ.เจ้าของพื้นที่เดิม หมายเลข 4.นายปราโมทย์ ชุ่มเชื้อ อดีตประธานสภา อบต.แม่รำพึง ล่าสุดลงสมัครแข่งขันตำแหน่งนายก อบต.แม่รำพึง แต่สอบตก และหมายเลข 5 นายบำรุง สุดสวาท อดีตผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 บ้านดอนสำราญ ต.แม่ รำพึง
โดยการเลือกตั้งครั้งนี้ ทำให้นายนัฐพงศ์ เจ้าของพื้นที่ต้องหนักใจ เพราะคะแนนจะถูกแบ่งตามสัดส่วนของฐานคะแนนของผู้สมัครทั้ง 5 คน แต่ให้จับตาม้ามืดอย่างนายชัยวัฒน์ผู้สมัครหมายเลข 1 จะเป็นตัวสอดแทรกได้อย่างเหลือเชื่อ

เพชรบุรี
นายชัยยะ อังกินันท์
ฐานเสียงของตระกูลอังกินันท์กับพลบุตร
นายชัยยะ อังกินันทน์ อดีตนายก อบจ. บุตรชายนายปิยะ อังกินันทน์ อดีต ส.ส.เพชรบุรี หัวหน้ากลุ่มรวมใจเพชร หมายเลข 1 ได้ 125,597 คะแนน ชนะนายอิทธิพงษ์ พลบุตร อดีตสมาชิกสภา อบจ. ประชาธิปัตย์ น้องชายนายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ หมายเลข 2 ได้ 72,359 คะแนน
ซึ่ง นายชัยยะ พาลูกทีมเข้าสภาจังหวัดได้ถึง21คนจาก19เขตด้วย ในขณะที่กลุ่มประชาธิปัตย์ได้ 3 คน

ราชบุรี
ผลการนับคะแนนตำแหน่งนายก อบจ. อย่างไม่เป็นทางการ
ผู้ชนะ นายวันชัย ธีระสัตยกุลอดีต ส.ว.ราชบุรี ซึ่งมีกลุ่มส.ว.ราชบุรีด้วยกัน สนับสนุนค่อนข้างแน่นอน จะได้เป็นนายก อบจ.ราชบุรี คนต่อไป เพราะได้คะแนนมากถึง 178,317 คะแนน ทิ้งห่างผู้แพ้ นิษา โพธิเวชสกุล อดีตผู้สมัคร ส.ว. ที่มีพรรคประชาธิปัตย์ หนุนหลัง ที่ได้เพียง 78,268 คะแนน และ นายเกษม จันอนุกาญจน์ได้ 14,533 คะแนน
สำหรับการเลือกตั้ง อบจ. ครั้งนี้ แม้จะมีอุปสรรคฝนตกลงมาเกือบทั้งวัน
แต่ก็มียอดผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งใน 10 อำเภอของจ.ราชบุรี มีจำนวน 611,947 คน
มาใช้สิทธิ์ 301,110 คน คิดเป็นร้อย 52.46 % บัตรดี 271,118 ใบ คิดเป็น
ร้อยละ 87.43 % บัตรเสีย 14,698 ใบ คิดเป็นร้อยละ 4.74 % ไม่ประสงค์
สำหรับผลการนับคะแนนผู้สมัครสามชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี (ส.อบจ.)ทั้ง 30 เขตประกอบด้วย
อำเภอเมือง มี 7 เขต ผู้ที่ได้รับคัดเลือกคือ
เขต 1 นายชัยวัฒน์ เนียมรักษา ได้ 5,865 คะแนน
เขต 2 นายสมคิด อโศกสกุล ได้ 2,883 คะแนน
เขต 3 นายสามารถ ประจวบวัน ได้ 4,482 คะแนน
เขต 4 นางปิยะวรรณ นันทชัยพร ได้ 5,131 คะแนน
เขต 5 นายอรรถพล พระลักษณ์ ได้ 8,979 คะแนน
เขต 6 นายประภาส มากสิน ได้ 4,682 คะแนน
เขต 7 นายสรรชัย รุ่งเสรีชัย ได้ 4,380 คะแนน

อำเภอบ้านโป่ง มี 6 เขต ผู้ที่ได้รับคัดเลือกคือ
เขต 1 นางสาวอัญชลีพร อุดมสุข ได้ 3,963 คะแนน
เขต 2 นายพรเทพ วัฒนาพันธ์ ได้ 5,209 คะแนน
เขต 3 นางสาวอ้อยทิพย์ เลิศชุติมากุล ได้ 5,776 คะแนน
เขต 4 นายสมนึก ตาลเจริญ ได้ 5,563 คะแนน
เขต 5 นายวสันต์ เที่ยงตรง ได้ 7,510 คะแนน
เขต 6 นายสุทัศน์ ฤกษ์สกุลชัย ได้ 6,016 คะแนน

อำเภอบ้านโพธาราม มี 4 เขต ผู้ที่ได้รับคัดเลือกคือ
เขต 1 นายสายัณห์ มุยเจริญ ได้ 7,506 คะแนน
เขต 2 นายสวัสดิ์ จังพานิช ได้ 6,854 คะแนน
เขต 3 นายชัยทิพย์ กมลพันธ์ทิพย์ ได้ 8,465 คะแนน
เขต 4 นายคนิตศร หลวนเกียว ได้ 5,007 คะแนน

อำเภอดำเนินสะดวก มี 3 เขต ผู้ที่ได้รับคัดเลือกคือ
เขต 1 นายคำนวณ สุทธิตระกูลชัย ได้ 5,793 คะแนน
เขต 2 นายชัยวัฒน์ หงส์ศุภางค์พันธ์ ได้ 5,776 คะแนน
เขต 3 นายบันฑิตย์ เกษตรสิน ได้ 6,731 คะแนน

อำเภอปากท่อ มี 2 เขต ผู้ที่ได้รับคัดเลือกคือ
เขต 1 นายสมศักดิ์ สีนวลสุข ได้ 4,355 คะแนน
เขต 2 นายเล็ก เหี้ยมหาญ ได้ 8,836 คะแนน

อำเภอจอมบึง มี 2 เขต ผู้ที่ได้รับคัดเลือกคือ
เขต 1 นายอุดม ธิติเศรษฐทรัพย์ ได้ 6,273 คะแนน
เขต 2 นายธนฤกต วิฬุณห์ภูติ ได้ 4,796 คะแนน

อำเภอบางแพ มี 2 เขต ผู้ที่ได้รับคัดเลือกคือ
เขต 1 นายทองดี สุขเกิด ได้ 4,193 คะแนน
เขต 2 นายสมภพ อรุณาทิตย์ ได้ 5,132 คะแนน

อำเภอวัดเพลง มี 1 เขต ผู้ที่ได้รับคัดเลือกคือ
นายสุธีร์ เล้าศศิวัฒนพงศ์ ได้ 2,695 คะแนน

อำเภอสวนผึ้ง มี 1 เขต ผู้ที่ได้รับคัดเลือกคือ
นายสุภัสสร มาบางยาง ได้ 6,587 คะแนน

อำเภอบ้านคา มี 1 เขต ผู้ที่ได้รับคัดเลือกคือ
นายนิธิวรรธน์ ศิริจรรยาพงษ์ ได้ 4,993 คะแนน

รายชื่อนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปริมณฑล

นครปฐม
นายพเยาว์ เนียะแก้ว
ฐานเสียงของตระกูลสะสมทรัพย์กับปทุมารักษ์
ผู้สมัครเพียง 3 ราย ประกอบด้วย หมายเลข 1 นายพเยาว์ เนียะแก้ว อดีต นาย กอบจ.นครปฐม หมายเลข 2 นายอภิรัฐ เปี่ยมคล้า น้องชายของนายพรศักดิ์ เปี่ยมคล้า ผู้ สมัคร ส.ส.จังหวัดนครปฐม สังกัดพรรคชาติไทย และเพิ่งสอบตก มาหมาดๆ และ หมายเลข 3 นายนิพล สุขเข อดีตสมาชิก อบต.ถนนขาด อ.เมืองนครปฐม ที่ก้าวเข้ามาลงชิงชัยในครั้งนี้ด้วย
จากการประเมินสถานการณ์ ในช่วงโค้งสุดท้าย ถือว่า คนที่เป็นตัวเก็ง คงหนีไม่พ้น นายเยาว์ เนียะแก้ว อดีต นายกอบจ.นครปฐม ผู้สมัครหมายเลข 1 ซึ่งได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งในช่วงที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน(ส.ส.) จังหวัดนครปฐม โดยให้เหตุผลถึงการที่ผู้มีพระคุณอย่างตระกูลสะสมทรัพย์ลงสมัคร ส.ส.จึงไม่อยากให้ประชาชน มองถึงความไม่เป็นกลางในการวางตัว จึงตัดสินใจลาออก เพื่อมาลงสมัครใหม่อีกครั้ง
พร้อมกันนี้ พเยาว์ เนียะแก้ว ยังได้วางฐานเสียงเดิมที่เคยไว้วางใจเลือกตั้งตั้งเข้ามาใน อบจ.เมื่อสมัยที่แล้วอย่างแน่นหนา โดยมีฐานคะแนนจาก ส.อบจ.นครปฐม เกือบทั้งจังหวัด กลุ่มชาวบ้านตามชุมชนต่างๆ นอกจากนี้ยังมีบุคลากรทางการศึกษาบางส่วนที่ชื่นชอบในนโนบายด้านการพัฒนาการ ศึกษาที่ชัดเจนและต่อเนื่องตลอดระยะ 4 ปี ที่ผ่านมา ให้การสนับสนุน จนได้รับเสียงชื่นชมจากนักการเมืองท้องถิ่นด้วยกันเอง และประชาชนในจังหวัดนครปฐม และที่ขาดไม่ได้คือ ฐานเสียงของตระกูลสะสมทรัพย์ ที่ถือเป็นฐานหลัก จึงทำให้สามารถฟันธงถึงชัยชนะได้ตั้งแต่ไก่โห่
เพราะ คู่แข่งคนสำคัญ อย่างนายพรศักดิ์ เปี่ยมคล้า และพ.ต.ท.วีระยศ ชื่นกลิ่นธูปศิริ นั้นต่างก็ได้เทใจไปลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. นครปฐม และสอบตก ไปตาม ระเบียบ จึงทำให้สถานการณ์ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่น่าจะมีอะไรที่พลิกผันไปได้
ส่วน นายอภิรัฐ เปี่ยมคล้า ผู้สมัครหมายเลข 2 น้องชายแท้ๆ ของนายพรศักดิ์ เปี่ยมคล้า ซึ่งน่าจะมีคะแนนจากฐานเสียงของพี่ชายแต่ก็ไม่น่าจะมากนัก และจากทิศทางกระแสนั้นยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของชาวบ้านเท่าที่ควร รวมถึงแม้จะมีฐานคะแนนเก่า จากนายพรศักดิ์ เปี่ยมคล้า แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้พี่ชายนั้นได้รับคะแนนในการเลือกตั้ง ส.ส.ในนามพรรคชาติไทย ได้เลย จึงสามารถวัดอะไรได้บางส่วน
ทาง ด้าน นายนิพล สุขเข ผู้สมัครหมายเลข 3 เป็นผู้สมัครที่มีชื่อเสียงน้อยที่สุดโดยพกดีกรี เป็นอดีตนายกอบต.ถนนขาด อ.เมืองนครปฐม และเคยลงสมัครรับเลือกตั้ง นายกอบต.ถนนขาด เมื่อเดือน ตุลาคม 50 ที่ผ่านมา แต่สอบไม่ผ่านโดยได้รับคะแนนอันดับ 3 ด้วยชื่อชั้นและผลงานนั้นถือว่ายังห่างไกล กับตำแหน่งเก้าอี้นายก นครปฐม ซึ่งใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ไม่ใช่เขตอำเภอใดเขตอำเภอหนึ่ง
สถานการณ์ ในการเลือกตั้งแม้จะไม่รุนแรงแต่จะมีก็เพียงนายพเยาว์ เนียะแก้ว ผู้สมัครหมายเลข1 ที่มีการลงทุนในการติดป้ายหาเสียงตามสถานที่ต่างๆ และยังมีการใช้รถหาเสียงแจงนโยบายรวมถึงการได้รับการประสานพลังจากผู้นำ ชุมชนที่สังกัดในกลุ่มชาวบ้านทั่วจังหวัดนครปฐม จึงเป็นที่รู้กันว่าตำแหน่งนายก อบจ.นครปฐม ครั้งนี้ ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดต้องเป็นของนายพเยาว์ เนียะแก้ว อย่างแน่นอน
เหตุเพราะความเชื่อใจของชาวบ้านรวมถึงยังมีโครงการอีกหลายโครงการที่ชาวบ้านต้อง การให้อดีตนายก อบจ.เข้ามานั่งในตำแหน่งเดิม เพื่อสานงานต่อ ก่องานใหม่ ที่สำคัญการลาออกจากตำแหน่งเพื่อชิงความได้เปรียบทางการเมืองไม่สามารถทำให้ คะแนนของอดีตนายก อบจ.นครปฐม ผู้นี้ตกแม้แต่น้อย

นนทบุรี
พ.ต.อ. ธงชัย เย็นประเสริฐ
ส่วนสนามอบจ.นนทบุรีที่มี "พ.ต.อ.ธงชัย เย็นประเสริฐ " อดีตนายก อบจ.นนทบุรี สนามนี้ไร้คู่ต่อกร หลัง”กลุ่มพลังหนุ่ม”ที่มี“เกษมสุช ทรงวัชราภรณ์” หัวหน้ากลุ่ม ส.อบจ.นนทบุรี ประกาศวางมือชั่วคราวทางการเมือง เนื่องจากประสบปัญหาสุขภาพ ทำให้ พ.ต.อ.ธงชัย นอนมาอย่างสบายได้ 140,440 คะแนน แม้จะมีกลุ่มอิสระลงสนามชิงชัยด้วย แต่ก็ยังอ่อนชั้น ไม่ว่าจะเป็น “พิมพร ชูรอด” ได้เพียง 29,074 คะแนน และ“จิตรา ชูตระกูล” ได้แค่ 5,860 คะแนนเท่านั้น

ปทุมธานี
ชาญ พวงเพ็ชร์
ฐานเสียงของตระกูลหาญสวัสดิ์,อึ้งอัมพรวิไล
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)และสมาชิกสภาองค์การ บริหารส่วนจังหวัด(ส.อบจ.)ปทุมธานี เมื่อวันที่ 26 ก.ค.ที่ผ่านมา ผลปรากฎว่า ชาญ พวงเพ็ชร์ อดีตนายกอบจ.ปทุมธานี ผู้สมัครหมายเลข 2 ยังคงสามารถรักษาเก้าอี้แชมป์ไว้ได้อีกสมัย มีคะแนนทิ้งคะแนนห่าง นางสิรินาฏ หาญสวัสดิ์ ผู้สมัครหมายเลข 1 ถึง 63,356 คะแนน

สมุทรปราการ
นายอำนวย รัศมิทัต
ฐานเสียงของตระกูลยังตรง,กิจเลิศไพโรจน์และอัศวเหม
เลือกตั้งเมื่อวันที่ 5 ส.ค.ที่ผ่านมา มีผู้สมัครลงชิงตำแหน่งทั้งหมด 3 คน ประกอบด้วย นายอัครวัฒน์ อัศวเหม อดีตรองนายก อบจ.สมุทรปราการ หลานชายนายวัฒนา อัศวเหม ผู้สมัครหมายเลข 1 นายอำนวย รัศมิทัต บิดา น.ส.เรวดี รัศมิทัต อดีต ส.ส.สมุทรปราการ หลายสมัย ผู้สมัครหมายเลข 2 และนายสนิท กุลเจริญ อดีต สว.สมุทรปราการ ผู้สมัครหมายเลข 3
สำหรับบรรยากาศในการเลือกตั้งในครั้งนี้พบว่า ประชาชนในพื้นที่ต่างตื่นตัวพากันออกไปใช้สิทธิจำนวนมาก แถมมีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากกว่าตระกูล “อัศวเหม” เจ้าของแชมป์เดิมคงรักษาตำแหน่งไว้ได้ ในที่สุดผลการเลือกตั้งปรากฏว่ามีการล้มแชมป์ชนิดพลิกความคาดหมาย โดยผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 6 ส.ค.ว่า ผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการพบว่านายอำนวย รัศมิทัต มาเป็นอันดับที่ 1 ด้วยคะแนน 124,417 คะแนน ส่วนอันดับที่ 2 ได้แก่ นายอัครวัฒน์ อัศวเหม ได้คะแนน 118,746 คะแนน และอันดับที่ 3 นายสนิท กุลเจริญ ได้ 63,668 คะแนน
การเลือกตั้งครั้งนี้มีประชาชนที่มาลงคะแนนเสียงประมาณ 40% จากผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนทั้งหมดราว 7.8 แสนคน

ผลการนับคะแนนการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)สมุทรปราการ ได้นับเสร็จสิ้นสมบูรณ์ครบทุก 6 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมือง อ.บางพลี อ.บางบ่อ อ.บางเสาธง อ.พระสมุทรเจดีย์ และอ.พระประแดง ในช่วงเวลา 10.00 น.วันที่ 23 พฤษภาคม 2554 ผลปรากฎว่า
อันดับ 1 นายชมน์สวัสดิ์ อัศวเหม อดีตนายกเทศมนตรีนครสมุทรปราการ ผู้สมัครนายก อบจ.หมายเลข 1 บุตรชายนายวัฒนา อัศวเหม อดีตรัฐมนตรีช่วยการทรวงมหาดไทย ได้ 157,577 คะแนน
อันดับ 2 นายอำนวย รัศมิทัต อดีตนายก อบจ.คนล่าสุด ผู้สมัครนายก อบจ.หมายเลข 2 ได้ 148,718 คะแนน
และ อันดับ 3 น.ส.ภัทรวดี อภิเด่นนภาลัย อดีตสอบจ. ผู้สมัครนายก หมายเลข 3 น้องสาว นายประเสริฐ อภิเด่นนภาลัย อดีต ส.ส.สมุทรปราการ เขต 1 พรรคเพื่อไทย ได้ 114,218 คะแนน
ส่วนนายธนภณ คารมปราชญ ผู้สมัครนายก อบจ.หมายเลข 3 ได้ 4,138 คแนน และนายธนภัท ธัญธนพัท ผู้สมัครนายก อบจ.หมายเลข 5 ได้ 2,186 คะแนน
และการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ในครั้งนี้พบว่า มีประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง จำนวน 848,111 คน มาใช้สิทธิ์จำนวน 466,099 คน คิดเป็นร้อยละ 54.4 มีบัตรดี 426,837 ใบ บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 28,060 ใบและบัตรเสีย 11,208 ใบ

สมุทรสาคร
นายอุดร ไกรวัตนุสสรณ์
ฐานเสียงของตระกูลไกรวัตนุสสรณ์กับทับสุวรรณ
หากไม่มี “อเนก ทับสุวรรณ” ส.ส.หลายสมัยของพรรคประชาธิปัตย์ ตัดสินใจลงสนามเล็กด้วย บรรยากาศการแข่งขันคงจะจืดชืดไร้สีสัน เพราะเจ้าของเก้าอี้นายก อบจ.คนเดิม อย่าง “อุดร ไกรวัตนุสสรณ์” จากค่ายพลังประชาชน คงจะรักษาตำแหน่งเดิมเอาไว้ได้อย่างแน่นอน
การ กลับมาของ “อเนก" อดีต รมช.สาธารณสุข และคมนาคม ถูกขอร้องแกมบังคับจากแกนนำของประชาธิปัตย์หลายคน เพื่อให้เป็นตัวแทนของพรรคเพื่อรักษาฐานเสียง "ชนชั้นกลาง" ของสมุทรสาคร หลังที่ประชาธิปัตย์พลาดท่าเสียฐานที่มั่น ในการเลือกตั้งเทศบาลนคร เมื่อ 16 มี.ค. ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ยังมีอีกเหตุผล หนึ่งที่ทำให้ “อเนก” เบนเข็ม โดดลงสู่การเมืองท้องถิ่น ก็เพราะต้องการแทนคุณพรรคประชาธิปัตย์ ที่เปิดทางให้ “ครรชิต ทับสุวรรณ” ลูกชาย ได้ลงสนามเลือกตั้งจนได้เป็นส.ส.คู่ กับ “น.ต.สุธรรม ระหงส์” อีกด้วย
แม้ที่ผ่านมา ”อเนก” จะร้างเวทีการเมืองมานาน หลังเคยเป็นส.ส.หลายสมัย และมีตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวง ซึ่งก็เชื่อว่ายังไม่ตกชั้นจากการเมือง ประกอบกับฐานเสียงที่เขาปูไว้ให้กับลูกชาย เมื่อรวมกับฐานเสียงของประชาธิปัตย์ในพื้นที่ บวกกับพื้นที่อยู่ใกล้ กทม.ยังมีกระแส "ไม่เอาทักษิณ" ผสมโรงอยู่ในพื้นที่ไม่น้อย จึงไม่ยากนักที่เขาจะเก็บเกี่ยวคะแนนตุนไว้ในกระเป๋า
ขณะ ที่แชมป์เก่า “อุดร” หรือเสี่ยตุ่น” อดีตนายก อบจ.จากค่ายพลังประชาชน นั้นมีแต้มต่อจากความใกล้ชิดกับองค์กรต่างๆ ในท้องถิ่นแล้ว ยังมีเสียงจัดตั้งที่ผู้เป็นบิดา “เฮียม้อ มหาชัย” หรือ “มณฑล ไกรวัตนุสสรณ์” อดีต ส.ส.รุ่นเก๋าหลายสมัย สั่งสมมาจนโด่งดัง เป็นตัวช่วยสำคัญ ล่าสุดก็พึ่งหวนสังเวียนโดดลงเวที ส.ส.พลังประชาชน จนยึดได้มา 1 เก้าอี้ แม้การก้าวสู่สนามการเมืองอีกครั้ง อาจจะทำไปเพราะลูกอีกคนที่ชื่อ “อุดม ไกรวัตนุสสรณ์ หรือ “ปลัดแต” ที่อาศัยอยู่ชายคาบ้าน 111 ก็ตาม
นอกจากนี้ “อุดร” ยังมีขุมกำลังอยู่ในผู้นำท้องถิ่น และชุมชนกว่า 40 แห่ง หรือเกือบครึ่งอยู่ในมือ จำนวนเสียงรวมๆ ไม่น่าต่ำกว่า 8 หมื่นแต้ม
“เฮีย ม้อ มหาชัย” ผู้บิดา คงไม่ปล่อยให้ลูกข้ามทะเลแต่ผู้เดียว ย่อมประคับประคอง พาลูกไปถึงจุดหมาย เพราะหากพลาดท่าก็จะเสียชื่อพลังประชาชน ที่เขาสนิทแนบแน่นอยู่กับหลายกลุ่ม
การแพ้หรือชนะของ”อุดร” คงขึ้นอยู่กับตัวบิดาเป็นปัจจัยหลัก เพราะ "เฮียม้อมหาชัย" เป็นผู้อยู่เบื้องหลังทั้งหมด แม้แต่สนามเลือกตั้งเทศบาลนครที่พึ่งจบลงไป เขาก็เป็นผู้วางแผน ”เจาะไข่แดง” จนสามารถเข้าไปยึดพื้นที่ 3 ตำบลของประชาธิปัตย์ ทำให้พลังประชาชนได้รับชัยชนะในที่สุด
อย่างไร ก็ตาม ตัวของ ”อเนก” คู่แข่งย่อมรู้ว่า การกลับมาลงสนามท้องถิ่นที่เขาไม่ถนัด ย่อมเสียเปรียบคู่แข่งอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่ด้วยประสบการณ์ และบทเรียนที่เขาได้รับมาตลอดชีวิตการเมือง จึงเชื่อว่าย่อมมีทางออก โดยต้องมุ่งสร้างความมั่นใจในนโยบายที่ถอดแบบมาจากพรรคประชาธิปัตย์
นายเอนก ทับสุวรรณ อดีต ส.ส.สมุทรสาคร ทีมประชาธิปัตย์ หมายเลข 1 ได้ 53,346 คะแนน (ญาติของครรชิต ทับสุวรรณ สส.สมุทรสาคร คนปัจจุบัน)แพ้นายอุดร ไกรวัตนุสสรณ์ อดีตนายก อบจ. ทีมพลังประชาชน ที่ได้ 85,584 คะแนน(บุตรของนายมณฑล สส.พปช.)




 

Create Date : 03 กันยายน 2553    
Last Update : 23 พฤษภาคม 2554 20:02:30 น.
Counter : 3398 Pageviews.  

เปิดรายชื่อผู้สมัครสมาชิกสภากทม.กับวิเคราะห์สนามเลือกตั้งและอนาคตทางการเมืองนับจากนี้

เลือกตั้ง สก. ครบทุกเขต(50 เขต 61 ที่นั่ง ) สข. 36 เขตที่เหลือ 256 ที่นั่ง

สำหรับรายชื่อผู้สมัคร ส.ก.มีดังนี้

เขตคลองเตย

1 พ.ต.ท.ขวัญชัย ชัยเวช กมม. 2 นายเจน หิมะทองคำ พท. 3 นางกรณิศ งามสุคนธ์รัตนา ปชป.

เขตคลองสาน

1 นายโกสินทร์ สุทธิรัตน์ พท. 2 นายสมชาย เต็มไพบูลย์กุล ปชป. 3 น.ส.สายรุ้ง ปิ่นโมรา กมม.

เขตคันนายาว

1 นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ พท. 2 นายโยธิน ปัชฌามุก ปชป. 3 นายเกษม ทรัพย์เจริญ กมม.

เขตดินแดง

1 นายชวลิต เทียนเดช อิสระ 2 นายสิทธิวัฒน์ ชีรวินิจ ปชป. 3 นางอนงค์ เพชรทัต พท. 4 นางพิรญาณ์ ลัดดากลม กมม.

เขตดุสิต

1 นางบุศกร คงอุดม ปชป. 2 นายศิริพงษ์ ลิมปิชัย พท. 3 นายมนัส พงศ์วรินทร์ กมม.

เขตตลิ่งชัน

1 นายเป็นเลิศ จิรังนิมิตสกุล กมม. 2 พ.ต.ท.วันชัย ฟักเอี้ยง ปชป. 3 นายสมคิด ชุ่มปลั่ง พท.

เขตทวีวัฒนา

1 พ.ต.ท.หญิง อรุณศรี โสขุมา พท. 2 นายสุไหง แสวงสุข ปชป.

เขตทุ่งครุ

1 นายศิริพงษ์ เย็นอังกูร มภ. 2 นายวันชัย เปี่ยมสวัสดิ์ ปชป. 3 นายวิโรจน์ ญาณพิชิต กมม. 4 นายสุวรวิทย์ วรรณศิริกุล พท.

เขตธนบุรี

1 นาย สมเกียรติ กันทรวรากร ปชป. 2 นายสุวรรณ เอี่ยมสุขนันท์ กลุ่มคนธนบุรี 3 นายวิชัย หุตังคบดี พท. 4 นายสมชาย เอี่ยมมงคลสกุล กมม.

เขตบางกอกน้อย

1 นางปริษฐา วงศ์อากาศ พท. 2 นายนภาพล จีระกุล ปชป. 3 นายประสาร แก้วนิยม อิสระ 4 นายสันติ ระฆังทอง กมม.

เขตบางกอกใหญ่

1 นางทิพย์ประภา ศุขบุญ พท. 2 นายวิรัช คงคาเขตร ปชป.

เขตบางคอแหลม

1 นางจุฑาเพชร จินตโสภณ พท. 2 นายสมเกียรติ อโนทัยสินทวี กมม. 3 นายอภิมุข ฉันทวานิช ปชป.

เขตบางซื่อ

1 น.ส.พรพิมล คงอุดม ปชป. 2 น.ส.ภัคภร ตั้งปณิธานสุข พท.

เขตบางนา

1 นายกวีวงศ์ อยู่วิจิตร พท. 2 นายคำรณ บำรุงรักษ์ ปชป. 3 นายพัสกร พุฒขาว กมม.

เขตบางบอน

1 นายสมพร คงโครัด กมม. 2 นายเชาว์ สังข์คุ้ม พท. 3 นายณรงค์ศักดิ์ ม่วงศิริ ปชป.

เขตบางพลัด

1 นายมนูญ นกยูงทอง กมม. 2 นายคมสัน พันธุ์วิชาติกุล ปชป. 3 นายศีลธรรม พัชรประกาย กลุ่มคนทำงานเมือง 4 นายวัชรา พรหมเจริญ พท.

เขตบางรัก

1 นายพิพัฒน์ ลาภปรารถนา ปชป. 2 นายธานี บุปผเวส พท. 3 นายอภิชาติ อุดม กมม.

เขตบึงกุ่ม

1 นายกษิณ พุกรักษา พท. 2 นายแมน เจริญวัลย์ ปชป. 3 นายบุญส่ง ชเลธร กมม.

เขตปทุมวัน

1 น.ส.เมธาวี ธารดำรงค์ อิสระ 2 น.ส.อุไร อนันตสิน ปชป. 3 นายวิเชียรโชติ ส่งอาภากรณ์รัตน์ พท. 4 นายปฐม สุคนธชาติ กมม. 5 นายสุวิทย์ ทรัพย์เกตุโสภา อิสระ 6 นายภูมิพิชัย ธารดำรงค์ อิสระ

เขตป้อมปราบฯ

1 นายธนภัทร ธาตวากร กมม. 2 นายเอก จึงเลิศศิริ ปชป. 3 นางมาลี อุ่นมงคลมิตร พท.

เขตพญาไท

1 นายพีรพล กนกวลัย ปชป. 2 นายสุชาติ วิริยานุภาพพงศ์ กมม. 3 นายกวี ณ ลำปาง พท.

เขตพระโขนง

1 นายสมศักดิ์ รัตนกังวานวงศ์ พท. 2 นาย ตรีสิทธิ์ ศิริวรรณ ปชป.

เขตพระนคร

1 นายบดินทร์ วัชโรบล พท. 2 น.ส.กานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ ปชป. 3 นายรัชต์ชยุตม์ ศิรโยธินภักดี (อมรเทพ อมรรัตนานนท์)กมม. 4 นายพงษ์พจน์ พิมพ์สมฤดี อิสระ

เขตภาษีเจริญ

1 นายสุธา นิติภานนท์ ปชป. 2 นางสุภาภรณ์ คงวุฒิปัญญา พท. 3 น.ส.เพ็ญพิมล วิภาคทรัพย์ กมม.

เขตมีนบุรี

1 นายสุนันท์ มีนมณี ปชป. 2 นายวิรัตน์ มีนชัยนันท์ พท. 3 นายธนาวุฒิ วงษ์เสน กมม. 4 นายสุรชัย นิวาสพันธุ์ กลุ่มคนรักเมืองมีน

เขตยานนาวา

1 นายสมชาย มานะสิริจินดา อิสระ 2 นายอมรเทพ เศตะพราหณ์ ปชป. 3 นายณรงค์ กองปัญญา พท.

เขตราชเทวี

1 นางผุสดี วงศ์กำแหง ปชป. 2 นายปรเมษฐ์ ภู่โต กมม. 3 นายเอกกฤษ อุณหกานต์ พท.

เขตราษฎร์บูรณะ

1 นายสมพงษ์ สุวรรณคู กมม. 2 นายไสว โชติกะสุภา ปชป. 3 นายสุเมธี วรรณศิริกุล พท.

เขตลาดพร้าว

1 น.ส. บุณฑริกา ประสงค์ดี พท. 2 นายกษิดิ์เดช ชุติมันต์ ปชป. 3 นายปรีดา นักงาน กมม.

เขตวังทองหลาง

1 นายนัสเซอร์ ยีหมะ กมม. 2 นายบำรุง รัตนะ ปชป. 3 นายสิงห์ทอง บัวชุม พท.

เขตวัฒนา

1 นายประสิทธิ์ รักสลาม ปชป. 2 ว่าที่ ร.ต.นภดล เดชาฤทธิ์ กมม. 3 นายธนินท์พล ปิคิธนภูมิพัฒน์ พท.

เขตสวนหลวง

1 นายณัทวุฒิ หมัดนุรักษ์ ปชป. 2 นายคงเจษฎร์ พุ่มม่วง พท. 3 นายเนติราษฎร์ นาคโฉม กลุ่มศรัทธาธรรม

เขตสะพานสูง

1 นายสามารถ หว้าพิทักษ์ ปชป. 2 นายชเขษม ปจันทไทย กมม. 3 นายประสิทธิ์ มะหะหมัด พท. 4 นายปราโมทย์ บุญชู อิสระ

เขตสัมพันธวงศ์

1 นายปรีดา ปรัตถจริยา พท. 2 นายพินิจ กาญจนชูศักดิ์ ปชป. 3 นายสมหมาย ศรีสุทธิยางกูร กมม.

เขตสาทร

1 นางกรรณิกา วิชชุลตา กมม. 2 นายธวัชชัย ปิยนนทยา ปชป. 3 ไพรัชต์ พรรณรายน์ พท.

เขตหนองแขม

1 นายนวรัตน์ อยู่บำรุง พท. 2 นายฮารูบ มูหมัดอาลี กมม. 3 นายอภิเดช ศรัทธาพิริยะพงศ์ ปชป.

เขตหนองจอก

1 นายไพฑูรย์ อิสระเสรีพงษ์ พท. 2 น.ส.เบญญาภา เกษประดิษฐ์ ปชป. 3 นายวรรณภูมิ คำอ้อ กมม.

เขตหลักสี่

1 นายรังสรรค์ กียปัจจ์ ปชป. 2 นายตกานต์ สุนนทวุฒิ พท. 3 น.ส.เรณุมาศ อิศรภักดี อิสระ 4 นายศุภชัย เจียมสกุล กมม. 5 ว่าที่ร.ต.อมรวิวัฒน์ พิกุลงาม มภ.

เขตห้วยขวาง

1 นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ พท. 2 นายประวิทย์ พรหมทอง ปชป. (3 นางพัชรพิมพ์ เสถบุตร กมม.)ไม่ได้ส่งลง

เขตจตุจักร เขต 1

1 นายประพันธ์ เนตรรังษี พท. 2 นายถนอม พิมพ์ใจชน กมม. 3 นายโยธิน เปาอินทร์ ปชป.

เขตจตุจักร เขต 2

1 น.ส.วิลาวัลย์ ธรรมชาติ พท. 2 นายประกิต จันทร์สมวงศ์ กมม. 3 นายอนันตชาติ บัวสุวรรณ์ ปชป.

เขตจอมทอง เขต 1

1 นายธวัชชัย ทองสิมา พท. 2 นายพิรกร วีรกุลสุนทร ปชป.

เขตจอมทอง เขต 2

1 นายธนวัฒน์ จันทร์เศรษฐ พท. 2 นายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร ปชป.

เขตสายไหม เขต 1

1 นายเอกภาพ หงสกุล พท. 2 น.ส.รัตติกาล แก้วเกิดมี ปชป. 3 นายวัชรินทร์ อนันต์หน่อ อิสระ

เขตสายไหม เขต 2

1 นายอำนวย ชัยพรประเสริฐ พท. 2 นายสมชาย เวสารัชตระกูล ปชป.

เขตบางเขน เขต 1

1 สิบเอกอำพันธ์ เฉลิมบุญ ปชท. 2 นายฐิติโชค กาญจนภักดี ปชป. 3 นายสายันต์ จันทร์เหมือนเผือก พท.

เขตบางเขน เขต 2

1 น.ส.ปราณี เชื้อเกตุ ปชป. 2 นายณกรณ์ ทองศรี พท.

เขตบางแค เขต 1

1 นายสุพิน คล้ายนก ปชป. 2 พันตำรวจเอกสมชาย พงษ์ธานี พท. 3 นายพัลลภ นางจีนวงศ์ กมม.

เขตบางแค เขต 2

1 นายเพทาย จั่นเผื่อน ปชป. 2 นายนิรันด์ พรมจีน พท. 3 นายวิศิษฐ์ ดีเป็นธรรม กมม.

เขตบางกะปิ เขต 1

1 นายชัยวุฒิ จริยวิโรจน์สกุล พท. 2 นายประเสริฐ ทองนุ่น ปชป.

เขตบางกะปิ เขต 2

1 นายเฉลิมชัย ฉิมหิรัญ พท. 2 นางนฤมล รัตนาภิบาล ปชป. 3 นายภูโมกข์ นุ่นจันทร์ กมม.

เขตบางขุนเทียน เขต 1

1 นายสุพจน์ ภูมิใจตรง กลุ่มคนรักบางขุนเทียน 2 นายสมศักดิ์ ลีลาสถาพรกูล พท. 3 นาย สารัช ม่วงศิริ ปชป.

เขตบางขุนเทียน เขต 2

1 นายสหทัศน์ แก้วงาม อิสระ 2 นายสมชาติ รัตนเรืองกิต พท. 3 นายสาทร ม่วงศิริ ปชป. 4 นายนพดล อิศรเสนา ณ อยุธยา กลุ่มคนรักบางขุนเทียน

เขตประเวศ เขต 1

1 นายธีระวุฒิ สัมมาทรัพย์ พท. 2 นายธนวัฒน์ เชิดชูกิจกุล ปชป.

เขตประเวศ เขต 2

1 นายธวัช กีรติอิสริยะกุล อิสระ 2 นายกิตพล เชิดชูกิจกุล ปชป. 3 นายพารวย จันทรสกุล พท.

เขตคลองสามวา เขต 1

1 นายวิรัช อินช่วย ปชป. 2 นายสุวิทย์ บุญมา พท. 3 นายวิบูลย์ศักดิ์ หนันดี อิสระ

เขตคลองสามวา เขต 2

1 นายชูชาติ ประเสริฐกรรณ ปชป. 2 นายลี่จั๊ว แซ่เฮ้ง พท.

เขตดอนเมือง เขต 1

1 นายธนกร พูลมี อิสระ 2 นายธนัชพงศ์ เกิดนาค กมม. 3 นายพฤกพงษ์ เปรมศิริ ปชป. 4 นายสุริยา โหสกุล พท. 5 นางประภาวรินทร์ กลิ่นฟุ้ง กลุ่มรักดอนเมือง

เขตดอนเมือง เขต 2

1 นางกนกนุช นากสุวรรณ ปชป. 2 นายชุติเดช สุวรรณเกิด กมม. 3 นางอัมพร โสภณดิเรกรัตน์ กลุ่มคนดอนเมืองรุ่นใหม่ 4 นางพิมพ์ชนา โหสกุล พท. 5 นายศิวาวิทย์ สำเร็จผล อิสระ

เขตลาดกระบัง เขต 1

1 นายวิสูตร สำเร็จวาณิชย์ พท. 2 นายสมโภชน์ ชยุติแสงไพศาล ปชป. 3 นายธนยศ เกษประดิษฐ อิสระ

เขตลาดกระบัง เขต 2

1 นายณัฐ สำเร็จวาณิชย์ พท. 2 นายอำนวย นวลทอง กมม. 3 นายเจริญณรัฐ ศิริรัตนสุวรรณ ปชป.

(ข้อมูลมติชน)รายชื่ออัพเดตถึงวันที่4ของการสมัคร
โดยภายหลังปิดรับสมัครผู้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) และ สมาชิกสภาเขต (ส.ข.) ในวันสุดท้าย ปรากฏว่า ส.ก.มีผู้มาสมัครทั้งสิ้น 189 คน แบ่งเป็น ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคเพื่อไทย พรรคละ 61 คน พรรคการเมืองใหม่ 40 คน พรรคประชากรไทย 1 คน พรรคมาตุภูมิ 2 คน ไม่สังกัดพรรคการเมือง 16 คน ได้แก่ กลุ่มคนรักบางขุนเทียน 2 คน , กลุ่มดอนเมืองคนรุ่นใหม่ , กลุ่มคนทำงานเมือง , กลุ่มคนธนบุรี , กลุ่มรักษ์ดอนเมือง , กลุ่มคนรักเมืองมีน และกลุ่มศรัทธาธรรม กลุ่มละ 1 คน

สำหรับ ส.ข.รวมผู้สมัครทั้งสิ้น 726 คน แบ่งเป็นผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ 251 คน พรรคเพื่อไทย 256 คน พรรคการเมืองใหม่ 157 คน พรรคมาตุภูมิ 7 คน ไม่สังกัดพรรคการเมือง 25 คน กลุ่มคนธนบุรี กลุ่มคนทำงานเมือง กลุ่มปทุมวันก้าวหน้ากลุ่มละ 7 คน กลุ่มดวงใจแดง 5 คน และกลุ่มคนรักหนองจอก 4 คน

โดยเขตที่พรรคการเมืองใหม่ไม่ได้ส่งผู้สมัครลงก็มี เขตทวีวัฒนา บางกอกใหญ่ บางซื่อ พระโขนง ยานนาวา สวนหลวง ที่มี1เขตเลือกตั้ง จอมทอง สายไหม บางเขน บางกะปิ บางขุนเทียน ประเวศ คลองสามวา ทั้ง2เขตเลือกตั้ง และ ลาดกระบัง เขต1

สภากรุงเทพมหานคร (ตัวย่อ: ส.ก.) เป็นองค์กรนิติบัญญัติของกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่ควบคุม ตรวจสอบและดูแลการบริหารราชการกรุงเทพมหานครของฝ่ายบริหารอันมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นหัวหน้าคณะฯ ประธานสภากรุงเทพมหานครคนปัจจุบัน คือ นายธวัชชัย ปิยนนทยา ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549

โครงสร้างการบริหารราชการกรุงเทพมหานครที่สำคัญ ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งมีสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร จำนวน 57 คน ที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนชาวกรุงเทพมหานครที่มีสิทธิเลือกตั้ง จาก 50 เขต มีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี และทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการสามัญประจำสภากรุงเทพมหานคร อันเป็นตัวแทนภาระหน้าที่รับผิดชอบของสภากรุงเทพมหานคร จำนวน 11 คณะ ได้แก่

คณะกรรมการตรวจรายงานการประชุมและพิจารณาเปิดเผยรายงานการประชุมลับ
คณะกรรมการการศึกษาและวัฒนธรรม
คณะกรรมการการโยธาและผังเมือง
คณะกรรมการการสาธารณสุข
คณะกรรมการการรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อม
คณะกรรมการการเศรษฐกิจ การเงิน การคลังและติดตามงบประมาณ
คณะกรรมการการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย
คณะกรรมการการพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
คณะกรรมการกิจการสภากรุงเทพมหานคร
คณะกรรมการการจราจร ขนส่ง และการระบายน้ำ
คณะกรรมการการท่องเที่ยวและการกีฬา
ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2553) สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร มีจำนวนทั้งสิ้น 61 คน โดยเริ่มจากการเลือกตั้ง ส.ก.ส.ข.ในวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เนื่องจากมีเขตทั้งหมด 5 เขตมีประชากรมากขึ้น ได้แก่ เขตบางขุนเทียน, เขตลาดกระบัง, เขตประเวศ, เขตคลองสามวา, เขตบางกะปิ โดยเขตที่มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ได้มากกว่า 1 คน จะต้องเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากกว่า 150,000 คน ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 11 เขตที่จะมีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครได้มากกว่า 1 คน คือ 2 คน ได้แก่ เขตบางเขน, เขตจตุจักร, เขตสวนหลวง, เขตดอนเมือง, เขตสายไหม, เขตลาดกระบัง, เขตคลองสามวา, เขตประเวศ, เขตจอมทอง, เขตบางแค, เขตบางขุนเทียน


จากนี้ไปจะเป็นวิเคราะห์การเลือกตั้งโดยกรรมกรเอง
ถ้าพิจารณาดูผลการเลือกตั้งสส.ตั้งแต่ปี2544เป็นต้นมา คะแนนการเลือกตั้งมักจะผูกขาดอยู่แค่พรรคประชาธิปัตย์(กะจั๊ว)และพรรคเพื่อไทย(ซึ่งเป็นพรรคตัวแทนแม้วมาตั้งแต่ไทยรักไทยและพลังประชาชนเดิม)เรื่อยมาโดยแทบจะไม่เคยแบ่งคะแนนให้กับพรรคอื่นเกินกว่าหมื่นคะแนนได้เลย
โดยมีเพียงแค่ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิ นวรัตน์ ที่ลงในนามพรรคเพื่อแผ่นดินเท่านั้นที่สามารถแย่งคะแนนมาได้ถึง2หมื่นคะแนน นอกนั้นก็ไม่เคยมีใครในสังกัดพรรคอื่นสามารถทำคะแนนได้ถึงขนาดนี้อีกเลย
และการเลือกตั้งผู้ว่ากทม.วาระตั้งแต่2547เป็นต้นมา กะจั๊วซึ่งได้นักการตลาดประชาสัมพันธ์หนุ่มมือดี หล่อและพูดจาเก่งอย่างอภิรักษ์ โกษะโยธินก็กวาดคะแนนได้มากถึง7-9แสนคะแนนขึ้นเรื่อยมาจนถึงม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร โดยพรรคตัวแทนแม้วที่มี ประภัสร์ จงสงวน และ ยุรนันท์ ภมรมนตรี ทำได้แค่5แสนกว่าเท่านั้น นอกนั้นก็เป็นของผู้สมัครอิสระที่ไม่ขึ้นกับพรรคกะจั๊วและตัวแทนแม้วโดยคะแนนที่ได้ขึ้นอยู่กับความนิยมในตัวผู้สมัครคนนั้นๆเองเป็นรายๆไป รวมแล้วประมาณ4-5แสนคะแนนด้วยกันซึ่งคะแนนที่ชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ และ ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล ทำไว้ที่2-3แสนคะแนนนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่ามาจากสายของม็อบแดงที่ไม่ใช่แฟนคลับแม้ว

ส่วนสนามเลือกตั้งสก.นั้นผู้สมัครในนามอิสระที่สามารถฟันฝ่าผู้สมัครจากพรรคใหญ่จนได้รับเลือกตั้งเข้ามาได้มีอยู่ไม่กี่เขตดังนี้
- สองพี่น้อง พรพิมลและศตกร คงอุดม อดีตสก.แห่งกลุ่มคนบางซื่อ ลูกสาวของนายชัชวาลย์ คงอุดม เจ้าของหนังสือสยามรัฐ เจ้าพ่อแห่งเตาปูน
- เรณุมาศ อิศรภักดี อดีตสก.หลักสี่ พี่สาวของศุภมาศ อิศรภักดี อดีตสส.หลักสี่ สังกัดไทยรักไทยเก่า ซึ่งปัจจุบันย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทยของนายห้อย เนวิน
- นวรัตน์ อยู่บำรุง อดีตสก.หนองแขม น้องชายของ ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง
นอกนั้นที่นั่งสก.ตกเป็นของผู้สมัครจากพรรคใหญ่ทั้ง2พรรคทั้งหมด โดยคะแนนนั้นทิ้งห่างกันตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักหมื่น ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของฐานเสียงในแต่ละเขตของตัวพรรคเอง
โดยพรรคกะจั๊วมีฐานเสียงที่เรียกมาใช้งานได้แน่นอนครอบคลุมและหนาแน่นกว่า

บรรดาผู้สมัครของ2พรรคใหญ่ที่เปิดหน้ากันมาโดยเฉพาะพรรคกะจั๊วได้อดีตสก.ที่ย้ายจากไทยรักไทยเก่าเข้ามาอันได้อดีตสก.จากเขตบางนา,ตลิ่งชัน,บางขุนเทียน,บางบอนและดอนเมือง กับอดีตสก.สองพี่น้องแห่งกลุ่มคนบางซื่อ ในขณะที่พรรคตัวแทนแม้วได้เพียงแค่อดีตสก.หนองแขมมาเข้าสังกัด ยิ่งทำให้ได้เปรียบพรรคตัวแทนแม้วมากขึ้นไปอีก รวมกับกระแสสีขี้และสลิ่มครองเมืองที่เสพแต่สื่อกระแสหลักเน่าๆและดูถูกดูหมิ่นม็อบแดงโดยไม่สนใจข้อเท็จจริงที่ถูกรัฐบาลพรรคกะจั๊ว,พรรคนายห้อย,กองทัพ,ผู้อาวุโสมากบารมี,ข้ารับใช้และสื่อกระแสหลักเน่าๆได้หมกเม็ดเอาไว้

ที่ผ่านมามีการชุมนุมของม็อบ2ขั้วการเมืองอันได้แก่สีขี้(เหลือง) และสีแดง แต่เมื่อไม่นานมานี่ก็มีม็อบสีใหม่เกิดขึ้นนั้นก็คือสลิ่ม(หลากสี)
โดยสีขี้และสลิ่มมีจุดยืนที่ชัดเจนก็คือไม่เอาพรรคตัวแทนแม้ว ฉะนั้นพรรคที่จะเป็นทางเลือกในการเอาชนะพรรคตัวแทนแม้วได้ดีที่สุดกหนีไม่พ้นพรรคกะจั๊ว และนั้นก็เลยทำให้พรรคกะจั๊วสามารถเอาชนะการเลือกตั้งสส.ในกทม.เมื่อปี2550ได้สำเร็จ ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าพรรคกะจั๊วมีวันนี้ได้ก็เพราะม็อบสีขี้โดยแท้
โดยปกติถ้าการเลือกตั้งมีตัวเลือกแค่2พรรคนี้ละก็ ผมก็คงจะไม่ตื่นเต้นอะไรและคิดว่ายังไงซะพรรคกะจั๊วก็คงจะครองที่นั่งสก.ได้เป็นกอบเป็นกำอยู่แล้ว ไม่ต้องไปลุ้นอะไรมาก

แต่ทว่าวันนี้เมื่อฝั่งสีขี้ได้ตั้งพรรคการเมืองของตัวเองในนาม การเมืองใหม่ ลงสนามการเมืองนี่จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าพรรคนี้จะต้องแย่งฐานคะแนนเสียงของพรรคกะจั๊วมาได้อย่างมีนัยสำคัญแน่นอน ในขณะที่ฐานคะแนนเสียงม็อบสีแดงของพรรคตัวแทนแม้วก็คงไม่ไหลไปไหนแน่นอนต่อให้มีกลุ่มอิสระหรือพรรคเล็กลงแข่งสู้ด้วยก็ตามที

ซึ่งในการเลือกตั้งสก.คราวนี้พรรคสีขี้ได้ส่งผู้สมัครสก.ลงแข่งขันมากถึง40เขตจากทั้งหมด61เขตเลือกตั้งด้วยกัน โดยสีขี้มีตัวเต็งอันดับ1ก็คือ นส.สายรุ้ง ปิ่นโมรา อดีตสก.คลองสานที่ย้ายมาจากพรรคกะจั๊วลงแข่งขัน
การลงสนามเลือกตั้งสก.ของพรรคสีขี้ครั้งนี้ จะเป็นบทพิสูจน์ชี้เป็นชี้ตายของพรรคนี้ว่าอนาคตทางการเมืองของพรรคสีขี้จะเป็นไปในทิศทางไหนโดยดูจากผลคะแนนเลือกตั้งที่ออกมาไม่ว่าจะแพ้หรือชนะก็ตาม
ถ้าผลคะแนนที่ออกมาแต่ละเขตมากกว่า3-4พันคะแนนขึ้นไปจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสมดุลผลคะแนนเลือกตั้งของ2พรรคใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคกะจั๊วซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่ามีฐานคะแนนเดียวกันกับพรรคสีขี้จะต้องถูกแย่งคะแนนของตัวเองไปอย่างช่วยไม่ได้ นั้นอาจทำให้พรรคตัวแทนแม้วมีกำลังใจฮึกเหิมในการต่อสู้เพื่อคว้าชัยชนะในการเลือกตั้งสก.ครั้งนี้อย่างถึงที่สุด ซึ่งผมไม่ขอคาดหวังว่าพรรคตัวแทนแม้วจะได้ที่นั่งสก.คราวนี้มาได้แค่ไหนกัน
นอกจากนี้ยังทำให้พรรคสีขี้มีกำลังใจฮึกเหิมอย่างยิ่งยวดในการต่อสู้เพื่อแย่งชิงที่นั่งสส.ในกทม.ทั้งระบบเขตและสัดส่วนในการเลือกตั้งใหญ่ครั้งต่อไป และจะทำให้พรรคกะจั๊วต้องประสบกับความยากลำบากมากขึ้นในการรักษาที่นั่งสส.ของตัวเองในกทม.ต่อไปอย่างเลี่ยงไม่ได้ การเลือกตั้งจะดูสนุกสนานและมีรสชาติมากยิ่งขึ้นไปอีกจากการที่มีตัวเลือกให้มากขึ้นถึง3ตัวเลือกจากเดิมที่มีเพียงแค่2ตัวเลือกเท่านั้น

แต่ถ้าผลคะแนนออกมาแต่ละเขตได้มาแค่หลักร้อยไม่ถึงหลักพัน นั้นหมายความว่าพรรคสีขี้ก็จะมีสภาพไม่ได้ต่างอะไรกับพรรคเล็กไม้ประดับที่ลงสนามการเมืองกทม.ให้สองพรรคใหญ่เขาขยี้กันเล่นๆเท่านั้นเอง
แสดงให้เห็นถึงความสูญเปล่าของการชุมนุมที่ผ่านมาของม็อบสีขี้มีเส้นที่คาดหวังว่าการชุมนุมทางการเมืองของตนจะได้รับความนิยมในหมู่แฟนคลับชนชั้นสูงและชนชั้นกลางคลั่งเจ้าดัดจริตซึ่งมีอยู่มากมาย และนั้นอาจเป็นปัจจัยให้พรรคสีขี้ต้องเร่งสร้างฐานคะแนนนิยมของตัวเองโดยแย่งมาจากพรรคกะจั๊วจากเดิมที่เคยโจมตีแค่พรรคหรือบุคคลที่เป็นตัวแทนแม้วเพื่อเอาฐานเสียงจากฝั่งนั้นมาให้จงได้
โดยการใช้สื่ออย่างหมาเนเจ๋อโจมตีการทำงานของพรรคกะจั๊วอย่างหนัก ซึ่งเดิมพรรคนี้ก็มีกรณีทุจริตและความชั่วช้าในการสลายการชุมนุมที่พรรคตัวแทนแม้วขุดขึ้นมาแฉและอภิปรายทางสื่อกระแสรองและInternet โดยพรรคกะจั๊วแม้จะมีสื่อกระแสหลักคอยช่วยเหลืออย่างมากมายโดยเฉพาะเครือเนชั่(ว)น ก็คงจะช่วยอะไรไม่ได้มากแถมยังมีคดีเงินบริจาค258ล้านกับเงินกองทุนเข้าพรรคการเมือง29ล้านจ่อคอหอยเข้าไปอีก แน่นอนว่าพรรคสีขี้น่าจะหันมาเล่นประเด็นนี้อย่างหนักและใช้เส้นสายที่มีตนมีอยู่อย่างมากมายผ่านชนชั้นสูงและอำนาจมืดนอกระบบเพื่อยุบพรรคกะจั๊วและตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา5ปีอย่างแน่นอนที่สุดเพื่อหวังแยกสลายกลุ่มตัวเด่นๆของกะจั๊วให้แตกแยกออกไปให้ได้มากที่สุดแบบกรณียุบพรรคใหญ่ที่เกิดขึ้นมาก่อนแล้วและบรรดาสส.เก่าที่แยกตัวไปตั้งพรรคใหม่ของตัวเองทรยศต่อมติพรรคใหญ่ที่ตนสังกัด ขึ้นอยู่กับสัมพันธ์ระหว่างสส.ในพรรคด้วยกันโดยเฉพาะภาคใต้และกทม.ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดจะยังเหนียวแน่นไปด้วยผลประโยชน์ร่วมกันได้หรือไม่

แต่สิ่งที่ผมพูดมานี่จะเกิดขึ้นจริงๆหรือไม่ ต้องมาดูกันว่าอำนาจมืดนอกระบบจะตัดสินใจทำลายพรรคกะจั๊วโดยการยุบพรรคและตัดสิทธิ์นักการเมืองตามสำนวนเสร็จนาฆ่าโคถึกเสร็จศึกฆ่าขุนพลหรือไม่ พร้อมๆกับสร้างสูญญากาศทางการเมืองที่ประเทศไม่มีรักษาการณ์นายกฯ เปิดช่องให้มีการแก้รัฐธรรมนูญบางมาตราเพื่อตั้งรัฐบาลแห่งชาติไปพร้อมๆกับหาเหตุยืดเวลาการเลือกตั้งออกไปซึ่งนั้นก็ยิ่งสร้างความวุ่นวายในประเทศทับถมขึ้นไปอีก หรือถ้ายืดไปได้จนสภาหมดวาระก็มีความเป็นไปได้ที่กองทัพภายใต้การนำในสายบูรพาพยัคฆ์จอมอำมหิตสลายม็อบแดง ไว้ใจไม่ได้เลยที่จะก่อการรัฐประหารยึดอำนาจฉีกรัฐธรรมนูญขึ้นมาอีกครั้ง นั้นก็หนีไม่พ้นเหตุนองเลือดเมษาพฤษภาอำมหิตรอบใหม่ขึ้นมาอย่างแน่นอน เพราะเหตุผลและวาทกรรมเดิมๆอย่างการคอรับชั่น,ก่อการร้ายและล้มเจ้าจะใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป

หรือจะพยายามหาเหตุและช่องว่างของรัฐธรรมนูญอย่างตื้นเขิน เพื่อหวังปล่อยให้พรรคนี้รอดจากการถูกยุบทั้ง2คดี ประจานพฤติกรรมสองมาตรฐานให้เป็นที่อับอายสร้างความแตกแยกร้าวลึกเพิ่มขึ้นในประเทศต่อไปตราบจนสภาหมดวาระ เพื่อหวังจะไม่ให้พรรคตัวแทนแม้วใช้โอกาสนี้กลับมาคืนชีพอีกครั้ง




 

Create Date : 30 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 21 สิงหาคม 2553 4:01:56 น.
Counter : 1038 Pageviews.  

เจาะฐานการเมืองท้องถิ่นผ่านชื่อนายกอบจ.ภาคใต้

รายชื่อนายกองค์บริหารส่วนจังหวัดภาคใต้

กระบี่
นายสมศักดิ์ กิตติธรกุล
ฐานเสียงของตระกูลกิตติธรกุล,เกี่ยวข้องและเอ่งฉ้วน
นายเสฎฐสิฎฐ สิทธิมนต์ อดีต ส.ส.กระบี่ 2 สมัย ทีมประชาธิปัตย์ หมายเลข 1 ซึ่งนายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล และนายสาคร เกี่ยวข้อง ส.ส.กระบี่ ให้การสนับสนุน ได้ 61,182 คะแนน แพ้นายสมศักดิ์ กิตติธรกุล อดีตนายก อบจ. หมายเลข 2 หัวหน้ากลุ่มรักกระบี่ ที่ได้ 96,779 คะแนนโดยมี นายอาคม เอ่งฉ้วน ส.ส.กระบี่ ปชป.ให้การสนับสนุน
และกลุ่มรักกระบี่ ยังได้ที่นั่ง สมาชิก อบจ.ได้ถึง 19 คน ส่วนผู้สมัครในนามกลุ่มประชาธิปัตย์ ได้เพียง 5 คน จากเดิม 16 คน
"กิตติธรกุล" ฮึดสู้ทุน ปชป.ในศึกเลือกตั้งใหญ่ในามของพปช.
สำหรับสนามการเมือง จ. กระบี่มี ส.ส. 3 คน พรรคประชาธิปัตย์ยังยึดครองเก้าอี้ได้ตลอดกาล โดยส่งผู้สมัครหน้าเดิม คือ 1.นายอาคม เอ่งฉ้วน อดีตครูประชาบาล ปัจจุบันแปรฐานะมาเป็นเจ้าของธุรกิจสวนปาล์มหลายพันไร่
2.นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล อดีตทนายความชื่อดัง และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และเป็นเจ้าของโรงแรมกระบี่เมอริไทม์ และโรงแรมปะกาใส และยังเป็นเจ้าของสวนปาล์ม สวนยางพารา และปั๊มน้ำมัน และ 3.นายสาคร เกี่ยวข้อง ญาตินายสัญญา เกี่ยวข้อง กุนซือการเมืองของนายพิเชษฐ นายสาครเป็นทนายความ และเป็น สมาชิกสภา อบจ.
สำหรับว่าที่ผู้สมัครพรรคพลังประชาชนล้วน แต่มีอาชีพเป็นทนายความทั้ง 3 คน นำโดย นายสฤษพงศ์ เกี่ยวข้อง เขยตระกูล "กิตติธรกุล" จึงได้แรงสนับสนุนจากนายสมศักดิ์ กิตติธรกุล นายก อบจ.กระบี่ นายสมเกียรติ กิตติธรกุล เจ้าของโรงแรมหลายแห่งในพื้นที่เกาะพีพี เจ้าของเรือโดยสารระหว่างพีพี-กระบี่ และ พีพี-ภูเก็ต และตระกูลกิตติธรกุล ยังทำธุรกิจสัมปทานรังนกในพื้นที่ จ.กระบี่ พังงา และจังหวัดใกล้เคียง
แต่ เนื่องจาก "กำนันแดง" ซึ่งเป็นหัวเรือใหญ่สายบู๊ได้เสียชีวิตแล้ว กลุ่มกิตติธรกุลจึงขาดมือบู๊ ส่วนผู้สมัครอีก 2 คน คือนายอรรถพล หิรัญพงศ์ และนายสวัสดิ์ พยายาม

ชุมพร
นายอำนวย บัวเขียว
ฐานเสียงของตระกูลอ่อนละมัยกับพะลัง
“อำนวย บัวเขียว” หรือ "โกไห" อดีตนายก อบจ.ชุมพร 2 สมัย ที่พรรคประชาธิปัตย์ให้การสนับสนุนวางให้เป็นว่าที่นายก อบจ.อีกสมัย ประกาศก่อนจะมีการรับสมัครเลือกตั้ง จะไม่ยอมยกเก้าอี้ตัวนี้ให้ใคร ทำให้บรรดานักการเมืองท้องถิ่น ขยาดที่จะลงต่อกรด้วย บรรยากาศการเลือกตั้งของจ.ชุมพร กร๋อยลงทันที
อย่างไรก็ตาม ภายหลัง "ศิริศักดิ์ อ่อนละมัย" หรือ "เสี่ยตึ่ง" หรือ "พรมาลัย" ที่ชาวชุมพรเรียกจนติดปาก ก็ตัดสินใจกระโดดลงสนามร่วมชิงชัยด้วย เป็นผลให้อุณหภูมิการเมืองในดินแดนแห่งนี้ร้อนแรงขึ้นทันที เพราะคู่ต่อกรอย่าง “ศิริศักดิ์” ไม่ใช่หมูจานร้อนที่ "อำนวย" จะผ่านไปได้ง่ายๆ
แม้ว่า "อำนวย" จะถูกมองว่าทางพรรคประชาธิปัตย์อยู่หลังฉากให้การสนับสนุนอย่างชัดเจน รวมถึงยังมี ส.ส. “ธีรชาติ ป่าววิรุณรักษ์” “จ.ส.ต.ชุมพล จุลใส” และ “สุวโรช พะลัง” ส.ส.แบบสัดส่วนของชุมพร รวมถึงส.ว.ในพื้นที่ของชุมพร หนุนหลังอย่างออกนอกหน้าก็ตาม แต่นั้นไม่ได้หมายความว่า "อำนวย" เดินเข้าสภา อบจ.ได้ทันที
เพราะหากเช็คฐานกำลังของ "อำนวย" ดูผิวเผินเหมือนกับจะเหนือกว่าคู่แข่ง แต่หากเช็คไพร่พลดู พบว่ามีสมาชิกอบจ.ที่ฝักใฝ่อยู่กับเขาเพียงไม่กี่คน ขณะที่ฐานเสียงในระดับ อบต.และผู้นำชุมชนก็ดูคู่คี่กับคู่แข่ง
หากไปสัมผัสกับชาวบ้าน กลับพบว่าความนิยมที่เคยมีในตัว "อำนวย" ลดน้อยลง โดยเฉพาะกรณีน้ำท่วมเมื่อเร็วนี้ ดูจะติดลบในสายตาชาวบ้านค่อนข้างมาก ทั้งนี้ยังไม่รวมในเรื่องของงบประมาณที่ได้จากแผนพัฒนาจ.ชุมพร ก็ถูกมองไปในเชิงไม่โปร่งใส สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้ภาพพจน์ และเสียงที่เคยฝักใฝ่อยู่กับเขาเริ่มแปรปรวน และกลายเป็นช่องโหว่ ให้คู่แข่งหยิบยกมาโจมตี
ประกอบกับคู่แข่ง อย่าง "ศิริศักดิ์" เสมือนเป็น "หมูเขี้ยวตัน" เพราะนอกจากจะมีสายเลือดประชาธิปัตย์เต็มตัวแล้ว การที่เขายอมตัดชื่อตัวเองออกจากการลงสนามส.ส. และใส่ชื่อ "สราวุธ อ่อนละมัย" ลูกชายเป็นตัวแทนลงสมัครจนได้เป็นส.ส.เขต 1. แสดงให้เห็นถึงความมั่นใจในฐานเสียงที่เขามีอยู่ในพื้นที่เขต 1 อย่างชัดเจน
การลดเกรดตัวเองลงสมัครนายก อบจ.ครั้งนี้ เขาย่อมมีความมั่นใจว่าจะฝ่าฟันไปได้เช่นกัน เพราะจากการเป็น ส.ส.ชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ 6 สมัยติดต่อกัน ย่อมการันตีถึงคุณสมบัติ และประสบการณ์ทางการเมือง ที่ไม่ได้ด้อยไปกว่าคู่แข่ง
เมื่อเช็คขุมกำลังของ “ศิริศักดิ์” มีทั้งพลพรรคสมาชิกอบจ.ราว 16 คน ทั้งจากพื้นที่ อ.เมือง ท่าแซะ ประทิว ทุ่งตะโก และละแม ดูเหนือกว่าแชมป์เก่าคู่แข่งอย่างชัดเจน ทั้งนี้ยังไม่รวมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และฐานเสียงเก่าในพื้นที่เขต 1 ที่เขาเคยบุกเบิกสร้างเอาไว้เป็นกำลังเสริมอีก ทั้งนี้ยังไม่รวมคะแนนเสียงจาก ส.ส.ในพื้นที่เขต 1 ของประชาธิปัตย์ รวมถึงตัวของ "สราวุธ" ลูกชาย
นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย ทีมชุมพรฟ้าใส (อดีตสส.ชุมพร ปชป.6สมัย บิดาของนายสราวุธ สส.คนปัจจุบัน) ได้ 75,626 คะแนน แพ้ให้กับนายอำนวย บัวเขียว(อดีตนายกอบจ.ในนามกลุ่มปชป.) ได้ 104,803 คะแนน
ส่วนตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการของ ผู้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้มี จำนวน 195,976 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น จำนวน 338,514 คน คิดเป็นร้อยละ 57.89 จำนวนบัตรดี 180,429 บัตร คิดเป็นร้อยละ 92.07 จำนวน บัตรเสีย 8,012 บัตร คิดเป็นร้อยละ 4.09 และผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนนมีจำนวนทั้งสิ้น 7,535 บัตร คิดเป็นร้อยละ 3.84

ตรัง
นายกิจ หลีกภัย
ฐานเสียงของตระกูลหลีกภัย,โล่สถาพรพิพิธและอุทัยเวียนกุล
จากกรณีที่มีกระแสข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วน จังหวัด (อบจ.) ตรัง ว่า อาจจะมี ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ บางคนจะขอใช้ชื่อพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งทีม เพื่อส่งผู้ลงสมัครสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) ตรัง ลงแข่งขันด้วย เพราะไม่พอใจการจัดสรรตัวผู้ลงสมัคร ส.อบจ.ของทีมกิจปวงชนที่มี นายกิจ หลีกภัย อดีตนายก อบจ.ตรัง 2 สมัย และพี่ชายของ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ เป็นหัวหน้าทีม
โดยเฉพาะเขต อ.ห้วยยอด อ.วังวิเศษ และ อ.รัษฎา ซึ่งมีจำนวนเก้าอี้ทั้งหมดรวมกัน 9 ที่นั่ง เพราะผู้นำชุมชนบางคนได้ช่วยงานพรรคประชาธิปัตย์ในพื้นที่มาโดยตลอด แต่สุดท้ายกลับไม่มีชื่อลงสมัคร ส.จ.ในนามทีมกิจปวงชนนั้น
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จังหวัดตรัง พรรคประชาธิปัตย์ เขตเลือกตั้งที่ 1 กล่าวว่า การเมืองในจังหวัดตรังเป็นการเมืองที่มี 2 ขั้วมาโดยตลอด คือ ฝ่ายที่สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ กับฝ่ายที่ไม่สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งที่ผ่านมาประชาชนชาวตรังให้การสนับสนุนด้วยดีตลอด ทั้งในระดับชาติและในระดับท้องถิ่น
โดยในการเลือกตั้งนายก อบจ.ตรัง และ ส.อบจ.ครั้งที่แล้ว นายกิจ หลีกภัย ลงสมัครในนามพรรคประชาธิปัตย์อย่างเต็มตัว แต่พอมาถึงการเลือกตั้ง อบจ.ในครั้งนี้ นายกกิจเลือกที่จะไม่ขอใช้ชื่อพรรคประชาธิปัตย์ในการลงสมัคร ซึ่งก็เป็นสิทธิ์ที่จะสามารถกระทำได้
อย่างไรก็ตาม ผลการพิจารณาผู้ลงสมัคร ส.อบจ.ของทีมกิจปวงชนในบางเขตเลือกตั้ง กลับมีรายชื่อของผู้ลงสมัครบางคนซึ่งเป็นที่น่ากังขา ทั้งนี้ เพราะต้องยอมรับว่า นายกิจ กับพรรคประชาธิปัตย์ นั้น เป็นเนื้อเดียวกัน ขณะที่ อ.ห้วยยอด อ.รัษฎา และ อ.วังวิเศษ ก็เป็นพื้นที่ต่อสู้เข้มข้นในการเลือกตั้งระดับชาติ กับอดีต ส.ส.ที่ย้ายไปจากพรรคประชาธิปัตย์
และว่า ที่ผู้ลงสมัครสมาชิก ส.อบจ.ของทีมกิจปวงชนในพื้นที่ทั้ง 3 อำเภอ ก็มีจำนวนถึง 5 คน ที่เคยเป็นคนสนับสนุนอดีต ส.ส.คนดังกล่าว เมื่อเป็นเช่นนี้คนของพรรคประชาธิปัตย์ จึงจำเป็นที่จะต้องตั้งข้อสังเกตหรือตั้งคำถามขึ้นมา
นายสาทิตย์ กล่าวอีกว่า ส่วนตัวไม่ได้เป็นผู้เริ่มต้นพูดเรื่องนี้ และก็ไม่ได้เริ่มต้นจากผู้ที่จะลงสมัคร ส.อบจ. แต่เกิดจากคณะกรรมการสาขาพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นคนตั้งข้อสังเกต หรือตั้งคำถามขึ้นมา เพราะมีว่าที่ผู้สมัคร ส.อบจ.บางคนได้ไปพูดจาเยาะเย้ยถากถางให้คนของพรรคประชาธิปัตย์ได้ยินว่า ถึงไม่ได้เชียร์พรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็ได้ลงสมัคร ส.อบจ.ในนามทีมกิจปวงชน
“แต่มีการพยายามบิดเบือนว่า ผมและผู้ที่จะลงสมัคร ส.อบจ.นำเรื่องนี้ออกมาพูด เพื่อสร้างกระแสว่าเกิดความไม่พอใจกันขึ้นในพรรคประชาธิปัตย์ โดยส่วนตัวยอมรับว่าหลังคณะกรรมการสาขาพรรคนำเรื่องนี้มาพูดกัน ผมก็ได้อาสาไปพูดคุยกับนายกิจมาแล้ว 2-3 ครั้ง” นายสาทิตย์ กล่าวและว่า
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง คะแนนอย่างไม่เป็นทางการหมายเลข 1 นายเอกรินทร์ นิลสวัสดิ์ ได้ 59,223 คะแนน หมายเลข 2 นายกิจ หลีกภัย หัวหน้าทีมกิจปวงชน ได้รับการเลือกตั้ง 146,500 คะแนน ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในจังหวัดตรัง 420,267 คน ผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 235,382 คน คิดเป็นร้อยละ 56.01% ผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน 13,270 คะแนน บัตรเสีย 16,389 คะแนน ส่วนผู้สมัครสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรังนั้นทีมกิจปวงชนส่ง 26 คน ได้ 21 คน ทีมประชาธิปัตย์ ส่ง 6 คน ได้ 2 คน ส่วนที่เหลือเป็นผู้สมัครอิสระ 7 คน

นครศรีธรรมราช
นายพิชัย บุณยเกียรติ
ฐานเสียงของตระกูลศักดิเศรษฐ,บุญยเกียรติ,เสนพงษ์,แก้วภราดัย,มาศดิตถ์และพิศสุวรรณ
การเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช ภายหลังจากที่ วิฑูรย์ เดชเดโช นายก อบจ.นครศรีธรรมราช เสียชีวิตลง และ กกต.กำหนดการเลือกตั้งขึ้นในวันที่ 24 มกราคม 2553 นี้แค่เปิดรับสมัครได้เพียง 2 วัน ก็มีผู้ลงชิงตำแหน่งอันหอมหวนนี้ถึง 5 คน คือ 1.ตรีพล เจาะจิตต์ 2.สายันห์ ยุติธรรม 3.พิชัย บุณยเกียรติ 4.เกรียงศักดิ์ ภู่พันธ์ตระกูล และ 5.นนทิวัฒน์ นนทภักดิ์ ซึ่งแต่ละคนล้วนมีดีกรีทางการเมือง และฐานเสียงหนาแน่จนยากจะวัดในช่วงโค้งแรกของการหาเสียงเลือกตั้งได้ว่า ใคร??..จะมา...
เมื่อเช็กประสบการณ์ ต้องยกให้ "ตรีพล เจาะจิตต์" อดีต ส.ส, และ ส.ว.นครศรีธรรมราช หลายสมัยเป็นผู้นำทีม “พลังเมืองนคร” หมายเลข 1 แม้จะห่างเวทีมานาน แต่เมื่อมี "ชำนิ ศักดิเศรษฐ์" แกนนำประชาธิปัตย์ และมีไพร่พล ส.จ.อีก 8-10 คนหนุนหลังอยู่ก็ยากที่ใคร?? จะฝ่าด่านไปได้ แม่ว่าก่อนหน้านั้นอาจจะมีปัญหาในเรื่องของทีมบริหาร โดยเฉพาะตำแหน่งรองนายก อบจ. ซึ่ง "ตรีพล" ต้องการเปลี่ยน แต่กลุ่มผู้บริหารชุดเก่าขอให้คงสภาพเดิม แต่เมื่อมี "ชำนิ ศักดิเศรษฐ์" ทุบโต๊ะเรื่องจึงเงียบลงชั่วคราว แต่ความไม่พอใจยังคุกรุ่นอยู่ในใจบางคน
ส่วน "พิชัย บุณยเกียรติ" หมายเลข 3 แม้จะเคยพ่ายแพ้ให้ "วิฑูรย์ เดชเดโช" ห่างกันหมื่นเศษ แต่ครั้งนี้ทำการบ้านมาดี ลงพื้นที่บ่อย อีกทั้งยังมีกลุ่ม ส.จ.ประมาณ 8 คนร่วมแรงร่วมใจด้วย และยังมีชินวรณ์ บุณยเกียรติ ประธานวิปรัฐบาล พี่ชาย ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ฐานเสียงก็ไม่ด้อยไปกว่า ตัวเต็งอย่าง "ตรีพล"
ขณะที่ "สายันห์ ยุติธรรม" หมายเลข 2 คนสนิทของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เดิมเคยอยู่ทีมบริหารของ “พิชัย” แต่ครั้งนี้ขอยืนด้วยขาตัวเอง แม้ว่าฐานเสียงของ "สายันห์" จะมีมากอยู่ในฝั่งเหนือของท่าศาลา แต่ฝั่งตะวันตกและฝั่งใต้ของนครศรีธรรมราช "สายันห์" ยังห่างชั้นกับสองคนแรก หากหวังจะได้ตำแหน่งนี้ ต้องวิ่งรอกหาเสียงชนิด "หืดขึ้นคอ"
ส่วนในหมายเลข 4 "เกรียงศักดิ์ ภู่พันธ์ตระกูล" นักธุรกิจใหญ่ รู้จักกันดีในนาม "โกเก้า" มีฐานเสียงในกลุ่ม อบต. และ ส.จ.อีก 6 คน ให้การสนับสนุน ดูเหมือนเสียงของ “โกเก้า” จะกระจาย แต่ก็ครอบคลุมพื้นที่แถบลุ่มน้ำปากพนังแถบเชียรใหญ่ เฉลิมพระเกียรติ พระพรหม อีกทั้งยังมี "หมอผี” สัมพันธ์ ทองสมัคร หนุนหลังอย่างไม่เป็นทางการ “โกเก้า” จึงมีสิทธิ์ที่จะเป็น "ตาอยู่" คว้าเก้าอี้มาครองได้ หาก "ตาอินกับตานา" อย่าง "ตรีพล-พิชัย" มัวแต่แย่งหัวปลา ทะเลาะกันเอง
และหมายเลข 5 "นนทิวัฒน์ นนทภักดิ์" เลขานุการของ วิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข ส.ส.นครศรีธรรมราช ที่สร้างปรากฎการณ์ขึ้นป้าย “นคราภิวัฒน์” ทั่วเมือง ซุ่มหารือกับทีมงานในการแย้งเก้าอี้นายก อบจ.มานาน แม้จะเคยโดดเด่นเป็น ส.ท.วัย 25 ปี อายุน้อยที่สุดของไทยมีฐานเสียงกระจัดกระจายอยู่ในกลุ่มกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน และ อบต.ครอบคลุมหลายพื้นที่ แต่การขึ้นชั้นสู่สนามการเมืองระดับจังหวัด คงไม่ง่ายเหมือนการเมืองเฉพาะท้องที่
ผลคะแนนเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นครศรีธรรมราช ที่เสร็จสิ้นไปเมื่อวันที่ 24 มกราคม ที่ผ่านมาว่า นายพิชัย บุณยเกียรติ ผู้สมัครหมายเลข 3 ได้รับเลือกตั้งเป็น นายก อบจ. ด้วยคะแนน 185,962 ตามด้วยนายตรีพล เจาะจิตต์ 169,447 คะแนน เกรียงศักดิ์ ภู่พันธ์ตระกูล 96,592 คะแนน นนทิวรรธน์ นนทภักดิ์ 24,803 คะแนน และสายัณห์ ยุติธรรม 19,329 คะแนน มีผู้ใช้สิทธิร้อยละ 50.01 ไม่ประสงค์ลงคะแนน 32,107 บัตรเสีย 13,514

ตระกูลเกตุชาติยังคงครองฐานเสียงในเขตเทศบาลนคร
นายสมนึก เกตุชาติ นายกเทศมนตรี เทศบาลนครศรีธรรมราช โดยลูกชายอย่างดร.กณพ เกตุชาติ ก็เป็นอดีตผู้สมัครสส.เขต1พรรคทรท.

พังงา
นายฉกาจ พัฒนกิจวิบูลย์
ฐานเสียงของตระกูลลักษณะวิศิษฐ์
มี ผู้สมัครชิงชัยในตำแหน่งดังกล่าวจำนวน 3 คน ประกอบด้วย หมายเลข 1 ฉกาจ พัฒนกิจวิบูลย์ หมายเลข 2 บำรุง ปิยนามวาณิช และ หมายเลข 3 กระจ่าง เพชรบูรณ์
สำหรับนาย ฉกาจ นั้น เป็นอดีต ส.อบจ.พังงา เขตอำเภอท้ายเหมืองและอดีตสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)จังหวัดพังงา และดูเหมือนว่าจะจับจุดของคนพังงาได้จึงหาเสียงด้วยการประกาศว่า ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด นอกจาก “พรรคประชาธิปัตย์”อันเป็นการอ้อนที่ได้ผลไม่น้อยทีเดียว
โดยมีพื้นที่ที่น่าจะเป็นฐานเสียงอย่างแน่นหนาคือ อำเภอตะกั่วป่าอำเภอกะปง และ อำเภอท้าย เหมืองรอบในและ อำเภอเกาะยาวบางส่วน มีกัณตวรรณ ตันเถียร กุลจรรยาวิวัฒน์ ส.ส.พังงา ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
ขณะที่ บำรุง หรือ นายกหลี่ อดีต ส.จ.พังงา 3 สมัย ตำแหน่งล่าสุดเป็นเจ้าของเก้าอี้ นายก อบจ.พังงา ที่ผู้สมัครทุกคนต่างก็หวังที่จะครอบครอง โดยเป็นผู้สมัครอีก คนหนึ่งที่เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัติย์ ใช้ผลงานตลอด 4 ปี ที่ผ่านมาเป็นตัวดึงคะแนน พร้อมกับมุ่งที่จะสานงานต่อก่องานใหม่ ภายใต้สโลแกนที่ว่า “เชื่อมั่นพังงา ศรัทธาอนาคตร่วม กัน” นับ เป็นคนของพรรคประชาธิปัตย์ ที่มี 2 พี่น้อง อย่าง จุรินทร์ - จุฤทธิ์ ลักษณะวิศิษฎ์ ให้การสนับสนุน อย่างแท้จริง มีฐานคะแนน เสียงสำคัญอยู่ที่อดีต สมาชิกสภา อบจ.พังงา สมัยที่ผ่านมา และมีกลุ่มกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่ม อสม.และบุคลากรทางการศึกษา ช่วยหนุนเสริมอีกแรง ทำให้มีฐานคะแนนที่ค่อนข้าง หนาแน่น
ส่วน กระจ่าง ข้าราชการบำนาญผู้มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าและพร้อมที่จะฟันฝ่าอุปสรรคนานา ประการเพื่อให้มีโอกาส เดินอยู่บนถนนสายการเมืองที่ตัวเองรัก โดยประกาศกับประชาชนขอเป็นทางเลือกที่ 3 ด้วยนโยบาย “รวบรวมปัญหานำมาแก้ไข พร้อมรับใช้พี่น้องชาวพังงา”
สภากาแฟ อันเป็นที่รวมของคอการเมืองได้วิจารณ์การเลือกตั้ง นายก อบจ.พังงา ครั้งนี้ว่า ฉกาจ กับ นายกหลี่ นับ เป็นคู่ชิงที่สมน้ำสมเนื้อ ทุกกระบวนท่าในเชิงยุทธ และหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพลี่ยงพล้ำแม้แต่จังหวะเดียว ก็อาจทำให้อีกฝ่ายลอยลำไปนั่งในตำแหน่งนายก อบจ.พังงานได้ทันที
สำหรับ กระจ่าง ดูจากแนวทาง นโยบายเชื่อว่าเป็นความหวังของประชาชน แต่คงต้องรอในสมัยหน้า การเลือกตั้งครั้งนี้จึงขอเพียงใช้โอกาสนี้ในการแนะนำตัวและแนวนโยบายในการ พัฒนาพื้นที่เพื่อกรุยทางสู่ถนนสายการเมืองในอนาคตก็ถือว่าคุ้มค่าแล้ว
สำหรับผลไม่เป็นทางการทั้ง 8 อำเภอ ปรากฏว่า นายฉกาจ พัฒนกิจวิบูลย์ ผู้สมัครหมายเลข 1 อดีต ส.ว.พังงา ได้คะแนนสูงสุด คือ 42,904 คะแนน หมายเลข 2 นายบำรุง ปิยะนามวานิช อดีตนายก อบจ.พังงา คนก่อน ได้คะแนน 40,671 คะแนน หมายเลข 3 นายกระจ่าง เพชรบูรณ์ ได้คะแนน 9,571 คะแนน

พัทลุง
นายสานันท์ สุพรรณชนะบุรี
ฐานเสียงของตระกูลธรรมเพชร
ผู้สมัครหมายเลข 3 นายสานันท์ สุพรรณชนะบุรี กลุ่มรักพัทลุง คนสนิทของนายวีระ มุสิกพงศ์ อดีต ส.ส.พัทลุง ได้คะแนน 82,381 คะแนน ทิ้งห่างจากพรรคประชาธิปัตย์ หมายเลข 2 นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร อดีตสส.พัทลุง 6สมัย16ปี พรรคประชาธิปัตย์ที่ได้คะแนนเพียง 75,050 คะแนน ส่วนผู้สมัครหมายเลข 1 นางนที รัชกิจประการ กลุ่มพัทลุงก้าวหน้า ได้ 68,796 คะแนน และหมายเลข 4 นางสาวพรรณฉวี สุภัทรพงศ์ ผู้สมัครอิสระ ได้ 3,659 คะแนน
ส่วนผู้สมัคร ส.อบจ.พัทลุง 105 คน จาก 30 เขตเลือกตั้ง ปรากฏว่า กลุ่มพัทลุงก้าวหน้า ชนะเข้ามา 7 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์ได้ 17 ที่นั่ง และ กลุ่มรักพัทลุง ได้ 6 ที่นั่ง

ภูเก็ต
นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์
ผลการนับคะแนนการเลือกตั้ง นายก อบจ.และสมาชิกสภา อบจ.ภูเก็ตที่เพิ่งเสร็จสิ้นเมื่อกลางดึกคืนวันที่ 21 เมษายน ปรากฎว่าผู้สมัครนายก อบจ.หมายเลข 1 นางอัญชลี วานิช เทพบุตร อดีตนายกอบจ.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 39,085 คะแนน ส่วนหมายเลข 2 นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ อดีตสว.ภูเก็ตปี43 ได้ 59 ,994
ด้านของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ใน 24 เขตเลือกตั้ง ผลปรากฎว่า เขตอำเภอเมือง ซึ่งมีจำนวน 15 เขต เลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1 ครอบคลุมพื้นที่ ถนนเยาวราช ถนนหงส์หยกอุทิศ ถนนโกมารภัจจ์ ถนนนคร ซอยสามกอง ซอยพะเนียง ซอยวชิระ ซอยหางนกยูง และตรอกสุ่นอุทิศ หมายเลข 1 นายสมควร ตันสกุล ได้ 1,662 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 2 ครอบคลุมพื้นที่ ถนนเทพกระษัตรี ถนนชุมพร ถนนทุ่งคา ถนนดีบุก ถนนถลาง ถนนสุทัศน์ ถนนดำรง ถนนเชิงคีรี ถนนโต๊ะแซะ ถนนปะเหลียน ถนนกำนัน ถนนตรัง ถนนนริศร ถนนผู้ใหญ่บ้าน ซอยรมณีย์ ซอยมงคล ซอยเทศา หมายเลข 2 นายสาโรจน์ อังคณาพิลาส ได้ 1,504 คะแนน
เขตเลือกตั้งที่ 3 ครอบคลุมพื้นที่ ถนนอำเภอ ถนนหลวงพ่อ ถนนสุรินทร์ ถนนศรีสุทัศน์ ถนนศรีเสนา ถนนอนุภาษภูเก็ตการ ถนนติลกอุทิศ ถนนชนะเจริญ ถนนถาวรว่องวงศ์ ถนนนิมิต ซอยสุรินทร์ หมายเลข 2 นายบุญอุ้ม เอื้อจิตตระกูล ได้ 2,096 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 4 ครอบคลุมพื้นที่ ถนนภูเก็ต ถนนพังงา ถนนมนตรี ถนนวีรพงศ์หงษ์หยก ถนนอ๋องซิมผ่าย ถนนกระ ถนนตะกั่วทุ่ง ซอยสะพานหิน ซอยต้นโพธิ์ ซอยประดิษฐ์ หมายเลข 2 นายประสิทธิ์ สินเสาวภาคย์ ได้ 2,363 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 5 ครอบคลุมพื้นที่ ถนนรัษฎา ถนนตะกั่วป่า ถนนรัตนโกสินทร์ ถนนบางกอก ถนนพูนผล ถนนศักดิเดช ถนนพัฒนา ถนนเจ้าฟ้า ถนนวิรัชหงษ์หยก ถนนปฏิพัทธ์ ซอยตลิ่งชัน หมายเลข 1 นายหัตถ์ กตัญชลีกุล ได้ 1,915 คะแนน
เขตเลือกตั้งที่ 6 ครอบคลุมพื้นที่ ถนนวิชิตสงคราม ถนนแม่หลวน ถนนกระบี่ ถนนสตูล ถนนระนอง ซอยภูธร ซอยขจร หมายเลข 1 นายพงษ์สุระ คู่พงศกร ได้ 1,620 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 7 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลเกาะแก้ว ตำบลรัษฎา หมู่ที่ 2 หมายเลข 2 นายศุภโชค ละอองเพชร ได้ 3,214 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 8 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลรัษฎา หมู่ที่ 3, 5, 6 หมายเลข 2 นายจิรทีป นาวารักษ์ ได้ 2,827 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 9 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลรัษฎา หมู่ที่ 1, 4, 7 หมายเลข 2 นายชัยวัฒน์ แซ่ตัน ได้ 1,931 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 10 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลวิชิต หมู่ที่ 1 หมายเลข 2 นายธีระ เจี่ยสกุล ได้ 1,849 คะแนน
เขตเลือกตั้งที่ 11 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลวิชิต หมู่ที่ 2, 3, 4, 5 หมายเลข 1 หมายเลข 2 นายประดิษฐ์ แสงจันทร์ ได้ 2,240 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 12 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลวิชิต หมู่ที่ 6, 7, 8, 9 หมายเลข 2 นายสมาน การะเกศ ได้ 1,640 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 13 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลฉลอง หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 หมายเลข 2 นายสุวิทย์ ว่องไว ได้ 2,183 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 14 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลราไวย์ หมู่ที่ 2, 3, 4, 5, 6, 7 หมายเลข 2 นายไกรวุฒิ คุ้มบ้าน ได้ 2,105 คะแนน และเขตเลือกตั้งที่ 15 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลกะรน ตำบลฉลอง หมู่ที่ 10 ตำบลราไวย์ หมู่ที่ 1 หมายเลข 1 นายพรเทพ ชามขาว ได้ 1,785 คะแนน หมายเลข
เขตอำเภอถลาง จำนวน 6 เขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลศรีสุนทร หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 หมายเลข 1 นายอานุภาพ เวชวนิชสนอง ได้ 3,298 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 2 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลไม้ขาว หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 หมายเลข 2 นายณรงค์ สิงห์ฆาฬะ ได้ 2,905 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 3 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลป่าคลอก หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 หมายเลข 2 นายสวัสดิ์ มัจฉาเวช ได้ 2,771 คะแนน
เขตเลือกตั้งที่ 4 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลเชิงทะเล หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5 หมายเลข 5 นายสมมิตร สืบสิน ได้ 2,017 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 5 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลเทพกระษัตรี หมู่ที่ 1, 2, 4, 7, 9, 11 และตำบลเชิงทะเล หมู่ที่ 6 หมายเลข 2 นายศานิต สิริวัฒน์ ได้ 3,627 คะแน เขตเลือกตั้งที่ 6 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลสาคู หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5 และตำบลเทพกระษัตรี หมู่ที่ 3, 5, 6, 8, 10 หมายเลข 2 นายศักดิ์ชาย เชาวน์ไวย ได้ 2,765 คะแนน
เขตอำเภอกะทู้ จำนวน 3 เขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลกะทู้ หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5, 7 หมายเลข 2 นายบุญยง จิรพิสุทธิกุล ได้ 2,505 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 2 ครอบคลุมพื้นที่ ถนนพิศิษฐ์กรณีย์ ถนน 50 ปี ถนนราชปาทานุสรณ์ ถนนราษฎร์อุทิศ 200 ปี ถนนทวีวงศ์ ถนนหมื่นเงิน ถนนเฉลิมพระเกียรติ ถนนหาดป่าตอง ถนนสวัสดิรักษ์ ถนนไสน้ำเย็น ถนนนาใน ถนนสิริราชย์ ถนนประชานุเคราะห์ ถนนร่วมใจ ถนนบางลา ถนนเพชรกูด หมายเลข 1 นายประสาน ประทีป ณ ถลาง ได้ 1,410 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 3 ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลกมลา หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6 ตำบลกะทู้ หมู่ที่ 6 ถนนพระบารมี ตลอดสาย ซอยพระบารมี 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 หมายเลข 1 นายสนธยา สุนธารักษ์ ได้ 2,299 คะแนน
สำหรับจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ภูเก็ต แบ่งเป็น อำเภอเมือง จำนวน 62,651 คน อำเภอถลาง จำนวน 33,061 คน อำเภอกะทู้ จำนวน 13,177 คน จากจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมด 201 ,957 คน คิดเป็นร้อยละ 53.92 บัตรเสีย จำนวน 4,059 ใบ คิดเป็นร้อยละ 3.73 และบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน จำนวน 5,759 ใบ คิดเป็นร้อยละ 5.29
ขณะที่จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วน จังหวัดภูเก็ต แบ่งเป็น อำเภอเมือง จำนวน 62,366 คน อำเภอถลาง จำนวน 33,025 คน อำเภอกะทู้ จำนวน 13,149 คน จากจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมด 200 ,717 คน คิดเป็นร้อยละ 54.08 บัตรเสีย จำนวน 2,253 ใบ คิดเป็นร้อยละ 2.08 และบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน จำนวน 4,287 ใบ คิดเป็นร้อยละ 3.95
ผลการการเลือกตั้งในครั้งนี้ส่งผลให้ นางไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ จากกลุ่มคนบ้านเรา มีคะแนนทิ้งห่าง นางอัญชลี วานิช เทพบุตร ซึ่งเป็นอดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต และพรรคประชาธิปัตย์ส่งลงสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วน จังหวัดภูเก็ต สูงถึง 20,909 คะแนน
สำหรับนายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นั้นเล่นการเมืองครั้งแรกในสนามเลือกตั้ง ส.ว.ภูเก็ต และรับความไว้วางใจจากชาวจังหวัดภูเก็ตอย่างท่ามท้นเลือกตั้งเข้ามาให้เป็น ส.ว.คนแรกของจังหวัด นอกจากนั้นยังเคยดำรงตำแหน่งประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต
ส่วนในวงการนักธุรกิจ ถือว่านายไพบูลย์เป็นนักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพยชั้นแนวหน้าของจังหวัด ภูเก็ต โดยโครงการบ้านจัดสรรที่รู้จักกันดีภายชื่อโครงการภูเก็ตวิลล่า ซึ่งแต่ละโครงการจะได้รับการตอบรับที่ดีมากขายหมดภายในพริบตา

ระนอง
นายนภา นทีทอง
ฐานเสียงของตระกูลร่มเย็นและฉัตรมาลีรัตน์
ผลการเลือกตั้งนายกอบจ.ระนอง ปรากฎว่า นายนภา นทีทอง ผู้สมัครหมายเลข 1 อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดระนอง ที่มี นายวิรัช ร่มเย็น ส.ส.ระนอง พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชาธิปัตย์ให้การสนับสนุน ได้รับการเลือกตั้ง ด้วยคะแนน 26,450 คะแนน เอาชนะ นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ ทีมระนองก้าวหน้า ผู้สมัครหมายเลข 2 ลูกชายนายบดินทร์ ฉัตรมาลีรัตน์ หรือ นายฮั้งเพ้ง เจ้าของลูกชิ้นหมูชื่อดัง อดีตนายกอบจ.ระนอง ที่ได้ 23,684 คะแนน จากการตรวจสอบคะแนนจากทุกอำเภอ พบว่า นายคงกฤษ มีคะแนนนำใน 4 อำเภอคือ กระบุรี กะเปอร์ ละอุ่น และสุขสำราญ แต่ นายนภา มีคะแนนนำเฉพาะในเขตอำเภอเมืองระนองเท่านั้น แต่มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากที่สุด และส่วนใหญ่เลือกผู้สมัครทีมประชาธิปัตย์ทั้งนายก และส.อบจ. เมื่อรวมกันแล้วนายนภาเป็นผู้ชนะในที่สุด ส่วน นายอติคม ธนบัตร ผู้สมัครหมายเลข 3 ทีมคนของเรา อดีตผู้สมัคร สส.ระนองพรรค เพื่อแผ่นดิน ได้ 10,972 คะแนน มาเป็นอันดับ 3
สำหรับผลการนับคะแนน ส.อบจ.ระนอง ทั้ง 24 เขต มีผู้ชนะการเลือกตั้ง ดังนี้ อ.เมืองระนอง เขต 1 นายสมทวน ตันจู เขต 2 ด.ต.ประนอม รอดแคล้ว เขต 3 นายประโมทย์ เทพนุรักษ์ เขต 4 นายภูมิพัฒน์ วิภาคกิจอนันต์ เขต 5 นายนริศ น้อยราช เขต 6 นายบุญเลิศ ลิ่มตั้ง เขต 7 นายวรานนท์ เกลื่อนสิน เขต8 นางสาวอุรชา เมธานันท์ เขต 9 นางสุธาทิพย์ ฐอสุวรรณ เขต 10 นายพลณรงค์ ศรีพิบูลย์ เขต 11 นายธนกร บริสุทธิญาณี เขต 12 นายประภาส พัฒน์ชูชีพ อ.กระบุรี เขต 1 นายประสิทธิ์ โยธารักษ์ เขต 2 นางอรุณรัตน์ ใสสุข เขต 3 นายธวัช ใจดี เขต 4 นายภักดี พรหมสุวรรณ เขต 5 นายสุรพล ศรีบุญเรือง เขต 6 นายเธียรชัย สายน้ำใส
อ.กะเปอร์ เขต 1 นายอุดม ยกทอง เขต 2 นายสมควร ทองสุกใส เขต 3 นาย สุรพล ชูศรี อ.ละอุ่น เขต 1 นายสมบัติ หีดคีรี เขต 2 นายพิทักษ์ หีบเพชร และ อ.สุขสำราญ เขต 1 นายอิสหาก สาลี
สรุปว่า ทีมระนองก้าวหน้าชนะ 14 เขต ประชาธิปัตย์ 7 เขต อยู่ในเขต อ.เมืองทั้งหมด ผู้สมัครอิสระ 2 เขต และทีมคนของเรา 1 เขต มีผู้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 64,602 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 109,802 คน คิดเป็นร้อยละ 58.83 บัตรเสีย 2,500 บัตร ร้อยละ 3.87 และบัตรไม่ลงคะแนน 2,123 บัตร ร้อยละ 3.29

สงขลา
นายอุทิศ ชูช่วย
ฐานเสียงของตระกูลเสนเนียม,พัฒโน กับบุญญามณี
ผลการเลือกตั้งนายกและ ส.อบจ.สงขลา เมื่อวันที่ 27 เมษายนที่ผ่านมา นายนวพล บุญญามณี หัวหน้าทีมสงขลาพัฒนา ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนรวม 234,353 คะแนน ในขณะที่ นายวรวิทย์ ขาวทอง หัวหน้าทีมรักสงขลา ได้ 228,623 คะแนน แพ้ชนะกัน 5,730 คะแนน โดยผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งสิ้น 899,976 คน ผู้มาใช้สิทธิ์ 510,885 คน คิดเป็น 56.77 % บัตรเสีย 20,175 ใบ คิดเป็น 3.95 % และไม่ประสงค์ลงคะแนน 27,734 ใบ คิดเป็น 5.43 %
ส่วนผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา 36 เขตเลือกตั้ง อย่างไม่เป็นทางการ ประกอบด้วย
อำเภอเมืองสงขลา เขต 1 นายวิชัย กุหลาบวรรณ ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 5,427 คะแนน เขต 2 นายศิริชัย เอกพันธ์ ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 5,392 คะแนน เขต 3 นายนราเดช คำทัปน์ ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 7,079 คะแนน เขต 4 นายสุรชัย สุริแสง ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 6,382 คะแนน

อำเภอหาดใหญ่ เขต 1 นายพินิจ ทิพย์แก้ว ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 3,800 คะแนน เขต 2 นายนิพัทธ์ ศิริรัตน์ ทีมรักสงขลาได้คะแนนเสียง 4,021 คะแนน เขต 3 นายเจตภัทร ทองวงศ์ ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 4,235 คะแนน เขต 4 นายพิพัฒน์ เจือละออง ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 3,332 คะแนน เขต 5 นายณัฐวุฒิ ไชยชูลี ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 5,861 คะแนน เขต 6 นายเขียน จินนะวงศ์ ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 3,809 คะแนน เขต 7 ด.ต.นิคม ทองมุณี ทีมสงขลาพัฒนาได้คะแนนเสียง 9,276 คะแนน เขต 8 นายประวัติ สวนแก้ว ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง5,976 คะแนน เขต 9 นายพยม พรหมเพชร ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง4,959 คะแนน เขต 10 นายดำรงค์ เพ็ชรพงศ์ ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 6,378คะแนน
อำเภอสะเดา เขต 1 นายธนพล ศรีเนตร ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 5,099 คะแนน เขต 2 นายนิรุธ สุวรรณรักษา ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 6,597 คะแนน เขต 3 นายสุเมธ ศศิธร ทีมอิสระได้คะแนนเสียง 7,0798 คะแนน
อำเภอจะนะ เขต 1 นายร่อเหตุ รักหมัด ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 8,311 คะแนน เขต 2 นายสุภาพ ทองเพชร ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 10,821 คะแนน
อำเภอสิงหนคร เขต 1 นายฉัตรเพชร ครุอำโพธิ์ ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 8,680 คะแนน เขต 2 นายวิสุทธิ์ รุจิเรข ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 8,647 คะแนน
อำเภอรัตภูมิ เขต 1 จ.ส.ต.จรูญ เรืองฤทธิ์ ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 8,831 คะแนน เขต 2 นายอดุลย์ สงดวง ทีมรักสงขลา 7,617 คะแนน
อำเภอระโนด เขต 1 ว่าที่ ร.ต.ไกรธนู แกล้วทนงค์ ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 8,946 คะแนน เขต 2 นายอำนาจ นวลทอง ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 6,799 คะแนน
อำเภอสะบ้าย้อย เขต 1 นายกุศล ขุนดำ ทีมอิสระได้คะแนนเสียง 3,804 คะแนน เขต 2 นายปิยะ อุ่นแดง ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 9,536 คะแนน
อำเภอเทพา เขต 1 นายวรพงศ์ ปราบ ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 4,843 คะแนน เขต 2 นายอธิวัตร ใบสะเม๊าะ ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 5,685 คะแนน
อำเภอสทิงพระ เขต 1 นายสุวัฒน์ นิยมเดชา ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 11,427 คะแนน
อำเภอควนเนียง เขต 1 นายมิตร แก้วประดิษฐ์ ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 7,638 คะแนน
อำเภอกระแสสินธุ์ เขต 1 นายเปรม ทองเนื้อแข็ง ทีมรักสงขลา ได้คะแนนเสียง 3,601 คะแนน
อำเภอบางกล่ำ เขต 1 นายบุญเจอ กัลยาศิริ ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 6,119 คะแนน
อำเภอคลองหอยโข่ง เขต 1 นายสาธิต สุวรรณชาตรี ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 7,139 คะแนน
อำเภอนาทวี เขต 1 ส.อ.กุณฑล เสนะพันธุ์ ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 17,296 คะแนน
อำเภอนาหม่อม นายอาคม ประสมพงศ์ ทีมสงขลาพัฒนา ได้คะแนนเสียง 5,964 คะแนน
สรุปทีมสงขลาพัฒนา นายก อบจ.สงขลา 1 คน ส.อบจ.สงขลา 18 คน ทีมรักสงขลา ส.อบจ.สงขลา 16 คน และอิสระ 2 คน
สำหรับการเลือกตั้งนายกฯและ ส.อบจ.สงขลา ในครั้งนี้มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 899,976 คน ผู้มาใช้สิทธิ์จำนวน 510,885 คน คิดเป็นร้อยละ 56.77 จำนวนบัตรเสีย 20,175 คิดเป็นร้อยละ 3.95 และบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 27,734 คิดเป็นร้อยละ 5.43
ชัยชนะของ นวพล พร้อมกับการหิ้ว ส.อบจ.เข้ามา 18 ที่นั่ง เสียให้ทีมรักสงขลา 16 ที่นั่ง และทีมอิสระ 2 ที่นั่ง แต่ก็มากพอที่จะช่วยให้ฝ่ายบริหารทำงานได้อย่างราบรื่น ผลการเลือกตั้งครั้งนี้นับว่าเป็นการย้ำแค้นสมัยที่ 2 หลังจากเมื่อ 4 ปีที่แล้ว นวพล ก็ชนะวรวิทย์ มาแล้ว ส่งผลให้ชื่อนายกชาย กลายเป็นอดีตต่ออีก 4 ปี และนายกแกน ก็ได้ต่ออีก 4 ปี การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการแข่งขันชิงตราปชป.มากกว่าแข่งกันที่นโยบาย นวพล มีแรงหนุนจากพี่ชาย นิพนธ์ บุญญามณี และ 2 ส.ส.สงขลา ประพร เอกอุรุ และนราชา สุวิทย์ ส่วนวรวิทย์ มีถึง 6 คน ซึ่งเป็น ส.ส.สงขลาทั้งหมด
ชัยชนะของนวพล มาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือผลงานเก่า 4 ปีที่ผ่านมา และภาพความเป็น ปชป.ที่ชัดกว่า ขณะที่วรวิทย์ ห่างสนามไปถึง 4 ปี และเคยสวมเสื้อไทยรักไทย แม้มี 6 ส.ส.สนับสนุนก็สู้ไม่ไหว และตัวแปรสำคัญคือการที่ประชาชนจำนวนมากเบื่อหน่ายการเลือกตั้งทำให้มีผู้มา ใช้สิทธิ์แค่ 56 % เท่านั้น บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนและบัตรเสียกว่า 4..7 หมื่นใบ สะท้อนถึงความเบื่อหน่ายของผู้ใช้เลือกตั้งที่ไม่รู้จะเลือกใครจึงออกมาใช้ สิทธิ์ตามกฎหมายเท่านั้น
นายนวพล บุญญามณี เกิดเมื่อ 7 ตุลาคม 2506 เป็นชาวอำเภอเมืองสงขลา การศึกษาปริญญาโท สำเร็จการศึกษาจาก คณะรัฐประศาสนศาสตร์(M.P.A)สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(NIDA) ประสบการณการทำ เป็นผู้ก่อตั้งสมาพันธ์นักศึกษา 14 จังหวัดภาคใต้ ผู้ช่วยดำเนินงาน ส.ส. นิพนธ์ บุญญามณี และเป็นกรรมการรองผู้จัดการบริษัท อาคเนย์คอนกรีต จำกัด พ.ศ. 2358 ได้รับเลือกเป็นสมชิกสภาจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2539 รับเลือกเป็นรองประธานสภาจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2542 ได้เลือกเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาคนที่ 1, พ.ศ. 2547 ได้รับเลือกการเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา,นายกสมาคม กีฬาจังหวัดสงขลา
แต่แล้วศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืนตามคำตัดสินที่ กกต. เสนอให้ "ใบเหลือง" แก่ นวพล บุญญามณี อดีตนายก อบจ.สงขลา 2 สมัย

มีผู้สมัคร 3 คน ประกอบด้วย หมายเลข 1 วรวิทย์ ขาวทอง อดีตนายก อบจ.สงขลา 2 สมัย ทีมรักสงขลา หมายเลข 2 อุทิศ ชูช่วย อดีตนายกเทศมนตรีนครสงขลา 3 สมัย ทีมสงขลาพัฒนา หมายเลข 3 อนันต์ กาญจนสุวรรณ ทีมทางเลือกใหม่คนสงขลา
แต่เซียนการเมืองที่นั่นมองว่าม้าสองตัวที่จะแย่งกันเข้าวินคงมีเพียง "วรวิทย์" กับ "อุทิศ" เท่านั้น ส่วนอนันต์คงต้องรอ "ส้มหล่น" หากเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองของสองคนแรกเท่านั้น
นอกจากนี้แม้ข่าวหลายสำนักจะมองว่าศึกครั้งนี้เป็น "ศึกสายเลือด" ของพรรคประชาธิปัตย์ ในลักษณะ "สงครามตัวแทน" ของ ถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย กับ นิพนธ์ บุญญามณี รองเลขาธิการพรรค
แต่นั่นคือภาพเก่าของการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 27 เมษายน ที่ผ่านมา แต่ครั้งนี้ไม่ใช่ เพราะทั้งวรวิทย์และอุทิศไม่มีใครขายความเป็นประชาธิปัตย์ แต่แข่งกันขายนโยบายส่วนตัวมากกว่า ซึ่งต่างจากการเลือกตั้งครั้งก่อนที่ ส.ส.สงขลา ทั้ง 10 คน แบ่งข้างหนุนคนของตนชัดเจน
โดยมี 8 ส.ส.หนุนวรวิทย์ ซึ่งเป็นคนของถาวร ส่วนอีก 2 คนหนุนนวพล ซึ่งเป็น "น้องชาย" ของนิพนธ์
ว่ากันว่าเบื้องหลังการสวมคอนเวิร์สของสองตระกูลนี้ เนื่องจากอุทิศส่งน้องชาย คือ กิตติ ชูช่วย อดีตประธานสภาเทศบาลสงขลา ลงเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครสงขลาในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้
ขณะที่นิพนธ์ต้องการส่ง พีระ ตันติเศรณี อดีตรองนายกอบจ.สงขลา ลงสมัครนายกเทศมนตรีนครสงขลา เพื่อแลกกับการสนับสนุน อุทิศในเลือกตั้งนายก อบจ.
แต่สุดท้ายเงื่อนไขดังกล่าวก็ต้องล่มกลางคันเมื่ออุทิศไม่ยอมถอย ทั้งยังส่งน้องชายลงสมัครแทนอีกต่างหาก !!
จากนั้นการ "ลอยแพ" อุทิศจึงเกิดขึ้นเมื่อ ส.อบจ.6 คน ทีมสงขลาพัฒนาเดิมที่เป็นลูกทีมของนวพล ประกาศเปลี่ยนขั้วไปอยู่กับวรวิทย์แทน
การสลับขั้วดังกล่าวทำให้เสียงในสภา อบจ.สงขลา ของวรวิทย์เพิ่มเป็น 22 คน จากจำนวน ส.อบจ.ทั้งหมด 36 คน ซึ่งทำให้ฐานเสียงของวรวิทย์ปึ้กมากในพื้นที่ อ.ระโนด อ.เมืองสงขลา และ อ.หาดใหญ่
โดยเฉพาะพื้นที่ อ.หาดใหญ่ ซึ่งเป็นสนามชี้ขาดการเลือกตั้งครั้งก่อน เพราะมี ส.อบจ.ถึง 10 คน และครั้งก่อนมี "ใบสั่ง" ให้ผู้สมัครคนหนึ่งเทคะแนนไปให้นวพล จึงทำให้วรวิทย์พ่ายนวพลไปอย่างน่าเจ็บกระดองใจ
นอกจากนี้วรวิทย์ยังดึง ทิพวรรณ พัฒโน อดีต ส.ว.สงขลา ภรรยาของ ไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ เข้ามาอยู่ในทีมรองนายก อบจ.สงขลา ด้วย จึงน่าจะเสริมเขี้ยวเล็บให้วรวิทย์ได้อีกมาก
ส่วนในพื้นที่ อ.ระโนด ซึ่งเป็นจุดบอดของวรวิทย์อีกจุดได้ สวัสดิ์ แกล้วทนง อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานที่ปรึกษา พร้อมดึง ส.อบจ.ธนู แกล้วทนง หลานชายจากทีมสงขลาพัฒนา พ่วงท้ายด้วย ส.ส.ประพร เอกอุรุ ส.ส.สงขลา เข้ามาช่วยอีกแรง
อย่างไรก็ตาม แม้จะถูกมองว่าเป็นรอง และมีข่าวว่าจะถอดใจ เพราะถูกนิพนธ์ลอยแพ แต่อุทิศก็ยังสวมหัวใจสิงห์สู้ต่อ โดยชูประสบการณ์ในตำแหน่ง "นายกเทศมนตรีนครสงขลา 3 สมัย" เป็นเครื่องการันตี
โดยเฉพาะผลงานการพลิกฟื้นการท่องเที่ยวของเมืองสงขลาด้วยการปลุก "หาดสมิหลา" เป็น "ห้องรับแขก" ของภาคใต้
เมื่อผนวกกับการเตรียมพร้อมด้วยการเรียกประชุมฐานเสียงในทุกอำเภออย่าง ต่อเนื่อง จึงทำให้ไม่อาจประมาทอุทิศไปได้เลย โดยเฉพาะ "คะแนนสงสาร" ที่อาจทำให้ "การเมืองระดับชาติ" ต้องสะอื้นอีกครั้ง
การเลือกตั้งนายกอบจ.สงขลา 11 ตุลาคม 52 นี้ดูเหมือนว่าไม่ใช่เป็นการแข่งขันของกลุ่มการเมืองท้องถิ่น 2 กลุ่ม + 1 กลุ่มใหม่ คือการเมืองของทีมรักสงขลา ของวรวิทย์ ขาวทอง ทีมสงขลาพัฒนาของอุทิศ ชูช่วย และทีมทางเลือกใหม่คนสงขลา ของอนันต์ กาญจนสุวรรณ
ต้องพูดกันตามตรงว่า ทีมรักสงขลา และสงขลาพัฒนา คือคู่ต่อกรกันตัวจริงส่วนทีมทางเลือกใหม่คนสงขลา โอกาสสอดแทรถึงขนาดขึ้นมาแซง 2 ทีมแรกคงยากมาก อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งคราวนี้ดูเหมือนชัดเจนแล้วว่าไม่ใช่การแข่งขัน ระหว่างอุทิศ กับวรวิทย์ เสียแล้ว แต่เป็นการแข่งขันระหว่างอุทิศ กับวรวิทย์ + 9 ส.ส.ปชป.
ทราบดีว่าสงขลาบ้านเราปชป.กินเรียบด้วย ส.ส.เขต 8 คน แถมส.ส.สัดส่วนอีก 2 คน ที่นำทีมโดยถาวร เสนเนียม มท.3 นำทีม โดยประพร เอกอุรุ ส.ส.สงขลาประกาศชัดบนเวทีช่วยหาเสียงให้วรวิทย์ ว่า 8 คนของปชป.+ ดร.สามสี ไตรรงค์ สุวรรณคีรี หนุนวรวิทย์ บอกนัยยะกับชาวสงขลาว่าถึงไม่ใช่ลงในนามพรรคก็ยิ่งใหญ่กว่าในนามพรรคเสียอีก
ส่วนอุทิศ ชู่ช่วย ดูเหมือนว่านับตั้งแต่มีปัญหากันภายในทีมสงขลาพัฒนา ก็ขาดหายคนในปชป.มีเพียง นิพนธ์ บุญญามณี ที่ยืนหนุนในฐานะเพื่อนรักแต่ไม่ได้ออกหน้ามาก รวมทั้งอดีตนายกนวพล ก็หายไปจากเวทีช่วยหาเสียงและสจ.บางคนก็ย้ายสังกัดไปอยู่ทีมรักสงขลา ภาวะเช่นนี้ดูเหมือนว่าอุทิศ กำลังเดียวดาย
ในเขตเมืองหาดใหญ่ ไพร พัฒโน ก็ส่งเมียรัก ทิพวรรณ พัฒโน ลงทีมรองนายกกับวรวิทย์ และขึ้นไปช่วยหาเสียงแทบทุกเวทีแถมประกาศสโลแกนเดียวกับปชป.ว่า "ชาวสงขลา ต้องมาก่อน" ซึ่งถ้าดูจากตรงนี้ต้องบอกว่าแต้มต่อที่วรวิทย์ มีสูงมาก สูงจนมีเสียงจากทีมงานออกมาบอกว่า "ชนะแน่ๆ"
อุทิศ ชุช่วย แม้จะลงสนามมานาน เดินสายเปิดตัวมาตั้งแต่ก่อนที่ศาลจะตัดสินคดีนวพล แต่เมื่อเจอลูกหนุนจาก ปชป. แรงขับเคลื่อนจากคนที่เคยได้ชื่อว่าลูกหม้อปชป.ก็แทบหายไปจากตัวอุทิศ แต่ความเป็นลูกรักป๋าเปรม ของอุทิศ ยังมีอยู่เปี่ยมล้น ภาพที่ตรึงตาชาวสงขลา คือไม่ว่าครั้งใดสมัยไหน ในยามที่มีคนเข้ามาโจมตีป๋าเปรม คนแรกที่ลุกมาปกป้องเขาคนนั้นคือ อุทิศ ชูช่วย
ผลงานการพัฒนานครสงขลา ภายใต้การนำของอุทิศ มีผลเป็นรูปธรรมในหลายโครงการ และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายในความเป็นนักพัฒนา ว่ากันว่าแรงหนุนจากกลุ่มคนระดับกลางและชาวบ้านส่วนใหญ่ยอมรับในผลงาน ซึ่งน่าจะเป็นตัวช่วยดึงคะแนนได้ในระดับหนึ่ง แต่การมาต่อสู่กับ ส.ส.สงขลาทั้งพรรคจึงเป็นเรื่องที่ใหญ่พอสมควร
ในวันนี้ อุทิศ บอกว่ายังไม่ท้อและขอเดินสายพบปะประชาชนให้มากที่สุดที่สำคัญในการเปิดเวที ปราศรัยทุกครั้ง คนฟังยังมาฟังมากมายและทำให้พอมั่นใจได้ว่าการเมืองระดับชาติกับท้องถิ่น นั้นต่างกัน และหากอุทิศ ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งคราวนี้ต้องบอกว่าเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่
ฟาก ฝั่งวรวิทย์ ในการเดินสายเปิดเวทีทุกครั้งก็ต้องมีส.ส.ปชป.หรือคนอื่นๆในสังกัดไปร่วมแจมด้วยแถมบอกว่าช่วงท้ายจะดึงคนมาช่วยหาเสียงหลายคนรวมทั้ง ส.ส.จังหวัดอื่นมาช่วยด้วย คราวนี้เรียกว่ายิ่งใหญ่กว่าเลือกตั้งซ่อมส.ส.เสียอีก
และมีคำถามปิด ท้ายว่าส.ส.สงขลาออกโรงหนุนวรวิทย์ แบบหมดหน้าตักเช่นนี้ไม่ปล่อยให้ท้องถิ่นเป็นเรื่องของท้องถิ่นแล้วถ้าผลการเลือกตั้งออกมาว่าคนสงขลาไม่เอาคนที่ท่านส.ส.เสนอ ท่านจะรับผิดชอบอย่างไร ลากออกทั้งจังหวัดดีไหม
คำถามนี้คงไม่ต้องการคำตอบ แต่เชื่อว่าชาวสงขลามีคำตอบให้ตัวเองในใจแล้ว ว่าจะเลือกใคร
สรุปผลการนับคะแนนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา (อย่างเป็นทางการ)
นายอุทิศ ชูช่วย เบอร์2 ได้ไป 249,496 คะแนน
นายวรวิทย์ ขาวทอง เบอร์1 ได้ไป 228,565 คะแนน
นายอนันต์ กาญจนสุวรรณ เบอร์3 ได้ไป 21,055 คะแนน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 909,569 คน
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน 545,688 คน คิดเป็นร้อยละ 59.99
บัตรเสีย จำนวน 14,750 บัตร คิดเป็นร้อยละ 2.70
บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน จำนวน 31,822 บัตร คิดเป็นร้อยละ 5.83

สงขลา 2 พ.ย. - “พีระ ตันติเศรณี” ชนะเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครสงขลา ได้คะแนนทิ้งห่างน้องชายนายก อบจ.สงขลา กว่า 1 หมื่นคะแนน
ผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลนครสงขลาอย่างไม่เป็นทางการ ปรากฏว่านายพีระ ตันติเศรณี ผู้สมัครนายกเทศมนตรีฯ ทีมสงขลาใหม่ หมายเลข 1 ได้ 19,814 คะแนน ชนะนายกิตติ ชูช่วย ทีมสงขลาพัฒนา ซึ่งเป็นน้องชายนายอุทิศ ชูช่วย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ที่ได้ 9,453 คะแนน ส่วนผลการนับคะแนนการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครสงขลาแทนตำแหน่งที่ว่าง เขตเลือกตั้งที่ 1 นายวัลลภ วุฒิภูมิ ทีมสงขลาใหม่ ได้ 3,821 คะแนน ชนะ นางสุนิดา คงอินทร์ ทีมสงขลาพัฒนา ที่ได้ 1,634 คะแนน เขตเลือกตั้งที่ 3 นายเชาว์ สุชนสถิต ทีมสงขลาใหม่ ได้ 4,501 คะแนน ชนะ นายถวิล แก้วดำ ทีมสงขลาพัฒนา ที่ได้ 2,244 คะแนน และนายจรัญ วงศ์กระจ่าง ทีมอิสระ ที่ได้ 131 คะแนน ขณะที่เขตเลือกตั้งที่ 4 นายชาคริต นิยมเดชา ทีมสงขลาใหม่ ได้ 4,659 คะแนน ชนะ นายประจวบ จันทร์เพ็ญ ทีมสงขลาพัฒนา ที่ได้ 2,935 คะแนน

สุราษฎร์ธานี
นายมนตรี เพชรขุ้ม
ฐานเสียงของตระกูลเทือกสุบรรณและนิลวัชรมณี
สำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ. สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2551 นายธานี เทือกสุบรรณ น้องชายนายสุเทพ ได้รับเลือกตั้งให้เป็น นายก อบจ. แต่นายมนตรี เพชรขุ้ม ผู้สมัครนายก อบจ.ทีมสุราษฎร์ร่มเย็น ได้ยื่นเรื่องคัดค้านการประกาศผลเลือกตั้งนายก อบจ.และ ส.อบจ.สุราษฎร์ธานี โดยอ้างว่า ในช่วง 60 วันก่อน วาระดำรงตำแหน่ง นายธานี ได้กระทำความผิดต่อกฎหมายเลือกตั้ง ด้วยการมอบทุนการศึกษาแก่สถาบันการศึกษา และนักเรียนจำนวน 52 โรงเรียนในเขต จ.สุราษฎร์ธานี และนายสุเทพ ซึ่งเป็น ส.ส. จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นพี่ชาย พร้อมด้วยนายสุริญญา ยืนนาน ผู้สมัคร ส.อบจ. จงใจกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้ง ด้วยการแจกผ้าห่ม ซึ่งได้ปักชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ และปักชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อีกทั้งนายธานี ร่วมกับ พล.ต.ต.ภูวดล กระแสอินทร์ ด้วยการโฆษณาโดยใช้แผ่นประกาศแนะนำตัว เพื่อใช้ในการหาเสียงระบุว่า พล.ต.ต.ภูวดล เป็นรอง นายก อบจ. และได้แจกจ่ายแผ่นประกาศดังกล่าว ไปยังผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขต จ.สุราษฎร์ธานี แต่ต่อมา พล.ต.ต.ภูวดล ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งนายก อบจ.
ส่วนตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการของผู้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้มี จำนวน 328,055 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น จำนวน 677,600 คน คิดเป็นร้อยละ 48 อย่างไรก็ตาม ทีมประชาธิปัตย์ต้องเสียเก้าอี้ ส.อบจ.ให้กับผู้สมัครอิสระไปถึง 11 คน จากทั้งหมด 30 เขต มีผู้สมัครหน้าใหม่ได้รับเลือกเข้ามาถึง 16 คน

ผลการเลือกตั้งซ่อม นายก อบจ.สุราษฎร์ธานีแทนนายธานี เทือกสุบรรณ น้องชายนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ได้ใบเหลือง พลิกโผเป็นครั้งแรก
เมื่อ”มนตรี เพชรขุ้ม” อดีต สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร.ปี 2550 อดีตนายกอบต.ท่าเรือ เจ้าของ/ผู้จัดการ ร้านอาหาร มาดามซิม เกาะสมุย และสถานีบริการน้ำมัน อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี 6 ปี
อาของ”วรพจน์ เพชรขุ้ม”วีระบุรุษเหรียญเงินโอลิมปิกสามารถโค่นตระกูล”เทือกสุบรรณ”ที่ผูกขาดการเมืองระดับชาติและท้องถิ่นได้สำเร็จ ถือว่าเป็นนายก อบจ.สุราษฎร์ธานีคนแรกที่ฝ่าฟันตระกูลเทือกสุบรรณได้ นับเป็นประวัติศาสตร์ทางการเมืองอีกครั้งหนึ่ง
-โดยมนตรี เพชรขุ้ม ผู้สมัครหมายเลข 3 ทีมสุราษฎร์ร่มเย็น ได้คะแนน 113,340 คะแนน คว้าตำแหน่งนายก อบจ.คนใหม่ เฉือนคะแนนของดำรง เทือกสุบรรณ ลูกพี่ลูกน้องของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เพียง 1,564 คะแนน โดยดำรงได้คะแนนเป็นอันดับ 2 จำนวน 111,776 คะแนน ส่วนประวิช นิลวัชรมณี อดีต ส.ว. และ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ 5 สมัย ได้คะแนนเป็นอันดับ 3 จำนวน 72,136 คะแนน
-อย่างไรก็ตามสำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้นับว่ามีผู้ใช้สิทธิ์ เลือกตั้งน้อยมาก จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งจังหวัด 676,850 คน ใช้สิทธิ์เพียง 322,768 คนคิดเป็นร้อยละ 47.68 % บัตรดี 297,252 บัตร คิดเป็นร้อยละ 92.09 % บัตรเสีย 5,933 บัตร คิดเป็นร้อยละ 1.84 % บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 19,583 บัตร คิดเป็นร้อยละ 6.07 %
-อย่างไรก็ตามผลการเลือกตั้งซ่อม นายก อบจ.สุราษฎร์ธานี ครั้งนี้นับเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ของชาวสุราษฎร์ธานีที่ตระกูลอื่นโค่น ตระกูลเทือกสุบรรณได้สำเร็จ เป็นที่วิพากวิจารณ์กันอย่างหนาหูทั้งข้าราชการและประชาชนทั่วไป
-ส่วนผลการเลือกตั้ง ส.อบจ.ท่าชนะ นายบุญยิ่ง ย้งลี ได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนน 12,264 คะแนน ส่วน ส.อบจ.เกาะสมุย นายเจริญ จันทรา อดีตนายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนน 8,422 คะแนน




 

Create Date : 30 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 30 มกราคม 2553 15:28:24 น.
Counter : 1249 Pageviews.  

เจาะฐานการเมืองของแต่ละพรรคการเมือง

โดยปกติแล้วฐานการเมืองโดยทั่วไปมักจะตกเป็นตระกูลที่มีชื่อมีอิทธิพลเป็นที่รู้จัก ส่วนพรรคการเมืองนั้นจะอยู่รองๆลงมาในที่นี้จะขอพูดถึงพรรคเล็กๆก่อน

พรรคประชาราช ฐานเสียงก็คงมีแค่ตระกูลเทียนทอง ในจ.สระแก้วที่เดียวเท่านั้น

พรรครวมใจไทย มีแค่ตระกูลภัทรประสิทธิ์ ในพิจิตร และตระกูลลิปตพัลลภ,ชาติปฏิมาพงษ์และชาญนุกูล ในนครราชสีมา

พรรคภูมิใจไทย ฐานเสียงก็มีตระกูลชิดชอบ กับ ทองศรี ที่ปักหลักอยู่จ.บุรีรัมย์ ,ตระกูล มุ่งเจริญพร ที่มีฐานอยู่จ.สุรินทร์ ,ตระกูลอดิเรกสาร จากจ.สระบุรี ,ตระกูลนาคาศัย จากจ.ชัยนาท ,ตระกูลสังขทรัพย์ จากจ.เลย ,ตระกูลตันเจริญ จากจ.ฉะเชิงเทรา

พรรคชาติไทยพัฒนา ฐานเสียงก็มีตระกูลศิลปอาชา,ประเสริฐสุวรรณเที่ยงธรรมและโพธสุธน ในสุพรรณบุรี ,ตระกูลไทยเศรษฐ ในอุทัยธานี ,ตระกูลสงฆประชา ในชัยนาท ,ตระกูลปริศนานันทกุล ในอ่างทอง ,ตระกูลขจรประศาส์น ในพิจิตร ,ตระกูลจิรพันธวานิช ในลพบุรี ,ตระกูลจินตะเวช ในอุบลราชธานี

พรรคประชาธิปัตย์ ฐานเสียงก็มีตระกุลบรรณวัฒน์และไชยนันท์ ในจ.ตาก ,ตระกูลไกรฤกษ์ ในจ.พิษณุโลก ,ตระกูลแก้วทอง ในจ.พิจิตร ,ตระกูลเงินหมื่น ในจ.อำนาจเจริญ ,ตระกูลนามบุตรและสมชัย ในจ.อุบลราชธานี ,ตระกูลปิตุเตชะ ในจ.ระยอง ,ตระกูลอิสระเสนารักษ์ ในจ.นครนายก ,ตระกูลทับสุวรรณ ในจ.สมุทรสาคร ,ตระกูลพลบุตรกับสุภาแพ่ง ในจ.เพชรบุรี ,ตระกูลพะลังกับอ่อนละมัย ในจ.ชุมพร ,ตระกูลเทือกสุบรรณและนิลวัชรมณี ในจ.สุราษฎร์ ,ตระกูลบุณยเกียรติ,เสนพงษ์,ศักดิเศรษฐ,แก้วภราดัยและพิศสุวรรณ ในจ.นครศรีธรรมราช ,ตระกูลเทพบุตร ในจ.ภูเก็ต ,ตระกูลลักษณวิศิษฐ์ ในจ.พังงา ,ตระกูลธรรมเพชร ในจ.พัทลุง ,ตระกูลเสนเนียม,บุญญามณีและพัฒโน ในจ.สงขลา

พรรคเพื่อไทย ฐานเสียงก็มีตระกูลติยะไพรัช,เตชะธีราวัฒน์และวันไชยธนะวงศ์ ในจ.เชียงราย ,ตระกูลตันบรรจง ในจ.พะเยา ,ตระกูลวันไชยธนะวงศ์ ในจ.แม่ฮ่องสอน ,ตระกูลโลห์สุนทรและจันทร์สุรินทร์ ในจ.ลำปาง ,ตระกูลเสรีรักษ์ ในจ.แพร่ ,ตระกูลพั้วช่วย,อนรรคฆพันธ์,ทองใจสดและพร้อมพัฒน์ ในจ.เพชรบูรณ์ ,ตระกูลวรปัญญา ในจ.ลพบุรี ,ตระกูลกิตติธเนศวร ในจ.นครนายก ,ตระกูลพันธ์เจริญวรกุลและแขวัฒนะ ในจ.พระนครศรีอยุธยา ,ตระกูลหาญสวสดิ์ ในจ.ปทุมธานี ,ตระกูลอังกินันท์ ในจ.เพชรบุรี ,ตระกูลไกรวัตนุสสรณ์ ในจ.สมุทรสาคร ,ตระกูลสะสมทรัพย์และปทุมารักษ์ ในจ.นครปฐม ,ตระกูลฉายแสง ในจ.ฉะเชิงเทรา ,ตระกูลกิจเลิศไพโรจน์,ยังตรงและประสพดี ในจ.สมุทรปราการ ,ตระกูลทิมสุวรรณและเร่งสมบูรณ์สุข ในจ.เลย ,ตระกูลสุนทรชัย,จันทาทองและอินทร์รอด ในจ.หนองคาย ,ตระกูลวรามิตรและศรีธเรศ ในจ.กาฬสินธิ์ ,ตระกูลไชยสาส์น ในจ.อุดรธานี ,ตระกูลศรีวรขาน ในจ.นครพนม ,ตระกูลไตรสรณกุล,แซ่จึง,เครือรัตน์และอินฉัตร ในจ.ศรีสะเกษ ,ตระกูลกัลป์ตินันท์ ในจ.อุบลราชธานี ,ตระกูลชัยวิรัตนะและชาลีเครือ ในจ.ชัยภูมิ ,ตระกูลเชิดชัยและครุฑขุนทด ในจ.นครราชสีมา

กล่าวโดยสรุปแล้วพรรคเพื่อไทย ครองฐานเสียงส่วนใหญ่ในภาคเหนือและอีสาน(เว้นจ.ตากและจ.พิษณุโลก,สุโขทัยกับพิจิตรบางส่วนให้ปชป. จ.บุรีรัมย์และสุรินทร์เป็นของพรรคภูมิใจไทย ในขณะที่อุบลราชธานีและนครราชสีมาแบ่งสรรกันไปถึง4พรรค มุกดาหารและยโสธรบางส่วนแบ่งสรรกันไป)มีของภาคกลางบางส่วนอันได้แก่เพชรบูรณ์ ,พระนครศรีอยุธยา ,นครปฐม ,ปทุมธานี ,ฉะเชิงเทรา ,สมุทรปราการ บางส่วนของลพบุรี,ชัยนาท,สมุทรสาคร,กาญจนบุรี,นครนายก

พรรคประชาธิปัตย์ ส่วนของภาคเหนืออีสานก็มี จ.ตาก บางส่วนของจ.พิษณุโลก,พิจิตร,อุบลราชธานี,สุโขทัย ของภาคกลางก็มีเพชรบุรี,ประจวบคีรีขันธ์,ตราด,สมุทรสงคราม บางส่วนของนครสวรรค์,ราชบุรี,สมุทรสาคร,นครนายก,สระบุรี,กาญจนบุรี,ชลบุรี,ระยอง,จันทบุรี ของภาคใต้เหมาหมดยกเว้นปัตตานี,ยะลาและนราธิวาส มีของพรรคอื่นแทรก

พรรคภูมิใจไทย มีฐานคือจ.บุรีรัมย์และสุรินทร์ บางส่วนของจ.ชัยนาท,นครสวรรค์,สระบุรี

พรรคชาติไทยพัฒนา มีฐานคือจ.สุพรรณบุรี,อ่างทอง,สิงห์บุรี,อุทัยธานี บางส่วนของจ.ชัยนาท,ลพบุรี,พิจิตร




 

Create Date : 29 พฤษภาคม 2552    
Last Update : 29 พฤษภาคม 2552 19:16:11 น.
Counter : 723 Pageviews.  

เจาะฐานการเมืองท้องถิ่นกรุงเทพฯผ่านชื่อสมาชิกสภากทม.

รายชื่อ"ส.ก." 57 เขต

หมาย เหตุ : คะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2549 อย่างเป็นทางการ 50 เขต จำนวน 57 คน จากจำนวนผู้มีสิทธิ 3,996,881 คน ผู้มาใช้สิทธิ 1,676,373 คน ร้อยละ 41.94 จำนวนผู้ลงคะแนน 1,547,174 คน ร้อยละ 38.71 จำนวนผู้ไม่ลงคะแนน 129,060 คน ร้อยละ 3.23 จำนวนบัตรเสีย 38,671 ร้อยละ 2.31

ผลการนับคะแนนเลือกตั้ง ส.ก. จำนวน 57 เขตเลือกตั้ง ประชาธิปัตย์ ได้ 33 คน พรรคไทยรักไทย ได้ 20 คน อิสระ ได้ 4 คน

1.พระนคร นายแก้ว แห้วสันตติ พรรคประชาธิปัตย์ 13,352 คะแนน น.ส.อติภา ประภาสะวัต พรรคไทยรักไทย 4,165 คะแนน
น. ส.กานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ พรรคประชาธิปัตย์ 9,932 คะแนน น.ส.อติภา ประภาสะวัต 1,452 คะแนน นายมนัสชัย เที่ยงธรรม 431 คะแนน นายอนันต์ชัย เตชะพิทักษ์ศาสน์ 922 คะแนน

2.ป้อมปราบศัตรูพ่าย นายเอก จึงเลิศศิริ พรรคประชาธิปัตย์ 10,349 คะแนน นายมนชัย นิลเอวะ พรรคไทยรักไทย 3,567 คะแนน

3. ปทุมวัน นางเมธาวี ธารดำรงค์ พรรคประชาธิปัตย์ 9,607 คะแนน นายวิเชียรโชติ ส่งอาภากรณ์รัตน์ พรรคไทยรักไทย 3,783 คะแนน นายพิภัทร วงศ์วังไพศาล พรรคชาติไทย 2,293 คะแนน

4.สัมพันธวงศ์ นายอดุลย์ เลาหพล พรรคไทยรักไทย 3,092 คะแนน นายพินิจ กาญจนชูศักดิ์ พรรคประชาธิปัตย์ 7,554 คะแนน

5. บางรัก นายพิพัฒน์ ลาภปรารถนา พรรคประชาธิปัตย์ 10,482 คะแนน นายสมศักดิ์ รัตนกังวานวงศ์ พรรคไทยรักไทย 3,475 คะแนน นายธานี บุปผเวส กลุ่มปัญญาพล 128 คะแนน

6.คลองสาน นางสาวสายรุ้ง ปิ่นโมรา พรรคประชาธิปัตย์ 17,062 คะแนน นายสัมฤทธิ์ เลิศนุวัฒน์ พรรคไทยรักไทย 7,604 คะแนน

7. บางกอกใหญ่ นายวิรัช คงคาเขตร พรรคประชาธิปัตย์ 14,557 คะแนน นายสมชาย ไพบูลย์ พรรคไทยรักไทย 7,931 คะแนน นายฉัตรพนธ์ ทองสุ่น พรรคชาติไทย 1,202 คะแนน นายชาตรี ศุภนานัย อิสระ 171 คะแนน

8.ตลิ่งชัน 2 พ.ต.ท. วันชัย ฟักเอี้ยง พรรคไทยรักไทย 15,558 คะแนน นายสกุล โตโสภณ พรรคประชาธิปัตย์ 12,458 คะแนน นางแน่งน้อย ธรรมายน อิสระ 2,198 คะแนน

9.หนองจอก นายไพฑูรย์ อิสระเสรีพงษ์ พรรคไทยรักไทย 21,763 คะแนน นายณรงค์ รัสมี พรรคประชาธิปัตย์ 16,405 คะแนน

10.มีนบุรี นายวิรัตน์ มีนชัยนันท์ พรรคไทยรักไทย 19,452 คะแนน นายวสันต์ มีวงษ์ พรรคประชาธิปัตย์ 13,449 คะแนน

11. ลาดกระบัง เบอร์ 2 นายวิสูตร สำเร็จวาณิชย์ พรรคไทยรักไทย 17,034 คะแนน เบอร์ 1 นายเจริญณรัฐ ศิริรัตนสุวรรณ พรรคประชาธิปัตย์ 11,813 คะแนน เบอร์ 6 นายสุรศักดิ์ อุทัยวัฒนภักดี อิสระ 3,706 คะแนน เบอร์ 4 ว่าที่ร้อยตรีหญิง นุชนาฎ หุ่นอยู่ พรรคประชากรไทย 1,562 คะแนน เบอร์ 3 นายเอกฤทธิ เจียกขจร อิสระ 1,419 คะแนน เบอร์ 5 นายดำรงค์ พันธกิจเก่งประชา อิสระ 174 คะแนน

12.หนองแขม นายนวรัตน์ อยู่บำรุง กลุ่มพัฒนาหนองแขม 17,981 คะแนน นายจรูญ มนัสอารีย์ พรรคประชาธิปัตย์ 11,097 คะแนน นายทรงชล สุดประเสริฐ พรรคไทยรักไทย 6,687 คะแนน นายปัญญา รอดลอยอิสระ 713 คะแนน

13.ลาดพร้าว นายกษิดิ์เดช ชุติมันต์ พรรคประชาธิปัตย์ 15,423 คะแนน นางสาวบุณฑริกา ประสงค์ดี พรรคไทยรักไทย 15,313 คะแนน

14. พญาไท นายพีรพล กนกวลัย พรรคประชาธิปัตย์ 8,790 คะแนน นายกวี ณ ลำปาง พรรคไทยรักไทย 8,679 คะแนน นางวัจนา สุทัศน์ ณ อยุธยา กลุ่มมิตรภาพ 3,770 คะแนน นายปารเมศ เอี่ยมศิลา อิสระ 198 คะแนน

15.ยานนาวา นายอมรเทพ เศตะพราหมณ์ พรรคประชาธิปัตย์ 14,301 คะแนน นายอุดร มุ่งสมหมาย พรรคไทยรักไทย 8,764 คะแนน

16.สาทร นายธวัชชัย ปิยนนทยา พรรคประชาธิปัตย์ 17,526 คะแนน เบอร์ 1 นายมังกร ฉันทวานิช พรรคไทยรักไทย 6,256 คะแนน

17.บางคอแหลม 1 นายอภิมุข ฉันทวานิช พรรคประชาธิปัตย์ 17,611 คะแนน นายบัลลังก์ นันทิวัชรินทร์ พรรคไทยรักไทย 9,618 คะแนน

18.บางพลัด นายทวีศักดิ์ กมลเวชช พรรคประชาธิปัตย์ 16,037 คะแนน นายอัมรินทร์ สิมะโรจน์ พรรคไทยรักไทย 15,961 คะแนน

19.ห้วยขวาง นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ พรรคไทยรักไทย 13,267 คะแนน นายสภา ศรีสวัสดิ์ พรรคประชาธิปัตย์ 7,358 คะแนน

20.ประเวศ นายกิตพล เชิดชูกิจกุล พรรคประชาธิปัตย์ 24,019 คะแนน นายสิริวัตร ใจธรรม พรรคไทยรักไทย 10,906 คะแนน

21. สวนหลวง นายณัทวุฒิ หมัดนุรักษ์ พรรคประชาธิปัตย์ 15,540 คะแนน นายไพรินทร์ อะหมัดตอเฮด พรรคไทยรักไทย 10,757 คะแนน นายปพนพัชร์ เทศขวัญทวีพงษ์ กลุ่มรักสวนหลวง 2,791 คะแนน นายมงคล พุ่มผกา อิสระ 1,547 คะแนน นายสุภะกิจ วรอนันต์กุล อิสระ 314 คะแนน

22.ราชเทวี นางผุสดี วงศ์กำแหง พรรคประชาธิปัตย์ 8,686 คะแนน นายอนุรักษ์ อุณหกานต์ พรรคไทยรักไทย 6,816 คะแนน นางวาสนา สวาทสุต กลุ่มมิตรภาพ 2,501 คะแนน

23. บึงกุ่ม นายธนกฤช พุกรักษา พรรคไทยรักไทย 14,394 คะแนน นายแมน เจริญวัลย์ พรรคประชาธิปัตย์ 14,345 คะแนน นายศิริโชติ สิริวรรณภา พรรคชาติไทย 8,912 คะแนน

24.ราษฎร์บูรณะ นายไสว โชติกะสุภา พรรคประชาธิปัตย์ 12,393 คะแนน นางสาวนพสรัญ วรรณศิริกุล พรรคไทยรักไทย 9,230 คะแนน นายมงคล โค้ววัตนะวงษ์รักษ์ พรรคชาติไทย 4,150 คะแนน

25.พระโขนง นายตรีสิทธิ์ ศิริวรรณ พรรคประชาธิปัตย์ 12,587 คะแนน นายอานนต์ ชินเวโรจน์ พรรคไทยรักไทย 9,546 คะแนน นายบิณฑ์ลี่ฎ์ มิตตกริน โอแกน อิสระ 3,866 คะแนน

26.บางกะปิ นางนฤมล รัตนาภิบาล พรรคประชาธิปัตย์ 17,812 คะแนน นายชัยวุฒิ จริยวิโรจน์สกุล พรรคไทยรักไทย 16,755 คะแนน

27. บางขุนเทียน นายสาทร ม่วงศิริ พรรคไทยรักไทย 20,038 คะแนน นายวิเชียร ม่วงสกุล พรรคประชาธิปัตย์ 11,917 คะแนน นายทวนไทย อยู่ยืน คนรักบางขุนเทียน 2,405 คะแนน

28.ภาษีเจริญ นายสุธา นิติภานนท์ พรรคประชาธิปัตย์ 23,974 คะแนน นายอธิกิต นัยพินิจ พรรคไทยรักไทย 12,523 คะแนน

29. คันนายาว นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ พรรคไทยรักไทย 15,173 คะแนน นายโยธิน ปัชฌาบุก พรรคประชาธิปัตย์ 7,344 คะแนน นางสาวศิริรัตน์ ศรีสวย ทีมผู้ใหญ่หวาน 1,565 คะแนน

30.คลองสามวา นายวิรัช อินช่วย พรรคประชาธิปัตย์ 18,766 คะแนน นายปิยะ มีนชัยนันท์ พรรคไทยรักไทย 15,699 คะแนน

31. สะพานสูง นายประสิทธิ์ มะหะหมัด พรรคไทยรักไทย 13,146 คะแนน นายทองสุข พรชีวากูร พรรคประชาธิปัตย์ 9,147 คะแนน นายเสนีย์ ชูสงวน อิสระ 605 คะแนน

32.วังทองหลาง นายบำรุง รัตนะ พรรคประชาธิปัตย์ 16,014 คะแนน นายภูวนาท คุนผลิน พรรคไทยรักไทย 15,272 คะแนน

33. หลักสี่ นางสาวเรณุมาศ อิศรภักดี อิสระ 16,396 คะแนน 1 นายโยธิน เจริญไพฑูรย์ พรรคประชาธิปัตย์ 10,238 คะแนน นางสาวอภิญญา สุนทรสาธิต พรรคไทยรักไทย 9,640 คะแนน

34.ทวีวัฒนา นายสุไหง แสวงสุข พรรคประชาธิปัตย์ 13,191 คะแนน พ.ต.ท.หญิงอรุณศรี โสขุมา พรรคไทยรักไทย 5,815 คะแนน

35. ทุ่งครุ นายวันชัย เปี่ยมสวัสดิ์ พรรคประชาธิปัตย์ 11,174 คะแนน นายสุวรวิทย์ วรรณศิริกุล พรรคไทยรักไทย 10,817 คะแนน นายวิโรจน์ ญาณพิชิต กลุ่มพัฒนาทุ่งครุ-บางมด 7,100 คะแนน

36.บางนา นายคำรณ บำรุงรักษ์ พรรคไทยรักไทย 12,685 คะแนน นายมังกร สุวรรณพฤกษา พรรคประชาธิปัตย์ 11,581 คะแนน

37. วัฒนา นายประสิทธิ์ รักสลาม พรรคประชาธิปัตย์ 11,003 คะแนน ด.ต. มณฑล โพธิ์คาย พรรคไทยรักไทย 5,010 คะแนน นายปริญญา วงศ์เดอรี กลุ่มเรารักวัฒนา 1,137 คะแนน ว่าที่ร้อยตรี กรพต รุ่งหิรัญวัฒน์ กลุ่มพลังใหม่ 641 คะแนน

38.บางบอน นายประพันธ์ ม่วงศิริ พรรคไทยรักไทย 13,563 คะแนน นายสมพร คงโครัด พรรคประชาธิปัตย์ 10,760 คะแนน

39. คลองเตย นางกรณิศ งามสุคนธ์รัตนา พรรคประชาธิปัตย์ 12,030 คะแนน นายประสิทธิ์ เพียรบุญ พรรคไทยรักไทย 10,845 คะแนน นายวัณรบ หิริกูล อิสระ 4,269 คะแนน

40.บางกอกน้อย นายนภาพล จีระกุล พรรคประชาธิปัตย์ 22,054 คะแนน นายสุกฤษฎ์ สุริยผล พรรคไทยรักไทย 11,815 คะแนน

41. ธนบุรี นายวิชัย หุตังคบดี พรรคไทยรักไทย 18,710 คะแนน นายสมชาย เอี่ยมมงคลสกุล พรรคประชาธิปัตย์ 18,406 คะแนน นายกิตติศักดิ์ อุทัยวัฒนภักดี อิสระ 327 คะแนน

42.ดุสิต นายศิริพงษ์ ลิมปิชัย พรรคไทยรักไทย 12,246 คะแนน นายสุพัฒน์ ชลิตานนท์ พรรคประชาธิปัตย์ 9,816 คะแนน นายธานินทร์ ปิติธนสารสมบัติ อิสระ 7,201 คะแนน

43.ดินแดง นายอภิชาติ หาลำเจียก พรรคประชาธิปัตย์ 17,852 คะแนน นางอนงค์ เพชรทัต พรรคไทยรักไทย 17,135 คะแนน ว่าที่ร้อยตรี กระเษม กัณฑมณี กลุ่มชาวดินแดง 2,958 คะแนน
นางอนงค์ เพชรทัต พรรคพลังประชาชน 14,686 คะแนน นายสิทธิวัฒน์ ชีรวินิจ พรรคประชาธิปัตย์ 13,847 คะแนน นายก้องเกียรติ ประทีปสินทวี 203 คะแนน

44.จอมทอง เขต 1 นายพิรกร วีรกุลสุนทร พรรคประชาธิปัตย์ 11,991 คะแนน นายธวัชชัย ทองสิมา พรรคไทยรักไทย 11,058 คะแนน นายศักดิ์สิทธิ์ วัจนะรัตน์ กลุ่มลูกหลานฅนจอมทอง 768 คะแนน

45. จอมทอง เขต 2 นายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร พรรคประชาธิปัตย์ 15,430 คะแนน นายสุวิทย์ ม่วงศิริ พรรคไทยรักไทย 8,201 คะแนน นางสุพัตรา สุขสมนาค อิสระ 546 คะแนน

46.จตุจักร เขต 1 นายประพนธ์ เนตรรังษี พรรคไทยรักไทย 11,217 คะแนน 2 นางสาวภัณฑิลา ช่วยเพชร พรรคประชาธิปัตย์ 8,103 คะแนน

47.จตุจักร เขต 22 นายอนันตชาติ บัวสุวรรณ์ พรรคประชาธิปัตย์ 11,435 คะแนน 1 นางสาววิลาวัลย์ ธรรมชาติ พรรคไทยรักไทย 9,826 คะแนน
น.ส.วิลาวัลย์ ธรรมชาติ พรรคไทยรักไทย 7,724 คะแนน นายอนันตชาติ บัวสุวรรณ พรรคประชาธิปัตย์ 7,283 คะแนน

48.บางซื่อ เขต 1 นางบุศกร คงอุดม กลุ่มฅนบางซื่อ 12,099 คะแนน นางนรีรัตน์ ปางชาติ พรรคไทยรักไทย 5,468 คะแนน

49.บางซื่อ เขต 2 นางสาวพรพิมล คงอุดม กลุ่มฅนบางซื่อ 14,176 คะแนน นายสมพงษ์ เก่งรุ่งเรืองชัย พรรคไทยรักไทย 9,152 คะแนน

50. บางแค เขต 1 นายสุพิน คล้ายนก พรรคประชาธิปัตย์ 15,677 คะแนน นายสมชาย ทรัพย์สินโอฬาร พรรคไทยรักไทย 9,408 คะแนน นางกุลยา งามพรสุขสวัสดิ์ กลุ่มพัฒนาบางแค 3,682 คะแนน

51.บางแค เขต 2 นายเพทาย จั่นเผื่อน พรรคประชาธิปัตย์ 15,497 คะแนน นางสุจิตร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา พรรคไทยรักไทย10,527 คะแนน นายกิตติ ติวิรัช อิสระ 1,080 คะแนน

52. บางเขน เขต 1 นายสายัณต์ จันทร์เหมือนเผือก พรรคไทยรักไทย 14,781 คะแนน นายธนัท โชคธนไพศาล พรรคประชาธิปัตย์ 11,076 คะแนน นายฐิติโชค กาญจนภักดี กลุ่มพัฒนาบางเขน 1,710 คะแนน

53.บางเขน เขต 2 นางสาวปราณี เชื้อเกตุ พรรคประชาธิปัตย์ 12,746 คะแนน นายอนุกูล ปั้นทอง ไทยรักไทย 9,409 คะแนน นายธนชาต ประทุมสวัสดิ์ กลุ่มพัฒนาบางเขน 2,048 คะแนน

54.สายไหม เขต 1 นายบุภมน หงสกุล หุตะสิงห์ พรรคไทยรักไทย 14,380 คะแนน นายพฤตินัย ยิ้มอำนวย พรรคประชาธิปัตย์ 6,906 คะแนน

55. สายไหม เขต 2 ดร.สมชาย เวสารัชตระกูล พรรคประชาธิปัตย์ 10,709 คะแนน 1 นายฉมาดล หงสกุล พรรคไทยรักไทย 8,227 คะแนน นายชัยวัฒน์ รุ่งแกร อิสระ 393 คะแนน

56.ดอนเมือง เขต 1 นายการุณ โหสกุล พรรคไทยรักไทย 13,174 คะแนน นายพงษ์ศักดิ์ กิจพิทักษ์ พรรคชาติไทย 10,159 คะแนน นายสมพร จันทร์สวัสดิ์ อิสระ 469 คะแนน
นายสุริยา โหสกุล พรรคพลังประชาชน 9,997 คะแนน นายพฤกษ์พงษ์ เปรมศิริ พรรคประชาธิปัตย์ 4,446 คะแนน นางสมปอง โสภณดิเรกรัตน์ พรรคชาติไทย 1,698 คะแนน นายภูเบศ โพธิโซ๊ะ อิสระ 1,215 คะแนน นายมนัส นิกรประเสริฐ อิสระ 345 คะแนน

57.ดอนเมือง 2 นางกนกนุช นาคสุวรรณ พรรคไทยรักไทย 9,026 คะแนน นางสมปอง โสภณดิเรกรัตน์ พรรคประชาธิปัตย์ 7,993 คะแนน นายธนภัทร จันทร์แก้ว อิสระ 2,086 คะแนน นายพฤกพงษ์ เปรมศิริ กลุ่มดอนเมืองรุ่นใหม่ 1,856 คะแนน

บทวิเคราะห์เจาะสนาม ส.ก. 57 เขตเลือกตั้ง (23 ก.ค.2549)
โดย..ศูนย์ข้อมูลเลือกตั้งเครือเนชั่น
เขตพระนคร แก้ว แห้วสันตติ ปชป.
(อดีต ส.ก. นายแก้ว แห้วสันตติ (ปชป.) 12,944) ฉายาปู่สภา-แก้ว แห้วสันตติ จาก ปชป. เป็น ส.ก. มาแล้ว 4 สมัยติดต่อกัน คราวนี้ต้องป้องกันแชมป์กับ อติภา ประภาสะวัต จาก ทรท. อดีตผู้สมัคร ส.ก. เขตบางซื่อสมัยที่แล้ว แต่พ่ายแพ้คนตระกูล “คงอุดม” คราวนี้ อติภา ย้ายเขต มาชนกับ ปู่สภา ที่เขตพระนคร แต่โอกาสเรียกว่า..ยังเป็นรอง


เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย นายเอก จึงเลิศศิริ ปชป.
(อดีต ส.ก. นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ (ปชป.) 11,267 ) นายเอก จึงเลิศศิริ ปชป. สามีของ นางเจิมมาศ เพิ่งได้เป็น ส.ก.เมื่อปี 2548 เพราะ นางเจิมมาศ ลาออกไปลง ส.ส. เมื่อปี 48 โดยมี มนชัย นิลเอวะ ผู้ท้าชิง จากไทยรักไทย ประธานชุมชนย่านจักรพัทดิพงษ์ ลงประกบ แต่เขตนี้ นายเอก สามีของอดีต ส.ส.เจิมมาศ ฐานเสียงยังมั่งคง.


เขตปทุมวัน เมธาวี ธารดำรงค์ ปชป.
(อดีต ส.ก. น.ส.อรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ (ปชป.) 9,750) ผู้สมัครทั้ง 3 คือหน้าใหม่มีชัยพอๆ กัน เพราะ อรอนงค์ เตรียมไปลงสมัคร ส.ส. และวางตัว เมธาวี ธารดำรงค์ ปชป. ลงเป็นตัวแทน ส่วน วิเชียรโชติ ส่งอาภากรณ์รัตน์ ทรท. เคยเป็น ส.ข.ในทีมของ อรอนงค์ มาก่อน และ พิภัทร วงศ์ไพศาล ก็เคยเป็นทีมงานของ น.พ.ประจวบ อึ้งภากรณ์ อดีตส.ส.ในพื้นที่ แต่ตรวจสอบฐานเสียงเขตนี้ เมธาวี จากประชาธิปัตย์ ยังมีภาษีดีกว่าเพื่อน


เขตสัมพันธวงศ์ พินิจ กาญจนชูศักดิ์ ปชป.
(อดีต ส.ก. นายพินิจ กาญจนชูศักดิ์ (ปชป.) 6,180) พินิจ กาญจนชูศักดิ์ ปชป. ญาติผู้น้อง เสี่ยส่ง กาญจนชูศักดิ์ เสี่ยแป้งมันตรามังกร แห่งไชน่าทาวน์ พินิจ เป็น อดีต ส.ก. 2 สมัยติดต่อกัน เจอกับคู่ปรับเก่า อดุลย์ เลาหพล ทรท. ซึ่งเคยเป็น อดีต ส.ก. เมื่อ 8 ปีก่อน ที่ขอมาทวงเก้าอี้คืน แต่นาทีนี้ การจะโค่น พินิจ คงลำบาก ก่อนเลือกตั้งไม่กี่วัน มีการเผยแพร่คลิบวิดีโอตัดต่อฉาว โจมตี พินิจ จนเขาต้องไปแจ้งความร้องทุกข์ ว่ามีการทำลายเขาด้วยวิธีการสกปรก


เขตบางรัก พิพัฒน์ ลาภปรารถนา ปชป.
(อดีต ส.ก. นายพิพัฒน์ ลาภปรารถนา (ปชป.) 9,536) เป็นดาวสภา กทม. พิพัฒน์ ลาภปรารถนา ปชป. เจอคู่ปรับเก่า สมศักดิ์ รัตนกังวานวงศ์ จากไทยรักไทย ซึ่งคราวที่แล้วแพ้ พิพัฒน์ ไปถึง 6 พันคะแนน คราวนี้โอกาสน่าจะยังเป็นของ พิพัฒน์ แห่งประชาธิปัตย์


เขตคลองสาน 50/50 ปชป.-ทรท. (สายรุ้ง ปิ่นโมรา ปชป.)
(อดีต ส.ก. น.ส.สายรุ้ง ปิ่นโมรา(ปชป.) 12,048) อดีต ส.ก. 3 สมัย สายรุ้ง ปิ่นโมรา ปชป. ต้องเจอศึกหนักเมื่อต้องเจอกับ สัมฤทธิ์ เลิศนุวัฒน์ ทรท. น้องชายของ เสี่ยติ่ง-สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ไทยรักไทย และ สัมฤทธิ์ ยังเป็นอาของ ศิรัมภา เลิศนุวัฒน์ อดีตส.ส.ในเขตนี้ โอกาสของ สายรุ้ง จึงอาจจะไม่ รุ่ง ก็ได้งานนี้..


เขตบางกอกใหญ่ วิรัช คงคาเขต ปชป.
(อดีต ส.ก. นายสุรัตน์ จันทร์พิทักษ์ (ปชป.) 16,003) วิรัช คงคาเขต ปชป. เพิ่งได้เป็น ส.ก.เขตนี้เมื่อปี 2548 เพราะ สุรัตน์ ลาออกไปลงสมัคร ส.ส. เมื่อปี 2548 วิรัช ต้องเจอคู่แข่งเป็น สมชาย ไพบูลย์ ทรท. อดีต ส.ข. ซึ่ง สมชาย ที่ข้ามถิ่นมาจาก เขตเขตบางบอน ดังนั้นโอกาสของ วิรัช จาก ปชป. จึงมีเหนือกว่า


เขตตลิ่งชัน สกุล โตโสภณ ปชป.
(อดีต ส.ก. นายสกุล โตโสภณ (ปชป.) 9,919) อดีต ส.ก. 2 สมัย อย่าง สกุล โตโสภณ ปชป. ซึ่งมีฐานเสียงหนาแน่น และเกาะติดพื้นที่มานาน คอการเมือง เห็นว่า การจะรักษาแชมป์เป็น สมัยที่ 3 กับ พ.ต.ท.วันชัย ฟักเอี้ยง ทรท. น่าจะเป็นเรื่องพอเป็นไปได้


เขตหนองจอก ไพฑูรย์ อิสระเสรีพงษ์ ทรท.
(อดีต ส.ก. นายไพฑูรย์ อิสระเสรีพงษ์ (ทรท.) 14,365) ไพฑูรย์ อิสระเสรีพงษ์ จากไทยรักไทย เป็น ส.ก.มาแล้ว 4 สมัย ลงป้องกันแชมป์สมัยที่ 5 กับ ณรงค์ รัสมี จากประชาธิปัตย์ ที่เคยเป็น ส.ข. ในเขตนี้ ว่ากันตามเนื้อผ้า โอกาสของ ไพฑูรย์ เหนือกว่า ม๊าก..มาก


เขตมีนบุรี วิรัตน์ มีนชัยนันท์ ทรท.
(อดีต ส.ก. นายวิรัตน์ มีนชัยนันท์ (ทรท.) 13,278) แชมป์เก่า 2 สมัย วิรัตน์ มีนชัยนันท์ จากไทยรักไทย ป้องกันแชมป์กับ วสันต์ มีวงษ์ จากประชาธิปัตย์ คู่เขยของ สมัย เจริญช่าง ส.ว. กทม. แต่ตรวจสอบฐานเสียง วิรัตน์ จาก ทรท. ได้เปรียบทั้งฐานเสียงตัวเองและฐานเสียงตระกูลมีนชัยนันท์ ที่ครองพื้นที่เขตนี้ ทั้ง ส.ส. และ ส.ก.


เขตลาดกระบัง วิสูตร สำเร็จวาณิชย์ ทรท.
(อดีต ส.ก. นายวิสูตร สำเร็จวาณิชย์ (ทรท.) 43,270 ) วิสูตร สำเร็จวาณิชย์ ทรท. เป็นอดีต ส.ก.3 สมัย และยังเคยนั่งในตำแหน่ง ประธานสภา กทม.มาแล้วในอดีต คราวนี้ลงป้องกันแชมป์ ซึ่งคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้อคือ เจริญณรัตน์ ศิริรัตนสุวรรณ จากประชาธิปัตย์ อดีตกำนันในเขตนี้ และประธานกลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้านเขตลาดกระบัง แต่โอกาสยังน้อยเพราะ เลือกตั้ง ส.ข.เมื่อ 30 เมษายนที่ผ่านมา นายวิสูตร จากไทยรักไทย สามารถนำพา ส.ข. ชนะยกทีมทั้ง 7 คน


เขตหนองแขม นวรัตน์ อยู่บำรุง กลุ่มอิสระ
(อดีต ส.ก. นายเนาวรัตน์ อยู่บำรุง (ปชท.) 16,113) นวรัตน์ อยู่บำรุง จากกลุ่มพัฒนาหนองแขม คือน้องชายของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ที่เป็น ส.ก. มาแล้ว 4 สมัยติดต่อกัน เขตนี้ต้องชนกับ ผู้สมัครจาก ประชาธิปัตย์ และไทยรักไทย แต่เขตนี้ต้องยอมรับว่า นวรัตน์ มีภาษีเหนือกว่าคู่แข่ง


*เขตลาดพร้าว บุณฑริกา ประสงค์ดี ทรท.
(อดีต ส.ก. น.ส.บุณฑริกา ประสงค์ดี (ทรท.) 9,491 ) แชมป์เก่า บุณฑริกา ประสงค์ดี ทรท. ทีมงานคนสำคัญของ เจ้หน่อย-สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ มีฐานเสียงหนาแน่น เพราะเลือกตั้ง ส.ข.เมื่อ 30 เมษายน ก็พา ส.ข.ไทยรักไทยชนะยกทีม ขณะที่ กษิดิ์เดช ชุติมันต์ ปชป. นักธุรกิจหนุ่มหน้าใหม่ หวังเสียงจากคนชั้นกลาง ในหมู่บ้านย่านซอยโชคชัยสี่ ซึ่งต้องเหนื่อยเพราะเพิ่งเป็นที่รู้จัก ขณะที่คู่แข่งวางฐานเสียงไว้อย่างหนาแน่น.


**เขตพญาไท 50/50 ปชป.-ทรท. (นายพีรพล กนกวลัย ปชป.)
(อดีต ส.ก. นายกวี ณ ลำปาง (ทรท.) 6,755 ) ชิงกันระหว่าง นายกวี ณ ลำปาง ทรท. แชมป์เก่า กับ นายพีรพล กนกวลัย ปชป. ซึ่งเคยเป็นอดีต ส.ก. เช่นกัน โดยมี นางวัจนา สุทัศน์ ณ อยุธยา จากกลุ่มมิตรภาพ เบียดแทรก ซึ่ง นางวัจนา จาก กลุ่มมิตรภาพ เป็นเสมือนตัวแทน ร.อ.รชฏ พิสิษฏ์บรรณากร อดีต ส.ส.ไทยรักไทย ของเขตนี้ นายกวี จะลงสมัครสังกัดไทยรักไทย แต่เป็นเกาเหลากับ ส.ส.รชฎ ไทยรักไทย โดย ส.ส.รชฎ ไปตั้ง กลุ่มมิตรภาพ เพื่อเป็นฐานเสียงในพื้นที่ของตัวเอง และส่งคนลงชนกับผู้สมัครพรรคตัวเอง ชาวบ้านในเขตนี้จึงงงๆ ว่า นางวัจนา จากกลุ่มมิตรภาพ กับ นายกวี จากไทยรักไทย ใครคือตัวแทน พรรคไทยรักไทย ทำให้เก้าอี้ของ นายกวี มีสิทธิเสียว และอาจเป็นของตาอยู่จากคือ นายพีรพล กนกวลัย จากประชาธิปัตย์


เขตยานนานวา อมรเทพ เศตะพราหมณ์ ปชป.
(อดีต ส.ก. นายอมรเทพ เศตะพราหมณ์ (ปชป.) 12,478) อมรเทพ เศตะพราหมณ์ ปชป. เป็น ส.ก.มา 3 สมัยติดต่อกันสำหรับ คราวนี้ป้องกันแชมป์กับ อุดร มุ่งสมหมาย ทรท. ประธานสาขาพรรคไทยรักไทยเขตยานนาวา เขตนี้ โอกาสยังเป็นของ อมรเทพ จากประชาธิปัตย์


เขตสาทร ธวัชชัย ปิยนนทยา ปชป.
(อดีต ส.ก. นายธวัชชัย ปิยนนทยา (ปชป.) 13,865) แม้ไทยรักไทยจะส่ง มังกร ฉันทวานิช น้องชายของ สมเกียรติ ฉันทวานิช อดีต ส.ส.เขตบางคอแหลม แต่ความที่ ธวัชชัย ปิยนนทยา จากประชาธิปัตย์ คือ อดีต ส.ก.สาทร 3 สมัย โอกาสของเขาจึงมีสูงกว่า


เขตบางคอแหลม อภิมุข ฉันทวานิช ปชป.
(อดีต ส.ก. นายพงษ์พิสุทธิ์ จินตโสภณ (ทรท.)14,684) อภิมุข ฉันทวานิช คือลูกชายของ สมเกียรติ ฉันทวานิช อดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์ เขตนี้ ซึ่ง อภิมุข เพิ่งได้เป็น ส.ก. เมื่อปี 2548 เพราะ พงษ์พิสุทธิ์ ลาออกจาก ส.ก. ไปลงสมัคร ส.ส. / คราวนี้ อภิมุข แห่งประชาธิปัตย์ ต้องชิงชัยกับ บัลลังก์ นันทวัชรินทร์ ทรท. อดีตทีมผู้สมัคร ส.ข. ของไทยรักไทย ซึ่งวัดฐานเสียงแล้ว เขตนี้ อภิมุข ยังมีเหนือกว่า


**เขตบางพลัด อัมรินทร์ สิมะโรจน์ ทรท.
(อดีต ส.ก. นายจักรพันธ์ พรนิมีต (ปชป.) 11,337) ทวีศักดิ์ กมลเวชช จากประชาธิปัตย์ เพิ่งได้เป็น ส.ก. จากการเลือกตั้งซ่อม ส.ก. เมื่อปี 2548 เพราะ นายจักรพันธ์ ลาออกไปลง ส.ส. / ลือกตั้ง ส.ก. คราวนี้ ทวีศักดิ์ ต้องเจอกับ ดารานักแสดง หลุยส์-อัมรินทร์ สิมะโรจน์ ทรท. น้องชาย ภิมุขสิมะโรจน์ อดีต ส.ส.ไทยรักไทย ซึ่งหนุนน้องชายเต็มที่ งานนี้ประชาธิปัตย์ จะเหนื่อยอย่างแสนสาหัส ถ้าสามารถรักษาเก้าอี้เอาไว้ได้


***เขตห้วยขวาง ประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ ทรท.
(อดีต ส.ก. นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ (ปชป.) 12,689) ตลกค่ายพันธมิตรฯ ดี๋ ดอกมะดัน ชื่อจริง สภา ศรีสวัสดิ์ ปชป. จะอาศัยฐานเสียงจากคนชั้นกลางในเขตห้วยขวางเดินเข้าสภา กทม. ได้หรือไม่ ยังเป็นเรื่องหวาดเสียว เพราะแชมป์เก่าอย่าง ประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ ทรท. อดีต ส.ก. 3 สมัย และเคยนั่งตำแหน่งประธานสภา กทม. และยังได้ ส.ส.ไทยรักไทยในพื้นที่ช่วยเหลือ งานนี้ ดี๋ ดอกมะดัน จึงหวังว่า คะแนนเสียงจากแฟนๆ ย่านสถานบันเทิง และแฟนกลุ่มพันธมิตร จะดันเข้าสภา แต่ต้องบอกว่า..งานนี้เหนื่อย!!


เขตประเวศ กิตพล เชิดชูกิจกุล ปชป.
(อดีต ส.ก. นายกิตพล เชิดชูกิจกุล(ปชป.) 21,077) อดีต ส.ก. 2 สมัย กิตพล เชิดชูกิจกุล ปชป. ต้องเจอกับคู่แข่งอย่าง สิริวัตร ใจธรรม ทรท. จากไทยรักไทย ซึ่งเป็นผู้ช่วย ส.ส.ภัทรศักดิ์ โอสถานุเคราะห์ แต่ความที่ กิตพล เกาะติดพื้นที่อย่างต่อเนื่องยาวนาน โอกาสจึงยังเป็นของ กิตพล อยู่


เขตสวนหลวง ณัทวุฒิ หมัดนุรักษ์ ปชป.
(อดีต ส.ก. นายณัทวุฒ หมัดนุรักษ์ (ปชป.) 11,420) ณัทวุฒิ หมัดนุรักษ์ ปชป. เป็น อดีต ส.ก. มา 2 สมัย คราวนี้ต้องแย่งชิงคะแนนเสียงกลุ่มพี่น้องมุสลิมกับ ไพรินทร์ อะหมัดตอเฮด ทรท. จากไทยรักไทย ซึ่งเป็น คู่เขยของ นายณัทวุฒิ แต่เขตนี้ โอกาสยังเป็นของ นายณัทวุฒิ (ปชป.)


*เขตราชเทวี ผุสดี วงศ์กำแหง ปชป.
(อดีต ส.ก. นางผุสดี วงศ์กำแหง (ปชป.) 7,532) เขตนี้ ผุสดี วงศ์กำแหง ปชป. อดีต ส.ก. 4 สมัย อยู่มานานจนได้รับฉายา ย่าสภา คราวนี้สวมเสื้อประชาธิปัตย์ ป้องกันแชมป์กับ อนุรักษ์ อุณหกานต์ จากไทยรักไทย และ วาสนา สวาทสุต จาก กลุ่มมิตรภาพ เป็นที่ทราบว่า กลุ่มมิตรภาพ คือ กลุ่มของ ร.อ.รชฎ พิสิษฎ์บรรณกร ส.ส.ไทยรักไทย ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นฐานเสียงในพื้นที่ของตน การชิงชัยในเขตนี้ ผุสดี จึงได้เปรียบเพราะ ไทยรักไทย 2 คน แย่งคะแนนกันเอง ผลดีตกอยู่กับ คุณย่าสภา


เขตบึงกุ่ม ธนกฤช พุกรักษา ทรท.
(อดีต ส.ก. นายวินัย พุกรักษา (ทรท.) 15,793) ธนกฤช พุกรักษา ที่ไทยรักไทย มีมติส่งลง ส.ก. เป็นตัวแทนของ วินัย พุกรักษา ไม่น่าจะมีปัยหา เมื่อเจอกับ แมน เจริญวัลย์ ปชป. เพราะเลือกตั้ง ส.ข.เมื่อ 30เมษายน ที่ผ่านมา ไทยรักไทยชนะเลือกตั้ง ส.ข. ยกทีม


เขตราษฎร์บูรณะ 50/50 ปชป.-ทรท. (ไสว โชติกะสุภา ปชป.)
(อดีต ส.ก. นายไสว โชติกะสุภา (ปชป.) 9,909) ไสว โชติกะสุภา ปชป.เป็น อดีต ส.ก.มา 2 สมัย ต้องเจอกับคู่แข่งคนสำคัญอย่าง นางสาวนพสรัญ วรรณศิริกุล อดีตกำนัน และเป็น ลูกสาวของ ส.ส.สุวัจน์ วรรณศิริกุล ทำให้สนามนี้ร้องแรงทันที ว่า อดีต ส.ก. ไสว จะรักษาแชมป์ได้หรือไม่


**เขตพระโขนง 50/50 อิสระ-ทรท.-ปชป. (บิณฑ์ลี่ มิตตกริน โอแกน)
(อดีต ส.ก. นายสมชาย สัจจะ (ทรท.) 11,741) เมื่อ สมชาย สัจจะ อำลาเวที ส.ก.จะไปลงเวที ส.ส. เป็นโอกาสของ บิณฑ์ลี่ มิตตกริน โอแกน ซึ่งลงอิสระ ต้องต่อกรกับ อานนต์ ชินเวโรจน์ ทรท. อดีต ส.ข. และ ตรีสิทธิ์ ศิริวรรณ ปชป. อดีต ส.ข. ของไทยรักไทยทั้งคู่ โค้งสุดท้าย บิลลี่ อาศัยความเป็นศิลปิน เคาะประตูบ้าน แต่ ตรีสิทธิ์ และ นายอานนท์ อาศัยฐานเสียงที่มีหนาแน่นกว่า ซึ่งว่าไปแล้ว เขตนี้ โอกาสทั้ง3 คน พอๆ กัน


**เขตบางกะปิ 50/50 ทรท.-ปชป. (ชัยวุฒิ จริยวิโรจน์สกุล ทรท.)
(อดีต ส.ก. นายชัยวุฒิ จริยวิโรจน์สกุล (ทรท.) 13,331)แม้ ชัยวุฒิ จริยวิโรจน์สกุล ไทยรักไทย จะเป็น ส.ก.เขตนี้มาแล้ว 3 สมัย แต่การเลือกตั้ง ส.ข. เมื่อ 30 เมษายน 2549 ที่เพิ่งผ่านมา ส.ข.ของประชาธิปัตย์ ชนะ 6 คน ไทยรักไทยได้คนเดียว และสนาม ส.ก. ครั้งนี้ ประชาธิปัตย์ ส่ง นฤมล รัตนาภิบาล ปชป. อดีต ส.ก.เขตสวนหลวง กลุ่มมดงาน แต่ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่า กทม. อภิรักษ์ โกษะโยธิน ลงชิงชัย เขตนี้จึงเป็นเขตที่สู้กันหนักอย่างแน่ อาจมีล้มแชมป์?


เขตบางขุนเทียน สาทร ม่วงศิริ ทรท.
(อดีต ส.ก. นายพยงค์ ช้างเจริญ (ปชป.) 13,370 ) เขตนี้เมื่อ ส.ก. พยงค์ วางมือ จึงเป็นโอกาสทองของ สาทร ม่วงศิริ ทรท. น้องชายของ สากล ม่วงศิริ อดีต ส.ส. เขตนี้ ซึ่งมี วิเชียร ม่วงสกุล จากประชาธิปัตย์ ขึ้นมาต่อกร แต่โอกาสยังเป็นของ สาทร เพราะฐานเสียงของ ตระกูลม่วงศิริ ในเขตนี้ยังหนาแน่น.


เขตภาษีเจริญ สุธา นิติภานนท์ ปชป.
(อดีต ส.ก. นายสุธา นิติภานนท์ (ปชป.) 21,497) อดีต ส.ก. 3 สมัยอย่าง สุธา นิติภานนท์ ปชป. ที่จะรักษาแชมป์สมัยที่ 4 ไว้อีกครั้ง จึงเป็นเรื่องยากที่คู่แข่งอย่าง อธิกิต นัยพินิจ จากไทยรักไทย จะสามารถโค่นล้มลงได้ง่ายๆ

เขตคันนายาว พลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ทรท.
(อดีต ส.ก. นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ (ทรท.) 10,783) เต็งหนึ่งยังเป็น พลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ทรท.อดีต ส.ก. 2 สมัยติดๆ กันของเขตนี้ ที่ต้องชนกับ นางศิริรัตน์ ศรีสวย จากทีมผู้ใหญ่หวาน ซึ่งเป็นน้องสาว ผู้ใหญ่หวาน-กัญญาลักษฎ์ ตระกูลชีวพานิตย์ ซึ่งกว้างขวางในย่านนี้ ส่วนคู่แข่งอีกคนอย่าง โยธิน ปัชฌาบุก ปชป. โอกาสอาจจะน้อย เพราะเดิมเขาเคยลงสมัคร ส.ข. ในนามกลุ่ม ผู้ใหญ่หวาน แต่พ่ายแพ้มาแล้ว

เขตคลองสามวา 50/50 ทรท.-ปชป. (ปิยะ มีนชัยนันท์ ทรท.)
(อดีต ส.ก. นายวิรัช อินช่วย (ปชป.) 11,053 ) แม้ วิรัช อินช่วย ปชป. จะเป็นอดีต ส.ก. แต่จะประมาทคู่แข่งอย่าง ปิยะ มีนชัยนันท์ ทรท.อดีต ส.ข. ที่ข้ามห้วยจากมีนบุรีมาลงเขตนี้ไม่ได้ เพราะ ปิยะ ได้ ญาตติอย่าง วิชาญ มีนชัยนันทน์ อดีต ส.ส. มาหนุนช่วย และการเลือกตั้งส.ข. เมื่อ 30 เมษายน ที่ผ่านมา ไทยรักไทย ชนะยกทีมทั้ง 7 ที่นั่ง


เขตสะพานสูง ประสิทธิ์ มะหะมัด ทรท.
(อดีต ส.ก. นายประสิทธิ์ มะหะหมัด (ทรท.) 9,518) อดีต ส.ก. 2 สมัยอย่าง ประสิทธิ์ มะหะมัด จากไทยรักไทย ถือว่ายังได้เปรียบคู่แข่ง เพราะ ทองสุข พรชีวากร จากประชาธิปัตย์ เพิ่งสอบตก ส.ข. ที่เขต คันนายาว มา แต่ผลเลือกตั้ง ส.ข. ในเขตนี้ ก็ทำให้ประชาธิปัตย์ใจชื้นมีสิทธิลุ้นขึ้นมาได้บ้าง ส่วน เสนีย์ ชูสงวน หน้าใหม่เกินไปในเขตนี้


เขตวังทองหลาง 50/50 ทรท.-ปชป. (ภูวนาท คุนผลิน ทรท.)
(อดีต ส.ก. นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ (ทรท.) 13,130) เพราะ ภักดีหาญส์ หิมะทองคำ อดีต ส.ก.เขตนี้ลาเวที ส.ก.จะลงสนาม ส.ส./ เขตนี้จึงจะดุเดือดทันที เมื่อ นักร้องดัง อั๋น-ภูวนาท คุนผลิน ทรท.น้องชายของอดีต ส.ส. 3 สมัย วนิดา คุนผลิน ที่ต้องการยึดพื้นที่ให้ได้ ต้องลงชนกับ บำรุง รัตนะ ปชป. ที่มีดีกรีเป็นอดีต ส.ก. 2 สมัย คือ 2537 เขตบางกะปิ เมื่อบางกะปิแบ่งซอยส่วนหนึ่งมาเป็น วังทองหลาง 2541 ได้เป็น ส.ก.วังทองหลาง แต่คราวที่แล้ว 2545 ลงแข่ง กับ ภักดีหาญส์ พ่ายไป/ เขตนี้ถ้าไม่มีฝนตกห่าใหญ่ บำรุง ก็อาจมีหวัง เพราะคราวเลือกตั้ง ส.ข. เมื่อ 30 เมษายน 2549 ที่ผ่านมา ประชาธิปัตย์ชนะ ยกทีมทั้ง ส.ข. ทั้ง 7 คน


เขตหลักสี่ 50/50 อิสระ-ทรท. (เรณุมาศ อิศรภักดี อิสระ)
(อดีต ส.ก. น.ส.อภิญญา สุนทรสาธิต (ทรท.) 11,022) แชมป์เก่า อภิญญา สุนทรสาธิต ทรท. อดีต ส.ก. 2 สมัย จากไทยรักไทย แต่ต้องเจอกับคู่แข่งคนสำคัญอย่าง เรณุมาศ อิศรภักดี ที่แม้จะลงอิสระ แต่ความที่เป็นพี่สาวของ ศุภมาศ อิสรภักดี อดีต ส.ส.ไทยรักไทยเขตนี้ งานนี้จึงเรียกว่า ไทยรักไทยชนกันเอง โดยมี โยธิน เจริญไพฑูรย์ จากประชาธิปัตย์ เป็นตัวเบียด และพยายามเล่นบท “ตาอยู่”


เขตทวีวัฒนา สุไหง แสวงสุข ปชป.
(อดีต ส.ก. นายสุไหง แสวงสุข(ปชป.) 8,870) ส.ก.เก่า 2 สมัย อย่าง สุไหง แสวงสุข แห่งประชาธิปัตย์ ต้องเจอกับ ตำรวจหญิง พ.ต.ท.หญิงอรุณศรี โสขุมา จากไทยรักไทย แต่ความที่เขตนี้ชาวบ้านอยากเห็นรถไฟฟ้ากทม. ที่จะต่อขยายมาถึงเพชรเกษม ทำให้คะแนนเสียงของ ส.ก.สุไหง มีภาษีดีกว่า


เขตทุ่งครุ 50/50 ทรท.-ปชป. (สุวรวิทย์ วรรณศิริกุล ทรท.)
(อดีต ส.ก. นายโสภณ ขวัญบัว (ปชป.) 10,111) วันชัย เปี่ยมสวัสดิ์ ปชป. พิ่งลงเลือกตั้งซ่อม ได้เป็น ส.ก.เมื่อปี 2548 แทน นายโสภณ ที่ลาออกไปลงสมัคร ส.ส. งานนี้ต้องชนกับ สุวรวิทย์ วรรณศิริกุล ทรท. อดีต ส.ข. และเป็น ลูกชายของ ส.ส.สุวัจน์ วรรณศิริกุล เรียกว่าเป็นการแข่งที่สมน้ำสมเนื้อ เพราะ วันชัย ก่อนหน้าจะเป็น ส.ก. ก็เคยเป็น ส.ข. เช่นเดียวกับ สุวรวิทย์


เขตบางนา คำรณ บำรุงรักษ์ ทรท.
(อดีต ส.ก. นายคำรณ บำรุงรักษ์ (ทรท.) 10,996 ) คำรณ บำรุงรักษ์ จากไทยรักไทย อดีต ส.ก.หลายสมัย คราวนี้ลงรักษาแชมป์กับ มังกร สุวรรณพฤกษา ปชป. คอการเมืองชี้ตรงกันว่า ไม่น่าจะเกินความสามารถ เพราะเขตนี้ฐานเสียงไทยรักไทยของ ศันสนีย์ นาคพงศ์ ยังหนุนช่วยอย่างมั่นคง


เขตวัฒนา ประสิทธิ รักสลาม ปชป.
(อดีต ส.ก. นายสามารถ มะลูลืม (ปชป.) 12,492) เขตนี้ประชาธิปัตย์ครองเก้าอี้มาตลอด 3 สมัย เมื่อ สามารถ มะลูลีม ไปเป็น ส.ว. กทม. ทำให้เขตนี้คึกคักขึ้นมาทันที่ เพราะ ทั้ง 4 คน มีโอกาส แต่วัดตัวต่อตัว ประสิทธิ รักสลาม จากประชาธิปัตย์ มีภาษีดีกว่าคนอื่นๆ เพราะได้ฐานเสียงมุสลิม และตัวเขาเองก็เป็น อดีตประธานสภาเขต และยังได้ฐานเสียงของประชาธิปัตย์เดิม อย่างไรก็ตาม เขตนี้ประมาท ด.ต.มณฑล โพธิ์คาย ทรท. นายตำรวจชุมชนของ สน.คลองตันไม่ได้ เพราะเป็นที่รักใคร่ของชาวชุมชน

เขตบางบอน ประพันธ์ ม่วงศิริ ทรท.
(อดีต ส.ก. นายประพันธ์ ม่วงศิริ (ทรท.) 9,586) เขตนี้ คอการเมืองวิเคราะห์ตรงกันว่า ประพันธ์ ม่วงศิริ ทรท. จากตระกูลม่วงศิริ มีโอกาสมากกว่า เพราะทั้งฐานเสียง ส.ก.ของตัวเอง และฐานเสียง ส.ส.ของตระกูล ได้เปรียบคู่แข่งหลายขุม


เขตคลองเตย ประสิทธิ์ เพียรบุญ ทรท.
(อดีต ส.ก. นายสุนันท์ อึ้งทรงธรรม (ทรท.) 10,868 ) เมื่ออดีต ส.ก. 3 สมัยอย่าง สุนันท์ อำลาเวที ส.ก. ผู้สมัคร 3 คนที่เหลือ จึงมีโอกาสเกิด แต่ผู้สมัครจาก ไทยรักไทย ประสิทธิ์ เพียรบุญ มีแววกว่าเพื่อน เพราะเป็นคนพื้นที่ และเป็นทีมงานของ ศิธา ทิวารี อดีต ส.ส.ไทยรักไทย โดย ส.ก.เก่า อย่าง สุนันท์ ก็ออกแรงหนุนช่วย แต่จะประมาท วัณรบ หิริกุล สังกัดอิสระ เจ้าของไอเดีย ขยะแลกไข่ ที่จะมาตัดคะแนนของ กรณิศ งามสุคนธ์รัตนา จากประชาธิปัตย์


เขตบางกอกน้อย นภาพล จีระกุล ปชป.
(อดีต ส.ก. 1.นายชนินทร์ รุ่งแสง (ปชท.) 8,588 / 2.นายนภาพล จีระกุล (ปชป.) 7,735) เดิมเขตนี้มี ส.ก.ได้ 2 คน เลือกตั้งครั้งนี้ เหลือคนเดียว ชนินทร์ ตัดสินใจจะไปลง ส.ส.ประชาธิปัตย์ สมัยหน้า จึงเป็นหน้าที่ของ นภาพล จีระกุล ปชป. อดีต ส.ก.เก่า และเป็นอดีตผู้ช่วย ส.ส. องอาจ คล้ามไพบูลย์ ลงสนามรักษาแชมป์ ชนกับ สุกฤษณ์ สุริยผล จากไทยรักไทย อดีตทีมงานของ จักรพันธ์ ยมจินดา เมื่อเทียบฟอร์มกันแล้ว เขตนี้ นภาพล ยังได้สีสันจาก ลูกสาว น้องโฟกัส ดาราเด็กจากเรื่อง แฟนฉัน มาช่วยคุณพ่อหาเสียง เสียงเลยดีวันดีคืน


เขตธนบุรี 50/50 ปชป.-ทรท. (สมชาย เอี่ยมมงคลสกุล ปชป.)
(อดีต ส.ก. 1.นายสมชาย เอี่ยมมงคลสกุล(มดงาน)14,234 / 2.นายวิชัย หุตังคบดี (ทรท.) 8,326 ) เลือกตั้ง ส.ก. ครั้งนี้ ธนบุรี เหลือ 1 คน เป็นการโคจรมาเจอกันของ อดีต ส.ก.ทั้ง 2 คน สมชาย เอี่ยมมงคลสกุล ที่หันมาสวมเสื้อ ปชป. เรียกว่าพอฟัดพอเหวี่ยงกับ นายวิชัย หุตังคบดี ทรท. แต่ดูจากฐานเสียง สมชาย เอี่ยมมงคลสกุล มีภาษีดีกว่าเล็กน้อย


***เขตดุสิต 50/50 ทรท.-ปชป. (ศิริพงษ์ ลิมปิชัย ทรท.)
(อดีต ส.ก. 1.นายศิริพงษ์ ลิมปิชัย(ทรท.) 5,115/ 2.นายสุพัฒน์ ชลิตานนท์ (ปชป.) 5,331) เดิมเขตนี้มี ส.ก.ได้ 2 คน คราวนี้ปรับเหลือเขตเดียว เป็นพื้นที่เขตทหาร สุพัฒน์ ชลิตานนท์ ปชป. เป็น อดีต ส.ก.มา 2 สมัย และมีฐานเสียงในสายทหาร ขณะที่ ศิริพงษ์ ลิมปิชัย ทรท. เพิ่งลง ส.ก. สมัยที่แล้ว มีฐานเสียงในกลุ่ม พ่อค้า วินมอเตอร์ไซค์ ส่วน ธานินทร์ ปิติธนสารสมบัติ สังกัดอิสระ บุตรชาย เสียดำ เจ้าของร้านทองในตลาดราชวัตร อดีตหัวคะแนนคนสำคัญของไทยรักไทย ว่าไปแล้วเขตนี้ สุพัฒน์ ยังมีภาษีดีกว่าคนอื่นๆ


เขตดินแดง 50/50 ทรท.-ปชป. (อนงค์ เพชรทัต ทรท.)
(อดีต ส.ก. 1.นายชูพงษ์ เพชรทัต(ทรท.)9,402 / 2.นายธนา ชีรวินิจ (ปชป.) 11,265)
เลือก ตั้งครั้งนี้ ดินแดงเหลือ ส.ก. 1 คน อภิชาต หาลำเจียก ปชป. อดีต ส.ก.เขตจตุจักร พรรคไทยรักไทย คราวนี้หันมาสวมเสื้อประชาธิปัตย์ ต้องชนกับ เจ้าถิ่น อนงค์ เพชรทัต ทรท. ที่ได้เป็นส.ก. เมื่อเลือกตั้งซ่อม แทนสามี (ชูพงษ์ เพชรทัต ที่เสียชีวิต) อนงค์ มีฐานเสียงหนาแน่น แต่ อภิชาติ ต้องอาศัย ฐานเสียงจาก ธนา ชีรวินิจ อดีต ส.ก.เก่า ที่จะขึ้นไปชกในสนาม ส.ส. อภิชาต มีคำขวัญว่า “รักธนา กา ดร.อภิชาติ” เขตนี้ สู้กันหนัก มีลุ้นทั้งสองฝ่าย


เขต จอมทอง เขต 1 ธวัชชัย ทองสิมา ทรท.
(อดีต ส.ก. นายธวัชชัย ทองสิมา (กลุ่มมดงาน) 7,482) ธวัชชัย ทองสิมา ทรท. อดีต ส.ก. ย้ายจากมดงานมาอยู่ไทยรักไทย ป้องกันแชมป์กับ พิรกร วีรกุลสุนทร ปชป. ลูกชายของ เฮียล้าน-สุทธิชัย วีรกุลสุนทร อดีต ส.ก.ในเขตจอมทอง เขต 2 ที่พยายามดันลูกชายให้เป็น ส.ก.ให้ได้..งานนี้ เรียกว่า ธวัชชัย อาจต้องมีเหนื่อยอยู่บ้าง


เขตจอมทอง เขต 2 50/50 ปชป.-ทรท. (สุทธิชัย วีรกุลสุนทร ปชป.)
(อดีต ส.ก. นายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร (ทรท.)11,884) สุทธิชัย วีรกุลสุนทร ปชป. เป็น ส.ก.มาแล้ว 3 สมัย สำหรับ เฮียล้าน-สุทธิชัย สวมเสื้อหลายพรรค โดยคราวนี้สวมเสื้อประชาธิปัตย์ ป้องกันแชมป์กับ สุวิทย์ ม่วงศิริ ทรท. น้องชายของ ส.ส.สุวัจน์ ม่วงศิริ แต่ความที่ สุทธิชัย มีฐานเสียงเหนียวแน่นในพื้นที่มากกว่า โอกาสจึงมีสูงกว่าเป็นธรรมดา


เขตจตุจักร เขต 1 50/50 ปชป. - ทรท. (ภัณฑิลา ช่วยเพชร ปชป.)
(อดีต ส.ก. นายประพนธ์ เนตรรังษี (ทรท.) 7,414) ภัณฑิลา ช่วยเพชร ปชป. เคยมีส่วนสำคัญที่หนุนช่วย นายประพันธ์ ได้เป็น ส.ก.มาแล้วคราวนี้ลงท้าชิง เป็นลูกสาวของ อดีต ผบ.เรือนจำคลองเปรม ที่มีฐานเสียงพอสมควร โอกาสที่ ประพนธ์ เนตรรังษี ทรท. จึงหนาวๆ ร้อนๆ


เขตจตุจักร เขต 2 วิลาวัลย์ ธรรมชาติ ทรท.
(อดีต ส.ก. นายอภิชาติ หาลำเจียก (ทรท.) 9,120 ) วิลาวัลย์ ธรรมชาติ เคยลงได้ 8,148 แข่งกับ อภิชาติ หาลำเจียก แพ้ไป 1 พันคะแนน เมื่อ อภิชาต ลาออกไปลง ส.ว. แต่สอบตก แล้ว อภิชาติ ย้ายไปลง ส.ก. เขตดินแดง วิลาวัลย์ จึงมีโอกาสสูง เพราะคราวที่แล้วก็มีคะแนนชนะ อนันตชาติ บัวสุวรรณ์ ปชป. ที่ได้คะแนนเพียง 4,383 เพราะเสียงของวิลาวัลย์ ดีวันดีคืน ช่วงโค้งสุดท้าย วิลาวรรณ โดนจดหมายเถื่อนโจมตีเสียๆ หายๆ จนเธอต้องไปแจ้งความร้องทุกข์กับตำรวจ...

เขตบางซื่อ เขต 1 บุศกร คงอุดม กลุ่มอิสระ
(อดีต ส.ก. น.ส.พรพิมล คงอุดม (ปชป.) 9,084 )เขตนี้ประชาธิปัตย์เว้นวรรคให้ตระกูล คงอุดม บุศกร คงอุดม ลงอิสระ เป็นน้องสาวของ พรพิมล ที่ไปสู้ศึกใน บางซื่อ เขต 2 เขตนี้ บุศกร คงอุดม ชนกับ นรีรัตน์ ปางชาติ ทรท. เขตนี้ วัดบารมี ชัชวาล คงอุดม หรือ ชัช เตาปูน ผู้เป็นพ่อ อดีต ส.ว.กทม.


เขตบางซื่อ เขต 2 พรพิมล คงอุดม กลุ่มอิสระ
(อดีต ส.ก. นายสมพงษ์ เก่งรุ่งเรื่องชัย (ทรท.) 9,431)แม้ สมพงษ์ เก่งรุ่งเรื่องชัย ทรท. จะมีแต้มต่อเป็น อดีต ส.ก. แต่การต้องชนกับ พรพิมล คงอุดม สังกัดอิสระ ลูกสาวของ ชัช เตาปูน เรียกว่า หืดขึ้นคอ เพราะ พรพิมล ก็เป็นอดีต ส.ก. เช่นกัน แต่เคยเป็นอยู่ บางซื่อ เขต 1 คราวนี้ ย้ายมาลงบางซื่อ เขต 2

เขตบางแค เขต 1 สุพิน คล้ายนก ปชป.
(อดีต ส.ก. นายสุพิน คล้ายนก (อิสระ) 9,838) เกาะติดพื้นที่มานาน สุพิน คล้ายนก ปชป. มีความได้เปรียบคู่แข่ง เพราะคราวที่แล้วก็ชนะ สมชาย มาแล้ว และ กุลยา ก็ยังหน้าใหม่ในเขตนี้

เขตบางแค เขต 2 เพทาย จั่นเผื่อน ปชป.
(อดีต ส.ก. นายเพทาย จั่นเผื่อน (ปชป.) 9,407) เขตนี้ เพทาย จั่นเผื่อน ปชป. มีภาษีมากกว่าคู่แข่ง สมชาย ทรัพย์สินโอฬาร ทรท. เพราะเป็น อดีต ส.ข. 3 สมัย และยังเป็น อดีต ส.ก. 3 สมัย เรียกว่า ฐานเสียงของ เพทาย หนาแน่นกว่า


เขตบางเขน เขต 1 สายัณต์ จันทร์เหมือนเผือก ทรท.
(อดีต ส.ก. นายฐิติโชค กาญจนภักดี (ทรท.) 8,966) เขตนี้ สายัณต์ จันทร์เหมือนเผือก ตัวแทนจากไทยรักไทย มีแนวโน้มจะเข้าวิน เหนือ ธนัท โชคธนไพศาล ปชป. เพราะตรวจสอบสนามเลือกตั้ง ส.ข. เมื่อ 30 เมษายน ที่ผ่านมา ไทยรักไทย ชนะแบบยกทีม


เขตบางเขน เขต 2 50/50 ปชป.-ทรท. (ปรานี เชื้อเกตุ ปชป.)
(อดีต ส.ก. น.ส.ปราณี เชื้อเกตุ (ปชป.) 8,947) แชมป์เก่า ปรานี เชื้อเกตุ จากประชาธิปัตย์ ที่ต้องชนกับ อนุกูล ปั้นทอง จาก ไทยรักไทย น้องชายของ อดิสร ปั้นทอง อดีต ส.ส.เขตนี้ ที่หนุนช่วยน้องชายเต็มที่ เขตนี้จึงอาจมีพลิก


เขตสายไหม เขต 1 ษุภมน หงสกุล หุตะสิงห์ ทรท.
(อดีต ส.ก. นายเดชา ยิ้มอำนวย (ทรท.) 9,074) ษุภมน หงสกุล หุตะสิงห์ ทรท. ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนของ ปวีณา หงสกุล เพิ่งเป็น ส.ก.เมื่อปี 2548 เพราะ เดชา ยิ้มอำนวย ลาออกไปลงสมัคร ส.ส. / ษุภมน ลงครั้งนี้เจอคู่แข่งคนเดิมคือ พฤตินัย ยิ้มอำนวย จากพรรคประชาธิปัตย์ คู่แข่งคนเดิมที่ ษุภมน เอาชนะมาแล้ว เลือกตั้งครั้งนี้ ไม่น่ามีปัญหา เพราะ เจ้ปิ๊ก การัตนตี บารมีแม่ แพ้ไม่ได้


เขตสายไหม เขต 2 ฉมาดล หงสกุล ทรท.
(อดีต ส.ก. นายฉมาดล หงสกุล (ชท.) 8,632 ) เขตหนึ่ง เจ้ปิ๊ก-ปวีณา ส่งลูกชาย ส่วน เขต 2 ส่งน้องชาย ฉมาดล หงสกุล ทรท. ลงป้องกันแชมป์กับ ดร.สมชาย เวสารัชตระกูล จากประชาธิปัตย์ ว่าไปแล้ว พื้นที่ สายไหม คือถิ่นของ เจ้ปิ๊ก ลงพรรคไหนก็เดินเข้าสภาได้ เพราะทีมงานแข็งแกร่งยากที่ฝ่ายตรงข้ามจะเจาะไชได้ เพราะเลือกตั้ง2 เมษษา ที่เป็นโมฆะ หลายเขตใน กทม.โนโหวต แต่เขตนี้ เจ้ปิ๊ก มีคะแนนชนะโนโหวต สนามเลือกตั้ง ส.ก. จึงไม่น่ามีปัญหาสำหรับ ฉมาดล หงสกุล


เขตดอนเมือง เขต 1 50/50 ทรท.-ชท. (การุณ โหสกุล ทรท.)
(อดีต ส.ก. นายการุณ โหสกุล (ชท.) 8,673 และ รัชดาวรรณ โหสกุล (ทรท.)
กา รุณ โหสกุล ทรท. เคยเป็น ส.ก.พรรคชาติไทย แต่เมื่อปี 2548 ลาออก ส.ก.ไปลงสมัคร ส.ส. สังกัดไทยรักไทย และชนกับ แบม-จณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ พรรคชาติไทย ปรากฏว่า การุณ เจอเรื่องคุณสมบัติ จึงถูกถอนสิทธิสมัคร แบม ได้เป็น ส.ส.เขตนี้ ซ่อม ส.ก.คราวนั้น การุณ ให้ภรรยา รัชดาวรรณ โหสกุล ลงแทน ชนกับตัวแทนของ แบม คือ พงษ์ศักดิ์ กิจพิทักษ์ จากพรรคชาติไทย แต่ พงษ์ศักดิ์ ก็พ่ายต่อ รัชนีวรรณ เลือกตั้งครั้งนี้ การุณ กลับมาลงสมัครแทนภรรยา และต้องเจอกับ พงษ์ศํกดิ์ ทีมงานของแบม เรียกว่าเป็นเขตที่ห้ามกระพริบตา เพราะ การุณ ก็แพ้ไม่ได้ ส่วน แบม ซึ่งส่งตัวแทนอย่าง พงษ์ศักดิ์ กิจพิทักษ์ ลงชน ก็พ่ายไม่ได้เช่นกัน


เขตดอนเมือง เขต 2 50/50 ปชป.-ทรท. (สมปอง โสภณดิเรกรัตน์ ปชป.)
(อดีต ส.ก. นางสมปอง โสภณดิเรกรัตน์ (ชท.) 10,347)เขตนี้ สมปอง โสภณดิเรกรัตน์ ปชป. อดีต ส.ก. 3 สมัย เดิมเป็นคนของชาติไทย แต่ ประชาธิปัตย์ มีข้อตกลงกับชาติไทยว่า เมื่อหลีกทางให้ในดอนเมืองเขต 1 จึงขอตัว สมปอง มาลงในนามประชาธิปัตย์ เพื่อชนกับ กนกนุช นาคสุวรรณ จากไทยรักไทย ซึ่งเป็นเลขาของ มรว.ดำรงดิส ดิศกุล อดีต ส.ส.ไทยรักไทย ในเขตนี้ ว่าไปแล้ว เขตนี้ สมปอง ยังมีภาษีดีกว่าคู่แข่งเล็กน้อย




 

Create Date : 13 มกราคม 2552    
Last Update : 29 พฤษภาคม 2552 17:54:12 น.
Counter : 1819 Pageviews.  

1  2  3  

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.