สิ่งทอ คือ วิทยาศาสตร์บนพื้นฐานของศิลปะ

เคล็ดลับแม่บ้าน ทำอย่างไรซื้อเสื้อมาแล้วสีตก....

เคยเป็นมั้ยครับ ซื้อเสื้อตัวโปรดมาราคาอย่างแพงเลย....ปรากฏว่าสีตก แถมไม่พออีก ดั๊นไปตกใส่เสื้อราคาแพงอีกตัวนึง...เจอปัญหาแบบนี้แล้วรู้สึกเครียดอยาก ขว้างเสื้อที่สีตกใส่หน้าพ่อค้า-แม่ค้า คิดก็ไม่ตกอุตส่าห์ตัดสินใจซื้อเสื้อตั้งนาน....พอซักครั้งแรกไม่ทันใส่ก็ทำ ตัวอื่นเจ๊งไปด้วย

+ ไปขโมยรูปเค้ามาอ่านะ



สีตก คือ อะไร?....

+ ปรากฏการณ์นี้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดการเคลื่อนตัวของสีย้อมจากวัสดุสิ่งทอ ที่มีสี ไปยังวัสดุที่อาจจะมีสีอยู่แล้ว หรือ ไม่มีสีเลยก็ได้ ซึ่งปรากฏการณ์นี้จะไม่พึงปารถนาอย่างมาก....



หลักการทำให้สีไม่ตก....?

ง่ายๆที่สุด ก็ในเมื่อเรารู้ว่าสีตกนั้นจะเกิดจากน้ำเป็นตัวกลางในการพาสีจากชิ้นสีออกมา ดังนั้นถ้าเราำทำให้สีไม่ละลายน้ำออกมา การที่สีจะตกนั้นก็เป็นไปไม่ได้ แต่ก็นะ เหมือนกับการสั่งเด็กอ่อนไม่ให้ร้องไห้น่ะแหละ...

+ ก็มีการดัดแปรสีที่สามารถละลายน้ำได้ในสภาวะการย้อมแล้ว ไม่ละลายน้ำในสภาวะหลังย้อม ถ้ามีการใชสีกลุ่มนี้ เราก็คงไม่เจอเสื้อสีตกใช่มั้ยครับ ดังนั้น ถ้าเสื้อเราสีตกก็คงไม่ใช่เพราะเค้าย้อมสีที่ดีขนาดนั้น....

+ ดังนั้นจึงต้องลดความสามารถในการละลายน้ำของสีย้อม....


สีเคลื่อนตัวโดยที่น้ำเป็นตัวกลาง.....?
นั่นก็หมายควาว่า ถ้าไม่มีน้ำ หรือ ผ้าแห้งก็ไม่มีทางสีตกเลยใช่มั้ย คำตอบก็คือ ใช่ แต่คราวนี้คงจะเป็นไปไม่ได้ว่าจะไม่มีน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ที่เราทำเป็นกิจวัตร ไม่ว่าจะเป็นการซักล้างเสื้อผ้า การที่เหงื่อออกขณะสวมใส่ เป็นต้น ซึ่งคำว่าสีตกนั้น มาจากคำว่า "ความคงทนต่อการเปียก (Wet fastness)" ต่ำ ซึ่งความคงทนต่อการเปียก หรือ Wet fastness เนี่ย ในทางสิ่งทอก็มีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น

1. Washing fastness (ความคงทนต่อการซัก) โดยการซักผ้าสีตัวอย่างและผ้าขาว ก็จะมีการทดสอบสภาวะต่างๆกัน ขึ้นอยู่กับความเคี่ยวของลูกค้า...ไม่ว่าในน้ำซักจะมีสารซักฟอกเกรดใด มีสารฟอกขาวหรือไม่ มีด่างหรือไม่ บางมาตรฐานดันให้ใส่ลูกเหล็กลงไปด้วย อุณหภูมิที่ใช้ทดสอบมีตั้งแต่ 40 - 90 องศาเซลเซียส เหล่านี้ก็ขึ้นอยู่กับความกรุณาของลูกค้าทั้งหลาย...

2.Perspiration fastness (ความคงทนต่อเหงื่อ) คนเราก็มีเหงื่อทั้ง 2 แบบทั้งเหงื่อกรด (ก็ที่ว่าเหงื่อเปรี้ยว ใส่เงิน ทองก็จะสุกใส) และ เหงื่อเบส (หรือว่าเหงื่อเค็มที่ใส่ เงิน ทอง แล้วก็จะดำปึ๊ด) การทดสอบก็ต้องทำเหงื่อเทียมจากสารละลายของ L-Histidine ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่เป็นองค์ประอบของเหงื่อ โดยที่จะปรับ pH ให้เป็น 8 ด้วย NaOH หรือ 5.5 ด้วย HCl เป็นต้น ก็จะทดสอบทั้ง 2 สภาวะ...

3. Wet rubbing fastness (ความคงทนต่อการขัดถูที่เปียก) ก็มักจะเป็นปัญหาโดยเฉพาะสีที่มี Rubbing fastness ต่ำ เช่น indigo ที่เป็นสีย้อมยีนส์เดอนิมที่วัยรุ่นสมัยนี้นิยมกันนักกันหนา ซึ่งการทดสอบแบบนี้ก็มักจะมีโลหะที่มี Load แน่นอนในการถู โดยกำหนดรอบในการถูให้เท่ากันทุกครั้งก็จะทำให้ประเมินความคงทนได้....

4. และอื่นๆ ที่ไม่ค่อยนิยมกันนะครับ ก็ขอข้ามเลย....

การ ให้คะแนนความคงทนต่อการเปียก มีคะแนนตั้งแต่ 1 - 5 โดยที่ 1 แย่ที่สุด (ชิ้นสีจะเกิดการตกจนสีอ่อนลงกว่าเดิมเกิน 50% และชิ้นขาวที่ซักด้วยจะมีสีเข้มเท่ากับชิ้นสี) และ 5 ดีที่สุด (ชิ้นสีไม่เปลี่ยนแปลงเลย และชิ้นขาวยังคงขาวตามเดิม)


คราวนี้เรามาดู ภูมิปัญญาท้องถิ่นเดิมๆ นั่นก็คือ การแช่น้ำเกลือ.....มันได้ผลจริงมั้ย?...

+ ด้วยความว่า มันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิม ดังนั้นเกลือที่ใช้ก็ควรจะเป็นเกลือจากธรรมชาติ หรือ เกลือทะเล ซึ่งมีอิออนของแคลเซียมและแมกนีเซียมเจือปน ดังนั้นด้วยความว่าอิออนเหล่านี้มีวาเลนซ์เท่ากับ +2 เมื่อละลายน้ำ ดังนั้นมันจึงสามารถที่จะลดความสามารถในการละลายน้ำของสีได้ แม้ว่าจะนำมาล้างน้ำอ่อนอีกครั้ง...ส่วนเกลือสมัยใหม่พวกเกลือปรุงทิพย์ที่ บริสุทธิ์เหลือเกิน ก็จะมีแต่อิออนของโซเดียมซึ่งมีวาเลนซ์เท่ากับ +1 ซึ่งเท่ากับว่าเกลือของสีที่เป็นปรจุลบก็จะมีแค่อิออนของโซเดียมมาเป็นอิออ นคู่ตรงข้ามเท่านั้น ดังนั้นพอนำมาซักด้วยน้ำอ่อนอีกครั้งอิออนของโซเดียมก็จะหลุดออกมาและละลาย น้ำออกมา สีก็ยังคงตกอยู่

+ ดังนั้นเพื่อเป็นการใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ก็ใช้สารที่ให้อิออนของแคลเซียม หรือ แมกนีเซียม (จากดีเกลือ หรือ จากเจี๊ยะก่อ) โดยตรงเลย หรือ อาจจะใช้อิออนของโลหะที่มีวาเลนซ์มากกว่า +2 เช่น อลูมิเนียมที่มีวาเลนซ์เป็น +3 จากสารส้มก็จะให้ผลดียิ่งขึ้น...แต่มักจะทำให้สีนั้นเกิดการเพี้ยน...
เนื่องจากเกิดการ localisation ของอิเล็กตรอนที่เข้าสู่สภาวะเร้านั้นเปลี่ยนไป แน่นอนครับ ก็ทำให้สีนั้นเกิดการเพี้ยน (Shade change) แม้กระทั่งในอุตสาหกรรมที่มีการใ้ช้ Copper sulfate (จุนสี) หรือ Sodium dichromate ซึ่งให้ผลในการทนซักที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และอีกทั้งยังทำให้ความคงทนต่อแสงดีขึ้นอีกด้วย แต่ปัญหาสีเพี้ยนก็ยังเป็นปัญหาสำหรับนักย้อมสี เพราะกว่าจะย้อมสีให้เหมือนตามที่ต้องการก็แทบจะรากเลือดแล้ว ดันยังต้องมาให้สีเพี้ยนเพราะขั้นตอนกันตกนี่คงจะไม่ใช่เรื่องสนุกเลย....


เพื่อความสะดวกใจที่ใช้งานแล้วสีไม่เกิดการเพี้ยนของ สี นักเคมีจึงพยายามหาสารที่เรียกว่า "สารกันตกที่มีประจุบวก (Cationic fixing agent)" ช่วยได้ โดยวิธีนี้จะสะดวกและทำให้สีเกิดการเปลี่ยนแปลงไม่มาก แต่อย่างไรก็ตามทำให้สีที่เกิดขึ้นนั้นมีความคงทนต่อแสงที่ต่ำลง และเมื่อทำการกันตก (fix) แล้วควรทำซักออกเบาๆด้วยน้ำอุ่นๆ เพื่อให้สีเกิดการเลี้ยงผลึกที่ไม่ละลายน้ำ ก็จะทำให้ความคงทนต่อการซักดีขึ้นและไม่ทำให้เกิดการซีดแดดง่ายด้วย และนี่เป็นกลไกในการจับสีด้วยสารกลุ่มนี้...


แต่สารกลุ่มนี้ก็นะ จะหาซื้อตามท้องตลาดก็คงไม่ได้ง่ายนัก ก็ขอแนะนำผลิตภัณฑ์กันตกที่น่าจะซื้อกันได้ง่าย....ก็ ได้แก่ ไดล่อน น้ำยาป้องกันสีตก Dylon Colour Seal ซึ่งผมต้องออกตัวไว้ก่อนว่าไม่ได้ทำงานหรือเกี่ยวข้องกับผู้จำหน่ายใดๆ เพียงแต่มาแนะนำบางอย่างที่ไม่ได้หาซื้อได้ง่าย อย่างน้อยก็ได้ชื่อไปหาเองในกุ๊กเกิลล่ะครับ

+ นี่เป็นวิธีการใช้งานนะครับ


คราวนี้ เอาล่ะสิ ไอ้สีที่จะตกก็ป้องกันได้แล้ว แต่คราวนี้จะแก้ไขกันได้ยังไงเนี่ย กับเสื้อสีอ่อนที่โดนเปื้อนไปแล้ว ตัวนี้ก็ยังรักอยู่.....ด้วยความว่าสีมันดันละลายน้ำออกมาได้ เวลามันจะหลุดออกมา แต่พอมาเกาะบนผ้าใหม่นี่ดันไม่ยอมออกง่ายๆ เหอๆ เอาเป็นว่าต้องออกแรงชักเย่อแย่งสีกับผ้าก็แล้วกัน....

+ วิธีที่แม่บ้านที่สุดแล้ว คือ การใช้เจลแต่งผมที่มีส่วนผสมของ Polyvinylpyrollidone หรือ PVP ไม่ใช่ PVC หรือ PVA นะครับ...ขอเน้นๆๆ เนื่องจาก PVP นั้นละลายน้ำได้ดีมาก และมีประจุบวกที่แรงมาก พอที่จะชักเย่อสีออกมาได้


แต่ถ้าคิดถึง Dylon ซึ่งก็เป็น บ.ที่พยายามเอาเคมีทางด้านสิ่งทอมาขายให้กับผู้ใช้งานโดยทั่วไป ก็แนะนำตัวนี้ ไดล่อน ยาขจัดคราบสีตก สำหรับผ้าสีและขาว (ซักเครื่อง) Dylon Colour Safe Colour Run Remover ซึ่งก็เหมาะสมเลยทีเดียว ซึ่งผมต้องออกตัวไว้ก่อนว่าไม่ได้ทำงานหรือเกี่ยวข้องกับผู้จำหน่ายใดๆ เพียงแต่มาแนะนำบางอย่างที่ไม่ได้หาซื้อได้ง่ายอีกครั้งนะครับ


แล้วถ้าเอาสีที่เปื้อนออกไม่หมด ในกรณีที่เป็นผ้าขาวก็สามารถใช้สารฟอกสี ซึ่งไม่แนะนำไฮเตอร์และออกซีแมกซ์ครับ เพราะสีกลุ่มนี้มักจะทน Oxidising agent มาก แต่มักจะไม่ทนต่อ Reducing agent ดังนั้น ถ้าใครพอจะหาซื้อสารเคมีเหล่านี้ได้ ก็แนะนำสารในกลุ่มของ Sodium hydrosulphite หรือ Sodiumformaldehyde sulfoxylate หรือ Thiourea dioxide ได้ เพราะกลุ่มเหล่านี้สามารถสลายตัวให้ Sulphinate anion ซึ่งสามารถรีดิวซ์สีได้เป็นผลดี


แต่ก็อย่างว่า หลายคนก็ไม่สามารถหาซื้อสารเหล่านี้ได้ตามท้องตลาดก็แนะนำ Dylon เจ้าเก่านะครับ...แอ่น แอน แอ๊น....ไดล่อน ไดล่อน ยาฟอกขาวชุดชั้นใน Dylon Lingerie Whitener ตัวนี้ก็ใช้ดีครับ..แต่อ่านดูผมไม่ได้ใช้ผิดวัตถุประสงค์นะ แต่เบสเคมีมันก็เป็นสารกำจัดสีชนิดรีดิวซ์เหมือนกันกับข้างต้นครับ




 

Create Date : 10 สิงหาคม 2552   
Last Update : 10 สิงหาคม 2552 13:04:40 น.   
Counter : 42191 Pageviews.  

ทำ universal indicator pH 4-10 ใช้เอง

สูตรผสม สำหรับ universal pH 4-11 โดยที่ (อันนี้สูตรผมนะ ถ้า indocator ไม่บริสุทธิ์พอ ต้องปรับสูตรนะครับ)
pH 4 (หรือต่ำกว่า) สีแดง
pH 5 สีส้ม
pH 6 สีเหลือง
pH 7 สีเขียวอ่อน
pH 8 สีเขียวเข้ม
pH 9 สีน้ำเงิน
pH 10 (หรือสูงกว่า) สีม่วง
สูตรตามนี้เลย
Methyl Orange 0.025 g

Methyl Red 0.075 g

Bromthymol Blue 0.25 g

Phenolphthalein 0.25 g


95% Ethanol 450 ml
ละลายจนหมด เติมน้ำกลั่นจนครบ 1000 ml นะครับ

แล้วนำมาหยดหาค่า pH ตามเสกลนี้เลยครับ




 

Create Date : 28 กรกฎาคม 2552   
Last Update : 28 กรกฎาคม 2552 15:50:41 น.   
Counter : 3202 Pageviews.  

ทำไมยาแดงต้องเป็นสีแดง

วัตถุดิบหลักที่เอามาทำยาแดงก็คือ Merbromin (ชื่อทางการค้า Mercurochrome, Merbromine, Sodium mercurescein, Asceptichrome, Supercrome และ Cinfacromin) เป็นสารฆ่าเชื้อภายนอก ใช้สำหรับาดแผลสด เป็นสารอินทรีย์ที่มีปรอทอยู่ในโครงสร้างซึ่งเป็นอนุพันธ์ของ fluorescein มีขายทั่วไปในหลายประเทศ แต่สำหรับสหรัญอเมริกามีคำสั่งห้ามใช้ เนื่องจากมีปรอทเป็นองค์ประกอบ



การใช้งาน
Merbromin เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นยาแดงที่ใส่แผลสด เมื่อมีการทาลงบนผิวก็จะทำให้เห็นรอยสีแดงเข้ม ทำให้การตรวจสอบรอยแผลนั้นเป็นไปด้วยความยาก และนอกจากนั้นยังใช้เป็นสีที่ใช้ทำเครื่องหมายบนเนื้อเยื่อที่ต้องการดู และในทางอุตสาหกรรมก็สามารถใช้หารายตำหนิที่ผิวของโลหะเหมือนกับสีที่มีโลหะ เป็นองค์ประกอบอื่นๆ
ยาแดงก็ผสมได้จาก merbromin 2% แล้วทำการละลายด้วยแอลกอฮอลล์หรือน้ำจนครบ (หรือจะผสมกันก็ได้)
สมบัติในการฆ่าเชื้อของมันค้นพบโดย doctor Hugh H. Young แห่งโรงพยาบาล Johns Hopkins ในปี คศ. 1919 และได้ีรับความนิยมในการใช้งานโดยแพทย์และผู้คนตามบ้าน และนอกจากนั้นมักจะมีติดในห้องพยาบาล รร. ส่วนใหญ่ด้วย




 

Create Date : 27 กรกฎาคม 2552   
Last Update : 27 กรกฎาคม 2552 13:58:02 น.   
Counter : 7451 Pageviews.  

Glow in the dark pigment.....

Strontium aluminate (SRA, SrAl, SrAl2O4) หรือ สตรอนเทียมอลูมิเนต

เป็นของแข็งไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ เป็นผงสีเหลืองอ่อน และมีความถ่วงจำเพาะมากกว่าน้ำ เป็นสารที่เฉื่อยต่อต่อเคมีและสิ่งมีชีวิต เมื่อถูก dope ด้วย Dopant ที่เหมาะสม เช่น europium ก็จะกลายเป็น SrAl2O4:Eu ก็สามารถทำให้เป็นสารที่สามารถเรืองแสงในที่มืดได้โดยที่มีระยะเวลาการเปล่า งแสงที่นานขึ้น มี CAS number คือ 12004-37-4

สารตัวนี้มีสมบัติในการเปล่งแสงที่ดีกว่า copper-activated zinc sulfide ถึง 10 เท่า ระยะเวลาในการเปล่งแสงก็นานกว่า 10 เท่า และราคาก็แพงกว่า 10 เท่าเช่นกัน มักจะใช้ผสมในของเล่นที่เรืองแสงได้ มีการนำมาใช้งานแทน copper-activated zinc sulfide แต่อย่างไรก็ตาม ชิ้นงานที่ได้จะมีความแข็งสูงอันจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเสียดสีกับเครื่อง จักรได้ ดังนั้นจึงต้องใช้สารหล่อลื่นที่เหมาะสมเติมลงไปในชิ้นงานพลาสติกด้วย

สารนี้เรืองแสงออกมาเป็นสีเขียวและฟ้าอ่อนได้ สีเขียวจะให้ความสว่างสูงกว่าในขณะที่สีฟ้าอ่อนจะให้ระยะ้วลาเปล่งแสงที่ ยาวนานกว่า ความยาวคลื่นแสงที่สามารถกระตุ้นสารนี้ได้จะเป็นแสง UV ที่มีความยาวคลื่นในช่วง 200 - 450 nm โดยที่แสงที่เปล่งออกมาจะมีความยาวคลื่น 520 nm (สีเขียว) และ 505 (สีฟ้าอมเขียว) และแสง 490 nm (สีฟ้า) ซึ่งแสงที่มีความยาวคลื่นมากกว่าอาจจะพบได้จาก strontium aluminate อย่างเดียวเช่นกัน แม้ว่าความสว่างที่ได้อาจจะต่ำกว่า

ความยาวคลื่นแสงที่เปล่งออกมาขึ้นอยู่กับโครงสร้าง ภายในผลึก การเพิ่มประสิทธิภาพนั้นสามารถทำได้ขณะกระบวนการผลิต (เช่น ลดความดันบรรยากาศ การปรับอัตราส่วนของสารตั้งต้น การเติมคาร์บอนหรือสารประกอบ rare-earth halides ได้

สารเปล่งแสงที่ได้จาก Strontium aluminate จะถูกทำลายที่อุณหภูมิ 1250 C ซึ่งการได้รับอุณหภูมิที่สูงกว่า 1090 C จะเป็นสาเหตุทำให้สมบัติในการเรืองแสงลดลงได้

ความเข้มของแสงที่เปล่งออกมายังขึ้นอยู่กับขนาดของอนภาคด้วย โดยปกติอนุภาคที่มีขนาดใหญ่กว่าจะเปล่งแสงได้สว่างกว่าด้วย

Strontium aluminate ขายในรูปของสีที่เรืองแสงได้ในที่มืดในท้องตลาดชื่อ Super-LumiNova หรือ NoctiLumina ด้วย

ที่มา วิกิพีเดีย
แปล in-situ



แต่ก็มีการผสมกับสารอื่นๆเพื่อให้ได้สีตามที่ต้องการนะครับ ไม่ได้เรืองเฉพาะสีเขียวอย่างเดียว




 

Create Date : 21 กรกฎาคม 2552   
Last Update : 21 กรกฎาคม 2552 14:21:16 น.   
Counter : 2792 Pageviews.  

ปรากฏการณ์แดดเลียสี

ความคงทนของสีที่มีต่อแสงก็เป็นปัจจัยสำคัญครับ เพราะถ้าแดดเลียบ่อย แต่สีทน สีก็ไม่ซีด แต่ถ้าสีที่ไม่มีความคงทนต่อแสงสูง สีก็ก็จะซีดง่ายครับ คราวนี้ความคงทนต่อแสงของสีนี่ ก็มีปัจจัยหลายๆประการ ตั้งแต่
1. โครงสร้างทางเคมีของสี ถ้าโครงสร้างทางเคมีของสีมี chromophore ที่เป็น linear ก็จะมีความคงทนต่อแสงน้อยกว่าสีที่มีโครโมฟอร์แบบ cyclic เช่นสีที่เป็น azo ก็จะทนแสงน้อยกว่า anthraquinone หรือ สีที่เป็น cyclic ที่เชื่อมกับหมู่ให้อิเล็กตรอนก็จะมีความคงทนแสงน้อยกว่าหมู่ดึงอิเล็กตรอน เช่น สีที่เป็น quinone ก็จะทนแสงได้ดีกว่า quinimine หรือ สีที่เป็น inorganic pigment ก็จะทนมากกว่า organic pigment เป็นต้น
2. โครงสร้างผลึกของสี ถ้าสีที่มีความเป็นผลึกสูงกว่า หรือ มีขนาดผลึกที่ใหญ่กว่า สีนั้นก็จะมีความคงทนสูงกว่า เนื่องจากเกิดจากการบังกันเองมากกว่า
3. ความเข้มต่อหน่วยของสีเอง (Molar extinction coefficient) ถ้าสีตัวที่มีค่านี้มากกว่า ก็จะทำให้ที่ความเข้ม (K/S) เท่ากันนั้น จะมีความคงทนที่ต่ำกว่า เนื่องจากจำนวนโมเลกุลที่น้อยกว่าในการที่ทำให้สีเข้มเท่ากัน
4. ความเข้มข้นของสี สีตัวเดียวกัน สีที่มีความเข้มข้นมากกว่า ก็จะมีความคงทนต่อแสงมากกว่า
5. ความสามารถในการดูดกลืนแสงของ polymer matrix ของ Latex ที่ใช้ในสีทา ถ้า polymer มีความสามารถดูดกลืนแสงมากกว่า ก็จะทำให้สีไปโดนแสงทำลายก็น้อยลง
6 ฯลฯ จำไม่ค่อยได้แล้ว แฮ่ๆๆ แต่ก็มีอีกหลายปัจจัยล่ะครับ

แล้วทำไมภาพ เมื่อถูกแดดเลียไปนานๆถึงออกไปทางโทนฟ้าหรอ??
1. สีฟ้ามักจะเป็น phthalocyanine ครับ pigment ชนิดนี้ มีความเป็นผลึกที่สูงมากเนื่องจากโครงสร้างโมเลกุลเค้าเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส ทำให้มันเรียงตัวกันได้แน่นมาก
2. เนื่องจากโครงสร้างโมเลกุลของ phthalocynine มี pi-electron ทั้งหมด 18 ตัว ซึ่งเข้ากฏ 4n+2 ของสารประกอบอะโรมาติกที่สมบูรณ์ เลยทำให้มีเสถียรทางเคมีสูงมากเป็นพิเศษกว่าสีที่มีโครงสร้างอื่นๆ
3. สีเหลือง-แดงที่ใช้ในการพิมพ์ภาพมักจะเป็น azo colorant ซึ่งเป็นหมู่ให้สีที่เป็นแบบ linear เลยถูกทำลายได้ง่าย อีกทั้งรูปร่างโมเลกุลของเค้าก็จะเป็นลักษณะยาวทำให้ความสามารถในการก่อผลึก น้อยกว่าสีฟ้าครับ




 

Create Date : 21 กรกฎาคม 2552   
Last Update : 21 กรกฎาคม 2552 12:44:14 น.   
Counter : 2366 Pageviews.  

1  2  3  4  

in-situ
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]


ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




[Add in-situ's blog to your web]