สิ่งทอ คือ วิทยาศาสตร์บนพื้นฐานของศิลปะ

แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าผ้าที่เราจะย้อมเป็นผ้าอะไร

โดยทั่วไปวัสดุสิ่งทอที่เราจะย้อมเนี่ยมักจะทอ หรือ ถักจากเส้นใยชนิดต่างๆที่มีอยู่มากมาย อย่างที่เคยพูดไว้เมื่อคราวที่แล้ว หลายๆคนที่ไม่เคยเรียนทางด้านสิ่งทอก็อาจจะงง เอ๊ แล้วตูจะรู้ได้งัยวะ ว่าผ้าที่ตูจะย้อมเนี่ย มันผ้าอะไรกันนี่! จะตะโกนถามผ้ามัน มันก็คงไม่ตอบหรอกคับ
ก็มาดูว่าผ้าสามารถแบ่งได้เป็นหลายชนิดก็จริงนะครับ แต่เชื่อมั้ยว่าเมื่อแบ่งตามโครงสร้างเคมี ผ้าในปัจจุบันนี้ (มากกว่า 98%) ที่มีการใช้งานเนี่ยมีไม่ถึง 10 ชนิด (เหวอ สำหรับบางท่านอาจจะ 10 ชนิด นี่ก็เยอะแล้วนะโว้ย) แต่เน้นคับ ไม่ถึง 10 ชนิด มีแค่ 5 ชนิดที่เราย้อมได้ง่ายๆ นอกนั้น ให้เป็นหน้าที่ของผู้ผลิตเหอะคับ ซึ่งต่างก็มีสมบัติทางเคมีที่ต่างกัน ทำให้เรานั้นสามารถที่จะจำแนกสมบัติเส้นใยในทางเคมีได้ซึ่งวิธีการทดสอบก็มีมากหลายเหลือเกิน แต่วิธีก็ยุ่งยากซะจนแบบว่าคนที่จะย้อมผ้านี่คงคิดว่า ชาตินี้ตูจะได้รู้ป่าววะเนี่ย ว่าผ้าที่ตูจะย้อมเป็นเส้นใยอะไร แต่ในหลายๆวิธีก็มีอยู่วิธีนึงที่ทำให้เราสามารถจำแนกเส้นใยได้เป็นฉากๆ โดยที่ไม่ต้องใช้สารเคมีใดๆมาทดสอบทั้งสิ้น ต้นทุนการทดสอบก็ถูกมากๆ ไม่เกิน 10 บาท นั่นก็คือ ทดสอบการเผาด้วยไฟแช็ค เพราะ สารที่มีองค์ประกอบเคมีต่างกันก็เกิดการเผาใหม้ (Combustion) ที่แตกต่างกันไป ซึ่งการเผาใหม้ก็คือการทำปฏิกิริยากับแก๊ซออกซิเจนในบรรยากาศในสภาวะที่มีอุณหภูมิสูงนั่นเอง ก็มาดูสมบัติการเผาใหม้ของเส้นใยแต่ละกลุ่มนะครับ
ประเภทที่ 1 เป็นเส้นใยพืชหรือ Cellulosic fiber พวกนี้องค์ประกอบหลักเป็นเซลลูโลสน่ะแหละ อาจจะฟังดูแล้วเคมี๊ เคมี อันนี้ต้องทำใจหน่อยล่ะครับ ก็ผมเป็นนักเคมีนี่นา งั้นล่อภาษาชาวบ้านก็ได้ว่า พวกนี้จะมีองค์ประกอบหลักที่เป็นตัวเดียวกับองค์ประกอบหลักในกระดาษ (ซึ่งทำจากพืชเช่นกัน เพียงแต่กระดาษนั้นจะเป็นเส้นใยที่สั้นมากเมื่อเทียบกับเส้นใยที่นำมาทอ หรือ ถักเป็นผ้า) ดังนั้นการเผาใหม้ของเส้นใยกลุ่มนี้นั้นจะเกิดการไหม้ลามอย่างรวดเร็ว มีควันสีขาว เหม็นเหมือนกระดาษใหม้ไฟ เถ้าจะมีสีเทา-ขาว เบาเป็นปุยเหมือนขี้เถ้าของถ่าน ดังนั้นถ้าเจอเหตุการณ์แบบนี้ก็ฟันธงได้เลยว่าเส้นใยที่ท่านทดสอบอยู่นั้นเป็นเส้นใยที่ได้มากจากพืชล่ะคับ
คราวนี้มาดูประเภทที่ 2 บ้าง กลุ่มนี้เป็นเส้นใยที่ได้จากสัตว์ หรือ Protein fiber จากชื่อก็เดาได้ว่าองค์ประกอบส่วนใหญ่ของเส้นใยกลุ่มนี้ก็เป็นโปรตีนที่มีความแข็งแรงสูงจนกระทั่งสามารถที่จะนำมาใช้เป็นเส้นใยได้ พวกนี้ก็จะมีองค์ประกอบหลักเช่นเดียวกับเส้นผมคนเรา ดังนั้นเมื่อเผาเส้นใยแล้ว เส้นใยเกิดการหดหนีไฟ แต่เถ้าที่ได้กรอบบี้แตกเหมือนขนมแครกเกอร์ กลิ่นควันที่ได้มีกลิ่นเหมือนผมใหม้ไฟ แล้วพอเอาออกจากไฟเส้นใยนั้นสามารถที่จะดับได้เอง นี่ก็สามารถที่จะฟันธงได้เลยว่าเป็นเส้นใยโปรตีนแน่นอน ซึ่งอาจจะเป็นเส้นใยขนสัตว์ หรือ ไหมก็ได้
กลุ่มที่ 3 กลุ่มนี้เป็นกลุ่มเส้นใยไนลอน กลุ่มนี้ตอนแรกคนสังเคราะห์เอง ก็อยากจะเลียนแบบเส้นใยโปรตีนน่ะคับ แต่ด้วยว่าสมบัติทางกายภาพและการเผาใหม้ของเส้นใยที่ออกมานั้นก็ค่อนข้างแตกต่างไปจากเส้นใยโปรตีน แต่เชื่อมั้ย สมบัติการย้อมสีนั้นดันมีสมบัติที่ต่างจากขนสัตว์ไปนิ๊ดเดียวชนิดที่ว่า เส้นใยขนสัตว์ย้อมได้ด้วยสีอะไร ไนลอนก็สามารถที่จะย้อมได้ด้วยสีนั้นเช่นกัน เพียงแต่ความเข้มที่ได้อาจจะแตกต่างกันไปเท่านั้นเอง ดังนั้นการเผาใหม้เนี่ยคงต้องสังเกตนิดนึงว่าเป็นอย่างไร เนื่องจากว่าไม่สามารถที่จะหาต้นแบบการเผาใหม้ให้ได้แบบเส้นใยใน 2 กลุ่มแรก แต่ก็มีข้อสังเกตดังนี้
ด้วยความที่ว่าไนลอนเป็นเส้นใยสังเคราะห์ที่ได้จากการปั่นหลอม (Melt spinning) ดังนั้นเมื่อไนลอนได้รับความร้อน แน่นอนฮะ! มันจึงต้องหลอมเหลวได้ นั่นก็เป็นข้อสันนิษฐานข้อแรก (ซึ่งเส้นใยสังเคราะห์เกือบทุกชนิดก็สามารถหลอมเหลวได้ เพราะถ้าหลอมไม่ได้คงจะฉีดออกมาเป็นเส้นๆไม่ได้หรอกครับ) แต่ให้จ่อไฟต่อไปเรื่อยๆครับ จนไฟติด แล้วลองชักเส้นใยออกมา ดูเปลวไฟและควันครับ ถ้าเปลวไฟมีสีส้มอ่อน แล้วควันมีสีขาว (เน้นสีขาวนะครับ) กลิ่นควันเป็นกลิ่นเฉพาะตัวฉุนๆ (คือ คงจะบรรยายไม่ได้ แต่ว่าถ้าเคยได้กลิ่นแม้แต่ครั้งเดียวนี่ หลังจากนั้นจะจำได้แม่นเชียวล่ะครับ) แต่เรื่องหลอมเหลวได้และมีควันสีขาวเนี่ยถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของไนลอนเลยนะครับ
กลุ่มที่ 4 เส้นใยพอลิเอสเตอร์และเซลลูโลสอาซีเตด กลุ่มนี้นี่โครงสร้างทางเคมีอาจจะต่างกันมากนะครับ เนื่องจากพอลิเอสเตอร์นี่สังเคราะห์จากน้ำมันดิบ ในขณะที่เซลลูโลสอาซีเตดนี่ได้จากการนำเส้นใยเซลลูโลสมาทำปฏิกิริยาเคมีจนได้เป็นเป็นเส้นใยที่มีสมบัติที่เปลี่บยแปลงไป แต่เชื่อมั้ยครับ! เส้นใย 2 ชนิดนี้สมบัติการย้อมนี่คล้ายกันมากจนสามารถที่จะใช้สีชนิดเดียวกันมาย้อมได้เลย แต่ย้อมที่ความร้อนไม่เท่ากันเท่านั้นเอง ก็มาดูครับ เส้นใยพอลิเอสเตอร์นี่เวลาเผาแล้วหลอมตัวเหมือนไนลอนเป๊ะเลย เวลาเผาก็จ่อไฟต่อไปเรื่อยๆ (เพราะเส้นใยพอลิเอสเตอร์ติดไฟยากนิดนึง) จนติดไฟก็จะเห็นว่าเกิดการติดไฟแล้วควันที่ได้นี่มีสีดำสนิทเป็นเขม่าเลยครับ กลิ่นควันที่ได้นี่ก็เป็นกลิ่นเฉพาะตัวของพอลิเอสเตอร์เองเลยซึ่งไม่ฉุนจัดแบบกลิ่นควันที่ได้จากการเผาไนลอน ส่วนเส้นใยเซลลูโลสอาซีเตดนี่ เมื่อเผาแล้วก็จะติดไฟได้ค่อนข้างเร็วมาก ควันที่ได้มีสีดำ แล้วเกิดการหลอมไป ใหม้ไป (อิ อิ ถ้าอธิบายตรงนี้นี่ อาจจะไม่สามารถแยกความแตกต่างกับเส้นใยพอลิเอสเอตร์ได้ง่ายนัก) แต่ที่มีเอกลักษณ์ที่เส้นใยอื่นไม่สามารถให้ได้ก็คือ ควันมีสีดำเหมือนเส้นใยพอลิเอสเตอร์ก็จริง แต่เวลาเผาแล้วจะมีกลิ่นกรดน้ำส้ม (Acetic acid) หรือกลิ่นน้ำส้มสายชูออกมาด้วย เราก็สามารถฟันธงออกได้เลยว่าเป็นเส้นใยอาซีเตด
กลุ่มที่ 5 ที่นิยมใช้กันก็คือกลุ่มเส้นใยอะคริลิก ซึ่งกลุ่มนี้มีการใช้งานในเมืองไทยที่เป็นหลักจริงๆ ก็คือกลุ่มไหมพรมที่เลียนแบบไหมพรมขนสัตว์ เนื่องจากว่าเส้นใยขนสัตว์มีราคาแพงกว่ามาก กลุ่มนี้เวลาเผานี่จะติดไฟเร็วมาก (ต่างจากขนสัตว์อีกแล้ว) เรียกว่าจุดไม่ได้ระวังนี่ลามไล่มาที่นิ้วได้เลยครับ (อันตรายพอดูอ่ะ เวลาใส่เสื้อไหมพรมที่ทำจากเส้นใยกลุ่มนี้) เส้นใยจะเกิดการหดเช่นเดียวกับขนสัตว์เลย ควันก็ดำ (อีกแล้ว) แต่ขอโทษเหอะ! เถ้าที่ได้นี่ดูเหมือนเปราะ แต่มือบีบไม่แตกแบบขนสัตว์นะครับ ต้องทุบเอาด้วยฆ้อนโน่นเลย ถึงจะแตก มักไม่พบว่าจะทำเป็นวัสดุสิ่งทออื่นๆ เว้นแต่ทำไหมพรมเท่านั้น

ปล. วันนี้ก็พอจะรู้จักการทดสอบเส้นใยประปรายไปแล้วนะครับ




 

Create Date : 19 มิถุนายน 2548   
Last Update : 19 มิถุนายน 2548 21:16:36 น.   
Counter : 2068 Pageviews.  

ชนิดและสมบัติของวัสดุสิ่งทอที่ใช้ย้อม

ปกติแล้ววัสดุสิ่งทออาจจะอยู่ในรูปของเส้นใย เส้นด้าย หรือ ผืนผ้า แต่อย่างไรก็ตามชนิดของเส้นใยก็เป็นกำหนดชนิดของสีที่ใช้ย้อมผ้า กระบวนการ อุณหภูมิ และสารเคมีที่ใช้ช่วยในการย้อม
จากการแบ่งชนิดของวัสดุสิ่งทอตามคุณสมบัติการย้อมสีนั้นสามารถที่จะแบ่งออกได้ดังนี้

1. เส้นใยเซลลูโลส (Cellulosic fiber) เช่น ฝ้าย ป่าน ปอ ลินิน เรยอง ซึ่งเส้นใยเหล่านี้นั้นมักจะได้มาจากพืช ซึ่งมีองค์ประกอบหลักเป็นเซลลูโลสที่ใช้เป็นวัสดุโครงร่างของพืชทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเนื้อไม้ เส้นใย ท่อน้ำเลี้ยง
2. เส้นใยโปรตีน (Protein fiber) เช่น ขนสัตว์ ไหม หรือแม้กระทั่งเส้นใยที่ผลิตจากนมสัตว์ หรือ นมถั่วเหลืองที่เลียนแบบขนสัตว์
3. เส้นใยเซลลูโลสอาซีเตด (Cellulose acetate fiber) ซึ่งได้จากการนำเส้นใยในกลุ่มที่ 1 มาทำปฏิกิริยาดัดแปรกับกรดอาซีติคและอนุพันธ์ ทำให้มีสมบัติที่ต่างไปจากเซลลูโลสเดิมและมีสมบัติเหมือนเส้นใยสังเคราะห์ เช่น ไดอาซีเตด และ ไตรอาซีเตด
4. เส้นใยสังเคราะห์ (Synthetic fiber) เช่น ไนลอน อะคริลิก พอลิเอสเตอร์




 

Create Date : 12 มิถุนายน 2548   
Last Update : 12 มิถุนายน 2548 17:03:46 น.   
Counter : 863 Pageviews.  


in-situ
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




[Add in-situ's blog to your web]