ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง

คุณควบคุมความมั่นคงไม่ได้หรอก ในระบอบเจ้าที่ดินของอินเทอร์เน็ต

โดย บรูซ ชไนเออร์
แปลจาก You Have No Control Over Security on the Feudal Internet
//blogs.hbr.org/cs/2013/06/you_have_no_control_over_s.html
เขียนโดย Bruce Schneier
แปลโดย ธิติมา อุรพีพัฒนพงศ์
เผยแพร่ครั้งแรกใน ThaiNetizen 1 กรกฎาคม 2556
https://thainetizen.org/2013/07/no-security-on-feudal-internet/

การเปิดโปงโครงการดักฟังข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตหรือโครงการ “ปริซึม” (PRISM) ของสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NSA) นำมาสู่การถกเถียงอย่างกว้างขวางทั่วโลก ทั้งในหมู่ประชาชน รัฐบาล และบริษัทเอกชน โดยเฉพาะประเด็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งคือ ขณะที่เราฝากข้อมูลสำคัญต่างๆ ในชีวิตของเราไว้ในอินเทอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อยๆ เราในฐานะปัจเจกชนได้รับความคุ้มครองและมีความเป็นส่วนตัวมากน้อยแค่ไหน บรูซ ชไนเออร์ (Bruce Schneier) นักเทคโนโลยีความมั่งคง เสนอให้มองความสัมพันธ์ระหว่างเรากับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตว่าเป็นระบอบเจ้าที่ดินยุคใหม่ การเปรียบเทียบลักษณะนี้อาจทำให้เราเห็นทางออกด้านความปลอดภัยของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจากระบบเจ้าที่ดินได้ — แม้ทางออกที่เขาเสนออาจจะยังมีคำถามว่า เหมาะสมเพียงไรสำหรับสังคมไทย ซึ่งมีบริบททางประวัติศาสตร์และมีระดับการเคารพสิทธิพลเมืองต่างจากยุโรป แต่เราซึ่งเป็นผู้ใช้ของผู้ให้บริการที่มีเครือข่ายทั่วโลก ข้อเขียนนี้อาจชวนให้เราตระหนักถึงตำแหน่งแห่งที่และความปลอดภัยของตนเองในโลกออนไลน์ได้

000
คุณควบคุมความมั่นคงไม่ได้หรอก ในระบอบเจ้าที่ดินของอินเทอร์เน็ต


เฟซบุ๊กละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อยู่บ่อยๆ กูเกิลเลิกสนับสนุนโปรแกรมอ่านข่าว RSS ยอดนิยม แอปเปิลห้ามไม่ให้มีแอพพลิเคชันที่มีเนื้อหาทางการเมืองหรือทางเพศบนไอโฟน ไมโครซอฟท์อาจร่วมมือกับรัฐบาลบางประเทศดักฟังสไกป์ เพียงแต่เราไม่รู้ว่าประเทศไหน ส่วนทวิตเตอร์และลิงก์อิน (LinkedIn) ก็เพิ่งพ้นเรื่องปวดหัวจากการถูกเจาะระบบรักษาความปลอดภัยซึ่งกระทบกับข้อมูลของผู้ใช้หลายแสนราย

หากคุณเริ่มคิดว่าตัวเองเป็นชาวนาเคราะห์ร้ายในการต่อสู้แย่งชิงอำนาจ อย่างในละครชุดเกมออฟโทรนส์ (Game of Thrones) คุณมาถูกทางแล้วล่ะ บริษัทเหล่านี้ไม่ใช่บริษัทแบบเดิม และเราก็ไม่ใช่ลูกค้าแบบเดิมอีกต่อไป พวกเขาคือเจ้าที่ดิน (feudal lord) และเราต่างเป็นข้า ชาวนา และทาสติดที่ดิน (vassal, peasant and serf)

อำนาจนั้นได้เปลี่ยนมือไปในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ ในทิศทางที่เป็นประโยชน์กับผู้ให้บริการกลุ่มเมฆคอมพิวเตอร์ (cloud-service provider) และผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม (vendor platforms) การเปลี่ยนมือของอำนาจนี้ส่งผลกระทบหลายอย่าง และกระทบต่อความปลอดภัยอย่างมาก

ในยุคดั้งเดิม ความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ใช้เอง ผู้ใช้ซื้อโปรแกรมป้องกันไวรัสและติดตั้งระบบไฟร์วอลล์เอง และความผิดพลาดใดๆ ที่เกิดขึ้นถือว่ามาจากความไม่กระตือรือร้นของผู้ใช้ มันเป็นรูปแบบทางธุรกิจที่บ้าทีเดียว เพราะปกติแล้ว เราคาดหวังว่าผลิตภัณฑ์และบริการที่เราซื้อจะปลอดภัย แต่ในโลกไอทีเราอดทนกับผลิตภัณฑ์ที่น่ารังเกียจ และสนับสนุนตลาดความปลอดภัยหลังการขาย (aftermarket) ที่ใหญ่มาก

ตอนนี้อุตสาหกรรมไอทีมีวุฒิภาวะมากขึ้น เราคาดหวังความปลอดภัย “ตั้งแต่แกะกล่อง” กันมากขึ้น มันเป็นไปได้เพราะแนวโน้มเทคโนโลยีสองอย่าง คือ การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (cloud computing) และ แพลตฟอร์มที่ผู้ผลิตเป็นผู้ควบคุมเอง (vendor-controlled platforms) อย่างแรกหมายความว่าข้อมูลทั้งหมดของเราถูกเก็บอยู่ในเครือข่ายอื่น เช่น กูเกิลด็อกส์ เซลส์ฟอร์ซ.คอม เฟซบุ๊ก จีเมล ส่วนอย่างหลังหมายถึงการที่อุปกรณ์อินเทอร์เน็ตของเราถูกควบคุมโดยผู้ผลิต เช่น ไอโฟนของแอปเปิล โครมบุ๊กส์ของกูเกิล เครื่องอ่านหนังสือคินเดิลของอเมซอนแอมะซอน โทรศัพท์แบล็คเบอร์รี ความสัมพันธ์ของเรากับเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไป เราเคยใช้คอมพิวเตอร์ “ทำ” สิ่งต่างๆ ทุกวันนี้เราใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ควบคุมโดยผู้ผลิต “ไป” ยังสถานที่ต่างๆ และสถานที่เหล่านี้ทั้งหมดเป็นของใครสักคน

รูปแบบความปลอดภัยใหม่คือ การที่ใครบางคนดูแลมันโดยไม่ได้บอกรายละเอียดอะไรแก่เราเลย เราไม่สามารถควบคุมความปลอดภัยของเราในการใช้จีเมลของตัวเอง หรือรูปภาพของเราเองในเว็บฟลิกเกอร์ (Flickr) เราขอความปลอดภัยที่มากขึ้นให้กับไฟล์นำเสนองานของเราบนเพรซซี (Prezi) หรือบันทึกกันลืมในเทรลโล (Trello) ไม่ได้ ไม่ว่ามันจะเป็นความลับมากแค่ไหนก็ตาม เราไม่สามารถตรวจสอบบริการคลาวด์เหล่านี้ได้เลย เราลบข้อมูลคุกกี้ (cookies) ในไอแพดของเราไม่ได้ หรือกระทั่งไม่แน่ใจว่าไฟล์ของเราถูกลบอย่างปลอดภัยแล้ว คินเดิลของเราอัปเดตอัตโนมัติโดยไม่เคยถามเรา เรารู้น้อยมากเกี่ยวกับความปลอดภัยของเฟซบุ๊ก เราไม่รู้เลยว่ามันใช้ระบบปฏิบัติการอะไร

มีเหตุผลมากมายที่อธิบายว่าทำไมเราจึงแห่กันมาใช้ระบบคลาวด์และแพลตฟอร์มที่ควบคุมโดยผู้ผลิต มันมีประโยชน์มหาศาล ตั้งแต่เรื่องต้นทุนไปจนถึงความสะดวกสบาย ไปจนถึงความไว้ใจได้ ไปจนถึงความมั่นคงปลอดภัยของมัน แต่นี่เป็นความสัมพันธ์แบบศักดินาโดยแท้ เรามอบสิทธิในการควบคุมข้อมูลของเราให้กับบริษัทต่างๆ และไว้ใจว่าพวกเขาจะดูแลเราเป็นอย่างดี ปกป้องเราจากอันตรายต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าเรายังสัญญาด้วยว่าจะจงรักภักดีต่อพวกเขา ปล่อยให้พวกเขาควบคุมอีเมล ปฏิทิน สมุดบันทึกที่อยู่ ภาพถ่าย และทุกสิ่งทุกอย่างของเรา เราก็จะยิ่งได้รับประโยชน์มากขึ้น เรากลายเป็นข้ารับใช้ และในวันที่แย่หน่อยก็คือทาสติดที่ดินของพวกเขา

มีเจ้าที่ดินอยู่มากมาย กูเกิลและแอปเปิลเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด แต่ไมโครซอฟท์ก็พยายามที่จะควบคุมทั้งข้อมูลผู้ใช้และทั้งแพลตฟอร์มด้วยเช่นกัน เฟซบุ๊กก็ถือเป็นเจ้าที่ดินอีกลักษณะหนึ่งซึ่งควบคุมกิจกรรมทางสังคมที่เราทำบนอินเทอร์เน็ต เจ้าที่ดินคนอื่นๆ มีขนาดเล็กกว่าและจำเพาะเจาะจงมากกว่า เช่น อเมซอน ยาฮู เวอริซอน แต่ก็มีลักษณะแบบเดียวกัน

แน่นอนว่าระบบความปลอดภัยแบบเจ้าที่ดินมีข้อดีของมัน บริษัทเหล่านี้มีระบบความปลอดภัยที่ดีกว่าผู้ใช้โดยทั่วไป มีระบบสำรองข้อมูลอัตโนมัติที่ช่วยรักษาข้อมูลจำนวนมาก หากฮาร์ดแวร์ใช้การไม่ได้จากความผิดพลาดโดยผู้ใช้หรือจากการจู่โจมของมัลแวร์ต่างๆ การอัปเดตแบบอัตโนมัติเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้น และเป็นความจริงที่ว่าสำหรับองค์กรขนาดเล็กแล้ว วิธีนี้มีความปลอดภัยมากกว่าการทำระบบเอง ส่วนองค์กรขนาดใหญ่ที่มีแผนกไอทีโดยเฉพาะ ข้อดีของระบบแบบนี้ก็ชัดเจนน้อยลง แน่นอนว่า แม้บริษัทใหญ่ต่างจ้างบริษัทภายนอก ให้ทำงานสำคัญอย่างเรื่องภาษีและบริการทำความสะอาด แต่พวกเขาก็มีความต้องการที่เฉพาะเจาะจงในเรื่องความปลอดภัย การเก็บรักษาข้อมูล การตรวจสอบความปลอดภัย ฯลฯ ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ สำหรับเจ้าที่ดินเกือบทั้งหมด

ระบบความปลอดภัยของเจ้าที่ดินก็มีความเสี่ยงของมันเอง ผู้ให้บริการทำความผิดพลาดซึ่งกระทบต่อคนหลายแสนคนได้ ผู้ให้บริการจำกัดความสัมพันธ์ระหว่างกันได้ ด้วยการทำให้ผู้ใช้บริการเอาข้อมูลของตัวเองออกมาได้ยากขึ้น หรือกระทั่งออกจากความสัมพันธ์ก็ตาม ผู้ให้บริการเป็นผู้กำหนดและต่อต้านผลประโยชน์ของพวกเรา เฟซบุ๊กทำแบบนี้อยู่บ่อยๆ ในการตั้งค่าพื้นฐานหรือค่าปริยาย (default) ของผู้ใช้ให้เข้ากับบริการรูปแบบใหม่ หรือปรับเปลี่ยนนโยบายด้านความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ มีผู้ให้บริการจำนวนมากมอบข้อมูลของเราให้กับรัฐบาลโดยที่ไม่แจ้งให้เราทราบ หรือไม่ได้รับความยินยอมจากเรา พวกเขาเกือบทั้งหมดแสวงหากำไรจากขายข้อมูลของเรา นี่ไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจ ในความเป็นจริงก็คือบริษัทต่างๆ ถูกคาดหวังให้กระทำเฉพาะสิ่งที่เป็นผลประโยชน์ของพวกเขาเอง ไม่ใช่ผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของผู้ใช้บริการ

ความสัมพันธ์แบบศักดินานี้ตั้งอยู่บนฐานของอำนาจ ช่วงยุคกลางของยุโรป ผู้คนสัญญาว่าจะจงรักภักดีต่อเจ้าที่ดินเพื่อแลกกับการคุ้มครอง การจัดการในลักษณะนี้เปลี่ยนแปลงเมื่อเจ้าที่ดินตระหนักว่าพวกเขามีอำนาจเต็มที่ และสามารถทำอะไรก็ได้ที่ตนเองต้องการ ทาสถูกขูดรีดข่มเหง ชาวนาถูกผูกติดกับที่ดินและกลายเป็นทาสติดที่ดินในที่สุด

สิ่งที่ทำให้เจ้าที่ดินอินเทอร์เน็ตทำกำไรได้ ก็คือความนิยมและความแพร่หลายของพวกเขา กฎหมายและความสัมพันธ์กับรัฐบาลทำให้พวกเขารักษาอำนาจได้ง่ายขึ้น เจ้าที่ดินอินเทอร์เน็ตต่างแข่งขันกันสร้างกำไรและอำนาจ โดยการที่พวกเราใช้เวลาและให้ข้อมูลส่วนตัวของเราแก่เว็บไซต์ของพวกเขา — ไม่ว่าจะผ่านการค้นหาข้อมูล การส่งอีเมล การอัปเดตสถานะ การกดไลก์ หรือพูดง่ายๆ ก็คือลักษณะทางพฤติกรรมของพวกเรา — เรากำลังมอบวัตถุดิบสำหรับการต่อสู้ดังกล่าว เมื่อพิจารณาเช่นนี้ เราจึงเหมือนกับทาสติดที่ดิน ซึ่งตรากตรำทำงานหนักบนผืนดินเพื่อเจ้าที่ดินของเรา ถ้าคุณไม่เชื่อ ให้ลองเอาข้อมูลของคุณเองติดตัวออกมาด้วยตอนที่คุณจะเลิกใช้เฟซบุ๊ก และเมื่อช้างสารอย่างเจ้าที่ดินชนกันหญ้าแพรกอย่างพวกเราก็แหลกราญอย่างช่วยไม่ได้

ดังนั้น เราจะมีชีวิตรอดได้อย่างไร นับวันเรายิ่งมีทางเลือกน้อยลงในการไว้เนื้อเชื่อใจใครสักคน สิ่งที่เราต้องตัดสินใจก็คือเราไว้ใจใครได้บ้าง //www.schneier.com/essay-412.html และใครที่เราไว้ใจไม่ได้ นี่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เจ้าที่ดินของเรามีวิธีการทำงานที่ไม่โปร่งใส ทั้งการกระทำ ความปลอดภัยของพวกเขา หรืออีกหลายสิ่งหลายอย่าง จงใช้อำนาจอะไรก็ตามที่คุณมี (ในฐานะปัจเจกชน คุณไม่มีอำนาจเลย ในฐานะองค์กรขนาดใหญ่ คุณมีมากขึ้น) ต่อรองกับเจ้าที่ดินของพวกคุณ และท้ายที่สุด อย่าสุดขอบมากนักในประเด็นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ใช่ ระบบของคุณอาจจะถูกปิดโดยไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆ แต่บ่อยครั้งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นกับคนที่อยู่ตรงขอบ ผมเห็นด้วยว่า มันอาจช่วยได้ไม่มากนัก แต่มันก็ดีกว่าไม่มีอะไรเลย

ในทางนโยบาย เราควรมีแผนการทำงานที่เป็นรูปธรรม โดยในระยะสั้น เราจำเป็นต้องรักษาความสามารถในการหลบเลี่ยง (circumvention) ซึ่งคือความสามารถในการปรับเปลี่ยนฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และไฟล์ข้อมูลของเราเอง ปกป้องให้เรื่องดังกล่าวยังเป็นเรื่องถูกกฎหมาย และรักษาความเป็นกลางของเครือข่าย (net neutrality) สองสิ่งนี้จะช่วยกำหนดขอบเขตว่าเจ้าที่ดินจะสามารถหาประโยชน์จากเราได้มากแค่ไหน และช่วยเพิ่มความเป็นไปได้ที่ตลาดจะบังคับให้พวกเขาเมตตาพวกเรามากขึ้น สิ่งที่พวกเราไม่ต้องการที่สุดก็คือ การที่รัฐบาล (ซึ่งก็คือพวกเรา) ใช้ทรัพยากรต่างๆ ทำให้วิธีทำธุรกิจแบบหนึ่งอยู่เหนือวิธีทำธุรกิจอีกแบบหนึ่ง โดยปราศจากการแข่งขัน

ในระยะยาว เราทั้งหมดต้องหาทางลดสภาวะไม่สมดุลทางอำนาจ ระบบเจ้าที่ดินในยุคกลางพัฒนาไปสู่ความสัมพันธ์ที่สมดุลมากขึ้น เจ้าที่ดินมีความรับผิดชอบควบคู่กับสิทธิที่ได้รับ ทุกวันนี้ระบบเจ้าที่ดินในอินเทอร์เน็ตเป็นแบบผลประโยชน์ฝ่ายเดียว เราไม่มีทางเลือกนอกจากเชื่อใจเจ้าที่ดินของเรา ทั้งที่เราได้รับหลักประกันกลับมาน้อยมาก เจ้าที่ดินมีสิทธิมากมาย แต่มีความรับผิดชอบอันน้อยนิด เราต้องการความสัมพันธ์ที่สมดุล และการแทรกแซงจากรัฐบาลเป็นวิธีเดียวที่จะช่วยเราได้ ในยุคกลางของยุโรป การเติบโตของรัฐแบบรวมศูนย์และหลักนิติรัฐ มอบเสถียรภาพที่ระบบศักดินาไม่มีให้ การเกิดขึ้นของมหากฎบัตร “แมคนาคาร์ตา” (The Magna Carta) //th.wikipedia.org/wiki/มหากฏบัตร นับเป็นครั้งแรกที่มีการบังคับให้รัฐบาลต้องมีความรับผิดชอบ และทำให้มนุษย์ได้ก้าวไปบนหนทางสู่รัฐบาลที่มาจากประชาชนและเพื่อประชาชน

เราต้องการกระบวนการคล้ายกันนี้เพื่อควบคุมเจ้าที่ดินของเรา และกลไกตลาดไม่น่าจะทำให้เกิดกระบวนการดังกล่าวได้ คำจำกัดความของอำนาจกำลังเปลี่ยนแปลง และประเด็นเหล่านี้ใหญ่เกินกว่าเพียงเรื่องอินเทอร์เน็ตและความสัมพันธ์ของเรากับผู้ให้บริการไอทีของเรา

ที่มา : //www.prachatai.com/journal/2013/07/47488




 

Create Date : 23 พฤศจิกายน 2556    
Last Update : 23 พฤศจิกายน 2556 15:46:17 น.
Counter : 1493 Pageviews.  

โครงสร้างความสัมพันธ์ของสังคมไทยใน “แรงเงา”

ณัฏฐพงษ์ สกุลเลี่ยว


กระแสที่มาแรงที่สุดบน face book ของมหาชนชาวสยามเวลานี้ คงจะหนีไม่พ้นรายการ “The Voice” และละครโทรทัศน์เรื่อง “แรงเงา” ซึ่งเรียกได้ว่าเมื่อรายการทั้งสองเล่นเมื่อไหร่ ข่าวสารเกี่ยวกับการบ้าน การเมืองแทบจะหายไปชั่วขณะ


ในกรณีละครเรื่อง “แรงเงา” นั้น ความ “แรง” ของมันได้ทำให้เกิดข้อถกเถียงและข้อวิจารณ์กันมากมายในหลายวงการ เริ่มตั้งแต่มูลนิธิหญิงก้าวไกลเรียกร้องให้กระทรวงวัฒนธรรมเลื่อนละครไปฉายหลังสี่ทุ่มเนื่องจากความรุนแรงของเนื้อหา[1] หรือจะเป็นเจ้าเก่าอย่างคุณหญิงระเบียบรัตน์ก็ออกมาตีโพยตีพายว่าละครดังกล่าวสร้างความเสื่อมเสียให้ “สถาบันเมียหลวง” [2] (ซึ่งก็ไม่รู้ว่าคืออะไร) ไม่เว้นแม้กระทั่งนักวิชาการมีชื่อหลายท่านก็ออกมาพูดถึงละครดังกล่าวอีกด้วย[3]


สำหรับผู้เขียนนั้นมิได้เป็นแฟนพันธุ์แท้ของละครเรื่องดังกล่าว แต่เนื่องจากบุคคลใกล้ชิดตกอยู่ในสภาพที่เรียกได้ว่า “ติดงอมแงม” ผู้เขียนจึงได้ติดตามละครเรื่องดังอยู่บ้างเป็นครั้งคราว กระนั้นก็ตาม จากการติดตามแบบห่างๆ อย่างห่วงๆ เช่นนี้กลับพบว่าละครเรื่องดังกล่าวมีความน่าสนใจมากกว่าประเด็นเรื่องการตบตีแย่งผัว แย่งเมีย แต่พบว่ามันสะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างความสัมพันธ์ของคนกลุ่มต่างๆ ในสังคมไทยได้ดีทีเดียว แม้ว่าจะไม่ชัดเจนและจงใจนักก็ตาม


อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเองไม่ใช้นักวิจารณ์มืออาชีพ สิ่งที่จะเขียนต่อไปนี้ จึงคล้ายกับการจับแพะชนแกะ พยายามลากเรื่องราวในเนื้อเรื่องให้เข้าสู่โครงเรื่องที่ผู้เขียนวางเอาไว้ ดังนั้น ท่านผู้อ่านจึงอย่าหวังที่จะหาความเป็นวิชาการ หรือบทวิจารณ์ที่เข้มข้นลึกซึ้งจากบทความของผู้เขียนฉบับนี้


ผู้เขียนเห็นว่า “แรงเงา” เป็นภาพสะท้อนความเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ระหว่าง “บ้าน” กับ “เมือง” ในช่วง 50 ปีหลังนี้เป็นอย่างดี โดยแสดงผ่านตัวละครต่างๆ ที่สัมพันธ์กันอย่างสับสนวุ่นวายภายในเนื้อเรื่อง ซึ่งผู้เขียนได้แบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ดังต่อไปนี้ หนึ่งคือ “พวกผู้ดีเก่า” สะท้อนผ่านตัวละครคือ “ผอ.เจนภพ” สองคือ “พวกผู้ดีใหม่” สะท้อนผ่านครอบครัวเมียหลวง “นพนภา” สามคือ ชนชั้นกลางในเมืองกรุง สะท้อนผ่านพระเอกของเรื่อง “วีกิจ” สี่คือ “ชนบทเก่า” ผ่านตัวละคร “มุตตา” และสุดท้ายคือ “ชนบทใหม่” ผ่านนางเอกสุดร้าย มากฤทธิ์อย่าง “มุนินทร์”


เจนภพ: ผู้ดีเก่าตกอับ

เจนภพ เป็นข้าราชการตัวเล็กๆ (ตามคำนิยามของนพนภาภรยาของเขา) ผู้อำนวยการกองพัสดุ สืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางเก่า ซึ่ง (น่าจะ) เคยเฟื่องฟูมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตราบถึงสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งถือว่าเป็นยุคสมัยที่กลุ่มขุนนางข้าราชการมีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมืองไทย


อย่างไรก็ตาม เมื่อเศรษฐกิจภาคเอกชนเฟื่องฟูขึ้นหลังนโยบายการพัฒนาตั้งแต่ทศวรรษ 2500 เป็นต้นมา ได้ทำให้การทำมาค้าขายเป็นภาคธุรกิจที่นำมาซึ่งความมั่งคั่งอย่างมหาศาล ขุนนางเก่ากลุ่มนี้ไม่สามารถปรับตัวได้ จนกระทั่งกลายเป็นกลุ่มคนที่เหลือแต่เกียรติ ไม่มีเงินทองพอที่จะประคับประคองตนเองให้ดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างสมฐานะ ดังที่เจนภพพูด (กึ่งหลอก) กับมุตตาไว้ว่า “เรื่องของผมมันน่าอาย มันยิ่งกว่าละครน้ำเน่าเสียอีก บ้านผมเป็นตระกูลขุนนางเก่า มีแต่เกียรติไม่มีเงิน ยิ่งคุณพ่อผมอยากทำธุรกิจ แต่ไม่มีประสบการณ์ ลงท้ายเป็นหนี้สินกว่าสิบล้าน”ทางออกหนึ่งของคนกลุ่มนี้จึงอยู่ที่การสร้างความสัมพันธ์เชิงเครือญาติกับพวกผู้ดีหรือเศรษฐีใหม่อย่างครอบครัวของนพนภา จนกระทั่งมีสถานะเป็น “..ปูกล้ามโพลก มีแต่เปลือก เกาะเมียกินเป็นแมงดาอยู่ทุกวัน” (นพนภา)


นพนภา: เศรษฐีใหม่ผู้ฝักใฝ่ในเกียรติยศ

ครอบครัวของนพนภาเป็นตัวแทนของกลุ่มคนที่ได้ผลประโยชน์จากนโยบายพัฒนา เติบโตมาจากการค้าและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (เล็กๆ น้อยๆ ตามคำของนพนภา) คนกลุ่มนี้แม้จะสะสมความมั่งคั่งร่ำรวยขึ้นมาได้ แต่ในจิตใจลึกๆ แล้วกลับยังรู้สึกว่าตนเองเป็นพวกไร้ราก ไร้เกียรติยศ จึงต้องสร้างความสัมพันธ์กับพวกตระกูลขุนนางเก่าอย่างเจนภพ เนื่องจากว่า “บ้านของเขามีเงินล้นฟ้า แต่ไม่มีเกียรติไงครับ” (เจนภพ) ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะดิ้นให้หลุดออกจากภาพพ่อค้าหน้าเลือด ผู้ที่พร้อมจะกดขี่ขูดรีดคนอื่นอย่างๆ ไร้มนุษยธรรมเพียงเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ดังที่เนตรนภิศกล่าวถึงพฤติกรรมของพี่สาวของตนเองไว้ว่า “ก็วิธีตอบแทนใครๆ ของพี่สาวชั้นไง เอาเงินฟาดหัวมันเข้า มันจะได้คลานมามอบแล้วกระดิกหางทุกครั้งเวลาเรียกใช้”

นอกจากนั้น การสร้างสายสัมพันธ์เชิงเครือญาติกับพวกตระกูลข้าราชการ ยังเป็นวัฒนธรรมสำคัญของนายทุนไทยในช่วงเวลาหนึ่ง โดยเฉพาะในยุคของเผด็จการทหารจอมพลสฤษดิ์จนถึงจอมพลถนอมนั้น การมีเส้นสาย มี connection กับข้าราชการย่อมนำมาซึ่งสัมปทานและสิทธิพิเศษต่างๆ อย่างมากมาย ซึ่งย่อมเป็นผลประโยชน์กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของนพนภาอย่างปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งพันธมิตรระหว่างเจนภพ (ขุนนางข้าราชการ) กับนพนภา (นักธุรกิจนายทุน) นั้น พร้อมที่จะกดขี่บีฑาชนบท/ชาวบ้านอย่างมุตตาให้จมดิน จนกระทั่ง “มุตตาสูญเสียจนไม่เหลืออะไรเลย จากฝีมือมนุษย์ที่มีหัวใจเป็นสัตว์” (มุนินทร์)


วีกิจ: ชนชั้นกลางเมืองกรุงผู้หมดจด งดงาม

วีกิจเป็นตัวแทนชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ที่เติบโตมาจากนโยบายการพัฒนาเช่นเดียวกัน เขาถูกเลี้ยงดูมาแบบครอบครัวเดี่ยวในเมืองโดยแท้ ดังที่เขาได้เล่าให้มุตตาฟังว่า “พ่อผมตายตั้งแต่ผม10 ขวบเอง แม่เลี้ยงผมมาตัวคนเดียว แม่ผมน่ะเป็นซูเปอร์มัมตัวจริงฮะ” เขาสมาทานศีลธรรมแบบชนชั้นกลางอย่างเต็มที่ เลือกที่จะเป็นข้าราชการตัวเล็กๆ เจียมเนื้อเจียมตัว กินอยู่อย่างพอเพียง ไม่ทำตัวโอ้อวดใหญ่โต แม้ว่าจะมีอาเป็นถึงผู้อำนวยการของหน่วยงานที่ตนทำงานอยู่ และเขาก็ไม่เคยคิดจะใช้บารมีของอาเพื่อส่งเสริมตนเองเลย ดังที่เขาได้กล่าวตอนที่นพนภาสร้างภาพออกสื่อไว้ว่า “พรุ่งนี้มีรายการสร้างภาพอีกแล้วซิฮะ...ให้อาภพกับอานภาเป็นพระเอกนางเอกไปเถอะฮะ ผมไปด้วยเดี๋ยวแย่งซีนเปล่าๆ”


บทละครเรื่อง “แรงเงา” มอบบทบาทสำคัญให้กับวีกิจ (กลุ่มชนชั้นกลาง) เขาเป็นคนที่คอยให้ความช่วยเหลือดูแลมุตตา สาวชนบทที่ต้องมาเผชิญกับชาวเมืองผู้โหดร้าย นอกจากนั้นเขายังเป็นตัวกลางที่ต้องคอยไกล่เกลี่ย สร้างความเข้าใจ สร้างความสมาฉันท์ให้กับความแตกแยกของเจนภพ (ขุนนางเก่า) นพนภา (พ่อค้านายทุน) มุนินทร์ (สาวชนบทสมัยใหม่) และมุตตา (สาวชนบทแบบเก่า) อีกด้วย

ในเนื้อเรื่องนั้น วีกิจเพียงแค่แอบเมตตา สงสาร เอ็นดู และคอยช่วยเหลือมุตตา (ชนบทแบบเก่า) จากการถูกรังแกจากรัฐและทุน (ผอ.เจนภพและภรรยา) แต่เขากลับ “หลงรัก” มุนินทร์ สาวชนบทใหม่ผู้มาดมั่น มีความรู้ เปี่ยมด้วยพลังอย่างสุดหัวใจ ดังที่ตัวเขาได้สารภาพกับมุนินทร์ไว้ว่า “เมื่อปีก่อน ผมเคยขอคบคุณเป็นแฟนแต่คุณปฏิเสธ รู้ไหมฮะวันนั้นผมไม่เจ็บเท่าไหร่ ผมถึงบอกตัวเองว่าผมคงไม่ได้รักคุณ แต่ช่วงหลังนี้ทุกอย่างมันเปลี่ยนไป คราวนี้มันกลับเจ็บ เจ็บอย่างที่ผมไม่เคยคิดว่ามันจะเจ็บได้ถึงขนาดนี้”


มุตตา: ชนบทแบบเก่า ถูกเหยียบย่ำ รังแก และไร้พิษสง

มุตตาเปรียบได้กับชาวชนบทรุ่นแรกที่ต้องอพยพเข้าสู่เมืองภายหลังนโยบายการพัฒนาของจอมพลสฤษดิ์ เธอเป็นชาวชนบทที่ไร้พิษสง “ไม่ใช่คนเข้มแข็ง..เปราะบางเกินไปด้วยซ้ำ” (วีกิจ) แต่ทว่าในอีกด้านหนึ่งก็ “ดูบริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนน้ำค้างกลางหาว” (สรรค์ เพื่อสนิทของเจนภพ) ซึ่งความบริสุทธิ์ ไร้เดียงสาของเธอ ทำให้เธอต้องหลงติดกับอยู่ในวังวนคำหวานของเจนภพ ที่พร่ำพรรณนาบอกกับเธอว่า “ผมรักตา ตาคือทุกสิ่งทุกอย่าง คือชีวิต คือลมหายใจของผม” จนกระทั่งเธอต้องสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างไป


ประโยคเด็ดประโยคนี้ เปรียบดั่งโฆษณาชวนเชื่อที่รัฐบาลเผด็จการทหารในสมัยพัฒนา ที่พร่ำบอกกับประชาชนอยู่เสมอว่า “งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข” ซึ่งเมื่อชาวชนบทหลงเชื่อ ก็ต้องเผชิญกับความฉิบหายวายวอด และสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่าง อย่างไม่มีทางที่จะหวนกลับ


มุตตาจึงเป็นดังตัวแทนของชาวชนบทจำนวนมากที่ถูกปู้ยี่ปู้ยำจากรัฐและทุน จนสูญเสียทั้งเรือนร่าง ความบริสุทธิ์ ครอบครัว เครือญาติ จนกระทั่งวิญญาณ


มุนินทร์: ชนบทใหม่ผู้ไม่ศิโรราบ

แม้ว่านโยบายการพัฒนาจะได้ “ฆ่า” ชาวชนบทแบบเก่าอย่างมุตตาไปจากโลก แต่ในทางตรงกันข้าม นโยบายดังกล่าวก็ได้สร้างชาวชนบทแบบใหม่อย่างมุนินทร์ขึ้นมาด้วย เธอปรากฏตัวในละครฉากแรกในฉากสุดท้ายของมุตตา ดังนั้น ด้านหนึ่งของความตายของมุตตาก็คือการเกิดขึ้นมาของมุนินทร์

มุนินทร์เป็นสาวชนบทสมัยใหม่ผู้มาดมั่น เปี่ยมด้วยความรู้ เธอเรียนหนังสือและทำงานอย่างหนักหน่วงเพื่อเลื่อนชนชั้น จนรายได้ (นอกภาคการเกษตร) ที่เธอหามาสามารถเปลี่ยนฐานะของครอบครัวจากร้านขายกาแฟโบราณเล็กๆ จนกลายเป็นเจ้าของไร่ดอกไม้ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งจากประสบการณ์การสร้างเนื้อตัวด้วยลำแข้งดังกล่าว ทำให้เธอไม่ใช่ชาวชนบทที่ยอมก้มหัวศิโรราบให้แก่รัฐและทุนอีกต่อไป ดังที่เธอได้ประกาศกร้าวไว้ว่า “มุตตาคนเดิมไม่กลับมาแล้ว” แต่กระนั้นมุตตาก็ “จะไม่ตาย จะอยู่ค้ำฟ้าไปจนกว่าเขาทั้งสองคนจะพินาศไปก่อน”

เธอกลับมาเรียกร้องความยุติธรรม ในลักษณะตาต่อตาฟันต่อฟัน ซึ่งมาดใหม่ของเธอนั้นได้สร้างความหวาดหวั่นให้กับทั้งมิตรและศัตรู วิธีการ “เอาคืน” ของเธอทำให้วีกิจและกลุ่มชนชั้นกลางในเมืองอยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ซึ่งมุนินทร์ได้อธิบายการกระทำของเธอเอาไว้ว่า “ฉันทำอย่างนั้นเพราะว่าฉันเป็นคน หรือคุณคิดว่าพวกคุณเท่านั้นที่เป็นคน แต่คนอื่น เป็นแค่สัตว์เดียรัจฉาน” ซึ่งสาวชนบทใหม่อย่างเธอนั้น ตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ดังที่เธอเองได้อธิบายไว้ในอีกตอนหนึ่งว่า “ตาเลือกแบบนั้น มนุษย์มีสิทธิ์ที่จะเลือก มันอาจไม่ถูกต้อง แต่ตาเลือกไปแล้ว ในขณะที่ฉันเลือกที่จะให้ตายังอยู่ และกลับไปเรียกหาความยุติธรรม”


บทส่งท้าย

ละครเรื่องนี้มอบบทบาทสำคัญให้กับหนุ่มชนชั้นกลางอย่างวีกิจ ในการเป็นโซ่ข้อกลาง เรียกสติสตางค์ และสร้างความเข้าใจระหว่างคนกลุ่มต่างๆ จนนำมาสู่การอโหสิกรรมเลิกแล้วต่อกัน (สมานฉันท์??) ในที่สุด


แต่หากพิจารณาในบริบททางการเมืองไทยปัจจุบันแล้ว กลุ่มคนที่ไร้สติรองจากพวกขุนนางมากที่สุดก็ดูเหมือนจะเป็นพวกชนชั้นกลางในเมืองกรุงอย่างวีกิจ พวกเขารังเกียจชาวชนบทใหม่อย่างมุนินทร์ ที่เข้ามาเรียกร้องหาความยุติธรรมในกรุงเทพฯ และพร้อมที่จะใช้ยาขนานใดก็ได้เพื่อกวาดล้างเชื้อโรคเหล่านั้นออกไปให้สิ้นซาก ด้วยทัศนคติเช่นนี้ จึงเป็นไปได้ยากยิ่งที่เราจะพบจุดจบแบบสมานฉันท์อย่างที่ละครเรื่องนี้ได้วาดภาพเอาไว้ ซึ่งลึกๆ แล้ว “มุนินทร์” ก็ตระหนักถึงจิตใจของ “วีกิจ” เป็นอย่างดี เพราะเธอได้รำพันถึงมุตตาไว้ว่า “เขารักเธอ ไม่ได้รักฉัน” เพราะว่าในสายตาของชนชั้นกลางนั้น ชนบทที่น่ารัก บริสุทธิ์ ไร้เดียงสา น่าคบหากว่ากันเยอะ


หมายเหตุ: คำพูดของตัวละครต่างๆ อ้างอิงจาก นิตยสารภาพยนตร์ ฉบับละคร, ปีที่ 9 ฉบับที่ 755. ซึ่งทำให้อาจจะไม่ตรงกับที่ปรากฏในละครทีวีมากนัก

[1] ข่าวจากsanook.com

[2] //www.thairath.co.th/content/life/301335

[3] อาทิเช่น ยุติ มุกดาวิจิตร, “ทำไมพระเองมันโง่จัง” ใน //blogazine.in.th/blogs/yukti-mukdawijitra/post/3707 และ ธเนศร์ เจริญเมือง, “แรงเงา-แรงซ้ำรอยเดิมๆ” ใน//www.prachatai.com/journal/2012/10/43357


ที่มา : Facebookของผู้เขียน และ ประชาไท




 

Create Date : 02 พฤศจิกายน 2555    
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2555 15:15:35 น.
Counter : 1747 Pageviews.  

ดราม่าอัมพวาของคนกรุง

ดราม่าอัมพวาของคนกรุง : ว่ายทวนอารมณ์ โดยใบตองแห้ง baitongpost@yahoo.com


2-3 วันก่อนมีข่าว “นักอนุรักษ์” ต้านรื้อห้องแถวไม้โบราณที่อัมพวา ซึ่งนักธุรกิจไฮโซจะสร้างโรงแรมมูลค่า 500 ล้านเป็นที่พักนักท่องเที่ยว


 เรื่องนี้ชาวเน็ตถกเถียงกันมาก่อน กระทั่งเว็บ “ดราม่าเอยจงซับซ้อนยิ่งขึ้น” เอาไปถ่ายทอดเป็นที่สนุกสนาน


“นักอนุรักษ์” พากันคร่ำครวญว่า วิถีทุนนิยม (สามานย์) จะเข้าไปทำลายวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนอัมพวาที่อยู่ริมน้ำ เหมือนที่ความเจริญเข้าไปทำลายเกาะสมุย หรือเมืองปาย จนสูญเสียธรรมชาติ เปลี่ยนจิตใจคนให้เป็นธุรกิจ มุ่งแต่แสวงหากำไร


ฟังแล้วซึ้งจัง ถ้าไม่มีคนอัมพวาเองโต้ว่า วิถีที่คนกรุงเห็นอยู่นี่ไม่ใช่ของดั้งเดิม แต่เดิมอัมพวาเป็นแค่ตลาดขายเครื่องมือการเกษตร ตลาดน้ำมีตามวันจันทรคติ ไม่ได้มีกาแฟโบราณ ห่อหมกโบราณ ผัดไทยโบราณ สารพัดโบราณ ขายกันทุกเสาร์อาทิตย์เหมือนตอนนี้ ความจริงก็คือวิถีดั้งเดิมของอัมพวาหมดไปนับสิบปีแล้ว ตั้งแต่คนกรุงเห่อแห่ไปเที่ยวนั่นแหละ ชาวบ้านบางคนรำคาญ ค่ำมืดดึกดื่นเที่ยวล่องเรือดูหิ่งห้อยกันอยู่ได้ เขาก็ตัดต้นลำพูทิ้ง


จริตคนกรุงทำให้อัมพวาเปลี่ยนไป แล้วตอนนี้คนกรุงก็อยากสตัฟฟ์อัมพวาไว้ ให้เป็น “วิถีชีวิตดั้งเดิม” ในจินตภาพของตัว


ที่พูดนี่ไม่ใช่ผมสนับสนุนให้รื้อห้องแถวสร้างโรงแรมให้หมด จริงๆ แล้วควรเป็นเรื่องที่ชุมชนเขาตกลงกัน ว่าทำอย่างนั้นแล้วจะเรียกนักท่องเที่ยวมากขึ้นหรือทำให้คนไปเที่ยวน้อยลง ถ้าเห็นว่าเรียกนักท่องเที่ยวมากขึ้น ก็ช่างเขาเถอะ (อย่างน้อยห้องแถวไม้โบราณ 100 ปีที่เห็นในภาพมันก็จะพังมิพังแหล่)


แต่ประเด็นน่าถกคือทัศนคติของคนกรุง คนชั้นกลาง ที่โหยหา “วิถีชีวิตดั้งเดิม” “ธรรมชาติ” ในแบบอยากให้คนชนบทเขารักษาวิถีชีวิต “พอเพียง” เพื่อหลังจากตัวเองใช้ชีวิตอยู่กับ “วิถีทุนสามานย์” มาทั้งสัปดาห์ แล้ววันเสาร์อาทิตย์หรือวันหยุดยาว จะได้ขับโฟร์วีลส์ไดรฟ์ออกไปมองไร่นาเขียวขจีผ่านกระจกรถ เห็นชาวนาไถนาอยู่กับควาย แล้วร้องว่า อ้า! ช่างเป็นวิถีชีวิตที่สุขสงบเสียนี่กระไร


โทษที เดี๋ยวนี้ไม่มีควายแล้วมีแต่คูโบต้า กู้ ธ.ก.ส.กู้กองทุนหมู่บ้าน หรือเอาบัตรเครดิตชาวนาไปรูดปื้ด


อ้าว ก็ด่าอีกว่าสนับสนุนให้ก่อหนี้เพิ่ม ไม่รู้จักใช้ชีวิตอย่างพอเพียง


ตลาดร้อยปี ตลาดพันปี ผุดเป็นดอกเห็ดรอบกรุงเทพฯ สนองจริตคนกรุง ของเก่าที่เอาไปขาย ก็สั่งจากสำเพ็งนี่เอง มองอีกมุมหนึ่งไม่รู้ใครฉลาดกว่าใคร ชนบทในสายตาคนกรุงไม่ใช่ชนบทที่เป็นจริง เพราะทุนนิยมเข้าถึงหมดแล้ว แต่คนชั้นกลางที่ทำงานบริษัท รายได้ตั้งแต่หลายหมื่นไปถึงหลายแสน ยังอยากให้คนชนบทพอเพียงอยู่กับการปลูกผักปลูกหญ้า กินผักกินหญ้า ไม่ควรซื้อมือถือ มอเตอร์ไซค์ หรือรถปิกอัพ


คนกรุงอ่านข่าวลูกหลานชาวนาไม่อยากทำนา แล้วก็คร่ำครวญ อาชีพชาวนาจะสูญพันธุ์ ถามตัวเองบ้างสิ อยากให้ลูกทำนาบ้างหรือเปล่า


ผมไม่ได้ต่อต้าน “พอเพียง” แต่ไม่ใช่คนกรุงที่มีเกินพอแล้วไปเรียกร้องให้คนจนพอเพียง อันที่จริงแม้แต่ “วิถีชาวบ้าน” ปัจจุบันก็กลายเป็นเครื่องมือการตลาด สินค้าโอท็อป สมุนไพรไทย เกษตรอินทรีย์ วางขายเต็มห้างไปหมด


ที่พูดเรื่องนี้เพราะความขัดแย้งเรื่องวิถีพัฒนาประเทศ ทัศนคติของคนกรุงต่อคนชนบท เป็นประเด็นสำคัญในวิกฤติสังคมไทย โดยยังหาข้อสรุปไม่ได้


ไม่เอา “ทุนสามานย์” แล้วไง แล้วจะไปทางไหนต่อ ก็ไม่มีความชัดเจน ในอนาคตเราจะมีรถไฟความเร็วสูง เป็นเส้นทางขนส่งระหว่างทวาย-ดานัง คุนหมิง-สิงคโปร์ โดยภูมิประเทศที่เอื้อ ประเทศไทยจะกลายเป็นศูนย์กลางระบบโลจิสติกส์ในภูมิภาค ชาวนาจะยังอยากให้ลูกหลานทำนาอยู่หรือ


คนกรุงอยากให้คนชนบทรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิม ทั้งที่คนชนบทอาจบอกว่า เฮ้ย อยากเป็นทุนนิยม จะได้ลืมตาอ้าปากบ้าง ไม่ได้อยากมีวิถีชีวิตสุขสงบ แต่อยากรวย ผิดด้วยหรือ


ละครหลังข่าวเรื่องหนึ่งที่เพิ่งจบไป เอาพระเอกหล่อเฟี้ยว นางเอกสวยใสไปทำไร่ พร้อมกับคำพูดยัดเยียดให้ถูกจริตคนกรุง เช่นมีคนมาหลอกล่อคนงานไปทำงานเมืองนอกเงินเดือนหมื่นห้า พระเอกก็มีคำพูดซึ้งๆ ว่า “อย่าคิดว่าเงินจะซื้ออะไรได้ทุกอย่าง เพราะถ้าวันไหนที่ชาวไร่ชาวนาอย่างพวกเราไม่อยากขายข้าวให้คุณขึ้นมา คุณจะรู้ว่า ต่อให้คุณเอาเงินหมื่นยัดปากตัวเอง มันก็ไม่อิ่ม”


“ไม่มีใครตายเพราะกินอยู่อย่างพอเพียง แต่มีเศรษฐีบ้าอำนาจที่คิดแต่จะสร้างกำไรเท่านั้นล่ะที่ตายเพราะเส้นเลือดในสมองแตกไม่เว้นแต่ละวัน” 


ทั้งที่แค่บอกคนงานว่าเงินเดือนหมื่นห้าต้องหักค่าหัวคิว ต้องเสียค่าใช้จ่าย มีค่าครองชีพสูง แค่นั้นก็พอแล้ว เพราะถ้าเงินเดือนสามหมื่นไม่หักหัวคิว คนงานไปแน่ ไม่มีใครซึ้งเป็นชาวนาอยู่หรอก 

แต่เชื่อสิ ละครเรื่องนี้ต้องได้รางวัล


ที่มา : คมชัดลึก


ข่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้หลังดราม่า




 

Create Date : 27 กันยายน 2555    
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2555 15:17:22 น.
Counter : 668 Pageviews.  

ไม่ apply หลักการสากลกับสถาบันกษัตริย์ ‘การเมืองที่มีจริยธรรม’ เป็นไปไม่ได้

สุรพศ ทวีศักดิ์


เป็นเรื่องบังเอิญที่ประจวบเหมาะเหลือเกิน เมื่อผลวิจัยของสถาบันพระปกเกล้าเรื่อง "การสร้างความปรองดองแห่งชาติ" กับการแถลงข่าวของศาสตราจารย์ธีรยุทธ บุญมี ระบุตรงกันว่า “ทักษิณคือตัวปัญหา”


ดังผลวิจัยสถาบันพระปกเกล้าที่ว่า “...ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากมุมมองต่อระบอบประชาธิปไตยที่ไม่ตรงกัน โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นแกนกลางของความขัดแย้ง” (ดูมติชนออนไลน์ 16 มี.ค.55)


ดังธีรยุทธสรุปว่า “...เท่ากับประเทศเราแตกแยก ด่าทอกันเอง ใช้ความรุนแรงต่อกันเพียงเพื่อแก้ปัญหาการซุกหุ้น หนีภาษี ความไม่รู้จักอิ่มในทรัพย์สิน อำนาจของทักษิณเท่านั้น” (ดูมติชนออนไลน์ 18 มี.ค.55)


แต่ทั้งผลวิจัยสถาบันพระปกเกล้าและธีรยุทธต่างไม่ได้ระบุถึง “ความผิด” ของอำนาจนอกระบบหรืออำมาตย์ในการทำรัฐประหาร 19 กันยา 49 นอกจากจะไม่พูดถึงความผิดแล้ว ผู้วิจัยยังเสนอว่า “ไม่ควรรื้อฟื้นเอาผิดกับการรัฐประหารที่ผ่านมาในอดีต”


ผลวิจัยยังระบุอีกว่า “...มีกลุ่มคน 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายหนึ่งให้ความสำคัญกับเรื่องเสียงข้างมากในสภาฯ อีกฝ่ายเห็นว่าประชาธิปไตยต้องมาพร้อมกับคุณธรรมและจริยธรรม เพราะเห็นว่าเสียงข้างมากไม่ได้ถูกต้องเสมอไป…” และว่า“...สังคมมีปัญหาความขัดแย้งสูง และพบว่า สังคมมีความขัดแย้ง ไม่ใช่เรื่องอุดมการณ์...”


ขณะที่ธีรยุทธแถลงตอนหนึ่งคล้ายกันว่า “อย่างไรก็ตาม พลังรากหญ้า เสื้อแดงมีลักษณะเฉพาะ การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และการชุมนุมเป็นคราวๆ ยังไม่เป็นขบวนการการเมือง ไม่มีเป้าหมายอุดมการณ์ที่ต้องการเปลี่ยนโครงสร้างการเมืองแต่อย่างใด” และพูดเชิงอุปมาอุปมัยว่า “เกิดการเมืองแบบ 2 ขั้วอำนาจ เมืองไทยยุค 2 ก๊ก ก๊ก “คนเลว” โจโฉ จะชนะก๊ก “คนดี” เล่าปี่-ขงเบ้ง”


ซึ่งเราอาจเห็นภาพ “การเมืองคนเลว-คนดี” จากคำอธิบายเชิงสังคมวิทยาของธีรยุทธที่ว่า “ความต่างในค่านิยม ความคิดพื้นฐานระหว่างรากหญ้ากับชนชั้นนำ ตอกย้ำความไม่เข้าใจกันเพิ่มมากขึ้น ชาวบ้านอยู่กับความยากจนมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย จึงชอบวัตถุจับต้องได้อย่างเห็นชัดๆ ชอบความไวทันใจแบบปาฏิหาริย์...ชนชั้นสูงชั้นกลางเน้นการพึ่งตนเองและระบบ เน้นวัตถุเหมือนชาวบ้านเช่นกันแต่พยายามมีคำอธิบาย พวกเขาเน้นนามธรรม และชอบเทศนาคุณธรรม ความดี จึงเป็นที่มาของความต่างระหว่างประชาธิปไตยกินได้ของชาวบ้านกับประชาธิปไตยดูได้ของชนชั้นสูง”


“ประชาธิปไตยดูได้” ที่ธีรยุทธพูดถึงก็คือ “ประชาธิปไตยต้องมาพร้อมกับคุณธรรมและจริยธรรม” ตามผลวิจัยระบุนั่นเอง และ “ประชาธิปไตยกินได้” ของชาวบ้านจริงๆ แล้วก็คือ “ประชาธิปไตยที่ยอมรับเสียงข้างมาก” นั่นเอง เพราะการออกมาต่อสู้ของชาวบ้านก็คือการออกมาปฏิเสธรัฐประหาร ปฏิเสธอภิสิทธิ์ของเสียงส่วนน้อย และระบบอำมาตย์ พูดอีกอย่างว่า การต่อสู้ของชาวบ้านก็เพื่อยืนยันว่า เสียงข้างมากของพวกเขาต้องมีความหมาย ซึ่งที่จริงก็คือการยืนยันความเสมอภาคของ “1 คน = 1 เสียง” นั่นแหละ อย่างนี้จะเรียกว่าการต่อสู้ของชาวบ้านมีอุดมการณ์หรือไม่?

(ผมขอแทรกตรงนี้นิดหนึ่ง เวลาที่นักวิชาการวิจารณ์ทักษิณและเสื้อแดงรากหญ้าทำนองว่า “ไม่มีเป้าหมายอุดมการณ์ที่ต้องการเปลี่ยนโครงสร้างการเมืองแต่อย่างใด” มันเหมือนกับเขากำลังชี้หน้าด่า “พวกสู้ไป กราบไป” ว่า “ไม่มีอุดมการณ์...” โดยที่คนวิจารณ์นั้นไม่ได้แตะอำนาจนอกระบบและฝ่ายที่สนับสนุนอำนาจนอกระบบให้รักษา “โครงสร้างที่ไม่เป็นประชาธิปไตย” ให้คงอยู่ต่อไป ตกลงนักวิชาการที่กำลังวิจารณ์อะไรแบบนี้เขาคิดว่า ตนเองกำลังทำหน้าที่บนจุดยืนหรืออุดมการณ์อะไรกันแน่?)


แต่ประเด็นสำคัญ หรือประเด็นปัญหาในเชิง “หลักการ อุดมการณ์” ที่ธีรยุทธและงานวิจัยสถาบันพระปกเกล้าไม่ได้ตั้งคำถามคือ “ประชาธิปไตยดูได้” หรือ “ประชาธิปไตยต้องมาพร้อมกับคุณธรรมและจริยธรรม” ที่ชนชั้นกลางและชนชั้นสูงเรียกร้องต้องการนั้นคืออะไร และมันใช่หรือไม่ว่าประชาธิปไตยในความหมายดังกล่าวจะเป็น “ประชาธิปไตยที่ดูได้” และ “มาพร้อมกับคุณธรรมและจริยธรรม” ได้จริง


เมื่อดูจากข้อเท็จจริงในบริบทความขัดแย้งที่เป็นมาและเป็นอยู่ จะเห็นว่า ฝ่ายที่ยืนยัน“ประชาธิปไตยดูได้” หรือ “ประชาธิปไตยต้องมาพร้อมกับคุณธรรมและจริยธรรม” คือฝ่ายตรงข้ามกับเสื้อแดง ได้แก่อำมาตย์ กองทัพ พันธมิตร ประชาธิปัตย์ และประชาธิปไตยในความหมายดังกล่าวของพวกเขาก็คือ “ประชาธิปไตยที่ไม่ apply หลักการสากลกับสถาบันกษัตริย์” นั่นเอง

ได้แก่ ประชาธิปไตยที่ไม่ apply หลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบสถาบันกษัตริย์ใน “มาตรฐานเดียวกัน” กับบุคคลสาธารณะอื่นๆ


ถามว่า ประชาธิปไตยที่ไม่ apply หลักการสากลกับสถาบันกษัตริย์จะเป็นประชาธิปไตยที่มาพร้อมกับคุณธรรมและจริยธรรมได้หรือไม่? ตอบว่า “ไม่ได้แน่นอน” คือมันไม่ได้ทั้งคุณธรรมและจริยธรรมทางศาสนา และคุณธรรมจริยธรรมทางสังคม-การเมือง


ประเด็นแรก จริยธรรมทางศาสนา เรามักจะบอกว่าสังคมไทยเป็น “สังคมพุทธ” ใช่ไหม และรัฐธรรมนูญมาตรา 9 ก็บัญญัติว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ” แต่ในจารีตพุทธศาสนานั้นพระพุทธเจ้าถูกด่าได้ วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบได้ เมื่อไม่ apply หลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบสถาบันกษัตริย์ ก็เท่ากับว่าชาวพุทธไทยไม่ได้ยึดถือแบบอย่างของพระพุทธเจ้า และดูเหมือนจะยกสถานะของสถาบันกษัตริย์ให้เหนือกว่าสถานะของพระพุทธเจ้าหรือไม่?


ยิ่งกว่านั้น หลักธรรมสำคัญของพุทธศาสนาคือ หลักกาลามสูตร และอริยสัจสี่ จะไม่สามารถ apply กับเรื่องสำคัญของของสถาบันกษัตริย์ได้เลย เช่น หลักกาลามสูตรนั้นถือว่า “เราจะยอมรับว่าอะไรจริง ก็ต่อเมื่อเราพิสูจน์ได้ว่ามันจริง” แต่ถามว่า เรายอมรับความเป็นจริงของทศพิธราชธรรม (เป็นต้น) ได้อย่างไร ถ้าเราไม่สามารถพิสูจน์โดยการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบได้


และตามหลักอริยสัจสี่นั้น การรู้ความจริงของปัญหาและสาเหตุของปัญหาคือ “เงื่อนไขที่ขาดไม่ได้” ของการแก้ปัญหาทุกเรื่อง แต่เมื่อไม่ให้วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบเราจะรู้ความจริงของปัญหาและสาเหตุของปัญหาที่มีการอ้างอิงสถานะอำนาจของสถาบันกษัตริย์ในทางการเมือง เช่น ในเหตุการณ์ 6 ตุลา, 19 กันยา, พฤษภา 53 เป็นต้นได้อย่างไร


ประเด็นที่สอง จริยธรรมทางสังคม-การเมืองในระบอบประชาธิปไตย คือ หลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคย่อมไม่สามารถจะมีได้ภายใต้ “ระบบการเมืองที่ไม่ apply หลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบสถาบันกษัตริย์” เพราะว่าหลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคคือ “หลักจริยธรรมสากล” หมายถึงหลักจริยธรรมที่ต้อง applyกับทุกคนอย่างเท่าเทียม


เมื่อเราใช้หลักการนี้ในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบนักการเมือง และบุคคลสาธารณะอื่นๆ แต่ไม่ apply ในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบสถาบันกษัตริย์ ก็หมายความว่า เราปฏิบัติผิดหลักจริยธรรมสากล เพราะเท่ากับ “เรากำลังทำของที่เป็นสากลให้เป็นของไม่สากล”


ผลที่ตามมาจากการปฏิบัติผิดหลักจริยธรรมสากลดังกล่าว ก็คือ “ความอยุติธรรม” ที่เราเรียกกันว่า “สองมาตรฐาน” นั่นเอง ดังผลวิจัยของสถาบันพระปกเกล้า และคำแถลงของธีรยุทธ ที่ “ขับเน้น” ความผิดของนักการเมืองเพียงฝ่ายเดียวว่าเป็น “ศูนย์กลางของความขัดแย้ง”


ฉะนั้น “ประชาธิปไตยดูได้” หรือ “ประชาธิปไตยต้องมาพร้อมกับคุณธรรมและจริยธรรม” ที่ผลวิจัยสถาบันพระปกเกล้าและธีรยุทธพูดถึง จึงเป็นประชาธิปไตยที่โดยพื้นฐานแล้วขัดต่อทั้งหลักจริยธรรมสำคัญของพุทธศาสนา และหลักจริยธรรมสากล อันเป็นหลักจริยธรรมทางสังคม-การเมืองที่เป็น “แก่นสาร” ของความเป็นประชาธิปไตย


มันจึงเป็นเรื่องน่าประหลาดอย่างเหลือเชื่อที่สถาบันวิชาการชั้นนำ และปัญญาชนชั้นนำขวัญใจชนชั้นกลางและชนชั้นสูงของประเทศนี้ ไม่สามารถจะมองเห็น “ปัญหาระดับรากฐาน” หรือปัญหาใน “เชิงหลักการ” ว่า ภายใต้“ระบบประชาธิปไตยที่ไม่ apply หลักการสากลกับสถาบันกษัตริย์” นั้น “การเมืองที่มีจริยธรรม” ในความหมายของ "หลักจริยธรรมสากล" อันเป็นรากฐานประชาธิปไตยในโลกสมัยใหม่ ย่อมเป็นไปไม่ได้ (หรือแม้แต่จริยธรรมแบบพุทธศาสนาเองก็มีปัญหาดังที่ยกตัวอย่างเป็นต้น)


ตกลงว่าประชาธิปไตยเช่นนี้ เป็น “ประชาธิปไตยดูได้” อย่างไรไม่ทราบครับ ท่านศาสตราจารย์เสื้อกั๊กที่เคารพ!


ที่มา : ประชาไท




 

Create Date : 29 มิถุนายน 2555    
Last Update : 29 มิถุนายน 2555 14:49:17 น.
Counter : 1180 Pageviews.  

ชาตินิยมกับชาติพันธุ์นิยม

นิธิ เอียวศรีวงศ์

"คนไทยไม่ทิ้งกัน" นี่คงเป็นคำขวัญที่สร้างความประทับใจมากสุดในน้ำท่วมคราวนี้ จึงมีผู้เอาไปแต่งเป็นเพลงหรือแทรกอยู่ในเนื้อเพลงปลุกปลอบใจ ที่มีการแต่งกันหลายเพลงในช่วงนี้

ผมนึกถามตัวเองว่า แล้วใครเป็น "คนไทย" วะ ที่ชัดเจนแน่นอนอย่างหนึ่งคือ แรงงานพม่าไม่ใช่แน่ เพราะเขาถูกทิ้งให้เผชิญภัยพิบัติอย่างน่าเวทนาจำนวนมาก รายได้ก็ขาด อาหารก็ไม่มีใครเอาไปแจก พูดขอความช่วยเหลือกับใครก็ไม่มีใครรู้เรื่อง

ทั้งนี้ เพราะเขาไม่ได้ถือสัญชาติไทย จึงไม่ใช่ "คนไทย" เท่านั้นหรือ แต่ก็ได้ยินเขาพูดกันอยู่บ่อยๆ ว่า คนเหล่านี้คือแรงงานที่ขาดไม่ได้ในเศรษฐกิจไทย (เพราะแรงงานที่ถือสัญชาติไทยมีไม่พอ) เขาคือคนที่มาช่วยพยุงให้อุตสาหกรรมของ "คนไทย" ดำเนินต่อไปได้ไม่ใช่หรือ

แต่ในทางตรงกันข้าม ในบรรดา "คนไทย" ที่ไม่ถูกทิ้งนั้น มีคนเชื้อสายจีนอยู่มาก เพราะอะไร? เพราะเขาถือสัญชาติไทยตามกฎหมาย เขาจึงเป็น "คนไทย" กระนั้นหรือ

อีกกลุ่มใหญ่เบ้อเริ่มคือคนเชื้อสายมลายูในภาคใต้ เขาเป็น "คนไทย" ด้วยหรือไม่ หรือเป็นเท่ากับ "คนไทย" ทั่วไปหรือไม่ เมื่อตอนที่เกิดกรณีตากใบซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตร่วมร้อย ความเห็นในสื่อสังคมจำนวนมาก แสดงความสะใจอย่างเปิดเผย แถมอีกหลายคนยังเสนอว่า เมื่อเขาไม่พอใจประเทศไทย เขาก็ควรออกไปจากประเทศนี้

ทำนองเดียวกับที่ดาราทีวีคนหนึ่ง ซึ่งกล่าวสุนทร(?)พจน์ในคราวรับรางวัลอะไรสักอย่าง แล้วบอกว่า ใครที่ไม่ชอบ "พ่อ" ก็ควรออกไปจาก "บ้านของพ่อ"

แล้วยังพวกเสื้อแดงอีก เขาเป็น "คนไทย" เหมือนและเท่ากับคนชั้นกลางในกรุงเทพฯ หรือไม่ ความตายและความบาดเจ็บของเขาจึงได้รับการจดจำน้อยกว่าซากตึก


คนไทยเป็นเจ้าของประเทศนี้ไม่เท่ากันหรอกครับ และมันก็เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่เริ่มปลุกความรัก "ชาติ" กันมาในสมัย ร.6 แล้ว ดังนั้น การเรียกร้องความเสมอภาคของเสื้อแดงจึงสั่นสะเทือนไปถึงรากฐานความเป็น "ชาติ" ของไทยทีเดียว

อะไรคือ "ชาติ" ในพระราชมติของ ร.6 ท่านทรงเขียนไว้ชัดเจนว่า ชาติหมายถึงกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกัน มีวัฒนธรรมเช่นภาษาอันเดียวกัน ผ่านประสบการณ์ในอดีตมาร่วมกัน และมีระบบค่านิยมที่เหมือนกัน (นับถืออะไรคล้ายๆ กัน)

ผมเขียนให้เข้าใจง่ายๆ ในภาษาปัจจุบัน เพื่อสะดวกในการวิเคราะห์ว่า ชาติเกิดจากปัจจัย 4 ประการคือ ภูมิศาสตร์, วัฒนธรรม, ประวัติศาสตร์ และค่านิยม คือจากปัจจัยภายนอกไล่ไปจนถึงส่วนที่ลึกสุดในสำนึกของคน (และขอให้สังเกตด้วยว่า ความเป็นเจ้าของ "ชาติ" โดยเท่าเทียมกันนั้น ไม่มีอยู่ในนิยามนี้ อย่างน้อยก็ไม่มีอยู่อย่างชัดเจน)

แต่ทั้ง 4 ปัจจัยนี้หาได้ตรงกับประเทศไทยในความเป็นจริงไม่ ทั้งในสมัยของพระองค์หรือสมัยปัจจุบัน

ในทางภูมิศาสตร์ คนที่มาอยู่ร่วมกันในราชอาณาจักรสยาม-ไทย ไม่ได้สมัครใจมาอยู่ภายใต้ร่มธงเดียวกัน ก็ทั้งตัวพระราชอาณาจักรดังกล่าวก็เพิ่งเกิดขึ้น (หลังจากแก่งแย่งดินแดนกับฝรั่งจนในที่สุดฝรั่งก็ขีดเส้นเขตแดนให้เรารับไป) แม้แต่ธงก็เพิ่งคิดขึ้นไม่นาน

ศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของคนอีสานสมัยนั้นคือเวียงจัน ไม่ใช่กรุงเทพฯ ไม่นานก่อนหน้า ร.6 เจ้านายเมืองเชียงใหม่ยังแอบติดต่อกับพระเจ้าแผ่นดินพม่า และในส่วนต่างๆ ของประเทศ มีกลุ่มคนที่ปัจจุบันเรียกว่า "ชนส่วนน้อย" อาศัยอยู่กระจัดกระจายเต็มไปหมด เช่น ประชาชนบนที่สูง ต่างพากันอพยพลงมาตั้งทำกิน โดยไม่ได้สนใจว่าเป็นราชอาณาจักรของใคร คนเชื้อสายเขมรในบุรีรัมย์-สุรินทร์-ศรีสะเกษสมัยนั้นยังพูดไทยไม่ได้ ภาษาชองยังใช้กันในชีวิตประจำวันของประชาชนในจังหวัดจันทบุรี ทั้งนี้ ยังไม่พูดถึงชาวมลายูในภาคใต้ และชาวกะเหรี่ยงซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปตามป่าเขาในภาคเหนือและภาคกลาง

อันที่จริง ปัจจัยทางภูมิศาสตร์เป็นปัจจัยที่อ่อนสุดในความเป็น "ชาติ" ของทุกชาติในโลกนี้ เพราะเขตแดนของรัฐสมัยใหม่ไม่ได้เกิดขึ้นจากสำนึกร่วมกันของพลเมือง แต่เกิดขึ้นจากเหตุผลทางการเมืองระหว่างประเทศเกือบทั้งนั้น

เมื่อปัจจัยทางภูมิศาสตร์ไม่อาจให้หลักเกณฑ์อะไรแก่ความเป็น "ชาติ" ได้ ปัจจัยทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ก็พังไปด้วย ส่วนใหญ่ของข้าราษฎรใน ร.6 พูดภาษากรุงเทพฯ ไม่เป็น และมักจะฟังไม่ค่อยรู้เรื่องด้วย จะอ้างว่าแม้กระนั้นพวกเขาก็ใช้ภาษาในตระกูลไท-กะไดด้วยกัน ก็จะยิ่งยุ่ง เพราะต้องรวมประชาชนที่อยู่นอกเขตภูมิศาสตร์ของราชอาณาจักรอีกมาก ไล่ไปถึงยูนนาน, กวางสี, ตังเกี๋ย, ลาว, พม่า, อินเดีย และบางส่วนในรัฐมลายูนอกสหพันธรัฐ

(แม้กระนั้น ความคลุมเครือเรื่องภาษากับ "ชาติ" เช่นนี้ ยังทำให้นักเขียนรุ่นหลังหลายคน ขนลุกเกรียวๆ เมื่อได้มีโอกาสพูดกับคนไท-ไตในเมืองจีน, พม่า, และอินเดีย ขนของนักเขียนรุ่นหลังที่อาจลุกได้ง่ายๆ นี้ จะช่วยอธิบายความสับสนในเรื่อง "ชาติ" ของไทยได้ด้วย)

เรื่องประสบการณ์ร่วมในอดีตหรือประวัติศาสตร์ไม่ต้องพูดถึง ประชาชนในประเทศไทยมีวีรบุรุษคนละคนกันมานานจนเมื่อการศึกษามวลชนแพร่หลายในสมัยหลังแล้ว และประวัติศาสตร์ไทยก็กลายเป็นยี่เกทั้งในจอหนังและตำราแล้ว

เพราะหาหลักเกณฑ์อะไรไม่ได้ จึงต้องมาเน้นกันที่ส่วนลึกในจิตใจคือค่านิยม เกณฑ์ง่ายๆ ของ ร.6 ก็คือ "คนไทย" ต้องนับถือองค์พระมหากษัตริย์เป็นผู้นำของตน "คนไทย" คือคนที่นับถือพระมหากษัตริย์ "ชาติ" ไทยคือ "บ้านพ่อ"

ในทัศนะแบบนี้ "คนไทย" จึงไม่เกี่ยวกับเชื้อชาติหรือสัญชาติ แต่เกี่ยวกับความภักดีต่างหาก ดังนั้น รัฐบาลไทยจึงเคยมีนโยบายต่อต้านจีนได้ โดยมีคนเชื้อสายจีนจำนวนมากได้อภิสิทธิ์ต่างๆ ทั้งทางการค้าและการเมือง เพราะคนจีนที่ถูกต่อต้านนั้น ไม่ได้หมายถึง "เจ๊ก" แต่หมายถึงคนที่ถูกสงสัยในความภักดี (ต่อพระมหากษัตริย์หรือต่อผู้นำประเทศ)


สํานึกชาตินิยมเช่นนี้ นับตั้งแต่เริ่มถือกำเนิดในสมัย ร.6 มาจนถึงปัจจุบัน ไม่อาจเรียกว่า "ชาตินิยม" ได้จริง แต่ควรเรียกว่า "ชาติพันธุ์นิยม" (ethnonationalism) ต่างหาก

"ชาติพันธุ์" ไม่ได้หมายถึงคุณลักษณะในเม็ดเลือดนะครับ แต่หมายถึงการถือวัฒนธรรม (ในความหมายกว้าง นับตั้งแต่ภาษา, ความเชื่อ, ค่านิยม, หรือแม้แต่บุคลิกภาพ) อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอัตลักษณ์ของตน คนต่างเผ่าพันธุ์กันหันมาอยู่ในชาติพันธุ์เดียวกัน จึงเกิดขึ้นเป็นประจำตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษย์

รัฐบาลไทยนับตั้งแต่ ร.6 เป็นต้นมา ใช้นโยบายที่เป็นทั้งไม้นวมและไม้แข็ง เพื่อให้ประชาชนทั้งหมดยึดถือชาติพันธุ์ "คนไทย" ร่วมกันให้ได้

และในวัฒนธรรมทางการเมือง คุณสมบัติซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานที่ขาดไม่ได้ของชาติพันธุ์ "คนไทย" ก็คือ สองมาตรฐานไงครับ พูดอีกอย่างหนึ่งคือการไม่ยอมรับความเสมอภาค การรู้จักที่ต่ำที่สูง (เช่น การนับถือพระมหากษัตริย์เป็นผู้นำของ ร.6) การกระจายสิทธิต่างๆ ที่ต้องลดหลั่นกันลงไปตามแต่ช่วงชั้นทางสังคม

คุณจะเป็นเจ๊กเป็นจีน เป็นแขกเป็นมอญ เป็นฝรั่งมังค่า เป็นม้งเป็นเย้าอะไรก็ตาม คุณคือ "คนไทย" หากยอมรับว่าความไม่เสมอภาคคือหลักการที่เราจะอยู่ร่วมกันโดยสงบ

น่าสังเกตนะครับว่า พฤติกรรมที่ถูกตั้งข้อสงสัยว่า "เป็นคนไทยหรือเปล่า" นั้น มักเป็นพฤติกรรมที่ไม่ยอมรับความเหลื่อมล้ำต่างๆ เสมอ


หลักการพื้นฐานของ "ชาตินิยม" นั้นแตกต่างโดยสิ้นเชิงจาก "ชาติพันธุ์นิยม" เพราะ "ชาตินิยม" คือความเสมอภาคของพลเมืองทุกคน ไม่ว่าเขาจะอยู่ในเผ่าพันธุ์ใด ถือศาสนาใด พูดภาษาใดก็ตาม เขาย่อมเป็นเจ้าของ "ชาติ" เท่าเทียมกับคนอื่นทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับประชาธิปไตยนะครับ แม้แต่ในรัฐเผด็จการ พลเมืองก็อาจเสมอภาคกันได้ ผู้เผด็จการได้อำนาจมาตามกระบวนการของกฎหมาย ฆ่าคนหรือขังคนตามกระบวนการของกฎหมาย ฉะนั้น ผู้เผด็จการก็อยู่ใต้กฎหมายเหมือนกัน (เช่น ฮิตเลอร์และสตาลิน เป็นต้น)

หากทว่า กฎหมายและกระบวนการทางกฎหมายนั้นๆ อาจไม่เป็นประชาธิปไตยเท่านั้น แต่เสมอภาคแน่ครับ

ชีวิตและสวัสดิภาพของคนเสื้อแดงมีความสำคัญน้อย เพราะเขาแสดงตัวว่าเขาไม่ใช่ "คนไทย" ก็ไม่ยอมรับความเหลื่อมล้ำ (ทางการเมือง) นี่ครับ ชีวิตของชาวมลายูมุสลิมยิ่งด้อยความสำคัญลงไปใหญ่ เพราะเขาแข็งข้อ ไม่ใช่แข็งข้อต่อรัฐนะครับ แต่แข็งข้อต่อความเหลื่อมล้ำอยุติธรรมซึ่งเป็นพื้นฐานของ "ชาติพันธุ์นิยม" ไทยเลยทีเดียว ซ้ำวิถีชีวิตของเขายัง "แข็งข้อ" ต่อชาติพันธุ์ไทยตลอดมาเสียด้วย

อุดมการณ์ของสลิ่มและเสื้อเหลือง (รวมผู้สนับสนุนเบื้องหลังด้วย) คืออุดมการณ์ของ "ชาติพันธุ์นิยม" อย่างชัดแจ้ง ส.ส. ต้องจบปริญญาตรีขึ้นไป, อำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันของสถาบันทางการเมืองต่างๆ เช่น กองทัพเป็นรัฐอิสระ ซึ่งควรเข้ามาทำรัฐประหารเสียก่อนจะสายเกินไป เพราะกองทัพไม่ใช่หน่วยงานหนึ่งเหมือนกรมชลประทานนะครับ ฯลฯ

ตราบเท่าที่ยังเป็น "คนไทย" ในความหมายของ "ชาติพันธุ์นิยม" เราก็จะไม่ทิ้งกัน

แต่ "ชาติพันธุ์นิยม" กำลังถูกท้าทายอย่างหนักจากคนเสื้อแดง ในอีกมุมมองหนึ่ง ความขัดแย้งที่เราเผชิญอยู่เวลานี้คือการปะทะกันอย่างหนักเป็นครั้งแรกในประเทศนี้ ระหว่างพลังสองฝ่ายคือ "ชาตินิยม" กับ "ชาติพันธุ์นิยม"

ในด้านอุดมการณ์ ผมเข้าใจว่าฝ่าย "ชาตินิยม" ยังไม่ได้พัฒนาขึ้นมาให้ชัดเจน มากไปกว่าความเสมอภาค ซึ่งอาจนำไปสู่เผด็จการอีกชนิดหนึ่งก็ได้ (จึงพร้อมจะรับ คุณทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้นำได้อย่างไม่รู้สึกตะขิดตะขวง)

ในทางตรงกันข้าม ฝ่าย "ชาติพันธุ์นิยม" สามารถใช้อุดมการณ์ที่ได้พัฒนาสั่งสมกันมาตั้งแต่ ร.6 ซึ่งมีความชัดเจนและครอบคลุมไปทั้งชีวิตคน ซ้ำเป็นอุดมการณ์ของ "ชาติ" ไทยที่เป็นฐานการศึกษาทุกชนิด (รวมสื่อด้วย) มานาน และด้วยเหตุดังนั้น จึงสามารถดึงดูดการสนับสนุนจากคนมีการศึกษาซึ่งกระจุกตัวในเขตเมืองได้มาก รวมทั้งที่ทำงานอยู่ในสื่อต่างๆ ด้วย

ที่มา : มติชนออนไลน์




 

Create Date : 13 ธันวาคม 2554    
Last Update : 13 ธันวาคม 2554 16:00:15 น.
Counter : 753 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.