ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง
หลักการทำหนังสือพิมพ์ "ที่เมืองไทยสอนกัน"

หลักการทำหนังสือพิมพ์เบื้องต้น

องค์กรหนังสือพิมพ์

ธุรกิจหนังสือพิมพ์เป็นกิจการที่ดำเนินการโดยเอกชน
จัดเป็นการลงทุนชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ

1.การลงทุน

2.การผลิต

3.การตลาด

องค์ประกอบทั้ง 3 ประการเป็นปัจจัยเบื้องต้น ที่จะทำให้ธุรกิจเกิดขึ้นได้ หากขาดข้อหนึ่งข้อใดไปก็จะทำให้กิจการนั้นหยุดชะงัก แม้ว่าวัตถุประสงค์ใหญ่ของกิจการหนังสือพิมพ์ คือ การเสนอ "ข่าว" (news) และความเป็นข่าว (newsy) ซึ่งไม่ว่าจะผลิตอย่างไร หากสามารถสนองตอบเป้าหมายหลักนี้แล้วก็ถือว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่ดีได้ แต่โดยอำนาจการแข่งขันทางธุรกิจ และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้เกิดภาวะการลงทุนที่สูงขึ้น เช่น อุปกรณ์ เครื่องมือการสื่อข่าว การพิมพ์ การผลิต ตลอดจนการขนส่ง คมนาคม เทคโนโลยีมีส่วนช่วยให้การทำงานในองค์กรหนังสือพิมพ์รวดเร็ว มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ความซับซ้อนของเทคโนโลยีต่างๆ รวมตลอดถึงภาวะซับซ้อนทางการตลาดที่จะต้องอาศัยความรู้ทางการบริหารการตลาดอย่างมีระบบมากขึ้น

ดังนั้นธุรกิจหนังสือพิมพ์จึงเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายนักในสังคมปัจจุบัน กล่าวกันว่า หากจะลงทุนหนังสือพิมพ์สักฉบับทุกวันนี้จำเป็นต้องมีเงินทุนไม่ต่ำกว่าสิบล้านบาทขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ความเจริญของเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นแรงผลักดันสำคัญในด้านการพัฒนาคุณภาพ และรูปลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ให้น่าอ่านมากขึ้นเช่นกัน องค์ประกอบทั้ง 3 อย่างจึงเป็นสิ่งที่แยกไม่ออก ต้องไปด้วยกันเสมอ

นอกจากนั้น หนังสือพิมพ์ยังมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากธุรกิจทั่วไปคือ เป็นกิจการที่ประกอบขึ้นด้วยบุคคล 3 ฝ่าย ได้แก่

1. ผู้ลงทุน หรือเจ้าของ

2. ผู้จัดทำ

3. ผู้อ่าน

บุคคลทั้ง 3 นี้ จะต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกันอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะโดยภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ หรือการกำหนดนโยบาย โดยมีเป้าหมายสำคัญคือสามารถทำหน้าที่ให้ข่าวสาร และยกระดับภูมิปัญญาของผู้อ่านในสังคม ถ้าจะเปรียบหนังสือพิมพ์เป็น"สินค้า" "ผู้อ่าน" ก็คือ ตลาดหรือลูกค้าที่หวังสื่อทั้งความรู้และปัญญาจากผู้ทำหนังสือพิมพ์ ในส่วนนี้เองที่ทำให้หนังสือพิมพ์กลายเป็นธุรกิจที่มีคุณลักษณะแตกต่างจากธุรกิจธรรมดา คือเป็นธุรกิจ "ประหนึ่งสถาบันสาธารณะ" ที่มีกรณียกิจแนบเนื่องกับสังคม เป็นทั้งเพื่อนผู้นำทาง และมหาวิทยาลัยของประชาชน ยังปรากฏทั้งบทบาทและอิทธิพล ที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้อ่าน ทั้งด้านรสนิยม ความคิด และพฤติกรรม เป็นกระจกสะท้อนสังคมบานใหญ่บานหนึ่งทีเดียว

การจัดองค์กรการทำงานของหนังสือพิมพ์

โดยการแบ่งภาระความรับผิดชอบในการทำงาน และลักษณะพิเศษของงานหนังสือพิมพ์ จึงได้มีการแบ่งแยกการทำงานของหนังสือพิมพ์ออกเป็น 3 ฝ่ายหลักๆแต่จะมีขนาดแตกต่างกันไปบ้าง ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการลงทุนของหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ องค์ประกอบทั้ง 3 ประกอบด้วย

1. ฝ่ายบรรณาธิการ ( Editorial Department )

2. ฝ่ายจัดการ ( Business Department )

3. ฝ่ายผลิต ( Mechanical Department )

ขนาดของทั้ง 3 ฝ่ายจะแตกต่างกันตามขนาดของหนังสือพิมพ์และการลงทุน หนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่จะมีบุคลากรมากกว่า ขบวนการผลิต อุปกรณ์ทันสมัยซับซ้อนกว่าหนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก ขอบเขตหน้าที่ของแต่ละฝ่ายประกอบด้วย 1. ฝ่ายบรรณาธิการ ( Editorial Department ) รับผิดชอบเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของหนังสือพิมพ์ ทั้งฉบับที่เป็นเรื่องราวสำหรับอ่าน ( reading matter) ตั้งแต่การแสวงหารวบรวมจัดเตรียมต้นฉบับทุกประเภท เช่น ข่าว (ในประเทศและต่างประเทศ) บทความ สารคดี บทบรรณาธิการ ภาพการ์ตูน ต้นฉบับที่ถูกส่งมายังกองบรรณาธิการจะได้รับการพิจารณา วินิจฉัย คุณค่า คัดเลือก ตรวจสอบความถูกต้อง เขียนให้เหมาะสมในรูปแบบที่ต้องนำเสนอในรูปแบบของข่าว หรือบทความ พาดหัวข่าว ให้ตัวอักษร ก่อนจะส่งไปยังที่ฝ่ายการพิมพ์ กล่าวง่ายๆคือ กองบรรณาธิการมีภาระโดยตรงในการเตรียมต้นฉบับเนื้อหา ทุกประเภทก่อนจะส่งไปพิมพ์เป็นฉบับสมบูรณ์

หนังสือพิมพ์โดยทั่วไปจะจัดแบ่งส่วนรับผิดชอบในกองบรรณาธิการออกเป็นฝ่ายย่อยๆ คือ ฝ่ายข่าวในประเทศ ฝ่ายข่าวต่างประเทศ ฝ่ายช่างภาพ ฝ่ายบทความ ฝ่ายกีฬา ฝ่ายบรรณาธิกรณ์ ฝ่ายจัดหน้า ทั้งหมดนี้จัดแบ่งตามกระบวนการและความสะดวกในการ ทำงานของหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ

2. ฝ่ายจัดการ ( Business Department ) ฝ่ายนี้รับผิดชอบโดยตรงทางด้านธุรกิจการจัดการการตลาด เพื่อให้หนังสือพิมพ์มีรายได้สามารถเลี้ยงตัวเองได้และให้หนังสือพิมพ์ไปถึงมือผู้อ่านให้มากที่สุด เร็วที่สุด ครอบคลุมถึงการจัดจำหน่าย หาสมาชิก การบัญชี ขายเนื้อที่โฆษณา บุคลากร และการขนส่ง การบริหารงานทางธุรกิจ นับว่าเป็นหัวใจสำคัญสำหรับหนังสือพิมพ์ปัจจุบัน เพราะการพัฒนา การแข่งขันทางธุรกิจทำให้ต้องอาศัยหลักการบริหารที่ใช้หลักวิชาทันสมัย จึงจะสามารถสู้กับภาวะการเปลี่ยนแปลงของการตลาดอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโฆษณา ทั้งการโฆษณาตัวหนังสือพิมพ์เอง และการขายเนื้อที่โฆษณา ฝ่ายจัดหาโฆษณา ต้องมีประสบการณ์กว้างขวาง สามารถทำงานประสานกับฝ่ายบรรณาธิการตลอดเวลา หาไม่แล้วอาจมีผลกระทบถึงรายได้ของหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับได้ เพราะรายได้จากการโฆษณาก็ยังถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ของหนังสือพิมพ์ ฝ่ายจัดการมีความสำคัญยิ่งในการวางแผนพัฒนาการธุรกิจการตลาด และส่งเสริมการขายให้ก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา

3. ฝ่ายการผลิต ( Mechanical Department ) รับผิดชอบด้านการพิมพ์ เพื่อให้หนังสือพิมพ์เสร็จลุล่วงออกมาเป็นฉบับสมบูรณ์พร้อมที่จะออกวางตลาดได้ ส่วนนี้ประกอบด้วย การเรียงพิมพ์ ทำบล็อก ตรวจปรู๊ฟ ทำเพลท ฯลฯ ในระบบการพิมพ์แบบเลตเตอร์เพรส ( Letterpress ) ฝ่ายการพิมพ์ต้องใช้มือในการเรียงตัวอักษร ทำบล็อก ซึ่งยุ่งยากและล่าช้า ปัจจุบันระบบการพิมพ์ก้าวหน้าทันสมัยขึ้นมาก หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่จะใช้ระบบพิมพ์แบบออฟเซท (Off-set) ใช้ตัวเรียงคอมพิวเตอร์ ทำให้การผลิตงานพิมพ์รวดเร็ว สะอาดขึ้นมาก และสามารถผลิตหนังสือพิมพ์ เป็นจำนวนมากภายในระยะเวลาอันสั้น มีผลให้การรายงานข่าวรวดเร็ว ทันสมัย ประสิทธิภาพของหนังสือพิมพ์ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก แต่ก็มีผลทำให้การลงทุนสูงขึ้น องค์กรทั้ง 3 ฝ่าย มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกัน ต่างฝ่ายต่างต้องประสานงานกันอย่างใกล้ชิด เพราะหากขาดฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไป หรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดล่าช้าก็จะทำให้หนังสือพิมพ์ไม่สามารถออกทันเวลา การทำหนังสือพิมพ์เป็นงานที่ทำกันเป็นทีม แข่งกับเวลา ต้องการความรวดเร็ว คำที่ใช้กันคุ้นเคยในงานพิมพ์ก็คือ " Deadline " แปลว่า "เส้นตาย" งานทุกชิ้นต้องพร้อมก่อนกำหนดเส้นตาย หากขาดความสนใจต่อเงื่อนเวลาอันนี้แล้วก็จะทำให้งานหนังสือพิมพ์ขาดประสิทธิภาพ ส่งผลถึงความล่าช้าและความไม่ทันสมัยในการรายงานเหตุการณ์ เนื่องจากเป้าหมายธุรกิจหนังสือพิมพ์ คือการปฏิบัติภาระกิจเกี่ยวกับการให้ข่าวสาร ความรู้ ความคิดเห็นแก่ผู้อ่าน การจัดมาตรฐานของหนังสือพิมพ์ ซึ่งมักจะจัดกันที่เนื้อหาข่าวสารเป็นประการสำคัญก่อน จึงจะสามารถทำให้การผลิตและการตลาดดีขึ้นได้ ฉะนั้นในที่นี้จึงขอกล่าว ถึงขอบเขตการทำงานในความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการเพียงอย่างเดียว เพื่อให้ผู้ศึกษาได้เห็นภาพที่แท้จริงของการทำหนังสือพิมพ์อย่างกว้างๆ

ความรับผิดชอบในกองบรรณาธิการ

ลักษณะการแบ่งแยกองค์กรหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกัน มีสายการบริหารงานไม่แตกต่างกันมากนัก ในเรื่องของการจัดรูปแบบตามความรับผิดชอบมีลักษณะตามแผนภูมิกว้างๆดังนี้

บรรณาธิการใหญ่

บรรณาธิการบริหาร

กองบรรณาธิการ กองจัดการ กองการผลิต 1. ฝ่ายข่าวในประเทศ 1.ฝ่ายบุคคล 1.เรียงพิมพ์ 2. ฝ่ายข่าวต่างประเทศ 2.ฝ่ายจัดจำหน่าย 2.ทำบล็อค 3. ฝ่ายข่าวต่างจังหวัด 3.ฝ่ายจัดหาโฆษณา 3.ถ่ายเพลท 4. ฝ่ายข่าวกีฬา 4.ฝ่ายส่งเสริมการขาย 4.พิมพ์ 5. ฝ่ายข่าวสตรี 5.เข้าเล่ม 6. ฝ่ายข่าวเศรษฐกิจ ฯลฯ 7. ฝ่ายข่าวการศึกษา 8. ฝ่ายบทความทั่วไป 9. ฝ่ายภาพถ่าย 10.ฝ่ายบรรณาธิกรณ์ 11.ฝ่ายจัดหน้า 12.ห้องสมุด

การจัดความรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย อาจเพิ่มหรือตัดทอนในบางส่วน ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถของการลงทุนของหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ ในหนังสือพิมพ์ขนาดเล็กอาจรวมเอาหน้าที่บางส่วนเข้าด้วยกัน ในขณะที่หนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่เพิ่มหน้าที่บางส่วนขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับกำลังคนและความสามารถในการผลิต หนังสือพิมพ์ขนาดกลางขึ้นไปมักจะมีห้องสมุดที่เรียกว่า "morgue" เป็นของตนเองสำหรับค้นคว้าข้อมูลเมื่อต้องการ ตลอดจนเก็บสถิติสำคัญๆไว้เป็นข้อมูลค้นคว้าในการเขียนข่าว และบทความ

การทำงานในกองบรรณาธิการ

รูปแบบการทำงานในกองบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์จะคล้ายคลึงกัน ถึงแม้ว่าอาจจะไม่เหมือนกันหมดเสียทีเดียว แต่แนวการเดินทางของข่าว ความสัมพันธ์แต่ละส่วนของหนังสือพิมพ์ มีลักษณะการทำงานคล้ายกันโดยหลักใหญ่ๆดังแผนภูมิต่อไปนี้ ( แนวการเดินทางของข่าวในกองบรรณาธิการ )

เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการทำงานของหนังสือพิมพ์รายวัน จะขอกล่าวถึงความรับผิดชอบในตำแหน่งสำคัญๆ ซึ่งแบ่งความรับผิดชอบขอบเขตเนื้อหาเป็นหน้าๆ ไป เพื่อให้ความสะดวก ในการพิจารณาเนื้อหาลงพิมพ์คล่องตัวมากขึ้น แต่ในหนังสือพิมพ์ขนาดเล็กอาจตัดตำแหน่งบางส่วนออก เหลือเพียงตำแหน่งที่จำเป็น เช่น บรรณาธิการบริหาร บรรณาธิการข่าว หัวหน้าข่าวในประเทศ ผู้เขียน เรียบเรียงข่าว ช่างภาพ ผู้ตรวจต้นฉบับ ผู้ตรวจปรู๊ฟ และผู้สื่อข่าว

ขอบเขตและหน้าที่ของแต่ละตำแหน่ง

บรรณาธิการบริหาร ( Editor-in-chief) ในปัจจุบันทำหน้าที่รับผิดชอบทางด้านธุรกิจของหนังสือพิมพ์ วางแผนดำเนินงานให้หนังสือพิมพ์อยู่รอดได้ทั้งทางธุรกิจและการเสนอเนื้อหาที่ดี ทั้งนี้ เพราะการทำหนังสือพิมพ์ทุกวันนี้จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านการบริหารอยู่ด้วย จึงจะช่วยให้เป็นกิจการที่มีประสิทธิภาพอยู่รอดได้

บรรณาธิการบริหาร (Managing Editor) ทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการให้หนังสือพิมพ์สำเร็จลุล่วง ออกเป็นฉบับให้ทันเวลา และมีประสิทธิภาพ สิ่งที่บรรณาธิการบริหาร (หรือหนังสือพิมพ์บางฉบับจะเรียกตำแหน่งนี้ว่า "หัวหน้ากองบรรณาธิการ") ให้ความสนใจโดยตรงก็คือ เนื้อหาสาระที่เป็นข่าว บทความ สารคดี ฯลฯ กล่าวโดยสรุป คือรับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องราวที่อ่านได้ทั้งหมด (reading materials) จะดูแลตั้งแต่คุณภาพของข่าว การบรรณาธิกรณ์ การจัดหน้า และความรวดเร็วในการผลิตหนังสือพิมพ์ให้ถึงมือผู้อ่านตามเวลา บรรณาธิการบริหารจะทำงานอย่างใกล้ชิดกับบรรณาธิการใหญ่ เพื่อให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กันทั้งในด้านนโยบายธุรกิจ และนโยบายการข่าวให้ไปด้วยกันได้เป็นอย่างดี

บรรณาธิการข่าวในประเทศ (City Editor) เป็นหัวหน้ารับผิดชอบข่าวในประเทศทั้งหมด เป็นผู้มอบหมายให้ผู้สื่อข่าวไปแสวงหาข่าวตามแหล่งข่าวต่างๆ ตรวจตราความถูกต้องและพิจารณาคัดเลือกข่าว ซึ่งส่งเข้าโดยผู้สื่อข่าว หากเป็นที่พอใจถูกต้องตามคุณค่าของข่าวก็จะส่งข่าวชิ้นนั้น ต่อไปให้บรรณาธิการข่าว(news editor)

บรรณาธิการข่าวต่างประเทศ (Wire Editor) รับผิดชอบข่าวต่างประเทศ ปกติข่าวต่างประเทศจะได้จากโทรพิมพ์ จึงเรียกว่า Wire news แต่ในปัจจุบันหนังสือพิมพ์บางฉบับสามารถจ้างผู้สื่อข่าวไปประจำในต่างประเทศ เพื่อรายงานข่าวพิเศษบางอย่างได้ด้วย ข่าวต่างประเทศจึงครอบคลุมถึงข่าว ซึ่งได้จากโทรพิมพ์ สำนักข่าว และผู้สื่อข่าวต่างประเทสหนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับจะเป็นสมาชิกของสำนักข่าวต่างประเทศ เช่น A.P. (Associated Press) , U.P.I. (United Press International) และ Reuter เป็นต้น สำนักข่าวเหล่านี้จะป้อนข่าวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลกผ่านทางเครื่องโทรพิมพ์ ผู้สื่อข่าวจะคัดเลือกข่าวที่น่าสนใจมาเขียนตามรูปแบบของข่าว แล้วส่งต่อให้บรรณาธิการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อพิจารณาว่าควรลงพิมพ์ข่าวใดบ้าง นอกจากนี้ข่าวต่างประเทศยังได้จากเอกสาร นิตยสาร และหนังสือพิมพ์ต่างประเทศ เนื้อหาเหล่านี้เป็นประโยชน์ในรูปของการวิเคราะห์เจาะลึกมากกว่ารายงานเหตุการณ์

บรรณาธิการภาพ (Picture Editor) รับผิดชอบในเรื่องของภาพถ่าย ภาพข่าว สำหรับ ลงพิมพ์ ทำหน้าที่คัดเลือกภาพข่าวที่มีคุณภาพส่งให้บรรณาธิการข่าว แหล่งภาพข่าวจะได้จาก โทรพิมพ์ส่งมาโดยสำนักพิมพ์ต่างประเทศ และจากช่างภาพประจำกองบรรณาธิการมักเป็นภาพข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ บางครั้งอาจจะมีภาพส่งมาโดยช่างภาพสมัครเล่นบรรณาธิการฝ่ายภาพ จะทำหน้าที่พิจารณาคุณค่าของภาพว่าสมควรจะลงพิมพ์หรือไม่

บรรณาธิการข่าว (News Editor) เป็นแกนสำคัญในการรับผิดชอบการทำงานในกองบรรณาธิการรองลงมา จากบรรณธิการบริหารซึ่งรับผิดชอบหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับ รวมถึงการเขียนบทบรรณาธิการ แต่บรรณาธิการข่าวจะเป็นผู้ตัดสินใจการพิจารณาลงพิมพ์ข่าวและภาพทั้งหมด

บรรณาธิการข่าวจะทำงานร่วมกับบรรณาธิการฝ่ายจัดหน้า Make Up Editor หรือ Sub-Editor ทำหน้าที่พาดหัวข่าว จัดหน้า รูปภาพ ต้นฉบับ ให้หนังสือพิมพ์มีรูปร่างหน้าตาน่าดูและน่าอ่าน บรรณาธิการข่าวจะเป็นผู้ตัดสินใจ กำหนด คัดเลือกข่าวที่มีคุณค่าน่าสนใจ ลงตีพิมพ์พร้อมกับกำหนดความสั้น-ยาวของแต่ละข่าวให้เหมาะสมกับเนื้อที่หน้ากระดาษ แล้วส่งไปที่โต๊ะตรวจต้นฉบับข่าว (Copy desk) ที่โต๊ะนี้ หัวหน้าฝ่ายตรวจแก้ต้นฉบับ (Slotman) ร่วมกับผู้ทำหน้าที่ตรวจความถูกต้องของเนื้อหา ข้อเท็จจริง และกฎหมาย จะทำหน้าที่ตรวจต้นฉบับให้ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริง ภาษาที่ใช้ให้กระชับ การพาดหัวข่าว เมื่อตรวจความถูกต้องเรียบร้อยแล้ว เรื่องต่าง ๆ จะถูกส่งไปให้บรรณาธิการจัดหน้า ทำการเข้าหน้าให้เรียบร้อยตามที่กำหนดไว้ แล้วจึงส่งไปยังห้องเรียงพิมพ์ และฝ่ายผลิตต่อไป

นอกเหนือจากข่าวแล้ว เนื้อหาอื่น ๆ เช่น บทความ สารคดี บทความพิเศษ ฯลฯ อาจจะได้จากนักเขียนประจำกองบรรณาธิการเอง หรือจากผู้อ่าน หรือนักเขียนอิสระเนื้อหาเหล่านี้จะผ่านการพิจารณาโดยบรรณาธิการตรวจต้นฉบับ (Copy Editor) เพื่อตรวจในเชิงของกฎหมายมากกว่าอย่างอื่น ในหนังสือพิมพ์บางฉบับอาจผ่านการพิจารณา โดยบรรณาธิการบทความ หรือบรรณาธิการที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ โดยตรง

หลาย ๆ ครั้งที่ผู้สื่อข่าวส่งข่าวเข้าโรงพิมพ์โดยตรงทางโทรศัพท์หรือทางจดหมาย (กรณีที่เป็นข่าวต่างจังหวัดไกล ๆ) ข้อมูลเหล่านี้จะมอบหมายให้ผู้ทำหน้าที่เขียนข่าว (Rewrite man หรือ Rewriter) ผู้เขียนข่าวหรือเรียบเรียงข่าวนี้อยู่ประจำในโรงพิมพ์ มีประสบการณ์และความชำนาญในงานการสื่อข่าวเขียนข่าวมาก่อน จึงจะสามารถเขียนข่าวได้ถูกต้องตรงกับเอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์

ผู้สื่อข่าว (Reporters) เป็นบุคคลแรกที่ทำหน้าที่รวบรวมรายงานข้อเท็จจริงตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น งานของผู้สื่อข่าวก็คือการออกไปตระเวนหาข่าวตามแหล่งต่าง ๆ โดยปกติจะแบ่งเป็นสาย ๆ เช่น สายมหาดไทย สายทำเนียบ สายการศึกษา สายเศรษฐกิจ ฯลฯ เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ผู้สื่อข่าวจะใช้ความรู้ความสามารถทางการประเมินวินิจฉัยคุณค่าข่าวที่น่าสนใจสำหรับผุ้อ่านมารายงาน ให้ข้อเท็จจริงในรายละเอียดส่งให้หัวหน้าข่าวหรือบรรณาธิการข่าว เพื่อเขียนตามรูปแบบของข่าวต่อไป ผู้สื่อข่าวจึงเป็นด่านแรกที่จะวินิจฉัยนำเหตุการณ์ที่เหมาะสมมารายงาน ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของ "ข่าว" จึงเป็นสิ่งสำคัญ

ในหนังสือพิมพ์บางฉบับจะจัดแบ่งกลุ่มผู้สื่อข่าวออกเป็น 2 ประเภทคือ

1.ผู้สื่อข่าวทั่วไป (General Assignment Reporter) ทำหน้าที่หาข่าวทั่วไป ไม่มุ่งเฉพาะประเภทข่าวสายหนึ่งสายใด แล้วแต่ว่าจะได้รับมอบหมายจากบรรณาธิการ ผู้สื่อข่าวประเภทนี้ อาจรายงานเหตุการณ์ในลักษณะของการวิเคราะห์ข่าว เขียนคอลัมน์ด้วย เมื่อมีเหตุการณ์พิเศษเกิดขึ้นและ ได้รับมอบหมายก็สามารถออกไปทำข่าวได้ทันที ดังนั้น จึงต้องมีความชำนาญ ประสบการณ์ คล่องตัวพอสมควรในการสื่อข่าว ส่วนมากมักจะเป็นบุคคลที่มีประสพการณ์การรายงานข่าวมาก่อน จึงสามารถตัดสินใจแสวงหาประเด็นข่าวที่น่าสนใจได้อย่างถูกต้อง

2.ผู้สื่อข่าวประจำ (Beat Reporter หรือ Special Assignment Reporter) มีหน้าที่สื่อข่าวเป็นหลักใหญ่ ได้รับการฝึกฝนให้มีความชำนาญในการรายงานข่าวได้เป็นอย่างดี มักจะได้รับมอบหมายให้ไปหาข่าวประจำตามแหล่งต่าง ๆ เช่น กระทรวงมหาดไทย ทำเนียบรัฐบาล กระทรวงศึกษา หรือ กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ประจำตามสายต่าง ๆ เช่น สายการเมือง สายเศรษฐกิจ ฯลฯ ดังนั้น จึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในแต่ละเรื่องที่ตนรับผิดชอบอยู่อย่างลึกซึ้ง ตลอดจนชำนาญในเทคนิคการเจาะข่าวเพื่อรายงาน

หนังสือพิมพ์เป็นธุรกิจที่ต้องมีความรับผิดชอบร่วมกัน แข่งกับเวลา ดังนั้น การรู้จักขั้นตอน กระบวนการผลิตหนังสือพิมพ์จึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้การทำงานสอดคล้องรวดเร็วขึ้น ถึงแม้ว่าหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับอาจจัดองค์กรแตกต่างกันในความรับผิดชอบปลีกย่อย แต่โดยหลักการแล้ว มักจะมีแนวการเดินทางของข่าวไม่แตกต่างกัน

แนวการเดินทางของข่าว

เมื่อผู้สื่อข่าวซึ่งเป็นบุคคลแรกที่สัมผัสกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายนอกเป็นประจำ จะเป็นผู้รวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริงทั้งหมด นำมาเขียนเป็นข่าวส่งให้กับหัวหน้าข่าว หรือบรรณาธิการข่าวแต่ละประเภท เช่น บรรณาธิการข่าวในประเทศ บรรณาธิการข่าวต่างประเทศ บรรณาธิการข่าวต่างจังหวัด เป็นต้น ในกรณีที่ผู้สื่อข่าวส่งข่าวทางโทรศัพท์หรือทางจดหมายซึ่งไม่ได้เขียนในรูปของข่าว หรือเขียนข่าวไม่ชัดเจน บรรณาธิการอาจส่งให้ผู้เรียบเรียงข่าว หรือผู้เขียนข่าว (Rewriter) นำไปเขียนเป็นข่าวให้ถูกต้องก่อนส่งไปพิมพ์

บรรณาธิการข่าวแต่ละคนจะทำการคัดเลือกข่าวที่ถูกส่งเข้ามา ตามหลักการ ประเมินคุณค่าข่าว โดยพิจารณาถึงองค์ประกอบของข่าว นโยบายการเสนอข่าวและอื่น ๆ (ดังที่ได้กล่าวมาบ้างแล้ว) เมื่อได้ข่าวที่มีคุณค่าน่าสนใจมาแล้ว จะส่งให้หัวหน้ากองบรรณาธิการหรือบรรณาธิการบริหาร เพื่อพิจารณาตัดสินคัดเลือกอีกครั้งหนึ่งโดยให้เหมาะสมกับเนื้อที่ของหนังสือพิมพ์ที่มีอยู่ ในส่วนนี้บรรณาธิการข่าวจะคัดเลือกและอาจร่วมกับบรรณาธิการฝ่ายจัดหน้าทำการพาดหัวข่าว ตรวจสอบความถูกต้อง กำหนดความยาว จัดหน้า (Lay-out) ในขั้นหนึ่งก่อน แล้วส่งต่อไปที่โต๊ะข่าว (Copy Desk) เพื่อประชุมร่วมกับหัวหน้าข่าวฝ่ายต่าง ๆ (Rimmen) โดยมีบรรณาธิการข่าวทำหน้าที่นั่งประจำในตำแหน่งหัวหน้าโต๊ะ (Slotman) เพื่อทำการบรรณาธิกรณ์ ตรวจสอบ ปรับปรุงการใช้ภาษา การพาดหัวข่าว ให้เรียบร้อยก่อนที่จะส่งให้บรรณาธิการฝ่าย จัดหน้านำไปจัดวัตถุดิบในทั้งหลายลงในหน้าหนังสือพิมพ์ให้ดูเรียบร้อยน่าอ่านตามหลักของการจัดหน้าที่ดี แล้วจึงส่งให้ฝ่ายผลิตจัดการพิมพ์ตามที่กำหนดไว้ เสร็จแล้วฝ่ายจัดการก็จะรับช่วงดำเนินการวางตลาดต่อไป

จะเห็นได้ว่า ตามแนวการทำงานของกองบรรณาธิการโดยเส้นทางเดินของข่าวบุคลากร แต่ละคนของหนังสือพิมพ์เปรียบเสมือนนายด่าน (Gate Kuper) กลั่นกรองสิ่งที่ผู้อ่านควรจะได้ทราบ บุคคลเหล่านี้จึงต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อวิชาชีพของตนอยู่เสมอเพื่อให้ผู้อ่าน และสังคมได้รับสิ่งที่ดีและถูกต้องมากที่สุด

คุณลักษณะของข่าว

ความหมายของคำว่า "ข่าว" อาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนจะให้ความสำคัญแก่ สิ่งที่จะนำมารายงานอย่างไร ทำให้นิยามของข่าวเป็นไปอย่างกว้างขวางตามคุณลักษณะที่ปรากฏในตัวมันเอง ความพยายามในการจำกัดความปรากฏออกมาหลายรูปแบบ เช่น

ข่าว คือ เหตุการณ์หรือข้อเท็จจริง หรือเรื่องราวที่ประชาชนสนใจใคร่รู้

ข่าว คือ เหตุการณ์หรือ "ข่าวสาร" ที่รายงานให้ผู้อ่านทราบ

ข่าว คือ รายงานของเหตุการณ์ปัจจุบันที่มีความยุติธรรม ทันเหตุการณ์ ถูกต้อง กะทัดรัด และ เที่ยงตรง

ข่าว คือ สิ่งที่ประชาชนสนใจ

ข่าว คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและมีความสำคัญ

ข่าว คือ สิ่งที่บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ตัดสินใจเลือกลงพิมพ์ เพื่อเสนอต่อผู้อ่าน

ข่าว คือ สิ่งที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ ฯลฯ

จากนิยามข้างต้นพอสรุปได้ว่า "ข่าว" นั้นควรประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ประการ คือ ความน่าสนใจ (interest) ข้อเท็จจริง (facts) และผู้อ่าน (readers) กล่าวคือ ข้อเท็จจริง ที่เกิดขึ้นต้องเป็นสิ่งที่น่าสนใจ สำหรับผู้อ่านหนังสือพิมพ์ ดังนั้น ผู้สื่อข่าว จำเป็นต้องรายงานข้อเท็จจริง ให้เป็นที่สนใจ แก่ผู้อ่าน

ข้อสรุปข้างต้นพอจะชี้ให้เห็นว่า หากเหตุการณ์ที่เป็นข้อเท็จจริงได้เกิดขึ้นแล้ว แต่ไม่ได้รับความสนใจหรือไม่น่าสนใจ ผู้สื่อข่าวก็จะไม่นำไปเสนอให้ผู้อ่านได้มีโอกาสรู้ว่าเกิด อะไรขึ้นบ้างแล้ว ผู้อ่านจะไม่มีโอกาสรับทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเลย ความสนใจย่อมไม่เกิดเมื่อเป็นดังนี้ เหตุการณ์จะเกิดที่ไหนก็อยู่ตรงนั้น ผู้อ่านจะทราบก็ต่อเมื่อมีบุคคลหยิบยกเอาเหตุการณ์นั้นรวบรวมข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ทั้งหมดมาเล่าหรือรายงาน หรือลงพิมพ์เพื่อให้คนอื่น ๆ ได้รับรู้ ก็จะเกิดความสนใจขึ้นมาได้ สิ่งนั้นจึงเป็นข่าว

"ข่าว" คือ รายงานเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่น่าสนใจ ในที่นี้ขอเน้นว่า "ข่าว" คือ "รายงาน" มิใช่เพียงเหตุการณ์หนึ่งเหตุการณ์ใดเท่านั้น แต่ข่าวจะเป็นเรื่องราว มีคนรายงานให้เราทราบ สาระสำคัญของข่าวต้องเป็นรายงานของเหตุการณ์ปัจจุบันที่ผู้สื่อข่าวและบรรณาธิการเห็นพ้องต้องกันว่า ประชาชนควรรับทราบเหตุการณ์หรือเรื่องราวนั้น ๆ

ทั้งผู้สื่อข่าวและบรรณาธิการข่าว จึงเป็นบุคคลที่มีบทบาทอย่างมากในการตัดสินใจและวินิจฉัยว่า เหตุการณ์ใดควรได้รับการรายงานหรือไม่ จากบทบาทสำคัญนี้ ทำให้ต้องยึดหลักการพิจารณาคุณค่าข่าว หลักใหญ่ที่ถือปฏิบัติกันมาเสมอก็คือ ความสด ความทันสมัยทันต่อเหตุการณ์ "เป็นที่สนใจ" ของมนุษย์นอกเหนือไปจากความสำคัญของเหตุการณ์ ที่มีผลกระทบต่อชีวิตของผู้อ่าน

ความน่าสนใจ จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งที่จะเป็นแนวทางกำหนดว่าข่าวนั้นมีคุณค่า (New Worthiness) สมควรแก่การรายงานหรือไม่

การวินิจฉัยคุณค่าข่าว

ได้กล่าวไปบ้างแล้วว่า คุณลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่งของข่าวก็คือ ความน่าสนใจและความสำคัญทั้ง 2 ประการนี้ผู้สื่อข่าวต้องพิจารณาในทัศนะของผู้อ่าน คือข่าวนั้นต้อง น่าสนใจสำหรับผู้อ่าน มีความสำคัญต่อผู้อ่าน และผู้ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่มีความสดทันสมัย สำหรับผู้อ่าน

ข่าวที่มีคุณค่าสูง มักจะมีทั้งความสำคัญ (significance) และความน่าสนใจ (interest) อยู่ในตัวของมันเอง

ความสำคัญ (significance) หมายถึง เหตุการณ์อะไรก็ตามที่เกิดขึ้น และมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ผลกระทบดังกล่าวจะมีผลในวงกว้าง เช่น การปรับอัตราภาษีมีผลกระทบต่อรายได้ค่าครองชีพของประชาชน การเสียเปรียบดุลการค้ากับต่างประเทศมีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญมีผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อมต่อความเป็นอยู่และค่าครองชีพของประชาชนทั้งประเทศ จึงจัดว่าเป็นข่าวที่มีความสำคัญ เพราะหากไม่รายงานให้ผู้อ่านทราบก็อาจจะเกิดผลเสียต่อส่วนรวมทั้งหมดได้

ความสำคัญนั้น นอกจากจะพิจารณาจากผลกระทบที่จะเกิดต่อประชาชนแล้ว บางทีข่าวที่สำคัญในสังคมหนึ่งหรือประเทศหนึ่งอาจจะไม่สำคัญต่ออีกสังหนึ่งก็ได้ เช่น ข่าว การเสียเปรียบดุลการค้ากับต่างประเทศจำนวนมหาศาลนั้น เป็นข่าวที่มีความสำคัญมา สำหรับประเทศไทย แต่เมื่อมองในทัศนะของประชาชนประเทศญี่ปุ่นแล้ว ข่าวนี้ไม่มีความสำคัญเพราะไม่มีผลกระทบต่อชาวญี่ปุ่น เพราะฉะนั้น การเลือกรายงานข่าวของสื่อมวลชนใน 2 ประเทศนี้จึงไม่เหมือนกัน เห็นได้ว่าการวินิจฉัยคุณค่าข่าวต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมความเป็นจริง สังคมและองค์ประกอบอื่น ๆ อีก

โดยมากข่าวที่มีความสำคัญ มักจะเป็นข่าวที่จัดในประเภท hard news หรือข่าวหนักคือ เป็นข่าวที่มีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ผลกระทบนั้นอาจไม่ทันทีทันใด แต่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะยาว ต้องอาศัยเทคนิคการรายงานข่าว อย่างละเอียดรอบคอบเพื่อความเข้าใจในเรื่องราวนั้น ๆ ส่วนมากข่าวประเภทนี้จะมีลักษณะเป็นข่าวสถานการณ์ (situation news) มากกว่าข่าวประเภทเหตุการณ์ (event news) ซึ่งตอบสนองความใคร่รู้ได้อย่างฉับพลัน แต่ข่าวในเหตุการณ์บางประเภทก็มีความสำคัญ พอที่จะส่งผลกระทบถึงคนหมู่มาก เช่น ข่าวโรงงานแก๊สระเบิดในประเทศอินเดียทำให้คนตายเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบให้ประชาชน ต้องหวาดระแวงเกี่ยวกับความปลอดภัยและญาติพี่น้องทรัพย์สินที่สูญเสียไป มีผลให้รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณมาช่วยเหลือเป็นจำนวนมหาศาลทั้ง ๆ ที่เป็นประเทศยากจน เกิดภาวะฉุกเฉินทางเศรษฐกิจ เป็นต้น ในเรื่องของข่าวหนักและข่าวเบาจะได้กล่าวต่อไป

ความน่าสนใจ (interest) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วทำให้ประชาชนสนใจใคร่รู้อยากติดตาม คุณสมบัติข้อนี้น่าจะเป็นข้อที่สำคัญของรายงานข่าวเพราะข่าวที่ขาดความน่าในใจแล้ว คนก็จะไม่อ่าน ผู้สื่อข่าวที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์จะพยายามเขียนข่าวให้น่าสนใจและน่าอ่านโดยไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง ข่าวที่น่าสนใจก็คือข่าวที่ผู้อ่านมีความตั้งใจต้องการจะอ่านมากที่สุด ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่าอะไรคือสิ่งที่น่าสนใจ? นักหนังสือพิมพ์และบุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับข่าว ได้กำหนดแนวการวัดความสนใจของผู้อ่านไว้หลายประการ โดยพิจารณาตามองค์ประกอบของข่าว (news elements) กล่าวคือ ผู้อ่านทั่วไปมักให้ความสนใจเป็นพิเศษในสิ่งต่อไปนี้

1. ความสด (Immediacy) หมายถึงความรวดเร็วในการรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ผู้อ่านได้ ทราบอย่างทันทีทันควัน คือนับจากระยะเวลาของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับการรายงานข่าว ควรเป็นไปอย่างรวดเร็ว ยิ่งรายงานได้เร็วเท่าไรคุณค่าของความสดของข่าวก็จะมีมากขึ้น

2. ความใกล้ชิด (Proximity) หมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใกล้กับตัวผู้อ่านหนังสือพิมพ์ ทั้งด้าน ระยะทาง เวลา และความคิด ถ้าใกล้มากก็จะมีคุณค่าทางข่าวสูงกว่าเหตุการณ์ที่เกิดไกลออกไป ความใกล้ชิดอาจเป็นความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางจิตใจ ความคิดสถานที่หรือบุคคลซึ่งมีความผูกพันทางใดทางหนึ่งกับผู้อ่าน

3. ความเด่น (Prominence) ครอบคลุมถึงความเด่นของบุคคล สถานที่ หรือเวลาของเหตุการณ์ หรือบุคคลในเหตุการณ์ เช่น ช่วงเวลาของการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรช่วงเวลาของการโยกย้ายเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีเดินทางไปต่างประเทศ นางสาวไทยเดินทางไปประกวดนางงามจักรวาล เป็นต้น เหตุการณ์ใดที่มีองค์ประกอบของความเด่นดังกล่าวมากก็มักได้รับความสนใจในคุณค่าเชิงข่าวสูง ได้รับการพิจารณาตัดสินใจให้ลงพิมพ์ก่อนเสมอ

4. ความผิดปกติ (Unusualness) โดยธรรมชาติของมนุษย์แล้ว มักสนใจต่อสิ่งใดก็ตามที่แปลกหรือไม่เคยเห็นมาก่อน เช่น แม่คนหนึ่งให้กำเนิดลูกแฝดถึง 8 คน หรือ เด็กอายุ 5 ขวบ สามารถคำนวณเลขหลักล้านได้ภายใน 5 วินาที เป็นเรื่องที่ไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก คนจึงอยากรู้ในรายละเอียดมากกว่าเหตุการณ์ปกติ เหตุการณ์ประเภทนี้จะปรากฏ บนหน้าหนังสือพิมพ์เป็นครั้งคราวแล้วแต่ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด

5. สิ่งที่มนุษย์สนใจหรือเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ (Human interest) สิ่งที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ด้วยกันเอง หรือเกิดกับสิ่งมีชีวิตในโลก องค์ประกอบข้อนี้เป็นเรื่องราวของความสัมพันธ์ทางอารมณ์ จิตใจ เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั่วไป เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกร่วมทางอารมณ์กับบุคคลในข่าวด้วย เช่นความรู้สึกสะเทือนอารมณ์ เห็นใจ เข้าใจ สงสาร อยากมีส่วนร่วมช่วยเหลือ ถ้าเหตุการณ์ทำนองเดียวกันอาจเกิดกับตนเองแล้วควรทำอย่างไร หรือเป็นเหตุการณ์ที่อาจมีโอกาสเกิดกับทุกคนได้

6. ความขัดแย้ง (Conflict) ข่าวจากหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่เกิดจากความขัดแย้งไม่ลงรอยกันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย เช่น ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ขัดแย้งทางอุดมการณ์ ขัดแย้งทางด้านความคิด ทางเพศ ความขัดแย้งมีคุณค่าทางข่าวสูง เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์อยากรู้ อยากทราบถึงสาเหตุของความขัดแย้ง กระหายที่จะติดตามถึงที่สุด ตัวอย่างใกล้ตัวที่เห็นได้ชัด ก็คือ หากเกิดอุบัติเหตุรถยนตร์ชนกัน ณ ถนนสายหนึ่งสายใด จะมีคนเข้าไปมุงดูกันมากมายเพียงเพื่ออยากทราบว่าทั้งสองฝ่ายจะตกลงกันได้อย่างไร ใครผิด ใครถูก เพราะนั่นก็คือเหตุของการขัดแย้งอย่างหนึ่ง หรือข่าวฆาตกรรมที่เกิดขึ้น จากความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างพรรคการเมือง ล้วนเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความสนใจได้เสมอ

7. ความลึกลับซับซ้อน (Suspense) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วยังไม่สามารถคลี่คลายให้กระจ่าง หรือยังไม่สามารถเสาะหาสาเหตุที่แท้จริงแล้ว มักกระตุ้นให้ผู้อ่านสงสัยใคร่ติดตามให้ถึงที่สุด จากตัวอย่างกรณีรถชนกัน ถ้าทั้งสองฝ่ายไม่สมารถตกลงกันได้ในเวลาอันรวดเร็ว ผู้คนก็มักจะรีๆรอๆฟังจนทั้งสองฝ่ายแยกย้ายกันไป หรือข่าวเกี่ยวกับการฆาตกรรมลึกลับซ่อนเงื่อน ต้องเสาะแสวงหาหลักฐานพยาน ผู้สื่อข่าวจะต้องติดตามอย่างต่อเนื่องละเอียดละออและคลี่คลายเงื่อนปมจนหายสงสัย หรือคลายความน่าสนใจไปซึ่งจะทำให้ข่าวนั้นอ่อนคุณค่าลงก็จะทำให้การวินิจฉัยคุณค่าตกอยู่ในลำดับรองๆลงไป

8. ความกระทบกระเทือน (Consequence) เป็นผลกระทบของเหตุการณ์ที่เกิดกับมวลชน อาจเป็นผลกระทบทางความเป็นอยู่ การครองชีพหรือทางสังคม ผลกระทบกระเทือนนี้ อาจเกิดโดยทางตรงหรือทางอ้อม เช่น การปรับอัตราภาษี มีผลกระทบต่อรายได้ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย ไฟไหม้ย่านสลัมทำให้คนขาดที่อยู่อาศัยจำนวนมาก ข่าว อุทกภัย ภัยพิบัติ เป็นต้น รายละเอียดของผลกระทบดังกล่าว จะได้รับการรายงานทั้งในเรื่องของความเสียหายทางทรัพย์สินและชีวิตตลอดจนสาเหตุ การป้องกัน

9. ความก้าวหน้า (Progress) ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในการพิจารณาคุณค่าข่าว โดยเฉพาะการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ เทคโนโลยีสมัยใหม่ ความเปลี่ยนแปลงของสังคม การศึกษา ฯลฯ ย่อมเป็นผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งสิ้น มนุษย์ทั้งหลายย่อมมีความสนใจอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้น ในหนังสือพิมพ์หลายฉบับ จึงเปิดคอลัมน์วิทยาการก้าวหน้าขึ้น เพื่อรายงานความก้าวหน้าทางการแพทย์บ้าง การค้นพบวิจัย การประดิษฐ์ อุตสาหกรรม หรือเครื่องทุ่นแรงที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านในอาชีพสาขาต่างๆ เพราะความก้าวหน้าทางวิทยาการย่อมมีผลต่อความหวังใหม่ในชีวิตของประชาชนด้วย

10. เพศ (Sex) ในโลกนี้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายมีอยู่เพียง 2 เพศ คือ ชายและหญิง ความสนใจในเพศตรงข้าม จึงเป็นธรรมดาของมนุษย์และสัตว์ จัดเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากที่สุดก็ว่าได้ ความผิดปกติทางเพศ หรือพฤติกรรมเบี่ยงเบน จึงมักได้รับความสนใจเป็นพิเศษ องค์ประกอบข้อนี้มิได้หมายถึง เฉพาะเรื่องระหว่างหญิงกับชายเท่านั้น แต่รวมไปถึง กิจกรรมต่างๆทางสังคมด้วย เช่น การต่อสู้เพื่อแก้กฎหมายที่เสียเปรียบของสตรี การเรียกร้องความเสมอภาคระหว่างหญิงกับชาย การเรียกร้องให้เป็นที่ยอมรับของสังคมเป็นต้น

องค์ประกอบทั้ง 10 ประการ สามารถครอบคลุมถึงคุณลักษณะของ"ข่าว" ได้มากพอสมควร และอาจแบ่งซอยองค์ประกอบออกย่อยๆได้อีกหลายประการ แต่ก็ไม่พ้นคุณสมบัติทั้งหมดข้างต้น สังคมทุกวันนี้มีความสลับซับซ้อนในสิ่งที่เกิดขึ้นมากมาย เหตุการณ์เดียวอาจเกี่ยวโยงถึงหลายสาเหตุ มีผลกระทบกระเทือนในวงกว้างทำให้เข้าใจได้ยากขึ้น แต่โดยทั่วไปแล้ว คุณลักษณะของข่าวจะไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ "ข่าว"เป็นรายงานของเหตุการณ์หรือสถานการณ์ ที่มีความสำคัญและน่าสนใจ องค์ประกอบต่างๆแสดงถึงความสนใจของผู้อ่านที่ได้นำเสนอในรูปของข่าว ผูกพันกับชีวิตของมนุษย์อย่างใกล้ชิด ดังที่ว่าข่าวที่ดีที่สุดของผู้อ่านข่าวที่ได้นำเสนอในรูปของข่าว ผูกพันกับชีวิตของมนุษย์อย่างใกล้ชิด ดังที่ว่าข่าวที่ดีที่สุดคือข่าวซึ่งเป็นที่สนใจ ของผู้คนส่วนมา

องค์ประกอบของข่าวเป็นแนวทางอย่างหนึ่งในการกำหนดคุณค่าของข่าว และเป็นเครื่องวัดว่าควรจะนำเสนอข่าวใดก่อนหลัง ทำให้เกิดความเข้าใจในการเลือกเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์มากขึ้น และนับเป็นแนวทางสำหรับผู้สื่อข่าวระยะเริ่มต้นที่จะเลือกรายงานเหตุการณ์ที่สอดคล้องกับความสนใจของผู้อ่าน ทำให้ข่าวที่รายงานไปมีคุณค่าควรแก่การรรับรู้ของประชาชน

ประเภทของข่าว

ถึงแม้ว่าตามความหมายของข่าวแล้ว เหตุการณ์และสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งปรากฏเป็นที่สนใจ สามารถจัดเป็นข่าวได้ทั้งสิ้น แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมีความเข้มข้นและผลกระทบต่อสังคมในระดับที่ไม่เท่ากัน กล่าวคือ บางเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้วก็หายไปไม่อยู่ในความสนใจของผู้อ่านอีกต่อไป ในขณะที่เหตุการณ์บางเหตุการณ์มีประเด็นความสนใจ ต่อเนื่องในระยะหนึ่ง จากความแตกต่างข้อนี้ จึงได้มีการจัดประเภทของข่าวออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ

1. ข่าวหนัก (Hard News) ได้แก่ข่าวที่มีคุณสมบัติของความสำคัญ มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน มากกว่าข่าวที่มีองค์ประกอบของความน่าสนใจเพียงอย่างเดียว ตัวอย่างเช่น ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวการเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม ข่าวเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีผลกระทบโยงใยต่อปัจจัยอื่นๆอีกมาก เช่น ข่าวเศรษฐกิจมักจะมีผลกระทบจากสภาวะทางการเมือง สะท้อนถึงสภาพความเป็นอยู่ ค่าครองชีพของประชาชน หรือข่าวอาชญากรรมร้ายแรงมีผลกระทบต่อศีลธรรมและความปลอดภัยของประชาชน ในกรณีเช่นนี้มักทิ้งปัญหาบางอย่างให้ผู้อ่าน หรือผู้เกี่ยวข้องต้องนำไปขบคิดแก้ปัญหาต่อไป มิได้หยุดเพียงแค่การรายงานข่าวเท่านั้น หากจะกล่าวโดยสรุป ข่าวหนักเป็นข่าวที่ให้ความสำคัญต่อชีวิตและความเป็นอยู่ในสังคม ให้ความรู้ความเข้าใจและข้อคิดแก่ประชาชน ก่อให้เกิดความคิดต่อเนื่องแก่ผู้อ่านมากกว่า จะเป็นเพียงสนองอารมณ์ความอยากรู้อยากเห็นเพียงอย่างเดียว

2. ข่าวเบา (Soft News) ได้แก่ ข่าวที่มีองค์ประกอบของความน่าสนใจมากกว่าความสำคัญ มักเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความสนใจให้ผู้อ่านในช่วงระยะเวลาเดียว แล้วจางหายไปจากความทรงจำของประชาชน ตัวอย่างเช่น ข่าวอาชญากรรม ตีรันฟันแทง ข่าวบันเทิง เหตุการณ์ที่เป็น ข่าวจะไม่มีผลกระทบต่อเนื่องกับความเป็นอยู่ของประชาชนเท่าใดนัก แต่จะให้อารมณ์สนองความอยากรู้อยากเห็นแก่ผู้อ่านต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประจำวัน ข่าวประเภทนี้จึงมักจะมีองค์ประกอบของความสนใจ กระตุ้นอารมณ์ตื่นเต้นเร้าใจได้มากกว่าข่าวหนัก

หากจะมองความสัมพันธ์ของประเภทหนังสือพิมพ์กับกับประเภทของข่าวแล้ว พิจารณาได้อย่างคร่าวๆว่า หนังสือพิมพ์ประเภทเพ่งปริมาณจะมีนโยบายให้ลำดับความสำคัญในการเสนอข่าวประเภทข่าวเบามากกว่าประเภทข่าวหนัก ในขณะที่หนังสือพิมพ์ประเภทเพ่งคุณภาพจะให้ความสำคัญแก่ข่าวหนักมากกว่าข่าวเบา

ในการศึกษาการรายงานข่าวหนังสือพิมพ์นอกจากต้องทราบประเภทของข่าวแล้วการเลือกเหตุการณ์ เพื่อรายงานในหนังสือพิมพ์ก็ต้องคำนึงถึงนโยบายของหนังสือพิมพ์ และความถูกต้องในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสื่อมวลชนที่ดีด้วยว่าเหตุการณ์ใดที่เหมาะสมและควรจะเป็นข่าวที่ดีสำหรับผู้อ่าน

คุณสมบัติของข่าว

เมื่อมีการวินิจฉัยคุณค่าข่าวเพื่อรายงานแล้ว สิ่งที่นักข่าวหรือผู้สื่อข่าวควรตระหนักก็คือ คุณสมบัติของข่าวที่ดี ทั้งนี้หมายถึงข่าวที่จะรับการรายงานหรือเสนอในหน้าหนังสือพิมพ์ควรมีคุณสมบัติที่เอื้ออำนวยต่อการอ่าน ความเข้าใจ และความน่าเชื่อถือแก่ผู้อ่านหนังสือพิมพ์ด้วย ข่าวจึงประกอบด้วยคุณสมบัติต่อไปนี้

1. ความถูกต้อง หมายถึงความถูกต้องในข้อเท็จจริงและเนื้อหา ตัวสะกด ตัวเลข ฯลฯ

2. ความชัดเจน หมายถึงความแจ่มแจ้งชัดเจนทั้งในเรื่องของภาษา ความเข้าใจ การจับประเด็น ความแม่นยำ ตลอดจนการสื่อความหมาย ที่แน่นอน

3. ความกระชับ หมายถึงข่าวทุกชิ้นต้องเขียนให้กระชับ รัดกุม ไม่ยาวยืดเยิ่นเย้อ จนน่าเบื่อ ผู้อ่านต้องการรู้เรื่องราวอย่างรวดเร็วภายในเวลาจำกัด

4. ความเป็นกลาง หมายถึงการปราศจากความคิดเห็นในข่าว ผู้รายงานข่าวจะใส่ความคิดเห็นในข่าวไม่ได้ ต้องรายงานไปตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเสมอ

ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของข่าว และการวินิจฉัยคุณค่าข่าว จึงนับเป็นความรู้เบื้องต้นที่ผู้ต้องการเป็นนักหนังสือพิมพ์ควรทราบ เพราะนอกจากจะทำให้การทำงานในฐานะผู้สื่อข่าว และผู้รายงานข่าวมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ยังช่วยให้สามารถกำหนดทิศทางการทำงานได้ถูกต้องยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกรายงานเหตุการณ์ที่มีคุณค่าเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยส่วนรวม ตลอดจนจะทำให้มีแนวทางในการเลือกจับประเด็นข่าวมารายงานให้เหมาะสมกับประเภท และนโยบายของหนังสือพิมพ์ที่ตนสังกัดอยู่ด้วย

เอกสารอ้างอิง

( มาลี บุญศิริพันธ์. หลักการทำหนังสือพิมพ์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ประกาย


Create Date : 08 มีนาคม 2551
Last Update : 8 มีนาคม 2551 3:26:28 น. 49 comments
Counter : 7520 Pageviews.

 


โดย: นายแจม วันที่: 8 มีนาคม 2551 เวลา:8:11:05 น.  

 


โดย: Mandria วันที่: 24 มีนาคม 2551 เวลา:11:48:35 น.  

 
น่าจะมีการแนะนำการวางแผน เพื่อความมั่นคงของของธุรกิจหนังสือพิมพ์ด้วย


โดย: เจมส์ ชาลี IP: 117.47.111.251 วันที่: 18 เมษายน 2551 เวลา:11:11:33 น.  

 
เพิ่งเรียนจบมาทางด้านนี้ค่ะ อยากทราบถึงกระบวนการและขั้นตอนของงานข่าวอ่ะค่ะ
ขอบคุนค่ะ


โดย: น้องข้าว IP: 124.121.114.153 วันที่: 10 มิถุนายน 2551 เวลา:12:43:30 น.  

 


ดีๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


โดย: นักวารสาร IP: 124.157.237.222 วันที่: 3 กรกฎาคม 2551 เวลา:16:21:08 น.  

 
เรียน


โดย: chin IP: 124.120.201.161 วันที่: 18 กรกฎาคม 2551 เวลา:19:47:26 น.  

 
ดีมากเลยค่ะที่มีวิธีการทำหนังสือมาให้พราะตอนนี้ อ.ที่โรงเรียนสั่งให้ทำหนังสือพิมพ์โดยใช้กระดาษร้อยปอนด์ทำค่ะ


โดย: น้องน้ำตา IP: 222.123.105.123 วันที่: 19 กรกฎาคม 2551 เวลา:12:55:57 น.  

 
ขอบคุณครับ กำลังทำรายงานพอดี
ผมว่าเว็ปแบบนี้ดีมากครับ ทำให้เราหารายงานและได้ความรู้มากกว่าใน
ห้องเรียนเยอะเลยล่ะ


โดย: สุรชา IP: 222.123.137.22 วันที่: 22 กรกฎาคม 2551 เวลา:21:49:00 น.  

 
ขอบคุณครับ


โดย: สามยก IP: 117.47.80.210 วันที่: 28 กรกฎาคม 2551 เวลา:14:28:20 น.  

 
ขอบคุณครับ
ผมอยากทำหนังสืออยู่พอดี แต่พออ่านแล้ว เฮ้ย............................................................................................................................................................................................................


โดย: SUARA SISWA เสียงนิสิต IP: 118.174.88.39 วันที่: 19 สิงหาคม 2551 เวลา:23:04:12 น.  

 
ขอบคุณที่เผยแพร่เนื้อหาที่น่าสนใจไว้และใส่แหล่งที่มาด้วยค่ะ
เข้ามาดูทบทวน...


โดย: ทะเลหญ้า IP: 124.121.99.52 วันที่: 26 สิงหาคม 2551 เวลา:16:53:02 น.  

 

น่าสนใจค่ะเด็กเภสัช


โดย: คนอกหัก IP: 125.25.252.59 วันที่: 13 กันยายน 2551 เวลา:22:40:44 น.  

 
Thank you so much for your good info.


โดย: Affro IP: 125.25.121.81 วันที่: 17 พฤศจิกายน 2551 เวลา:13:55:20 น.  

 
ขอบคุณน่ะค่ะ ได้ความรู้มากเลย


โดย: nut IP: 118.172.137.215 วันที่: 12 มกราคม 2552 เวลา:12:54:24 น.  

 
ขอบคุณมาก ๆ เลยครับ ได้ความรู้ดีมากเลย ผมกำลังจะทำหนังสือพิมพ์ส่วนท้องถิ่น อยู่ครับ รบกวนขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำหนังสือพิมพ์ส่วนท้องถิ่นด้วยครับ
จักเป็นพระคุณอย่างสูง
ติดต่อผ่าน ketchome@hotmail.com ได้ครับ


โดย: amorn IP: 124.120.29.81 วันที่: 18 มกราคม 2552 เวลา:15:34:13 น.  

 
ขอบคุณค่ะ


โดย: wanna IP: 221.128.120.164 วันที่: 9 มีนาคม 2552 เวลา:0:48:04 น.  

 
น่าสนใจดีค่ะ เนื่องจากต้องการทำงานด้านงานพิมพ์อยู่
บริษัทไหนขาดคน ต้องการผู้ใหญ่ไปฝึกงาน
ติดต่อมาได้ค่ะ
โทร.0844496030


โดย: จุ๋ม IP: 58.9.213.234 วันที่: 26 มีนาคม 2552 เวลา:19:58:10 น.  

 
พอดีลงสอบรับตรงความถนัดวิชาสารสนเทศของจุฬาไม่รู้ว่าจะออกแบบนี้หรือปล่าว
???


โดย: ข้าวโพด IP: 124.122.22.133 วันที่: 3 มิถุนายน 2552 เวลา:19:07:25 น.  

 
ดีมากเลยครับ ยอดเยี่ยม ว่างๆจะแวะเข้ามาชมอีก


โดย: ณัฐ IP: 115.67.50.173 วันที่: 26 มิถุนายน 2552 เวลา:10:12:00 น.  

 
ขอบคุณนะคะ จะแวะมาใหม่นะคะ
อยากได้ประมาณ เทคนิคการทำ อ่ะค่ะ จะทำหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น น่ะคะ รบกวนด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ


โดย: ปู (pupupretty ) วันที่: 14 กรกฎาคม 2552 เวลา:10:52:28 น.  

 
ครอบคลุมเนื้อหาดีค่ะ


โดย: bean IP: 161.200.255.162 วันที่: 3 สิงหาคม 2552 เวลา:9:45:24 น.  

 
ขอบคุณครับกับwebside ดีๆ กำลังจะทำหนังสือพิมพ์ครับ


โดย: โจ IP: 124.157.133.24 วันที่: 5 กันยายน 2552 เวลา:10:09:21 น.  

 
โทษที่ครับลืมบอกไป Liverpool จะเป็นแชมป์เหมือนทีม ชลบุรี FC ครับ


โดย: โจ IP: 124.157.133.24 วันที่: 5 กันยายน 2552 เวลา:10:11:31 น.  

 
ขอบคุณค่ะ


โดย: zzz IP: 210.86.135.78 วันที่: 20 พฤศจิกายน 2552 เวลา:9:29:17 น.  

 
ดีมากค่ะ ทำให้มีความรู้มากมาก


โดย: โอ๋ IP: 113.53.65.155 วันที่: 8 ธันวาคม 2552 เวลา:18:17:40 น.  

 
ขอบพระคุณมากค่ะ เข้ามาดูนี้ได้ความรู้เยอะเลยหายข้องใจไปอีกนาน แต่ยังไงก็จะแวะมาดูใหม่นะคะ บ๊ายบายค่ะ


โดย: อาโนเนะ IP: 125.26.193.36 วันที่: 19 มกราคม 2553 เวลา:13:17:30 น.  

 
ขอบคุณครับ


โดย: เสรีชน IP: 58.8.159.118 วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา:10:56:45 น.  

 
ขอบคุณมาก


โดย: tone IP: 125.27.229.97 วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:16:57:16 น.  

 
ขอบคุณนะคะ ^^

กำลังหาอยู่พอดี


โดย: pukurin1412 IP: 118.173.11.205 วันที่: 13 เมษายน 2553 เวลา:15:07:38 น.  

 
ขอบคุนมากคับ


โดย: t IP: 124.121.90.161 วันที่: 27 เมษายน 2553 เวลา:3:52:51 น.  

 
กำลังเริ่มต้นทำหนังสือพิมพ์อยู่ครับ พอรู้ว่าต้นทุนอย่างต่ำสิบล้านกว่าบาทนี้ใจหายว้าบเลยแต่ก็จะทำต่อไปครับ และขอขอบคุณเนื้อหาดีๆในบลอกนี้นะครับ


โดย: ลิ้นทองโภชนา IP: 125.25.55.89 วันที่: 16 พฤษภาคม 2553 เวลา:19:09:20 น.  

 
ขอบคุณมากนะคะที่นำความรู้ที่เราไม่รู้ ไม่รู้จะขอบพระคุณยังไงดี ทำได้แค่คุณต้องการนะคะ คือมาเม้นห้


โดย: นู๋บีท IP: 222.123.61.7 วันที่: 25 มิถุนายน 2553 เวลา:21:06:08 น.  

 
เอ่อ..คุณคะคือว่าเราอยากรู้ว่าการเขียนบทความเป็นยังไงอ่ะค่ะ รบกวนคุณได้มั้ยคะ?เราอยากรู้อ่ะค่ะจะได้ทำไปส่งอาจารย์อ่ะ ไม่ได้ไม่เป็นไรนะคะ แต่ถ้าได้ก็ขอบพระคุณจริงๆค่ะ คือว่าต้องการเร็วๆจะได้มั้ยคะ ขอโทดนะคะที่รบกวนคุณ ขอบพระคุณมากๆค่ะ


โดย: นู๋บีท IP: 222.123.61.7 วันที่: 25 มิถุนายน 2553 เวลา:21:21:02 น.  

 
ขอบคุณสำหรับขอมูล


โดย: bunn IP: 119.46.107.67 วันที่: 5 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:40:57 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลมากๆเลยค่ะ


โดย: แก้วเก้า IP: 183.89.243.150 วันที่: 23 กรกฎาคม 2553 เวลา:17:53:12 น.  

 
ข้อมูลเยอะจนตาลาย อ๋อย +_+

ถ้าอยากทำวารสารโรงเรียนอะไรแบบนี้อ่ะค่ะ ไม่มีเหรอคะ =O= (จ่ายเม้นท์แล้วนะคะ)


โดย: --- IP: 125.27.74.124 วันที่: 8 สิงหาคม 2553 เวลา:15:14:17 น.  

 
ขอถามหน่อยนะคะ คนที่ทำเว็บนี้เป็นนักเขียนข่าวรึป่าวคะ

ขอบคุณมากๆเลยค่ะ กำลังจะทำข่าวห้องเรียนอยู่พอดี


โดย: เจสสิก้า IP: 125.24.37.11 วันที่: 17 สิงหาคม 2553 เวลา:21:11:16 น.  

 

ขอบคุณที่นำบทความดีๆ มีสาระมาให้อ่าน เป็นความรู้ที่น่าศึกษามาก
อยากให้นำสาระดีๆอย่างนี้มาลงให้อ่านอีกมาก จะนำไปสอนเด็ก


โดย: ครูแอ๊ด IP: 118.172.23.155 วันที่: 12 กันยายน 2553 เวลา:7:55:45 น.  

 
ดีค่ะ ได้ข้อมูลหลาย ๆ แหล่งโดยสะดวก รวดเร็ว ขอบคุณนะคะที่ทำเว็บมีสาระ เพราะไม่มีเวลาเข้าห้องสมุด
อาจารย์ให้ทำรายงานเรื่องหนังสือพิมพ์ ไม่รู้ว่าจะมีอย่างอื่นแนะนำอีกไหมค่ะ


โดย: แก้วใจ IP: 61.7.167.219 วันที่: 21 กันยายน 2553 เวลา:11:49:52 น.  

 
ขอบคุณครับกำลังเรียนเรื่องหนังสือพิมพ์อยู่อ่ะนะครับ


โดย: นักเรียน IP: 58.11.8.33 วันที่: 11 ตุลาคม 2553 เวลา:20:56:59 น.  

 
ขอบคุณมากที่มีหลักการทำหนังสือพิมพ์


โดย: จิรายุทธ IP: 124.121.181.242 วันที่: 28 ตุลาคม 2553 เวลา:16:31:28 น.  

 
ชอบ อ่านเข้าใจง่ายดี
ตอนนี้อยากฝึกงานกับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นจังหวัดชลบุรี เล่มไหนรับนักศึกษาฝึกงานติดต่อผ่านเมลได้ dek_rayong1989@hotmail.com ขอบคุณล่วงหน้านะ


โดย: เด็ก jr IP: 110.164.28.47 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2553 เวลา:21:55:13 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะ
^^


โดย: เด็ก S.T, IP: 113.53.51.19 วันที่: 25 ธันวาคม 2553 เวลา:18:05:35 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะ
^^


โดย: เด็ก S.T, IP: 113.53.51.19 วันที่: 25 ธันวาคม 2553 เวลา:18:06:07 น.  

 
ขอบคุนค่า
สวยดี


โดย: ครีม IP: 182.53.96.177 วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:18:48:56 น.  

 
ขอบคุณมากๆ กว่าจะเจอ


โดย: yaya IP: 115.87.4.199 วันที่: 15 มีนาคม 2554 เวลา:17:45:10 น.  

 
thank you


โดย: RKM IP: 115.87.138.246 วันที่: 23 มีนาคม 2554 เวลา:10:24:44 น.  

 
ขอบคุนคร้า


โดย: ..... IP: 182.52.113.24 วันที่: 4 เมษายน 2554 เวลา:9:49:49 น.  

 
ขอบคุณค่ะ


โดย: Mook IP: 27.145.146.252 วันที่: 7 ตุลาคม 2556 เวลา:17:48:40 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.