ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง
คุณควบคุมความมั่นคงไม่ได้หรอก ในระบอบเจ้าที่ดินของอินเทอร์เน็ต

โดย บรูซ ชไนเออร์
แปลจาก You Have No Control Over Security on the Feudal Internet
//blogs.hbr.org/cs/2013/06/you_have_no_control_over_s.html
เขียนโดย Bruce Schneier
แปลโดย ธิติมา อุรพีพัฒนพงศ์
เผยแพร่ครั้งแรกใน ThaiNetizen 1 กรกฎาคม 2556
https://thainetizen.org/2013/07/no-security-on-feudal-internet/

การเปิดโปงโครงการดักฟังข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตหรือโครงการ “ปริซึม” (PRISM) ของสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NSA) นำมาสู่การถกเถียงอย่างกว้างขวางทั่วโลก ทั้งในหมู่ประชาชน รัฐบาล และบริษัทเอกชน โดยเฉพาะประเด็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งคือ ขณะที่เราฝากข้อมูลสำคัญต่างๆ ในชีวิตของเราไว้ในอินเทอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อยๆ เราในฐานะปัจเจกชนได้รับความคุ้มครองและมีความเป็นส่วนตัวมากน้อยแค่ไหน บรูซ ชไนเออร์ (Bruce Schneier) นักเทคโนโลยีความมั่งคง เสนอให้มองความสัมพันธ์ระหว่างเรากับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตว่าเป็นระบอบเจ้าที่ดินยุคใหม่ การเปรียบเทียบลักษณะนี้อาจทำให้เราเห็นทางออกด้านความปลอดภัยของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจากระบบเจ้าที่ดินได้ — แม้ทางออกที่เขาเสนออาจจะยังมีคำถามว่า เหมาะสมเพียงไรสำหรับสังคมไทย ซึ่งมีบริบททางประวัติศาสตร์และมีระดับการเคารพสิทธิพลเมืองต่างจากยุโรป แต่เราซึ่งเป็นผู้ใช้ของผู้ให้บริการที่มีเครือข่ายทั่วโลก ข้อเขียนนี้อาจชวนให้เราตระหนักถึงตำแหน่งแห่งที่และความปลอดภัยของตนเองในโลกออนไลน์ได้

000
คุณควบคุมความมั่นคงไม่ได้หรอก ในระบอบเจ้าที่ดินของอินเทอร์เน็ต


เฟซบุ๊กละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อยู่บ่อยๆ กูเกิลเลิกสนับสนุนโปรแกรมอ่านข่าว RSS ยอดนิยม แอปเปิลห้ามไม่ให้มีแอพพลิเคชันที่มีเนื้อหาทางการเมืองหรือทางเพศบนไอโฟน ไมโครซอฟท์อาจร่วมมือกับรัฐบาลบางประเทศดักฟังสไกป์ เพียงแต่เราไม่รู้ว่าประเทศไหน ส่วนทวิตเตอร์และลิงก์อิน (LinkedIn) ก็เพิ่งพ้นเรื่องปวดหัวจากการถูกเจาะระบบรักษาความปลอดภัยซึ่งกระทบกับข้อมูลของผู้ใช้หลายแสนราย

หากคุณเริ่มคิดว่าตัวเองเป็นชาวนาเคราะห์ร้ายในการต่อสู้แย่งชิงอำนาจ อย่างในละครชุดเกมออฟโทรนส์ (Game of Thrones) คุณมาถูกทางแล้วล่ะ บริษัทเหล่านี้ไม่ใช่บริษัทแบบเดิม และเราก็ไม่ใช่ลูกค้าแบบเดิมอีกต่อไป พวกเขาคือเจ้าที่ดิน (feudal lord) และเราต่างเป็นข้า ชาวนา และทาสติดที่ดิน (vassal, peasant and serf)

อำนาจนั้นได้เปลี่ยนมือไปในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ ในทิศทางที่เป็นประโยชน์กับผู้ให้บริการกลุ่มเมฆคอมพิวเตอร์ (cloud-service provider) และผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม (vendor platforms) การเปลี่ยนมือของอำนาจนี้ส่งผลกระทบหลายอย่าง และกระทบต่อความปลอดภัยอย่างมาก

ในยุคดั้งเดิม ความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ใช้เอง ผู้ใช้ซื้อโปรแกรมป้องกันไวรัสและติดตั้งระบบไฟร์วอลล์เอง และความผิดพลาดใดๆ ที่เกิดขึ้นถือว่ามาจากความไม่กระตือรือร้นของผู้ใช้ มันเป็นรูปแบบทางธุรกิจที่บ้าทีเดียว เพราะปกติแล้ว เราคาดหวังว่าผลิตภัณฑ์และบริการที่เราซื้อจะปลอดภัย แต่ในโลกไอทีเราอดทนกับผลิตภัณฑ์ที่น่ารังเกียจ และสนับสนุนตลาดความปลอดภัยหลังการขาย (aftermarket) ที่ใหญ่มาก

ตอนนี้อุตสาหกรรมไอทีมีวุฒิภาวะมากขึ้น เราคาดหวังความปลอดภัย “ตั้งแต่แกะกล่อง” กันมากขึ้น มันเป็นไปได้เพราะแนวโน้มเทคโนโลยีสองอย่าง คือ การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (cloud computing) และ แพลตฟอร์มที่ผู้ผลิตเป็นผู้ควบคุมเอง (vendor-controlled platforms) อย่างแรกหมายความว่าข้อมูลทั้งหมดของเราถูกเก็บอยู่ในเครือข่ายอื่น เช่น กูเกิลด็อกส์ เซลส์ฟอร์ซ.คอม เฟซบุ๊ก จีเมล ส่วนอย่างหลังหมายถึงการที่อุปกรณ์อินเทอร์เน็ตของเราถูกควบคุมโดยผู้ผลิต เช่น ไอโฟนของแอปเปิล โครมบุ๊กส์ของกูเกิล เครื่องอ่านหนังสือคินเดิลของอเมซอนแอมะซอน โทรศัพท์แบล็คเบอร์รี ความสัมพันธ์ของเรากับเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไป เราเคยใช้คอมพิวเตอร์ “ทำ” สิ่งต่างๆ ทุกวันนี้เราใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ควบคุมโดยผู้ผลิต “ไป” ยังสถานที่ต่างๆ และสถานที่เหล่านี้ทั้งหมดเป็นของใครสักคน

รูปแบบความปลอดภัยใหม่คือ การที่ใครบางคนดูแลมันโดยไม่ได้บอกรายละเอียดอะไรแก่เราเลย เราไม่สามารถควบคุมความปลอดภัยของเราในการใช้จีเมลของตัวเอง หรือรูปภาพของเราเองในเว็บฟลิกเกอร์ (Flickr) เราขอความปลอดภัยที่มากขึ้นให้กับไฟล์นำเสนองานของเราบนเพรซซี (Prezi) หรือบันทึกกันลืมในเทรลโล (Trello) ไม่ได้ ไม่ว่ามันจะเป็นความลับมากแค่ไหนก็ตาม เราไม่สามารถตรวจสอบบริการคลาวด์เหล่านี้ได้เลย เราลบข้อมูลคุกกี้ (cookies) ในไอแพดของเราไม่ได้ หรือกระทั่งไม่แน่ใจว่าไฟล์ของเราถูกลบอย่างปลอดภัยแล้ว คินเดิลของเราอัปเดตอัตโนมัติโดยไม่เคยถามเรา เรารู้น้อยมากเกี่ยวกับความปลอดภัยของเฟซบุ๊ก เราไม่รู้เลยว่ามันใช้ระบบปฏิบัติการอะไร

มีเหตุผลมากมายที่อธิบายว่าทำไมเราจึงแห่กันมาใช้ระบบคลาวด์และแพลตฟอร์มที่ควบคุมโดยผู้ผลิต มันมีประโยชน์มหาศาล ตั้งแต่เรื่องต้นทุนไปจนถึงความสะดวกสบาย ไปจนถึงความไว้ใจได้ ไปจนถึงความมั่นคงปลอดภัยของมัน แต่นี่เป็นความสัมพันธ์แบบศักดินาโดยแท้ เรามอบสิทธิในการควบคุมข้อมูลของเราให้กับบริษัทต่างๆ และไว้ใจว่าพวกเขาจะดูแลเราเป็นอย่างดี ปกป้องเราจากอันตรายต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าเรายังสัญญาด้วยว่าจะจงรักภักดีต่อพวกเขา ปล่อยให้พวกเขาควบคุมอีเมล ปฏิทิน สมุดบันทึกที่อยู่ ภาพถ่าย และทุกสิ่งทุกอย่างของเรา เราก็จะยิ่งได้รับประโยชน์มากขึ้น เรากลายเป็นข้ารับใช้ และในวันที่แย่หน่อยก็คือทาสติดที่ดินของพวกเขา

มีเจ้าที่ดินอยู่มากมาย กูเกิลและแอปเปิลเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด แต่ไมโครซอฟท์ก็พยายามที่จะควบคุมทั้งข้อมูลผู้ใช้และทั้งแพลตฟอร์มด้วยเช่นกัน เฟซบุ๊กก็ถือเป็นเจ้าที่ดินอีกลักษณะหนึ่งซึ่งควบคุมกิจกรรมทางสังคมที่เราทำบนอินเทอร์เน็ต เจ้าที่ดินคนอื่นๆ มีขนาดเล็กกว่าและจำเพาะเจาะจงมากกว่า เช่น อเมซอน ยาฮู เวอริซอน แต่ก็มีลักษณะแบบเดียวกัน

แน่นอนว่าระบบความปลอดภัยแบบเจ้าที่ดินมีข้อดีของมัน บริษัทเหล่านี้มีระบบความปลอดภัยที่ดีกว่าผู้ใช้โดยทั่วไป มีระบบสำรองข้อมูลอัตโนมัติที่ช่วยรักษาข้อมูลจำนวนมาก หากฮาร์ดแวร์ใช้การไม่ได้จากความผิดพลาดโดยผู้ใช้หรือจากการจู่โจมของมัลแวร์ต่างๆ การอัปเดตแบบอัตโนมัติเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้น และเป็นความจริงที่ว่าสำหรับองค์กรขนาดเล็กแล้ว วิธีนี้มีความปลอดภัยมากกว่าการทำระบบเอง ส่วนองค์กรขนาดใหญ่ที่มีแผนกไอทีโดยเฉพาะ ข้อดีของระบบแบบนี้ก็ชัดเจนน้อยลง แน่นอนว่า แม้บริษัทใหญ่ต่างจ้างบริษัทภายนอก ให้ทำงานสำคัญอย่างเรื่องภาษีและบริการทำความสะอาด แต่พวกเขาก็มีความต้องการที่เฉพาะเจาะจงในเรื่องความปลอดภัย การเก็บรักษาข้อมูล การตรวจสอบความปลอดภัย ฯลฯ ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ สำหรับเจ้าที่ดินเกือบทั้งหมด

ระบบความปลอดภัยของเจ้าที่ดินก็มีความเสี่ยงของมันเอง ผู้ให้บริการทำความผิดพลาดซึ่งกระทบต่อคนหลายแสนคนได้ ผู้ให้บริการจำกัดความสัมพันธ์ระหว่างกันได้ ด้วยการทำให้ผู้ใช้บริการเอาข้อมูลของตัวเองออกมาได้ยากขึ้น หรือกระทั่งออกจากความสัมพันธ์ก็ตาม ผู้ให้บริการเป็นผู้กำหนดและต่อต้านผลประโยชน์ของพวกเรา เฟซบุ๊กทำแบบนี้อยู่บ่อยๆ ในการตั้งค่าพื้นฐานหรือค่าปริยาย (default) ของผู้ใช้ให้เข้ากับบริการรูปแบบใหม่ หรือปรับเปลี่ยนนโยบายด้านความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ มีผู้ให้บริการจำนวนมากมอบข้อมูลของเราให้กับรัฐบาลโดยที่ไม่แจ้งให้เราทราบ หรือไม่ได้รับความยินยอมจากเรา พวกเขาเกือบทั้งหมดแสวงหากำไรจากขายข้อมูลของเรา นี่ไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจ ในความเป็นจริงก็คือบริษัทต่างๆ ถูกคาดหวังให้กระทำเฉพาะสิ่งที่เป็นผลประโยชน์ของพวกเขาเอง ไม่ใช่ผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของผู้ใช้บริการ

ความสัมพันธ์แบบศักดินานี้ตั้งอยู่บนฐานของอำนาจ ช่วงยุคกลางของยุโรป ผู้คนสัญญาว่าจะจงรักภักดีต่อเจ้าที่ดินเพื่อแลกกับการคุ้มครอง การจัดการในลักษณะนี้เปลี่ยนแปลงเมื่อเจ้าที่ดินตระหนักว่าพวกเขามีอำนาจเต็มที่ และสามารถทำอะไรก็ได้ที่ตนเองต้องการ ทาสถูกขูดรีดข่มเหง ชาวนาถูกผูกติดกับที่ดินและกลายเป็นทาสติดที่ดินในที่สุด

สิ่งที่ทำให้เจ้าที่ดินอินเทอร์เน็ตทำกำไรได้ ก็คือความนิยมและความแพร่หลายของพวกเขา กฎหมายและความสัมพันธ์กับรัฐบาลทำให้พวกเขารักษาอำนาจได้ง่ายขึ้น เจ้าที่ดินอินเทอร์เน็ตต่างแข่งขันกันสร้างกำไรและอำนาจ โดยการที่พวกเราใช้เวลาและให้ข้อมูลส่วนตัวของเราแก่เว็บไซต์ของพวกเขา — ไม่ว่าจะผ่านการค้นหาข้อมูล การส่งอีเมล การอัปเดตสถานะ การกดไลก์ หรือพูดง่ายๆ ก็คือลักษณะทางพฤติกรรมของพวกเรา — เรากำลังมอบวัตถุดิบสำหรับการต่อสู้ดังกล่าว เมื่อพิจารณาเช่นนี้ เราจึงเหมือนกับทาสติดที่ดิน ซึ่งตรากตรำทำงานหนักบนผืนดินเพื่อเจ้าที่ดินของเรา ถ้าคุณไม่เชื่อ ให้ลองเอาข้อมูลของคุณเองติดตัวออกมาด้วยตอนที่คุณจะเลิกใช้เฟซบุ๊ก และเมื่อช้างสารอย่างเจ้าที่ดินชนกันหญ้าแพรกอย่างพวกเราก็แหลกราญอย่างช่วยไม่ได้

ดังนั้น เราจะมีชีวิตรอดได้อย่างไร นับวันเรายิ่งมีทางเลือกน้อยลงในการไว้เนื้อเชื่อใจใครสักคน สิ่งที่เราต้องตัดสินใจก็คือเราไว้ใจใครได้บ้าง //www.schneier.com/essay-412.html และใครที่เราไว้ใจไม่ได้ นี่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เจ้าที่ดินของเรามีวิธีการทำงานที่ไม่โปร่งใส ทั้งการกระทำ ความปลอดภัยของพวกเขา หรืออีกหลายสิ่งหลายอย่าง จงใช้อำนาจอะไรก็ตามที่คุณมี (ในฐานะปัจเจกชน คุณไม่มีอำนาจเลย ในฐานะองค์กรขนาดใหญ่ คุณมีมากขึ้น) ต่อรองกับเจ้าที่ดินของพวกคุณ และท้ายที่สุด อย่าสุดขอบมากนักในประเด็นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ใช่ ระบบของคุณอาจจะถูกปิดโดยไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆ แต่บ่อยครั้งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นกับคนที่อยู่ตรงขอบ ผมเห็นด้วยว่า มันอาจช่วยได้ไม่มากนัก แต่มันก็ดีกว่าไม่มีอะไรเลย

ในทางนโยบาย เราควรมีแผนการทำงานที่เป็นรูปธรรม โดยในระยะสั้น เราจำเป็นต้องรักษาความสามารถในการหลบเลี่ยง (circumvention) ซึ่งคือความสามารถในการปรับเปลี่ยนฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และไฟล์ข้อมูลของเราเอง ปกป้องให้เรื่องดังกล่าวยังเป็นเรื่องถูกกฎหมาย และรักษาความเป็นกลางของเครือข่าย (net neutrality) สองสิ่งนี้จะช่วยกำหนดขอบเขตว่าเจ้าที่ดินจะสามารถหาประโยชน์จากเราได้มากแค่ไหน และช่วยเพิ่มความเป็นไปได้ที่ตลาดจะบังคับให้พวกเขาเมตตาพวกเรามากขึ้น สิ่งที่พวกเราไม่ต้องการที่สุดก็คือ การที่รัฐบาล (ซึ่งก็คือพวกเรา) ใช้ทรัพยากรต่างๆ ทำให้วิธีทำธุรกิจแบบหนึ่งอยู่เหนือวิธีทำธุรกิจอีกแบบหนึ่ง โดยปราศจากการแข่งขัน

ในระยะยาว เราทั้งหมดต้องหาทางลดสภาวะไม่สมดุลทางอำนาจ ระบบเจ้าที่ดินในยุคกลางพัฒนาไปสู่ความสัมพันธ์ที่สมดุลมากขึ้น เจ้าที่ดินมีความรับผิดชอบควบคู่กับสิทธิที่ได้รับ ทุกวันนี้ระบบเจ้าที่ดินในอินเทอร์เน็ตเป็นแบบผลประโยชน์ฝ่ายเดียว เราไม่มีทางเลือกนอกจากเชื่อใจเจ้าที่ดินของเรา ทั้งที่เราได้รับหลักประกันกลับมาน้อยมาก เจ้าที่ดินมีสิทธิมากมาย แต่มีความรับผิดชอบอันน้อยนิด เราต้องการความสัมพันธ์ที่สมดุล และการแทรกแซงจากรัฐบาลเป็นวิธีเดียวที่จะช่วยเราได้ ในยุคกลางของยุโรป การเติบโตของรัฐแบบรวมศูนย์และหลักนิติรัฐ มอบเสถียรภาพที่ระบบศักดินาไม่มีให้ การเกิดขึ้นของมหากฎบัตร “แมคนาคาร์ตา” (The Magna Carta) //th.wikipedia.org/wiki/มหากฏบัตร นับเป็นครั้งแรกที่มีการบังคับให้รัฐบาลต้องมีความรับผิดชอบ และทำให้มนุษย์ได้ก้าวไปบนหนทางสู่รัฐบาลที่มาจากประชาชนและเพื่อประชาชน

เราต้องการกระบวนการคล้ายกันนี้เพื่อควบคุมเจ้าที่ดินของเรา และกลไกตลาดไม่น่าจะทำให้เกิดกระบวนการดังกล่าวได้ คำจำกัดความของอำนาจกำลังเปลี่ยนแปลง และประเด็นเหล่านี้ใหญ่เกินกว่าเพียงเรื่องอินเทอร์เน็ตและความสัมพันธ์ของเรากับผู้ให้บริการไอทีของเรา

ที่มา : //www.prachatai.com/journal/2013/07/47488


Create Date : 23 พฤศจิกายน 2556
Last Update : 23 พฤศจิกายน 2556 15:46:17 น. 0 comments
Counter : 1503 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.