ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง

ฉันไม่อยากเป็นชาวนา

นิรมล ยุวนบุณย์
Thai Social Movement Watch

รัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญกับการวางแผนช่วยเหลือฟื้นฟูชาวนาชาวไร่ในภาคเกษตรทั้งระยะสั้นและระยะยาวอย่างชัดเจน เป็นระบบ และสอดคล้องกับสภาพปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ ต้องให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือเกษตรกรอย่างทัดเทียมกับความช่วยเหลือที่จะให้แก่ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม


อุทกภัยครั้งนี้รุนแรงและส่งผลกระทบกว้างขวางยิ่งนัก แม้แต่นิคมอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ นักลงทุน บรรษัทข้ามชาติ ซึ่งแทบไม่เคยได้รับความเดือดร้อนใดๆ ต่างก็ประสบความเสียหายอย่างหนักกันถ้วนหน้า มิต้องพูดถึงบ้านเรือนเรือกสวนไร่นา พื้นที่การเกษตรของชาวนาชาวสวนทั่วๆ ไป โดยเฉพาะในเขตจังหวัดรอบกรุงเทพมหานครที่ต้องจมเสียหายอยู่ในน้ำมานานก่อนหน้านี้หลายสัปดาห์เนื่องจากมวลน้ำจากทางเหนือและการระบายน้ำออกที่เป็นไปได้ช้าอันเกิดจากการพยายามที่จะป้องกันน้ำเข้ากรุงเทพมหานคร

หากติดตามข่าวเกี่ยวกับแนวทางการช่วยเหลือฟื้นฟูผู้้ได้รับผลกระทบ จะพบว่ารัฐมนตรีและหน่วยงานรัฐด้านการพาณิชย์และอุตสาหกรรมต่างตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการเตรียมการช่วยเหลือฟื้นฟูแก่ภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างดี ซึ่งก็เป็นเรื่องที่สมควรกระทำแล้ว เนื่องจากมีผู้ใช้แรงงานจำนวนมหาศาลในอุตสาหกรรมเหล่านี้ที่กำลังประสบความเดือดร้อน อย่างไรก็ดี น่าสังเกตว่าเรื่องราวของชาวนาชาวไร่ที่เรือกสวนไร่นาได้รับความเสียหายจากอุทกภัยดูจะกลายเป็นสิ่งที่คุ้นชินเสียจนกระทั่งว่ายังไม่เห็นมีรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านการเกษตรได้พยายามมีบทบาทเชิงรุกเพื่อเตรียมการฟื้นฟูชีวิตเกษตรกรหลังน้ำลดแต่อย่างใด สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะทำให้เกษตรกรรู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง เสียขวัญและกำลังใจ หากแต่ยังส่งผลเสียต่อภาพพจน์รัฐบาล ทำให้ง่ายต่อการโจมตีจากฝ่ายตรงข้ามว่ารัฐบาลนี้มุ่งแต่จะอุ้มนายทุนหรือผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม แต่เพิกเฉยต่อความเดือดร้อนของเกษตรกร

ในที่นี่จะได้นำเสนอตัวอย่างเรื่องราวของชาวนาในทุ่งแห่งหนึ่งในเขต อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งต้องเผชิญกับภาวะความผันผวนและความเสี่ยงต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะความเสี่ยงจากอุทกภัย ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงภัยจากธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังเป็นภัยจากระบบการจัดการน้ำที่ไม่เหมาะสมด้วย ขณะที่ภาวะน้ำท่วมรุนแรงในปีนี้ก็ยิ่งทำให้สถานการณ์ของชาวนาเหล่านี้ย่ำแย่มากขึ้น ทุ่งแห่งนี้มีสภาพเป็นแอ่งกระทะขนาดใหญ่ พื้นที่ในแอ่งมีลักษณะลุ่มๆ ดอนๆ ไม่ราบเรียบ ทุกปลายปีน้ำเหนือจะไหลหลากเข้าทุ่งในระดับความสูงราว 1 – 2 เมตร ชาวนาที่นี่มีทั้งที่ทำนาปีหรือการปลูกข้าวฟางลอยและที่ทำนาปรังปีละ 2 หน

การปลูกข้าวฟางลอยถือเป็นระบบการทำนาที่มีมาแต่เดิมและมีความสอดคล้องกับสภาพนิเวศน์ เพราะพันธุ์ข้าวที่ใช้สามารถยืดตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อหนีน้ำที่ไหลล้นตลิ่งเข้าทุ่ง การปลูกข้าวฟางลอยใช้เงินทุนและการจัดการไม่มากนักเมื่อเทียบกับการทำนาปรัง อย่างไรก็ดี หลายปีที่ผ่านมาการปลูกข้าวฟางลอยประสบปัญหาจากการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล การลดลงของผลผลิตเนื่องจากการควบคุมน้ำด้วยระบบชลประทานที่ทำให้ตะกอนดินและสารอาหารจากแหล่งน้ำธรรมชาติไม่ไหลเข้าสู่นาดังเดิม ตลอดจนความขัดแย้งกับผู้ทำปรังเนื่องจากมีความต้องการปล่อยน้ำเข้านาและระบายน้ำออกนาที่ไม่ตรงกัน

ท่ามกลางสถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบัน น้ำในทุ่งนาเพิ่มระดับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถนนเทศบาลที่อยู่ขนานกับลำคลองในหมู่บ้านเริ่มมีน้ำเอ่อนอง ชาวนาฟางลอยหวั่นวิตกว่าแม้ข้าวจะยืดต้นพ้นน้ำที่ปล่อยเข้าท่วมนาประมาณวันละ 3 เซนติเมตรได้ แต่น้ำล้นตลิ่งเข้านาที่มีมาตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายนซึ่งข้าวกำลังตั้งท้องทำให้ต้นข้าวยืดตัวยาว ไม่แตกกอ และมีผลให้ผลผลิตข้าวลดลง หากข้าวถูกซ้ำเติมอีกด้วยกองทัพเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล พวกเขาก็อาจไม่มีข้าวขายให้กับโครงการจำนำข้าวในช่วงกลางเดือนมกราคมปีหน้านี้ก็เป็นได้ นอกจากนั้น เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยว แต่หากระดับน้ำยังไม่ลดลง ก็อาจทำให้ต้องเกี่ยวข้าวในสภาพทุลักทุเล ต้นข้าวอาจจะล้มลงในทุ่งนาที่น้ำมีน้ำท่วมขังเฉอะแฉะ เมล็ดข้าวเปียกเปื้อนเสียหายและเปิดโอกาสให้โรงสีกดราคาข้าวได้อีก

สำหรับชาวบ้านที่ทำนาปรังปีละ 2 หน พวกเขาไม่ได้ทำนาฟางลอย เนื่องจากระยะเวลาการทำนาปีกินเวลานานราว 6 – 7 เดือน ทำให้นาปรังเริ่มได้ช้าและเสี่ยงอย่างมากต่อการถูกน้ำท่วมหรืออาจต้องเกี่ยวข้าวเขียวหนีน้ำในช่วงเดือนกันยายนได้ เดิมชาวนาปรังที่นี่มั่นใจว่าที่นาของตนไม่อยู่ในเขตพื้นที่เสี่ยงต่ออุทกภัย เพราะอยู่ในคันกั้นน้ำ อย่างไรก็ดี การที่ปีนี้ฝนตกชุกมาตั้งแต่ต้นปีและมีปริมาณน้ำที่ไหลหลากอย่างมากมาจากภาคเหนือ ประกอบกับผู้ที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำนอกบริเวณคันกั้นน้ำเข้าทุ่งนาประสบปัญหาน้ำท่วมมากว่า 2 สัปดาห์ พวกเขาจึงได้ปิดถนนประท้วงเพื่อให้กรมชลประทานเปิดประตูระบายน้ำเข้าทุ่งนาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ชาวนาปรังสามารถคาดเดาได้ว่าน้ำต้องท่วมนาก่อนได้เก็บเกี่ยวแน่นอน ดังนั้น ปลายเดือนสิงหาคม – ต้นกันยายนที่ผ่านมาชาวนาหลายคนจึงจำเป็นต้องรีบเร่งเกี่ยวข้าวนาปรังหนที่สองเพื่อหนีน้ำ

ชาวนาปรังรายหนึ่งเล่าว่าตนต้องรีบเกี่ยวข้าวไวกว่ากำหนด ซึ่งในคืนก่อนเกี่ยวมีฝนตกหนักเกือบ 2 ชั่วโมง ทำให้ข้าวที่เกี่ยวในเช้าวันรุ่งขึ้นมีความชื้นสูง และขายได้ตันละ 7,500 บาทเท่านั้น ขณะที่ราคาข้าวเหลืองครบกำหนดเกี่ยวที่ลานรับซื้อในขณะนั้นอยู่ที่ 9,300 – 9,500 บาท ขณะที่อีกรายเล่าว่าตนต้องเกี่ยวก่อนกำหนดราว 10 วัน ขณะนั้นข้าวกำลังเป็นน้ำนม และต้องเกี่ยวในสภาพที่มีน้ำขังในนาเฉอะแฉะ หารถเกี่ยวได้ยากเพราะคิวแน่น โดยขายได้เพียงตันละ 6,700 บาท สำหรับรายนี้มีต้นทุนการปลูกข้าวอยู่ที่ 3,337.50 บาทต่อไร่ (ไม่รวมค่าน้ำมันสูบน้ำเข้าออก) ฤดูนี้พื้นที่ 1 ไร่ของเขา ผลิตข้าวได้ 56.25 ถัง ดังนั้นข้าว 1 ตันต้องใช้ที่นา 1.7 ไร่ คิดเป็นต้นทุนการผลิตต่อตันเท่ากับ 5,673.75 บาท ข้าวที่เขาผลิตได้มีปริมาณ 4.5 ตัน ดังนั้นเขาจึงมีกำไรจากการทำนาปรังรอบนี้จำนวน 8 ไร่ รวมระยะเวลา 4 เดือน เป็นเงิน 4,618 บาท หรือได้กำไรแค่เพียงไร่ละ 577 บาทเท่านั้น

น่าสนใจว่า แม้โครงการจำนำข้าวครั้งที่ 1 ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์จะได้เริ่มต้นแล้วในวันที่ 7 ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา แต่ชาวบ้านที่นี่จำต้องเก็บเกี่ยวและขายข้าว (เขียว) จากการทำนาปรังหนที่ 2 ให้โรงสีตั้งแต่เดือนกันยายนแล้ว นั่นเท่ากับว่าฤดูปลูกข้าวนาปี 2554/55 นี้ ในทุ่งแห่งนี้จะมีเฉพาะข้าวจากนาฟางลอยที่จะเกี่ยวได้ในเดือนมกราคมปีหน้าเท่านั้นที่จะเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว แต่ทั้งนี้ต้องรอดูผลก่อนว่าท่ามกลางอุทกภัยหนักในปีนี้ ข้าวฟางลอยของทุ่งแห่งนี้จะได้เก็บเกี่ยวผลผลิตหรือไม่ อนึ่ง การทำนาปรังหนที่สองในปีนี้อยู่ระหว่างรอยต่อโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวของรัฐบาลอภิสิทธิ์กับโครงการจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ยอมจ่ายค่าชดเชยให้ชาวนาในการขายข้าวตันละ 1,437 บาท ไม่เกิน 30 ตันต่อครอบครัว อย่างไรก็ดี มาตรการการช่วยเหลือชาวนาปรังหนสองปี 2554 นี้ได้กำหนดเงื่อนไขในระดับปฏิบัติการไว้ว่าค่าชดเชยที่จะจ่ายให้นั้นใช้ฐานการคำนวณอัตราผลผลิตต่อไร่ไว้ที่ 55.3 ถังต่อไร่ จากเดิมที่กำหนดไว้ 63 ถังต่อไร่ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งจะส่งผลให้พวกเขาได้รับค่าชดเชยน้อยลงมากจากปีที่แล้ว โดยจะได้รับเพียงประมาณ 350 บาทต่อไร่เท่านั้น

การเป็นชาวนาในชีวิตจริงไม่ได้งดงามและโรแมนติคดังที่ปรากฏในเรียลลิตี้โชว์ตามทีวีสาธารณะอย่างแน่นอน ท่ามกลางวิกฤติอุทกภัยครั้งร้ายแรงในปีนี้ ชาวนาซึ่งตามปกติก็ต้องเจอกับความเสี่ยงต่างๆ มาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ทั้งจากน้ำท่วมทั่วไป เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ความไม่มั่นคงในการเช่าที่นา ฯลฯ ก็ยิ่งต้องเผชิญกับความยากลำบากมากขึ้น การพยายามปรับตัวของพวกเขาที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุนการผลิต การต่อรองขอลดราคาจ้างเกี่ยวข้าว การต่อรองกับเจ้าของที่นา ฯลฯ อาจจะไม่เพียงพอเสียแล้วสำหรับการรับมือกับภัยพิบัติที่ยากต่อการคาดการณ์ ท่ามกลางภาวะวิกฤติเช่นนี้การสนับสนุนจากรัฐบาลมีความสำคัญอย่างยิ่งรัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญกับการวางแผนช่วยเหลือฟื้นฟูชาวนาชาวไร่ในภาคเกษตรทั้งระยะสั้นและระยะยาวอย่างชัดเจน เป็นระบบ และสอดคล้องกับสภาพปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ ต้องให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือเกษตรกรอย่างทัดเทียมกับความช่วยเหลือที่จะให้แก่ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม โดยจะต้องตระหนักว่าภาคเกษตรและชาวนาชาวไร่มีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไม่น้อยกว่าภาคอุตสาหกรรม และความมั่นคงของทั้งสองภาคส่วนต่างมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงและขึ้นต่อกันอย่างแยกไม่ออก

หมายเหตุ
*บทความตีพิมพ์ในคอลัมน์ คิดอย่างคน หนังสือรายสัปดาห์ มหาประชาชน ฉบับวันที่ 11-17 พฤศจิกายน 2554

**หมายเหตุ เป็นบทความที่เรียบเรียงจากร่างรายงานผลการวิจัยเรื่อง "ดำรงชีวิตท่ามกลางความเสี่ยง: การรับมือและการปรับตัวต่อภัยพิบัติของชาวนารายย่อยภาคกลาง กรณีศึกษาภัยน้ำท่วมและภัยจากเพลี้ยกระโดด" (Surviving against the Risks: The Adaptations and Coping Strategies of Small –Scale Farmers in Central Thailand toward Hazards, Case Studies on Flooding and Planthopper Invasion) โดย ชลิตา บัณฑุวงศ์, นิรมล ยุวนบุณย์, และ นันทา กันตรี สนับสนุนโดย สำนักงานส่งเสริมการปฏิรูประบบ เพื่อคุณภาพชีวิต เกษตรกร ชุมชน และสังคม (สปกช.)

ที่มา : ประชาไท




 

Create Date : 11 ธันวาคม 2554    
Last Update : 11 ธันวาคม 2554 16:40:53 น.
Counter : 664 Pageviews.  

วัฒนธรรมการดูถูก

ชำนาญ จันทร์เรือง

ในช่วงชีวิตของเรามักจะได้พบ ได้เห็นหรือได้ยินการ “ดูถูก”กันและกันอยู่เสมอ เช่น ฝรั่งดูถูกคนไทยว่าล้าหลัง ด้อยพัฒนา ไม่มีระเบียบวินัย ฯลฯ พี่ไทยเราก็ดูถูกเพื่อนบ้าน พม่า เขมร ลาว ญวน ไปอีกต่อหนึ่งเป็นทอดๆ หรือไม่ก็คนกรุงเทพฯ ดูถูกคนต่างจังหวัดว่าบ้านนอก เชย ไม่ทันสมัย คนต่างจังหวัดในพื้นราบ ก็ดูถูกคนที่อยู่บนภูเขาไปอีกเป็นทอดๆ

ในทางการเมืองคนกรุงเทพฯ ก็ดูถูกคนต่างจังหวัดว่าไม่มีความสำนึกทางการเมือง ถูกจูงจมูก เอาเงินซื้อก็ได้เป็นผู้แทนแล้วฯ ฉะนั้น รัฐบาลที่คนต่างจังหวัดเลือกมาโดยเสียงส่วนใหญ่ก็ย่อมจะต้องถูกดูถูกและจะต้องทำทุกอย่างที่จะให้ล้มคว่ำคะมำหงายให้ได้เป็นธรรมดา ไม่เชื่อลองไปดูในโซเชียลเน็ตเวิร์คดูสิครับ ว่ากันเสียเละตุ้มเป๊ะ

ที่ร้ายกว่านั้นบางคนก็ดูถูกสตรีเพศที่เป็นคนเหนือว่าขี้เกียจ ทำเป็นแต่ขายของเก่าที่ติดมากับตัวตั้งแต่กำเนิดกินเท่านั้น ซึ่งก็ไม่รู้ว่านายคนนั้นเอามันสมองส่วนไหนคิดขึ้นมา หรือว่าเขาคิดว่าไม่ได้กำเนิดออกมาจากช่องคลอดของสตรีเพศ แต่เกิดออกมาทวารอื่นที่อยู่ไกล้กันนั้นของบุรุษเพศ จึงได้มีความคิดที่ดูถูกคนอื่นได้อย่างอัปลักษณ์เป็นที่สุด ทั้งๆที่ “ขายหวี ดีกว่าโกงแชร์”อย่างแน่นอน เพราะอย่างน้อยก็ไม่ได้ไปโกหกหลอกลวงใครจนหมดเนื้อหมดตัวเป็นคดีความหนีหัวซุกหัวซุนจนแทบไม่มีแผ่นดินอยู่ ที่แน่ๆ ตอนนี้ก็คือ นายคนนั้นเดินทางไปได้ไม่ครบทุกภาคของประเทศไทยอย่างแน่นอน

ผมมักจะถูกถามอยู่เสมอว่าจริงไหมที่คนต่างจังหวัดซื้อเสียงขายเสียงกันง่ายๆ และถูกหลอกอย่างโงหัวไม่ขึ้น ซึ่งผมก็ได้ตอบอยู่เป็นประจำว่าการซื้อเสียงขายเสียงนั้น อย่าว่าแต่ในต่างจังหวัดเลย แม้แต่ในกรุงเทพฯ เองก็มี หรือแม้แต่ในสหรัฐอเมริกาย่านบร็องซ์ก็ยังมีการแจกสตางค์กันเพื่อซื้อเสียงขายเสียงกันอยู่เลย แต่ประเด็นอยู่ที่จริงหรือที่คนไม่เคยทำคุณงามความดีอะไรเลย หิ้วเงินใส่ถุงทะเลมากว้านซื้อเสียงแล้วก็จะได้เป็นผู้แทน หรือคนที่ซื้อเสียงมากกว่าก็จะได้รับการเลือกตั้งเสมอไป ผลการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาก็เป็นบทเรียนให้เจ้าบุญทุ่มทั้งหลายกระอักเลือดมาแล้ว

ว่ากันในแง่คุณภาพของผู้แทน จริงหรือที่คุณภาพของผู้แทนคนกรุงเทพมีคุณภาพสูงกว่าต่างจังหวัด ลองดูตัวอย่างผู้แทนที่มีเรื่องกันในสภา ไม่ว่าการกระโดดถีบกัน ชกต่อยกัน ล้วนแล้วแต่เป็น ส.ส.หรือ ส.ว.ของชาวกรุงเทพฯ ทั้งนั้น ที่น่าอับอายที่สุดก็คือถูกประชาชนในเขตเลือกตั้งของตนเองต่อยจนปากฉีกแล้วยังไปแจ้งความเอาเรื่องประชาชนอีกนี้น่าจะเป็นบันทึกสถิติโลกว่ามีที่นี่ที่เดียวเท่านั้น

คำกล่าวทางวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์ที่เป็นยอมรับกันโดยทั่วไปว่า “ประชาชนเป็นอย่างไร ผู้แทนก็จะเป็นอย่างนั้น” ฉะนั้น ป่วยการที่คนกรุงเทพฯ จะไปดูถูกคนต่างจังหวัด เพราะตราบใดที่เรายังอยู่ในประเทศเดียวกัน ก็ย่อมมีชะตากรรมที่จะต้องเผชิญร่วมกัน เว้นเสียแต่ว่าคนกรุงเทพจะแยกตัวออกไปเป็นรัฐอิสระอีกรัฐหนึ่ง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับต่างจังหวัดอีกต่อไป เพราะทุกวันนี้คนกรุงเทพฯ ส่วนหนึ่งคิดว่ากรุงเทพฯ ก็คือประเทศไทยอยู่แล้ว จึงกระทำสิ่งต่างๆ ข้ามหัวข้ามหางชาวต่างจังหวัดอยู่เสมอๆ

อันที่จริงแล้วผมยังสงสัยอยู่ว่าเหตุใดจึงเรียกคนจังหวัดอื่นที่มิใช่คนกรุงเทพฯ ว่าเป็น “คนต่างจังหวัด”แทนที่จะเรียกว่า “คนจังหวัดอื่น” หรือเรียกว่าคนจังหวัดนั้นจังหวัดนี้ เพราะอันที่จริงคนกรุงเทพฯ ก็เป็นคนต่างจังหวัดของคนเชียงใหม่เหมือนกัน คนเชียงใหม่จึงควรเรียกคนกรุงเทพฯ ว่าเป็นคนต่างจังหวัดเช่นกันจึงจะถูกต้อง เพราะคนกรุงเทพฯ ก็ไม่ควรจะมีอภิสิทธิ์ใดเหนือคนจังหวัดอื่นเช่นกัน ซึ่งยังไม่นับเรื่องน้ำท่วมนะครับ ลองไปถามคนแถวอยุธยา ปทุมธานี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ว่าเขาคิดอย่างไรในการปกป้องกรุงเทพฯ จนเขาเสียหายอย่างยับเยินเหลือคณานับ

ผมยังสงสัยต่อไปอีกว่าคำว่า “คนกรุงเทพฯ” นั้นนิยามศัพท์ที่แท้จริงนั้นคือ อะไร เกิดในกรุงเทพฯ/ มีสำเนาทะเบียนบ้านอยู่ในกรุงเทพฯ /เสียภาษีให้ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ /บรรพบุรุษต้นตระกูลเป็นคนกรุงเทพดั้งเดิมบริสุทธิ์ไม่มีเจือปนคนที่อื่นเลย ฯลฯ ซึ่งก็ให้เป็นที่สงสัยอยู่

แต่ที่คนจังหวัดอื่นนิยาม “คนกรุงเทพฯ” ไว้ก็คือ เวลาเห็นรถคันใดในจังหวัดอื่นขับปาดหน้าปาดหลังเป็น “ลูกอีช่างปาด” แซงซ้ายแซงขวา ทิ่มรถออกขวางถนนเวลาออกจากซอยจนถูกชนอยู่เสมอๆ นั้นแหละคือคนกรุงเทพฯ

ในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ถ้าเห็นนักท่องเที่ยวกลุ่มใดที่ส่งเสียงดัง ไม่รู้จักเกรงใจผู้คนหรือสถานที่ กินทิ้งกินขว้าง อวดร่ำอวดรวย อวดรถออฟโรดที่นานๆ ได้ขับไปจังหวัดอื่นเสียที นั่นแหละคนกรุงเทพฯ

อีกเช่นกันเวลาไปตามสถานที่ต่างๆ เห็นผู้คนในชนบทที่ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย อ้อยอิ่ง ขี่รถยนต์ที่ประยุกต์มาจากเครื่องสูบน้ำก็พากันหัวเราะอย่างขบขัน นั่นแหละคนกรุงเทพฯ

นอกจากนั้นเวลาไปซื้อข้าวของต่างๆ ในจังหวัดอื่น เมื่อเห็นราคาแล้ว แทนที่จะซื้อไว้ตามความจำเป็นหรือที่จะต้องเอาไปเป็นของฝาก ก็เหมาๆๆๆ หมด นั่นแหละคนกรุงเทพฯ


และก็เช่นกันนอกจากประเด็นที่ว่าใครคือคนกรุงเทพฯ แล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่ค้างคาใจผมก็คือ “คนไทยหรือเปล่า” ซึ่งก็ยังอยากจะถามอีกเช่นเดียวกันว่าการคนดูถูกคนที่คิดไม่เหมือนตนเองนั้นว่า “คนไทยหรือเปล่า” นั้น ผมก็อยากจะถามกลับไปอีกเช่นกันว่าคนไทยแท้ๆ นั้นเดี๋ยวนี้หาได้ที่ไหน ถ้าไม่มีเชื้อสายจีนก็แขก ไม่แขกก็มอญ ไม่มอญก็ญวน ไม่ญวนก็ลาว เขมร ฝรั่ง มลายู ฯลฯ อย่างละนิด อย่างละหน่อย ลองสืบสาแหรกของแต่ละคนที่ออกมาถาม “คนไทยหรือเปล่า” นั้นดูราวกับว่ามีเลือดไทยแท้บริสุทธิ์ร้อยเปอร์เซ็นต์เสียกระนั้น เพราะขนาดพระเจ้าตากสินมหาราชยังมีเชื้อสายจีน ตระกูลดังๆ ของ ขุนนางไทยบางตระกูลก็มีเชื้อสายมาจากแขกเปอร์เซียเสียด้วยซ้ำ

คงเป็นการยากที่จะทำให้คนเลิกดูถูกซึ่งกันและกัน เพราะมันฝังไปในจิตสำนึกดั้งเดิม เมื่อประกอบเข้ากับการอบรมสั่งสอนกล่อมเกลาของบุพการีของตนจนเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้คือ “วัฒนธรรม”ของกลุ่มชนของตนเองที่จะต้องเหนือคนอื่น คนทีทำอะไรไม่เหมือนเรา คิดไม่เหมือนเรานั้นด้อยกว่าเรา แต่ก็น่าแปลก ทีฝรั่งมังค่าใส่กางเกงขาสั้นเดินเข้าออกสถานที่สำคัญต่างๆกลับทำเฉย มองเห็นว่าฝรั่งนั้นทำตัวง่ายๆดี (ฉะนั้น จึงไม่แปลกที่จะเห็นคนกรุงเทพฯทั้งหลายเดินทางไปยังจังหวัดอื่นด้วยกางเกงขาสั้นเช่นกัน) แต่พอลุงมี ลุงมา ตาสี ตาสา ซึ่งตนเองคิดว่าด้อยกว่าตนเอง ใส่ขาสั้นเหมือนกันกลับบอกว่าไม่สุภาพ ห้ามเข้าไปเสียอย่างนั้น

เอ๊ะ ว่าแต่ว่าท่านที่อ่านๆ บทความอยู่นี่เป็นคนที่ไหนกันและเป็นคนไทยหรือเปล่าครับ

-----------------------------
หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 16 พฤศจิกายน 2554

ที่มา : ประชาไท




 

Create Date : 19 พฤศจิกายน 2554    
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2554 13:51:58 น.
Counter : 691 Pageviews.  

มายาคติของน้ำท่วม สิ่งที่อยากให้ลองกลับมาทบทวนใหม่อีกครั้ง

ปัญหาต่างๆที่มาพร้อมกับม่านหมอกน้ำ อาจบังตาสิ่งที่เห็นและเป็นอยู่จริง ลองใช้เวลาสั้นเท่าที่ยังพอมีตั้งสตินิดหนึ่งและมองปัญหา หนทางแก้ไข และทางเลือกที่เกิดขึ้น มองข้ามวาทกรรมต่างๆทั้งหลาย บางทีพอเราฉุกคิด เราอาจพบว่าสิ่งที่เรากำลังเผชิญนั้นเป็นปัญหาแท้จริงส่วนหนึ่ง และปัญหาที่มากับมายาคติส่วนหนึ่ง เริ่มมองไปด้วยกัน

1. น้ำท่วมเป็นความผิดของรัฐบาลทั้งหมด

ต้องทำความเข้าใจว่าการบริหารที่ไม่สามารถจัดการกับน้ำอาจเป็นความผิดส่วนหนึ่งของรัฐบาล แต่ปริมาณน้ำที่มากกว่าเดิมถึง 30 – 40 %จากน้ำท่วมในปีก่อนนั้น มันเกินจะรับมือเหมือนกัน ซึ่งอะไรที่มันเกินรับมือจากปรกติเช่นน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า “ภัยพิบัติ” และเมื่อเกิดภัยพิบัติย่อมแปลว่ากลไกของรัฐบาลและราชการไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพราะเกิด “ความไม่สะดวก” (inconvenience) ในการปฏิบัติงาน จากปัจจัยต่างๆ เช่น การร้องขอความช่วยเหลือจำนวนมากที่ไม่สามารถจัดการได้พร้อมกันหมด หรือ การเกิดปัญหาในหลายๆพื้นที่พร้อมกัน ถ้าเข้าไปแก้สถานการณ์ที่หนึ่งอีกที่ๆไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ก็มักจะได้รับเสียงเรียกร้องที่ไม่พอใจ ดังนั้นกลไกชุมชน เอกชน และภาคประชาสังคมต้องหนุนเสริม สิ่งสำคัญก็คือการสืบสวนและหาบทเรียนหลังจากที่สถานการณ์ผ่านไปแล้วและปรับแก้ ไม่ใช่ปล่อยให้เกิดซ้ำๆส่วนรัฐบาลเองก็ต้องเปิดโอกาสให้กับภาคส่วนต่างๆเข้ามาทำงานมากขึ้น เช่น สมมติจะตั้งศูนย์อพยพหลายพันแห่ง แต่มีข้อจำกัดที่จะต้องเลือกสถานที่สาธารณะหรือสถานที่ราชการ เช่น วัด โรงเรียน มหาวิทยาลัยซึ่งบางครั้งชัยภูมิในการตั้งนั้นไม่เหมาะ อาจจะขอความร่วมมือในการใช้พื้นที่เอกชน เป็นศูนย์อพยพ และดึงภาคประชาสังคมเข้าไปบริหารจัดการ เป็นต้น


2. สถานการณ์สร้างวีรบุรุษไม่มีจริง

จากข้อที่ผ่านมาทำให้เราเห็นขนาดของปัญหาที่แท้จริงว่ามันใหญ่โตเกินกลไกรัฐ ดังนั้นคำพูดประเภท “ถ้าเรื่องกรุงเทพฯให้ฟังผมคนเดียว” หรือ “ศปภ. มั่นใจว่าสามารถเอาอยู่นั้น” สะท้อนว่าทัศนคติในการทำงานของฝ่ายรัฐยังคงต้องการ “รบ” กับสิ่งที่มีขนาดมหึมาอยู่ เพื่อหวังว่าการปราบศัตรูนั้นจะสร้างความเป็นวีรบุรุษให้กับตน แต่แท้ที่จริงแล้วสถานการณ์เช่นนี้มันใหญ่เกินกว่าที่จะทำได้โดยลำพัง เดิมพันมันสูงมากกว่าตำแหน่งและอนาคตทางการเมืองของทั้งสองพรรคใหญ่ เพราะมีเรื่องของประชาชนเป็นเดิมพันดังนั้นอย่าให้ภาพความร่วมมือทุกอย่างจบเพียงแค่วันที่นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พบปะกับอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ที่ดอนเมือง แต่เรากลับพบว่าสิ่งที่เป็นกลไกให้แต่ละพื้นที่ผ่านวิกฤตไปได้ กลับเป็นคนตัวเล็กตัวน้อยในชุมชนต่างๆ ที่บางครั้งไม่ได้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ( ในหลายๆกรณีผู้ใหญ่บ้านทั้งหมู่บ้านไปแล้ว ) แต่คนเหล่านี้เป็นตัวกลางในการเชื่อมประสานกับภาคส่วนต่างๆในการช่วยเหลือ

3. การมีชีวิตในช่วงภัยพิบัติคือการ “อยู่รอด” ไม่ใช่ “อยู่สบาย”

จากประสบการณ์ที่ได้พูดคุยกับผู้ประสบภัยหลายๆท่าน สิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาใหญ่ก็คือเรื่องของการยึดติดกับรูปแบบชีวิตเดิมๆที่เคยชิน เช่น เวลาจะขับถ่ายต้องขอเป็นส้วมที่สะอาดถูกสุขลักษณะ แต่เวลาภัยพิบัติมามันไม่สามารถทำแบบนั้นได้แต่ละบ้านก็เรียกขอสุขาลอยน้ำกันทุกบ้าน ซึ่งถ้าหากคิดดูว่ามีผู้ประสบภัย 6 ล้านคนเท่ากับเราต้องผลิตสุขาลอยน้ำถึง 6 ล้านถัง แล้วเมื่อเวลาน้ำลดสิ่งเหล่านี้จะนำไปไว้ไหน? จากการพูดคุยสิ่งที่น่าคิดก็คือชาวบ้านที่ได้รับน้ำท่วมบ่อยๆจะมีประสบการณ์มากกว่าในเขตเทศบาลและเขตเมือง เขาจะปรับตัวได้การถ่ายลงน้ำและดูแลคุณภาพน้ำไปด้วยก็สามารถดูแลจัดการได้ดีกว่า จดจำว่าภัยพิบัตินั้นคือสภาวะไม่ปรกติ คุณไม่สามารถนอนกระดิกเท้ากินป๊อปคอร์นและดูละครหลังข่าวได้

4. น้ำมาค่อยอพยพดีกว่าไหม?

เรื่องนี้สำคัญมากและขอตอบว่าไม่จริง!! ถ้าหากว่าเราอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงน้ำท่วม สิ่งที่ควรทำก็คืออพยพออกมาแต่เนิ่นๆจะสามารถทำได้ง่ายกว่า หากรอถึงการประกาศอพยพรับรองว่าจะต้องเกิดเหตุการณ์โกลาหลวุ่นวายมาก ได้พูดคุยกับชาวบ้านที่บ้านอยู่หลังคันกั้นน้ำหลายๆคนที่ไม่ยอมอพยพ ก็เพราะคิดว่าสามารถรับมือได้ไม่มีปัญหาและไม่ย้ายออก (คนที่คุยด้วยวันก่อนหน้านั้นยังดู ผีอีเม้ยอยู่เลย) ปรากฏว่าวันรุ่งขึ้นคันกั้นน้ำแตก ทีนี้เรื่องร้องเรียนถูกส่งมายังหน่วยช่วยชีวิตและอพยพของทีมมูลนิธิกระจกเงาจำนวนมาก ในสถานการณ์ที่เอาคนออกมายากเพราะน้ำสูง ทางที่ดีล็อคบ้าน สับสะพานไฟลง และออกจากบ้านแต่เนิ่นๆจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

5. ใครๆก็อยากทำความดี

งั้นทุกคนมาทำงานอาสากัน แน่นอน! การลงมือทำย่อมเป็นสิ่งที่ดีและจะก่อให้เกิดสิ่งดีๆตามมา แต่การทำแบบต่างคนต่างทำนั้นก็เป็นปัญหาหนึ่ง จากวงประชุมของสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่งได้ข้อเสนอที่น่าสนใจว่าทุกคนอยากทำความดี แต่ทุกคนก็เต้นไปตามกระแสที่มันเปลี่ยนไป ยกตัวอย่างเช่น หากสื่อนำเสนอความเดือดร้อนในอยุธยา ความช่วยเหลือก็หลั่งไหลไปอยุธยาทั้งกำลังเงิน กำลังคน และกำลังทรัพย์ พอสื่อบอกว่าปทุมธานีเดือดร้อนทุกคนก็แห่ไปปทุมธานี และทิ้งชาวอยุธยาไว้ สิ่งสำคัญก็คือเราจะรักษาสมดุลได้อย่างไรฦให้ความช่วยเหลือไม่ไหลไปตามสายน้ำ ดังนั้นควรจะมีการวางแผนประสานงานกันและกัน ไม่ใช่ความช่วยเหลือไปกระจุกตัวเป็นที่เดียว ส่วนงานอาสสมัครนั้นแท้จริงมีความหลากหลายลองค้นหาสิ่งที่จะเอาศักยภาพมาใช้ให้ได้มากที่สุด เช่น เด็กอาชีวะ ตอนเฟสฟื้นฟูต้องอาศัยทักษะในงานช่างเป็นอย่างมากมันน่าจะดีกว่าการขับรถฝืนไปกับน้ำร่วม 400 กิโลเมตรเพื่อบริจาคน้ำสองแพ็กลง facebook เพื่อให้รู้สึกดีกับตัวเอง แต่รถไปจมน้ำแล้วเสียหรือลำบากหน่วยงานที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือเรื่องแบบนี้อาจจะส่งมอบของให้หน่วยงานที่มีศักยภาพในการเข้าไปส่งมอบ เพราะเวลาการที่เราจะช่วยเหลือกัน บางครั้งอาจจะไม่ต้องการการที่คนอื่นจะต้องมายอมรับและสำนึกในสิ่งที่เราทำ แต่เป็นการกระทำโดยมนุษยธรรมและไม่เลือกกรณี

6. ฉันเลือกรัฐบาลมาแล้ว รัฐบาลต้องช่วยฉัน

ทุกเรื่องคำพระท่านบอกว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ในสถานการณืแบบนี้ประชาชนจำเป็นต้องพึ่งตนเองให้มากที่สุด (และรัฐเองก็ต้องให้ข้อมูลมากที่สุดเพื่อให้ประชาชนตัดสินใจได้) การรอความช่วยเหลือเพียงฝ่ายเดียว สุดท้ายย่อมกลายเป็นปัญหา ในยามวิกฤตเรามักจะเห็นแต่จุดอ่อนของตัวเอง จากการสอบถามข้อมูลในการทำงาน ศปภ.ตำบล บางทีเราค้นพบจุดเด่นที่น่าสนใจในแต่ละหมู่บ้านเช่น หมู่บ้านหนึ่งที่อยุธยามีนางพยาบาล อีกหมู่บ้านหนึ่งมีเรือแต่มีคนป่วย แทนที่เขาจะรอหมอจากภาครัฐเข้าไปช่วย พอเราให้ข้อมูลเขาไปเขาก็เอาเรือไปรับนางพยาบาลมาดูแลคนป่วยแทน แต่ถ้าหากขาดแคลนยาตรงนี้คือส่วนงานที่รัฐต้องเข้าไปหนุนเสริม

7. การประเมินตนเป็นเรื่องสำคัญ อย่าประมาณตนสูง และอย่าดูถูกตนเองต่ำ

ไปศูนย์พักพิงหลายๆแห่งที่รับคนเกินจำนวนที่สามารถรองรับได้ และอยู่ในจุดเสี่ยงที่ใกล้น้ำท่วมอาจจะประเมินศักยภาพตัวเองสูงไป (ด้วยความมั่นใจว่าน้ำจะไม่ท่วม หรือด้วยศักดิ์ศรีของผู้มีอำนาจรับผิดชอบ) ปัญหาที่ตามมาก็คือสุดท้ายเมื่อรับมือไม่ไหว (และไม่ยอมอพยพตอนแรก) ก็จะต้องมาช่วยเหลือกันตอนที่ปัญหามันโคม่าแล้ว กลับกันผู้ประสบภัยบางคนประเมินศักยภาพตนเองต่ำไป พบเคสที่ผู้ประสบภัยพบน้ำในระดับข้อเท้า มีอาหารสำรองแล้ว แต่เรียกขอถุงยังชีพจากหลายๆหน่วยงานเข้าไปเพิ่มอีกแทนที่จะได้กระจายไปให้ผู้อื่น บางทีอาจต้องทำความเข้าใจว่าหน่วยงานที่ช่วยเหลือไม่ได้ทำหน้าที่เหมือนร้านพิซซ่าที่ต้องส่งเดลิเวรี่ให้ลูกค้าทุกรายตามต้องการ เราต้องการให้ทุกๆคนอยู่รอดไปด้วยกัน ดีกว่ามีคนกลุ่มหนึ่งอยู่สบายและอีกกลุ่มลำบากเจียนตาย

8. น้ำแห้งแล้ว ทุกอย่างจบสิ้นลง

ตอนนี้หลายๆคนคงเริ่มฝันถึงว่าเมื่อไหร่น้ำจะแห้ง (มีรายงานว่าอาจจะต้องอยู่กับน้ำ 3 – 4 สัปดาห์) แต่หลังน้ำแห้งปัญหามากมายยังรอการแก้ไขอยู่มาก ทั้งเรื่องการปรับโครงสร้างทางผังเมืองและกลไกราชการ การเข้าสู่เฟสฟื้นฟูที่อาจกินเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี กระแสต่างๆทั้งความช่วยเหลือ ความร่วมมือ และสื่อมวลชนต้องมีอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กลไกในการฟื้นฟูสามารถเดินหน้าได้เต็มที่ไม่ใช่แค่ภาครัฐเท่านั้นที่ทำหน้าที่ฟื้นฟู เคล็ดลับความสำเร็จหลายๆครั้งมาจากการที่คนในชุมชนมาร่วมวางแผนกันเอง เช่น ที่นครสวรรค์ บ่งพื้นที่ที่น้ำแห้งแล้วเริ่มวางแผนจะฟื้นฟู เพราะนอกจาก “แก้ไขไม่แก้แค้น”แล้ว รัฐบาลจะต้อง “แก้ไขอย่าแก้ขัด” เหมือนรัฐบาลที่ผ่านๆมาที่เวลาน้ำท่วมทีไรก็ได้แต่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าแก้ขัด รอบนี้จะต้องแก้กันทั้งระบบทั้งการป้องกัน รับมือ และแก้ไขในอนาคตด้วย

สุดท้ายนี้สิ่งที่อยากจะย้ำเตือนก็คือ ในวาระแบบนี้การประสานความร่วมมือและการพึ่งพาตนเองให้เต็มศักยภาพจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด ที่เราจะต้องทำให้ชินเป็นนิสัยและทัศนคติใหม่ๆของคนไทย เราจะต้องเปลี่ยนสถานะจาก “ผู้ประสบภัย” ให้กลายเป็น “ผู้ช่วยเหลือ”ให้ได้ ผมยังจำป้ายที่เขียนที่โรงอาหารกลางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต (ที่วันนี้น้ำท่วมไปแล้ว) ตอนสึนามิได้ บนกระดานเขียนว่า “เราจะผ่านเรื่องร้ายไปด้วยกัน” ขอให้คนไทยทุกคนผ่านไปให้ได้ ถึงแม้ว่ามันจะไม่ค่อยสะดวกนัก

ป.ล. กลั่นกรองจากที่เป็นตัวแทน Siam Intelligence Unit เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ ศปภ.ภาคประชาชน ที่นำโดยมูลนิธิกระจกเงา ตลอดระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม ที่ผ่านมา

ที่มา: Siam Intelligence Unit




 

Create Date : 23 ตุลาคม 2554    
Last Update : 23 ตุลาคม 2554 16:45:26 น.
Counter : 498 Pageviews.  

น้ำท่วม เป็นเรื่องของความเห็นแก่ตัว

รศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
adis@nida.ac.th
21 กันยายน 2554

ใครว่าคนไทยเป็นคนใจกว้าง มีความโอบอ้อมอารี เอื่อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปัน ผมว่า...พูดผิดพูดใหม่ได้นะครับ เพราะกรณีน้ำท่วมที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกตั้งแต่จังหวัดในภาคเหนือ เช่น จังหวัดอุตรดิตถ์ไล่ลงมาจนถึงจังหวัดในภาคกลาง เช่น สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยาฯลฯ ล้วนแสดงให้เห็นถึงความมักง่ายและความเห็นแก่ตัวของคนไทยอย่างปฏิเสธไม่ได้

ตัวอย่างปัญหาน้ำท่วมที่กำลังเกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่าสังคมไทยได้เปลี่ยนจากสังคมของการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขไปเป็นสังคมของความเห็นแก่ตัวอย่างสมบูรณ์ คนที่มีเงินหรือมีอำนาจทางเศรษฐกิจเหนือกว่าก็สามารถเอาเปรียบคนยากคนจนได้(อย่างหน้าชื่นตาบาน) ลองดูตัวอย่างดังต่อไปนี้นะครับ

ตัวอย่างที่หนึ่ง การปล่อยปะละเลยให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนในภาคเหนือเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวโพด แสดงให้เห็นว่านักธุรกิจหรือผู้ที่มีอิทธิพลทั้งหลายไม่เคยสนใจเลยว่า การทำธุรกิจที่ใช้ข้าวโพดเป็นวัตถุดิบนั้นได้นำมาสู่การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ที่ทำหน้าที่เป็นต้นน้ำสำคัญของประเทศ พื้นที่ต้นน้ำเหล่านี้ทำหน้าที่ชะลอการไหลของน้ำในฤดูฝนและคลายน้ำที่อุ้มไว้ในฤดูแล้ง เมื่อนักธุรกิจไทยเลือกที่จะรุกรานพื้นที่ป่าไม้เพื่อปลูกข้าวโพดทั้งที่รู้ว่าเป็นการทำลายระบบนิเวศและเป็นต้นตอของปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งของประเทศไทย ก็ย่อมแสดงให้เห็นถึงความมักง่ายและความเห็นแก่ตัวของกลุ่มทุนเหล่านี้ทั้งสิ้น หลังจากที่นักธุรกิจค้าข้าวโพดได้กอบโกยผลประโยชน์จากการทำลายระบบนิเวศในพื้นที่ต้นน้ำ เป็นที่พอใจแล้วก็แสดงความใจแคบโดยการทิ้งปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งให้คนยากคนจนในชนบทในภาคกลาง

ตัวอย่างที่สอง น้ำเป็นทรัพยากรที่ไม่สามารถบริหารจัดการอย่างง่ายๆ ไม่งั้นคนเขาไม่เสียเวลาห้าปีแปดปีเพื่อร่ำเรียนวิชาชลศาสตร์หรือวิศวกรน้ำหรอกครับ แต่การแก้ปัญหาน้ำท่วมในปัจจุบันกลับอาศัยความมักง่ายโดยการมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ รับผิดชอบการแก้ปัญหาน้ำท่วมในจังหวัดของตน เช่น การสร้างทำนบกั้นน้ำไม่ให้เข้าท่วมพื้นที่ในจังหวัดของตนเอง แต่เคยคิดหรือไม่ว่าน้ำจำนวนนั้นจะถูกผลักออกไปท่วมจังหวัดอื่นๆ ถัดไปอย่างไรบ้าง ดังนั้น การป้องกันปัญหาน้ำท่วมที่ดำเนินกันมาแบบว่าพื้นที่ใดมีเงินมากก็สร้างเขื่อนให้สูงกว่าเพื่อผลักน้ำให้ไปท่วมพื้นที่อื่นหรือจังหวัดอื่นแทน ถ้าคนไทยยังแก้ปัญหากันแบบนี้ ผมก็คิดว่าเป็นการทำงานที่เห็นแก่ตัวสิ้นดี และเป็นการแก้ปัญหาแบบมักง่าย

ตัวอย่างที่สาม การพัฒนาตัวเมืองต่างๆ ผู้คนหวังแต่จะกอบโกยประโยชน์ใส่ตนเองโดยไม่แยแสต่อส่วนรวม ในการพัฒนาเมืองพบว่า ทางไหลของน้ำเดิม เช่น ลำคลอง ลำห้วย ลำธารต่างๆ ที่เป็นทางระบายน้ำในฤดูฝนก็ถูกถมไปหมดเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กอบโกยเงินโดยการถมทางน้ำสาธารณะเพื่อทำหมู่บ้านจัดสรร เจ้าหน้าที่ของรัฐพอได้รับเงินค่าน้ำร้อนน้ำชาแล้วก็ทำเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ สร้างถนนต่างๆ ก็ยกระดับให้สูงซะจนน้ำไม่สามารถไหลผ่านได้ พื้นที่เขตธุรกิจหรือเขตอุตสาหกรรมก็สร้างทำนบกันน้ำไม่ให้ท่วมพื้นที่ของตนโดยให้คนยากคนจนในพื้นที่เกษตรกรรมต้องรับชะตากรรมกับปัญหาน้ำท่วมน้ำหลากแทน การขยายตัวของพื้นที่เมืองในลักษณะเช่นนี้นอกจากไม่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนแล้วช่างสะท้อนความด้อยพัฒนาคนอีกด้วย

ตัวอย่างที่สี่ เกิดเป็นคนกรุงเทพนี้ช่างวิเศษเสียจริงๆ กี่ปีต่อกี่ปีที่ประเทศไทยมีปัญหาน้ำท่วมสูงถึงหลังคาบ้าน ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายมากมาย ทรัพย์สมบัติของชาวบ้านที่ซื้อหามาด้วยเงินทองที่แสนจะหายากก็ถูกน้ำพัดพาอันตรธานไปหมด แต่คนกรุงเทพยังคงใช้ชีวิตปกติ ว่างจากงานก็ช้อปปิ้ง ดูหนัง ฟังเพลง ทำสิ่งที่ตนเองสนใจ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาน้ำท่วมเลย การที่คนกรุงเทพฯ ไม่ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมเป็นเพราะคนกรุงเทพฯ มีเอกสิทธิ์และมีสตางค์มากพอทีจะสร้างแนวกันน้ำสองริมฝั่งแม่น้ำและปิดประตูกันน้ำทุกจุดเพื่อ ป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้าเขตกรุงเทพฯ เมื่อน้ำจำนวนนี้ไม่สามารถไหลเข้าพื้นที่กรุงเทพได้ มันก็ต้องไหลไปท่วมพื้นที่ข้างเคียงแทน อย่างนี้ไม่เรียกว่าเป็นการบริหารจัดการน้ำอย่างเห็นแก่ตัวก็ไม่รู้ว่าจะเรียกอะไรแล้วครับ ถามว่า...คนรวยในกรุงเทพฯเคยมีจิตใจที่คิดจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษเพื่อนำเงินรายได้ของชาวกรุงเทพฯไปชดเชยประชาชนในพื้นที่ข้างเคียงที่ต้องอยู่ใต้น้ำแทนคนกรุงเทพหรือไม่...ไม่เคยและไม่คิดจะทำด้วย อย่างนี้ไม่เรียกว่าเอาเปรียบ ใจแคบ เห็นแก่ตัวก็ไม่รู้ว่าจะเรียกอะไรแล้ว

นอกจากจะมีเล่ห์เหลี่ยมในการเอาเปรียบพื้นที่รอบๆ แล้ว คนกรุงเทพฯ ก็ยังยกภาระการจ่ายค่าชดเชยทั้งหมดไปให้รัฐบาลกลางแทน อย่าลืมนะครับว่าเงินของรัฐบาลที่นำมาจ่ายเป็นค่าชดเชยน้ำท่วมก็คือเงินของประชาชนทั้งประเทศนั่นเอง เมื่อรัฐบาลนำเงินจำนวนนี้มาจ่ายเป็นค่าชดเชยน้ำท่วมเสียแล้ว เงินที่จะนำมาใช้เพื่อพัฒนาประเทศให้กับประชาชนในชนบทในอนาคต ก็ต้องถูกตัดทอนลงไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ คนกรุงเทพฯ ไม่ยอมรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองทำ แต่โยนภาระทั้งหมดให้คนจนในชนบทที่ต้องใช้เงินของตัวเองมาชดเชยให้ตัวเองจากปัญหาน้ำท่วม การทำแบบนี้เป็นวิธีการทางการคลังสาธารณะที่แยบยลมาก ผมเองไม่คิดเลยว่าคนไทยด้วยกันจะกล้าทำกันขนาดนี้

สรุปความได้ว่า การบริหารจัดการน้ำท่วมของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นเพียงการแก้ปัญหาแบบตัวใครตัวมัน ใครมีเงินมากกว่า มีอำนาจทางเศรษฐกิจเหนือกว่า เช่น ชาวกรุงเทพมหานคร หรือคนในเขตเมืองใหญ่ๆ ก็ใช้อิทธิพลของตัวเองสร้างสิ่งปลูกสร้างที่แข็งแรงกว่าเพื่อผลักน้ำให้ไปท่วมพื้นที่รอบนอกแทน ทำให้พื้นที่อื่นๆ ที่ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมอยู่แล้วต้องอยู่ใต้น้ำนานขึ้นและ/หรือเผชิญกับระดับน้ำที่สูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น การกระทำอย่างนี้ไม่เรียกว่าเอาเปรียบ เห็นแก่ตัว มักง่ายก็ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไรแล้วครับ.

ที่มา : ประชาไท




 

Create Date : 23 กันยายน 2554    
Last Update : 23 กันยายน 2554 19:38:48 น.
Counter : 713 Pageviews.  

วาทกรรม “ประเทศไทยไม่พร้อมสำหรับ…” กับดักทางความคิดที่อันตราย

พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ
เครือข่ายพลังลบ //www.facebook.com/negativenetwork

มีเรื่องเล่าว่าเมื่อสิงคโปร์ ไม่ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาเลเซีย ประชาชนในประเทศวิตกกันเป็นอย่างมาก ประเทศเกาะเล็กๆ ที่ไม่มีแม้กระทั่งน้ำจืดจะอยู่ได้อย่างไร? หลังจากนั้นประชาชนเขาจึงเริ่มนับหนึ่งด้วยความ “ไม่พร้อม” ไปด้วยกัน
ย้อนกลับมาประเทศไทยเคยมีคนบางส่วนบอกว่าไม่ควรเป็นประชาธิปไตย เพราะประชาชน “ไม่พร้อมที่จะปกครองตัวเอง” อำนาจเลยถูกรวมอยู่ในศูนย์กลางและเมื่ออำนาจถูกกระจายไปสู่มือประชาชน กลุ่มคนที่เคยถือครองอำนาจก็บอกว่าประชาชนไม่พร้อมที่จะปกครองตัวเอง ยังไม่ได้รับการศึกษาเรื่องประชาธิปไตย น่าสงสัยว่าก่อนหน้านั้นที่ปกครองด้วยสมบูรณญาสิทธิราชย์นั้น ได้มีการปูพื้นฐานความรู้ให้กับไพร่ (ที่กลายมาเป็นราษฎร) ให้พร้อมกับการปกครองแบบใหม่รึเปล่า หรือเพียงอาศัยคำว่าไม่พร้อมเพื่อจะปกครองกันในระบอบเก่า

หันไปดูรอบๆกรุงเทพฯในเวลานี้หลายๆจุดเพิ่งเริ่มสร้างรถไฟฟ้าระบบรางทั้งบนดินและใต้ดิน ซึ่งเป็นสิ่งที่นานาชาติแนะนำให้ไทยควรลงทุนกับโครงสร้างขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะระบบขนส่งสาธารณะตั้งแต่สมัย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ที่อุตสาหกรรมแซงหน้าภาคการเกษตรในการส่งออกแล้ว แต่ตอนนั้นก็ไม่กล้าลงทุนและรักษาวินัยการคลังด้วยเหตุผล “ไม่พร้อมที่จะลงทุนในโครงการขนาดใหญ่”

นั่งฟังส.ส.พรรคภูมิใจไทยคนหนึ่งอภิปรายว่าไม่ควรแจก แท็บเล็ต พีซี ให้กับเด็กกลัวเด็กจะเอาไปเล่นการพนัน เด็ก”ไม่พร้อมที่จะดูแลตัวเอง” ขอถามว่าก่อนที่จะมีแท็บเล็ต ในสมัยเด็กๆใครบ้างไม่เคยเล่นไพ่ เล่นปั่นแปะ เล่นทอยเส้น หรือ จับสลาก แทนที่จะคิดว่าเราจะให้ความรู้ควบคู่กับการแจกแท็บเล็ตได้อย่างไร?

เปลี่ยนช่องไปก็เจอนักวิชาการพูดว่า เรา “ไม่พร้อมที่จะยกเลิกการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน” ซึ่งผมก็เห็นด้วยกับการที่จะงดการเก็บ เพราะเวลาเราเก็บแล้วไปอุ้มตอนน้ำมันแพง แล้วเราใช้น้ำมันถูกกว่าความเป็นจริงเราก้มยังคงก้มหน้าตะบี้ตะบันใช้ แทนที่จะเอาเงินที่อุดหนุนไปส่งเสริมการวิจัยพลังงานทดแทนหรือมีความชัดเจนด้านนโยบายพลังงานว่าจะส่งเสิรมอะไรกันแน่เปลี่ยนไปเปลี่ยน เอทานอล ไบโอดีเซล ฯลฯ

กลุ่มนายจ้างรวมตัวกันบอกว่า “ไม่พร้อมที่จะขึ้นค่าแรง 300 บาท” เพราะว่าจะทำให้นักลงทุนต่างชาติย้ายฐานการผลิตและจะทำให้นักลงทุนไทยตาย ซึ่งถ้าหากมองย้อนกลับไปไทยเริ่มแข่งขันในตลาดโลกด้วยการส่งออกปี 2518 ตามคำแนะนำของ โรเบิร์ต แมคนามาร่า จากธนาคารโลกโดยให้มุ่งเน้นการส่งออก พร้อมกับอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ เราแข่งด้วยการกดค่าแรงกับเขา จนตอนนี้เขาไปสร้างนวัตกรรมและมูลค่าเพิ่มทางสินค้าจนตอนนี้เราไปแข่งกับ เวียดนาม ถามว่าเราจะพร้อมแข่งเรื่องประสิทธิภาพการผลิตเมื่อไหร่? แล้วจะกดค่าแรงไปถึงไหน?

รัฐวิสาหกิจเช่น การรถไฟ และ ขสมก.ก็บอกว่าหน้าที่ของพวกเขาคือต้องแบกรับความขาดทุนเพื่อที่ประชาชนจะได้สบาย เพราะ”ประชาชนไม่พร้อมที่จะเสียเงินแพง” ดังนั้นต้องให้สหภาพดูแลผลประโยชน์ แต่สิ่งที่ไม่เคยบอก เช่น ที่ดินรถไฟทำกำไรไปมากมายเงินไปไหน? ทำไมระบบขนส่งมวลชนในประเทศอื่นเขาถึงบริหารได้กำไรได้ แล้วทำไมเราถึงบริหารขาดทุน? หรือ จริงๆเงินที่ไปชดเชยการขาดทุนก็มาจากภาษีประชาชนที่รัฐจ่ายเคยบอกกันไหม?

กระทรวงวัฒนธรรม บอกว่าประเทศไทยนั้นยัง “ไม่พร้อมที่จะรับวัฒนธรรมที่เปิดกว้าง” ดังนั้นจึงควรอยู่ในกรอบศีลธรรมอันดีงาม เราลืมไปหรือเปล่าว่าเรื่องลามกทะลึ่งหยาบโลน มีอยู่ในศิลปะเพลงพื้นบ้านของไทยมาช้านาน เราหลับตาข้างหนึ่งรึเปล่าที่ไม่รับรู้ว่า เรื่องกระเทย เรื่องตำรวจคอร์รัปชั่น เรื่องท้องก่อนวัยอันควร เรื่องโสเภณี เรื่องพระทำผิดศีล มีอยู่จริงในสังคมไทย? เราเลยพร้อมใจรับไม่ได้ที่มันถูกสะท้อนออกมาในศิลปะ กรอบศีลธรรมอันดีงามแท้จริงเราก้าวพ้นศิลปะแบบวัดๆวังๆ ซึ่งเป็นของประชาชนกลุ่มน้อยนิดในสังคมที่คนส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านหรือยัง? เราจึงได้แต่ดูหนังวนเวียนเรื่อง วีรกรรมบูรพกษัตริย์ และ คนๆโขนๆ

เรายังคงเป็นเมืองกึ่งพุทธกึ่งผีกึ่งพราหมณ์ และเราก็ยังหลงเชื่อว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นเป็นวิทยาศาสตร์ เราตามอ่านทวิตเตอร์ของพระเซเลบฯ ไปปฏิบัติธรรมกับแม่ชีเซเลบฯ(ที่เปิดตัวเครื่องสำอางค์ในสำนักปฏิบัติธรรม) เพราะใครๆเขาก็ทำกันและทำแล้วรู้สึกดี แต่เราลืมไปว่าการนั่งสมาธิหรือการตามอ่านทวิตเตอร์พระแล้วคิดว่าเป็นการทำดี ซึ่งเรายังแยกกันไม่ออกว่าการทำดี กับการเจริญสมาธิเป็นคนละส่วนกัน โดย “ไม่พร้อมที่จะตั้งคำถามถึงความถูกต้องของหลักคำสอน”ที่ถูกบอกต่อๆนั้น มันก็ขัดกับหลักกาลามสูตร เป็นเมืองพุทธที่ยังกราบหมาสามขา วัวสองหัว โอ้!ไม่เชื่ออย่าลบหลู่

ประเทศไทย อาจยัง”ไม่พร้อมสำหรับเทคโนโลยี 3G” เมื่อโครงข่ายแพร่หลายข้อมูลถูกส่งผ่านได้อย่างรวดเร็ว รัฐไม่สามารถสกัดกั้นเนื้อหาที่ต้องการปิดกั้นได้หมด หรือแม้กระทั่งเรื่องการสัมปทาน ประเทศ “ยังไม่พร้อมกับการแข่งขันเสรีที่โปร่งใส” เลยยังต้องนิยมกับการสัมปทานผูกขาดแบบเสือนอนกิน ของ TOT และ CAT ต่อไป เพราะทั้งสองเจ้าอยากจะปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ หรือ เป็นห่วงขุมทรัพย์มหาศาลกันรึ?

ประชาชนบางส่วนก็ดูเหมือนจะ “ไม่พร้อมจะรับผิดชอบทางการเมือง” เหมือนว่าพอเลือกตั้งเสร็จหน้าที่ของเราก็จบแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนี้ก็แล้วแต่บุญทำกรรมแต่ง ไม่พร้อมจะติดตามนโยบาย ตรวจสอบ และมีส่วนร่วมทางการเมือง เอ้า!!ก็ไทยนี่มันรักสงบนี่นา อยู่เฉยๆสบายกว่ากันเยอะ พอนักการเมืองทำอะไรไม่ดีไม่ถูกใจ เราก็ได้แต่บ่นกันว่า “นักการเมืองเลว”

ความไม่พร้อมทำให้เราต้องวิ่งหา “ผู้ใหญ่ใจดี” และยกอำนาจในการตัดสินใจให้กับเขาเชื่อฟังโดยว่าง่าย ห้ามเถียง ห้ามสงสัยในความหวังดีของท่าน เราจะเติบโตกันอย่างไร หากไม่พร้อมที่จะเสี่ยงอะไรเลย ไม่พร้อมแม้จะตั้งคำถามกับสิ่งรอบๆตัว แล้วมีคนคิดแทนให้หมดทุกเรื่องได้หรือ?

แทนที่เราจะเป็นเหมือนเด็กหัดขี่จักรยาน ที่แรกเริ่มก็ต้องมีการล้มลุกคลุกคลาน หัดแล้วหัดอีก ผู้ใหญ่ก็แทนที่จะให้กำลังใจและประคับประคอง แต่กับซ้ำเติมแล้วก็พร่ำบ่นว่า “เห็นไหมผมอาบน้ำร้อนมาก่อนคุณ”

“ไม่มีใครเกิดมาดีพร้อม” คำนี้เห็นจะจริงแต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ เรากล้าที่จะออกตัวหรือไม่? บางครั้งก็แอบตั้งคำถามว่า “เราจะเข้าเส้นชัยได้อย่างไร โดยที่ไม่ได้ออกตัว?” มันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ขอไว้อาลัยแก่ประเทศที่ไม่เคยพร้อมอะไร แต่ทรนงตัวว่าเราจะเป็นผู้นำ คนไทยตั้งใจทำอะไรไม่แพ้ชาติใดในโลก(ถ้าเราพร้อม!!) หรือสิ่งเดียวที่เราไม่พร้อมก็คือ “เราไม่พร้อมที่จะรับความจริง” กันแน่!!




 

Create Date : 05 กันยายน 2554    
Last Update : 5 กันยายน 2554 18:06:44 น.
Counter : 539 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.