ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง
รู้เรื่องการเมืองรัฐสภา การออกกฏหมายและรัฐบาลญี่ปุ่น

1. การแบ่งอำนาจการปกครองของญี่ปุ่นรับมาจากอเมริกาอีกที จะแบ่งออกเป็นสามฝ่าย (เหมือนไทย) ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 三権分立 (ซันเคนบึงริทสึ) ได้แก่ 立法府 (ริปโปฟุ = ฝ่ายนิติบัญญัติ) 司法府 (ชิโฮฟุ = ฝ่ายตุลาการ) และ行政府 (เกียวเซย์ฟุ = ฝ่ายบริหาร)

2. ฝ่ายนิติบัญญัติ : มีหน้าที่หลักๆคือออกกฏหมายโดยการประชุมกันในสภา (国会ขกไค) เลือกนายกรัฐมนตรี,ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล

3. ฝ่ายตุลาการ : ตีความกฏหมาย พิจารณาคดีให้เป็นไปตามที่กฏหมายกำหนด

4. ฝ่ายบริหาร : นำกฏหมายมาบังคับใช้ วางนโยบายบริหารบ้านเมืองโดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นศูนย์กลาง

5. ศาลฏีกาของญี่ปุ่น (最高裁判所 ไซโคไซบังโช) นั้นจะมีระบบตรวจสอบนึงที่เรียกว่า โคคุมินชินสะ 国民審査 เป็น ระบบที่จะจัดขึ้นพร้อมกับการเลือกตั้งสามัญ โดยประชาชนสามารถจะตรวจสอบพิจารณาท่านผู้พิพากษาแต่ละท่านได้ด้วย (ไม่ใช่ว่าได้เป็นผู้พิพากษาแล้วจะจบกันไป) ดังนั้นอย่ามาทำเป็นพิพากษามั่วในคดีต่างๆ ท่านจะโดนประชาชนโหวตออกแบบหมดอนาคต

6. อำนาจอธิปไตยสูงสุดของญี่ปุ่นก็คืิอรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกันกับไทย (รัฐธรรมนูญ ภาษาญี่ปุ่นคือ 憲法 เคนโป)

7. เทงโน 天皇 หรือ พระจักรพรรดิและราชวงศ์เป็นเพียง symbol ของประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น (สามารถหาอ่านเรื่องซุบซิบแอบเม้าท์วิจารณ์พวกท่านได้ตามนิตยสารผู้หญิงทั่ว ไป)

8. ในสภาจะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (衆議院ชูกิอิน) ทำงานร่วมกับสมาชิกวุฒิสภา (参議院 ซังกิอิน) เช่นเดียวกับที่ไทย โดยชูกิอินเป็นสภาชั้นล่าง (下院) มีจำนวน 480 คน และซังกิอินเป็นสภาชั้นสูง (上院) มีจำนวน 242 คน ทั้งสองอย่างต้องมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนทั้งคู่

9. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะมีวาระทำงานในสภา 4 ปี ส่วนวุฒิสภา ทำงาน 6 ปี วุฒิสภาจะทำงานไปเรื่อยไม่เกี่ยวข้องหากมีการยุบสภา (เช่นตอนนี้ ไม่มีรัฐบาลเพราะยุบสภาไปแล้ว แต่วุฒิสภาก็ยังทำงานอยู่ หากมีปัญหาหรืออะไรตอนนี้ วุฒิสภาจะทำงานแทนหมด) เป็นข้อดีการมีสภาสองระบบ

10. คนที่จะลงสมัครเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรได้ต้องมีอายุ 25 ปีขึ้นไป ส่วนคนที่จะลงสมัครเลือกตั้งเป็นวุฒิสภาได้นั้นต้องอายุ 30 ขึ้นไป (และแน่นอน ต้องเป็นชาวญี่ปุ่น)

11. ส่วนคนที่มีสิทธิ์ไปเลือกตั้งตอนนี้คือประชากรญี่ปุ่นที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ทว่ากำลังทำท่าอยา่กจะลดให้เป็น 18 เพราะอยากให้มีส่วนร่วมการเมืองเร็วๆ แต่ยังติดปัญหารายละเอียดหลายๆอย่างอยู่ เพราะถ้ากำหนดให้ประชากรญี่ปุ่นบรรลุนิติภาวะที่อายุ 18 เท่ากับเมื่ออายุ 18 (บางคนอยู่ม.6) จะสามารถกู้เงินธนาคาร, ซื้อบ้าน, ทำนิติกรรม, แต่งงาน, ซื้อตั๋วพนันม้า และอื่นๆได้ด้วย... (ทว่าสูบบุหรี่ ดื่มเหล้านั้นไม่เกี่ยว ทำได้ตอนอายุ 20 เหมือนเดิม เพราะใช้กฏหมายคนละตัวกัน)

12. เคยเล่าไปแล้วว่าญี่ปุ่นจะมีรัฐบาลท้องถิ่นที่เรียกว่าจิโฺฮจิจิไต (地方自治体) โดยแบ่งออกเป็นสองระดับคือระดับหมู่บ้านตำบลอำเภอ จะดูแลความเป็นอยู่เกี่ยวกับสาธารณูปโภคของประชาชนอย่างใกล้ชิด ส่วนระดับจังหวัดจะดูเรื่องใหญ่กว่านั้นเช่นเรื่องการค้าขาย การลงทุน หรือผลผลิตของจังหวัด

13. รายได้ของประเทศญี่ปุ่นนั้นมาจากภาษีของประชาชนประมาณ 53 ล้านล้านเยน, การออกพันธบัตรรัฐบาล (เป็นหนี้ประชาชน) ประมาณ 25 ล้านล้านเยน และอื่นๆอีกประมาณ 4 ล้านล้านเยน... สามารถพูดได้ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นเป็นรัฐบาลที่เป็นหนี้ (ประชาชน) มากที่สุดในโลก...

14. พันธบัตรรัฐบาลนั้นมีสองแบบคือเคนเสทซึโคไซ (建設公債) เป็นการกู้เงินประชาชนเพื่อมาใช้ก่อสร้างถนนหรือสิ่งต่างๆในช่วงที่เงินเฟ้อ ส่วนพันธบัตรอีกแบบคืออาคาจิคกคุไซ (赤字国債) ชื่อก็บ่งบอกเป็นลางสังหรณ์ที่ไม่ดีแล้ว พันธบัตรตัวนี้ออกเพื่อคัพเวอร์ค่าใช้จ่ายในส่วนที่ไม่พอ และจริงๆแล้วเป็นพันธบัตรที่กฏหมายห้ามออก!!

15. กฏหมายห้ามออกแล้วออกมาได้ไง? รัฐบาลก็ออกกฏหมายฉบับพิเศษมาให้ออกพันธบัตรอาคาจิได้เป็นกรณีพิเศษไงล่ะ...

16. เอาเข้าจริงๆแล้ว รายได้จากพันธบัตรรัฐบาล 25 ล้านล้านที่ว่า เป็นพันธบัตรเคนเสทซึแค่ 5 ล้านล้านเยน อีก 20 ล้านล้านเป็นพันธบัตรอาคาจิที่ว่า...

17. มาดูนายกฯญี่ปุ่นบ้างดีกว่าว่ามีอำนาจอะไรบ้าง... อย่างแรกเลยคือสามารถกำหนดคณะรัฐมนตรีที่ชอบที่ชอบเองได้ ขณะเดียวกันก็มีสิทธิ์ ไล่รัฐมนตรีที่ทำงานไม่ประทับใจออกได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีอำนาจสูงสุดในฝ่ายบริหารของรัฐ และยังสามารถสั่งการกองกำลังป้องกันประเทศหรือจิเอไตได้อีกด้วย (自衛隊)

18. ฝ่ายรัฐบาล ภาษาญี่ปุ่นคือโยะโต (与党) ส่วนฝ่ายค้านคือยะโต (野党) เจือกออกเสียงคล้ายกันอีก... จริงๆพรรคการเมืองญีุ่ปุ่นก็มีหลายพรรค แต่พรรคใหญ่สองพรรคที่ได้รับการพูดถึงอยู่เสมอคือพรรคจิมินโต(自民党มาจากจิยูมินชุโต 自由民主党) และมินชุโต(民主党) โดยจิมินโตได้เป็นพรรคจัดตั้งรัฐบาลมาตลอดเลยตั้งแต่หลังสงครามนี่ ผูกขาดเป็นรัฐบาลมันอยู่พรรคเดียว... ส่วนมินชุโตก็เป็นฝ่ายค้านมาตลอด ไม่เคยได้จัดตั้งรัฐบาลกับเค้ามาก่อนเลย... ทว่าการเลือกตั้งสามัญที่จะถึงนี้ว่ากันว่ามีโอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นที่อาจจะต้องจารึกไว้... พรรคมินชุโตอาจจะได้เป็นรัฐบาลกับเค้าบ้างก็ได้...

19. หน้าที่ ของนักการเมือง ก็ได้แก่ การเป็นตัวแทนประชาชนในท้องถิ่นของเราเข้าไปในสภา ถือเป็นตัวแทนของคนที่เลือกเรามา คือทำงานเพื่อประเทศชาติก็ใช่ แต่จริงๆแล้วต้องทำงานตามนโยบายที่ทำให้คนเลือกเราและรักษาผลประโยชน์ของคน ที่เลือกและสนับสนุนเราด้วย (支援者の利益の実現のために働く! โอ้ว)

20. เหล่าผู้ช่วยที่สำคัญของท่านนายกรัฐมนตรีคือสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ภาษาญี่ปุ่นคือไนกะกุคันโบ (内閣官房) นำโดยไนกะกุคันโบโชกัง (内閣官房長官 = ประธานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี) และคณะอีก 600 คน (รวมรองประธานเลขาฯ 3 คน มีตำแหน่งอื่นๆที่สำคัญเช่นฝ่ายโฆษกรัฐบาล, ฝ่ายข้อมูลข่าวสาร, ผู้ช่วยนายกฯและเลขานายกฯรวมอยู่ด้วย)

21. ประธานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหรือคันโบโชกังนั้นเป็นตำแหน่งสำคัญมากที่เรามัก จะได้ยินในทีวีบ่อยๆ เพราะคันโบโชกังจะเป็นผู้แถลงการณ์เรื่องราวต่างๆกับสื่อมวลชน เป็นคนที่ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากนายกรัฐมนตรีมากที่สุด (ไม่รู้ยังไง ส่วนใหญ่หน้าตาจะซื่อๆ)

22. รองประธานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีสามคนนั้นจะเลือกจากนักการเมืองสองคน (ทำงานเกี่ยวกับการบ้านการเมือง) และคันเรียว (官僚) อีกหนึ่งคนมาทำงานเกี่ยวกับเรื่องทั่วไป (ประมาณ admin) คันเรียวคืออะไรเดี๋ยวค่อยว่ากัน...

23. ฝ่ายข้อมูลข่าวสารของญี่ปุ่้นรับผิดชอบโดยฝ่ายข้อมูลของสำนักงานเลขาธิการฯนี้คือ 内閣情報官 (ไน กะกุโจโฮกัง) บางคนจะบอกว่าเป็นประมาณ CIA ของญี่ปุ่น แต่ในความเป็นจริงไม่ได้ทำอะไรเป็นสปายอย่างนั้น วันๆนั่งหาข้อมูล ตรวจสอบข้อมูล ดูแลเกี่ยวกับพวกดาวเทียม คอยจับตาดูการเึคลื่อนไหวของต่างประเทศ หรือการเกิดภัยธรรมชาติต่างๆเป็นหลัก

24. ตำแหน่งที่เป็นสมองของนายกรัฐมนตรีคือไนกะกุโซริไดจินโฮะสะคัง (内閣総理大臣補佐官) หรือที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกสามารถเลือกเองได้โดยไม่มีเงื่อนไขกำหนด จริงๆแล้วจะเลือกญาติหรือเพื่อนหรือใครที่ไม่ใช่นักการเมืองมาก็ได้อย่าง อิสระ แต่ส่วนใหญ่ที่ผ่านมาก็เลือกนักการเมืองกันมา ตำแหน่งที่ปรึกษานายกนั้นไม่จำเป็นต้องเข้าไปนั่งในสภาด้วย สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระตามคำสั่งท่านนายกฯเลย

25. ถ้ามีเรื่องสำคัญที่คนในสังคมสนใจหรือจับตามองอยู่ นายกฯสามารถจะแต่งตั้งรัฐมนตรีพิเศษขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบเรื่องนั้นโดยเฉพาะ ได้ เรียกตำแหน่งนี้ว่าโทคุเมย์ตันโตไดจิน (特命担当大臣) เช่นมีเคสที่คนญี่ปุ่นถูกคนเกาหลีเหนือลักพาตัวไปในอดีตที่ทางญี่ปุ่นพยายาม เร่งเจรจาหาความคืบหน้าเพื่อให้คนที่ถูกลักพาตัวไปได้กลับบ้าน ก็เลยตั้งคนรับผิดชอบเรื่องนี้ขึ้นมาโดยเฉพาะ คนที่เหลือก็ทำงานไป (ถ้าเป็นที่ไทยอาจจะตั้งรัฐมนตรีขึ้นมารับผิดชอบเรื่องแพนด้าโดยเฉพาะไปเลย ก็ได้... -_-;)

26. งบประมาณประจำปีของแต่ละหน่วยงานจะเริ่มกำหนดโดยแต่ละหน่วยงานทำแผนงบประมาณ กันเองตอนเดือน 4 (จำเป็นต้องใช้ยังไงเท่าไหร่ก็ว่าไป) จากนั้นแผนกที่รับผิดชอบการเงินภายในหน่วยก็จะตรวจสอบอีกที เมื่อได้แผนงบการเงินแล้ว...ผู้รับผิดชอบก็จะเอาไปส่งต่อให้กระทรวงการคลัง ภายในเดือน 8 แล้วก็ต้องอธิบายถึงความจำเป็นนู้นนี้เป็นต่อยหอย อะไรที่ผ่านการเห็นชอบจากกระทรวงการคลังก็จะนำเข้าการประชุมคณะรัฐมนตรี (閣議 คะ คุหงิ) และกำหนดแผนงบประมาณในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีภายในเดือน 1 แต่ยังไม่จบ พอกำหนดแผนได้ก็ต้องเอาเข้าประชุมในสภาต่อ หลังจากส.ส.และสมาชิกวุฒิสภาพิจารณาเห็นชอบหมดแล้วค่อยได้งบประมาณจริงออกมา ทั้งหมดต้องเสร็จภายในเดือน 3... (พอเดือน 4 ก็ต้องทำของปีหน้าต่อ สรุปคนที่ทำงบประมาณมันก็ทำทั้งปี)

27. งบประมาณพวกนี้จะใช้ให้หมดกันเป็นปีๆ เราจึงมักได้ยินข่าวประสาทๆอยู่เป็นประจำว่าพวกข้าราชการจังหวัดตำบลอำเภอ ต่างๆต้องเอางบประมาณมาผลาญกันตอนช่วงใกล้ตัดงบประมาณ เพราะถ้าใช้ไม่หมดงบประมาณปีต่อไปจะถูกลด ดังนั้นบางตำบลอำเภอมันก็เอาไปซื้อของบ้าบอ (เช่นเครื่องทำกาแฟสุดหรู, จักรยานภูเขา) เอามาไว้ในสถานที่ราชการของตน เคยมีข่าวเจอคนที่เอาเงินไปฝัง เอาไปเผา หรือเอาไปโปรยแจกลงมาจากตึกด้วย -_-;

28. อย่างที่เรารู้กันว่าถ้าอยากเป็นส.ส. ทำงานในรัฐสภา ก็ต้องลงสมัครรับเลือกตั้ง เมื่อได้เข้ามาแล้วงานหลักของส.ส.ก็คือประชุม ประชุมๆๆเพื่อกำหนดกฏหมาย, แนวทาง, นโยบายต่างๆเพื่อบริหารประเทศและคอยตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล เมื่อกำหนดนโยบายแล้วพวกกรมกองกระทรวง องค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็รับเรื่องไปทำ ส.ส.ไม่ได้ลงไปทำงานเอง ตำแหน่งสำคัญที่จะรับนโยบายทั้งหลายเหล่านี้ไปทำในแต่ละกระทรวงนั่นก็คือ ...คันเรียว (官僚)

29. คันเรียวเป็นหัวสมองของราชการ เป็นหัวกะทิในวงการการเมืองของญี่ปุ่น เข้ามาทำงานโดยการสอบข้อสอบที่โคตรจะยาก (เหมือนสอบจอหงวน) เมื่อได้รับบรรจุที่กระทรวงไหนก็มักจะอยู่ทำงานไปอย่างยาวนาน ทำงานเก่งๆก็จะเลื่อนขั้นเป็นจิกัง (次官) ตามตำแหน่งแล้วใหญ่ไม่เท่ารัฐมนตรีของกระทรวงนั้น แต่คันเรียวนั้นไม่มีการล่มไปตามการยุบสภา ดังนั้นถึงเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ คันเรียวก็ยังอยู่ที่เดิม และทำงานมานาน (พูดง่ายๆก็คือมีทั้งอิทธิพลในที่ทำงานและมีประสบการณ์ ทำงานเก่งกว่ารัฐมนตรี)

30. การประชุมในสภาจะแบ่งออกเป็นสามประชุมใหญ่ หนึ่งคือการประชุมสามัญ (通常国会 ทซือโจคกไค) สองคือการประชุมแบบไม่สามัญ ^_^; (臨時国会 รินจิคกไค) และสามการประชุมเนื่องในโอกาสพิเศษ (特別国会 ทกขุเบทซึคกไค)

31. การประชุมสภาสามัญจะจัดประมาณเดือนมกราคมเป็นเวลา 150 วัน (สามารถขยายเวลาต่อได้หนึ่งครั้ง) ในการเปิดประชุม เทงโน่ (พระจักรพรรดิ) จะเสด็จมาด้วย เนื้อหาการประชุมสามัญนี้ก็จะเป็นการกำหนดงบประมาณประจำปีและกฏหมาย

32. การประชุมสภาแบบไม่สามัญ (วิสามัญ) เป็นการจัดประชุมเสริมตามความเหมาะสมเพื่อให้นโยบายที่ผ่านการประชุมสามัญไป ดำเนินไปอย่างราบรื่นเหมาะสม ถ้ามีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา 1 ใน 4 เรียกร้องให้มีการประชุมหัวข้ออะไรขึ้นมาก็จะจัดได้ทันที การประชุมวิสามัญนี้สามารถขยายเวลาต่อเพิ่มได้สองครั้ง

33. การประชุมพิเศษ เป็นการประชุมสภาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี จัดขึ้นหลังจากการเลือกตั้งสามัญผ่านไปเรียบร้อยภายใน 30 วัน

34. ข้าราชการที่ทำงานในสภา (งานหลากหลายตั้งแต่ admin, พนักงานห้องสมุด, หน่วยข้อมูล, กรมกฎหมาย etc.) ได้รับการว่าจ้างต่างหากไม่เกี่ยวกับการเลือกตั้งหรืออะไร เรียกคนที่ทำงานตำแหน่งต่างๆในสภาว่าคกไคโชคุอิน (国会職員) มีประมาณ 3,000 คน

35. หากเรามีความเห็นต้องการเสนอกับสภาจะทำยังไง? ไปสั่นระฆังเรียกท่านเปาได้ไหม? เปล่า...เค้าบอกให้ทำเรื่องผ่านส.ส.ให้เสนอสภาผู้แทนฯหรือวุฒิสภาต่างหาก (ถ้าเป็นเรื่องที่สังคมสนใจก็จะได้รับการจับตามองจากสื่อด้วย)

36. เนื่องจากสภาเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ... หน้าที่หลักๆของส.ส.ก็คือการร่างกฎหมายอย่างที่บอก แต่ปล่อยให้ร่างกันเองเดี๋ยวจะมั่ว... จะมีผู้ช่วยคือกรมกฎหมาย (法制局) อีกที ทั้งสภาผู้แทนฯและวุฒิสภาแยกกัน

37. กรมกฎหมายเป็นองค์กรที่แยกตัวออกจากฝ่ายบริหาร มีหน้าที่ร่างกฎหมายที่ส.ส.หรือวุฒิสภาเสนอ มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายโดยเฉพาะ

38. พูดถึงความสำคัญของกฏหมายญี่ปุ่นแต่ละระดับกันบ้าง กฎหมายญี่ปุ่นรวมๆเรียกว่าโฮเรย์ (法令) แบ่งตามระดับความสำคัญได้เช่น

38.1 憲法 เคนโป คือรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ รัฐธรรมนูญญี่ปุ่นนั้นไม่สามารถจะแก้ไขได้ง่ายๆเหมือนอเมริกาหรืออีกหลายประเทศ

38.2 条約 โจ ยาขุ อนุสัญญาหรือสนธิสัญญาที่ทำระหว่างประเทศ ไม่มีผลบังคับใช้ในประเทศญี่ปุ่น หากจะให้ในประเทศใช้กฏแบบเดียวกันต้องเขียนเป็นกฏหมายขึ้นมาใหม่

38.3 法律 โฮริทสึ กฏหมายในประเทศที่ร่างและเขียนในสภา (ยกเว้นกฎหมายท้องถิ่นของจิโฮจิจิไต 地方自治体) มีความรุนแรง คนในประเทศต้องทำตาม และมีบทลงโทษเมื่อฝ่าฝืนหรือกระทำผิด

38.4 命令 เมย์เรย์ กฏที่ใช้ในองค์กรต่างๆของรัฐ แบ่งออกเป็น 政令, 府令, 省令, 規則 และ 庁令

★政令 เซย์เรย์ กำหนดได้เองจากการประชุมคณะรัฐมนตรี ทว่าไม่สามารถกำหนดเกินขอบเขตของตัวกฏหมาย (โฮริทสึ) ที่มีกำหนดไว้แล้วได้

★府令 ออกโดยนายกรัฐมนตรีเอง ปัจจุบันนี้มี 内閣府令 เป็นกฏต่างๆที่นายกรัฐมนตรีกำหนดเกี่ยวกับกระทรวงต่างๆ

★ 省令 โชย์เรย์ กฏระเบียบที่แยกย่อยลงมากว่าเซย์เรย์อีก รัฐมนตรีสามารถกำหนดขึ้นมาได้เองภายในขอบเขตที่มีอยู่ในโฮริทสึและเซย์เรย์

★ 規則 คิโซขุ กฏระเบียบที่ออกโดยหัวหน้าของหน่วยงานราชการต่างๆเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น

★ 庁令 โชเรย์ ปัจจุบันมีอย่างเดียวคือ 海上保安庁令 (ไคโจโฮะอันโชเรย์) ออกโดยไคโจโฮะอันโช หรือ Japan Coast Guard เป็นหน่วยงานดูแลความปลอดภัยของท้องทะเลญี่ปุ่น

38.6 議院規則 กิอินคิโซขุ กฏต่างๆของรัฐสภาทั้งสองสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร (衆議院 ชูกิอิน) และวุฒิสภา (参議院 ซังกิอิน) โดยแยกออกเป็นกฏของสภาผู้แทนราษฎรคือ 衆議院規則 (ชูกิอินคิโซขุ) กับกฏของวุฒิสภา (参議院規則 ซังกิอินคิโซขุ)


38.7 最高裁判所規則 ไซ โคไซบังโชคิโซขุ กฏสำหรับศาลฎีกาและผู้พิพากษาที่กำหนดโดยการประชุมผู้พิพากษาเกี่ยวกับการ ปฏิบัติตัวในศาล, การฟ้องร้อง, การดำเนินขั้นตอนต่างๆ, ทนาย, งานธุรการในศาล และอื่นๆ

38.8 条例 โจเรย์ ประมาณกฏเทศบาล, กฏหมายท้องถิ่น ตั้งโดยการประชุมกันในแต่ละท้องถิ่นนั้นๆ

39. คนที่งงมาก มันคืออะไรกันฮ่วย... มาดูคำแปลเป็นภาษาอังกฤษกันตรงนี้...

憲法 เคนโป Constitution

法律 โฮริทสึ Act, Code

政令 เซย์เรย์ Cabinet Order

内閣府令 ไนกะกุฟุเรย์ Cabinet Office Ordinance

省令 โชเรย์ Ordinance of the Mistry

規則 คิโซขุ Rule

条例 โจเรย์ Prefectural Ordinance (ระดับจังหวัด) หรือ Municipal Ordinance (ระดับท้องถิ่น)

40. วิธีการเสนอร่างกฎหมายของญี่ปุ่นทำได้สองแบบ คือเสนอร่างกฏหมายโดยกระทรวง (内閣提出法案 ไนกะกุเทฉุทสึโฮอัน) และเสนอร่างกฏหมายโดยสภา (議員提出法案 กิอินเทฉุทสึโฮอัน)

41. การเสนอร่างกฎหมายโดยกระทรวงนั้นทำโดยแต่ละกระทรวงเองเลย มีบ้างเหมือนกันที่อยู่ๆท่านรัฐมนตรีหรือนายกฯจะเกิดนึกขึ้นมาได้แล้วสั่ง ให้ทำร่างกฎหมายเสนอ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นทำนองว่ามีเสียงเรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายตัวนั้นมาก่อน แล้ว เวลาทำร่างกฎหมายเสนอ จะเป็นหน้าที่ของคันเรียว (เคยบอกแล้วว่าเป็นหัวกะทิของวงการราชการ) จำนวนสิบกว่าคนทำงานกันเป็นโปรเจ็คทีม (หัวหน้าทีมจะเป็นคันเรียวที่ทำงานมาอย่างน้อย 8 ปีแล้วและเป็นข้าราชการระดับสูง) คันเรียวหนึ่งหรือสองคนจะเป็นเจ้าหน้าที่ทางด้านกฎหมายหรือผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ

42. เมื่อทำร่างกฎหมายได้แล้วก็ส่งไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบทางด้านกฎหมายเช็ค เจ้าหน้าที่นี้ภาษาญี่ปุ่นเรียก 法令審査官 (โฮเรย์ชินสะกัง) จากนั้นก็ไปอธิบายต่อกรมกฎหมายในกระทรวง (内閣法制局 ไนกะกุโฮเซย์เคียขุ) คนที่จะเช็คร่างกฏหมายในขั้นตอนนี้คือ 参事官 เสร็จแล้วยังต้องส่งต่อไปให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับรอง ถึงจะเอาร่างกฎหมายเข้าไปคุยในสภาได้

43. ที่ว่าคุยในสภาก็ไม่ได้เข้าไปคุยในการประชุมใหญ่แต่ไปคุยในแต่ละสภา... คือดูว่าร่างกฎหมายตัวนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไรก็เอาไปเข้าการประชุมคณะ กรรมการทเกี่ยวข้องของแต่ละสภา (สภาผู้แทนกับวุฒิสภา) ผ่านมาได้แล้วก็ออกเป็นกฏหมาย เทงโน่หรือพระจักรพรรดิก็จัดการประกาศออกมา

44. การเสนอร่างกฎหมายแบบที่สองคือเสนอโดยสมาชิกสภา (議員提出法案 กิ อินเทฉุทสึโฮอัน) การจะเสนอร่างกฎหมายอะไรได้นั้นต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนผู้แทนราษฎร 20 คน หรือสมาชิกวุฒิสภา 10 คนเห็นด้วย ถึงจะเสนอร่างกฏหมายได้

45. ทว่าถ้าเป็นร่างกฏหมายที่ต้องใช้งบประมาณในการประกาศใช้ (คือต้องใช้เงิน -_-;) ต้องมีส.ส.เห็นด้วยอย่างน้อย 50 คนหรือสมาชิกวุฒิสภา 20 คนเห็นด้วยถึงจะเสนอได้

46. คราวก่อนเคยบอกไปแล้วว่าการที่สภาจะเสนอร่างกฏหมายนั้น ถ้าปล่อยให้ร่างกันเองเดี๋ยวจะมั่ว เลยต้องมีหน่วยงานที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกฏหมายมาคอยซัพพอร์ต หน่วยงานที่ซัพพอร์ตการร่างกฏหมายของสภาผู้แทนราษฎรคือชูกิอินโฮเซย์เคียขุ (衆議院法制局) เช่้นเดียวกัน... หน่วยงานที่ซัพพอร์ตร่างกฏหมายของวุฒิสภาก็คือซังกิอินโฮเซย์เคียขุ (参議院法制局)

47. ปกติแล้วการเสนอร่างกฎหมายของสมาชิกสภานั้นเป็นไอเดียของสมาชิกสภาเอง โดยอาศัยหน่วยงานที่ซัพพอร์ตช่วยเขียนไอเดียให้เป็นรูปเป็นร่าง ในสภาจะมีห้องสมุด ห้องข้อมูลที่สามารถหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทุกกระทรวงได้ หลังจากได้ร่างกฏหมายที่สมาชิกสภาผู้เสนอพอใจแล้วก็ค่อยนำไปเสนอในสภาต่อ

48. การที่มีหน่วยงานผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายมาคอยช่วยเหลือสมาชิกสภาร่าง กฎหมายนั้นก็เพื่อให้การร่างกฎหมายเป็นไปอย่างถูกต้อง ไม่มีการเข้าใจผิดหรือความหมายกำกวม ซึ่งเป็นการยากสำหรับนักการเมืองมือใหม่ที่เข้ามาในสภา ทว่าถ้าเป็นนักการเมืองที่เก๋าหรือเชี่ยวทางด้านกฎหมายเองอยู่แล้วสามารถที่จะร่างเองก็ได้

49. ร่างได้แล้วก็เอาไปเสนอในการประชุมคณะกรรมการของทั้งสองสภาที่เกี่ยวข้อง เหมือนข้อ 43 ถ้าผ่านการพิจารณาหมดก็ออกเป็นกฎหมาย เทงโน่ก็จะประกาศใช้ต่อ

50. หลายคนอาจจะงงว่าเอาไปเสนอในการประชุมคณะกรรมการของทั้งสองสภา (สภาผู้แทนฯ & วุฒิสภา) มันคืออะไรยังไง? @_@; คือปกติอย่างที่เรารู้ๆกันอยู่แล้วว่าสภาญี่ปุ่นจะเป็นสภาสองระบบเหมือนไทย คือมีสภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎรมีประมาณ 480 คน และวุฒิสภามี 242 คน... ทีนี้เวลาจะประชุมหรืออะไรกันจะให้มารวมพลประชุมกันหมดตลอดเลยก็ยาก เหมือนเรียกประชุมนักเรียนทั้งโรงเรียนมาเพื่อประชุมอะไรกันทีละอย่าง สองอย่างมันก็เป็นไปไม่ได้ ก็เลยต้องมีการแบ่งกลุ่มกัน ใครถนัดเรื่องอะไรก็ไปเข้ากลุ่มนั้นแล้วแต่ละกลุ่มก็จัดประชุมกันไป ไอ้กลุ่มที่แบ่งนี้ล่ะคือ “คณะกรรมการ” หรือที่เรียกภาษาญี่ปุ่นว่า อิอินไก (委員会)

51. อิอินไกนี้อารมณ์ประมาณคณะกรรมการฝ่ายต่างๆของโรงเรียนมัธยม... คือ แบ่งแยกย่อยออกมาเป็นหลายกลุ่ม เช่นคณะกรรมการเกี่ยวกับการศึกษา, คณะกรรมการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม, คณะกรรมการเกี่ยวกับกฎหมาย etc. อีกทั้งยังแยกกันระหว่างกลุ่มคณะกรรมการ (อิอินไก) ของสภาผู้แทนฯกับกลุ่มของวุฒิสภาด้วย

52. ดังนั้นที่บอกว่าเวลาร่างกฎหมายแล้วต้องเอาไปเสนอในการประชุมคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องของทั้งสองสภา ก็หมายความว่าต้องดูว่ากฎหมายที่ร่างนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร อย่างถ้าเกี่ยวกับการศึกษา ก็ต้องเอาไปเข้าประชุมคณะกรรมการเกี่ยวกับการศึกษาของสภาผู้แทนราษฎรก่อน... ผ่านแล้วก็ไปเข้าการประชุมคณะกรรมการเกี่ยวกับการศึกษาของวุฒิสภาต่อ

53. ส่วนใหญ่การประชุมอิอินไกหรือประชุมคณะกรรมการที่ถ่ายทอดให้เห็นทางทีวี เป็นการประชุมของคณะกรรมการเกี่ยวกับงบประมาณการเงิน (เกี่ยวกับงบประมาณนี้จะประชุมกันทั้งคณะกรรมการของสภาผู้แทนฯและวุฒิสภา)

54. ปัจจุบันนี้มีกลุ่มคณะกรรมการที่ว่านี้ของสภาผู้แทนฯและวุฒิสภารวมทั้งหมด 17 คณะกรรมการ เรียกคณะกรรมการ 17 กลุ่มนี้ว่า 常任委員会 โจนินอิอินไก บางกลุ่มจะประชุมร่วมกันทั้งส.ส.และวุฒิสภาโดยไม่แยก

55. นอกเหนือจากคณะกรรมการ 17 กลุ่มที่ว่าแล้ว ยังมีกลุ่มคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นมาเป็นกรณีพิเศษเพื่อทำงานให้บรรลุเป้า หมายบางอย่างเรียกว่า 特別委員会 ถกขุเบ็ทสึอิอินไก (คณะกรรมการพิเศษ) เมื่อทำงานบรรลุเป้าหมายกันแล้ว คณะกรรมการกลุ่มนี้จะสลายโต๋ แยกย้ายกันไปทางใครทางมัน...

56. กลุ่มคณะกรรมการต่างๆของสภาผู้แทนราษฎรได้แก่

57.1 内閣委員会 ไน กะกุอิอินไก ตอบสนองและทำงานที่เกี่ยวกับหน่วยงานราชการกระทรวงต่างๆ (สัพเพเหระเกี่ยวกับรัฐบาลตั้งแต่เรื่องของราชวงศ์, สิทธิ์ชาย-หญิง, NPO, นโยบายเพิ่มสถิติการเกิด etc.)

57.2 総務委員会 โซมุอิอินไก ตอบสนองและทำงานเกี่ยวกับโซมุโชหรืองานบริหาร (รวมถึงเรื่องของรัฐบาลท้องถิ่น, จิจิไตด้วย)

57.3 法務委員会 โฮมุอิอินไก คุยกันเรื่องกฏหมาย

57.4 外務委員会 ไกมุอิอินไก คุยกันเรื่องนโยบายต่างประเทศ

57.5 財務金融委員会 ไซมุคันยูอิอินไก คุยกันเรื่องเงินๆทองๆของประเทศ

57.6 文部科学委員会 มอนบุคะกะขุอิอินไก คุยเรื่องนโยบายการศึกษา

57.7 厚生労働委員会 โคเซย์โรโดอิอินไก คุยเรื่องสาธารณสุขและแรงงาน

57.8 農林水産委員会 โนรินซุยซันอิอินไก คุยเรื่องการเกษตร ป่าไม้ น้ำ การผลิต

57.9 経済産業委員会 เคไซซังเกียวอิอินไก คุยกันเรื่องเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม

57.10 国土交通委員会 ขกคุโดโคซืออิอินไก คุยเรื่องนโยบายเกี่ยวกับถนนหนทาง

57.11 環境委員会 คังเคียวอิอินไก คุยกันเรื่องสิ่งแวดล้อม

57.12 安全保障委員会 อันเซนโฮะโชอิอินไก คุยกันเรื่องนโยบายความมั่นคงและการปกป้องประเทศ

57.13 国家基本政策委員会 ขกกะคิฮงเซย์ซะคุอิอินไก คุยกันเรื่องนโยบายทั่วไปเกี่ยวกับประเทศ

57.14 予算委員会 โยะซันอิอินไก คุยกันเรื่องงบประมาณแผ่นดิน

57.15 決算行政監視委員会 เคซซันเกียวเซย์คันฉิอิอินไก คุยกันเรื่องผลจากการใช้งบประมาณ

57.16 議員運営委員会 กิอินอุนเอย์อิอินไก คุยกันเรื่องการบริหารเรื่องต่างๆในรัฐสภา

57.17 懲罰委員会 โชบัทสึอิอินไก คุยกันเรื่องบทลงโทษเวลาสมาชิกสภาทำผิด

58. แต่ละกลุ่มอิอินไกจะมีสมาชิกประมาณ 30-40 คนสำหรับสภาผู้แทนฯ และ 20 คน สำหรับวุฒิสภา คนนึงอาจจะเป็นสมาชิกหลายกลุ่มอิอินไกได้

59. ถามว่าสภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภาใครอยู่ในสถานะยิ่งใหญ่กว่ากัน? ของญี่ปุ่นจะถือว่าสภาผู้แทนราษฎรนั้นใหญ่กว่า เวลาสภาผู้แทนฯกับวุฒิสภาความเห็นไม่ตรงกันจะเอาความคิดเห็นของสภาผู้แทนฯ เป็นหลัก

60. ยกตัวอย่างเช่นข้อกฎหมายที่ทางสภาผู้แทนฯลงความเห็นอนุมัติกันไปแล้ว ตอนหลังวุฒิสภาลงความเห็นไม่อนุมัติ แต่ถ้าสภาผู้แทนฯประชุมกันใหม่และเสียง 2 ใน 3 ลงความเห็นอนุมัติอยู่ กฎหมายข้อนั้นก็ผ่านพิจารณาออกมาเป็นกฎหมายอยู่ดี

61. หรืองบประมาณที่สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบกันไปแล้ว หลังจากนั้น 30 วันแม้วุฒิสภาจะยังไม่ได้เห็นชอบหรืออนุมัติ งบประมาณนั้นก็จะได้รับพิจารณาออกมาได้

62. รัฐสภาของญี่ปุ่นนั้นใครจะขอเข้าไปดูก็ได้ การขอเข้าไปดูการทำงานของวุฒิสภานั้นสามารถทำได้ส่วนตัวโดยไม่ต้องมีการจอง ก่อน (จะมีคอร์สเรียกว่า 国会ツアー คกไกทัวร์หรือทัวร์รัฐสภา มีรอบ 9 โมงกับ 10 โมง)

63. แต่ถ้าจะดูการประชุมสภาใหญ่ (本会議 ฮงไค งิ) ต้องไปซื้อตั๋วไว้ก่อนล่วงหน้าหนึ่งวันโดยต้องไปเข้าแถวซื้อตามลำดับก่อน หลัง ทว่าถ้ารู้จักกับส.ส.ในสภาก็สามารถซื้อล่วงหน้าไว้ก่อนได้

64. ปกติถ้าเราจะไปขอฟังการตัดสินในศาล หากมีจำนวนคนต้องการเข้าไปฟังมากกว่าที่ทางศาลกำหนดก็จะใช้วิธีจับสลากเลือก แต่ถ้าเป็นการเข้าไปนั่งฟังการประชุมในสภาจะใช้หลักมาก่อนได้ก่อน

65. ปกติทีวีจะถ่ายทอดให้ทางบ้านดูก็เฉพาะเวลามีการประชุมสภาแบบใหญ่ (本会議 ฮงไค งิ ประชุมรวมทั้งสภาผู้แทนฯและวุฒิสภา) กับเวลาประชุมเรื่องงบประมาณเท่านั้น หากเราต้องการจะเข้าไปฟังเวลาอิอินไกกลุ่มต่างๆเค้าประชุมกันจะต้องได้รับ อนุญาตจากส.ส.หรือสมาชิกอิอินไกนั้นๆที่เกี่ยวข้อง ทว่าในปัจจุบันนี้บางอิอินไกก็มีการประชุมแพร่ภาพทางอินเตอร์เน็ทให้ดู สามารถเข้าไปดูสดๆเวลาเค้าประชุมกันได้ค่ะ ^_^

ติดตามข่าวผลการเลือกตั้งสามัญที่ญี่ปุ่นเมื่อวานนี้ ประมาณนึง แต่ก็ไปนอนก่อน ผลเป็นอย่างที่คิดไว้แต่แรกว่าพรรคมินชุโตจะต้องได้ที่นั่งในสภามากกว่าจิมินโตและพลิกมาเป็นฝ่ายรัฐบาลครั้งแรก (จิมินโตได้ 119 ที่นั่ง มินชุโตได้ 308 ที่นั่ง ที่เหลือก็เป็นพรรคอื่นๆ) จะว่าไปมันก็น่าเสี่ยงอยู่เหมือนกันที่ให้พรรคที่เป็นฝ่ายค้านมาตลอดและไม่ เคยบริหารบ้านเมืองเลยมาบริหารประเทศดู กร๊ากกก ^_^; แต่เสียงของประชาชนก็แสดงให้เห็นแล้วว่าต้องการให้โอกาสพรรคมินชุโตลอง บริหารบ้านเมืองดู แล้วก็เบื่อพรรคจิมินโตแล้วนั่นเอง...

ขนาดตัวเบิ้มๆของ พรรคจิมินโตประมาณอดีตรัฐมนตรีอะไรอย่างนี้ยังตกกันระนาว... (มีบางคนโชคดียังติดแบบฮิเรย์ทีหลัง...) เวลาไปเลือกตั้งที่ญี่ปุ่นจะต้องเลือก 2 แบบคือ 小選挙区 (โคะเซนเคียวคุ) กับ 比例選挙区 (ฮิเรย์เซนเคียวคุ) โคะเซนเคียวคือเลือกคนเดียวเป็นตัวแทนของเขต ฮิเรย์นี่จะแบ่งเป็นบล็อคๆทั้งหมด 11 บล็อคทั้งประเทศ พรรคการเมืองแต่ละพรรคที่เข้าร่วมจะรันชื่อคนในพรรคตัวเองตามลำดับ เวลาประชาชนเลือกก็เลือกเป็นพรรคไม่ได้เลือกเป็นคน ดังนั้นบางคนที่ตกจากการเลือกตั้งของเขตที่ตัวเองลงสมัครแล้วจึงอาจจะกลับ ขึ้นมาใหม่ได้หากพรรคได้รับการเลือกแบบฮิเรย์

สำหรับนโยบายของพรรคมินชุโตที่น่าสนใจ (และเป็นเหตุผลหนึ่งให้หลายคนเลือกพรรคนี้) ก็ได้แก่...
1. เพิ่มเบี้ยเลี้ยงให้กับเด็กจากที่ตอนนี้ได้ครอบครัวละ 1 หมื่นเยนตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงเด็กเข้าประถม เป็น 2 หมื่น 6 พันเยนต่อเดือน และเพิ่มระยะเวลาให้จนถึงเด็กเข้าม.ต้น (แต่รู้สึกตอนแรกจะให้ยังไม่เต็มก่อน คือจะให้แบบค่อยเป็นค่อยไป)
2. ให้เรียนฟรีในโรงเรียนมัธยมปลายของรัฐบาล
3. ขึ้นทางด่วนฟรี
4. เพิ่มงาน ลดจำนวนคนตกงาน

etc.....

สิ่งที่หลายคนเป็นห่วงคือจะเอาเงินมา จากไหน? ทางพรรคมินชุโตเค้าก็บอกว่าจะลดพวกค่าใช้จ่ายที่สิ้นเปลืองต่างๆของรัฐบาล ที่ผ่านๆมา (พวกเงินมืด, อามะคุดาริ etc.) จะต้องมีการปรับสถานะของพวกคันเรียวด้วย... ก็ต้องรอดูต่อไปว่าจะทำได้ตามที่พูดหรือไม่

อีกไม่นานก็จะมีนายกคนใหม่... คือท่านนายกฮาโตะยามะแล้วสินะ

ที่มา Exteen BlogของHayashi Kisara

ฝ่ายค้านญี่ปุ่นฉลองชัยชนะเลือกตั้ง

ชัยชนะของพรรค ประชาธิปไตยแห่งญี่ปุ่น หรือ DPJ ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นเมื่อวานนี้ ทำให้พรรคกวาดที่นั่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปได้ราว 308 ที่นั่งจากทั้งหมด 480 ที่นั่ง ทำให้นายยูคิโอะ ฮาโตยามา หัวหน้าพรรค วัย 62 ปีจะกลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ แทนนายกรัฐมนตรีทาโร อาโซ วัย 68 ปี ผู้ดำรงตำแหน่งได้เพียงไม่ถึงหนึ่งปี และทำให้พรรคฝ่ายค้านได้บริหารประเทศอีกเป็นครั้งที่สอง หลังจากพรรคเสรีประชาธิปไตยหรือ LDP ที่มีอายุเก่าแก่ถึง 54 ปี ปกครองประเทศมายาวนานตลอดเกือบ 50 ปียกเว้นช่วง 11 เดือนระหว่างปี 2536-2537 ที่ต้องเสียอำนาจให้กับพรรคฝ่ายค้านครั้งแรก ขณะที่ LDP ได้ที่นั่งส.ส.เพียง 119 ที่นั่งจากการเลือกตั้งล่าสุด

การเลือกตั้งครั้งนี้ยังสร้างสถิติเป็นครั้งแรกในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ สอง ที่พรรคการเมืองเดียวสามารถครองเสียงข้างมากในการเลือกตั้งได้อย่างเด็ดขาด หลังจากไม่มีพรรคการเมืองใดเคยกวาดที่นั่งส.ส.ได้ถึงกว่า 300 ที่นั่ง นอกจากนี้ยังมีจำนวนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งมากถึง 13 ล้าน 9 แสน 8 หมื่นคน ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2539 ที่เริ่มมีการใช้ระบบเลือกตั้งแบบใหม่ซึ่งแบ่งเป็น ส.ส.แบบเบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อ

ชาวญี่ปุ่นร่วมยินดีกับชัยชนะของ DPJ ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับการเมืองญี่ปุ่นครั้งนี้ โดยผู้สูงอายุ วัย 77 ปีคนหนึ่งซึ่งลงคะแนนให้พรรค DPJ บอกว่า นี่เป็นการเลือกตั้งเพื่อบอกลา LDP และบอกด้วยว่าเป็นเรื่องไร้สาระที่ต้องเห็นการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีถึง 4 คนในช่วงเวลา 4 ปีนี้โดยไม่มีการถามความเห็นจากประชาชน
นักวิเคราะห์ มองว่า ชัยชนะของ DPJ ที่มีอายุเพียง 11 ปี ครั้งนี้ถือเป็นการเริ่มต้นของระบบสองพรรคการเมืองในญี่ปุ่นอย่างแท้จริง หลัง LDP กุมอำนาจมาอย่างยาวนาน และในเช้าวันนี้จะเป็นการเปิดศักราชใหม่ของการเมืองญี่ปุ่น แต่ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป เพราะ พรรค DPJ ซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์บริหารประเทศ

ฮาโตยามาจบการศึกษาด้านวิศวกรรมที่มหาวิทยาลัยโตเกียว และได้ปริญญาเอกด้านวิศวกรรมจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดของสหรัฐ เขาเป็นอาจารย์สอนวิชาวิศวกรรม ก่อนได้รับเลือกตั้งเป็นส.ส.สมัยแรกในปี 2529 และได้รับเลือกตั้งติดต่อกัน จนกระทั่งได้แยกตัวออกจากพรรค LDP ในปี 2536 และร่วมก่อตั้งพรรค DPJ ในปี 2539

ที่มาข่าวจากเนชั่(ว)น


มารู้จักกับว่าที่นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น "ยูกิโอะ ฮาโตยามา"

วันที่ 01 กันยายน พ.ศ. 2552 เวลา 12:45:37 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปของพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น (ดีพีเจ) และการจะขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของนายยูกิโอะ ฮาโตยามา ถือเป็นความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่และสำคัญของประเทศญี่ปุ่น เพราะถือเป็นการปิดฉากช่วงเวลากว่า 5 ทศวรรษ ที่พรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี) ได้ครอบครองอำนาจในการบริหารประเทศแห่งนี้มา

ฮาโตยามามีรากเหง้ามาจากตระกูลชนชั้นนำทางด้านการเมืองและธุรกิจ เขามีปู่เป็นอดีตนายกรัฐมนตรี มีพ่อเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และมีน้องชายเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารของ รัฐบาลนายทาโร อาโสะ นอกจากนี้ ตาของเขายังเป็นผู้ก่อตั้งกิจการอุตสาหกรรมยางรถยนต์ที่มีชื่อเสียงในระดับ โลกอย่าง "บริดจ์สโตน"

ฮาโตยามาเกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1947 (พ.ศ.2490) ปัจจุบันมีอายุ 62 ปี เขาจบการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ฮาโตยามาได้เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็นส.ส.ของจังหวัดฮอกไกโด ในสังกัดพรรคแอลดีพี อย่างไรก็ตาม เขาได้ลาออกจากพรรคแอลดีพีเมื่อปี ค.ศ. 1993 (พ.ศ.2536) ครั้นถึงปี ค.ศ.1996 (พ.ศ.2539) ฮาโตยามาได้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคดีพีเจ และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคสมัยแรกระหว่างปี ค.ศ.1999-2002 (พ.ศ.2542-2545) หลังจากนั้น เขาลดบทบาทลงเป็นเลขาธิการพรรค จนกระทั่งได้ย้อนกลับมาเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองนี้อีกครั้งเมื่อเดือน พฤษภาคมที่ผ่านมา

ในการลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งล่าสุด ฮาโตยามาไม่ได้พยายามแสดงให้คนทั่วไปเห็นถึงรากเหง้าซึ่งมาจากตระกูลชนชั้น นำอันร่ำรวยมั่งคั่งของตนเอง แต่เขาพยายามให้สัญญาว่าจะต่อสู้เพื่อเหล่าสามัญชนคนธรรมดาทั้งหลาย พร้อมกับให้คำมั่นว่าจะนำ "ความเปลี่ยนแปลง" มาสู่ญี่ปุ่น

คงต้องให้กาลเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า ยูกิโอะ ฮาโตยามา จะประกอบภารกิจอันหนักอึ้งดังกล่าวได้สำเร็จหรือไม่?

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ


NoteจากBlogger :
พรรคมินชุโต(Democratic Party of Japan :DPJ) = พรรคประชาธิปไตยแห่งญี่ปุ่น
พรรคจิมินโต(Liberal Democratic Party :LDP) = พรรคเสรีประชาธิปไตย พรรคเก่าแก่ที่ครองอำนาจในฐานะพรรคแกนนำรัฐบาลมากว่า50ปี

หนังสือแนะนำ
ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยใหม่ ว่าด้วยประวัติศาสตร์ของแดนอาทิตย์อุทัยตั้งแต่สมัยโชกุนโทกุงาวะมาจนถึง สมัยปี2000ทั้งบทบาทในสงครามโลกครั้งที่2 เศรษฐกิจ สังคมการเมือง และลัทธิชาตินิยม โดยสุรางค์ศรี ตันเสียงสม แห่งสถาบันเอเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Create Date : 31 สิงหาคม 2552
Last Update : 1 กันยายน 2552 17:17:40 น. 1 comments
Counter : 797 Pageviews.

 
จะว่าไปมันก็น่าเสี่ยงอยู่เหมือนกันที่ให้พรรคที่เป็นฝ่ายค้านมาตลอดและไม่ เคยบริหารบ้านเมืองเลยมาบริหารประเทศดู กร๊ากกก ^_^;


ข้อความข้างบนอ่านแล้วอำมาตย์จะดีใจนะครับ
คนไม่ชอบอำมาตย์ควรระวังความเห็นเช่นที่ให้มานี้นะครับ


โดย: ลงชื่อ IP: 60.35.22.93 วันที่: 3 กันยายน 2552 เวลา:0:14:57 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.