ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง
แถลงการณ์อินเทอร์เน็ต(The Internet Manifesto)

จาก Fringer คนชายขอบ(สฤณี อาชวานันทกุล)
14 กันยายน 2552

แถลงการณ์อินเทอร์เน็ต

แปลจาก The Internet Manifesto - ต้นฉบับดั้งเดิมเป็นภาษาเยอรมัน

1. อินเทอร์เน็ตไม่เหมือนโลกนอกเน็ต

อิน เทอร์เน็ตสร้างโลกสาธารณะหลายใบ เงื่อนไขทางการค้า และทักษะทางวัฒนธรรมที่แตกต่างจากโลกนอกเน็ต สื่อจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของพวกเขาให้สอดคล้องกับความเป็นจริงด้าน เทคโนโลยีของทุกวันนี้ แทนที่จะเพิกเฉยหรือท้าทายมัน สื่อมีหน้าที่พัฒนารูปแบบสื่อสารมวลชนที่ดีที่สุดที่ตั้งอยู่บนเทคโนโลยีล่า สุด ทั้งนี้รวมถึงผลิตภัณฑ์และวิธีวิทยาทางสื่อสารมวลชนใหม่ๆ ด้วย

2. อินเทอร์เน็ตคืออาณาจักรสื่อขนาดจิ๋ว

เว็บ จัดเรียงโครงสร้างสื่อที่มีอยู่เดิมเสียใหม่ ด้วยการข้ามพ้นพรมแดนเก่าๆ และภาวะตลาดที่มีผู้เล่นน้อยราย การตีพิมพ์และเผยแผ่เนื้อหาสื่อไม่ต้องขึ้นอยู่กับการลงทุนมหาศาลอีกต่อไป โชคดีที่แนวคิดเกี่ยวกับสื่อสารมวลชนเองกำลังถูก ‘เยียวยา’ (cured) ให้หลุดพ้นจากหน้าที่ ‘ยามเฝ้าประตู’ (gatekeeping function) สิ่งที่ยังเหลืออยู่มีเพียงคุณภาพของสื่อสารมวลชนเอง อันเป็นวิธีสร้างความแตกต่างระหว่างการเป็น ‘สื่อสารมวลชน’ กับการ ‘ตีพิมพ์’ เฉยๆ (mere publication)

3. อินเทอร์เน็ตคือสังคมของเรา สังคมของเราคืออินเทอร์เน็ต

เวที ที่ตั้งอยู่บนเว็บหลายแห่ง เช่น social network, วิกิพีเดีย หรือยูทูบ ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันสำหรับคนส่วนใหญ่ในซีกโลกตะวันตก เว็บเหล่านี้เข้าถึงได้ง่ายดายพอๆ กับโทรศัพท์หรือโทรทัศน์ ถ้าบริษัทสื่อมวลชนอยากจะดำรงอยู่ต่อไป พวกเขาจะต้องเข้าใจโลกของผู้ใช้ในวันนี้ และโอบอุ้มรูปแบบการสื่อสารของพวกเขา ซึ่งรวมถึงรูปแบบพื้นฐานของการสื่อสารในสังคม – การฟังและตอบกลับ หรือที่เรารู้จักในชื่อ บทสนทนา (dialog)

4. เสรีภาพของอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ละเมิดไม่ได้

สถาปัตยกรรมเปิด (open architecture) ของอินเทอร์เน็ตคือกฎไอทีพื้นฐานของสังคมที่สื่อสารกันแบบดิจิตอล และดังนั้นมันจึงเป็นกฎไอทีพื้นฐานของสื่อสารมวลชนด้วย สถาปัตยกรรมนี้จะต้องไม่ถูกปรับเปลี่ยนเพื่อปกป้องผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ หรือทางการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์ ที่มักจะถูกอำพรางอยู่เบื้องหลังข้ออ้างเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะ การปิดกั้นการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะทำด้วยวิธีใดก็ตาม เป็นอันตรายต่อการไหลเวียนอย่างเสรีของข้อมูลข่าวสาร และบั่นทอนสิทธิขั้นพื้นฐานของเราที่จะเข้าถึงข้อมูลในระดับที่เราแต่ละคน ต้องการ (self-determined level of information)

5. อินเทอร์เน็ตคือชัยชนะของข้อมูลข่าวสาร

บริษัท สื่อมวลชน ศูนย์วิจัย สถาบันของภาครัฐ และองค์กรอื่นๆ เป็นผู้รวบรวมและจัดหมวดหมู่ของข้อมูลในโลกก่อนหน้าที่จะมีอินเทอร์เน็ต เนื่องเพราะมีข้อจำกัดทางเทคโนโลยี แต่วันนี้ พลเมืองทุกคนสามารถตั้งโปรแกรมกรองข่าวของตัวเอง ขณะที่เสิร์ชเอนจินก็สามารถเข้าถึงข้อมูลมหาศาลในระดับที่เราไม่เคยเข้าถึง ได้มาก่อน ปัจเจกชนสามารถรับรู้ข่าวสารด้วยตัวเองได้มากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน

6. อินเทอร์เน็ตเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสื่อสารมวลชน

อิน เทอร์เน็ตทำให้วงการสื่อสารมวลชนสามารถทำหน้าที่ทางสังคมและด้านการศึกษา ด้วยวิธีใหม่ เช่น การนำเสนอข้อมูลข่าวสารในฐานะกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างไม่มีวัน หยุดนิ่ง การข้ามพ้นลักษณะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ของสื่อสิ่งพิมพ์เป็นประโยชน์ต่อสื่อเอง สื่อที่อยากอยู่รอดในโลกแห่งข้อมูลใบใหม่นี้จะต้องมีอุดมการณ์แบบใหม่ ความคิดด้านสื่อใหม่ๆ และรู้สึกสนุกที่จะหาวิธีใช้โลกนี้ให้เป็นประโยชน์

7. เน็ตต้องอาศัยการสร้างเครือข่าย

ลิ้งก์ คือความสัมพันธ์ เรารู้จักกันและกันผ่านลิ้งก์ ใครที่ไม่ใช้มัน (เช่น ลิ้งก์ไปหาเว็บอื่น-ผู้แปล) เท่ากับกีดกันตัวเองออกจากวิวาทะทางสังคม ข้อนี้รวมถึงเว็บไซต์ของบริษัทสื่อกระแสหลักด้วย

8. ลิ้งก์มอบรางวัล, การอ้างอิงเป็นเครื่องประดับ

เสิร์ชเอนจินและ aggregator (เว็บไซต์/โปรแกรม เช่น Technorati ที่ ‘รวบรวม’ ลิ้งก์จากเว็บต่างๆ-ผู้แปล) ส่งเสริมสื่อสารมวลชนที่มีคุณภาพ เพราะเว็บ/โปรแกรมเหล่านี้ทำให้เนื้อหาคุณภาพสูงหาง่ายกว่าเดิมมากในระยะยาว และดังนั้นจึงเป็นส่วนสำคัญของโลกสาธารณะใบใหม่ที่โยงกันเป็นเครือข่าย การอ้างอิงผ่านลิ้งก์และอ้างแหล่งที่มา โดยเฉพาะการอ้างอิงที่ผู้ผลิตเนื้อหามิได้ยินยอมหรือแม้แต่ได้รับค่าตอบแทน เป็นสิ่งที่ทำให้วิวาทะทางสังคมที่เป็นเครือข่ายนั้นถือกำเนิดได้ตั้งแต่ต้น ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การปกป้องคุ้มครอง

9. อินเทอร์เน็ตคือเวทีใหม่สำหรับวิวาทะทางการเมือง

ประชาธิปไตย รุ่งเรืองเมื่อพลเมืองมีส่วนร่วมและมีเสรีภาพในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การโยกย้ายการอภิปรายทางการเมืองจากสื่อกระแสหลักมาสู่อินเทอร์เน็ต และการขยับขยายวงอภิปรายนี้ด้วยการโน้มนำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่าง แข็งขันกว่าเดิม เป็นหนึ่งในหน้าที่ใหม่ของสื่อสารมวลชน

10. เสรีภาพสื่อในวันนี้หมายถึงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

มาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญเยอรมันไม่ได้คุ้มครองสิทธิของวิชาชีพหรือโมเดลธุรกิจกระแส หลักใดๆ อินเทอร์เน็ตข้ามพ้นพรมแดนทางเทคโนโลยีระหว่าง ‘มือสมัครเล่น’ และ ‘มืออาชีพ’ นี่คือเหตุผลที่เสรีภาพของสื่อ (ที่มีอภิสิทธิ์ในฐานะ ‘ฐานันดรที่สี่’-ผู้แปล) จะต้องเป็นจริงด้วยสำหรับใครก็ตามที่มีส่วนร่วมในงานสื่อสารมวลชน กล่าวโดยรวมคือ ไม่ควรมีใครแยกแยะระหว่างสื่อที่ได้รับค่าตอบแทน กับสื่อที่ไม่ได้รับค่าตอบแทน แต่ควรแยกแยะระหว่างสื่อที่มีคุณภาพกับสื่อที่ไร้คุณภาพ

11. มากขึ้นคือมากขึ้น – “ปัญหาข้อมูลมากเกินไป” ไม่มีจริง

ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว สถาบันอย่างเช่นโบสถ์ให้น้ำหนักกับอำนาจมากกว่าการตระหนักรู้ของปัจเจก และประกาศเตือนว่าข้อมูลจะไหลบ่าโดยไร้การกลั่นกรอง ตอนที่แท่นพิมพ์ถูกประดิษฐ์ ฝั่งตรงข้ามคือกลุ่มนักทำใบปลิว นักทำสารานุกรม และนักข่าวที่พิสูจน์ให้เห็นว่าข้อมูลข่าวสารที่มากขึ้นนำมาซึ่งเสรีภาพที่ มากขึ้น ทั้งสำหรับปัจเจกชนและสังคมส่วนรวม จนถึงทุกวันนี้ แง่มุมนี้ก็ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย

12. ประเพณีไม่ใช่โมเดลธุรกิจ

ใครๆ ก็สามารถหาเงินบนอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องใช้เนื้อหาด้านสื่อสารมวลชน ทุกวันนี้เราเห็นตัวอย่างมากมาย แต่แล้ว เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นเวทีที่มีการแข่งขันสูงมาก โมเดลธุรกิจจึงต้องถูกปรับเปลี่ยนประยุกต์ให้สอดคล้องกับโครงสร้างของเน็ต ไม่มีใครควรพยายามหลบเลี่ยงเรื่องนี้ด้วยการออกนโยบายที่มุ่งรักษาสถานภาพ เดิมให้คงอยู่ต่อไป วงการสื่อสารมวลชนต้องมีการแข่งขันแบบเปิดเพื่อหาวิธีระดมทุนที่ดีที่สุดบน อินเทอร์เน็ต รวมถึงความกล้าหาญที่จะลงทุนในการลงมือทำตามโมเดลเหล่านั้นจริงๆ

13. ลิขสิทธิ์กลายเป็นหน้าที่พลเมืองบนอินเทอร์เน็ต

ลิขสิทธิ์ คือเสาหลักของการจัดระเบียบข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ผู้สร้างเนื้อหามีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะตัดสินใจว่าเนื้อหาที่สร้างนั้นจะมี รูปแบบใดและจะเผยแพร่ไปมากน้อยเพียงใด แต่ในขณะเดียวกัน ลิขสิทธิ์ก็จะต้องไม่ถูกบิดเบือนไปใช้เป็นเครื่องมือพิทักษ์กลไกอุปทาน (supply mechanisms) ที่ล้าสมัยไปแล้ว และปิดกั้นโมเดลใหม่ๆ ในการเผยแพร่เนื้อหา หรือรูปแบบใหม่ๆ ของสัญญาใช้สิทธิ (license scheme) ความเป็นเจ้าของมาพร้อมกับภาระหน้าที่

14. อินเทอร์เน็ตมี ‘สกุลเงิน’ จำนวนมาก

บริการ สื่อออนไลน์มักจะหาทุนจากโฆษณา นำเสนอเนื้อหาแลกกับการดึงดูดคนให้เข้ามา เวลาของผู้อ่าน ผู้ชม หรือผู้ฟังนั้นมีค่า ในอุตสาหกรรมสื่อ ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นหนึ่งในวิธีคิดพื้นฐานเรื่องการระดมทุน รูปแบบอื่นๆ ในการระดมทุนที่มีความชอบธรรมทางวิชาชีพจะต้องได้รับการคิดค้นและทดสอบ

15. อะไรที่อยู่บนเน็ตจะอยู่ต่อไปบนเน็ต

อิน เทอร์เน็ตกำลังยกระดับสื่อสารมวลชนขึ้นสู่คุณภาพอีกชั้นหนึ่ง ข้อเขียน เสียง และภาพในเน็ตไม่จำเป็นจะต้องดำรงอยู่เพียงชั่วคราวอีกต่อไป เนื้อหาเหล่านี้สืบค้นได้ตลอดเวลา สะสมผ่านกาลเวลาเป็นกรุประวัติศาสตร์ร่วมสมัย วงการสื่อสารมวลชนจะต้องคำนึงถึงการพัฒนา การตีความ และข้อผิดพลาดของข้อมูล กล่าวคือ สื่อจะต้องยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นและแก้ไขอย่างโปร่งใส

16. คุณภาพยังเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุด

อิน เทอร์เน็ตหักล้างสินค้าพิมพ์เดียวกันที่ขายทีละมากๆ มีเพียงสื่อที่โดดเด่น น่าเชื่อถือ และยอดเยี่ยมเท่านั้นที่จะมีผู้ติดตามอย่างสม่ำเสมอในระยะยาว ผู้ใช้มีความต้องการสูงกว่าเดิม สื่อจะต้องตอบสนองพวกเขาและเคารพในหลักการที่ตัวเองชอบเขียน

17. ทุกคนทำเพื่อทุกคน

เว็บคือโครงสร้างพื้นฐานของการแลกเปลี่ยนทางสังคมที่มีสมรรถภาพสูงกว่าสื่อมวลชนแห่งศตวรรษที่ 20 – เวลาใดก็ตามที่เกิดความไม่มั่นใจ คน “รุ่นวิกิพีเดีย” สามารถประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว สืบสาวข่าวไปจนถึงต้นตอ ค้นคว้าวิจัย ตรวจสอบความถูกต้อง และประเมินข้อมูลหลักฐาน ไม่ว่าจะต่างคนต่างทำหรือทำกันเป็นกลุ่ม นักข่าวที่ดูแคลนกิจกรรมนี้และไม่ยอมรับทักษะดังกล่าวจะถูกผู้ใช้เน็ตเหล่า นี้มองข้ามไป และผู้ใช้เน็ตก็ทำถูกแล้ว เพราะอินเทอร์เน็ตทำให้เราทุกคนสามารถสื่อสารโดยตรงกับคนที่เคยถูกเรียกว่า “ผู้รับสาร” ไม่ว่าจะเป็นผู้อ่าน ผู้ฟัง หรือผู้ชม และใช้ความรู้ของพวกเขาให้เป็นประโยชน์ สิ่งที่คนต้องการตอนนี้ไม่ใช่นักข่าวที่รู้ดีทุกเรื่อง แต่เป็นคนที่สามารถสื่อสารและสืบค้นหาความจริง.

ฉบับภาษาอังกฤษและภาษาต่างๆ

อินเทอร์เน็ต, 07.09.2009

* Markus Beckedahl
* Mercedes Bunz
* Julius Endert
* Johnny Haeusler
* Thomas Knüwer
* Sascha Lobo
* Robin Meyer-Lucht
* Wolfgang Michal
* Stefan Niggemeier
* Kathrin Passig
* Janko Röttgers
* Peter Schink
* Mario Sixtus
* Peter Stawowy
* Fiete Stegers


Create Date : 14 กันยายน 2552
Last Update : 14 กันยายน 2552 19:36:30 น. 0 comments
Counter : 532 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.