ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง

รายงาน: “ทามาดะ โยชิฟูมิ” อภิปรายการเมืองไทยร่วมสมัยที่ ม.เชียงใหม่

“ทามาดะ โยชิฟูมิ” อภิปรายเรื่องประชาธิปไตย “แบบไทยๆ” ที่ไม่มีวันเหมือนเดิมหลังจากมีการเลือกตั้ง ผ่่านพฤษภา 35 กระทั่งมีรัฐธรรมนูญ 2540 ชี้การปกครองแบบประชาธิปไตยถ้าปฏิเสธอำนาจอธิปไตยของประชาชนและการเลือกตั้งก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย และฝ่ายที่สู้กับประชาชนไม่มีวันชนะ


เมื่อวันที่ 24 ส.ค. ที่ผ่านมา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เชิญ ศาสตราจารย์ทามาดะ โยชิฟูมิ (TAMADA Yoshifumi) อาจารย์มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น มาบรรยายพิเศษเกี่ยวกับการเมืองร่วมสมัยของไทย ที่ห้องประชุมชั้น 8 อาคาร HB7 คณะมนุษยศาสตร์ โดยการอภิปรายของอาจารย์ทามาดะ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

โดยอาจารย์ทามาดะ เริ่มอภิปรายด้วยคำถามว่า การเมืองไทยและความเป็นประชาธิปไตยของไทยสมัยปัจจุบันนี้มีสถานะอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยนำผลการสำรวจขององค์กรเอกชนที่ชื่อว่า "Freedom House" ซึ่งใช้ตัวชี้วัด 2 ประการ ในการสำรวจ คือ สิทธิทางการเมือง (Political Rights) กับเสรีภาพพลเมือง (Civil Liberties) โดยตัวเลขน้อยแสดงว่ามีสิทธินั้น ๆ มากในอันดับต้นๆ

ผลสำรวจในประเทศไทยปี 2546 มีสิทธิทางการเมือง อยู่ในระดับที่ 2 เสรีภาพพลเมืองอยู่ในระดับที่ 3 แต่ตกต่ำลงหลังรัฐประหาร โดยในปี 2550 สิทธิทางการเมืองตกไปอยู่ระดับที่ 7 ส่วนเสรีภาพพลเมืองอยู่ระดับที่ 4 ในปีล่าสุดนี้สิทธิทางการเมืองของไทยดีขึ้นเล็กน้อยคืออยู่ในระดับที่ 5 ส่วนเสรีภาพพลเมืองยังอยู่ในระดับที่ 4

ขณะนี้เปรียบเทียบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อเรียงลำดับแล้ว สิทธิทางการเมืองและเสรีภาพพลเมืองอันดับต้นๆ คืออินโดนีเซีย ซึ่งเดิมเคยเป็นรัฐบาลทหารแต่เปลี่ยนเป็นรัฐบาลประชาธิปไตย รองลงมาได้แก่ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และสิงคโปร์ โดยไทยมีสิทธิทางการเมืองและเสรีภาพพลเมืองเท่ากับสิงคโปร์ โดยที่สิงคโปร์ถูกวิจารณ์ว่าเป็นอำนาจนิยม อาจกล่าวได้ว่าประชาธิปไตยในไทยตกต่ำลงเพราะการรัฐประหารในเดือนกันยายน 2549

จากนั้น อาจารย์ทามาดะ ได้อภิปรายเหตุการณ์ทางการเมืองไทย ผ่านการฉายภาพการ์ตูนล้อการเมืองของ "ขวด" ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ และ "เซีย" ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ซึ่งตีพิมพ์ระหว่างปี 2549-2553 ซึ่งสร้างความสนใจให้กับผู้ร่วมประชุม

อาจารย์ทามาดะ ได้อภิปรายต่อไปว่า คำถามที่ว่ามีสงครามระหว่างใคร มีอะไรเกิดขึ้นในสามปีที่ผ่านมา พอจะนึกออกแล้วใช่หรือไม่ ประเทศไทยกำลังมีสงครามระหว่างใครกับใคร มีคนอธิบายแบบง่ายๆ ว่าเป็นสงครามระหว่าง "สาวกคนดี" กับ "สาวกทักษิณ" ซึ่งตนว่าไม่จริง โดยขออธิบายว่า เป็นการต่อสู้ทางการเมือง มันเป็นสงครามที่ไม่เท่าเทียมกันเพราะมีฝ่ายเดียวที่เป็นฝ่ายรุกโดยส่วนใหญ่

ทั้งนี้ ในระบอบประชาธิปไตย การเลือกตั้งจะต้อง "มีกฎที่แน่นอน แต่ไม่ทราบว่าผลจะเป็นอย่างไร" (Certain rule with uncertain result) แต่ถ้าการเลือกตั้ง "มีกฎที่ไม่แน่นอน แต่ผลแน่นอน" (Uncertain Rule with certain result) แบบนี้จะเรียกว่าเป็นประชาธิปไตยไม่ได้

ธงชัย วินิจจะกูล ได้อธิบายว่า คนที่สนับสนุนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 (Anti democratic forces) ได้แก่ คนสามกลุ่ม คือ 1.ชนชั้นกลาง (Urban elite) 2.พลังข้าราชการ (Bureaucratic power) 3.ฝ่ายนิยมเจ้า (Monarchist) โดยคนสามกลุ่มเป็นคนละส่วนแต่ได้จับมือกันเพื่อต่อสู้กับทักษิณ ชินวัตร โดยพวกนิยมเจ้าเริ่มสู้กับทักษิณ เพราะเขาไม่ชอบทักษิณ และกังวลเรื่อง Successor (ผู้สืบสันตติวงศ์) ส่วนคนในเมืองที่เป็นชนชั้นกลางนั้นสู้กับคนจนในชนบทและคนจนในเมือง ในขณะที่พวกข้าราชการก็สู้กับ ส.ส.

พวกนิยมเจ้าไม่ชอบทักษิณ เพราะรัฐในอุดมการณ์ของเขาเข้ากับทักษิณได้ยาก เขาต้องการปกครองในรูปแบบ "ประชาธิปไตยแบบไทยๆ" หรือ "ราชประชาสมาศัย" ซึ่งสองอย่างนี้เหมือนกันหรือคล้ายกันมาก

ปิยะบุตร แสงกนกกุล เคยอธิบายว่า "ประชาธิปไตยแบบไทยๆ" มีลักษณะดังนี้ คือ หนึ่ง องคมนตรีมีอำนาจแทรกแซงการเมือง สอง ประชาชนเป็นข้าแผ่นดิน ไม่ใช่พลเมือง สาม รัฐบาลเสียงข้างมากต้องประนีประนอมกับอภิชน สี่ เชื่อว่าการเลือกตั้งไม่ใช่ตัวบงชี้ ห้า กองทัพเป็นผู้อนุบาล หก ปราศจากการตรวจสอบและความรับผิด (accountability)

ระบบการปกครองต่างๆ ทั่วโลก ที่เป็นระบอบประชาธิปไตย มีสามรูปแบบ หนึ่ง ระบบประธานาธิบดี (Presidency System) ผู้นำเป็นประธานาธิบดี เช่น สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้

สอง ระบบรัฐสภา (Parliamentary System) นายกรัฐมนตรีมีอำนาจ เช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ภูฏาน สิงคโปร์ ส่วนมากประเทศที่เป็นประชาธิปไตยต้องเป็นรูปแบบที่ 1 หรือที่ 2 นี้

สาม เรียกว่ากึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา (Semi-Presidential System) โดยนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดีมีอำนาจเท่าๆ กัน ประเทศที่ใช้การปกครองรูปแบบนี้เช่น ฝรั่งเศส ไต้หวัน รัสเซีย

แบบที่สี่ “แบบไทยๆ” นี่เป็นลักษณะพิเศษ เป็นแบบที่แบ่งอำนาจระหว่างนายกรัฐมนตรีกับ Monarch (สถาบันพระมหากษัตริย์)

และแบบที่ห้า Monarchial system หรือ แบบกษัตริย์ เช่น บรูไน

โดยระบบประธานาธิบดีเป็นประมุข กับระบบกษัตริย์เป็นประมุขมีลักษณะคล้ายกัน ต่างกันที่มาจากการเลือกตั้งหรือไม่เท่านั้น

ทั้งนี้ในรูปแบบสามกับสี่ มีปัญหาอย่างหนึ่ง คือ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี และระหว่างนายกรัฐมนตรีกับกษัตริย์ อาจเป็นแบบ Zero-sum game คนหนึ่งได้หมด คนหนึ่งจะเสียหมด ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันได้นี่ยากหน่อย โดยทั่วไปแล้วอีกฝ่ายชนะ อีกฝ่ายแพ้ มักจะเป็นอย่างนั้น

ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยจะใช้รัฐธรรมนูญกำหนดอำนาจ นายกรัฐมนตรีมีอำนาจแบบนี้ ประธานาธิบดีมีอำนาจแบบนี้ ยึดกันตามกฎหมาย แต่ถ้าไม่กำหนดอย่างชัดแจ้งจะเกิดปัญหาแบบที่เมืองไทยที่แย่งชิงอำนาจกัน ใครมีอำนาจมากกว่ากัน

“แบบไทยๆ” นั้นมีปัญหาอย่างไร ถ้าหากว่านายกรัฐมนตรี มีความชอบธรรมสูงมาก สำหรับพวกนิยมเจ้าถือว่าเป็นปัญหา พวกเขาสนใจมากและห่วงมากหากนายกรัฐมนตรีมีความชอบธรรมสูงมากไป แต่ถ้าเป็นที่ญี่ปุ่น หรืออังกฤษ ซึ่งมีกษัตริย์เหมือนกัน แต่นายกรัฐมนตรีจะมีอำนาจมากหรือน้อยนั้นพวกนิยมเจ้าเขาไม่สนใจ ส่วนเมืองไทยไม่เป็นอย่างนั้น

จึงถือว่าแบบญี่ปุ่นและอังกฤษทั้ง Popularity (ความนิยมของประชาชน) กับ Ability (ความสามารถ) ของ Monarch นั้น ไม่สำคัญกับระบอบ แต่สำคัญสำหรับแบบที่ 4 กับแบบที่ 5 ในญี่ปุ่น และอังกฤษไม่มีปัญหา โดยอำนาจของกษัตริย์ถูกจำกัดด้วยรัฐธรรมนูญ ผมพูดในฐานะที่ไม่ใช่นักกฎหมาย ผมอาจเข้าใจผิดก็ได้ แต่เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดอย่างชัดแจ้งปัญหาก็จะเกิด

กล่าวคือความสูงต่ำของเพดานอำนาจ Monarch จึงเปลี่ยนง่าย ขึ้นอยู่กับความสามารถของ Monarch และความสัมพันธ์กับนายกรัฐมนตรี เพราะฉะนั้นพวกนิยมเจ้าจึงพยายามเพิ่มอำนาจของ Monarch

ปัญหาจึงเกิดขึ้น เมื่อฝ่ายนิยมเจ้า กับ ทักษิณ ทะเลาะกัน เพราะความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างนายกรัฐมนตรี กับ กษัตริย์ เริ่มเปลี่ยน เพราะประเทศมีประชาธิปไตยมากขึ้น โดยมีขั้นตอนเริ่มจากการเลือกตั้งอย่างน้อยหลังปี 2522 สมัยรัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ แล้วอีกอย่างที่สำคัญ หลังเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 มีการแก้รัฐธรรมนูญว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส. แปลว่าคนที่เลือกนายกรัฐมนตรีคือประชาชน นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีความสำคัญ ต่อมามีรัฐธรรมนูญปี 2540 และในช่วงเดียวกันมีการกระจายอำนาจ มีการเลือกตั้งบ่อยขึ้น หลังรัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นต้นมา ทั้งระดับชาติ และระดับท้องถิ่นมีการเลือกตั้งมากขึ้น ประชาชนเรียนรู้ว่าจะใช้คะแนนเสียงของตนอย่างไร

สุดท้ายเมื่อมีการเลือกตั้งปี 2544 ทักษิณขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นปัจจัย เงื่อนไข ให้พวกนิยมกษัตริย์ ตกใจ เป็นห่วง ไม่พอใจ พวกนิยมเจ้าคิดอย่างไร นี่เป็นคำพูดที่มีชื่อเสียง ทุกคนเคยเห็นเคยได้ยินมาแล้ว เมื่อ พล.อ.เปรม ติณสูลานนนท์ (ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ) พูดที่โรงเรียนนายร้อย จปร. ก่อนมีรัฐประหารประมาณ 2 เดือน เขาอธิบายว่า “รัฐบาลก็เหมือนกับ jockey คือเข้ามาดูแลทหาร ไม่ใช่เจ้าของทหาร เจ้าของทหารคือชาติ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” [1] แต่คำว่า ชาติ ของ พล.อ.เปรม หมายถึงอะไร ก็คงไม่มีใครอธิบาย เมื่อวานผมผ่าน “ค่ายตากสิน” (กองพันสัตว์ต่าง กรมการขนส่งทหารบก อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่) เขาเขียนว่า “เพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน” แต่ในตะวันตก ชาติ หมายถึง ประชาชน เป็นอันเดียวกัน แต่ที่นี่ ที่ประเทศไทยชาติไม่ใช่ประชาชน ชาติหมายถึงอะไร ไม่รู้ ที่นี่ชาติอาจไม่มีความหมาย ทหารจึงเป็นของกษัตริย์ในสายตาของ พล.อ.เปรม

นอกจากนี้มีหนังสือจากประธานศาลฎีกา ถึงประธานวุฒิสภา ลงวันที่ 1 มิ.ย. 2549 อธิบายทำนองว่าในภาวะที่ประเทศว่างเว้นรัฐสภา และรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่ง ถ้ารัฐสภาว่างเปล่า ครม.ว่างเปล่า เหลือแต่อำนาจศาล กษัตริย์จะใช้อำนาจอธิปไตยโดยผ่านศาลได้ [2] เพราะช่วงนั้น สภาว่างเปล่าจริงๆ ไม่มี ส.ส. ส่วน ส.ว. ก็ว่าง เหลือแต่ คณะรัฐมนตรีรักษาการ ถ้าหากทักษิณลาออก หรือถูกทำให้ออกในสมัยนั้น ทักษิณไป คณะรัฐมนตรีก็ไม่มีเหลือ จะเหลือแต่อำนาจศาลเท่านั้น ผมเข้าใจว่ามีการพยายามสร้างสถานการณ์หรือทำให้มีสภาวะของอำนาจแบบนั้น ถ้าเป็นแบบนั้นก็จะสามารถใช้อำนาจอธิปไตยโดยใช้ศาลได้ แต่พอดีเกิดรัฐประหารขึ้น

ต่อมา อาจารย์ทามาดะ เปรียบเทียบความแตกต่างทางความคิดระหว่างคนสองกลุ่ม คือกลุ่มเสื้อแดง กับ กลุ่มเสื้อเหลือง ตามตัวชี้วัดต่างๆ ดังนี้

ประเด็นแรก “การเลือกตั้ง” เสื้อเหลือง ไม่ชอบ และ ด่า ส.ส. ส่วน เสื้อแดง ถือว่าเขาได้ประโยชน์จากการเลือกตั้ง การเลือกตั้งขาดไม่ได้ต้องมี ประเด็นที่สอง ในเรื่อง “การรัฐประหาร” เสื้อเหลือง ยอมได้ เสื้อแดง ไม่ยอม ประเด็นที่สาม ในเรื่อง “ด่าใคร” ในกรณีการสลายการชุมนุมที่ผ่านมา เสื้อเหลือง ด่าคนที่ถูกฆ่า ส่วนเสื้อแดง ด่าคนที่สั่งฆ่าหรือคนที่ฆ่า

จากนั้น อาจารย์ทามาดะ ได้นำข้อมูลจากงานวิจัยของอภิชาต สถิตนิรามัย อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ อาจารย์ยุกติ มุกดาวิจิตร อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาอภิปราย โดยคำถามในงานวิจัย เมื่อถามเกี่ยวกับอาชีพของคนสองกลุ่ม ในการสำรวจพบว่าอาชีพเกษตรกร คนเสื้อเหลืองมีอาชีพนี้ 35% ส่วนคนเสื้อแดง 53% เป็นเกษตรกร

ในอาชีพงานนอกระบบ คนเสื้อเหลืองทำงานนอกระบบ 4% คนเสื้อแดง 9% ส่วนอาชีพในระบบที่เป็นทางการ พบว่าเป็นคนเสื้อเหลือง 35% คนเสื้อแดง 22% ส่วนอาชีพค้าขาย พบว่าเป็นคนเสื้อเหลือง 27% คนเสื้อแดง 6%

ส่วนเรื่องวุฒิการศึกษา คนเสื้อเหลืองจบระดับปริญญาตรีขึ้นไป 38% คนเสื้อแดง 18.7%

ในเรื่องรายได้ต่อเดือน คนเสื้อเหลืองมีรายได้ 31,427 บาทต่อเดือน คนเสื้อแดงมีรายได้ 17,034 บาทต่อเดือน ส่วนคนที่เป็นกลางมีรายได้ 11,995 บาทต่อเดือน ในด้านจิตสำนึก เป็นอย่างไร คนเสื้อเหลืองกลับรู้สึกว่าตัวเอง ยากจน 23% คนเสื้อแดง รู้สึกว่าตัวเองยากจนเพียง 18% คือคนเสื้อเหลืองรวยกว่าแต่รู้สึกว่ายากจนกว่า ส่วนคนที่เป็นกลางรู้สึกว่ายากจน 14.6%

ส่วนคนที่รู้สึกว่าตัวเองมีฐานะปานกลาง พบว่า คนเสื้อเหลือง 61.5% คิดว่าตัวเองมีฐานะปานกลาง คนเสื้อแดง 50% คิดว่าตนมีฐานะปานกลาง ส่วนคนที่เป็นกลาง 78.1% คิดว่าตัวเองมีฐานะปานกลาง ส่วนทัศนคติเกี่ยวกันความเหลื่อมล้ำทางรายได้แล้ว พบว่ากลุ่มคนเสื้อเหลืองนั้นรู้สึกว่าช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนนั้นไม่ห่างมาก หมายถึงยังพอรับได้ 57.7% ส่วนคนเสื้อแดง 75.0% และคนที่เป็นกลาง 87.8% คิดเช่นนั้น

เรื่องการยอมรับการรับประหาร คนเสื้อแดง ไม่ยอมรับการรัฐประหาร 81% ยอมรับการรัฐประหาร 19.2% ส่วนคนเสื้อเหลือง ไม่ยอมรับการรัฐประหาร 12.5% ยอมรับการรัฐประหาร 50% และเมื่อถามว่าจะยอมรับการรัฐประหารที่เกิดขึ้นในอนาคตหรือไม่ คนเสื้อเหลืองร้อยละ 73.1 ตอบว่ายอมรับการรัฐประหารหากเป็นไปเพื่อการปกป้องสถาบัน และ 57.7% ยอมรับการรัฐประหารเพื่อแก้ปัญหาจลาจล

อาจกล่าวได้ว่า นี่เป็นความขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง ฝ่ายที่ต้องการให้มีการเลือกตั้ง กับฝ่ายที่ไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้ง พวก Monarchist ต้องโจมตีทั้ง “Principal” “Agent” และ “Election” โดยโจมตีว่าประชาชน ซึ่งเป็น “Principal” นั้น โง่ ยากจน การศึกษาต่ำ จึงขายเสียง โจมผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็น “Agent” ว่าคอร์รัปชั่น ซื้อเสียง จึงไม่ชอบธรรม และโจมตีขั้นตอนมอบอำนาจคือ “Election” หรือการเลือกตั้ง ว่ามีการซื้อเสียง ขายเสียง

โดยอาจารย์ทามาดะ ได้เปรียบเทียบวิธีคิดนี้กับคำพูดของนายจรัญ ภักดีธนากุล ขณะนั้นเป็นเลขาธิการประธานศาลฎีกา เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2549 ที่นายจรัญกล่าวว่า “เราขอถามที่มาของผู้ทรงอำนาจรัฐ 16 ล้านเสียง แค่คูณด้วยเสียงละพัน มันก็เป็นเงินแค่ 1.6 หมื่นล้านบาทเท่านั้นเอง...” [3] ซึ่งถ้าเป็นผู้พิพากษาในญี่ปุ่นพูดแบบนี้ถูกปลดทันที แต่ในไทยตอนนี้คนนี้ก็ยังเป็นผู้พิพากษาอีก

จากนั้น อาจารย์ทามาดะ อภิปรายต่อไปว่า เกี่ยวกับความไม่พอใจของคนเสื้อเหลืองกับคนเสื้อแดง โดยอาจารย์ทามาดะกล่าวว่า ขอเดาว่า หนึ่ง คนเสื้อแดงไม่พอใจกับการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 สอง คนเสื้อแดงไม่พอใจ Injustice หรือสองมาตรฐาน ว่าเป็นประชาชนด้วยกัน เป็นคนไทยด้วยกัน แต่มีการปฏิบัติด้วยมาตรฐานหลายอย่าง สาม คนเสื้อแดงไม่พอใจที่มาของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ที่เกิดภายในค่ายทหาร เพราะฉะนั้นเขาไม่ชอบ

ส่วนคนเสื้อเหลือง เขาไม่พอใจ เพราะเขากลัว การเมืองแบบเสียงข้างมาก แต่เขาเป็นเสียงข้างน้อย เขาไมชอบแบบนี้

ตามคำอธิบายของอาจารย์ยุกติ มุกดาวิจิตร ในแง่มุมทางเศรษฐกิจ คนเสื้อเหลือง หรือชนชั้นกลางเดิมนั้นเขาได้เปรียบหลายอย่าง แต่สิบปีที่ผ่านมาไม่ค่อยได้เปรียบ ฐานะเริ่มเท่ากับคนชั้นล่าง เขาจึงไม่พอใจ ส่วนแง่มุมทางวัฒนธรรม คนเสื้อเหลือง ชนชั้นกลาง เขาต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ เขาไม่ชอบ ไม่ต้องการให้เปลี่ยน

อาจารย์ทามาดะ กล่าวว่า ดังนั้นการทะเลาะกันนี้ยังไม่จบและจบยาก เพราะการต่อสู้นี้ ถ้าเลียนแบบคำพูดของ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ที่พูดกับ ส.ส. เมื่อเดือนธันวาคมปี 2551 ที่พูดว่า “รู้ไหม สู้กับใคร” เพราะฉะนั้น ส.ส. หลายคนจึงกลายเป็นงูเห่า

ดังนั้น ถ้าเลียนแบบเขาเอาคำพูดนี้มาใช้แล้วเอามาถามว่า “เขาสู้กับใคร?” หลายคนคิดว่ากำลังสู้กับทักษิณ? แต่ว่าจริงๆ แล้ว โจมตีทักษิณมา 5 ปีแล้วยังชนะไม่ได้ ทำไม? ยังโจมตีไม่พอ? ทำลายไม่พอ? หรือเปล่า? ก็ไม่ใช่ เขาสู้กับประชาชน เพราะสู้กับประชาชน ดังนั้นจึงไม่มีทางเอาชนะได้

และการต่อสู้ครั้งนี้เป็นการต่อสู้ระหว่างรัฐสองแบบ รัฐของฝ่ายกษัตริย์นิยม กับ รัฐของประชาชน ถ้าเป็นระบอบการปกครองประชาธิปไตยแบบธรรมดาๆ โดยทั่วไปแล้ว ประชาชนเป็น Principal โดยตัวของเขา และเลือก Agent และ Agent ผู้ถูกเลือกตั้งเขาจะทำการปกครอง โดยเป็นสมาชิกรัฐสภา หรือประธานาธิบดี นี่เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย ภายใต้โครงสร้างนี้จะปฏิเสธอำนาจอธิปไตยของประชาชนและปฏิเสธการเลือกตั้งไม่ได้ เพราะถ้าปฏิเสธสิ่งเหล่านี้เราไม่ใช่ประชาธิปไตยแล้ว หนทางของฝ่ายที่กำลังสู้กับประชาชนนี้ไม่มีวันที่จะชนะได้


หมายเหตุโดยประชาไท

[1] หมายถึงคำพูดของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ระหว่างบรรยายพิเศษหัวข้อ “ทหารอาชีพ กับทหารมืออาชีพ” ให้กับนักเรียนนายร้อย จปร. ชั้นปีที่ 1-4 ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) อ.เขาชะโงก จ.นครนายก เมื่อ 14 ก.ค. 2549

[2] หมายถึงหนังสือศาลฎีกา ด่วนที่สุด เลขที่ ศย.100/10666 ลงชื่อนายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา ถึงนายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา เรื่อง การพิจารณาสรรหาผู้สมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้ง โดยเป็นการชี้แจงเหตุผลถึงมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ที่ไม่สรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งแทน 2 ตำแหน่งที่ว่างลง ข้อความตอนหนึ่งของหนังสือระบุว่า “... ในเวลาที่ประเทศตกอยู่ในภาวะว่างเว้นรัฐสภา และคณะรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร หากมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องสงวนรักษาระบอบการปกครองและความสงบสุขแห่งราชอาณาจักรไว้ พระมหากษัตริย์ย่อมทรงใช้อำนาจอธิปไตยโดยผ่านทางศาลได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 ดังที่ทรงมีพระราชดำรัสแก่ประธานศาลปกครองสูงสุดและประธานศาลฎีกา เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ดังนั้น การปฏิบัติภารกิจของศาลตามที่ได้รับใส่เกล้าใส่กระหม่อมมา จึงเป็นไปโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญ”

[3] หมายถึงคำพูดของนายจรัญ ภักดีธนากุล เลขาธิการประธานศาลฎีกาในขณะนั้น กล่าวระหว่างการเสวนาหัวข้อ "สิทธิชุมชน: เส้นทางกระจายอำนาจจัดการทรัพยากรของชุมชน” เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2549 ที่สภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย

ที่มา ประชาไท




 

Create Date : 29 สิงหาคม 2553    
Last Update : 29 สิงหาคม 2553 2:43:44 น.
Counter : 552 Pageviews.  

การต่อสู้ของรัฐMonarch Vs. รัฐประชาชน โดยทามาดะ โยชิฟูมิ

การเมืองแบบนี้จบยาก และไม่รู้จะออกไปทางไหน ประเด็นที่น่าสนใจคือทั้งสองฝ่ายรู้หรือไม่ว่ากำลังสู้อยู่กับใครกันแน่ เสื้อเหลือง สู้กับทักษิณ ? โจมตีมา 5 ปีแล้วยังชนะไม่ได้ ? เพราะยังทำลายฐานเงินไม่หมด ? ส่วนเสื้อแดง "รู้ไหม สู้กับใครอยู่"เป็นคำที่ พล อ.อนุพงษ์ เคยพูด โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่า เป็นการต่อสู้ระหว่างรัฐกษัตริย์และรัฐของประชาชน

นักวิชาการ นักสังคมศาสตร์-มนุษย์ศาสตร์ สื่อมวลชล หลายท่านพยายามอธิบายความขัดแย้งทางการเมืองไทยในแง่มุมต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดการอภิปรายทางวิชาการอย่างกว้างขวาง แต่ในแง่มุมจากนักวิชาการต่างประเทศที่เข้ามาศึกษาไทยยังมีไม่มากนัก ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะอคติที่มองว่าคนต่างถิ่นจะรู้เท่าคนในพื้นที่ แต่บางครั้งการมองในแง่มุมของตัวเองเพียงอย่างเดียวอาจมองไม่เห็นบางมุมที่ถูกพรางอยู่ เหมือนก้อนหินที่ถูกมองอยู่ด้านเดียว

ศ.ดร.ทามาดะ โยชิฟูมิ ( Prof.Tamada Yoshifumi School of Asian and African Area Studies Kyoto University )เป็นนักวิชาการที่ศึกษาประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน มาเป็นอย่างดี ดังจะเห็นได้จากงานวิจัยที่ท่านได้ศึกษามา เช่น Decentralization in Thailand 1997-2007) ,Democratization in Asia (1998-2006) ,State-building in Southeast Asia Thai history,state,nation(1994-2005) ซึ่งทำให้การอธิบายของท่านไม่ได้เลื่อนลอย หากแต่อยู่บนฐานที่ท่านได้เคยศึกษามาเป็นอย่างดี และมุมมองของท่านย่อมเป็นคุณุปการต่อการถกเถียงแลกเปลี่ยนในวงวิชาการไทย

วันนี้(24 ส.ค. 53) ศ.ดร.ทามาดะ ได้มาเสวนาวิชาการกับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้เห็นถึงมุมมองจากนักวิชาการต่างประเทศท่านนี้ว่า มองการเมืองไทยในขณะนี้เป็นอย่างไร อะไรคือปัจจัยและสาเหตุของความขัดแย้งทางการเมือง

ศ.ดร.ทามาดะ กล่าวว่า ช่วงปี 2003-2006ประชาธิปไตยในไทยยังอยู่ในเกณฑ์ ที่ดีอยู่ (อยู่ในเกณฑ์ 2-3 ในด้าน Political rights (มีสิทธิทางการเมือง) และ civil liberties (เสรีภาพ) ตามลำดับ ซึ่งให้คะแนน 1- 7 1 สูงสุด 7 ต่ำสุด) แต่หลังจากเกิดการรัฐประหารปี 49 (2007) ประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ 7กับ 4 ณ ปัจจุบันประชาธิปไตยในไทยเป็นอันดับ 4 ของอาเซียน

เราอาจจะพอสรุปภาพเหตุการณ์การเมืองไทยพอสังเขปได้ว่า การเมืองไทยเริ่มแย่ จุดเริ่มต้นอยู่ที่การรัฐประหาร 19 กันยายน 49 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้แย่งอำนาจกัน ต่อมามีการบังคับให้รับร่างรัฐธรรมนูญ 50 เพื่อเป็นเครื่องต่อรองให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งพรรคประชาธิปปัตย์ก็หวังว่าพรรคของตนจะเป็นนายก

หลังการเลือกตั้งธันวาคม ปี 2550 ประชาธิปปัตย์กลับแพ้การเลือกตั้ง ทำให้อภิสิทธิ์และพรรคพวกเริ่มต่อรองกับอำนาจที่มองไม่เห็น พร้อมกับการออกมาเคลื่อนไหวของม๊อบพันธมิตร ยึดสนามบินโดยมี "เส้นใหญ่" ชักใยอยู่เบื้องหลัง จนในที่สุดอภิสิทธิก็สามารถจัดตั้งรัฐบาลโดยมีทหารและชนชั้นนำอยู่เบื้องหลัง คอยล๊อบบี้สส.ฝ่ายพรรคเพื่อไทย

แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์ซึ่งมาจากการโอบอุ้มคนหลายกลุ่มจึงก่อให้เกิดการเข้ามาขอส่วนแบ่งผลประโยชน์อยู่ตลอดเวลา ทำให้รัฐบาลขาดเสถียรภาพ

จนกระทั่งเกิดกระแสความไม่พอใจรัฐบาล นำมาสู่เหตุการณ์ประท้วงของคนเสื้อแดง จนเกิดเหตุการณ์ 10 เมษาฯ และ 19 พฤษภาฯ จนทำให้มีคนเสียชีวิต ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่น่าจะทำให้อภิสิทธ์อยู่รอดได้ แต่สื่อมวลกลับเป็นผู้ปกปิดอำพรางความผิดและคนตายให้แก่อภิสิทธิ์ จนทำให้ข้อเท็จจริงบ้างด้านถูกปกปิด

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตนไม่คิดว่าเป็นสงครามระหว่าง สาวก "คนดี" กับ สาวก "ทักษิณ"เพียงอย่างเดียว มันเป็นสงครามที่ไม่เท่าเทียมกันเพราะฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายรุกเสียเป็นส่วนใหญ่ และมันก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย อย่างแน่นอน กล่าวคือ ประชาธิปไตย จะมีกฎที่แน่นอน แต่ผลสรุปไม่แน่นอน คือไม่รู้ผลล่วงหน้าถ้ารู้ผลก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย ฉะนั้นการที่พรรคประชาธิปปัตย์ จะยอมให้มีการเลือกตั้งต่อเมื่อผลเข้าทางตัวเอง จึงไม่ใช่ประชาธิปไตย

อ.ธงชัย วินินจะกูล เคยกล่าวไว้ว่า ฝ่ายสนับสนุนรัฐประหาร คือ 1) urban elite (ชนชั้นสูงในเมือง) (vs.the poor) 2) bureaucratic power (vs. Mps ส.ส.) 3) monarchist (นิยมเจ้า) ( vs. taksin)

พวก monarchist จะไม่ชอบทักษิณเพราะรัฐในอุดมการณ์ของเขาเข้ากับทักษิณไม่ได้ เขาต้องการประชาธิปไตยแบบไทยซึ่ง อ. ปิยะบุตร แสงกนกกุล ประชาธิปไตยแบบไทยไว้ว่า

๑.ประชาธิปไตยที่องคมนตรีมีอำนาจแทรกแซงการเมือง
๒.ประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นได้เพียง ข้าแผ่นดิน ไม่ใช่ พลเมือง
๓.ประชาธิปไตยที่เชื่อว่าการเลือกตั้งไม่ใช่ตัวบ่งชี้ประชาธิปไตย
๔.ประชาธิปไตยที่ปราศจากการตรวจสอบและความรับผิด
๕.ประชาธิปไตยที่มีกองทัพเป็นผู้อนุบาล
๖.ประชาธิปไตยที่ปราศจากการตรวจสอบและความรับผิด

ประชาธิปไตยตามอำนาจการปกครองรัฐศาสตร์มีหลายแบบ แต่ประชาธิปไตยไทยเป็นแบบที่ PM & Monarch มีอำนาจร่วมกัน ซึ่งต่างจากประเทศที่ปกครองแบบ PM & president มีอำนาจร่วมกัน(อย่างฝรั่งเศส,ไต้หวัน) เพราะ ประธานาธิบดีมาจาการเลือกตั้ง สำหรับประเทศที่ผู้นำทั้งสองมีอำนาจร่วมกัน power balance (อำนาจที่สมดุล)เป็นสิ่งสำคัญมาก ตามรัฐธรรมนูญแล้วต้องกำหนดอำนาจให้ชัดเจน มิเช่นนั้นจะเกิดปัญหาการแย่งชิงอำนาจกัน

ลักษณะการปกครองของ PM & Monarch แบบไทย นายกจะต้องมี ความนิยม ความเป็นผู้นำ และ legitimacy สำหรับ Monarchies popularity(ความนิยม) กับ ability(ความสามารถ)สำคัญมาก

ปัญหาความขัดแย้งของ PM & Monarch ในประเทศไทย ที่ผ่านมาเกิดขึ้นง่ายเพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้จำกัดอำนาจของ Monarch ไว้อย่างชัดเจน ทำให้อำนาจดังกล่าวเลื่อนไหล สูงขึ้น หรือต่ำลง กล่าวคือ เปลี่ยนแปลงง่าย ตาม ability(ความสามารถ) และ ความสัมพันธ์กับ PM ฉะนั้นพวกนิยมเจ้าจึงต้องพึงพิงอำนาจของ Monarch เพื่อตนจะได้ผลประโยชน์

พวกนิยมเจ้า ขัดแย้งกับทักษิณเพราะความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ซึ่งทันทีที่การเมืองแบบเลือกตั้งเปิด อำนาจและฐานความนิยมของทักษิณพุ่งพรวดขึ้นมาอย่างรวดเร็ว พวกนิยมเจ้าจึงตกใจในอำนาจตรงนี้มาก และหวั่นว่าจะเสียประโยชน์ จึงต่อต้านทักษิณ

ความขัดแย้งในสงครามของชนชั้นนำที่กล่าวมานี้ ประชาชนได้เข้าร่วมกับสงครามของชนชั้นนำ ก่อให้เกิดเป็นเหลืองเป็นแดง โดยประชาชนที่เข้าร่วมกลุ่มเหลือง แดง มีลักษณะใกล้เคียงกัน คือ เป็นชนชั้นกลาง

ซึ่งฝ่ายเหลืองจะไม่ชอบให้มีการเลือกตั้งเพราะมองว่า นักการเมืองโกง เป็นคนไม่ดี ยอมรับได้กับการรัฐประหาร ด่าคนที่ถูกฆ่า และยอมรับในฐานะที่ต่างกัน

ในขณะที่ฝ่ายแดง อยากให้มีการเลือกตั้งเพราะสามารถเพิ่งผลประโยชน์จากส.ส.ได้ ไม่ยอมรับการรัฐประหาร ด่าคนที่สั่งฆ่าประชาชน และคิดว่าประชาชนมีฐานะเท่ากัน

ส่วนฝ่าย Monarchist ซึ่งไม่ได้ประโยชน์จากการเลือกตั้ง ก็จะโจมตีการเลือกตั้งว่า ไม่มีความชอบธรรม เพราะประชาชนยังโง่อยู่ สส.ซื้อเสียงและเข้าไปโกง เป็นต้น

การโจมตีว่าประชาชนโง่ ยากจน การศึกษาต่ำ จะเห็นได้จากคำพูดของผู้พิพากษาท่านหนึ่งที่กล่าวทำนองว่า "16 ล้านเสียงคูณด้วย 1000 บาท ก็จะเท่ากับ 1.6 หมื่นล้านบาท เอาคืนได้อย่างสบาย" ซึ่งตนก็งงว่าการอยู่ในอำนาจตุลาการแล้วออกมาพูดอย่างนี้ได้อย่างไร ถ้าเป็นญี่ปุ่นถูกปลดไปแล้ว

ด้วยเหตุดังกล่าวจึงก่อให้เกิดความไม่พอใจของทั้งฝ่ายแดงและฝ่ายเหลือง โดยฝ่ายแดง ไม่พอใจการรัฐประหาร 19 ก.ย. ,ไม่พอใจสองมาตรฐาน (injustice) , ที่มาของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ส่วนเสื้อเหลืองเป็นกลุ่มที่ไม่พอใจการเมืองแบบ Majority rule ,เสียเปรียบด้านเศรษฐกิจจากที่ตนเคยได้ประโยชน์(ดังที่อ.นิธิเคยกล่าวไว้ในบทความชิ้นหนึ่ง) และไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงสังคม

การเมืองแบบนี้จบยาก และไม่รู้จะออกไปทางไหน ประเด็นที่น่าสนใจคือทั้งสองฝ่ายรู้หรือไม่ว่ากำลังสู้อยู่กับใครกันแน่ เสื้อเหลือง สู้กับทักษิณ ? โจมตีมา 5 ปีแล้วยังชนะไม่ได้ ? เพราะยังทำลายฐานเงินไม่หมด ? ส่วนเสื้อแดง "รู้ไหม สู้กับใครอยู่"เป็นคำที่ พล อ.อนุพงษ์ เคยพูด โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่า เป็นการต่อสู้ระหว่างรัฐกษัตริย์และรัฐของประชาชน

สุดท้ายอยากบอกว่าประชาธิปไตยจะปฏิเสธการเลือกตั้งไม่ได้ ปฏิเสธประชาชนไม่ได้ ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย

ที่มา ประชาธรรม




 

Create Date : 26 สิงหาคม 2553    
Last Update : 26 สิงหาคม 2553 19:32:34 น.
Counter : 563 Pageviews.  

ส่วนหนึ่งของจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยลักขณา ปันวิชัย

ในภาพของเผด็จการ ก็มีภาพของผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ปรากฏแทรกเข้ามา (การรัฐประหาร 2476 การปราบกบฏบวรเดช 2476 และการสร้างสัญลักษณ์และจารีตที่เกี่ยวกับประชาธิปไตย เช่น อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไฮปาร์ค) ในภาพของนักการเมืองที่ฉวยโอกาสการเข้าร่วมสงครามกับญี่ปุ่นในตอนต้น แต่พลิกผันจะเข้ากับสัมพันธมิตรในบั้นปลาย คำถามก็คือว่า บทบาทเช่นนี้มิใช่หรือที่ผู้นำชาติเล็กชาติน้อยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องทำในฐานะนักชาตินิยม ไม่ว่าจะเป็นซูการ์โนหรือออง ซาน (ที่เข้าร่วมกับญี่ปุ่นในเบื้องต้น แต่กลับต่อต้านในบั้นปลาย) ในภาพของผู้แอนตี้กษัตริย์ ก็มีภาพของผู้ถวายความจงรักภักดีในกรอบของหลักการว่าด้วย constitutional monarchy โดยที่ต้องไม่ลืมว่าจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็เป็น 1 ใน 100 กว่าสมาชิกของ "คณะราษฎร" ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบรัฐธรรมนูญ ที่จำกัดบทบาทและอำนาจของพระมหากษัตริย์


ชีวิตและผลงานของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดการถกเถียงโต้แย้ง (controversy) ได้ง่ายและมาก ดังนั้น แม้ว่าจอมพล ป. พิบูลสงคราม จะดำรงตำแหน่งอันยาวนาน ทิ้งมรดกและอิทธิพล ผลกระทบทางการเมืองไว้มากมายมหาศาล แต่ชีวิตและผลงานของท่านก็ถูก "การเมืองของอดีต" ทำให้เลือนราง จางหาย กลายเป็นบุคคลลึกลับ หรือไม่ก็ไร้ความหมาย ไร้ความสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย เหมือนๆ กับบุคคลอีกหลายๆ คน หรือเหตุการณ์อีกหลายๆ เหตุการณ์"


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, บันทึกการสัมมนา จอมพล ป. พิบูลสงคราม กับ การเมืองไทยสมัยใหม่ กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมุนษยศาสตร์, 2540, หน้าคำนำ


วัน 14 กรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นวันคล้ายวันเกิดของจอมพล ป. พิบูลสงคราม อดีตสมาชิกคณะราษฎร และอดีตนายกรัฐมนตรีของไทยผู้มีสถานะทางประวัติศาสตร์ในแบบที่ก่อให้เกิดการถกเถียงโต้แย้งมากที่สุดอย่างที่ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ได้กล่าวเอาไว้ และเพื่อมิให้ "การเมืองของอดีต" ทำให้ชีวิตและผลงานของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เลือนรางจางหาย


ผู้เขียนขอใช้วาระครบรอบวันคล้ายวันเกิดของจอมพล ป. พิบูลสงคราม รำลึกถึงผลงานบางประการที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทิ้งให้กับประเทศไทย


อย่างที่ทราบกันว่า การปฏิวัติสยาม 2475 นั้น แม้จะถือเป็นประวัติศาสตร์ร่วมสมัยยังมีอายุไม่ครบศตวรรษเสียด้วยซ้ำ เหมือนว่า ประวัติศาสตร์ไทยในช่วง พ.ศ.2475-2500 นั้น แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่กลับอัดแน่นไปด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองที่นับเป็น "วิกฤต" ของชาติอันเพิ่งจะถือกำเนิดขึ้นมาในโลกนี้ไม่นานวัน และยังมีสถานะที่กำกวม และเป็นปัญหาถกเถียงไม่น้อยไปกว่าเรื่องราวของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เองในสายตาของคนไทยในปัจจุบัน


คนทั่วไปที่มิใช่นักเรียนประวัติศาสตร์ มักจะมีภาพของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ว่าเป็นเผด็จการชาตินิยม เหมือนมุสโสลินีบ้าง เหมือนฮิตเลอร์บ้าง


การปฏิวัติวัฒนธรรมในสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม มักจะถูกนำมาล้อเลียนอย่างขบขันว่าเป็นสิ่งไร้สาระ เบาปัญญา เช่น การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเขียน สะกดคำในภาษาไทย การยกเลิกการใช้พยัญชนะบางตัว การสวมหมวก การสวมกระโปรง ถุงน่อง (ซึ่งในปัจจุบันเป็นแฟชั่นทันสมัย รวมทั้งการสนับสนุนให้นุ่งกางเกง ใส่รองเท้า ซึ่งก็เป็นที่ยอมรับเช่นกัน)


ตลอดจนการให้สามีจูบภรรยาก่อนออกจากบ้าน


นักเขียนบางท่าน เช่น มาลัย ชูพินิจ ถึงกับเลิกเขียนหนังสือโดยสิ้นเชิง เพื่อทำการประท้วงการเปลี่ยนแปลงภาษาไทยอันศักดิ์สิทธิ์ในความคิดของเขา


อย่างไรก็ตาม นโยบายทางวัฒนธรรมของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยังต้องการการศึกษาและตีความอีกมาก โดยเฉพาะในแง่มุมของการสร้าง "ชาติ" และอุดมการณ์ใหม่ของชาติแบบใหม่ที่เพิ่งจะถือกำเนิดขึ้น และมันย่อมเกี่ยวพันกับทัศนคติเรื่องความรัก ครอบครัว การแต่งกาย การควบคุมร่างกายของพลเมือง


หรืออีกนัยหนึ่งการจัดระเบียบร่างกายของพลเมืองแบบใหม่ให้สอดคล้องกับโลกทรรศน์ทางการเมืองและระเบียบความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมและภูมิศาสตร์การเมืองแบบใหม่


อย่างไรก็ตาม ยังมีผลงานอันเรียบง่ายในระดับรากฐานประชาธิปไตยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่คนในปัจจุบันอาจจะไม่ทราบหรือหลงลืมไปบ้างแล้ว ผู้เขียนจึงใช้โอกาสนี้รำลึกถึงบางผลงานเกี่ยวกับการศึกษาที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้สร้างเอาไว้ และมักมีคนกล่าวถึงผลงานด้านนี้ไว้ค่อนข้างน้อย


เกี่ยวข้องสถาบันอุดมศึกษา เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ตัดสินใจตั้งมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น 3 แห่งพร้อมกันในปี 2486 (และไม่ลืมว่า มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง อันเป็นมหาวิทยาลัยเปิด และเป็นตลาดวิชาที่เปิดกว้างแก่คนทั่วไปนั้น ตั้งขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง) คือ


1.มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ตั้งขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ มีฐานะเป็นกรมในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ในการจัดการศึกษาและส่งเสริมทางด้านการแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชกรรมศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ กับวิชาพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย และได้เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยมหิดลในปี 2512


2.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รวมกิจการของวิทยาลัยเกษตรกรรมที่บางเขน เข้ากับโรงเรียนวนศาสตร์ของกรมป่าไม้ที่จังหวัดแพร่ ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


3.มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดขึ้นโดยยกฐานะโรงเรียนศิลปากร เพื่อส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ หน้าที่ของมหาวิทยาลัยในระยะแรกตั้ง คือ จัดการศึกษาวิชาประติมากรรม จิตรกรรม ดุริยางคศิลป์ นาฏศิลป์ วิชาโบราณคดี และวิช่างศิลปะอย่างอื่น


4.ตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาในปี 2497 พัฒนาและเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในปี 2517


นอกจากนี้ ในบทบาทที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี 2496 ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะรัฐประศาสนาศาสตร์ขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อจัดการศึกษาค้นคว้าในทางรัฐประศาสนศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน และให้วิชานี้มีมาตรฐานเทียบเท่ากับของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ


ต่อมาในปี 2509 ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ขึ้นเป็นสถาบันชั้นสูง โดยโอนคณะรัฐประศาสนศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปขึ้นอยู่กับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์


นอกจากนั้น ในปี 2497 ยังได้มีบทบาทในการริเริ่มสร้างหอประชุมใหญ่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยวางศิลาฤกษ์ในวาระครบรอบ 20 ปีของการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือวันที่ 27 มิถุนายน 2497 และสร้างแล้วเสร็จในสมัยที่พลเอก ถนอม กิตติขจร เป็นอธิการบดี ในปี 2506 ซึ่งเป็นหอประชุมที่มีขนาดใหญ่และทันสมัยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเวลานั้น


สำหรับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ในปี 2482 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในฐานะนายกรัฐมนตรีได้ออกพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินในส่วนพระมหากษัตริย์ ตำบลปทุมวัน อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ให้เป็นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


มาตรา 3 ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ระบุว่า


"ให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตำบลปทุมวัน จังหวัดพระนคร 3 แปลง คือ แปลงที่ 1 ทิศเหนือจดถนนพระรามที่ 1 ทิศใต้จดถนนพระรามที่ 4 ทิศตะวันออกจดคลองอรชร ทิศตะวันตกจดถนนพญาไท แปลงที่ 2 ทิศเหนือจดถนนพระรามที่ 1 ทิศใต้จดถนนพระที่ 4 ทิศตะวันออกจดถนนพญาไท ทิศตะวันตกจดถนนพระรามที่ 6 แปลงที่ 3 ทิศเหนือจดถนนพระรามที่ 1 ทิศใต้จดถนนพระที่ 4 ทิศตะวันออกจดถนนพระรามที่ 6 ทิศตะวันตกจดคลองสวนหลวง รวมเนื้อที่ประมาณ 1,196 ไร่ 32 ตารางวา ปรากฏแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"


ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 56 หน้า 1365-1366 วันที่ 30 ตุลาคม 2482


ฉะนั้น คงไม่เกินเลยหากจะกล่าวว่าจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีส่วนสำคัญยิ่งที่ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีที่ดินเพิ่มขึ้นอีกเกือบพันสองร้อยไร่ อันกลายมาเป็นทรัพย์สินสำคัญในการบริหารกิจการของมหาวิทยาลัยจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ได้ระบุเหตุผลไว้ในพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันนี้ว่า "เพื่อเป็นสถานศึกษาและค้นคว้าในศาสตร์ต่างๆ และเพื่อจะส่งเสริมวิชาชีพชั้นสูงและทำนุบำรุงวัฒนธรรมแห่งชาติสืบไป"


นอกจากการส่งเสริมการศึกษาในระดับอุดมศึกษาแล้ว ยังปรากฏการขยายตัวของการศึกษาภาคบังคับอย่างจริงจัง ซึ่งได้ริเริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ด้วยการประกาศแผนการศึกษาแห่งชาติ ตามมาด้วยการประกาศใช้พระราชบัญญัติการประถมศึกษาแห่งชาติปี 2475-2478


ต่อมาได้ยกเลิกพระราชบัญญัติประถมศึกษาปี 2464 เพื่อประกาศใช้แผนการศึกษาปี 2479 และมีการปรับปรุงการศึกษาประชาบาล


จนกระทั่งมีการประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติปี 2494 พบว่าปัญหาการเกณฑ์เด็กเข้าโรงเรียนน้อยลงเรื่อยๆ และพบว่าเมื่อถึงปี พ.ศ.2503 มีจำนวนเด็กได้เข้าโรงเรียนแล้วทั่วประเทศติดเป็นร้อยละ 96.70


ทั้งนี้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ยังมีนโยบายส่งเสริมโรงเรียนราษฎร์ ด้วยเห็นว่าโรงเรียนเหล่านี้ได้รับภาระการจัดตั้งโรงเรียนของรัฐบาลไป จึงได้จัดงบประมาณอุดหนุนโรงเรียนราษฎร์มาตั้งแต่ปี 2480


ไม่เพียงแต่การศึกษาภาคบังคับ ในสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยังได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อจัดการเรื่องการศึกษาผู้ใหญ่ ให้ได้เริ่มต้นอย่างจริงจังตั้งแต่ปี พ.ศ.2480 หลังจากปรากฏเป็นนโยบายตั้งแต่ครั้งรัฐบาลของพระยาพหลพลพยุพเสนา และในช่วงปี 2483-2488 รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาผู้ใหญ่อย่างเข้มข้น ด้วยวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้พลเมืองไทยรู้หนังสือ อ่านออกเขียนได้ เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย


ผลจากการส่งเสริมการศึกษาผู้ใหญ่อย่างจริงจังในช่วง 6 ปีนี้ที่มีการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน และการค้นคว้า ทำแบบเรียนเพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้การอ่านเขียนได้อย่างรวดเร็ว ทำให้มีจำนวนผู้รู้หนังสือเพิ่มขึ้นถึง 1.4 ล้านคน


สถานะของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยังคงความคลุมเครือ และมีประเด็นให้ถกเถียงกันได้อีกมากว่าเขาเป็นนักชาตินิยม หรือเผด็จการ เป็นผู้ต่อต้านกษัตริย์ หรืออยากปกป้องระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นนักฉวยโอกาสหรือเป็นผู้นำของประเทศเล็กๆ ที่ไม่มีทางเลือกมากนัก การศึกษาที่ขยายตัวอย่างกว้างขวางเป็นครั้งแรกเป็นไปเพื่อขยายโอกาสทางสังคมให้กับประชาชนพลเมือง หรือเพื่อเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อหวังผลของการสร้างชาติและสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้นำ หรือด้วยเหตุผลของความกดดันจากประเทศมหาอำนาจที่มีบทบาทในภูมิภาคเอเชียในขณะนั้น คือ สหรัฐอเมริกา


ทว่า ผลงานเล็กๆเกี่ยวกับรากฐานการศึกษาไทยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทิ้งไว้ให้กับสังคมไทย ยังเป็นมรดกที่เราจำต้องตระหนัก และไม่อาจทำเป็นลืมไปได้

ที่มา มติชน




 

Create Date : 20 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 20 กรกฎาคม 2553 16:10:01 น.
Counter : 795 Pageviews.  

45ปีมรณะกาลนักปรัชญาและนักประวัติศาสตร์โลกลืม จิตร ภูมิศิกดิ์

จิตร ภูมิศักดิ์ (25 กันยายน พ.ศ. 2473 ต. ประจันตคาม อ. ประจันตคาม จ. ปราจีนบุรี — 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ต. บ้านหนองกุง อ. วาริชภูมิ จ. สกลนคร)


ที่มา วิกิพีเดีย
5 พฤษภาคม 2553

เป็นนักคิดด้านการเมือง นักประวัติศาสตร์ และนักภาษาศาสตร์ นับเป็นนักปราชญ์และนักปฏิวัติทางความคิดและวิชาการคนสำคัญของประเทศไทย

จิตรเป็นนักวิชาการคนแรกๆ ที่กล้าถกเถียงและคัดค้านปราชญ์คนสำคัญ ด้วยวิธีคิดที่มีเหตุผลและลุ่มลึก มีความโดดเด่นจากผลงานการค้นคว้าทางวิชาการที่แปลกใหม่และลึกซึ้ง ขณะเดียวกันจิตรยังมีความคิดต่อต้านระบบเผด็จการและการใช้อำนาจกดขี่ของชนชั้นสูงมาโดยตลอด

จิตรเป็นบุตรของ นายศิริ ภูมิศักดิ์ และนางแสงเงิน ภูมิศักดิ์ มีชื่อเดิมว่า สมจิตร ภูมิศักดิ์ แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็น จิตร เพียงคำเดียว ตามนโยบายตั้งชื่อให้ระบุเพศชายหญิงอย่างชัดเจน ของรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม

การศึกษา

เมื่อปี พ.ศ. 2479 จิตรติดตามบิดา ซึ่งรับราชการเป็นนายตรวจสรรพสามิต เดินทางไปรับราชการยังจังหวัดกาญจนบุรี และเข้ารับการศึกษาชั้นประถม ที่โรงเรียนประจำจังหวัดแห่งนั้น

จิตรย้ายมาอยู่ที่สมุทรปราการ เมื่อปี พ.ศ. 2482 บิดาของจิตรย้ายไปรับราชการในเมืองพระตะบอง ซึ่งสมัยนั้นเป็นเมืองในการปกครองของไทย (ปัจจุบันอยู่ในอาณาเขตของกัมพูชา) จิตรจึงย้ายตามไปด้วย และได้เข้าศึกษาชั้นมัธยมที่นั่น

ถึงปี พ.ศ. 2490 ประเทศไทย ต้องคืนดินแดนเมืองพระตะบองให้กัมพูชา จิตรจึงอพยพตามมารดากลับเมืองไทย ส่วนบิดานั้นไปเริ่มชีวิตครอบครัวใหม่กับหญิงอื่น ระหว่างที่ครอบครัวภูมิศักดิ์ ยังอยู่ที่พระตะบอง นางแสงเงินเดินทางไปค้าขายที่จังหวัดลพบุรี

ขณะที่จิตรและพี่สาว เดินทางมาศึกษาต่อในกรุงเทพมหานคร โดยจิตรเข้าเรียนที่โรงเรียนเบญจมบพิตรหรือโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน และสอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในที่สุด

แนวคิดและการต่อสู้

ชื่อเสียงของ จิตร ภูมิศักด์ น่าจะโด่งดังในสาธารณชนวงกว้างเป็นครั้งแรก จากกรณี โยนบก เมื่อครั้งที่เขาเป็นสาราณียากร ให้กับหนังสือประจำปี ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2496

ในครั้งนั้นเขาได้เปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่ "ซ้ำ ๆ ซาก ๆ" ของหนังสือประจำปี โดยลงบทความสะท้อนปัญหาสังคม ประณามผู้เอารัดเอาเปรียบในสังคม ซึ่งรวมถึงรัฐบาลด้วย รวมทั้งชี้ให้เห็นค่านิยมอันไม่ถูกต้อง ซึ่งผู้คนนับถือกันมานาน โดยบทความเหล่านั้น มีทั้งที่จิตรเขียนเอง ร่วมแก้ไข หรือเพื่อน ๆ คนอื่นเขียน

ผลก็คือ ระหว่างการพิมพ์หนังสือได้ถูกตำรวจสันติบาลอายัด และมีการ "สอบสวน" จิตรที่หอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเหตุการณ์นั้น จิตรถูกกลุ่มนิสิตที่นำโดยนายสีหเดช บุนนาค คณะวิศวกรรมศาสตร์ตั้งศาลเตี้ยจับ "โยนบก" ลงจากเวทีหอประชุม ทำให้จิตรได้รับบาดเจ็บต้องเข้าโรงพยาบาลและพักรักษาตัวอยู่หลายวัน ต่อมาทางมหาวิทยาลัยได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาโทษและมีมติให้จิตร ภูมิศักดิ์ถูกพักการเรียนเป็นเวลา 1 ปี คือในปี พ.ศ. 2497

ระหว่างถูกพักการเรียน จิตรได้ไปสอนวิชาภาษาไทยที่โรงเรียนอินทร์ศึกษา แต่สอนได้ไม่นาน ก็ถูกไล่ออกไป เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีหัวก้าวหน้ามากเกินไป จิตรจึงไปทำงานกับหนังสือพิมพ์ไทยใหม่ ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เอง ที่จิตรได้สร้างสรรค์ผลงานการวิจารณ์ที่มีคุณค่าต่อวงวิชาการไทยหลายเรื่อง เช่น การวิจารณ์วรรณศิลป์ วิจารณ์หนังสือ วิจารณ์ภาพยนตร์ โดยใช้นามปากกา "บุ๊คแมน" และ "มูฟวี่แมน"

เดือนตุลาคม พ.ศ. 2508 จิตรได้เดินทางสู่ชนบทภาคอีสาน เพื่อเข้าร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ในนาม สหายปรีชา และถูกกระสุนปืน PSG-1ของเจ้าหน้าที่ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ที่ บ้านหนองกุง ตำบลวาริชภูมิ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร

ผลงาน

จิตรมีความสามารถในด้านภาษาศาสตร์และนิรุกติศาสตร์อย่างมาก และยังมีความสามารถระดับสูงในด้านอื่น ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ ถือว่าเป็นอัจฉริยะบุคคลของไทยคนหนึ่ง

ในด้านภาษาศาสตร์นั้น จิตรมีความเชี่ยวชาญในภาษาฝรั่งเศส ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร โดยเฉพาะภาษาเขมรนั้น จิตรมีความเชี่ยวชาญทั้งภาษาเขมรปัจจุบันและภาษาเขมรโบราณด้วย นอกจากนี้ จิตรได้เขียนพจนานุกรมภาษาละหุ (มูเซอ) โดยเรียนรู้กับชาวมูเซอขณะอยู่ในคุกลาดยาว ในตอนแรก ชาวมูเซอไม่สามารถพูดภาษาไทยได้, จิตรเองก็ไม่สามารถพูดภาษามูเซอได้เช่นกัน แต่ด้วยความสามารถ เขาสามารถเรียนรู้ระบบของภาษา และนำมาใช้ได้อย่างน่าอัศจรรย์.

งานเขียนชิ้นเด่น

หนังสือ "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และ ขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ", 2519*
หนังสือ "ข้อเท็จจริงว่าด้วยชนชาติขอม" (ต่อมาพิมพ์รวมเล่มกับ "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และ ขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ" เป็น "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และ ขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ ฉบับสมบูรณ์")
หนังสือ "โฉมหน้าศักดินาไทย"*
หนังสือ "ภาษาและนิรุกติศาสตร์"
หนังสือ "ศัพท์สันนิษฐานและอักษรวินิจฉัย"
หนังสือ "โองการแช่งน้ำ และ ข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา", 2524
หนังสือ "สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยศรีอยุธยา", 2526
หนังสือ "ตำนานแห่งนครวัด"
เพลง "ภูพานปฏิวัติ"
เพลง "แสงดาวแห่งศรัทธา"
บทกวี "เธอคือหญิงรับจ้างแท้ใช่แม่คน"
บทกวี "อะไรแน่ ศาสนา ข้าสงสัย"
บทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์*
ผลงานที่มี * ข้างท้าย หมายถึงถูกคัดเลือกให้อยู่ใน หนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน

นามปากกา
นามปากกาของจิตรมีเป็นจำนวนมาก เช่น นาคราช1, ศูลภูวดล1, ศรีนาคร, ทีปกร, สมสมัย ศรีศูทรพรรณ1, ศิลป์ พิทักษ์ชน, สมชาย ปรีชาเจริญ, สุธรรม บุญรุ่ง, ขวัญนรา, สิทธิ ศรีสยาม1, กวีการเมือง, กวี ศรีสยาม, บุคแมน, มูฟวี่แมน (มูวี่แมน) , ศิริศิลป์ อุดมทรรศน์1, จักร ภูมิสิทธิ์2

หมายเหตุ: 1 หมายถึง ใช้เพียงครั้งเดียว, 2 เป็นคำผวนของชื่อ จิตร ภูมิศักดิ์




 

Create Date : 05 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 5 พฤษภาคม 2553 14:48:23 น.
Counter : 643 Pageviews.  

ไม่มีสังคมใดที่ไม่มีชนชั้น! – แม้แต่สังคมไทย

'เกษม เพ็ญภินันท์' จากอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดวิวาทะ'เขียน ธีระวิทย์'ในบทความ"สงครามชนชั้นในไทย:ของแท้หรือของเทียม"

ความพยายามเข้าใจต่อประเด็นการเคลื่อนไหวของแกนนำนปช. หรือการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงนับตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมา ด้วยการเรียกร้องให้รัฐบาล ‘ยุบสภา’ ภายใน 15 วัน และการใช้ถ้อยคำแบ่งแยกกลุ่มคนในสังคมระหว่าง ‘ไพร่’ กับ ‘อำมาตย์’ และแนวทางต่อสู้เรียกร้องทางการเมืองในครั้งนี้คือ ‘สงครามทางชนชั้น’ ถ้อยคำเหล่านี้สร้างความแสลงใจให้แก่บรรดาชนชั้นนำ รัฐบาล ข้าราชการ นักวิชาการ ปัญญาชนและปริญญาชนจำนวนหนึ่งของสังคมไทย
แม้ว่าจะมีข้อกล่าวหาและความไม่พอใจต่อบรรดาแกนนำ นปช. ที่หยิบยกการแบ่งแยกชนชั้นทางสังคมระหว่าง ‘ไพร่’ กับ ‘อำมาตย์’ มาเป็นยุทธศาสตร์ในการเคลื่อนทางการเมืองครั้งนี้ แต่เมื่อพิจารณาข้อวิจารณ์ในเชิงความคิดและทฤษฎีต่อเรื่องการแบ่งแยกชนชั้นโดยบรรดานักวิชาการหรือผู้คนที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางในการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงกลับไม่ปรากฏอย่างเด่นเจน จนกระทั่งบทความ “สงครามชนชั้นในไทย: ของแท้หรือของเทียม” ของอาจารย์เขียน ธีระวิทย์ ซึ่งตีพิมพ์เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2553 ได้เสนอข้อคิดเห็นและข้อโต้แย้งเกี่ยวกับ ‘ชนชั้น’ ‘ไพร่’ และ ‘อำมาตย์’ ทั้งในระดับทฤษฎีและความเป็นจริงที่เกิดขึ้น รวมทั้งยังตีกรอบความเข้าใจต่อการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงภายใต้อิทธิพลของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร

ผมไม่แน่ใจว่า ทรรศนะทางทฤษฎีและมุมมองทางการเมืองของอาจารย์เขียนที่นำเสนอนั้น จะช่วยให้คนอย่างผมเข้าใจถึงสาเหตุที่บรรดากลุ่มคนเสื้อแดงออกมาชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองได้หรือไม่ รวมทั้งยังทำให้คนอย่างผม (อีกเช่นกัน) เกิดความคลางแคลงใจต่อข้อสรุปที่ว่า บรรดา กลุ่มคนเสื้อแดงคือ สิ่งที่อาจารย์เขียนเรียกว่า “ไพร่พันธุ์ทักษิณ[ที่]ใช้สิทธิ์ชุมนุมทางการเมืองเกินขอบเขตของกฎหมายและรัฐธรรมนูญ” นอกจากนี้ ผมก็ยังสงสัยต่อไปอีกด้วยว่า เมื่อบรรดากลุ่มคนเสื้อแดงเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภา เหตุไฉนจึงกลายเป็นความรุนแรงทางการเมืองและพัฒนาต่อไปเป็น ‘ผู้ก่อการร้ายเพียงข้ามคืนวันที่ 10 เมษายน’ และ ‘ขบวนการแดงล้มเจ้า’ ในปัจจุบัน

วิวาทะเรื่องชนชั้น – จากทฤษฎีสู่สังคมไทย

อาจารย์เขียนเริ่มต้นบทความ “สงครามชนชั้นในไทย: ของแท้หรือของเทียม” ด้วยข้อคิดเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับชนชั้น ด้วยการอ้างอิงถึงเหมาเจ๋อตุง คาร์ล มาร์กซ์ และเองเกลส์ (Engels) เพื่อบ่งบอกว่าบรรดาแกนนำของกลุ่มคนเสื้อแดงและผู้ที่ใกล้ชิดกับอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรเป็นพวกซ้ายเก่าและอดีตผู้นำนักศึกษาในยุค 6 ตุลา 19 ซึ่งรับเอาแนวคิด ‘สงครามชนชั้น’ ของเหมาเจ๋อตุงมาเป็นแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์และยุทธวิธีในการเคลื่อนไหวเรียกร้องทางการเมืองในครั้งนี้:

“คนไทยที่ใกล้ชิดกับทักษิณ ชินวัตร แกนนำม็อบเสื้อแดงหลายคนเป็นผู้นิยมลัทธิเหมา บางคนเคยใช้คำสอนของเหมาเป็นคัมภีร์ เพื่อปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลในช่วง 10 ปี หลัง 6 ตุลาฯ แต่ไม่สำเร็จ”

ผมเชื่ออาจารย์เขียนว่า บรรดาอดีตผู้นำนักศึกษายุค 6 ตุลาส่วนใหญ่อ่านสรรนิพนธ์เหมา แต่นั่นมันน่าจะเป็น 30 กว่าปีที่แล้วนะครับที่พวกเขาเคยอ่าน ซึ่งไม่ได้หมายความว่า พวกเขาจะยึดถือแนวคิดของเหมาเป็นแนวทางในการเคลื่อนไหวทางการเมืองครั้งนี้ และไม่มีอะไรที่สามารถพิสูจน์ได้เลยว่า ‘พวกเขายังเป็นเหมาอิสต์อยู่’ ผมนับถืออาจารย์เขียนเป็นอย่างสูงที่หยิบยกสารนิพนธ์เหมามากล่าวถึงและยังอ้างอิงตัวบท เพื่อยืนยันในทรรศนะและความเห็นของตนเองว่าน่าจะเป็นเช่นนั้น:

“ในสงครามชนชั้น การปฏิวัติและสงครามปฏิวัติเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้น หากปราศจากสิ่งเหล่านี้แล้ว ก็จะบรรลุการก้าวกระโดดในการพัฒนาของสังคมไม่ได้ ก็จะโค่นชนชั้นปกครองปฏิกิริยาให้ประชาชนได้รับอำนาจรัฐไม่ได้ ชาวพรรคคอมมิวนิต์จะต้องเปิดโปงการโฆษณาชวนเชื่อของพวกปฏกิริยาที่ว่า การปฏิวัติสังคมเป็นสิ่งไม่จำเป็น และจะเป็นไปไม่ได้ . . .”

ข้อความที่อาจารย์ยกมา เหมารวมเกินไปที่ว่า บรรดาอดีตผู้นำนักศึกษายุค 6 ตุลาที่ใกล้ชิดกับทักษิณ ชินวัตร แกนนำ นปช.และบรรดากลุ่มคนเสื้อแดงต้องการปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาล เพราะพวกเขามาชุมนุมทางการเมืองเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรียุบสภาภายใน 15 วัน เนื่องจากแกนนำ นปช.ได้กล่าวหานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะว่าก้าวขึ้นสู่อำนาจในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างไม่ชอบธรรม เพราะการสนับสนุนจากทางกองทัพและอำนาจเร้นรัฐ แม้ว่าจะมีการรับรองในกระบวนการทางรัฐสภาก็ตาม

ถ้าผมเข้าใจข้อเรียกร้องของบรรดากลุ่มคนเสื้อแดงไม่ผิด ข้อเรียกร้องของ นปช. มีเพียงเท่านั้น ทุกวันนี้ ไม่มีใครยอมรับการปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลว่าเป็นทางออกทางการเมืองที่ดีอีกต่อไปแล้ว การแก้ไขปัญหาทางการเมืองต้องดำเนินการแก้ไขภายในกระบวนการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น ฉะนั้น ทางเลือกอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือจากนั้นย่อมไม่เป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้การยอมรับหรือคบหาสมาคมด้วย ยิ่งในโลกหลังสงครามเย็น ในโลกแห่งการสิ้นสุดลงของอุดมการณ์ (the end of ideology) ด้วยแล้ว ทั่วโลกยอมรับว่ามีเพียงอุดมการณ์ประชาธิปไตยเป็นเพียงอุดมการณ์ทางการเมืองอุดมการณ์เดียวที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดชะตาชีวิตของสังคมที่พวกเขาอาศัยอยู่ได้ ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของแกนนำ นปช. นั้น ที่สำคัญก็คือ การหยิบยกเรื่องปัญหาทางชนชั้น ระหว่าง ‘ไพร่’ และ ‘อำมาตย์’ มาเป็นประเด็นรูปธรรม เพื่อชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้รับการสนับสนุนมาจากข้าราชการชั้นสูงและชนชั้นนำในสังคมไทย พวกเขาเรียกกลุ่มคนพวกนี้ว่า ‘อำมาตย์’ และเรียกตนเองว่า ‘ไพร่’ ทั้งนี้ก็เพราะว่า อำมาตย์เป็นผู้ที่กำหนดว่า ใครคือรัฐบาล อีกทั้งลักษณะเชิงโครงสร้าง ก็ยังทำให้ชนชั้นนำสามารถกำหนดทิศทางของสังคมและการเมืองดังที่ต้องการได้

ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นไพร่ในทางการเมือง ไม่มีสิทธิในการกำหนดชะตาชีวิตกับทิศทางสังคมที่พวกเขาอาศัยอยู่ และยังถูกทำให้เป็นผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ และไร้ซึ่งความมั่นคงในการดำรงชีพ แถมรุมเร้าด้วยปัญหาความยากจน หนี้สินและความแร้นแค้นในชีวิตต่างๆนานา การหยิบยกประเด็นเรื่องชนชั้นในนาม ‘ไพร่’ และ ‘อำมาตย์’ ของแกนนำ นปช.จึงเป็นถ้อยคำที่สามารถสื่อกับผู้คนในสังคมและบรรดากลุ่มคนเสื้อแดงอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนที่สุด

ที่ชัดเจนก็เพราะว่า นี่คือความเป็นจริงที่บรรดาผู้คนที่มาร่วมชุมนุมประสบอยู่ในชีวิตจริง

การแยกแยะทางชนชั้นระหว่าง ‘ไพร่’ และ ‘อำมาตย์’ ได้ทำให้เกิดความหวั่นวิตกต่อกลุ่มชนชั้นนำในสังคมไทย จนทำให้เชื่อต่อไปว่า การชุมนุมทางการเมืองของบรรดากลุ่มคนเสื้อแดงจะนำไปสู่สงครามระหว่างชนชั้น

ผมเข้าใจว่าอาจารย์เขียนเองก็คิดเช่นนั้น ส่วนเหตุผลลึกๆ ของอาจารย์ผมไม่อาจทราบได้ แต่ถ้าพิจารณาจากข้อเขียนของอาจารย์ ก็คงไม่พ้นจากกรอบคิดเรื่องการปฏิวัติตามลัทธิเหมาอิสต์ มาร์กซิสต์ เลนนิสต์ หรือคอมมิวนิสต์ที่อาจารย์เชื่อว่าบรรดาอดีตผู้นำนักศึกษา 6 ตุลา 19 ซึ่งเป็นสมองให้บรรดาแกนนำ นปช.ยังคงใช้เป็นยุทธวิธีในการเคลื่อนไหวทางการเมืองในครั้งนี้

เท่าที่ผมติดตามการชุมนุมทางการเมืองในครั้งนี้มา ผมคิดว่า พวกเขาน่าจะหลุดและก้าวพ้นแนวคิดพวกนั้นไปนานแล้ว พวกเขาเรียกร้องประชาธิปไตยครับ ขอย้ำนะครับว่าพวกเขาเรียกร้องประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน

ยิ่งอ่านข้อเขียนของอาจารย์เขียนยิ่งทำให้ผมไม่แน่ใจว่า อะไรคือสงครามชนชั้น และ ชนชั้นในไทยมีจริงหรือ? บอกตรงๆ อย่างไม่อ้อมค้อมนะครับว่า ผมอาจจะไม่เข้าใจในสิ่งที่อาจารย์กล่าวถึง ‘ชนชั้น’ และ ‘การปฏิวัติทางชนชั้นในยุคสมัยที่เขาไม่เอาการปฏิวัติแล้ว’

ฉะนั้น เพื่อความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ทั้งตัวผมเองและรวมทั้งอาจารย์เขียนด้วย อันดับแรก ผมต้องกลับมาทำเข้าใจต่อสาระ ความหมาย และความรู้เกี่ยวกับการจำแนกประเภทกลุ่มคนด้วย ‘ชนชั้น’ เพื่อให้แน่ใจว่า ผมเข้าใจไม่ผิด

ผมเองก็ต้องแปลกใจไม่น้อยว่า บุคคลแรกๆ ที่กล่าวถึงและแบ่งประเภทกลุ่มคนต่างๆ ด้วยรูปแบบทางเศรษฐกิจ กลับกลายเป็นศาสตราจารย์ด้านปรัชญาทางศีลธรรมและเป็นผู้เขียนงานชิ้นสำคัญทางเศรษฐศาสตร์ (ที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันเลิกอ่านแล้ว!) คือ An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nations (หรือรู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อสั้นๆ ว่า The Wealth of Nations) นามว่า อดัม สมิธ (Adam Smith)

แม้ว่าในหนังสือเล่มนี้ สมิธจะไม่ได้กล่าวถึงชนชั้นทางสังคมโดยตรง แต่ก็แจกแจงเรื่องชนชั้นไว้กับผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจของการแบ่งงานกันทำในสังคมพาณิชยกรรม โดยแบ่งออกเป็น 3 ชนชั้น คือ เจ้าที่ดิน, นายทุน, และกรรมกร การจำแนกประเภทของกลุ่มคนของสมิธในที่นี้ เป็นผลมาจากกระบวนทางประวัติศาสตร์ที่ผลประโยชน์ของสังคมก่อตัวขึ้นและได้รับการครอบครองจากกลุ่มคนต่างๆ ตามกำลังความสามารถ โอกาส เงื่อนไขที่ก่อให้เกิดความได้เปรียบในกลไกทางเศรษฐกิจ และการสะสมทุนกับการครอบครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่างๆ

ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เข้าใจร่วมกันว่า การแบ่งแยกกลุ่มคนเกิดขึ้นและพัฒนาความเป็นชนชั้นต่างๆ ด้วยการมีสำนึกร่วมในเชิงเศรษฐกิจที่แต่ละคนแต่ละชนชั้นอิงอยู่กับชนชั้นไหนในสังคม

ต่อมาความคิดนี้ได้มีอิทธิพลต่อมาร์กซ์ในการวิพากษ์ระบบทุนนิยม

แน่นอนว่า ‘ชนชั้น’ เป็นแกนกลางสำคัญอันหนึ่งในทฤษฎีสังคมของมาร์กซ์ ชนชั้นถือกำเนิดขึ้นเพื่อรองรับต่อการปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง ประหนึ่งว่าเป็นผลประโยชน์ทั่วไปในสังคม ส่วนความขัดแย้งเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์นั้นๆ คือ การขับเคลื่อนกงล้อประวัติศาสตร์ ในหนังสือ Communist Manifesto มาร์กซ์และเองเกลส์กล่าวถึงปัญหาระหว่างชนชั้นไว้ในข้อความแรกๆ ของหนังสือเล่มนี้ว่า “ประวัติศาสตร์ของสังคมที่เป็นอยู่คือประวัติศาสตร์ของความขัดแย้งทางชนชั้น” ด้วยเหตุนี้ ทฤษฎีชนชั้นของมาร์กซ์นอกจากจะเป็นแนวทางการวิเคราะห์ความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในระบบทุนนิยม ความขัดแย้งทางชนชั้นยังเป็นสภาวการณ์ที่เป็นจริงที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อชนชั้นผู้ครอบครองทุนคือผู้กดขี่ ในขณะที่ชนชั้นผู้ใช้แรงงานเป็นผู้ถูกกดขี่

นอกจากนี้ ทฤษฎีชนชั้นของมาร์กซ์ยังนำเสนอแนวคิด ‘จิตสำนึกทางชนชั้น’ เพื่ออธิบายความตระหนักรู้ถึงตนเองในฐานะที่เป็นสมาชิกของชนชั้น โดยที่ชนชั้นจะแสดงจุดยืนของตนเองออกมาในฐานะที่เป็นชนชั้นหนึ่งด้วยการมีผลประโยชน์และมีเป้าหมายร่วมกัน มากกว่าการรวมกลุ่มของปัจเจกชนเพื่อต่อรองผลประโยชน์ของตนเองเท่านั้น มาร์กซ์กล่าวว่า “ชนชั้นคือผู้กระทำที่แท้จริง พวกเขาเป็นปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ที่จะเกิดขึ้น เพื่อปลดปล่อยความแร้นแค้นที่เกิดขึ้นจากการกดขี่ขูดรีดแรงงาน”

นี่คือคำอธิบายเชิงทฤษฎีของแนวคิด ‘ชนชั้น’ อย่างคร่าวๆ ที่ผมกลับไปทบทวนดู และช่วยให้เข้าใจต่อไปว่า แนวคิดเรื่อง ‘ชนชั้น’ ทำให้เห็นถึงปัญหาเรื่องความไม่เสมอภาคและความไม่เป็นธรรมในสังคมที่ความเหลื่อมล้ำต่ำสูงทางเศรษฐกิจส่งผลให้เกิดการจำแนกแยกกลุ่มคนต่างๆ ออกจากกัน และยังทำให้เห็นภาพความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อผลประโยชน์ ความแร้นแค้นทางเศรษฐกิจกลายเป็นปัญหาหลักของสังคม รวมทั้งปัญหาการเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจและทรัพยากรทางสังคมที่ผู้ที่ด้อยโอกาสย่อมเสียเปรียบอยู่ตลอดเวลา

อาจารย์เขียนครับ ที่อาจารย์เชื่อว่า สังคมไทยไม่มีชนชั้น และยืนยันให้เห็นจากข้อเท็จจริงของความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ลูกจ้างกับนายจ้าง เป็นต้น ว่าเป็นปัญหาส่วนบุคคล หรือ “เรื่องเฉพาะรายมากกว่าในเชิงชนชั้น” อันที่จริงปัญหาความขัดแย้งระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง หรือระหว่างกรรมกรกับผู้ประกอบการ ไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะราย แต่มันเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างผู้ได้เปรียบและผู้เสียเปรียบ ที่ฝ่ายหลังลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิและผลประโยชน์ของตนเอง ไม่ว่าจะเป็น ค่าจ้างที่เป็นธรรม สวัสดิการที่พึงได้รับ เป็นต้น

อาจารย์เขียนยืนยันอย่างมั่นใจว่า “โดยพื้นฐานของวัฒนธรรมไทย คนไทยนิยมที่จะอยู่ร่วมกันแบบระบบอุปถัมป์มากกว่า วัฒนธรรมอุปถัมป์เป็นศัตรูสำคัญของการเกิดและพัฒนาของสังคมชนชั้น”

ด้วยความเคารพอาจารย์นะครับ อาจารย์ไม่เคยสงสัยเลยสักนิดหรือว่า ระบบอุปถัมภ์ก็คือระบบชนชั้นทางสังคมรูปแบบหนึ่ง เพียงแต่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดหลัก แต่เป็นสายสัมพันธ์ทางสังคมวัฒนธรรมที่ต่างฝ่ายต่างเกื้อกูลต่อกันในรูปผลประโยชน์ที่ต่างฝายต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน ลักษณะทางชนชั้นเช่นนี้ทำให้ไม่มีความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างกันปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน ทุกปัญหาย่อมไม่มีปัญหา ทุกอย่างพูดคุยกันได้ ภายใต้ร่มเงาของเครือข่ายความสัมพันธ์ทางอำนาจหรือผลประโยชน์ และความเกรงใจต่อนายของอีกฝ่ายหนึ่ง

ในอีกด้านหนึ่ง ระบบอุปถัมป์เป็นมรดกตกทอดมาจากระบบศักดินา โครงข่ายความสัมพันธ์ระหว่างไพร่กับนายล้วนกำหนดสถานภาพของแต่ละบุคคลในสังคมและยังเป็นปัจจัยหนึ่งในที่มาของวัฒนธรรมอำนาจนิยมในสังคมไทย

อาจารย์เขียนครับ ยอมรับความจริงเถอะครับว่า ไม่มีสังคมใดที่ไม่มีชนชั้น แม้แต่สังคมไทยก็ไม่มีข้อยกเว้น! สังคมไทยไม่ได้เป็นอะไรที่มีลักษณะเฉพาะและแตกต่างไปจากสังคมอื่นๆ จนไม่สามารถสรรหาแนวคิดใดๆ มาอธิบายไม่ได้

ก้าวให้พ้นทักษิณ – แล้วจะเห็นประเด็นปัญหาอีกมากมาย

ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา สังคมไทยได้สร้างผีตนหนึ่งขึ้นมาหลอกหลอนตัวเอง ผีตนนั้นก็คือ ผีทักษิณ ผีตนนี้ได้หลอกหลอนปรปักษ์ทางการเมืองของเขา ผู้อำนาจทางการเมืองในปัจจุบัน นายทุนเก่า คนชั้นกลางในเมือง มนุษย์เงินเดือน ข้าราชการ สื่อมวลชนและนักวิชาการที่ครั้งหนึ่งเคยวิพากษ์วิจารณ์และเชื่อว่าตนเองรู้ทันทักษิณ

ผีตนนี้ยังคงเวียนว่ายอยู่รอบๆ การเมืองไทย แม้ว่าตัวจริงเสียงจริงของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรจะไม่ได้อยู่ในเมืองไทย รวมทั้งยังไม่มีที่พำนักพักพิงอย่างถาวรในต่างประเทศอีกด้วย กระนั้นก็ตาม ความเป็นผีของผีตนนี้กลับเผยตัวตนผ่านแกนนำ นปช. และบรรดากลุ่มคนเสื้อแดง

ความคิดความเชื่อเช่นนี้ ทำให้ผู้คนจำนวนมาก รวมทั้งอาจารย์เขียนด้วยที่เชื่อว่า แกนนำ นปช. ทั้งหมดล้วนเป็นตัวแทนของทักษิณในการเคลื่อนไหวทางการเมืองบนท้องถนน ในขณะที่บรรดา สส.ของพรรคเพื่อไทยคือผู้เคลื่อนไหวในเวทีรัฐสภา ฉะนั้น การชุมนุมทางการเมืองและข้อเรียกร้องต่างๆ ของบรรดากลุ่มคนเสื้อแดงหรือพรรคเพื่อไทยจึงเป็นเพียงตัวแทนของทักษิณเท่านั้น

ผมไม่เคยปฏิเสธว่า บรรดาแกนนำ นปช. และพรรคเพื่อไทยนั้นมีสายสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร แต่ผมไม่คิดว่า สายสัมพันธ์และการเชื่อมโยงดังกล่าวจะเป็นเหตุผลที่บรรดากลุ่มคนเสื้อแดงจำนวนมากทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดมาร่วมชุมนุม ณ บริเวณผ่านฟ้าและแยกราชประสงค์

ถ้าผมคิดว่า การเคลื่อนไหวของบรรดากลุ่มคนเสื้อแดงผูกโยงกับทักษิณ ชินวัตรอย่างแยกไม่ออก ผมจะมองความเป็นจริงของการชุมนุมในครั้งนี้ไม่ต่างไปจากอาจารย์เขียนสักเท่าไหร่ และเชื่อตามอาจารย์ด้วยว่าพวกเขาคือ ‘ไพร่แดง’ หรือ ‘ไพร่พันธุ์ทักษิณ’ ตามที่อาจารย์เรียกพวกเขา แต่เมื่อผมมองข้ามหรือข้ามให้พ้นทักษิณ ผมได้แลเห็นอะไรมากมาย ที่อยู่ในสังคมไทยและผู้คนที่มีชีวิตอยู่ในเมืองล้วนมองข้ามไปโดยสิ้นเชิง ประการแรก ก็คือ ปัญหาพื้นฐานของสังคมไทย นั่นคือ ความไม่เป็นธรรมในสังคม ที่มีต้นเหตุมาจากเกิดจากความไม่สมดุลย์ในการจัดสรรทรัพยากรทางสังคม นโยบายของรัฐที่มุ่งพัฒนาเมืองและเอาเปรียบชนบท ข้าราชการที่เป็นนายของประชาชน และระบบสองมาตรฐานในกระบวนการทางตุลาการภิวัตน์

บรรดากลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงคงไม่ได้พูดจาภาษาวิชาการได้ แต่เนื้อหาที่สื่อออกมาล้วนอยู่ภายใต้กรอบความคิดเหล่านี้ทั้งสิ้น

ประการที่สอง การละเมิดสิทธิทางการเมืองของบรรดาคนเสื้อแดง การยุบพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชนเป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้บรรดากลุ่มคนเสื้อแดงรับไม่ได้ต่อความเป็นสองมาตรฐานของกระบวนการทางตุลาการมากที่สุด

นักวิชาการ ปัญญาชนและสื่อส่วนใหญ่ละเลยต่อเรื่องสิทธิทางการเมืองที่แสดงออกผ่านการสนับสนุนพรรคการเมือง โดยคิดเพียงว่า พรรคการเมืองเหล่านี้เป็นร่างทรงทางการเมืองของพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร แต่ความเป็นจริงทางการเมืองมิได้เป็นเช่นนั้น

พรรคการเมืองคือสถาบันทางการเมือง การยุบพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชนจึงไม่ใช่ปัญหาระหว่างทักษิณกับการเมืองไทยเพียงอย่างเดียว หากยังร้อยรัดปัญหาและการละเมิดสิทธิทางการเมืองของบรรดากลุ่มคนเสื้อแดง เพราะว่ากระบวนการเลือกตั้งและการสนับสนุนพรรคการเมืองของทุกคนไม่ได้เป็นเพียงแค่กิจกรรมทางการเมือง หากยังเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกของสิทธิทางการเมือง

ประการที่สาม ทัศนคติและความเข้าใจในสิทธิทางการเมืองของประชาชน ชาวบ้านหรือรากหญ้าเปลี่ยนแปลงไปมาก ในช่วงเวลาที่ทักษิณดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พวกเขาแลเห็นดอกผลทางนโยบายสาธารณะที่ตอบสนองการดำเนินชีวิตขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค กองทุนหมู่บ้าน และอื่นๆ อีกมากมาย ในรูปแบบของนโยบายประชานิยม

นักวิชาการ ปัญญาชน คนชั้นกลางและสื่อบางคนเรียกประชาธิปไตยเช่นนี้ว่า ‘ประชาธิปไตยที่กินได้’ และยังดูแคลนชาวบ้านว่าเห็นแก่อามิสสินจ้างเพียงเล็กน้อยจากรัฐบาลทักษิณในเวลานั้น แต่จะมีสักกี่คนที่จะคิดต่อไปว่า นี่คือครั้งแรกที่พวกเขาได้รับดอกผลทางนโยบายที่ควรได้รับจากระบบการเมือง นี่คือครั้งแรกที่พวกเขาได้จัดการทรัพยากรทางสังคม งบประมาณที่กระจายจ่ายแจกสู่ท้องถิ่นเพื่อสนองตอบต่อชุมชนที่พวกเขาอยู่อาศัยด้วยตนเอง

ดังนั้น การเข้าร่วมและเรียกร้องทางการเมืองในนามของคนเสื้อแดงจึงถือว่าเป็นการทวงสิทธิที่พึงได้รับในฐานะพลเมืองของรัฐและประชาชนของประเทศนี้รวมอยู่ด้วย

ประการที่สี่ บรรดากลุ่มคนเสื้อแดงนั้นมีความหลากหลายมาก นับตั้งแต่กลุ่มคนเสื้อแดงที่รักและสนับสนุนทักษิณ กลุ่มคนเสื้อแดงที่เห็นด้วยกับแนวทางในการบริหารประเทศของทักษิณ กลุ่มคนเสื้อแดงที่ต้องการออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมในสังคม กลุ่มคนเสื้อแดงที่มาจากการเสียโอกาสทางเศรษฐกิจหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 กลุ่มคนเสื้อแดงที่เคยเป็นแนวร่วมของกลุ่มพันธมิตรฯ มาก่อนแต่เปลี่ยนความคิดมาสนับสนุน นปช. หรือแม้กระทั่งกลุ่มคนเสื้อแดงที่แกนนำในท้องถิ่นต่างๆ จัดตั้งมา เป็นต้น ดังนั้น จึงไม่มีใครสรุปแบบเหมารวมถึงความเป็นเอกภาพของคนเสื้อแดงได้

นอกจากนี้ บรรดากลุ่มคนเสื้อแดงกลุ่มต่างๆ ล้วนมาด้วยเป้าประสงค์ที่แตกต่างกัน บางคนมาเพื่อเรียกร้องปัญหาปากท้องของพวกเขา บางคนมาเพื่อหวังผลในทางการเมืองในอนาคตเพราะตนเองเป็นแกนนำจากท้องถิ่นต่างๆ บางคนมาเพราะไม่พอใจในรัฐบาลชุดปัจจุบัน หรือแม้กระทั่งบางคนมาก็เพราะรักทักษิณอย่างไม่เปลี่ยนแปลง

ไม่ว่าเหตุผลและการเข้าร่วมของบรรดากลุ่มคนเสื้อแดงจะเป็นเช่นใดก็ตาม ทุกคนควรเคารพในความคิดและจุดยืนทางการเมืองของพวกเขา ไม่มีใครสามารถตัดสินสิ่งที่พวกเขาคิด สิ่งที่พวกเขาเชื่อนั้น ถูกหรือผิด ดีหรือด้อยกว่าความคิดเห็นของคนอื่น

ในสังคมประชาธิปไตยทั่วโลก ความแตกต่างทางทรรศนะและจุดยืนทางการเมืองเป็นเรื่องธรรมดา เพียงทุกฝ่ายต้องยอมรับและเคารพต่อความคิดความเห็นที่ไม่เหมือนหรือแตกต่างของอีกฝ่ายหนึ่งด้วย

เป็นทั้งความบังเอิญและความโชคร้ายที่ปัญหาการยึดติดกับความคิดความเชื่อของตนเองโดยไม่เคารพความคิดความเห็นของคนอื่นๆนั้น เกิดขึ้นในสังคมไทย ผ่านการบ่มเพาะลักษณะทางวัฒนธรรมแบบอำนาจนิยม และครอบงำความเข้าใจต่อโลกด้วยความเชื่อในความเป็นเอกภาพ จนนำไปสู่การปิดกั้นความแตกต่างหลากหลายทางความคิดความเห็น และยังทำให้กลายเป็นอื่นหรือสิ่งที่แปลกแยกทางสังคมอีกด้วย

ประการสุดท้าย เหตุการณ์ 10 เมษายน ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของการชุมนุมทางการเมืองของบรรดากลุ่มคนเสื้อแดง เหตุการณ์นี้ได้ทำให้การเคลื่อนไหวของบรรดากลุ่มคนเสื้อแดงพัฒนาข้อเรียกร้องจากการยุบสภาไปสู่ความชอบธรรมของรัฐบาลและอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในฐานะผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์

ยิ่งไม่มีคำขอโทษและความรับผิดชอบออกจากปากของอภิสิทธิ์ ยิ่งทำให้บรรดากลุ่มคนเสื้อแดงชิงชังรัฐบาลมากขึ้น การบาดเจ็บ ความตาย ความโกรธแค้น ความสูญเสียของผู้ร่วมชุมนุมได้ทำให้พวกเขายื่นข้อเรียกร้องทางการเมืองที่เข้มข้นขึ้น

ในขณะที่รัฐบาลก็ใช่ย่อย รัฐบาลได้กล่าวหาผู้ชุมนุมและกลุ่มคนชุดดำที่มาช่วยบรรดากลุ่มคนเสื้อแดงที่ปะทะกับกำลังทหารว่า ‘ผู้ก่อการร้าย’ และเหมารวมถึงแกนนำ นปช.บางคน กับกลุ่มผู้ชุมนุมว่าเป็น ผู้ก่อการร้าย ตามมา

การป้ายสีเช่นนี้ไม่ได้เป็นผลดีต่อทุกภาคส่วนสังคม สิ่งนี้ยิ่งเพิ่มอุณหภูมิความรุนแรงทางการเมืองตามมา

การสลายการชุมนุม ณ บริเวณผ่านฟ้า (หรือถ้าจะเรียกให้ไพเราะตามรัฐบาล ก็คือ ‘การขอพื้นที่คืน’) การปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาล ณ บริเวณสี่แยกคอกวัวและถนนดินสอหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา จนก่อให้เกิดการเสียชีวิตทั้งคนเสื้อแดงและทหารจำนวน 25 คน เป็นเรื่องที่ต้องตั้งคำถามต่อความชอบธรรมของรัฐบาล ความรับผิดชอบของผู้สั่งการสลายการชุมนุมกฎหมาย มาตรการกับขั้นตอนการสลายการชุมนุมทางการเมือง และความปลอดภัยในชีวิตของผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โดยส่วนตัว ผมไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมของแกนนำ นปช. ที่แยกราชประสงค์ แต่เมื่อการสลายการชุมนุมในบริเวณผ่านฟ้าเกิดขึ้น การรวมผู้ชุมนุมทั้งหมดให้มาอยู่ที่แยกราชประสงค์และพื้นที่ใกล้เคียงนั้น ก็ชอบธรรมบนพื้นฐานเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ชุมนุมขึ้นมาทันที

แน่นอนว่า การโยกย้ายถิ่นฐานการชุมนุมได้สร้างความเดือดร้อนแก่คนกรุงเทพฯ ชนชั้นกลาง พ่อค้านักธุรกิจ มนุษย์เงินเดือน ซึ่งไม่คุ้นชินกับการชุมนุม ประกอบกับพื้นที่นี้ยังเป็นใจกลางสำคัญทางธุรกิจการค้าย่านหนึ่งของกรุงเทพฯ ฉะนั้น จะเห็นว่าบรรดานักธุรกิจและผู้ประกอบการออกมาเรียกร้องให้เปลี่ยนที่ชุมนุม แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่มีการกล่าวถึงภายใต้การเรียกร้องของบรรดาสมาคมการค้า วิสาหกิจต่างๆ ก็คือ การยอมรับในการแสดงออกในเรื่องสิทธิทางการเมือง และความเข้าใจในปัญหากับข้อเรียกร้องของบรรดากลุ่มคนเสื้อแดง ที่ความเจริญของเมืองและการเติบโตทางเศรษฐกิจของบรรดาสมาคมการค้าต่างๆ ได้รับประโยชน์ท่ามกลางการเอารัดเอาเปรียบชาวบ้าน คนต่างจังหวัด คนส่วนใหญ่ของประเทศ

รัฐบาลเองซึ่งเป็นทั้งคู่กรณีและผู้ที่ต้องรับผิดชอบโดยตรง กลับทำให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่หวงห้ามในการชุมนุมทางการเมือง ด้วยการหยิบยกประเด็นทางเศรษฐกิจกับผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศขึ้นมาเป็นประเด็นหลัก และปิดบังอำพรางปัญหาที่เรียกร้องโดยบรรดากลุ่มคนเสื้อแดงไว้

สิ่งนี้ได้พัฒนาความไม่พอใจของคนกรุงเทพฯ ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมประท้วงคนเสื้อแดงจากกลุ่มคนต่างๆ การปะทะคารม ถ้อยคำผรุสวาท หรือแม้แต่การปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมในแต่ละฝ่าย จนนำไปสู่ความรุนแรงตามมา รัฐบาลดูเหมือนว่าจะพอใจในสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นเหตุอันชอบธรรมในการสลายการชุมนุมของบรรดากลุ่มคนเสื้อแดงในท้ายที่สุด

สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นผลดีต่อฝ่ายใดเลย แม้ว่า ข้อเสนอเรื่องการเจรจาหาทางออกถือว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุด แต่การเจรจาอย่างไม่เป็นทางการระหว่างรัฐบาลกับแกนนำ นปช. ถูกยกเลิกกลางคันจากฝ่ายรัฐบาล ทุกอย่างเริ่มเลวร้ายลง เมื่อทั้งแกนนำนปช. และรัฐบาลก็ถ่าโถมโหมความรุนแรงเข้าหากัน เมื่อแกนนำ นปช. ก็ยกระดับการเคลื่อนไหวและวิธีการป้องกันตนเองจากการสลายการชุมนุมของรัฐบาล ส่วนรัฐบาลก็เร่งความรุนแรงด้วยการหามาตรการในการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและระดมกำลังทหารตำรวจจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อสลายการชุมนุม

ทั้งหมดนี้เป็นคำตอบต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในสังคมไทยหรือไม่ แน่นอนว่า ทุกคนย่อมบอกว่า ‘ไม่’

แต่ข้อเท็จจริงที่สังคมต้องเข้าใจก็คือ การชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองเป็นปรากฎการณ์ปกติในการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่สามารถเกิดขึ้นทั่วโลก และยอมรับกันได้ ถ้าไม่ได้พัฒนาไปสู่ความรุนแรงหรือการจราจลทางการเมือง สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำลายภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ

แต่บรรดากลุ่มคนต่างๆ ที่ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลบังคับใช้กฎหมายต่อบรรดากลุ่มคนเสื้อแดงหรือเร่งสลายการชุมนุม บอกว่า การชุมนุมทางการเมืองคือการทำลายภาพลักษณ์ของประเทศชาติอันเป็นที่หวงแหนของพวกท่าน

น่าสนใจว่าต่างชาติมิได้คิดเช่นนั้น สิ่งที่พวกเขาคิดก็คือ ภายใต้บรรยากาศการชุมนุมเรียกร้องทางการเมือง เหตุใดจึงต้องมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 รวมทั้งการมีกองกำลังทหารออกมาประจำการเพื่อควบคุมดูแลความสงบของกรุงเทพฯ การประกาศใช้กฎหมายทั้งสองฉบับและการมีทหารเดินตรวจการตามย่านต่างๆ และท้องถนน เป็นสภาวการณ์อันไม่ปกติในระบอบประชาธิปไตย

สิ่งนี้ต่างหากครับ ที่ทำให้ความน่าเชื่อถือต่อความสงบสุขของประเทศและความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลอภิสิทธิ์น้อยลง

ข้อเสนอที่เป็นจริง – แต่ทำไม่ได้

คุณอภิสิทธิ์ครับ ยกเลิกการใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเถอะครับ

ในขณะเดียวกัน ผมก็เรียกร้องให้บรรดากลุ่มคนเสื้อแดงย้ายสถานที่ชุมนุมจากแยกราชประสงค์และบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งเลิกการกระทำการใดๆ ที่นำไปสู่การกระทบกระทั่งกับผู้คนในสังคมที่เขาไม่ได้เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมืองของ นปช. และเมื่อใดก็ตามที่ยกเลิกการชุมนุม ก็ขอให้มอบตัวเพื่อต่อสู้กับข้อกล่าวหาที่หาว่าละเมิดกฎหมายหรือคดีความต่างๆ ตามกระบวนการยุติธรรมปกติ เพื่อเรียกความสงบสุขของสังคมให้กลับมา

ผมเชื่อว่าข้อเรียกร้องจะเป็นจริงได้ ถ้ารัฐบาลเริ่มต้นก่อน และแกนนำ นปช. จะยินดีปฏิบัติตาม

อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดเป็นเพียงแค่ความฝัน ที่เป็นจริงไม่ได้ เพราะว่า มีปัญหาเรื่องความไม่ไว้วางใจต่อกันและกันของทั้ง 2 ฝ่าย คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ และความเข้าใจของรัฐบาลที่เชื่อว่า การเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาภายใน 15 หรือ 30 วันของฝ่าย นปช.นั้น มันมากกว่าการยุบสภา หากหมายถึง ‘สงครามทางชนชั้น’

ผมไม่แน่ใจว่า มันเป็นเช่นนั้นจริงหรือเปล่าที่ว่า การเรียกร้องให้ยุบสภาจะนำไปสู่การเกิดขึ้นมาของสงครามชนชั้น ซึ่งอาจารย์เขียนกล่าวไว้ในบทความของท่าน แต่ที่ผมเห็นจริงๆ ก็คือ บรรดาคนเสื้อแดงออกมาชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองในครั้งนี้ ก็เพื่อนำการเมืองกลับสู่กระบวนการตามระบอบประชาธิปไตย เพื่อให้สถาบันทางการเมือง รัฐสภาและรัฐบาลเป็นกลไกสำคัญในการแก้ไขปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การจัดสรรทรัพยากรทางสังคม และที่สำคัญที่สุดก็คือ – ความไม่เป็นธรรมในสังคม

อาจารย์เขียนครับ ผมเชื่อเช่นนั้นจริงๆ ผมเชื่อว่า ถ้าทุกอย่างกลับสู่กระบวนการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยแล้ว มันไม่มีหรอกครับ สิ่งที่เรียกว่า ‘สงครามชนชั้น’ แม้ว่าจะมีชนชั้นในสังคมไทยก็ตาม

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ




 

Create Date : 02 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 2 พฤษภาคม 2553 15:54:58 น.
Counter : 527 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.