ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง
ประชาธิปไตยแบบไทยๆ: การต่อสู้ของกลุ่มกษัตริย์นิยมในการเมืองไทย

โดย ศาสตราจารย์ เควิน ฮิววิสัน ภาควิชาเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา-เชเปิลฮิลล์
สรุปความเป็นภาษาไทยโดย เก่งกิจ กิติเรียงลาภ
ที่มา อ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษที่บอร์ดฟ้าเดียวกัน
3 กรกฎาคม 2552

หมายเหตุไทยอีนิวส์:บทความนี้เป็นเอกสารวิชาการ สำหรับงานสัมนาวิชาการในหัวข้อ “Thai-Style Democracy: Royalist Struggle for Thailand’s Politics” คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26มิถุนายน 2552


ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจTSD(ประชาธิปไตยแบบไทยๆ)2 ประการ คือ

หนึ่ง ประชาธิปไตยแบบไทยๆ(Thai-Style Democracy - TSD) มีฐานะเป็นชุดของความคิดความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองในสังคมไทย วาทกรรมว่าด้วย TSD กลายมาเป็นพื้นที่ของการต่อสู้ ต่อรองแข่งขันทางการเมืองมาตลอดกว่า 4 ทศวรรษจนกระทั่งในปัจจุบัน

สอง แม้ ว่า TSD จะมีฐานะเป็นชุดของความคิดความเข้าใจชุดหนึ่ง แต่ TSD ไม่ได้เป็นชุดของความคิดที่มีลักษณะเอกภาพหนึ่งเดียว โดยไม่ขึ้นกับบริบททั้งในแง่ของกาละ และเทศะที่มันเกิดขึ้น ซึ่งการนิยามหรือกำหนดคุณลักษณะของ TSD ในแต่ละยุคสมัย ล้วนแล้วแต่ขึ้นกับการต่อสู้แข่งขันทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะๆนั้นด้วย

เป้าหมายของการนำเสนอในครั้งนี้ก็คือ การชี้ให้เห็นรากฐานของความคิดความเชื่อของ TSD โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาและบริบทอันประกอบกันขึ้นจากองค์ประกอบที่หลากหลายของ TSD ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีส่วนช่วยในการอธิบายปรากฏการณ์การรัฐประหารที่เกิดขึ้นใน ปี 2549

เราสามารถย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้นของ TSD ได้ตั้งแต่ยุคของการปฏิวัติโค่นล้มระบอบสมบูรณายาสิทธิราชย์ในปี 2475 เป็นต้นมา แม้ว่า ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช จะเป็นคนแรกๆที่นำเสนอสิ่งที่เรียกว่า “การปกครองแบบไทย” ในทศวรรษ 1960 แต่เราสามารถย้อนกลับไปดูการก่อตัวของ TSD ก่อนหน้านั้นเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อสู้เพื่อสร้างระบอบการเมืองการปกครองแบบใหม่หลัง 2475 เป็นต้นมา

การต่อสู้ของพวกกษัตริย์นิยมในการเมือง ไทยนั้นพัฒนาควบคู่กับการสร้างมโนทัศน์ทางการเมืองบางประการที่อาจเรียกรวมๆ ได้ว่า TSD ผ่านการกลับไปเล่าเรื่องประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญๆในประวัติศาสตร์เสีย ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิวัติ 2475, การต่อสู้ของนักศึกษาประชาชนในปี 2516 และพฤษภาทมิฬในปี 2535 โดยการทำให้ระบอบกษัตริย์กลายมาเป็นสิ่งเดียวกับการสร้างและเปลี่ยนผ่านไป สู่ประชาธิปไตย

ด้วยการสร้างภาพว่า พระปกเกล้าต้องการพระราชทานประชาธิปไตยอยู่แล้ว แต่คณะราษฎรกลับ “ชิงสุกก่อนห่าม” ส่งผลให้ประชาธิปไตยถูกบิดเบือนและกลายเป็นระบอบเผด็จการทหารในที่สุด ข้อเสนอในที่นี้ก็คือ รากฐานความคิดของ TSD เช่นนี้ถือกำเนิดมาจากการต่อสู้ทางการเมืองล้วนๆ

ความพยายามทำให้กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญของรัฐบาลพระยาพหลฯ ส่งผลให้ฝ่ายกษัตริย์นิยมพยายามทุกวิถีทางที่จะต่อต้านคัดค้านการกระทำของ รัฐบาล ทั้งหมดก็เพื่อกอบกู้และเพิ่มอำนาจของกษัตริย์ในการเมืองไทย

อย่าง ไรก็ดี กษัตริย์ไทยหลัง 2475 ก็แสดงตนในหลายบทบาทขึ้นกับความเข้มแข็งและอ่อนแอของกลุ่มกษัตริย์นิยมเอง ในยามที่ตนเองอ่อนแอ ก็จะปฏิเสธความเข้มแข็งของระบบพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง แต่ในยามที่เข้มแข็ง ก็กลับสนับสนุนพรรคการเมืองบางพรรค

เราจะเห็น บทบาทของกลุ่มกษัตริย์นิยมในการต่อสู้เพื่อขยายอิทธิพลของตนเอง ไม่ว่าจะผ่านการสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ในสมัย ควง อภัยวงศ์ และการให้ร้ายปรีดีจนต้องออกนอกประเทศ ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นความสำเร็จของการต่อสู้ทางการเมืองของฝ่าย กษัตริย์นิยมทั้งสิ้น

ฐานความคิดที่สำคัญของพวกกษัตริย์นิยม ในการเมืองไทยก็คือ ไม่เชื่อมั่นในประชาชน เพราะประชาชนส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่ไม่รู้ว่าอะไรคือผลประโยชน์ส่วนรวมที่แท้ จริง ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับความสูงส่งของกษัตริย์มากกว่าที่จะให้ความสนใจ กับการพัฒนาประชาธิปไตยที่ประชาชนมีอำนาจที่แท้จริง ภายใต้ความเชื่อเช่นนี้ ปัญญาชนกษัตริย์นิยมจึงพยายามพูดว่า กษัตริย์เป็นที่รักของประชาชนทุกคนโดยธรรมชาติ และคนผู้ใดที่ไม่จงรักภักดีก็คือคนที่มีจิตไม่ปกติ

การรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ในปี 2500 มีผลอย่างสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจในการเมืองไทย โดยเฉพาะมันได้เปิดทางให้แก่พวกกษัตริย์นิยมได้มีที่มีทางอย่างชัดเจน ภายใต้ระบอบเผด็จการของสฤษดิ์ การทำให้สถาบันกษัตริย์มีความเป็นสถาบันที่มั่นคงกลายมาเป็นภารกิจสำคัญ และกษัตริย์เองก็ทรงให้การสนับสนุนรัฐบาลด้วยในฐานะที่เป็นผู้จงรักภักดี

และในยุคของรัฐบาลทหารเช่นนี้เองที่ความคิดความเชื่อแบบ TSD ได้สถาปนาตัวเองขึ้นอย่างมั่นคง

เป็น ที่น่าสังเกตว่า นิยามที่เริ่มจะชัดเจนขึ้นของ TSD นั้นเริ่มต้นภายใต้การปกครองที่ดูจะเป็นเผด็จการที่เน้นการปราบปรามและควบ คุมสังคมแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

หัวใจสำคัญของ TSD ประการหนึ่งก็คือ ความเชื่อเรื่อง “ความเป็นไทย” ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากในสมัยของคณะราษฎร เพราะ”ความเป็นไทย” ในยุคสฤษดิ์นั้นเป็นความเป็นไทยภายใต้ระบอบทหารที่ไม่เกี่ยวอะไรเลยกับหลัก การของการปฏิวัติ 2475

ปรัชญาเบื้องหลังของระบอบสฤษดิ์ก็คือ การเสนอว่า ประชาธิปไตยแบบตะวันตกนั้นไม่เหมาะกับสังคมไทย เพราะประเทศไทยยังไม่พร้อม เนื่องมาจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนไทยยังคงยึดมั่นอยู่ในผู้นำที่เข้มแข็ง เด็ดขาดมีอำนาจและอิทธิพลเหนือทุกสิ่งทุกอย่างในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายใต้สภาวะเช่นนี้ สังคมไทยต้องการลำดับขั้นทางสังคมที่ชัดเจนตายตัว ไม่ใช่ความเปลี่ยนแปลงเลื่อนชั้นทางสังคมที่รวดเร็ว

TSD มองว่า สังคมไทยดั้งเดิมเป็นสังคมแบบ “พ่อปกครองลูก” โดยพ่อจะทำหน้าที่เป็นผู้ที่คอยแก้ปัญหาให้กับลูกๆ นี่เองทำให้ปรัชญาของระบอบสฤษดิ์สอดรับเป็นอย่างดีกับสิ่งที่ฝ่ายกษัตริย์ นิยมได้พยายามต่อสู้ให้ได้มาตลอดหลายทศวรรษ

และที่น่าสนใจก็คือ ปัญญาชนกษัตริย์นิยมคนสำคัญอย่าง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ก็กลายมาเป็นผู้ป่าวประกาศโฆษณาชั้นดีให้กับระบอบเผด็จการของ สฤษดิ์ในที่สุด

คึกฤทธิ์เสนอว่า TSD นั้นสอดคล้องเป็นอย่างดีกับนิสัยใจคอของคนไทย ซึ่งไม่มีความพร้อมเลยสำหรับการปกครองแบบประชาธิปไตย “แบบตะวันตก” คึกฤทธิ์พยายามวาดภาพว่า การปฏิวัติ 2475 เป็นเพียงความล้มเหลวของการสร้างประชาธิปไตย “แบบตะวันตก” ในสังคมไทย

สำหรับ TSD หากการทำรัฐประหารมีเป้าหมายเพื่อกำจัดนักการเมืองชั่วช้าให้ออกจากการเมือง ไทยและสร้างเสถียรภาพความมั่นคงแล้ว การรัฐประหารก็ไม่ใช่สิ่งเลวร้ายในตัวมันเอง การรัฐประหารจึงกลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลที่ไม่มี ศีลธรรม และในการควบคุมประชาชนที่ไม่รู้ว่าความดีที่แท้จริงคืออะไร

สำหรับ คึกฤทธิ์ สังคมไทยเป็นสังคมแบบอินทรียภาพที่มีกษัตริย์เป็นศีรษะและมีระบบราชการเป็น อวัยวะสำคัญที่รับใช้ศรีษะ ซึ่งหากเกิดความวุ่นวายโกลาหลใดๆขึ้นจากความล้มเหลวของประชาธิปไตย “แบบตะวันตก” การกลับไปหาผู้นำที่เด็ดขาดก็เป็นทางออกที่จำเป็น และนี่คือ หน้าที่ของกษัตริย์ในระบอบ TSD

ดังนั้น กษัตริย์จึงไม่ใช่อุปสรรคของประชาธิปไตย แต่กษัตริย์เป็นรากฐานและแก่นแท้ของการปกครองภายใต้ TSD ที่จะนำความสันติสุขมาสู่เหล่าปวงประชาชน

กล่าวโดยสรุปแล้ว เป้าหมายของปัญญาชนกษัตริย์นิยมอย่างคึกฤทธิ์ก็คือ การจัดวางสถาบันกษัตริย์ในที่ที่ทำให้พระองค์ทรงมีพระราชอำนาจมากที่สุด (หลังจากที่ต่อสู้มากว่า 25 ปีภายหลัง 2475) และการขึ้นมาของระบอบเผด็จการของสฤษดิ์ก็เปิดทางให้สิ่งที่กลุ่มกษัตริย์ นิยมคาดหวังสามารถเกิดขึ้นได้ในที่สุด

ในยุคทักษิณ ปัญญาชนกษัตริย์นิยมจำนวนหนึ่งที่ต่อต้านทักษิณตีความ TSD ในฐานะที่เป็นวัฒนธรรมทางการเมืองที่เชื่อมโยงกับท้องถิ่นและชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พุทธศาสนา ซึ่งสอนให้เชื่อเรื่องเหตุผล ความไม่ตึงไม่หย่อนเกินไป และความยืดหยุ่น นั่นหมายความว่า TSD นั้นมีลักษณะแบบปฏิบัตินิยมและปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของยุคสมัย

ทักษิณ ถูกวาดภาพโดยปัญญาชนกษัตริย์นิยมว่า เป็นพวกทุนนิยมที่ไม่มีศีลธรรม ซึ่งตรงกันข้ามกับบารมีอันชอบธรรมตามหลักการของพุทธศาสตร์ขององค์พระ กษัตริย์ไทยในปัจจุบัน และ TSD ก็คือ การกอบกู้สถาปนาพระราชอำนาจของกษัตริย์ให้อยู่ใจกลางระบอบการเมืองการปกครอง ที่ถูกทำลายมาก่อนหน้านั้นโดยการปกครองของทักษิณ ซึ่งมาจากประชาธิปไตย “แบบตะวันตก”

ปัญญาชนกษัตริย์นิยมบางคนกล่าวว่า พลเอกเปรมเป็นเสาหลักทางจริยธรรมศีลธรรม ที่ตรงกันข้ามกับทักษิณที่ไม่มีศีลธรรมและเต
็มไป ด้วยคอร์รัปชั่น ดังนั้น การทำรัฐประหารเพื่อโค่นล้มรัฐบาลที่ไม่มีศีลธรรมนั้นจึงไม่ใช่สิ่งที่ชั่ว ร้าย หากแต่เป็นเรื่องของการกอบกู้ศีลธรรมอันดีงามให้กลับคืนมา

การเคลื่อนไหวทางการเมืองของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทั้งก่อน และหลังการรัฐประหารได้พยายามสร้างภาพของทักษิณให้ดูว่าเป็นคนที่ไม่จงรัก ภักดีและพยายามท้าทายสถาบันกษัตริย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษิณไม่ใช่ผู้นำในอุดมคติของ TSD

ข้อเสนอในที่นี้ก็คือ เราต้องไม่ลดทอนการทำความเข้าใจการรัฐประหารในปี 2549 และการร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นเพียงการกระหายอำนาจของทหาร แต่เป้าหมายที่แท้ของการทำรัฐประหารก็คือ การทำให้ประเทศไทยอยู่ภายใต้ TSD

เมื่อรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ขึ้นสู่อำนาจภายหลังการรัฐประหาร เขาได้พยายามสร้างแผนการทางการเมืองแบบใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกลับไปหา TSD ในฐานะที่เป็น “ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข”

รัฐธรรมนูญปี 2550 มีเป้าหมายโดยตรงที่จะกีดกันนักการเมืองอย่างทักษิณ และมุ่งเน้นการเพิ่มความเข้มแข็งให้กับฝ่ายความมั่นคง ระบบราชการทั้งที่เป็นทหารและพลเรือน ดังที่เราจะเห็นรัฐธรรมนูญฉบับนี้ระบุให้มีวุฒิสมาชิกมาจากการแต่งตั้งครึ่ง หนึ่ง เป็นต้น และนี่คืออีกครั้งหนึ่งที่คนไทยไม่ต้องการประชาธิปไตย “แบบตะวันตก” แต่สิ่งที่พวกเขากำลังทำคือ “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ”
......

อ้างอิง

Anand Panyarachun (2007) “The monarchy: an indispensable institution,” Bangkok Post, 24 August.

Bagehot, W. (1909) The English Constitution, London: Kegan Paul, Trench, Trubner and Co.

Chalermkiat Piu-nual (1990) Prachatippatai bab thai kuam kit tang karn muang kong tha harn thai (2519-2529) (Thai-style democracy: The political ideas of the Thai military (1976-1986), Bangkok: Thammasat University Press.


Bhumibol Adulyadej (1974) Collection of Royal Addresses and Speeches During the State and Official Visits of Their Majesties the King and Queen to Foreign Countries 1959-1967 (B.E. 2502-2510), Bangkok, no publication details.

Bhumibol Adulyadej (1992a) Royal Advice by His Majesty the King 20 May 1992/2535 at 21.30, Bangkok: Office of His Majesty's Principal Private Secretary.

Bhumibol Adulyadej (1992b) Royal Speech Given to the Audience of Well-Wishers on the Occasion of the Royal Birthday Anniversary, Wednesday 4 December, no publication details.

Blanchard, Wendell, et. al. (1958) Thailand. Its People, Its Society, Its Culture, New Haven: Human Relations Area Files.

Borwornsak Uwanno (2006) “The King’s Paternalistic Governance,” Bangkok Post, 16 June.

Borwornsak Uwanno (n.d.[2007]) “Dynamics of Thai Politics,” Paper for a Meeting in Washington, D.C., May 2007.

Bowie, Katherine (1997) Rituals of National Loyalty: An Anthropology of the State and the Village Scout Movement in Thailand, New York: Columbia University Press.

CNN.com (2006) “Thailand's king gives blessing to coup,” 20 September, //www.cnn.com/2006/WORLD/asiapcf/09/20/thailand.coup.ap (accessed 20 September 2006).

Crispin, Shawn W. (2006) “Thailand: All the King’s Men,” Asia Times Online, 21 September, //www.atimes.com/atimes/Southeast_Asia/HI21Ae02.html (accessed 21 September 2006).

Grey, Dennis (ed.) (1988) The King of Thailand in World Focus, Bangkok: Foreign Correspondent's Club of Thailand.

Hermit [pseud. Phraya Sri Thammarat] (1949) “Our New Constitution, Part II,” Bangkok Post, 12 August.

Hewison, Kevin (2008) “Review Article: A Book, The King and the 2006 Coup,” Journal of Contemporary Asia, 38, 1, pp. 190-211.

Jakrapob Penkair (2007) “Democracy and Patronage system of Thailand.” Transcript of a talk at the Foreign Correspondents Club of Thailand, 29 August.

Kavi Chongkittavorn (2006) “When is the abhorrent practice of staging a coup justifiable?” Nation, 22 September.

Kobkua Suwannathat-Pian (2003) Kings, Country and Constitutions. Thailand’s Political Development, 1932-2000, London: RoutledgeCurzon.

Kriangsak Chetpattanawanich (2007) Prachatippatai baep thai chak yuk rajjakuru tung yuk chom phon Sarit Thanarat (Thai-style Democracy from the Rajakhru era to Sarit Thanarat’s era), (Bangkok: The Foundation for the Promotion of Social Sciences and Humanities Textbooks Project, 2007)

Kukrit Pramoj (1983) M.R. Kukrit Pramoj: His Wit and Wisdom. Writings, Speeches and Interviews, Compiled by Vilas Manivat, edited by Steve Van Beek, Bangkok: Editions Duang Kamol.

Kulick, E. and D. Wilson (1992) Thailand's Turn: Profile of a New Dragon, New York: St. Martin's Press.

McCargo, Duncan (2005) “Network monarchy and legitimacy crises in Thailand,” Pacific Review, 18, 4, pp. 499-519.

McCargo, Duncan and Ukrist Pathamanand (2005) The Thaksinization of Thailand, Copenhagen: NIAS Press.

Meechai Ruchuphan (2004) “Meechai’s Liberal Thoughts: Are we still Thai?” in M.H. Nelson (ed.), Thai Politics: Global and Local Perspectives, Bangkok: King Prajadhipok’s Institute, pp. 584-7.

Morell, David (1974) “Power and Parliament in Thailand: The Futile Challenge, 1968-1971,” Unpublished PhD thesis, Princeton University.

Morell, David and Chai-Anan Samudavanija (1981) Political Conflict in Thailand: Reform, Reaction, Revolution, Cambridge: Oelgeschlager, Gunn & Hain.

Murashima, Eiji (1991) “Democracy and the Development of Political Parties in Thailand 1932-1945,” in Eiji Murashima, Nakharin Mektrairat and Somkiat Wathana (eds), The Making of Modern Thai Political Parties, Tokyo: Institute of Developing Economies, Joint Research Program Series, No. 86 (downloaded from the IDE website as a single paper, with individual pagination, //www.ide.go.jp/English/Publish/Download/, 20 March 2000).

Murphy, Colum (2006) [Interview with Prem Tinsulanonda], Far Eastern Economic Review, 19 September, //www.feer.com/articles1/2006/0609/free/prem.html, downloaded 10 November 2007).

Nakarin Mektrirat (2006) Prapokklao prachatippatai 60 pi sirirajja sombat kan kan muang thai (The King who Defends the Democracy: 60 Years of the Crown and Thai Politics), Bangkok: Matichon.

Namier, L. (1952) Monarchy and the Party System, Oxford: Clarendon Press.

Neher, Clark D. (1974) “Thailand,” in Roger M. Smith (ed.), Southeast Asia. Documents of Political Development and Change, Ithaca: Cornell University Press, pp. 29-45.

Noranit Setabutr (2006) “Thai Politics over a Period of 72 Years,” in Niyom Rathamarit (ed.), Eyes on Thai Democracy. National and Local Issues, Bangkok: King Prajadhipok’s Institute, pp. 1-40.

Ockey, James (2004) Making Democracy, Chiang Mai: Silkworm Books.

Office of His Majesty's Principal Private Secretary [OPPS] (1987) A Memoir of His Majesty King Bhumibol Adulyadej, Bangkok: Office of His Majesty's Principal Private Secretary.

Office of the Prime Minister [OPM] (1979) Thailand into the 80's, Bangkok: Office of the Prime Minister.

Pansak Vinyaratn (2004) 21st Century Thailand. Facing the Challenge. Economic Policy & Strategy, Hong Kong: CLSA Books.

Pasuk Phongpaichit and Chris Baker (2005) Thaksin, Chiangmai: Silkworm Books.

Pasuk Phongpaichit and Chris Baker (2008) “Thaksin’s Populism,” Journal of Contemporary Asia, 38, 1, pp. 62-83.

Pattana Kitiarsa, “In Defense of the Thai-Style Democracy,” Asia Research Institute, National University of Singapore, 12 October 2006, //www.ari.nus.edu.sg/showfile.asp?eventfileid=188, accessed 15 April 2008.

Prajadhipok (1984) “King Prajadhipok’s Abdication Statement,” in Benjamin A. Batson, The End of the Absolute Monarchy in Siam, Singapore: Oxford University Press, pp. 315-7.

Prajak Kongkirati (2005) Lae laew khwam khluanwai ko prakot [Thus, the Movement Emerges], Bangkok: Thammasat University Press.

Pramuan Ruchannaseri (2005) Phraratcha amnat [Royal power], Bangkok: The Manager Group, //power.manager.co.th, downloaded 7 September 2005.

Pye, O. and W. Schaffar (2008) “The 2006 Anti-Thaksin Movement in Thailand: An Analysis,” Journal of Contemporary Asia, 38, 1, pp. 38-61.

Ramphai Barni (1978) “Queen Ramphai's Memoir,” in Thak Chaloemtiarana (ed.), Thai Politics: Extracts and Documents 1932-1957, Bangkok: The Social Science Association of Thailand, pp. 8-35.

Ray, Jayanta Kumar (1972) Portraits of Thai Politics, New Delhi: Orient Longman.

Saichol Sattayanurak (n.d.) “The Construction of Mainstream Thought on ‘Thainess’ and the ‘Truth’ Constructed by ‘Thainess’,” no publication details, //www.fringer.org/wp-content/writings/thainess-eng.pdf, accessed 15 April 2008, 3.

Saichol Sattayanurak (2007) Kukrit lae kan sang kuam pen thai 2: yuk jom phon sarit tung tossawat 2530 [Kukrit and the Construction of Thainess, Volume 2: From Sarit's era to 1997], Bangkok: Matichon.

Surin Maisrikrod (1993) Thailand's Two General Elections in 1992: Democracy Sustained, Singapore: Institute of Southeast Asian Studies.

Surin Maisrikrod (2007) “Learning from the 19 September Coup. Advancing Thai-style Democracy?” in Daljit Singh and Lorraine C. Salazar (eds), Southeast Asian Affairs 2007, Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, pp. 340-59.

Thak Chaloemtiarana (2007) Thailand: the Politics of Despotic Paternalism, Chiangmai: Silkworm.

Thak Chaloemtiarana (ed.) (1978) Thai Politics: Extracts and Documents 1932-1957, Bangkok: Social Science Association of Thailand.

Thongchai Winichakul (2005) “The Changing Landscape of the Past: New Histories in Thailand Since 1973,” Journal of Thai-Tai Studies, 1, 1, 2005, pp. 19-61.

Thongchai Winichakul (2008) “Toppling Democracy,” Journal of Contemporary Asia, 38, 1, pp. 11-37.

Tongnoi Tongyai (1983) Entering the Thai Heart, Bangkok: Bangkok Post.

Ukrist Pathamanand (2008) “A Different Coup d'état?” Journal of Contemporary Asia, 38, 1, pp. 124-42.

Uthai Pimjaichon (2006) “The Path to People-Based Society. Experience, Perspectives and Criticism,” in Niyom Rathamarit (ed.), Eyes on Thai Democracy. National and Local Issues, Bangkok: King Prajadhipok’s Institute, pp. 305-17.

Van Praagh, D. (1989) Alone on the Sharp Edge. The Story of MR Seni Pramoj and Thailand's Struggle for Democracy, Bangkok: Duang Kamol.

Wassana Nanuam (2006) “Timing could not have been better, says army source,” Bangkok Post, 21 September.


Create Date : 03 กรกฎาคม 2552
Last Update : 3 กรกฎาคม 2552 16:58:08 น. 5 comments
Counter : 1169 Pageviews.

 
มาอ่านงานวิจัยคับ

อย่าช่วยกันสุมเพลิงเมืองไทยบ้านเกิดเมืองนอนนะคับ



Photobucket


โดย: hiansoon วันที่: 4 กรกฎาคม 2552 เวลา:6:16:22 น.  

 
ถ้าทักษิณดีจริง ก็คงไม่มีใครมาใส่ร้ายป้ายสีได้หรอกค่ะ แต่ทักษิณจะล้มคนอื่น ตังเองกลับทำตัวอยู่เหนือกฎหมายซะเอง แบบนี้จะเป็นผู้ปกครองที่ดีได้อย่างไร เมื่อผู้ปกครองยังไม่ยอมอยู่ภายใต้กฎหมายเท่าเทียมคนอื่น ไม่ได้ เข้าข้างใคร นี่คือข้อเท็จจริง


โดย: bee (bee09b ) วันที่: 4 กรกฎาคม 2552 เวลา:22:31:59 น.  

 
ขอบใจ


โดย: บอกก้อโง่ IP: 61.7.177.66 วันที่: 12 กรกฎาคม 2552 เวลา:23:36:56 น.  

 
คุณๆเสื้อเหลืองข้างบนนี่ ดูท่าจะไม่นำพาอะไรกับบทความนี้เลยนะครับ
แสดงความเห็นอะไรให้มันได้ประโยชน์ได้สาระและปัญญาบ้างสิครับ Blogผมมันจะได้สร้างสรรค์ขึ้นมาหน่อย ประชาธิปไตยแบบไทยที่เราเป็นอยู่นี่มันดีจริงหรือไม่??

คุณbee09bคุณด่าแม้วก็ด่าไป แต่ถ้าไม่นำพาอะไรกับกระบวนการยุติธรรมที่มันพิลึกๆในตอนนี้ละก็ ความเห็นของคุณก็ไม่ได้ต่างอะไรกับบรรดาเสื้อเหลืองจำมากมายที่ใช้เหตุผลวิบัติในเรื่องโจมตีบุคคลนั้นแหละ


โดย: ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร (spiralhead ) วันที่: 13 กรกฎาคม 2552 เวลา:17:36:45 น.  

 
ระบอบกษัตริย์ คอมมิวนิสต์ ทุนนิยมสามานย์ สังคมนิยม หรืออาจจะมีระบอบอื่นตามมาในอนาคตอีกก็ตาม จะเป็นอะไรก็ตามระบอบที่กล่าวมานี้ต่างมีข้อดีและเสียต่างกัน มันขึ้นกับเงื่อนใขต่างๆในขณะนั้นของสังคมนั้นเป็นตัวกำหนด ตัวอย่างเช่นจีน ต้องเป็นคอมมิวนิสต์ แต่ปัจจุบันลองบอกให้เขาหาเงินได้ต้องส่งกองกลาง ไม่มีสิทธิในทรัพย์สิน หรือแม้แต่จะต้องใส่เสื้อสีเดียว รับรองไม่มีใครสนใจ หรือแม้แต่ลองถามเด็กรุ่นใหม่ของจีนว่าเหมาเป็นใคร ผมว่าเราอาจจะต้องตกใจ
สรุปสุดท้ายจะเป็นระบบอะไรก็ช่าง จะต้องมีชนชั้นผู้ปกครองเหมือนกัน แม้จะอ้างว่าเป็นสหายกันก็ตาม ผู้ปกครองต้องตั้งอยู่ในความดี ไม่ทุจริต ไม่สร้างภาพ ไม่ห่างเหินจากประชาชน


โดย: สหสหส IP: 113.53.163.99 วันที่: 24 กรกฎาคม 2552 เวลา:7:49:48 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.