ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง
กรณีเขาพระวิหาร: ตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ต่างกัน ไม่เป็นความผิด-ไม่ต้องรับโทษ

ทศพล เชี่ยวชาญประพันธ์
รัฐศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทอง ปีการศึกษา 2550
26 กันยายน พ.ศ. 2552

ชื่อบทความเดิม: ตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ต่างกัน ไม่เป็นความผิด และไม่ต้องรับโทษ

ในวันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จะพิจารณา และชี้มูลความผิดรัฐมนตรีในรัฐบาลของอดีตนายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช และข้าราชการที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนหนึ่งกรณีมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคาร ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เห็นชอบร่างคำแถลงการณ์ร่วมสนับสนุนให้กัมพูชาเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระ วิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียว<1> โดยไม่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาตามบทบัญญัติมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 25 50

ประเด็นสำคัญที่บทความนี้มุ่งพิจารณา คือ การที่คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นไม่นำแถลงการณ์ร่วมฉบับดังกล่าวเข้าสู่การ พิจารณาของรัฐสภาตามบทบัญญัติมาตรา 190 นั้น ถือเป็นการจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จนเป็นเหตุให้ต้องถูกถอดถอน ออกจากตำแหน่ง และดำเนินคดีอาญาตามความผิดดังกล่าวหรือไม่ หรือเป็นเพียงการที่คณะรัฐมนตรีใช้ดุลพินิจโดยสุจริตในการตีความบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญแตกต่างจากศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น

เบื้อง ต้น ตามหลักวิชาการด้านกฎหมายระหว่างประเทศ และจารีตประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุขของประเทศไทยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เป็นที่ยอมรับกันอย่างชัดแจ้งว่า ฝ่ายบริหาร หรือคณะรัฐมนตรีนั้น คือ สถาบันที่มีอำนาจ และบทบาทสำคัญในการจัดทำหนังสือสัญญา และให้สัตยาบันในหนังสือสัญญาที่รัฐไทยทำกับนานาประเทศ หรือกับองค์การระหว่างประเทศ สถาบันอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐสภา หรือศาลรัฐธรรมนูญเป็นเพียงผู้แสดงบทบาทรองในเรื่องนี้เท่านั้น โดยจะเห็นได้ว่า เนื้อหาของบทบัญญัติที่เกี่ยวกับหนังสือสัญญากับต่างประเทศนั้น มักจะอยู่ในหมวดที่ว่าด้วยคณะรัฐมนตรี เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ก็บัญญัติเรื่องนี้ไว้ในมาตรา 224 ซึ่งอยู่ในหมวดที่ 7 ว่าด้วยคณะรัฐมนตรี ส่วนมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนั้นก็อยู่ในหมวดที่ 9 ว่าด้วยคณะรัฐมนตรี เช่นเดียวกัน หมายความว่า ผู้ร่างรัฐธรรมนูญต่างก็ยอมรับว่า การดำเนินการในเรื่องนี้จะต้องเกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรีเป็น หลัก <2>

เหตุผล อีกประการหนึ่งที่สนับสนุนสมมติฐานข้างต้น ก็คือ ในวรรคสองของมาตรา 190 ยังกำหนดประเภทของหนังสือสัญญาไว้เพียง 5 ประเภทเท่านั้นที่ต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา คือ 1. หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย 2. หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิ อธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ 3. หนังสือสัญญาที่จะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา นั้น 4. หนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศ อย่างกว้างขวาง และ 5. หนังสือสัญญาที่มีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ<3> นอกเหนือจากนั้น ให้เป็นอำนาจของฝ่ายบริหารในการดำเนินการได้อย่างเต็มที่ ถ้าผู้ร่างรัฐธรรมนูญไม่ต้องการให้ฝ่ายบริหารเป็นตัวแสดงหลักในเรื่องนี้ จะต้องร่างรัฐธรรมนูญว่า “หนังสือสัญญาทุกประเภทต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา” มิใช่กำหนดเพียง 5 ประเภทดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

เมื่อ เรายอมรับว่า การทำหนังสือสัญญากับต่างประเทศนั้น ฝ่ายบริหารเป็นผู้ใช้อำนาจเป็นหลัก ส่วนศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นฝ่ายตุลาการ และรัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติจะสามารถมาร่วมใช้อำนาจนี้ในขอบเขตจำกัด ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้เท่านั้น ฝ่ายบริหารจึงทรงไว้ซึ่งอำนาจอันชอบธรรมในการใช้ดุลพินิจตีความในเบื้องต้น ได้เองว่า เนื้อหาของหนังสือสัญญาใดตรงกับหลักเกณฑ์ 5 ประการตามบทบัญญัติมาตรา 190 วรรคสองหรือไม่ อีกทั้งเมื่อพิจารณาถ้อยคำในมาตรานี้ก็จะพบว่า เป็นข้อความที่มีความหมายกว้าง และมีลักษณะเป็นนามธรรมค่อนข้างสูง เช่น “มี ผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง” หรือ “มีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ” ซึ่งตามหลักการตีความกฎหมาย ถือว่า ข้อความลักษณะเช่นนี้เป็นข้อความซึ่งเปิดโอกาสให้ใช้ดุลพินิจ ฝ่ายบริหารซึ่งเป็นผู้ใช้กฎหมายสามารถแปลความหมายตามสามัญสำนึกหรือมาตรฐาน ของตนได้ เพราะฉะนั้น คณะรัฐมนตรีในขณะนั้น จึงมีอำนาจโดยชอบธรรมที่จะใช้ดุลพินิจตีความในเบื้องต้นได้ว่า แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ไม่เป็นหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา

อย่าง ไรก็ตาม ผู้ร่างรัฐธรรมนูญเองก็ได้ตระหนักว่า หนังสือสัญญากับต่างประเทศนั้นจะกลายเป็นภาระผูกพัน และก่อให้เกิดผลกระทบต่อรัฐไทย และประชาชนชาวไทยอย่างลึกซึ้ง และกว้างขวาง เพราะฉะนั้น จึงพยายามให้รัฐสภาในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติที่ต้องทำหน้าที่ควบคุมการบริหาร ราชการแผ่นดิน และเป็นตัวแทนปวงชนชาวไทยเข้ามามีส่วนร่วมตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร มากขึ้น คือ กำหนดว่าหนังสือสัญญาที่มีลักษณะ 5 ประเภทดังที่ได้อธิบายไปแล้วจะต้องได้รับ ความเห็นชอบของรัฐสภาก่อนที่จะมีผลผูกพัน แต่เมื่อฝ่ายบริหารเป็นผู้มีอำนาจอันชอบธรรมในการใช้ดุลพินิจเบื้องต้นว่า หนังสือสัญญาฉบับใดจะต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาหรือไม่ ย่อมก่อให้เกิด ความขัดแย้งในด้านการตีความเนื้อหาของหนังสือสัญญา และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่แตกต่างกันระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่าย นิติบัญญัติขึ้น ส่งผลให้การดำเนินนโยบายต่างประเทศไม่อาจเป็นไปได้โดยราบรื่น ผู้ร่างรัฐธรรมนูญเองก็ยอมรับความเป็นจริงในข้อนี้ จึงได้บัญญัติไว้ในมาตรา 190 วรรคหกว่า “ในกรณีที่มีปัญหาตามวรรคสอง ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาด...”<4> นัย สำคัญของบทบัญญัติในวรรคนี้ ก็คือ ผู้ร่างรัฐธรรมนูญเองก็ยอมรับว่า การตีความกฎหมายที่แตกต่างกันนั้นเป็นเรื่องธรรมดาที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอด เวลา มิฉะนั้นก็คงไม่บัญญัติกลไกในการวินิจฉัยชี้ขาด ความขัดแย้งในการตีความรัฐธรรมนูญเอาไว้

ประเด็น ที่ต้องพิจารณาต่อไปจึงมีอยู่ว่า อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรานี้นั้นเป็นอำนาจในลักษณะใด คำตอบก็คือว่า อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 190 วรรคหกนั้น เป็นเพียงอำนาจในการตีความบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน และสามารถนำไปปรับใช้กับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน และการดำเนินนโยบายต่างประเทศสามารถดำเนินต่อไปได้ อย่างราบรื่นเท่านั้น คือมีอำนาจวินิจฉัยเพียงว่า หนังสือสัญญาฉบับใดต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาหรือไม่ ซึ่งแตกต่างจากอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่ปรากฏอยู่ในมาตราอื่นๆ ที่เป็นอำนาจในการวินิจฉัยความถูกผิด หรือลงโทษผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างชัดเจน เช่น มาตรา 182 วรรคสามที่ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คือ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ได้กระทำการอันต้องห้ามตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และจะต้องพ้นจากตำแหน่งหรือไม่อันเนื่องมาจากการกระทำอันต้องห้ามนั้นหรือ ไม่<5> ดังกรณีอดีตนายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งเพราะกระทำการอันต้องห้ามด้วยการ ไปเป็นลูกจ้างของบริษัทเอกชนตามคำวินิจฉัยที่ 12- 13/ 2551 ลงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551<6> กล่าวอีกนัยหนึ่ง ในกรณีของแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยเพียงว่า แถลงการณ์ร่วมฉบับนี้ต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาหรือไม่ เมื่อวินิจฉัยว่า ต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา หน้าที่ของคณะรัฐมนตรีก็คือ นำแถลงการณ์ฉบับนี้เสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบเท่า นั้น ส่วนรัฐสภาจะเห็นชอบแถลงการณ์ร่วมฉบับนี้หรือไม่ เป็นเรื่องของรัฐสภาที่จะตัดสินใจ แต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยเลยว่า การที่คณะรัฐมนตรีไม่ได้นำเสนอแถลงการณ์ร่วมฉบับนี้ต่อรัฐสภาเพื่อขอความ เห็นชอบนั้น ถูกหรือผิดอย่างไร และจะต้องรับโทษอย่างไรบ้าง

ศาลรัฐธรรมนูญเองก็เข้าใจในประเด็นต่างๆ เหล่านี้เป็นอย่างดี สังเกตได้จากถ้อยคำที่ปรากฏในคำวินิจฉัยที่ 6- 7/2551 ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เรื่อง ประธาน วุฒิสภา และประธาน สภาผู้แทนราษฎร ส่งความเห็นของสมาชิกวุฒิสภาและ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับคำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ฉบับลงวันที่ 18 มิถุนายน 2551 เป็นหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 หรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยแต่เพียงว่า แถลงการณ์ร่วมฉบับนี้เป็นหนังสือสัญญาที่ต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาเท่านั้น<7> แต่มิได้มีถ้อยคำใดๆ เลยที่ระบุว่า คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นได้กระทำความผิดด้วยการจงใจ ใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ หรือคณะรัฐมนตรีได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 อันจะเป็นเหตุนำไปสู่การถอดถอน และการดำเนินคดีอาญาได้แต่อย่างใด

อนึ่ง ถ้าคณะกรรมการ ป.ป.ช. ลงมติชี้มูลความผิดคณะรัฐมนตรีในขณะนั้นตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญในวันอังคารที่จะถึงนี้ จะก่อให้เกิดบรรทัดฐานที่เลวร้ายขึ้นในสังคมไทยทันที เพราะถ้าเพียงตีความรัฐธรรมนูญต่างจากศาลรัฐธรรมนูญแล้วมีความผิดทางอาญา หรือจะต้องถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง กรณีที่สถาบันต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรมเริ่มต้นตั้งแต่ตำรวจ อัยการ ไปจนถึงศาลฎีกามีความเห็นต่อข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายในคดีความแตกต่างกัน ก็จะต้องถือว่ามีความผิด และ ต้องรับโทษทางอาญาด้วย ตัวอย่างเช่น เมื่ออัยการมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหา แล้วต่อมาศาลยุติธรรมพิพากษายกฟ้อง อัยการเจ้าของสำนวนนั้นก็จะต้องถูกดำเนินคดีอาญาฐานตีความข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายต่างจากศาล หรือแม้แต่กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีไปในทางใดทางหนึ่ง แล้วต่อมาถูกศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกากลับคำพิพากษา ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่เป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีดังกล่าวก็จะต้องถูก ดำเนินคดีอาญาฐานตีความข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายต่างจากศาลสูงเช่นเดียวกัน

จากที่ อธิบายมาโดยละเอียด จึงสรุปได้อย่างชัดเจนว่า การที่คณะรัฐมนตรีลงมติเห็นชอบแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา เพื่อสนับสนุนให้กัมพูชาเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็น มรดกโลกฝ่ายเดียว โดยไม่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภานั้น เป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบ และโดยสุจริต ตีความเนื้อหาของหนังสือสัญญา และบทบัญญัติมาตรา 190 วรรคสองของรัฐธรรมนูญโดย ซึ่งอาจจะแตกต่างจากความคิดเห็นของฝ่ายนิติบัญญัติบางส่วน และศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรมโดยทั่วไป อีกทั้งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็เป็นเพียงการวินิจฉัยชี้ขาดดุลพินิจใน การตีความกฎหมายที่แตกต่างกันระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่สามารถนำคำวินิจฉัยดังกล่าวไปเป็นมูลเหตุในการชี้มูลความผิดของคณะ รัฐมนตรีชุดนั้นได้ ดังนั้น เพื่อธำรงรักษาความยุติธรรมของบ้านเมืองไว้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากยกคำร้องผู้ที่ถูกกล่าวหาทุกคนในคดีนี้เท่านั้น


เชิงอรรถ

<1> ดูแถลงการณ์ร่วมฉบับเต็มทั้งภาษาอังกฤษ และฉบับแปลเป็นภาษาไทยอย่างไม่เป็นทางการได้ที่ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, แฉเอกสาร “ลับที่สุด” ปราสาทพระวิหาร (กรุงเทพฯ: มติชน, 2551), 312-316
<2> สมพงศ์ ชูมาก, กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548), 95
<3> ดูในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก วันที่ 24 สิงหาคม 2550 หน้า 71
<4> ดูในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก วันที่ 24 สิงหาคม 2550 หน้า 71
<5> ดูในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก วันที่ 24 สิงหาคม 2550 หน้า 68
<6> ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 112 ก วันที่ 19 พฤศจิกายน 2551 หน้า 1-62 สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ //www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/A/122/1.PDF
<7> ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 108 ก วันที่ 10 ตุลาคม 2551 หน้า 1-60 สามารถเข้าไปดูรายละเอียดไดใน //www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/A/108/1.PDF


Create Date : 01 ตุลาคม 2552
Last Update : 1 ตุลาคม 2552 21:02:47 น. 0 comments
Counter : 512 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.