I'm not a Chef...but I sure am a Good Cook!
Group Blog
 
<<
กันยายน 2564
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
15 กันยายน 2564
 
All Blogs
 
❤ กล้วยเชื่อม(แดง) ในหม้อหุงข้าว ❤

เมื่อพูดถึง...กล้วยเชื่อมแดง และจากทุกครั้งที่คุณบี๊ห์ลงโพสต์กล้วยเชื่อมแดงในเฟสบุ๊ค
มิตรรักแฟนคลับมักแซวกันไปว่า แค่เห็นภาพกล้วยแดงแว๊บ ๆ รู้เลยว่าต้องเป็นกล้วยแดง
ฝีมือของพี่บี๊ห์อย่างแน่นอน อวยกันไปว่า ครูพี่บี๊ห์เป็นปรมาจารย์ในการเชื่อมกล้วยแดง 

จากครั้งแรกที่ลองทำ เชื่อมออกมาได้กล้วยสีแดงสวยงาม กินอร่อย จากนั้นมีการเชื่อม
แบบต่อเนื่องมาระยะหนึ่ง ลองผิดลองถูกโดยเชื่อมกล้วยสายพันธุ์อื่นๆ เพื่อเปรียบเทียบ
และดูว่าถ้าไม่ใช้กล้วยพันธุ์มะลิอ่องและนวลจันทร์แล้ว ออกมากล้วยจะมีสีแดงเข้มไหม

ที่ผ่านมาเราเชื่อมกล้วยทุกชนิดด้วยกระทะทองเหลืองและหม้อทำแกง
ครั้งนี้จะลองเชื่อมในหม้อหุงข้าว แบบฉบับของเด็กหอที่อุปกรณ์การครัวไม่พร้อม

 






ที่ผ่านมาเราเชื่อมกล้วยในกระทะทองเหลืองบ้าง กระทะใบบัวบ้าง เชื่อมในสารพัดหม้อแกง
ออกมาแจ่ม ใครที่บอกว่า ต้องเชื่อมในกระทะทองเหลืองจึงจะออกมาดีและแดง บี๊ห์ขอเถียง
เคยเชื่อมในสารพัดภาชนะ ออกมาสีแดงแจ่ม นอกจากฝีมือแล้ว เป็นที่สายพันธุ์ของกล้วยด้วย

ครั้งนี้บี๊ห์จะลองเชื่อมกล้วยในหม้อหุงข้าว เป็นวิธีการทำในแบบฉบับของ "เด็กหอ" ก้นครัว
ที่ไม่สามารถปรุงอาหารในที่พัก หรืออุปกรณ์และภาชนะการครัวไม่อำนวย ไม่พร้อม นั่นเอง

กล้วยที่ใช้ในการเชื่อมออกมาสวยและมีสีแดง ก็ต้องเป็นกล้วยพันธุ์มะลิอ่องและกล้วยนวล
เนื่องจากกล้วยทั้งสองสายพันธุ์นี้มีไส้เหลือง มีสารแทนนินในกล้วยมาก เมื่อเชื่อมออกมา
ผิวกล้วยมีสีแดงเข้ม สีสวย และไส้กล้วยเหลืองอร่าม สวยงาม มีความหนึบ กินอร่อยด้วยนะ


 



การเตรียมกล้วย
ล้างกล้วยน้ำว้าทั้งเปลือกให้สะอาด ปอกเปลือก หั่นกล้วยในรูปแบบที่คุณชอบ
หั่นแล้วจะล้างผ่านน้ำเพื่อล้างยางออกก่อนก็ดี ล้างแล้วผ่าครึ่งลูก แล้วหั่นเป็นสี่ชิ้น
หากกล้วยลูกใหญ่มากให้หั่นตามขวางกลม ๆ เป็นวงสามชิ้นตามภาพ ก็สวยงาม 

หมายเหตุ - เชื่อมด้วยกล้วยห่ามก็ไม่ควรแช่น้ำปูนใส เชื่อมออกมาเนื้อกล้วยแข็งเกิน
ถ้าเป็นกล้วยนิ่มๆ ผิวเหลือง กลัวว่าเชื่อมออกมาเนื้อเละและนิ่มเกินไป ควรแช่น้ำปูนใส







ส่วนผสม

 กล้วยเชื่อมแดง (ในหม้อหุงข้าว)
ส่วนประกอบ
น้ำสะอาด 3 ถ้วยตวงข้าว
กล้วยน้ำว้า 1 หวี (ประมาณ 8-10 ลูก)
ใบเตย 3 ใบ มัดรวมกัน
น้ำตาลทราย 12 ช้อนคาว (ช้อนทานข้าว)
น้ำตาลมะพร้าว 3 ช้อนคาว
เกลือป่น 1-2 ช้อนชา
หมอหุงข้าวไฟฟ้า (ชนิดหุงข้าวธรรมดา)

 

วิธีเชื่อมกล้วยในหม้อหุงข้าว
เทน้ำเปล่า 3 ถ้วย (ถ้วยตวงข้าวที่มาพร้อมกับหม้อหุงข้าวไฟฟ้า)
เทน้ำใส่ในหม้อหุงข้าว หรือ เชื่อมในกระทะไฟฟ้าก็ได้นะคะ
ใส่นำน้ำตาลทั้งสองชนิดลงไป ใช้มือขยำให้น้ำตาลมะพร้าวละลายหมด
ใส่กล้วยที่ล้างและหั่นเตรียมไว้ลงไป ปิดฝาหม้อหุงข้าว/กระทะไฟฟ้าก่อน
เสียบปลั๊ก กดปุ่มเปิดไฟ (ฉันใช้หม้อหุงข้าวธรรมดา ไม่มีโปรแกรมใดๆ)

การเชื่อมในหม้อหุงข้าว ไม่สามารถลดไฟหรือเพิ่มกำลังไฟได้แบบเชื่อมบนเตาถ่าน
หรือเชื่อมกับเตาแก๊ส ฉะนั้นควรต้องปิดฝาหม้อแล้วเชื่อมกันแบบระยะเวลายาวไปเลย

ฉันใช้นาฬิกาตั้งเวลา ตอนแรกตั้งไว้ก่อน 30 นาที แล้วหมั่นเปิดหม้อดูเพื่อช้อนฟองดำๆ
ยางกล้วยตรงส่วนหน้าออกทิ้งในช่วงแรก เมื่อช้อนฟองดำทิ้งหมดและไม่มียางดำแล้ว
ปิดฝาหม้อ เชื่อมต่อไปแบบยาว ๆ โดนนานครั้งมาเปิดฝาหม้อเพื่อพลิกกลับชิ้นกล้วย







ระหว่างเชื่อมหมั่นเปิดฝาหม้อดูด้วย ช้อนเอาฟองดำ ๆ บนผิวหน้าออกทิ้ง
จากนี้ก็ใช้ไม่ไผ่ปลายแหลมค่อย ๆ เขี่ยชิ้นกล้วยพลิกกลับไปกลับมา หรือ
ใช้ไม้พายหรือทัพพีคนกล้วยจากด้านล่างขึ้นมาด้านบนเพื่อให้กล้วยสุกทั่ว







เมื่อครบ 60 นาทีที่ตั้งนาฬิกาไว้ มาเปิดฝาหม้อหุงข้าวเพื่อเช็กดูว่าสีกล้วยถูกใจเราหรือยัง
ขั้นตอนนี้ให้บีบน้ำมะนาวลงไป ใส่น้ำมะนาวเพื่อไม่ให้น้ำตาลตกผลึกหรือเป็นเกล็ดจากการ
ใส่น้ำตาลทรายและน้ำมะนาวแล้ว ปิดฝาหม้อ ฉันต่อเวลาเชื่อมออกไปอีกประมาณ 10 นาที

เมื่อครบเวลา ได้สีกล้วยแดงสมใจ น้ำตาลงวดลงจนเข้มข้นถูกใจแล้ว ปิดไฟหม้อหุงข้าวได้
การปิดไฟหม้อหุงข้าว ต้องดึงปลั๊กออกด้วย ไม่เช่นนั้นมันจะยังอยู่ในโหมดขั้นตอนการอุ่น
น้ำเชื่อมยังคงเดือดปุด ๆ แต่ถ้าอยากเชื่อมต่อเพื่อให้น้ำเชื่อมเข้มข้น ก็ไม่ต้องดึงปลั๊กออก





 
เป็นอันเสร็จสิ้นการเชื่อมกล้วยแบบฉบับ "เด็กหอ" คือ การเชื่อมกล้วยในหม้อหุงข้าว หรือเชื่อมในกระทะไฟฟ้า ผลที่ได้ออกมาไม่ต่างจากการเชื่อมกล้วยด้วยเตาถ่านหรือเตาแก๊ส
ออกมาสีแดงเข้มสวยงาม มีสีแดงเข้มจากสาร(แทนนิน)ในเนื้อกล้วยพันธุ์มะลิอ่อง นั่นเอง  
 












ใครชอบทานกล้วยเชื่อมราดกะทิ ระหว่างเชื่อมก็ไปเคี่ยวหัวกะทิราดกล้วยเตรียมไว้ด้วย
แต่มนุษย์ที่บ้านไม่ชอบกล้วยแดงราดน้ำกะทิ แต่ถ้าเป็นกล้วยไข่เชื่อม กล้วยหักมุกเชื่อม
กลับชอบแบบราดน้ำกะทิโชก ๆ ตั้งหัวกะทิให้เดือด ถ้าชอบแบบข้นๆ ก็ต้องใส่แป้งด้วย






 
สารแทนนิน (Tanin) ในกล้วยพันธุ์มะลิอ่อง เชื่อมออกมาไส้กล้วยเหลือง
มองเห็นเส้นใยกล้วยชัดเจน ยิ่งถ้าแช่น้ำปูนใส จะยิ่งเห็ดเด่นชัด สวยงาม








ออกมาดีงามเยี่ยงนี้ ต่อนี้ไปนังช้อยจะเชื่อมกล้วยในหม้อหุงข้าวแล้วนะเจ้าคะ 







Create Date : 15 กันยายน 2564
Last Update : 18 พฤษภาคม 2565 14:25:30 น. 0 comments
Counter : 6199 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณทนายอ้วน, คุณDiana Grace Monroe, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณhaiku, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณSweet_pills, คุณอุ้มสี


บ่งบ๊ง
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1911 คน [?]




ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่บ้านแห่งความสุขค่ะ วันทั้งวันหมกมุ่นแต่เรื่องทำกิน ทั้งวี่ทั้งวันวุ่นวายแต่เรื่องในครัว เรื่องสังสรรค์เฮฮาพอมีประปราย

ยินดีต้อนรับทุกท่านที่แวะมาเยือน นำพามาซึ่งความสุขและสิ่งดีงามมีสาระ มาร่วมแชร์ความคิดเห็น นำเสนอเรื่องราวการทำอาหารและขนม รวมถึงเทคนิคต่าง ๆ แบบไม่ปิดบังซ่อนเล้น มีความสุขกับการเข้าครัวในทุกวัน ซึ่งถือเป็นการคลายเครียดอีกทั้งจรรโลงโลกใบนี้ให้น่าอยู่และงดงามตราบนานเท่านาน ....



เมี่ยงคำกลีบบัว

หมี่กรอบโบราณ

น้ำจิ้มเมี่ยงคำ

เมี่ยงมะม่วง

ยำส้มโอ

ข้าวตังหน้าตั้ง

กระทงทอง

มัสมั่นไก่และเนื้อ

เนื้ออบสูตรประจำตระกูล

ปีกไก่ทอดซีอิ้ว

กล้วยเชื่อมแดง

ไก่อบเกือบจะ S&P

Filipino Chicken Adobo

ซอสเย็นตาโฟในตำนาน

น้ำจิ้มสุกี้ชาบูเลอเลิศ

น้ำพริกสะระแหน่-น้ำจิ้มลุยสวน

น้ำจิ้มชนิดต่างๆ

ซอสเทอริยากิ

ไข่ตุ๋นเนื้อเนียน

Mango Cheese Cake

Strawberry Cheese Cake

Cheese Pie

New York Cheese Cake

เค้กมะตูมสูตรอร่อย

เค้กอินทผลัม Dates Cake

ปลาทูต้มเค็ม

ไข่พะโล้-ต้มเค็มพะโล้-ก๋วยจั๊บ

ข้าวหน้าไก่สูตรเด็ด

บะหมี่หน้าไก่

อุ๊กไก่-ไก่พม่า

ซุปไก่มุสลิม

ผักดอง-Veggies Chutney

ครองแครงกรอบสูตรประจำตระกูล

กุ้งหวานบ้านฉัน

เค้กกล้วยน้ำว้า

หลนกุ้ง

กะปิคั่ว-กะปิหลน

Friends' blogs
[Add บ่งบ๊ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.