Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2556
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
27 มิถุนายน 2556
 
All Blogs
 
walk in the rain ฝนเอยฝนตก



ขอคุยด้วยนิดหน่อย ... อัพบล็อกหมวดวิทยาศาสตร์ เร็วกว่าทุกครั้ง... ด้วยว่ารู้สึกเหนื่อยๆอ่อนใจ... กับการจากไปของเพื่อน... คุณท่านขุนฯรู้สึกเสียใจมากๆปกติจะเป็นคนเสียน้ำตายากเย็นนับครั้งได้... เดือนสองเดือนนี้สูญเสียคนที่รู้จักรักใคร่ติดๆกันไปสองท่าน... ก็ตามประสามนุษย์ที่ยังไม่หมดกิเลส...มันก็เศร้าและจิตตกเป็นธรรมดา...

  ส่วนบล็อกวันนี้เป็นเรื่องของฝนขอรับ... ตั้งชื่อบล็อกซะหรู ... หากเข้ามาแล้ว... อาจจะเป็นเรื่องไม่ค่อยสนุกนัก...นอกท่านที่ชอบอ่านเพื่อประดับความรู้...หรือเหมาะสำหรับท่านที่ชอบคิดหรือสงสัย..ทำไม่ฝนมันจึงตก????และภาพประกอบก็ไม่เกียวกับเนื้อหาบล็อกนัก..แต่ก็เพื่อความสวยงาม เพื่อความบันเทิง ก็ว่าได้...งั้นตามมาอ่านสาระของบล็อกเถอะขอรับ ....


ลักษณะของการเกิดฝน

  ฝนชนิดต่างๆ จัดแบ่งตามสาเหตุที่ทำให้เกิดฝน คือ

1.   ฝนเกิดจากการพาความร้อน (convective storm) มวลอากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น


2.   ฝนภูเขา (orographic storm) มวลอากาศที่อุ้มไอน้ำพัดจากทะเล ปะทะภูเขา จะลอยตัวสูงขึ้น


3.   ฝนพายุหมุน (cyclonic storm) ความกดอากาศสูงเคลื่อนไปสู่บริเวณความกดอากาศต่ำ

มวลอากาศในบริเวณความกดอากาศต่ำลอยตัวสูงขึ้น


4.   ฝนในแนวอากาศ (frontal storm) มวลอากาศร้อนปะทะมวลอากาศที่มีอุณหภูมิเย็น มวลอากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น


ลักษณะของข้อมูลฝน

1. ปริมาตร - ช่วงเวลา - ความถี่ของฝน ( Volume - Dulation - Frequency: VDF )

- ปริมาตร (volume) ปริมาณน้ำฝนทั้งหมดตลอดช่วงเวลาที่ฝนตก

- ช่วงเวลา (dulation) เป็นความยาวนานของฝนที่ตกครั้งหนึ่ง ๆ

- ความถี่ของฝน (frequency) เหตุการณ์ที่ฝนจะมีช่วงเวลาการตกและปริมาณเท่ากับครั้งนั้น ๆ เกิดขึ้นบ่อย

แค่ไหน

2. ความเข้ม - ระยะเวลาการตก - ความถี่ ( Intensity - Duration - Frequency: IDF )

การเลือกปริมาณน้ำฝนเพื่อใช้ในการออกแบบทางอุทกวิทยามักเลือกจากโค้งความสัมพันธ์ระหว่าง

ความเข้มฝน ระยะเวลาการตก และความถี่ในการเกิด

สมการทางคณิตศาสตร์ของโค้ง IDF ( Mathematical Representation of IDF curve )



โดยที่



i           : ความเข้มฝน (ความลึกต่อเวลา)

       : ช่วงระยะเวลาการตกของฝน (เวลา)

a, b      : ค่าคงที่เฉพาะของแต่ละพื้นที่และรอบปีการเกิดซ้ำ


ในการเลือกใช้ต้องกำหนดความถี่ในการเกิดของฝนหรือรอบปีการเกิดซ้ำ และช่วงระยะเวลาการตกของฝน

- โดยจะพิจารณารอบปีการเกิดซ้ำมาก (มีโอกาสเกิดน้อย) หากสิ่งที่ออกแบบมีความสำคัญหรือมีความเสียหายรุนแรง

หากปริมาณน้ำมีค่ามากกว่าที่ออกแบบไว้

- ส่วนระยะเวลาการตกของฝนจะพิจารณาเท่ากับ time of concentration (ระยะเวลาที่น้ำจากจุดไกลสุดของพื้นที่

ไหลมาถึงทางออก ซึ่งจะเป็นเวลาที่ทำให้เกิดปริมาณการไหลสูงสุด)





ฝนตกเกิดจาก น้ำโดนความร้อนของแสงจากดวงอาทิตย์หรือความร้อนอื่นใดที่ใช้ในการต้มน้ำ จนทำให้ระเหยกลายเป็นไอน้ำ ลอยขึ้นไปในอากาศ เมื่อไอน้ำมากขึ้นจะรวมตัวกันเป็นละอองน้ำเล็กๆ ปริมาณของละอองน้ำยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆก็จะรวมตัวกันเป็นเมฆฝน พอมากเข้าอากาศไม่สามารถพยุงละอองน้ำเหล่านี้ต่อไปได้ น้ำก็จะหล่นลงมายังผืนโลกให้เราเรียกขานกันว่าฝนตก วัฏจักรของน้ำที่เกิดขึ้น เป็นอย่างนี้มาตลอดตั้งแต่โลกใบกลมของเราเกิดขึ้นมา และคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆชั่วกัปกัลป์


ฝนที่ตกลงมานั้นเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของวัฏจักรของอุทกวิทยา ซึ่งน้ำจากผิวน้ำในมหาสมุทรระเหยกลายเป็นไอ ควบแน่นเป็นละอองน้ำในอากาศ ซึ่งรวมตัวกันเป็นเมฆ และในที่สุดตกลงมาเป็นฝน ไหลลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง ไปสู่ทะเล มหาสมุทร และวนเวียนเช่นนี้เป็นวัฏจักรไม่สิ้นสุด 


ปริมาณน้ำฝนนั้นวัดโดยใช้ มาตรวัดน้ำฝน โดยเป็นการวัดความลึกของน้ำที่ตกลงมาสะสมบนพื้นผิวเรียบ สามารถวัดได้ละเอียดถึง 0.25 มิลลิเมตร หรือ 0.01 นิ้ว บางครั้งใช้หน่วย ลิตรต่อตารางเมตร (1 L/m? = 1 mm) 






เกิดจากอนุภาคของไอน้ำขนาดต่างๆในก้อนเมฆเมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้นจนไม่สามารถลอยตัวอยู่ในก้อนเมฆได้ก็จะตกลงมาเป็นฝน ฝนจะตกลงมายังพื้นดินได้นั้นจะต้องมีเมฆเกิดในท้องฟ้าก่อน เมฆมีอยู่หลายชนิด มีเมฆบางชนิดเท่านั้นที่ทำให้มีฝนตก เราทราบแล้วว่าไอน้ำจะกลั่นตัวเป็นเมฆก็ต่อเมื่อมีอนุภาคกลั่นตัวเล็กๆอยู่เป็นจำนวนมากเพียงพอและไอน้ำจะเกาะตัวบนอนุภาคเหล่านี้รวมกันทำให้เกิด เป็นเมฆ เมฆจะกลั่นตัวเป็นน้ำฝนได้ก็ต้องมีอนุภาคแข็งตัว(Freezing nuclei) หรือเม็ดน้ำขนาดใหญ่ซึ่งจะดึงเม็ดน้ำขนาดเล็กมารวมตัว กันจนเป็นเม็ดฝน สภาวะของน้ำที่ตกลงมาจากท้องฟ้าอาจเป็นลักษณะของฝน,ฝนละอองหิมะหรือลูกเห็บซึ่งเรารวมเรียกว่าน้ำฟ้าจะตกลง มาในลักษณะไหนขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศในพื้นที่นั้นๆ น้ำฟ้าต้องเกิดจากเมฆ ไม่มีเมฆไม่มีน้ำฟ้าแต่เมื่อมีเมฆไม่จำเป็นต้องมีน้ำฟ้า เสมอไปเพราะเมฆหลายชนิดที่่ลอยอยู่เฉยๆไม่ตกลงมา มีเมฆบางชนิดเท่านั้นที่ทำให้เกิดน้ำฟ้า 




โดยปกติแล้ว ฝนจะมีค่า pH ต่ำกว่า 6 เล็กน้อย เนื่องมาจากการรับเอาคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเข้ามาซึ่งทำให้ส่งผลเป็นกรดคาร์บอนิก ในพื้นที่ที่เป็นทะเลทรายนั้นฝุ่นในอากาศจะมีปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตสูง ซึ่งส่งผลต่อต้านความเป็นกรด ทำให้ฝนนั้นมีค่าเป็นกลาง หรือ แม้กระทั่งเป็นเบส ฝนที่มีค่า pH ต่ำกว่า 5.6 นั้นถึอว่าเป็น ฝนกรด (acid rain) 




  • บล็อกหมวด"วิทยาศาสตร์"นะขอรับ... 

..........................

ขอบคุณพิเศษ //pirun.ku.ac.th/



Create Date : 27 มิถุนายน 2556
Last Update : 27 มิถุนายน 2556 8:09:55 น. 11 comments
Counter : 4645 Pageviews.

 
มาอ่านเรื่องราวของการเกิดฝน
เป็นแบบนี้นี่เอง ตอนเรียนพอรู้มาบ้งค่ะ
แต่ไม่ละเอียดแบบนี้
ช่วงนี้ตกได้ตกดี ทุกวัน บางวันตกตั้งแต่เช้ายันเย็น

โหวตให้ข้อมูลความรู้ดีๆค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กะว่าก๋า Literature Blog ดู Blog
อุ้มสี Dharma Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 3 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

ขอแสดงความเสียใจเรื่องเพื่อนท่านขุนด้วยนะคะ
เค้าไปสบายแล้วค่ะ



โดย: mambymam วันที่: 27 มิถุนายน 2556 เวลา:9:02:26 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลมากๆค่ะ ท่านขุน ^^
บล็อคความรู้ต้องสรรหาอ่านค่ะ จะได้เพิ่มความรู้ยิ่งขึ้น
ชอบอ่านหลักการวิทยาศาสตร์ด้วย ขอบคุณมากๆนะคะ

เรื่องธรรมดาโลกค่ะ อย่าคิดมากเลยนะคะ มีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีจากไป เป็นเรื่องธรรมชาติ

รักษาสุขภาพด้วยนะคะ ^^



โดย: lovereason วันที่: 27 มิถุนายน 2556 เวลา:12:45:39 น.  

 
เสียใจด้วยนะคะ ท่านขุน
เวลาที่เราเสียของรักไปก็มักจะเศร้า เสียใจเป็นธรรมดา แต่อย่าอยู่กับความเศร้านานนะคะ ยังไงก็กลับไปแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว เพราะมันเป็นอดีตไปแล้ว ต้องทำใจยอมรับให้ได้
ขอให้ท่านขุนผ่านช่วงเวลานี้ไปอย่างเข้มแข็งนะคะ
เป็นกำลังใจให้เสมอค่ะ


โดย: ประกายพรึก วันที่: 27 มิถุนายน 2556 เวลา:22:26:24 น.  

 


หกล้มหกลุกรีบมาทักทายสบายดีนะค้า


โดย: แม่อ้วนคนสวย วันที่: 28 มิถุนายน 2556 เวลา:10:48:57 น.  

 
สวัสดีค่ะท่านขุน
ไม่ชอบหน้าฝนเลย
กลัวน้ำท่วม และรถติด
Happy Friday

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 3 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: pantawan วันที่: 28 มิถุนายน 2556 เวลา:15:23:27 น.  

 
ความรู้จังเลยอ่ะค่ะ แต่จะแชร์จะไลค์ก้อไม่ไ้ด้แระ
เพราะออกเฟชมาแล้ว
ขอติดไว้ก่อนนะคะ
ขอบคุณสำหรับการติดตามค่ะ
ฉัตรขอตามมั่งนะ อิอิ


โดย: ณ ปลายฉัตร วันที่: 28 มิถุนายน 2556 เวลา:16:33:45 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ

ขอแสดงความเสียใจด้วจ้า แต่สักวันนึงก็ถึงคิวเรานะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต

ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog




โดย: หอมกร วันที่: 28 มิถุนายน 2556 เวลา:20:49:48 น.  

 
สวัสดีค่ะท่านขุน ขอบคุณภาพทักทายสวยๆนะคะ
และขอบคุณคะแนนด้วย

เทคแคร์ค่ะ



โดย: mambymam วันที่: 29 มิถุนายน 2556 เวลา:11:39:51 น.  

 
เสียใจด้วยนะคะ...


โดย: จะงอนฯ วันที่: 29 มิถุนายน 2556 เวลา:15:19:01 น.  

 
ทำไม่ฝนมันจึงตก??
เพราะกบมันร้องหรือป่าวค่ะท่านขุน
แอบตลกอีกแล้ว อิอิ

เรื่องฝนตกมีข้อมูลที่ปอยไม่ทราบอีกเยอะเลยค่ะ
หลังจากได้อ่านรายละเอียดแล้ว เพิ่งจะถึงบางอ้อค่ะ
ที่ผ่านมาก็พอที่จะรุ้แบบงูๆ ปลาๆ คิดว่าเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ
แต่พออ่านแล้วถึงได้รู้ความเป็นมาอย่างชัดเจนค่ะ


สุดท้ายนี้ปอยขอแสดงความเสียใจต่อผู้ที่จากไปด้วยนะคะ
เกิดแก่เจ็บตายเป็นเรื่องธรรมชาติที่ทุกคนหลีกหนีกันไม่พ้น
คิดว่าท่านไปสุขสบายแล้ว ท่านขุนอย่าได้เสียใจไปเลยนะคะ



โดย: แค่ได้รู้จัก_ก็เพียงพอ วันที่: 29 มิถุนายน 2556 เวลา:18:45:24 น.  

 
สวัสดีค่ะท่านขุน
เสียใจกับการจากไปด้วยค่ะ




โดย: pantawan วันที่: 29 มิถุนายน 2556 เวลา:20:21:24 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.