Group Blog
 
<<
เมษายน 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
20 เมษายน 2556
 
All Blogs
 
ส่องดูวัตถุที่มีขนาดเล็ก...กล้องจุลทรรศน์

 กล้องจุลทรรศน์ เป็นอุปกรณ์สำหรับมองดูวัตถุที่มีขนาดเล็กเกินกว่ามองเห็นด้วยตาเปล่า ศาสตร์ที่มุ่งสำรวจวัตถุขนาดเล็กโดยใช้เครื่องมือดังกล่าวนี้ เรียกว่า จุลทรรศนศาสตร์

ชนิดของกล้องจุลทรรศน์

กล้องจุลทรรศน์สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 2 ประเภท คือ กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (Optical microscopes) และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน(Electron microscopes)

กล้องจุลทรรศน์ชนิดที่พบได้มากที่สุด คือชนิดที่ประดิษฐ์ขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกว่า กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (optical microscope) เป็นอุปกรณ์ใช้แสงอย่างหนึ่ง มีเลนส์อย่างน้อย 1 ชิ้น เพื่อทำการขยายภาพวัตถุที่วางในระนาบโฟกัสของเลนส์นั้นๆ

กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง

    Light microscope เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่พบอยู่ทั่วไป โดยเวลาส่องดูจะเห็นพื้นหลังเป็นสีขาว และจะเห็นเชื้อจุลินทรีย์มีสีเข้มกว่า


    Stereo microscope เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่ส่องดูสิ่งมีชีวิตที่ไม่เล็กมาก ส่องดูเป็น3มิติ ส่วนใหญ่จะใช้ในการศึกษาแมลง


    Dark field microscoe เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่มีพื้นหลังเป็นสีดำ เห็นเชื้อจุลินทรีย์สว่าง เหมาะสำหรับใช้ส่องจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็ก ที่ติดสียาก


    Phase contrast microscope ใช้สำหรับส่องเชื้อจุลินทรีย์ที่ยังไม่ได้ทำการย้อมสี จะเห็นชัดเจนกว่า Light microscope


    Fluorescence microscope ใช้แหล่งกำเนิดแสงเป็น อัลตราไวโอเลต ส่องดูจุลินทรีย์ที่ย้อมด้วยสารเรืองแสง ซึ่งเมื่อกระทบกับแสง UV จะเปลี่ยนเป็นแสงช่วงที่มองเห็นได้ แล้วแต่ชนิดของสารที่ใช้ พื้นหลังมักมีสีดำ


กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน



กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (Electron microscope) เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังการขยายสูงมาก เพราะใช้ลำแสงอิเล็กตรอนแทนแสงปกติและใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าแทนเลนส์แก้ว เป็นกล้องที่ใช้ในการศึกษาโครงสร้าง และส่วนประกอบของเซลล์ ได้อย่างละเอียด ที่กล้องชนิดอื่นไม่สามารถทำได้ มีกำลังขยาย 1,600เท่า

ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์

    ฐาน (Base) เป็นส่วนที่ใช้วางบนโต๊ะ ทำหน้าที่รับน้ำหนักทั้งหมดของกล้องจุลทรรศน์ มีรูปร่างสี่เหลี่ยม หรือวงกลม ที่ฐานจะมีปุ่มสำหรับปิดเปิดไฟฟ้า

    แขน (Arm) เป็นส่วนเชื่อมตัวลำกล้องกับฐาน ใช้เป็นที่จับเวลาเคลื่อนย้ายกล้องจุลทรรศน์


ลำกล้อง (Body tube) เป็นส่วนที่ปลายด้านบนมีเลนส์ตา ส่วนปลายด้านล่างติดกับเลนส์วัตถุ ซึ่งติดกับแผ่นหมุนได้ เพื่อเปลี่ยนเลนส์ขนาดต่าง ๆ ติดอยู่กับจานหมุนที่เรียกว่า Revolving Nosepiece

  ปุ่มปรับภาพหยาบ (Coarse adjustment) ทำหน้าที่ปรับภาพโดยเปลี่ยนระยะโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุ (เลื่อนลำกล้องหรือแท่นวางวัตถุขึ้นลง) เพื่อทำให้เห็นภาพชัดเจน

    ปุ่มปรับภาพละเอียด (Fine adjustment) ทำหน้าที่ปรับภาพ ทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้น

 เลนส์ใกล้วัตถุ (Objective lens) เป็นเลนส์ที่อยู่ใกล้กับแผ่นสไลด์ หรือวัตถุ ปกติติดกับแป้นวงกลมซึ่งมีประมาณ 3-4 อัน แต่ละอันมีกำลังบอกเอาไว้ เช่น x3.2, x4, x10, x40 และ x100 เป็นต้น ภาพที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุเป็นภาพจริงหัวกลับ

    เลนส์ใกล้ตา (Eye piece) เป็นเลนส์ที่อยู่บนสุดของลำกล้อง โดยทั่วไปมีกำลังขยาย 10x หรือ 15x ทำหน้าที่ขยายภาพที่ได้จากเลนส์ใกล้วัตถุให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดภาพที่ตาผู้ศึกษาสามารถมองเห็นได้ โดยภาพที่ได้เป็นภาพเสมือนหัวกลับ

    เลนส์รวมแสง (Condenser) ทำหน้าที่รวมแสงให้เข้มขึ้นเพื่อส่งไปยังวัตถุที่ต้องการศึกษา

    กระจกเงา (Mirror) ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟภายในห้องให้ส่องผ่านวัตถุโดยทั่วไปกระจกเงามี 2 ด้าน ด้านหนึ่งเป็นกระจกเงาเว้า อีกด้านเป็นกระจกเงาระนาบ

สำหรับกล้องรุ่นใหม่จะใช้หลอดไฟเป็นแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งสะดวกและชัดเจนกว่า
    ไดอะแฟรม (Diaphragm) อยู่ใต้เลนส์รวมแสงทำหน้าที่ปรับปริมาณแสงให้เข้าสู่เลนส์ในปริมาณที่ต้องการ


    แท่นวางวัตถุ (Speciment Stage) เป็นแท่นใช้วางแผ่นสไลด์ที่ต้องการศึกษา


    ที่หนีบสไลด์ (Stage Clip) ใช้หนีบสไลด์ให้ติดอยู่กับแท่นวางวัตถุ ในกล้องรุ่นใหม่จะมี Mechanical stage แทนเพื่อควบคุมการเลื่อนสไลด์ให้สะดวกยิ่งขึ้น


    จานหมุน (Revolving nosepiece)  ใช้หมุนเมื่อต้องการเปลี่ยนกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ





  • ประวัติ

สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เดิมใช้เพียงแว่นขยายและเลนส์อันเดียวส่องดู คงเช่นเดียวกับการใช้แว่นขยายส่องดูลายมือ ในระยะต่อมา กาลิเลอิ กาลิเลโอ ได้สร้างแว่นขยายส่องดูสิ่งมีชีวิตเล็กๆในราวปี พ.ศ. 2153

ในช่วงปี พ.ศ. 2133 ช่างทำแว่นตาชาวฮอลันดาชื่อ แจนเสนประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์ประกอบ ประกอบด้วยแว่นขยายสองอัน

ในปี พ.ศ. 2208 โรเบิร์ต ฮุก ได้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์ประกอบที่มีลำกล้องรูปร่างสวยงาม ป้องกันการรบกวนจากแสงภายนอกได้ และไม่ต้องถือเลนส์ให้ซ้อนกัน (ดูภาพในกล่องข้อความประกอบ) เขาส่องดูไม้คอร์กที่ฝานบางๆ แล้วพบช่องเล็กๆมากมาย เขาเรียกช่องเหล่านั้นว่าเซลล์ ซึ่งหมายถึงห้องว่างๆ หรือห้องขัง เซลล์ที่ฮุกเห็นเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว เหลือแต่ผนังเซลล์ของพืชซึ่งแข็งแรงกว่าเยื่อหุ้มเซลล์ในสัตว์ จึงทำให้คงรูปร่างอยู่ได้ ฮุกจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ตั้งชื่อเซลล์


ในปี พ.ศ. 2215 แอนโทนี แวน เลเวนฮุค ชาวฮอลันดา สร้างกล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์เดียวจากแว่นขยายที่เขาฝนเอง แว่นขยายบางอันขยายได้ถึง 270 เท่า เขาใช้กล้องจุลทรรศน์ตรวจดูหยดน้ำจากบึงและแม่น้ำ และจากน้ำฝนที่รองไว้ในหม้อ เห็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆมากมายนอกจากนั้นเขายังส่องดูสิ่งมีชีวิตต่างๆ เช่น เม็ดเลือดแดง, เซลล์สืบพันธุ์สัตว์ตัวผู้, กล้ามเนื้อ เป็นต้น เมื่อเขาพบสิ่งเหล่านี้ เขารายงานไปยังราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์


ปี พ.ศ. 2367 ดูโธรเชต์ นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสศึกษาเนื้อเยื่อพืช และสัตว์พบว่าประกอบด้วยเซลล์

ปี พ.ศ. 2376 โรเบิร์ต บราวน์ นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นค้นแรกที่พบว่าเซลล์และพืชมีนิวเคลียสเป็นก้อนกลมๆ อยู่ภายในเซลล์

ปี พ.ศ. 2378 นุก นะดือจาร์แดง นักสัตวศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ศึกษาจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ พบว่าภายในประกอบด้วยของเหลวใสๆ จึงเรียกว่า ซาร์โคด ซึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศสมาจากศัพท์กรีกว่า ซารค์ (Sarx) ซึ่งแปลว่าเนื้อ

ปี พ.ศ. 2381 ชไลเดน นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ศึกษาเนื้อเยื่อพืชชนิดต่างๆ พบว่าพืชทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์

ปี พ.ศ. 2382 ชไลเดรและชวาน จึงร่วมกันตั้งทฤษฎีเซลล์ ซึ่งมีใจความสรุปได้ว่า "สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบไปด้วยเซลล์และผลิตภัณฑ์จากเซลล์"

พ.ศ. 2382 พัวกินเย นักสัตวิทยาชาวเชคโกสโลวาเกีย ศึกษาไข่และตัวอ่อนของสัตว์ชนิดต่างๆ พบว่าภายในมีของเหลวใส เหนียว อ่อนนุ่มเป็นวุ้น เรียกว่าโปรโตพลาสซึม


ต่อจากนั้นมีนักวิทยาศาสตร์อีกมากมายทำการศึกษาเกี่ยวกับเซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์ประกอบ และได้พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2475 นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน คืออี.รุสกา และแมกซ์นอลล์ ได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการของกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสงและเลนส์มาใช้ลำอิเล็กตรอน ทำให้เกิดกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนขึ้นในระยะต่อๆมา ปัจจุบันมีกำลังขยายกว่า 5 แสนเท่า





Microscope binoviewers



Stereo-microscope

ขอบคุณพิเศษ วิกิพีเดีย




ศาสตร์ทางโลกทั่วไป ..ผู้ค้นพบทฤษฏีต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่มีความสามารถ มีความเพียรในการทดลองค้นคว้า ลองผิดลองถูกจนกระทั่งประสบความสำเร็จในที่สุด และก็กลายเป็นบุคคลสำคัญของโลกในปัจจุบัน  วิธีการแสวงหาความรู้นั้น มุ่งเน้นหาความรู้ด้วยการค้นคว้าทดลองทางด้านวัตถุเป็นสำคัญ จนก่อให้เกิดการแบ่งแยกเป็นสาขาความรู้แขนงต่างๆมากมาย อย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้


ส่วนวิชาพุทธศาสตร์นั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้สละชีวิตในการค้นคว้าหาความจริงของชีวิต ความจริงของโลกและจักรวาล ด้วยวิธีค้นคว้าทางจิต เจริญสมาธิภาวนาเป็นสำคัญ ความรู้ที่ทรงค้นพบเป็นความรู้ที่บริสุทธิ์และถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ถูกวัตถุประสงค์ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเป็นบุคคลสำคัญเหนือโลก ที่ประเสริฐที่สุดในภพทั้ง3(กามภพ  รูปภพ  อรูปภพ)


โลกไม่อาจขาดดวงอาทิตย์ที่ให้แสงสว่างและให้ความอบอุ่นได้ฉันใด  ชีวิตมนุษย์ย่อมไม่อาจขาดผู้นำซึ่งเป็นผู้รู้อย่างแท้จริง ที่จะคอยเป็นประทีปส่องสว่างนำทางชีวิตของเราให้ดำเนินไปได้อย่างถูกต้องฉันนั้น เพราะหากขาดผู้รู้อย่างแท้จริงมาแนะนำหนทางดำเนินชีวิต  สรรพชีวิตก็จะมืดบอดประดุจคนเดินทางในที่มืดฉะนั้น...ผู้รู้ที่แท้จริงที่จะเกินกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นไม่มี เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ทรงเป็นผู้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งปวง และยังทรงมีพระมหากรุณาอันเปี่ยมล้นที่จะนำพาสรรพสัตว์ทั้งหลายให้ก้าวล่วงพ้นจากวัฏสงสาร ซึ่งเปรียบเสมือนคุกใบใหญ่ที่กักขังสรรพสัตว์เอาไว้ เต็มไปด้วยภยันตรายทุกๆ อนุวินาที





คุยท้ายบล็อกขอรับ

ยังอกสั่นขวัญหายกับการตามล่าผู้ต้องสังสัยในบอสตัน ไม่ได้ขอรับ ... คนพี่เสียชีวิตไปแล้ว ... แลกกันกันชีวิตนายตำรวจไปหนึ่งนาย
ครอบครัว ของนายผู้ต้องสงสัย ออกมาพูด พ่อ บอกว่าให้ลูกออกมามอบตัว พี่สาว ก็ออกมาพูดเล่ารายละเอียด แต่ผู้ต้องสงสัยคนที่สองก็คงเงียบ ... ขณะที่เขียนบล็อกมาถึงตรงนี้ ทีวีก็รายงายข่าวว่าได้ยินเสียปืน ดังขึ้น คาดว่าเดี๋ยวก็คงรู้ว่า..เป็นการยิงเพื่ออะไร ...แต่เมื่อวานจนกระทั้งขณะนี้ บอสตัน เวลาย่ำค่ำเข้าไปแล้ว ....ไม่มีผู้คนออกจากบ้านเลย....


  • บล็อกอยู่หมวด "วิทยาศาสตร์ นะขอรับ



Create Date : 20 เมษายน 2556
Last Update : 20 เมษายน 2556 7:00:18 น. 43 comments
Counter : 5305 Pageviews.

 
ชอบงานวิทยาศาสตร์หรอค่ะ มีน้อยคนจะเขียนเรื่องแบบนี้

ได้ความรู้เยอะเชียวค่ะ

ดูแลสุขภาพด้วยนะค่ะ


โดย: Pikake วันที่: 20 เมษายน 2556 เวลา:10:07:46 น.  

 
เด็กวิทฯเก่า...


โดย: I'm Albert Einstein. (Opey ) วันที่: 20 เมษายน 2556 เวลา:10:24:49 น.  

 
มาส่งกำลังใจให้ท่านขุนค่ะ

ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog

พักผ่อนมากๆนะคะ


โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 20 เมษายน 2556 เวลา:23:44:40 น.  

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 3 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: I'm Albert Einstein. (Opey ) วันที่: 21 เมษายน 2556 เวลา:0:37:22 น.  

 
ได้อ่านแล้วทำให้นึกถึงตอนมอปลายเลยค่ะ เวลามีการทดลองทีใดต้องเป็นคนตั้งกล้องให้เพื่อนดูทุกครั้งเลย


โดย: zanahoria_th วันที่: 21 เมษายน 2556 เวลา:1:40:42 น.  

 
ท่านขุนคงเป็นคนที่เรียนเก่งน่าดูเลยนะคะ
ขยันอ่านหนังสือ ศึกษาค้นคว้า
อีกหน่อยคงได้เป็นดอ๊กเตอร์แน่นอน
เราขอเป็นกำลังใจให้นะคะ

และขอบคุณสำหรับยำใหญ่ค่ะ
เรียนเก่งแล้วยังทำอาหารเก่งอีกด้วย
เอ....หรือว่าทำงานแล้วคะ

ท่านขุนมาตอบเราช้า..แต่ก็มาได้...น่ารักจริงๆเลยยยยย


โดย: Suessapple วันที่: 21 เมษายน 2556 เวลา:2:20:42 น.  

 
แวะเข้ามาอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับกล้องจุลทรรศค่ะ
ปกติในที่ทำงานก็ใช้ประจำค่ะ คุ้นเคยกันดี แต่ก็ไม่ได้ส่องตลอดทุกๆวันหรอกนะ
ใช้แบบ Electron microscope มี 2 แบบค่ะ แบบกำลังขยายต่ำและก็แบบกำลังขยายสูง
ซึ่งมีกำลังขยายตั้งแต่ 10 เท่า ไปจนถึง 40 เท่า ( Low power microscope)
และก็ 50 เท่า ไปจนถึง1000 เท่า (High power microscope)

ถึงจะคุ้นเคยอยูทุกวันที่ทำงาน แต่ก็ไม่ค่อยรู้ลึกลงไปในรายละเอียดของกล้องมากนัก
ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมแบบเจาะลึกนะคะ


โดย: พริ้วไหวไปตามลม วันที่: 21 เมษายน 2556 เวลา:13:55:00 น.  

 
ขอบคุณที่แวะไปทักทายนะคะ
เดาว่า จขบ.ต้องชอบวิทยาศาสตร์แน่ ๆ เลยค่ะ


โดย: เนินน้ำ วันที่: 21 เมษายน 2556 เวลา:17:38:51 น.  

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog

มาโหวตให้กล้องจุลทรรศน์ของท่านขุนฯตามเคยค่ะ


โดย: ดอยสะเก็ด วันที่: 21 เมษายน 2556 เวลา:21:20:38 น.  

 
สวัสดีค่ะท่านขุน
มาอ่านกล้องจุลทรรศน์อย่างละเอียด
และโหวตให้ด้วยนะคะ
ขุนเพชรขุนราม Sciene blog ดู blog


โดย: pantawan วันที่: 21 เมษายน 2556 เวลา:21:39:44 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ

โหวต โหวต โหวต จ้า

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ข้ามขอบฟ้า Home & Gargen Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog



โดย: หอมกร วันที่: 21 เมษายน 2556 เวลา:21:57:53 น.  

 
สำหรับท่านขุนค่ะ

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ข้ามขอบฟ้า Home & Gargen Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
ALDI Food Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 3 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: schnuggy วันที่: 22 เมษายน 2556 เวลา:2:33:48 น.  

 
สวัสดีค่ะ ท่านขุน

เหมือนได้กลับไปนั่งอยู่ในห้องเรียนอีกครั้งเลยค่ะ

...

เหตุการณ์ ความปลอดภัยตอนนี้เป็นอย่างไรบ้างค่ะท่านขุน
สถานการณ์คลี่คลายลงแล้วหรือยังคะ

คนร้ายที่วางระเบิดกรุงบอสตัน ถูกวิสามัญเสียชีวิตไป 1 คน แล้วใช่ไหมคะ
แล้วโรงงานปุ๋ยที่ถูกไฟไหม้ล่ะค่ะ

ขอส่งความห่วงใยมาถึงประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนและท่านขุนด้วยค่ะ



โดย: มัดใจ วันที่: 22 เมษายน 2556 เวลา:10:01:50 น.  

 
เช็คหลังไมค์ด้วยค่ะท่านขุน


โดย: มัดใจ วันที่: 22 เมษายน 2556 เวลา:10:05:05 น.  

 
ขอบคุณสำหรับความรู้ด้านวิทย์ ส่วนตัวไม่ได้ใช้กล้องเลยคะ ใช้แต่กล้องถ่ายรูป เอ่อ...ประมาณนั้น


โดย: Pikake วันที่: 22 เมษายน 2556 เวลา:11:40:49 น.  

 
สวัสดียามใกล้เที่ยง (ของที่นี่) ค่ะ
นึกถึงสมัยเรียนมัธยมปลายเลยค่ะ ต้องตัดรากต้นไม้มาส่อง กับส่องพยาธิตอนเรียนมหาวิทยาลัย กว่าจะหาเจอเล่นเอาเหงื่อแตกเลย
----
อย่าหักโหมมากนะคะ พักผ่อนสายตาบ้างและพักผ่อนร่างกายบ้าง เดี๋ยวจะไม่สบายค่ะ แล้วก็ขอให้สอบได้คะแนนดีๆ สมใจนะคะ
อ่า ยำที่เอามาฝากน่าทานมากเลยค่ะ ว่าแล้วเย็นนี้ก็ไปหาทานมั่งดีกว่า


โดย: ประกายพรึก วันที่: 22 เมษายน 2556 เวลา:11:58:58 น.  

 
สวัสดีค่ะ
ขอบคุณที่แวะทักทายนะคะ ยำใหญ่น่าทานมากค่ะ
สุส่งฝันดีตรงนี้เลยนะคะ


โดย: สุนันยา วันที่: 22 เมษายน 2556 เวลา:20:28:39 น.  

 
แวะมาเยี่ยมยามค่ำ..สวัสดีครับ

โหวต และไลค์ ส่งกำลังใจไปให้ท่านขุนด้วยครับ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog


โดย: **mp5** วันที่: 22 เมษายน 2556 เวลา:20:54:41 น.  

 
สวัสดีค่ะ ท่านขุน

วันนี้บุกบ้านท่านขุนกลางดึกของประเทศไทย

ขอให้งานที่กำลังยุ่ง หายยุ่งไวๆ นะคะ




โดย: มัดใจ วันที่: 23 เมษายน 2556 เวลา:0:24:43 น.  

 
ภาพในกล่องคอมเม้นท์อยู่ไกลจากบ้านเรามากค่ะ
ช่วงนั้นเราชอบเที่ยวตระเวณถ่ายรูปค่ะ



โดย: Suessapple วันที่: 23 เมษายน 2556 เวลา:1:40:07 น.  

 
สวัสดี สวัสดี ขอรับ

เจ้ากล้องตัวนี้และขอรับ

ผมมีโอกาสได้สัมผัส 2-3 ครั้งในชีวิต

ในชั่วโมงเรียน วิทยาศาสตร์

ซึ่งนักเรียนมีจำนวนมากสี่สิบกว่าคน

จึงต้องสลับกันส่อง "คลอโรฟิลล์"

เด็ก ๆ ผมตื่นเต้นมากขอรับที่ได้ส่องดู

วัตถุผ่านกล้องชนิดนี้


โดย: อยากบอกว่าหลง วันที่: 23 เมษายน 2556 เวลา:4:36:38 น.  

 
โหวต ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
สวัสดียามเช้าเมืองไทย ร้อนๆ ครับ ท่านขุน
ทางโน้นหิมะตก เมืองไทยร้อนสุดๆ


โดย: เศษเสี้ยว วันที่: 23 เมษายน 2556 เวลา:8:09:23 น.  

 
แวะเข้ามาชมครับได้รับความรู้มากมาย




โดย: เถาตำลึง วันที่: 23 เมษายน 2556 เวลา:8:18:07 น.  

 
วันนี้อากาศครึ้มๆ ไม่รู้เหมือนกันรึป่าว ยังไงก็รักษาสุขภาพด้วยนะค๊าบ

ด้วยความห่วงใยจากน้องสตางค์


โดย: Koe-Usa วันที่: 23 เมษายน 2556 เวลา:12:45:12 น.  

 
พูดได้คำเดียวค่ะว่าต้องขอบคุณผู้ประดิษฐ์กล้องจุลทัศน์
ไม่งั้นโลกกเราก็คงไม่เจริญรุดหน้าขนาดนี้
โดยเฉพาะวงการแพทย์และชีววิทยา

ขอบคุณที่มอบความรู้เป็นวิทยาทานนะคะ
ให้อะไรไม่ประเสริฐเท่ากับการให้ความรู้
อย่างที่ในหลวงทรงตรัสไว้ว่า
"เราให้ปลาแก่เขา เขาก็กินได้ไม่นาน
แต่หากเราสอนให้เขาจับปลา เขาจะมีกินไปตลอดชีวิต"



ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog





โดย: ฝากเธอ2 วันที่: 23 เมษายน 2556 เวลา:13:20:56 น.  

 
แวะมาเยี่ยมค่ะ จะมาดูด้วยว่าอัพบล็อคใหม่หรือยัง ยังไม่มีก็เลยกดlike ให้แทนค่ะ


โดย: ดอยสะเก็ด วันที่: 23 เมษายน 2556 เวลา:23:08:07 น.  

 
สวัสดีค่ะ ท่านขุน

อย่าทำงานเพลินจนลืมพักผ่อนนะคะ



โดย: มัดใจ วันที่: 24 เมษายน 2556 เวลา:0:29:45 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ค่ะ
ขอบคุณสำหรับโหวตที่บล็อกนะคะ


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
schnuggy Klaibann Blog ดู Blog
**mp5** Dharma Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 3 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: พริ้วไหวไปตามลม วันที่: 24 เมษายน 2556 เวลา:6:45:47 น.  

 
สวัสดียามเช้าที่เมืองไทยค่ะท่านขุน
ที่นี่คงเป็นช่วงค่ำแล้วมั้งคะ มาส่งเข้านอนค่ะ
หลับฝันดีนะคะ ^_^




โดย: ฝากเธอ วันที่: 24 เมษายน 2556 เวลา:10:00:15 น.  

 


ในวันเหงาๆ ในวันเหนื่อยๆ ในวันท้อแท้

ยังมีกำลังใจ จากทางนี้ ส่งให้เสมอนะค่ะ

เป็นกำลังใจ ให้สำหรับ คนไกลบ้าน

สำหรับวันนี้ หลับฝันดี นะค่ะ

ไม่ได้แวะ มาหลายวัน สบายดีนะ

ยิ้มไว้ ไม่ทุกข์ สนุกดีนะค่ะ


โดย: Pikake วันที่: 24 เมษายน 2556 เวลา:21:12:24 น.  

 
สวัสดียามค่ำคืนครับ

ขอขอบคุณสำหรับโหวตให้ที่บล็อกด้วย นะครับ


โดย: **mp5** วันที่: 24 เมษายน 2556 เวลา:21:51:37 น.  

 
สวัสดีค่ะท่านขุน
ยกผลไม้จากบล็อคมาฝากค่ะ



ยังอยู่หมวดกล้องเหรอ
ตั้งใจมาโหวต แต่ไม่ได้ค่ะ


ขออภัยค่ะ ระบบจะไม่บันทึกการโหวตนี้
เพราะได้บันทึกคะแนนโหวตให้ Blog นี้
ในสาขา Science Blog ในวันที่ผ่านมาไปแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
mastana Literature Blog ดู Blog


โดย: pantawan วันที่: 25 เมษายน 2556 เวลา:0:14:59 น.  

 
สวัสดีค่ะ ท่านขุน

ท่านขุนสบายดีนะคะ


โดย: มัดใจ วันที่: 25 เมษายน 2556 เวลา:8:40:16 น.  

 
ท่านขุนสวัสดีค่ะ

เพื่อนรุ่นน้องอยู่บอสตัน รีบส่งข่าวบอกกล่าว ว่าปลอดภัย สังคมมนุษย์ถึงเราไม่ทำอะไรใคร ก็อาจโดนลูกหลงได้ อยู่ยากขึ้นนะคะ

ขอพระคุ้มครองค่ะ ท่านขุน


โดย: แม่อ้วนคนสวย วันที่: 25 เมษายน 2556 เวลา:8:55:41 น.  

 
ได้ความรู้จากเด็กวิทย์มากมายค่ะ.....ที่ Lab ใช้กันทุกวัน อ่านแล้วคงอินต์ไปด้วย ^^ อิๆๆ


โดย: auau_py วันที่: 25 เมษายน 2556 เวลา:9:41:51 น.  

 
ขอบใจที่แวะไปทักทายกันจ้า



โดย: หอมกร วันที่: 25 เมษายน 2556 เวลา:21:50:04 น.  

 
สวัสดีวันสีฟ้า(ที่เมืองไทย)ค่ะท่านขุน

สงสัยเวลานี้คงเข้านอนแล้ว
พรุ่งนี้เช้าวันศุกร์ตื่นมาพบวันใหม่ด้วยความสดชื่นนะคะ
ขอบคุณมากค่ะที่แวะไปฟังเพลงและโหวตให้ด้วย

สุขสันต์วันสีฟ้านะคะ




โดย: ฝากเธอ2 วันที่: 26 เมษายน 2556 เวลา:12:45:43 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Technology Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 3 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น



ไม่ได้แวะมานาน เข้าเขตงานยุ่งแล้วค่ะ


โดย: mariabamboo วันที่: 26 เมษายน 2556 เวลา:18:38:37 น.  

 


มาชวนท่านขุนไปชมรวมมิตรดอกไม้ค่ะ

มีความสุขมากๆนะคะ


โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 27 เมษายน 2556 เวลา:0:47:12 น.  

 



สวสัดีเช้าวันหยุดค่ะท่านขุน
มีไก่ต้มน้ำปลาหอมๆอร่อยๆมาฝากจานนึงนะคะ


โดย: พริ้วไหวไปตามลม วันที่: 27 เมษายน 2556 เวลา:9:15:24 น.  

 


มีความสุขมากๆ คะ


โดย: Pikake วันที่: 27 เมษายน 2556 เวลา:14:01:58 น.  

 
สวัสดีค่ะ
แวะมาทักทายและส่งความสุขในวันหยุดพักผ่อนนะคะ




โดย: ฝากเธอ2 วันที่: 27 เมษายน 2556 เวลา:23:22:19 น.  

 
สวัสดีสายๆของเมืองไทยค่าท่านขุน
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตนะคะ
ว่าแต่ท่านขุนยังไม่เปลี่ยนหน้าบล็อกเหรอคะ?
หากย้ายบล็อกใหม่แล้วไปสะกิดด้วยนะคะ
เดี๋ยวจะมาโหวตให้ทันทีเลยค่า


โดย: พริ้วไหวไปตามลม วันที่: 28 เมษายน 2556 เวลา:9:22:57 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.