Group Blog
All Blog
<<< “อธิบายเรื่องฌาน” >>>














“อธิบายเรื่องฌาน”

ถาม : ขอให้พระอาจารย์อธิบายวิธีเข้าสมาธิ

และขั้นของสมาธิตั้งแต่

ฌาน ๑ ถึงฌาน ๔ แบบย่อๆ ให้หน่อยค่ะ


พระอาจารย์ : อ๋อ วิธีเข้าสมาธิ

ก็ให้หยุดความคิดเนี่ย

ด้วยการใช้คำบริกรรมพุทโธๆ ไป

อย่าไปคิดถึงเรื่องอะไร

นั่งแล้วหลับตาแล้วก็พุทโธๆ ไป

แล้วเดี๋ยวมันก็เข้าสู่ฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ เอง

 โดยเราไม่ต้องไปรู้ว่าฌานที่ ๑ เป็นยังไง

 ที่ ๒ เป็นยังไง ที่ ๓ เป็นยังไง ขอให้มันถึงที่ ๔ ก็พอ

ที่ ๔ ก็คือจิตจะนิ่งจะสงบจะเบาจะมีความสุขมาก

 จะเป็นอุเบกขาจะไม่มีความรักชังกลัวหลงอยู่

เวลาถึงฌานขั้นที่ ๔ ก็ให้อยู่ตรงนั้น

 แช่ไว้นานๆ อย่าไปดึงมันออกมา

 อย่าไปดึงออกมาพิจารณาปัญญา

ยังไม่ใช่เวลา เวลาจะพิจารณาปัญญา

รอให้ออกจากฌานก่อนออกจากสมาธิก่อน

 เวลาเข้าสมาธินี้ไม่ต้องการพิจารณา

ต้องการให้มันแช่อยู่ในฌานนานๆ

 เพื่อจะได้มีกำลังมากๆ

สิ่งที่เราต้องการก็คืออุเบกขา

 ความไม่รักไม่ชังไม่กลัวไม่หลงอันนี้

 ถ้าเราแช่นานๆ มันก็จะติดมากับใจเรา

เวลาเราออกจากสมาธิ เวลาเรา เห็นอะไร

เราก็จะไม่รักไม่ชังไม่กลัวไม่หลง

 แล้วเราก็จะสู้กับกิเลสได้ เวลาจะอยากได้อะไร

มันก็ไม่อยากเพราะมันไม่รัก

ที่มันอยากเพราะมันรัก

ถ้าชอบอะไรมันก็อยากจะได้ขึ้นมา

 ถ้าชังก็อยากจะให้มันหายไป

แต่ถ้าเรามีอุเบกขามันก็จะเฉยๆ

 อยู่กับสิ่งต่างๆ ได้ อยู่กับสิ่งที่เราไม่ชอบได้

 แล้วก็สิ่งที่เราชอบเราก็ไม่มีมันก็ได้ ไม่เดือดร้อน

ฉะนั้นพยายามเข้าสมาธิแล้วให้อยู่ในฌาน ๔ นานๆ

 เวลามันนิ่งสงบสักแต่ว่ารู้

เป็นอุเบกขาเนี่ยเรียกว่า ฌาน ๔

 ฌานที่ ๑ ก็มีวิตกวิจาร วิตกวิจารก็คือยังพุทโธอยุ่

 คำว่าพุทโธนี้คือวิตกวิจาร

จิตเราวิตกอยู่กับ คำว่าวิตกก็คือแปลว่าตรึก

 วิจารแปลว่าตรอง เราตรึกอยู่กับพุทโธ

ตรึกกับตรองอยู่กับพุทโธ ใจเราไม่ไปคิดเรื่องอื่น

อยู่กับการตรึกตรอง อยู่กับพุทโธๆ

ถ้าเราตรึกตรองแล้วความคิดก็จะเบาลง

ใจก็จะเกิดความสุขขึ้นมาเกิดปีติขึ้นมา

นี่ก็คือผลที่จะเกิดจากการที่เรามีพุทโธๆ นำไป

ฉะนั้นเวลานั่งเราไม่มานั่งคิดมานั่งวิจารณ์

ว่าตอนนี้เราอยู่ฌานที่ ๑ หรือฌานที่ ๒

 เหมือนเวลาเราขับรถนี้

บางทีเราไม่สนใจว่ามันจะเกียร์ไหน ใช่ไหม

ถึงเวลาถ้าต้องเปลี่ยนเกียร์ก็เปลี่ยน

 ฉะนั้นเราไม่ต้องไปสนใจว่าเราอยู่ฌานไหน

ฌานที่ ๒ ฌานที่ ๓ ขอให้มันรู้ว่ามันถึงฌานที่ ๔ ก็พอ

ฌานที่ ๔ ก็คือจิตนิ่งสงบ สักแต่ว่ารู้

มีความสุข มีอุเบกขา แล้วก็พยายามรักษามันไว้

อยู่ตรงนั้น อย่าให้มันออกมา

 ถ้ามันอยากจะออกมาก็ใช้พุทโธดันกลับเข้าไปใหม่

 ให้มันอยู่จนกระทั่งเราสู้มันไม่ไหว

มันอยากจะออกมาก็ค่อยปล่อยมันออกมา

 แล้วก็พยายามกลับเข้าไปใหม่ กลับเข้าไปบ่อยๆ

 กลับไปเรื่อยๆ ต่อไปเราจะได้มีอุเบกขาตลอดเวลา

 แล้วเราจะไม่รักไม่ชังไม่กลัวไม่หลงกับอะไรทั้งนั้น

อยู่คนเดียวได้ อยู่โดยไม่มีอะไรได้.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

..............................

สนทนาธรรมบนเขา

วันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๐







ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 16 ธันวาคม 2560
Last Update : 16 ธันวาคม 2560 11:01:19 น.
Counter : 343 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ