Group Blog
 
<<
กันยายน 2556
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
1 กันยายน 2556
 
All Blogs
 
CD แผ่นดิส

Smiley ฟลอปปีดิสก์

แผ่นดิสก์แบบอ่อน หรือ ฟลอปปีดิสก์ ( floppy disk) หรือที่นิยมเรียกว่า แผ่นดิสก์ หรือ ดิสเกตต์ (diskette) หรือ แผ่นบันทึก (ศัพท์บัญญัติ) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูล ที่อาศัยหลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก โดยทั่วไปมีลักษณะบางกลมและบรรจุอยู่ในแผ่นพลาสติกสี่เหลี่ยม คอมพิวเตอร์สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงบนฟลอปปีดิสก์ ผ่านทางฟลอปปีดิสก์ไดร์ฟ (floppy disk drive)


Smileyประวัติ

แผ่นดิสก์ยุคแรก มีขนาด 8 นิ้ว สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1971 เพื่อใช้กับเครื่อง System/370 ของบริษัทไอบีเอ็ม (IBM) สร้างโดย เดวิด โนเบิล ในทีมงานของ อะลัน ซูการ์ต ซึ่งต่อมา ซูการ์ตแยกตัวออกไปตั้งบริษัททำวิจัยเกี่ยวกับหน่วยความจำ ชื่อบริษัทซูการ์ต ในปี ค.ศ. 1973 แต่เพียงหนึ่งปีต่อมา บริษัทก็ขาดทุนและซูการ์ตก็ถูกไล่ออกจากบริษัทตัวเอง



นักวิจัยของบริษัทซูการ์ต ชื่อ จิม แอดคิสสัน ได้รับการติดต่อจาก An Wang เพื่อให้ลดขนาดแผ่นดิสก์ให้เล็กลง การติดต่อเกิดขึ้นที่บาร์ในบอสตัน และขนาดแผ่นดิสก์ใหม่ที่คุยกันคือขนาดเท่ากระดาษเช็ดมือในร้าน ซึ่งมีขนาด 5¼ นิ้ว ต่อมาไม่นาน บริษัทซูการ์ต ก็ผลิตแผ่นดิสก์ขนาดนี้ได้และได้รับความนิยม ในตอนแรก แผ่นมีความจุ 110 กิโลไบต์ ต่อมา บริษัท Tandon พัฒนาให้ความจุสูงขึ้น โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลสองหน้า (double density) ทำให้สามารถเก็บได้ 360 กิโลไบต์




แผ่นดิสก์เป็นที่นิยมในท้องตลาดอย่างสูง ทำให้หลายๆ บริษัททุ่มทุนวิจัยทางด้านนี้. ในปี ค.ศ. 1984 บริษัทแอปเปิล ผลิตเครื่องที่ใช้แผ่นดิสก์ขนาด 3½ นิ้วของบริษัทโซนี่ และผลักดันให้แผ่น 3½ นิ้ว เป็นมาตรฐานในวงการอุตสาหกรรมของอเมริกา ความจุเริ่มแรกของแผ่นดิสก์ขนาด 3½ นิ้ว คือ 360 กิโลไบต์ สำหรับหน้าเดียว (single density) และ 720 กิโลไบต์ สำหรับสองหน้า และต่อมาก็สามารถเพิ่มความจุเป็น 1.44 MB โดยการเพิ่มความจุต่อหน้า (high-density) ต่อมา ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 ก็พบวิธีทำให้มีความจุเป็น 2.88 MB (extended-density) โดยการเปลี่ยนวิธีการเคลือบแผ่น แต่รุ่นสุดท้ายนี้ไม่ได้รับความนิยม เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในขณะนั้น ต้องการความจุที่สูงกว่านี้ แผ่นดิสก์จึงถูกแทนที่ด้วยหน่วยจัดเก็บข้อมูลแบบอื่นไป เช่น ซีดีรอม และ ดีวีดีรอม



SmileyCD-ROM

ย่อมาจากคำว่า compact disk read only memory เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลชนิดใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ จะมีหน่วยบันทึกที่อ่านซีดีรอมได้ ข้อมูลที่เก็บในสื่อชนิดนี้จะเป็นข้อความ ภาพ หรือเสียงก็ได้ รูปลักษณะทั่วไปก็เหมือนจานซีดีที่บรรจุเพลง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.72 นิ้ว จุข้อมูล 600 เมกะไบต์ หรือประมาณ 400 เท่าของจานบันทึกขนาด 3.5 นิ้ว ส่วนมากนิยมใช้เก็บโปรแกรม หรือใช้เป็นฐานข้อมูลของห้องสมุด ศูนย์สารนิเทศ ส่วนใหญ่จานบันทึกประเภทนี้ยังคงใช้อ่านได้อย่างเดียว (read only) การบันทึกข้อมูลลงยังต้องมีอุปกรณ์พิเศษ ราคาอุปกรณ์นี้ยังค่อนข้างแพง



SmileyCD ซีดี


ความหมาย 1. ย่อมาจาก compact disk แปลตามตัวอักษรว่า จานบันทึกอัดแน่น มีลักษณะเป็นแผ่นจานกลม ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 ซม. ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล จานบันทึกนี้มีความจุสูงมาก (ประมาณ 600ล้านตัวอักษร) ปัจจุบันมีอุปกรณ์ใช้อ่านข้อมูลจากจานบันทึกนี้ได้ แต่การบันทึกข้อมูลลง ยังทำไม่ได้ง่าย ๆ ต้องมีเครื่องพิเศษเฉพาะ บันทึกได้ทั้งข้อมูลธรรมดา เพลง ภาพยนตร์ ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้มาก เพราะราคาถูก ความจุสูง แต่ยังติดขัดในปัญหาบางประการในเรื่องการบันทึกข้อมูลลง ดู CD ROM ประกอบ 2. ย่อมาจากคำ Change Directory เป็นคำสั่งในระบบดอสที่สั่งให้เข้าไปในสารบบ(directory) ใดสารบบหนึ่ง หรือออกจากสารบบใดสารบบหนึ่ง เช่น C:/>CD <ชื่อสารบบ> (หมายความว่าให้เข้าไปในสารบบชื่อนั้น) C:> CD (หมายความว่า ให้ออกจากสารบบที่อยู่)



แผ่นซีดี ย่อมาจาก คอมแพ็กดิสก์ (compact disc) คือแผ่นออฟติคอลเก็บข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ซึ่งเดิมพัฒนาสำหรับเก็บเสียงดิจิทัล ซีดีคือมาตรฐานรูปแบบการบันทึกเสียงทางการค้าในปัจจุบัน


  • ในช่วงทศวรรษปี ค.ศ. 1970 (ตรงกับ พ.ศ. 2513 ถึง 2522) นักวิจัยของบริษัทฟิลิปส์ ได้ใช้เทคโนโลยีของแผ่นเลเซอร์ดิสค์ มาทดลองสร้างแผ่นออฟติคอลสำหรับเก็บเสียงแต่เพียงอย่างเดียว โดยเริ่มแรกใช้วิธีการเข้ารหัสเสียงแบบ wideband FM และแบบ PCM ในระบบดิจิทัลในเวลาต่อมา ช่วงปลายทศวรรษ ฟิลิปส์ โซนี่ และบริษัทอื่น ๆ แสดงต้นแบบของแผ่นดิสค์ระบบเสียงดิจิตอล




ในปี พ.ศ. 2522 ฟิลิปส์ และ โซนี่ ตัดสินใจร่วมมือกัน จัดตั้งทีมวิศวกรร่วมซึ่งมีภารกิจออกแบบแผ่นดิสค์ระบบเสียงดิจิตอลแบบใหม่ สมาชิกที่สำคัญของทีมคือ Kees Immink และ Toshitada Doi หลังจากทดลองและถกเถียงกันหนึ่งปี ทีมงานได้ออกมาตรฐานเรดบุ๊ค ซึ่งเป็นมาตรฐานของคอมแพ็กดิสก์ ฝ่ายฟิลิปส์สนับสนุนในเรื่องกระบวนการผลิต โดยอาศัยเทคโนโลยีการผลิตเลเซอร์ดิสค์ ฟิลิปส์ยังสนับสนุนวิธีการมอดูเลตแบบ EFM ซึ่งสามารถบันทึกเสียงได้มาก และทนต่อรอยขูดขีด หรือรอยนิ้วมือ ขณะที่โซนี่สนับสนุนวิธีรหัสแก้ข้อผิดพลาด (error correction) CIRC ในเอกสาร Compact Disc Story ที่บอกเล่าโดยสมาชิกหนึ่งของทีม ให้ข้อมูลถึงที่มาของการตัดสินใจทางเทคนิคจำนวนมาก รวมถึงการเลือกของความถี่การสุ่ม ระยะเวลาในการเล่น และเส้นผ่าศูนย์กลางแผ่นดิสค์ ฟิลิปส์ได้บรรยายไว้ว่า คอมแพ็กดิสก์"ถูกประดิษฐ์ร่วมกันโดยกลุ่มคนมากมายทำงานร่วมกันเป็นทีม" ("invented collectively by a large group of people working as a team."




คอมแพ็กดิสก์ออกวางตลาดในปลายปี พ.ศ. 2525 ในเอเซีย และต้นปีถัดมาในที่อื่น ๆ เหตุการณ์นี้มักถูกมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติเสียงดิจิตอล แผ่นดิสค์เสียงแบบใหม่นี้ได้รับการยอมรับและคำชื่นชมในคุณภาพเสียง จากเดิมที่ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับบันทึกเสียง การใช้คอมแพ็กดิสก์ได้ขยายไปยังด้านอื่น ๆ สองปีต่อมา ใน พ.ศ. 2527 มีการออก แผ่นซีดีรอม (หน่วยความจำอ่านได้อย่างเดียว) ด้วยแผ่นแบบนี้เราสามารถเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์จำนวนมากได้ แผ่นซีดีที่ผู้ใช้สามารถเขียนเองได้ หรือ แผ่นซีดีอาร์ (CD-R) ก็ได้ปรากฏสู่สายตาต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2533 และกลายเป็นมาตรฐานในการแลกเปลี่ยน จัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์และเพลงในปัจจุบัน ซีดีแบบต่าง ๆ ประสบความสำเร็จมาก โดยภายในปี พ.ศ. 2547 เพียงปีเดียวมีการจำหน่ายแผ่นซีดีเพลง ซีดีรอม ซีดีอาร์ ทั่วโลกกว่าสามหมื่นล้านแผ่น


Smileyมาตรฐานคอมแพ็กดิสก์

ซีดีเสียง หรือ ซีดีเพลง หรือ ออดิโอซีดี (audio CD) เก็บสัญญาณเสียงในรูปแบบที่เป็นไปตามมาตรฐานเรดบุ๊ค (red book) ซีดีเสียงประกอบด้วยแทร็คสเตอริโอหลายแทร็ค ที่เก็บโดยการเข้ารหัสแบบ PCM ขนาด 16 บิตด้วยอัตราการสุ่มตัวอย่าง 44.1 kHz


คอมแพ็กดิสก์มาตรฐานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 120 มิลลิเมตร แต่มีรุ่นขนาด 80 มิลลิเมตรอยู่ในรูปการ์ดขนาดเท่านามบัตรหรือเป็นรูปวงกลม แผ่นดิสค์ขนาด 120 มิลลิเมตร สามารถบันทึกเสียงได้ 74 นาที แต่มีรุ่นที่สามารถบันทึก 80 หรือ 90 นาทีด้วย แผ่นดิสค์ขนาด 80 มิลลิเมตร ใช้เป็นแผ่นซีดีซิงเกิล หรือใช้เป็นนามบัตรประชาสัมพันธ์ เก็บเสียงใช้เพียงแค่ 20 นาที
เทคโนโลยีคอมแพ็กดิสก์ ต่อมาปรับปรุงเป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่เราเรียกว่าแผ่นซีดีรอม



Smileyการทำงานของ CD

ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากันทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก พิต สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "แลนด์" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น



แผ่นซีดีรอมเป็นสื่อในการเก็บข้อมูลแบบออฟติคอล (Optical Storage) ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล แผ่นซีดีรอม ทำมาจากแผ่นพลาสติกเคลือบด้วยอะลูมิเนียม เพื่อสะท้อนแสงเลเซอร์ที่ยิงมา เมื่อแสงเลเซอร์ที่ยิงมาสะท้อนกลับไป ที่ตัวอ่านข้อมูลที่เรียกว่า Photo Detector ก็อ่านข้อมูลที่ได้รับกลับมาว่าเป็นอะไร และส่งค่า 0 และ 1 ไปให้กลับซีพียู เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป



Smileyเครื่องเล่นซีดี

ความเร็วของไดรฟ์ซีดีรอมมีหลายความเร็ว เช่น 2x 4x หรือ 16x เป็นต้น ซึ่งค่า 2x หมายถึงไดรฟ์ซีดีรอมมี ความเร็วในการหมุน 2 เท่า ไดรฟ์ตัวแรกที่เกิดขึ้นมามีความเร็ว 1x จะมีอัตราในการโอนถ่ายข้อมูล (Data Tranfer Rate) 150 KB ต่อวินาที ในปัจจุบันความเร็วในการอ่านซีดีรอมสูงสุดอยู่ที่ 52x


Smileyดีวีดี

ดีวีดี (Digital Versatile Disc; ชื่อย่อ DVD) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง (optical disc) ที่ใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โดยให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดี ดีวีดีถูกพัฒนามาใช้แทนซีดีรอม โดยใช้แผ่นที่มีขนาดเดียวกัน (เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร) แต่ว่าใช้การบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน และความละเอียดในการบันทึกที่หนาแน่นกว่า
เดิมทีดีวีดีมาจากชื่อย่อว่า digital video disc แต่ในภายหลังผู้ผลิตบางรายเห็นว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น digital versatile disc ปัจจุบันตามคำนิยามอย่างเป็นทางการแล้ว DVD ไม่ได้ย่อมาจากชื่อเต็มแต่อย่างใด
ความเร็วในการเขียนแผ่นดีวีดี 1x มีค่าเท่ากับ 10.5 Mb/s หรือราวๆ 1.32 MB/s
เครื่องเขียนแผ่นดีวีดี (DVD Writer) คือ เครื่องสำหรับการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นดีวีดี





Smileyคุณสมบัติของดีวีดี

​สามารถบันทึกข้อมูลวิดีโอที่ความละเอียดสูงได้ถึง 120 นาที
การบีบอัดของวิดีโอในรูปแบบ MPEG-2 นั้นมีอัตราส่วนอยู่ที่ 4 : 0 : 1
สามารถมีเสียงในฟิล์มได้มากถึง 8 ภาษา โดยในแต่ละภาษาอาจจะเป็นระบบเสียงสเตอริโอ 2.0 ช่อง (รูปแบบ PCM) หรือ ระบบเสียงรอบทิศทาง (เช่น 4.0, 5.1, 6.1 ช่อง) ในรูปแบบ Dolby Digital (AC-3) หรือ Digital Theater System (DTS)
มีคำบรรยาย (Subtitle) ได้มากสูงสุดถึง 32 ภาษา
ภาพยนตร์ดีวีดีบางแผ่นนั้น สามารถเปลี่ยนมุมกล้องได้ด้วย (Multiangle)
ทำภาพนิ่งได้สมบูรณ์เหมือนภาพสไลด์
ควบคุมระดับสิทธิการเล่น (Parental Lock)
มีรหัสพื้นที่ใช้งานเฉพาะพื้นที่กำหนด (Regional Codes)


Smileyแผ่นเสียง/จานเสียงครั่ง  ประวัติ

แรกสุดเป็นกระบอกอัดเสียงเคลือบขี้ผึ้งแบบเอดิสัน ซึ่งในเมืองไทย (สยาม) ใช้บันทึกเพลงไทยเดิม ตั้งแต่ราวปลายรัชกาลที่ 4 ต่อมาเริ่มมีการบันทึกเสียงลง แผ่นครั่ง ในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนใหญ่เป็นเพลงเรื่องบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ที่กำลังได้รับความนิยมในสมัยนั้น  ซึ่งมักไม่จบในหน้าเดียว จึงต้องบันทึกต่อกันเป็นชุดหลายแผ่น



โดยทั่วไปมีขนาด 10-12 นิ้ว สปีด 78 รอบ/นาที บันทึกและเล่นกลับได้หน้าละไม่เกิน 3-5 นาที เนื่องจากมีลักษณะค่อนข้างหนาและหนัก ตกแตกง่ายอย่างจานกระเบื้อง บางทีจึงเรียกว่า จานเสียง คุณภาพเสียงออกทางแหลมแตกพร่ารวมทั้งรบกวนจากหัวเข็มโลหะที่ต้องคอยเปลี่ยนบ่อย



แผ่นครั่งในเมืองไทย ได้แก่ ปาเต๊ะ ,อาร์ซีเอ วิคเตอร์ (ที่เรียกติดปากว่า ตราหมาหน้าเขียว,แดง,เหลือง ฯลฯ ) ,พาร์โลโฟน ,โคลัมเบีย ,เดคก้า ,บรันซวิค ,แคปิตอล ,ฟิลิปส์ ,เอ็มจีเอ็ม ,เทพดุริยางค์ ,โอเดียน (ช้างคู่) ,ศรีกรุง (พระปรางค์วัดอรุณ) ,กระต่าย ,อัศวิน ,สุนทราภรณ์ ,มงกุฏ ,เทพนคร ,นางกวัก ,กระทิง ,ค้างคาว ,นาคราช ,กรมศิลปากร แผ่นที่ใช้เฉพาะในสถานี เช่น กรมโฆษณาการ (แผ่นดิบ ) หรือจำหน่ายบางโอกาส เช่น เนรมิตภาพยนตร์ ฯลฯ


Smileyแผ่นเสียงไวนิล/อัลบั้มลองเพลย์


ช่วงปี พ.ศ. 2491 บริษัทแผ่นเสียงโคลัมเบีย ในอเมริกา พัฒนาแผ่นบันทึกเสียงชนิดใหม่ได้สำเร็จ เรียกว่า แผ่นเสียง/อัลบั้มลองเพลย์ (Long played record /album) บางทีเรียก แผ่นเสียงไวนิล (Vinyl) [2] ตามชื่อพลาสติก คุณภาพดีที่ได้จากคาร์ไบด์ (Carbide)แผ่นชนิดนี้ มีขนาดบาง เบา ตกไม่แตก คุณภาพเสียงทุ่มนุ่มนวลลุ่มลึกมากขึ้น สามารถลดเสียงรบกวนจากหัวเข็มลงเหลือเพียงเล็กน้อย และบรรจุเพลงเพิ่มขึ้นด้วยขนาด 12 นิ้ว สปีด 33 รอบเศษ/นาที ปกติบันทึกได้หน้าละ 20 นาทีเศษ (ราว 6-7 เพลง/หน้า)

ในต่างประเทศ ยังคงมีผลิตบ้างจำนวนจำกัดเฉพาะกลุ่มที่ชอบฟังเสียงจากแผ่นไวนิล ทำให้แต่ละอัลบั้มมีราคาสูง ส่วนประเทศไทย เลิกผลิตแบบอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ .2535



Smileyแผ่นซิงเกิล


ปี พ.ศ. 2492 บริษัท อาร์ซีเอ วิคเตอร์ ทำแผ่นเล็ก ขนาด 7 นิ้ว สปีด 45 รอบ/นาที คุณภาพเสียงด้อยกว่าแผ่นใหญ่เล็กน้อย บันทึกได้หน้าละไม่เกิน 2 เพลง เรียกกันว่า แผ่นซิงเกิล (Single) มักใช้กับเพลงเด่นๆ ที่ตัดจากแผ่นลองเพลย์ เพื่อเผยแพร่ตามสถานีวิทยุ ก่อนวางจำหน่ายอัลบั้มเต็ม

แผ่นไวนิลทุกขนาดมีการผลิตต่อเนื่องยาวนานถึง 30 ปี ก่อนเข้าสู่ยุคใหม่ของการบันทึกเสียงด้วยระบบดิจิตอลบนแผ่นซีดี


แผ่นไวนิลในเมืองไทย ได้แก่ อาร์ซีเอ ,โคลัมเบีย ,เดคก้า ,แคปิตอล ,ฟิลิปส์ ,เอ็มจีเอ็ม ,ศรีกรุง ,กระต่าย ,อัศวิน ,สุนทราภรณ์ ,มงกุฏ ,เมโทรแผ่นเสียง ฯลฯ รวมถึง แผ่นที่ใช้เฉพาะในสถานี วิทยุ อส. หรือจำหน่ายบางโอกาส เช่น กรมศิลปากร ,ละโว้ภาพยนตร์ และ ไทยทีวีช่อง 4 เป็นต้น

แผ่นเสียงเพลงไทยส่วนใหญ่นิยมทำเป็นอัลบั้มไวนิลขนาด 12 นิ้ว ส่วนแผ่นครั่งขนาด 10 นิ้ว ซึ่งมีเสียงรบกวนและดูแลรักษายาก ไม่เป็นที่นิยมทั่วโลกนานแล้ว



Smileyอ้างอิง

↑ ประวัติแผ่นเสียงในประเทศไทย ,เว็บไซด์ วปถ.3 ,จ.นครราชสีมา
↑ Gramophone Record ,Wikipedia-The Free Encyclopedia
↑ Cambridge's Learner Dictionary ,Cambridge University Press ,P.707
↑ สอ เสถบุตร ,Modern Thai English Dictionary ,ไทยวัฒนาพานิช หน้า 60




จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


Smileyหมวดบล็อก "วิทยาศาสตร์"ขอรับ



Create Date : 01 กันยายน 2556
Last Update : 1 กันยายน 2556 23:22:20 น. 32 comments
Counter : 1876 Pageviews.

 
ขอบคุณความรู้ดี ๆ ที่นำมาเพิ่มเติมบอกกล่าวค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
schnuggy Klaibann Blog ดู Blog
คนบ้า(น)ป่า Home & Gargen Blog ดู Blog
multiple Photo Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog



โดย: ALDI วันที่: 2 กันยายน 2556 เวลา:1:09:25 น.  

 
เจิมค่ะ


โดย: schnuggy วันที่: 2 กันยายน 2556 เวลา:1:09:55 น.  

 
แว๊กกก เจิมไม่ดูตาม้าตาเรือ 55555555
ขอบคุณนะทั่นขุน ได้แต่ใช้อย่างเดียวค่ะ

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ชมพร About Weblog ดู Blog
AdrenalineRush Food Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
hot cappuccino Klaibann Blog ดู Blog
วนารักษ์ Literature Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: schnuggy วันที่: 2 กันยายน 2556 เวลา:1:14:52 น.  

 
มาโหวตให้ความรู้ดีๆค่ะ


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
พริ้วไหวไปตามลม Education Blog ดู Blog
ลงสะพาน+++เลี้ยวซ้าย2013 Food Blog ดู Blog
สายหมอกและก้อนเมฆ Photo Blog ดู Blog
Calla Lily Home & Gargen Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


มีดอกบานเย็นสีส้มสวยมาฝากด้วยค่ะ




ขอบคุณนะคะ





โดย: mambymam วันที่: 2 กันยายน 2556 เวลา:7:55:15 น.  

 

แต่ก่อนใช้อย่างเดียวค่ะ
ไม่มีความรู้อะไรมากมาย
แต่พอมาเจอเอนทรี่นี้ ... ได้ความรู้เยอะทีเดียว
รู้ถึงคุณสมบัติแต่ละชนิดได้เป็นอย่างดีค่ะท่านขุน
ขอบคุณที่นำข้อมูลดีดีมาฝากกันนะคะ



โดย: แค่ได้รู้จัก_ก็เพียงพอ วันที่: 2 กันยายน 2556 เวลา:8:11:01 น.  

 
เมื่อก่อนแค่ใช้เป็นอย่างเดียวเหมือนกันค่ะ
ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันนะคะ
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
phunsud Diarist ดู Blog
กะว่าก๋า Dharma Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog


โดย: เนินน้ำ วันที่: 2 กันยายน 2556 เวลา:14:13:40 น.  

 
เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยได้ใช้แผ่นพวกนี้แล้ว
ใส่ไว้ในรถร้อนเสียหมดเลย
ตอนนี้ใช้แต่ SDCard และ Memory Card แทน
ขอบคุณความรู้ที่นำมาบอก
โหวตและไลท์ให้ค่ะ

ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog


โดย: pantawan วันที่: 2 กันยายน 2556 เวลา:20:41:40 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลเรื่องแผ่นดิสนะคะ
แผ่นฟลอปปีดีสก์ เดี๋ยวนี้น่าจะไม่ค่อยนิยมใช้แล้วนะคะ
พัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆจริงๆ
ขอบคุณมากๆนะคะ


โดย: lovereason วันที่: 2 กันยายน 2556 เวลา:21:24:04 น.  

 
โหวตและ like ให้ท่านขุนฯค่ะ

ขนาดแผ่นดิสก์ยุคแรกนับว่าใหญ่จริงนะคะ
ขอบคุณสำหรับตัวย่อต่างๆและประวัติที่นำมาให้อ่านค่ะ

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
................

นอนหลับฝันดีคืนนี้นะคะ
ส่งท่านขุนฯเข้านอนล่วงหน้าหลายชั่วโมง


โดย: Sweet_pills วันที่: 2 กันยายน 2556 เวลา:22:42:27 น.  

 
อุปกรณ์บันทึกข้อมูลพวกนี้พัฒนาไปเร็วมากนะคะ
ตามกันแทบไม่ทันเลยทีเดียว

ขอบคุณสำหรับข้อมูลและความรู้ที่นำมาฝากค่ะ
อ่านไว้ได้ประโยชน์เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวและต้องใช้อยู่ทุกวัน


ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
วิสกี้โซดา Travel Blog ดู Blog
schnuggy Klaibann Blog ดู Blog
ลงสะพาน+++เลี้ยวซ้าย2013 Food Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog


โดย: ฝากเธอ วันที่: 3 กันยายน 2556 เวลา:10:59:43 น.  

 
ป.ล. เม้นท์ที่ถูกแบนตุ๊กกู้คืนให้แล้วนะคะ
ขอบคุณมากค่ะสำหรับกำลังใจ


โดย: ฝากเธอ วันที่: 3 กันยายน 2556 เวลา:11:04:53 น.  

 
มีคุ๊กกี้มาฝากแทนคำขอบคุณค่ะท่านขุน



มีความสุขตลอดวันนะคะ


โดย: Sweet_pills วันที่: 3 กันยายน 2556 เวลา:19:47:24 น.  

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

แวะมาโหวตและราตรีสวัสดิ์ค่ะ ท่านขุน


โดย: ดอยสะเก็ด วันที่: 3 กันยายน 2556 เวลา:21:37:01 น.  

 
มาทักทายท่านขุนค่ะ
และก็เลยกดโหวต ได้รับโหวด
ขุนเพชรขุนราม Science Blog
เหมือนกับเพื่อนๆท่านอื่นด้วยนะคะ


หลับฝันดีค่ะท่านขุน


โดย: Suessapple วันที่: 4 กันยายน 2556 เวลา:1:04:47 น.  

 


ท่านพี่ขุนทำให้อุ๊นึกถึงสมัยวัยรุ่น พก โซนี่วอรค์แมน ที่ยังเป็นเทปคลาสเซต ตอนนั้นเท่ห์มาก แต่มาสมัยนี้ล้าหลังโฮกๆ

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog


โดย: au_jean วันที่: 4 กันยายน 2556 เวลา:8:51:34 น.  

 

ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตค่ะท่าน
สุขสันต์วันทำงานนะคะ



โดย: แค่ได้รู้จัก_ก็เพียงพอ วันที่: 4 กันยายน 2556 เวลา:9:33:12 น.  

 
ขอบคุณนะคะท่านขุน
เทคแคร์ค่ะ



โดย: mambymam วันที่: 4 กันยายน 2556 เวลา:9:43:51 น.  

 
ยินดีที่ได้รู้จัก
บล๊อกคุณภาพอีกบล๊อก ต้องขอ ADD.แล้วละจะได้มาติดตาม
อ่านวันหลัง

ขอบคุณกำลังใจค่ะ

และขอให้กำลังใจคุณเช่นกันจะได้นำความรู้ดีๆมาแบ่งปัน

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog


โดย: ยายเก๋า (ชมพร ) วันที่: 4 กันยายน 2556 เวลา:10:39:20 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Education Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

ขอบคุณมาก ๆ นะคะ คิดว่าใกล้เดินทางคงไม่ได้แวะมาขอบคุณค่ะ คงยุ่งมาก ๆ ค่ะ รักษาสุขภาพเช่นกันค่า


โดย: mariabamboo วันที่: 4 กันยายน 2556 เวลา:19:03:01 น.  

 
โหวตให้ครับ
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
แผ่นซีดีผมนำมาทำเป็นกระถางกล้วยไม้
แผ่นดิสก์ความจุ 1.44 mb ผมนำมาทำเป็นที่ใส่ปากกา


โดย: เศษเสี้ยว วันที่: 4 กันยายน 2556 เวลา:23:54:28 น.  

 

Like ให้เป็นคนที่ 6
ได้ความรู้เพียบเลยค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 5 กันยายน 2556 เวลา:0:13:37 น.  

 
ขอบคุณเจ้าค่าท่านขุนเจ้าขาา



แกงใบชะพลู รอบแก้มือมาแระค่า

ว๊าววข้อมูลในบล็อกท่านขุน อยู่ในความสนใจเลยค่า

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น





โดย: พริ้วไหวไปตามลม วันที่: 5 กันยายน 2556 เวลา:6:23:35 น.  

 
ขอบคุณน้ใจท่านขุนนะเจ้าค่ะ สำหรับโหวต

แอบไปดูเรื่องผ้าม่านมาด้วยเจ้าคะ ชอบ


โดย: au_jean วันที่: 5 กันยายน 2556 เวลา:8:06:48 น.  

 
ท่านขุนเจ้าคะ
ได้โปรดอภัยที่บล๊อคเราทำให้ท่านขุน
ถึงกับว่าตัวเองว่าแก่

เราไม่ได้ตั้งใจจะดองบล๊อคเลยค่ะ
แต่ว่าตอนนี้ขาดวัตถุดิบในการอัพบล๊อค อิ อิ

ว่าแต่ว่าเราไม่เชื่อนะคะว่าท่านขุนจะแก่จริงๆ



โดย: Suessapple วันที่: 5 กันยายน 2556 เวลา:22:26:20 น.  

 

มาโหวตใหม่ ให้ท่านขุน คราวที่แล้วคงซ้ำกับคนอื่น การแสดงผลจึงไม่มี

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
คนบ้า(น)ป่า Home & Gargen Blog ดู Blog
หมอหว่อง Literature Blog ดู Blog
newyorknurse Klaibann Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog



โดย: ยายเก๋า (ชมพร ) วันที่: 5 กันยายน 2556 เวลา:23:46:33 น.  

 
ก๊อกๆๆ แวะมาเคาะประตูทักทายเจ้าค่ะท่านพี่ขุน


โดย: au_jean วันที่: 6 กันยายน 2556 เวลา:9:09:40 น.  

 
สวัสดีวันศุกร์ค่ะท่านขุน
มีความสุขกับการทำงานนะคะ
พรุ่งนี้ก็ได้หยุดพักผ่อนแล้วค่ะ


โดย: เนินน้ำ วันที่: 6 กันยายน 2556 เวลา:9:27:47 น.  

 
สมัยก่อน diskette แผ่นเดียวความจุเล็กมาก 360Kb แต่ไม่ค่อยรู้สึกว่าเล็ก
ปัจจุบัน DVD 4.7 Gb 8.5 Gb ก็คิดว่าปกติ ไม่ค่อยรู้สึกว่าเล็ก
สัก 3 ปีข้างหน้า คงจะอัศจรรย์ที่เคยใช้ DVD 4.7 Gb


โดย: yyswim วันที่: 7 กันยายน 2556 เวลา:10:33:53 น.  

 
ขอบคุณท่านขุน กับกำลังใจที่มอบให้อีกแล้ว
ไว้เปลี่ยนบล๊อกใหม่จะกลับมาโหวตให้นะ

มาทักทายยามบ่ายฝนชอบตก


โดย: ยายเก๋า (ชมพร ) วันที่: 7 กันยายน 2556 เวลา:14:29:56 น.  

 
แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจให้ท่านขุนในวันหยุดครับ

ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog


โดย: **mp5** วันที่: 7 กันยายน 2556 เวลา:14:57:00 น.  

 
ยินดีเ้จ้่าค่ะท่านขุน เชิญหยิบของแต่งบล๊อกทุกอย่างไปใช้ได้ตามสะบาย

ขอบคุณกำลังใจอีกครั้ง



โดย: ยายเก๋า (ชมพร ) วันที่: 7 กันยายน 2556 เวลา:21:37:09 น.  

 

แวะมาอ่านหาความรู้ค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 7 กันยายน 2556 เวลา:21:58:58 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.