##### รีวิววัดโทไดจิ แห่งเมืองนารา ญี่ปุ่นค่ะ #####







สวัสดีค่า





เอนทรี่ล่าสุด รีวิวร้านอาหารกรุงเทพฯ - ทัสคานี พหลโยธิน๒๓ รอบนี้เน้นอาหารฝรั่งค่ะ (คลิกเพื่ออ่าน)









หลังจากรีวิวที่พัก ที่ช็อปปิ้ง และสายการบินมาแล้วดังนี้

โรงแรม Nikko Osaka - ทำเลดีค่ะ (คลิกเพื่ออ่าน)

Nikko Hotel Osaka - อาหารเช้า (คลิกเพื่ออ่าน)

รีวิวสายการบิน JAL เส้นทางกรุงเทพฯ - คันไซ โอซาก้า และการผ่านด่านตม. (คลิกเพื่ออ่าน)

รีวิวย่านชินไซบาชิ โอซาก้า - ของกินและช็อปปิ้งค่า (แนะนำชีสทาร์ตเจ้าอร่อยด้วยนะคะ) (คลิกเพื่ออ่าน)













สถานที่ท่องเที่ยวที่จะมารีวิววันนี้ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวหลักแห่งหนึ่งของเมืองนารานะคะ นั่นก็คือวัดโทไดจินั่นเองค่ะ ซึ่งเมืองนารานี่ก็อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองโอซาก้าตามแผนที่นี้เลยนะคะ


สำหรับระยะทางระหว่างโอซาก้ากับนาราก็ราวๆ 32 กม. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 40 นาทีค่ะ




















พอเดินทางไปถึงปุ๊บ รถก็จะจอดที่ลานจอดรถนะคะ จะมีห้องน้ำใกล้ๆ กับลานจอดรถตามภาพเลยค่ะ


















ถัดไปจากห้องน้ำ จะเป็นร้านค้าและมีที่นั่งให้นั่งบางส่วนค่ะ ไม่เยอะมากนัก

แต่ไอศกรีมที่นี่อร่อยสู้ที่หน้าปราสาทโอซาก้าไม่ได้นะคะ


















ถัดจากร้านค้าและที่นั่งไปก็จะเป็นทางที่จะเดินเข้าวัดแล้วหละค่ะ

เดินเข้าไปตามนั้นแล้วก็เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ลานนะคะ


















ร้านค้าที่ว่านะคะ มีอยู่สองร้าน ฝั่งขวาน่ะไอศกรีมหรือซอฟท์ครีมนั่นแหละค่ะ

แต่ซ้ายมือนี่ไม่แน่ใจว่าเป็นน้ำแข็งไสหรือเปล่านะคะ (ตอนเราไปยังเดือนกันยา ยังไม่หนาวค่ะ)


















พอเลี้ยวซ้ายไปก็เริ่มเจอเจ้าถิ่นของที่นี่แล้วค่ะ นั่นก็คือเจ้ากวางน้อยนี่เอง (ที่จริงกลิ่นมาก่อนตัวอีก แหะๆ)

พวกซุ้มๆ นี่นอกจากน้ำดื่มแล้วก็มีตัวข้าวเกรียบสำหรับซื้อมาป้อนกวางด้วยนะคะ


















จะเห็นว่าทางเดินนี่เป็นกึ่งๆ ลานเลยนะคะ แล้วที่เห็นไกลๆ ในภาพก็คือซุ้มประตูแรกของที่วัดนี้ค่ะ

ซุ้มประตูนันไดมง (Nandaimon-gate) มีเสารองรับน้ำหนักหลังคาที่เก่าแก่และสวยงามถึง 18 ต้นด้วยกันนะคะ


















หน้าตาของข้าวเกรียบที่เราสามารถซื้อมาเลี้ยงกวางได้ค่ะ (แต่ควรซื้อตอนขาออกนะคะ ถ้าไปเป็นกรุ๊ปทัวร์ เพราะไม่งั้นมัวแต่เลี้ยงกวางจะหลุดจากกลุ่มเอาน่ะค่ะ แหะๆ) 150 yen ต่อมัดนะคะ


















ตรงซุ้มประตูไม้เก่านี่ก็จะมีเทพสององค์อยู่นะคะ

คิดว่าน่าจะเป็นตามข้อมูลที่เว็บนี้บอกไว้ค่ะ

//www.j-plan.co.th/index.php?op=jlife-detail&cid=14&id=153


ซุ้มประตูนันไดมง (南大門) ซึ่งเป็นซุ้มประตูที่สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 962 แต่ว่าถูกพายุไต้ฝุ่นพัดทำลายไป ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในปี ค.ศ. 1199 มีลักษณะโครงสร้างของช่างตระกูลจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง (宋) และที่โดดเด่นที่สุดซุ้มประตูนี้มีการประดิษฐานเทพทวารบาลไม้แกะสลัก อา (阿) และ อุน (吽) ที่มีความวิจิตรงดงามมาก

แต่เดิมเชื่อกันว่า เทพทวารบาล อา แกะสลักโดย พระถิกษุไคเคย์ (快慶) และเทพทวารบาล อุน แกะสลักโดยพระิกษุอุนเคย์ (運慶) ซึ่งทั้ง 2 องค์นี้ต่างก็เป็นผู้เชี่ยวชาญในการแกะสลักพระพุทธรูปทั้งคู่ แต่ในปี ค.ศ. 1988 ถึง ปี ค.ศ. 1993 ได้มีการถอดแยกชิ้นเทพทวารบาลทั้ง 2 องค์นี้เป็นครั้งแรก และได้พบหลักฐานบันทึกน้ำหมึกบนชิ้นส่วนไม้ว่า เทพทวารบาล อา ถูกแกะสลักโดยทีมิกษุอุนเคย์ หรืออาจมีิกษุไคเคย์เป็นหนึ่งในทีมนี้ด้วย แต่ เทพทวารบาล อุน ถูกแกะสลักโดยทีมิกษุทังเคย์ (湛慶) ซึ่งเป็นพระิกษุนักแกะสลักอีกผู้หนึ่งในยุคสมัยเดียวกัน


















จากนั้นจะเป็นฉนวนทางเดินต่อไปยังอีกประตูหนึ่งตามภาพค่ะ แต่ประตูที่เห็นนี่เราเดินเข้าไม่ได้นะคะ




















เราต้องเบี่ยงไปทางซ้าย เพื่อเดินไปเข้าประตูด้านซ้ายแทนนะคะ


















ตรงประตูฝั่งซ้าย (ที่เรากำลังจะเลี้ยวขวาเข้าไป) นี่ ถ้าเดินเลยไปที่เห็นอาคารไกลๆ ในรูปนั่นคือห้องน้ำนะคะ


















พอผ่านประตูไปปุ๊บ ทางซ้ายมือจะเป็นที่ขายตั๋วสำหรับการเข้าชมค่ะ

ผู้ใหญ่ห้าร้อยเยน เด็กสามร้อยเยนนะคะ


















จากตรงที่แถวๆ ขายตั๋ว ก็จะเริ่มเห็นอาคารหลักของวัดนี้ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโตโทไดจิทางซ้ายมือแล้วค่ะ


















หน้าตาของตั๋วเข้าวัดนี้ค่ะ


















จากนั้นก็เดินเข้าไปกันค่ะ จะมีเจ้าหน้าที่รอตรวจอยู่

แต่เราจำไม่ได้แล้วว่าเราต้องเข้าช่องหมายเลขไหนค่ะ...ขออภัย (แบบว่า..ดองนาน ถึงจะนานน้อยกว่าอันอื่นๆ แต่ก็ลืมไปแล้วง่ะ)


















วิหารหลังนี้เป็นวิหารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น แต่หลังจากที่เห็นในปัจจุบันนี้เป็นวิหารที่สร้างขึ้นใหม่ ซึ่งมีขนาดเพียง 2 ใน 3 ของวิหารหลังเดิมที่ถูกสร้างมาตั้งแต่แรกค่ะ (คิดดูแล้วกันว่าหลังเดิมจะใหญ่มวั่กขนาดไหน เหอๆ)


ข้อมูลจากวิกิฯ บอกว่า

ในสมัยเทมเปียว มีผู้ประสบภัยจากภัยธรรมชาติและโรคระบาดอยู่เป็นจำนวนมาก จนกระทั่งปี พ.ศ. 1286 จักรพรรดิโชมุได้ทรงประกาศว่า ประชาชนควรจะร่วมกันสร้างพระพุทธรูปขึ้นเพื่อปกป้องตนเองจากภัยพิบัติ เนื่องจากทรงมีความเชื่อว่าพระพุทธรูปจะช่วยคุ้มครองประชาชนได้ ตามบันทึกที่เก็บรักษาอยู่ในวัดโทไดได้กล่าวว่า มีคนมาช่วยสร้างพระพุทธรูปและหอที่ประดิษฐานมากกว่า 2,600,000 คน การสร้างพระพุทธรูปเริ่มต้นครั้งแรกที่เมืองชิงะระกิ แต่หลังจากเกิดเหตุเพลิงไหม้และแผ่นดินไหวจนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ก็ได้ย้ายสถานที่สร้างมายังเมืองนะระใน พ.ศ. 1288 และสร้างเสร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ. 1294 ต่อมาใน พ.ศ. 1295 ได้มีการจัดพิธีเบิกพระเนตรเพื่อฉลองพระพุทธรูปองค์ใหม่ โดยมีพระภิกษุชาวอินเดียชื่อว่าพระโพธิเสนะ เป็นผู้ประกอบพิธี ตามบันทึกมีผู้มาร่วมพิธีราว 10,000 คน หลังจากนั้นจักรพรรดิโชมุได้ทรงประกาศให้วัดโทไดเป็นวัดประจำจังหวัดยะมะโตะ และเป็นศูนย์กลางของวัดทั่วอาณาจักร




นอกจากนั้นยังมีข้อมูลจากลิงก์นี้นะคะ

//www.angelfire.com/country/thanyawat/Todaiji1.html


นาราเป็นเมืองหลวงถาวรแห่งแรกของญี่ปุ่น ก่อนหน้านั้นเมืองหลวงของญี่ปุ่น ได้ย้ายตามสถานที่ประทับของสมเด็จพระจักรพรรดิ์ ในระหว่าง ค.ศ. 710 ถึง 784 นาราได้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระจักรพรรดิ์ โดยมีการสร้างพระราชวัง วัดและศาลเจ้า มีการตั้งถิ่นฐานในระยะที่ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่นี่ นาราได้สร้างสมวัฒนธรรมที่เป็นแบบอย่างเฉพาะของตนเอง เรียกว่าวัฒนธรรมเทมเปียว (Tempyo culture) ในปัจจุบันสามารถชมวัฒนธรรมแบบเทมเปียวได้จากวัดในนารา 7 แห่ง ได้แก่ วัดโฮริวจิ (Horyuji) วัดไดอันจิ (Daianji) วันคันโกจิ (Kangoji) วัดโยโคชิจิ (Yokoshiji) วัดโคฮูคูจิ (Kohukuji) วัดไซไดจิ (Saidaiji) และวัดโทไดจิ (Todaiji)

ญี่ปุ่นได้รับการเผยแพร่พุทธศาสนา มหายานนิกายผ่านทางเกาหลีในราวศตวรรษที่ 6 โดยก่อนหน้านั้นได้รับวัฒนธรรมแบบขงจื้อจากราชสำนักฮั่น (จีน) มาใช้เป็นแบบแผนในราชสำนัก และเมื่อรับพุทธศาสนาเข้ามา จึงเกิดการผสมผสานกันระหว่างลัทธิชินโต ซึ่งเป็นความเชื่อแบบดั้งเดิม ศาสนาพุทธ และลัทธิขงจื้อ

วัดโทไดจิ สร้างขึ้นในปี 734 ในฐานะที่เป็นวัดหลวงประจำชาติ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของนารา ในสมัยโบราณเรียกว่า เฮโจ (Heijo) ความหมายของโทไดจิคือ วัดใหญ่ทางทิศตะวันออก (ของเมืองหลวง) ในยุคนั้นราชสำนักญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์อันดีกับราชสำนักถังแห่งจีน และราชอาณาจักรซิลลา (Silla) หรือเกาหลีในปัจจุบัน จึงได้รับแบบแผนธรรมเนียม และวัฒนธรรมมาจากราชสำนักทั้งสอง

ในขณะนั้นญี่ปุ่นยังไม่เป็นเอกภาพ อำนาจยังกระจัดกระจายไปยังกลุ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะขุนศึกในท้องถิ่นต่าง ๆ สมเด็จพระจักรพรรดิ์โชมุ (Shomu) ทรงเห็นว่าจักรววรดิจีนนั้นได้ใช้ พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือในการสร้างเอกภาพของจักรวรรดิ์ ดังนั้นจึงโปรดให้สถาปนาวัดโทไดจิขึ้น ในฐานะที่เป็นวัดหลวงประจำชาติ และเพื่อเป็นตัวอย่างในการสร้างวัดทั่วราชอาณาจักร

พระวิหารหลวงที่ประดิษฐานองค์ไดบุทสึนั้น ถือเป็นอาคารโครงสร้างไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในโลก วิหารหลังปัจจุบันมีขนาดเพียง 1 ใน 3 (ข้อมูลไม่เหมือนกันแล้วค่ะ บางที่บอกสองในสาม) ของวิหารที่สร้างขึ้นครั้งแรก โดยมีความสูง 157 ฟุต ความยาว 187 ฟุต

วัดโทไดจิได้ถูกเผาถึง 2 ครั้ง และได้รับการบูรณะใหม่ 2 ครั้งเช่นเดียวกัน การเผาครั้งแรกเกิดขึ้นในสงครามกลางเมือง ที่เรียกว่าสงครามเกนเป (Genpei civil war) เกิดขึ้นประมาณ 400 ปีหลังการสถาปนาวัด ในขณะนั้นพระราชอำนาจของสมเด็จพระจักรพรรดิ์ถูกถ่ายโอนไปยังขุนศึกต่าง ๆ โดยเฉพาะ เฮอิเกะ (Heike) แห่งตระกูลไทระ (Taira family) ราชสำนักพยายามดึงอำนาจคืน โดยการสนับสนุน เกนจิ (Genji) แห่งตระกูลมินาโมโต (Minamoto family) เพื่อคานอำนาจกับเฮอิเกะ และเมื่อความขัดแย้งถึงที่สุดจึงเกิดสงครามกลางเมืองขึ้น ฝ่ายเฮอิเกะเห็นว่าวัดโทไดจิ เป็นวัดที่สนับสนุนพระราชอำนาจของสมเด็จพระจักรพรรดิ์ จึงได้เผาวัดโทไดจิเพื่อประกาศอำนาจของตน การเผาวัดโทไดจิเป็นการทำลายวัฒนธรรมเทมเปียวไปอย่างน่าเสียดาย

ภายหลังจากที่สงครามสงบ ตะกูลมินาโมโตสามารถกุมอำนาจได้ พระอาจารย์โจเกน (Chogen) และโชกุน มินาโมโต โยริโตโม จึงได้เริ่มบูรณะวัดโทไดจิใหม่อีกครั้งหนึ่ง

พระอาจารย์โจเกน ได้เดินทางไปหาไม้ซุง เพื่อบูรณะวัดโทไดจิยังป่าต่าง ๆ ทั่วญี่ปุ่น ดังได้มีปันทึกว่า

“ในที่สุดท่านก็ได้พบไม้ซุงที่ภูเขาโยชิโน (Yoshino) (พื้นที่ป่าไม้ที่มีชื่อเสียง ในตอนกลางของญี่ปุ่น) 2 ปีต่อมาท่านได้เดินทางไปสุโว (Suwo) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเพื่อหาไม้เพิ่มเติม ในปีต่อมาท่านได้พบไม้ที่มีความยาวขนาด 20 เมตร ท่านโชกุนมินาโมโต โยริโตโม ได้ให้ความอนุเคราะห์ ในการเคลื่อนย้ายไม้เหล่านั้น ซึ่งการขนส่งใช้ทั้งทางบกและทางเรือ เป็นระยะทางกว่า 550 กิโลเมตร”

ในสมัยกลางของญี่ปุ่นเป็นยุคที่อำนาจทางการเมืองกระจัดกระจายอยู่ที่ขุนศึกต่าง ๆ เกิดสงครามครั้งย่อย และครั้งใหญ่ขึ้นหลายครั้ง ในปี 1567 ได้เกิดสงครามกลางเมือง และมีการเผาทำลายพระวิหารหลวงวัดโทไดจิอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ความพยายามของพระอาจารย์โจเกน และโชกุนมินาโมโต โยริโมโต สูญสลายไปกับกองเพลิง

เมื่อโทคุกาวา อิเอะยาสุ (Tokugawa Ieyasu) ได้ยึดอำนาจและสถาปนาศูนย์อำนาจของ โชกุนตระกูลโทคุกาวาที่เอโดะ (Edo ชื่อเดิมของโตเกียว) จนอำนาจทางการเมืองมีเสถียรภายในสมัย โชกุนคนที่ 3 อิเอะมิทสึ (Iemitsu) และในสมัยโชกุนคนที่ 5 สุนาโยชิ (Tsunayoshi) ซึ่งได้ประสบความสำเร็จในการสร้าเงสถียรภาพทางเศรษฐกิจบนพื้นฐาน ของการเกษตร ท่านโชกุนสุนาโยชิ เป็นผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองมีความมั่นคงแล้ว ท่านจึงได้ร่วมกับพระอาจารย์โคเกะ (Kokei) บูรณะวัดโทไดจิอีกครั้งหนึ่ง

การบูรณะวัดโทไดจิครั้งนี้ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการที่ยาวนาน มีความยากลำบากในการหาวัสดุอุปกรณ์ จนพระอาจารย์โคเกะมรณภาพ และท่านโชกุนสุนาโยชิ ได้อสัญกรรมไปก่อน การบูรณะได้เสร็จสิ้นในปี 1709 ซึ่งก็คืออาคารวิหารหลังปัจจุบัน

พระวิหารหลวงที่ประดิษฐานองค์ไดบุทสึนั้น ประกอบด้วยเสา 62 ต้น หลังคาซ้อน 2 ชั้น แต่เพดานภายในพระวิหารมี 3 ระดับ โดยระดับที่สูงที่สุดอยู่บริเวณเหนือพระเศียรองค์ไดบุทสึ















หันหน้าเข้าอาคาร จะมีศาลาเล็กๆ ทางขวามือให้ล้างมือกันนะคะ

วิธีการล้างมือก่อนเข้าสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของญี่ปุ่นนะคะ

1. ตักน้ำขึ้นมาหนึ่งกระบวย
2. เทน้ำล้างมือซ้าย จากนั้นเปลี่ยนกระบวยไปอยู่มือซ้าย
3. เทน้ำล้างมือขวา จากนั้นเปลี่ยนกระบวยไปอยู่มือขวา
4. เทน้ำลงมือซ้ายแล้วเอาน้ำในมือมาล้างปากหรือบ้วนปาก
5. จากนั้นเทน้ำที่เหลือในกระบวยโดยตั้งกระบวยขึ้นให้น้ำไหลลงมาล้างก้านกระบวยก่อนวางคืน


















เข้าไปในอาคารกันค่ะ

จะเห็นว่าอาคารใหญ่โตขนาดที่คนที่อยู่หน้าประตูยังตัวนิ้ดเดียวนะคะ


















ถ้าหันหน้าเข้าอาคาร จะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกองค์อยู่ทางขวามือ แต่เดี๋ยวเราค่อยพาไปนะคะ


















จากนั้นจะเป็นที่ปักธูปและโยนเหรียญขอพรค่ะ (ถ้าเป็นศาลเจ้าที่ไม่ใช่วัด ส่วนใหญ่เราไม่ค่อยเห็นที่ปักธูปนะคะ จะมีแต่ที่ใส่เหรียญขอพรค่ะ) สำหรับการปักธูป ก็จะมีการกวักควันธูปเข้าหาตัวเพื่อให้โชคดี หรือได้รับพรตามที่ขอด้วยค่ะ



สำหรับขั้นตอนการขอพรและโยนเหรียญนะคะ มีข้อมูลดังนี้ค่ะ

ข้อมูลจากเว็บนี้นะคะ

//www.j-plan.co.th/index.php?op=jlife-detail&cid=22&id=218


ในการสักการะขอพร โดยมากนิยมใช้เหรียญห้าเยนโยนใส่กล่องรับบริจาคที่ตั้งอยู่ด้านหน้าที่ สถิตย์องค์เทพ เพราะคำว่าเหรียญห้าเยน (五円) ในภาษาญี่ปุ่น พ้องเสียงกับคำว่า “โกะเอ็น” ที่ย่อมาจาก “โกะเอ็น กะ อาริมัส โยนิ” (ご縁がありますように) ซึ่งแปลง่ายๆได้ว่า “ขอให้โชคดีอยู่กับเรา”

สูตรจำง่ายๆเวลาสักการะคือ “ค้อมสอง ตบสอง ค้อมหนึ้ง” (Nirei Nihakushu Ichirei / 二礼二拍手一礼) นั่นคือหลังโยนเหรียญลงกล่องรับบริจาคแล้ว ให้ค้อมคำนับสองครั้ง ตามด้วยการปรบมือสองครั้ง ตั้งจิตอธิษฐาน แล้วจบด้วยการค้อมคำนับอีกหนึ่งครั้ง

ศาลเจ้าแทบทุกแห่งมีสูตรสำเร็จในการสักการะเหมือนกันหมด ยกเว้นที่ศาลเจ้าใหญ่ๆบางแห่งอย่างเช่น ศาลเจ้าอิซุโมะ (Izumo taisha / 出雲大社) ซึ่งจะต้อง “ค้อมสี่ ตบสี่ ค้อมหนึ่ง”

ไม่ควรบนบาน แต่ควรให้คำมั่นสัญญา (เช่น จะพยายามทำงาน จะตั้งใจเรียน เพื่อ…) แล้วเมื่อนั้นเทพเจ้าจะเป็นกำลังให้เอง


















เข้าไปก็จะพบกับหลวงพ่อไดบุสึแล้วค่ะ


credit : wikipedia

พระพุทธรูปไดบุสึถูกสร้างขึ้นใหม่หลายครั้งโดยเหตุผลต่างๆกัน รวมทั้งความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหว และมีการสร้างขึ้นใหม่ 2 ครั้งที่มีสาเหตุจากเหตุเพลิงไหม้ โดยพระหัตถ์ทั้งสองข้างที่เห็นในปัจจุบันนี้สร้างขึ้นในสมัยโมะโมะยะมะ (พ.ศ. 2111-2158) พระเศียรในปัจจุบันนี้ถูกสร้างขึ้นในสมัยเอโดะ (พ.ศ. 2158-2410) และหอที่ประดิษฐานในปัจจุบันนี้สร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2252 โดยมีขนาดเล็กกว่าอาคารหลังเดิมราว 30% เดิมทีในบริเวณวัดจะมีเจดีย์สูง 100 เมตรอยู่คู่หนึ่ง ซึ่งจัดว่าเป็นอาคารที่สูงที่สุดในโลกในยุคหลังจากการสร้างพีระมิด แต่ได้พังทลายลงเนื่องจากแผ่นดินไหว


















ข้อมูลจาก
//www.angelfire.com/country/thanyawat/Todaiji1.html

องค์ไดบุทสึนั้น เป็นพระพุทธรูปแทนองค์พระไวโรจน์พุทธเจ้า (หมายถึงพระพุทธเจ้าที่มี พระรัศมีส่องสว่างไปทั่วจักรวาลดุจดังพระอาทิตย์) มีการนับถือกันมากในจีน เกาหลี และญี่ปุ่น สร้างด้วยบรอนซ์ มีส่วนผสมคือทองแดง refined wax ทองคำ เมอคิวรี และวัสดุอื่น ๆ นำหนักองค์พระพุทธรูปประมาณ 500 ตัน โดยขนาดขององค์ไดบุทสึนั้นส่วนของพระองค์สูง 14.98 เมตร เฉพาะพระเศียรสูง 5.41 เมตร ความยาวของพระเนตรแต่ละข้าง 1.02 เมตร ความยาวของพระกรรณ 2.54 เมตร ดอกบัวที่ฐานแต่ละกลีบมีความสูง 3.05 เมตร พระพุทธรูปอยู่ในปางนั่งขัดสมาธิเพชร ทรงแสดงธรรม พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระพาหา พระหัตถ์ขวาอยู่ในท่ามุทรา ความงดงามของพระพักตร์นั้น งดงามเกินกว่าจะหาคำบรรยายได้ ได้เคยมีผู้บรรยายความประทับใจเมื่อเห็นพระพักตร์ขององค์ไดบุทสึไว้ว่า “พระโอษฐ์นั้นแย้มเหมือนกำลังจะมีกระแสพระดำรัส” (As one stares at the face of the Buddha, one gets the feeling that statue will begin talking at any moment) (จากหนังสือ Nara Special Photo Guide) อย่างไรก็ตามองค์ไดบุทสึนั้นได้แสดงความจริงของศรัทธา 2 อย่างคือ บุคคลที่มีความศรัทธาต่อ พระพุทธศาสนา เมื่อได้เห็นองค์พระพุทธรูปแล้วเกิดความสงบใจ และความศรัทธาที่สามารถสร้างสรรค์ ศิลปวัตถุอัน ยิ่งใหญ่นี้ขึ้น



อย่างไรก็ตาม หลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า องค์ไดบุทสึได้รับความเสียหาย จากการเผาวัดทั้ง 2 ครั้ง การบูรณะพระหัตถ์กระทำในสมัยโมโมยามา (Momoyama, 1568-1615) สำหรับพระเศียรนั้นบูรณะในสมัยเอโดะ (Edo, 1615-1867)






ส่วนจากเว็บตามลิงก์ด้านล่างนี้ก็บอกเล่าไว้ตามนี้นะคะ (มีข้อแตกต่างนิดหน่อย)

//www.j-plan.co.th/index.php?op=jlife-detail&cid=14&id=153

วัดใหญ่ตะวันออก แห่งเมืองนารา (奈良) แต่โดยมากนักท่องเที่ยวชาวไทยเราก็มักจะเรียกชื่อทับศัพท์ไปเลยว่า วัดโทไดจิ (東大寺) หากนึกไม่ออก ก็ขอให้นึกถึงพระพุทธรูปองค์ใหญ่ๆ กับวัดที่มีกวางมากๆนั่นแหละครับ

วัดโทไดจิตั้งอยู่ที่ เมืองนารา ใกล้กับสวนสาธารณะนารา เป็นวัดพุทธ และเป็นศูนย์กลางของนิกายเคกอน มีองค์พระไวยโรจนะเป็นพระอาทิพุทธในนิกาย และเป็นพระประธานของวัดแห่งนี้

วิหารหลวงพ่อโต (大仏殿) ว่ากันว่าเป็นอาคารไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลกปัจจุบัน และถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้ที่ว่าเป็นอาคารไม้ที่ใหญ่ยิ่งแล้ว วิหารหลังเดิมที่สร้างขึ้นเมื่อยุคแรกที่ก่อนถูกไฟไหม้ไป มีความกว้างขวางกว่าปัจจุบันนี้ 3 เท่า และที่ด้านข้าง ซ้าย-ขวา ของวิหาร ก็ยังเคยมีเจดีย์ 7 ชั้น ที่มีความสูงกว่า 100 เมตร ประดิษฐานอยู่ด้วย

เราขอแทรก - เสริมรูปโมเดลจำลองที่อยู่ภายในอาคาร (ด้านหลังหลวงพ่อโตไดบุสึ) ที่แสดงให้เห็นว่าเจดีย์ที่ว่าประมาณไหนอย่างไรนะคะ






มาอ่านข้อมูลกันต่อนะคะ


แต่เดิมเริ่มแรกวัดนี้ มีชื่อเรียกแตกต่างไปมากมายตามแต่ละสมัยและความสำคัญ แต่ชื่อวัดโทไดจินี้ ได้มีปรากฏในจดหมายเหตุ ในสมัยเทมเปียว (天平) ปีที่ 19 (ปี ค.ศ. 747) ในยุคของจักรพรรดิโชมุ (聖武天皇) ได้มีพระราชดำริสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ เพื่อขจัดปัดเป่าโรคระบาดร้ายที่คุกคามผู้คนในยุคนั้น

ในตอนแรก พื้นที่การจัดสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่อยู่ที่เมืองชิงาระคิ (紫香楽宮) อันเป็นเมืองที่ประทับขององค์จักรพรรดิ แต่ทว่าต่อมาได้มีการย้ายเมืองหลวงกลับมาที่นารานี้ การสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้จึงได้ถูกย้ายมาจัดสร้างขึ้นในพื้นที่ของวัดโทไดจิในปัจจุบัน



พื้นที่ที่จัดสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้ เป็นพื้นที่ของพระอาจารย์โรเบ็น (良弁僧正) แต่ด้วยการสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ มีความจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรต่างๆและผู้ที่มีความรู้ความสามารถในศาสตร์จาก หลายๆแขนง จึงได้นิมนต์หลวงพ่อเกียวกิ (行基) ซึ่งเป็นพระที่มีผู้คนให้ความนับถือศรัทธามากมาเป็นประธานในการจัดสร้าง แต่เมื่อก่อนที่การสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้จะแล้วเสร็จ หลวงพ่อเกียวกิกลับมรณาพไปเสียก่อน จึงได้นิมนต์พระโพธิเสน (菩提僊那) พระอรหันต์จากอินเดียมาเป็นพิธีในการเบิกเนตร ในปี ค.ศ. 752 แล้วหลังจากนั้นถึงได้มีการเริ่มสร้างวิหารครอบองค์พระตามมา แล้วเสร็จในปี ค.ศ. 758

ด้วยความที่วัดโทไดจิแห่งนี้ มีอายุมากกว่า 1,200 ปี แล้ว จึงเป็นวัดที่มีความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก มีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงใหญ่ๆในญี่ปุ่น 4 เรื่องที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัดโทไดจิ คือ การเปลี่ยนแปลงทางการปกครอง การเปลี่ยนแปลงการจัดการนิกายทางพุทธศาสนา การเปลี่ยนแปลงการจัดระเบียบวัด และการเปลี่ยนแปลงทางศิลปะ
















นอกจากนั้นก็มีการให้บูชาหลวงพ่อด้วยเทียนด้วยค่ะ ด้ามละห้าสิบเยนค่ะ หยอดเหรียญใส่ตู้แล้วหยิบเทียนไปได้เลยค่ะ

แล้วก็เอาไปปักที่เชิงเทียนใกล้ๆ กันแหละค่ะ จะอยู่ด้านหน้าหลวงพ่อเลยค่ะ





















ในวัดโทไดจิในปัจจุบันนี้ นอกจากพระพุทธรูปองค์ใหญ่ องค์พระไวยโรจนะแล้ว ที่เบื้องขวามีพระอากาศครร์โพธิสัตว์ (虚空蔵菩薩) และที่เบื้องซ้ายมี พระจินดามณีอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (如意輪観音菩薩) ประดิษฐานอยู่เป็นพระอันดับ ทั้ง 2 องค์นี้ เป็นพระพุทธรูปไม้ที่สร้างขึ้นในสมัยเอโดะ เมื่อครั้งที่สร้างวิหารหลังนี้ครั้งหลังสุด


















จากตัวองค์หลวงพ่อไดบุสึ เดินวนตามเข็มนาฬิกา ทางด้านขวามือจะมีการจำหน่ายกระเบื้องแบบนี้นะคะ

แต่จำไม่ได้ว่าจะเอาไปมุงที่ไหนอย่างไรนะคะ

แต่มีให้เขียนเสร็จสรรพแบบนี้เหมือนวัดในไทยเลยหละค่ะ




















นอกจากนั้นก็มีเจ้านี่ด้วยค่ะ ไม่แน่ใจว่าเป็นเทียนหรือเปล่า แต่ราคาพันเยนแหนะค่ะ ไม่รู้ว่าพิเศษกว่าแท่งละห้าร้อยเยนยังไงนะคะ



เลยจากนี่ไปก็จะเป็นโมเดลจำลองของวัดเดิมที่มีเจดีย์ที่แปะไปก่อนหน้านี้แล้วน่ะนะคะ


















พร้อมกันนี้ยังได้มีการสร้าง ท้าวจตุโลกบาล 4 องค์ ประดับไว้ภายในวิหารอีกด้วย แต่ทว่าในปัจจุบันนี้ ได้เหลือท้าวจตุโลกบาลเพียง 2 องค์ คือ ท้าววิรุฬปักข์ (広目天) ประดิษฐานไว้เยื้องกับด้านหลังของพระอากาศครร์โพธิสัตว์ และท้าวกุเวร หรือท้าวเวสสุวรรณ (毘沙門天) ประดิษฐานไว้เยื้องเบื้องหลังของพระจินดามณีอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ส่วนท้าววิรูหก และท้าวธตรฐ ทั้ง 2 องค์นี้ เหลือแต่เพียงเศียรเก็บไว้ในดูอยู่ที่ด้านหลังของท้าวกุเวร

องค์นี้ท้าววิรุฬปักข์ค่ะ










ส่วนอีกฝั่งขะโน้น จะเป็นท้าวกุเวรนะคะ


















ต่อไปเป็นอาคารจำลองสองอาคาร ไม่มีเวลาอ่าน แต่เดาเอาว่าน่าจะเป็นการเทียบขนาดอาคารเดิมกับอาคารที่สร้างใหม่แล้วเล็กลงหละนะคะ


















ถัดไปเป็นท้าวกุเวร ที่แปะรูปไปก่อนหน้านี้นะคะ


ที่ด้านหน้าของท้าวกุเวร จะมีเสาอยู่เสาหนึ่ง มีรูเล็กๆอยู่ที่ด้านล่างของเสา หากวันไหนมีเด็กๆมาทัศนศึกษา ก็จะมีคิวยืนต่อรอมุดรูนี้อยู่กันยาวเหยียด เชื่อกันว่า หากใครมุดรอดรูนี้ได้ ก็จะถือเป็นการสะเดาะเคราะห์


แต่นอกจากนั้นก็มีข้อมูลที่แตกต่างกันไปนะคะ

อย่างจากลิงก์นี้นะคะ

//www.angelfire.com/country/thanyawat/Todaiji1.html

ภายในพระวิหารหลวงที่ประดิษฐานองค์ไดบุทสุ นอกจากจะประดิษฐานรูปพระโพธิสัตว์ และศิลปวัตถุอื่น ๆ แล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจได้แก่เสาต้นหนึ่ง ที่ฐานเสามีช่องขนาดคนลอดได้ ซึ่งมีคนนิยมไปลอด โดยมีความเชื่อว่าจะโชคดี อย่างไรก็ตามการสร้างช่องดังกล่าวไว้ อาจมีความหมายว่า ทางเดินไปสู่ความเป็น “พุทธะ” หรือความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นช่องทางที่ไปได้ยากลำบากเสมือน กับการลอดเสาดังกล่าว ที่คนตัวใหญ่ไม่สามารถลอดได้ หรือลอดได้ยากลำบาก ก็เปรียบเสมือนบุคคล ที่มีกิเลสหนา ย่อมบรรลุความเป็นพุทธะได้ยาก การที่คนตัวเล็ก หรือเด็ก ๆ สามารถลอดได้ง่าย เปรียบ เสมือนคนที่มีกิเลสเบาบางย่อมพบหนทางที่บรรลุพุทธะได้ง่ายกว่า


นอกจากนั้นก็ยังมีไกด์เคยบอกว่า ลอดรูนี้ไป จะได้กลับมาที่เมืองนาราอีกครั้ง ได้กลับมาที่วัดนี้อีกครั้ง แล้วก็มีบอกว่า พรที่ขอไว้จะประสบความสำเร็จด้วยค่ะ


เพราะงั้นอันนี้ก็แล้วแต่เนาะว่าจะเชื่ออันไหนค่ะ ข้อมูลไม่เหมือนกันเลย ฮา


















คิวยาวพอควรเลยหละค่ะ เหอๆ




















เลยจากเสามาก็จะมีการจำหน่ายของที่ระลึกต่างๆ นะคะ


















แผ่นป้ายเขียนขอพร แผ่นละหกร้อยเยนค่ะ


















นอกจากนั้นก็มีถุงเครื่องรางด้วยนะคะ

ซึ่งแต่ละถุงก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไปค่ะ

บางอันก็เพื่อความรัก ทั้งแบบต้องการให้สมหวัง กับแบบที่ต้องการให้รักกันตลอดไป บางอันเพื่อการเรียน การแข่งขันฯลฯ

แต่ไกด์ญี่ปุ่นเค้าบอกว่า เครื่องรางจะมีอายุแค่หนึ่งปีนะคะ พอครบหนึ่งปีก็ต้องมาบูชาใหม่ค่ะ




















จากนั้นก็ออกมาด้านนอกกันค่ะ มาพบกับพระ Binzuru ซึ่งสร้างตั้งแต่สมัยเอโดะกันนะคะ

ความเชื่อคือ ถ้าเราเจ็บป่วยที่ตรงไหน ให้เราไปถูตรงส่วนนั้นของท่านแล้วเอามาถูกับส่วนนั้นของเราค่ะ แล้วอาการเจ็บป่วยเราจะหายไปค่ะ



















ออกมานอกอาคาร ระหว่างทางเดินออกก็มีของจำหน่ายอีกแล้วค่ะ

มีขนมเป็นรูปกวางและพระพุทธรูปด้วยนะคะ ราคาและแพ็คเก็จก็ตามรูปเลยหละค่ะ

น้ำดื่มแถวนั้นขวดละ 150 เยนนะคะ แพงกว่าตามมินิมาร์ทหน่อยหนึ่งหละ




















นอกจากนั้นก็มีข้อมูลตัวนี้ด้วยค่ะ แต่ว่าเราไม่ได้ถ่ายรูปมาแฮะ ขออภัยนะคะ เอาไว้ถ้าได้ไปอีกจะเอามาแปะเพิ่มน้าา


ที่ด้านหน้าของวิหารหลวงพ่อโต จะมีตะเกียงสำริด 8 เหลี่ยมตั้งอยู่โดดเด่นกลางลานหน้าวิหาร ตะเกียงนี้มีอายุใกล้เคียงกันหรือเท่ากับอายุของพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ที่สำคัญที่ลวดลายสลักที่บานประตูตะเกียงจะมีรูปของเหล่าคนธรรพ์ขับกล่อม ดนตรีอยู่ ซึ่งตรงนี้แสดงให้เห็นถึงเครื่องดนตรีในยุคเมื่อ 1,200 ปีก่อนได้ดี









ก็หวังว่าเอนทรี่นี้คงพอเป็นประโยชน์สำหรับคนที่จะไปเที่ยวญี่ปุ่น ไปเมืองนารา หรือไปวัดนี้กันบ้างนะคะ หากมีอะไรผิดพลาด เชิญคอมเม้นท์ได้เลยค่ะ เราเองก็จะได้ทราบด้วย แฮ่...














ปฏิทินธรรม








วันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม 2557

1. ตักบาตรพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น วัดพุทธบูชา (ทุกวันเสาร์แรกของเดือน)




วันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม 2557 (กิจกรรมจัดทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน)

1.ทำบุญกับพระกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
ณ มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ถ.จรัญสนิทวงศ์ซอย 37
เวลา 06.30-10.30 น.


ดูรายละเอียดพระที่มารับบาตรและแผนที่ได้ที่
//www.watpa.com/board_detail.asp?board_id=3447





วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม ๒๕๕๗

1. เชิญทุกท่านร่วมสวดมนต์ และฟังการแสดงธรรม โดย พระหลวงปู่อุทัย สิริธโร วัดเขาใหญ่เจริญธรรมญาณสัมปันโน จ.นครราชสีมา

เวลา ๑๘.๐๐-๒๐.๐๐ น.

ณ บ้านอารีย์

เว็บไซต์บ้านอารีย์
//www.baanaree.net





วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม 2557 (กิจกรรมจัดทุกๆ วันอาทิตย์ที่ ๒ และ ๔ ของเดือน)

1. ทำบุญ ฟังธรรม จากครูบาอาจารย์พระป่าสายกัมมฐาน ณ ศาลาลุงชิน แจ้งวัฒนะ 14
กิจกรรมจะเริ่มจากการถวายภัตตาหารร่วมกันเวลา ๘:oo น. สำหรับท่านที่สนใจนำอาหารมาร่วมทำบุญ แนะนำให้มาก่อนเวลาเพื่อจัดเตรียมอาหารใส่ภาชนะ ซึ่งจะเริ่มลำเลียงถาดอาหารเพื่อเตรียมประเคนเวลาประมาณ ๗:๔๕ น.

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่
https://www.facebook.com/SalaLungChin?fref=ts






วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม 2557 (กิจกรรมจัดทุกวันอาทิตย์ที่สามของเดือน)

1. ตักบาตรพระกรรมฐาน (นิมนต์พระสายหลวงปู่มั่น) ที่วัดบรมนิวาส (ไม่มีรายละเอียดอย่างอื่นค่ะ)





วันพุธที่ 14 พฤษภาคม 2557

1. ฟังธรรม พระอาจารย์มานพ อุปสโม แห่งวัดนายโรง และศูนย์ปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ เขาดินหนองแสง จันทบุรี

18.30 น. - สวดมนต์ ทำวัตรเย็น / 19.00-21.00 น. - นั่งสมาธิ และ ฟังธรรม (เน้นการปฏิบัติ ตามแนวมหาสติปัฏฐาน 4)

ณ หอประชุมพุทธคยา อมรินทร์พลาซ่า ชั้น 22

รายละเอียดเพิ่มเติม
https://www.facebook.com/events/874320219304643/?ref=5





วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม 2557 (จัดทุกวันเสาร์ที่สี่ของเดือน)

1. เชิญทุกท่านร่วมทำบุญตักบาตร สดับธรรม พระเถระวัดป่ากรรมฐาน เมตตารับบาตร โดย พระราชภาวนาวิกรม (หลวงพ่อเลี่ยม ฐิตธมฺโม) วัดหนองป่าพง จ. อุบลราชธานี พระครูสุธรรมประโชติ (หลวงพ่อคำผอง ฐิตปุญโญ) วัดป่าพิทักษ์ธรรม จ. นครราชสีมา พระครูภาวนาอุดมคุณ (หลวงพ่อโสภา อุตฺตโม) วัดเขาวันชัยนวรัตน์ จ. นครราชสีมา

เวลา ๐๗.๐๐-๑๐.๐๐ น. ณ บ้านอารีย์

เว็บไซต์บ้านอารีย์
//www.baanaree.net





วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๗ (ในเว็บแย้งกันอยู่ค่ะ ที่หัวบอกว่าวันที่ 8 พฤษภาคม แต่ในเนื้อหาบอก 27 ยังไงเช็คกับทางบ้านอารีย์อีกทีนะคะ เพราะเราโทร.ไปถามแล้วไม่มีคนรับสายเลยค่ะ)

1.เชิญทุกท่านร่วมสวดมนต์ และฟังการแสดงธรรม โดย พระครูโอภาสวุฒิกร (พระอาจารย์โสภณ โอภาโส) วัดบึงลัฏฐิวัน จ.พระนครศรีอยุธยา

เวลา ๑๘.๐๐-๒๐.๐๐ น.ณ บ้านอารีย์

เว็บไซต์บ้านอารีย์
//www.baanaree.net











ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาค่ะ

1,469,696+1548438=3018134/10485/852











 

Create Date : 08 พฤษภาคม 2557
26 comments
Last Update : 8 พฤษภาคม 2557 6:38:25 น.
Counter : 17319 Pageviews.

 

คุณสาวไกด์คะ
บราวนี่ชิ้นนึง ตกแปดสิบบาท เราว่าแพงแต่รสชาติเข้มๆของเขาทำให้เราอยากให้พ่อชิมบ้าง เลยจัดไปค่ะ

ราคาหนึ่งตำลึง (80 บาท) สมัยก่อนขอลูกสาวได้เลย แต่เดี๋ยวนี้ได้ก๋วยเตี๋ยวหรือบราวนี่ชิ้นเดียว!!

 

โดย: Love At First Click 8 พฤษภาคม 2557 8:59:49 น.  

 

แวะมาเที่ยวญี่ปุ่นฟรีกับสาวไกด์ค้าบ ฟรีดีคุ้มมีความรู้ต้องบล็อกนี้เลย อิอิ

 

โดย: น้ำ-ฟ้า-ป่า-เขา 8 พฤษภาคม 2557 10:16:14 น.  

 



น่าจะอันนี้มัง ตะเกียงที่ว่า

 

โดย: ปลาทอง สมองน้อย 8 พฤษภาคม 2557 15:15:25 น.  

 

เป็นวัดเก่าที่สวย และน่าไปมากๆ ค่ะพี่เต้ย

 

โดย: sawkitty 8 พฤษภาคม 2557 15:26:18 น.  

 

วัดนี้มีโอกาสก็อยากไปค่า

 

โดย: บาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน 8 พฤษภาคม 2557 21:19:54 น.  

 

khonkaenlink.com
----------------------
แวะมาทักทายด้วยความคิดถึงค่ะคุณเต้ย

 

โดย: เกศสุริยง 8 พฤษภาคม 2557 22:03:45 น.  

 

วัดสวยค่ะพี่เต้ย
มีตั๋วเข้าวัดด้วยอะ
ตอนแรกก็แปลกใจ ที่ไหนได้ วัดพระแก้วบ้านเรายังมีเลยเนอะ อิอิ

ของที่ระลึกเป็นถุงเครื่องรางสีต่างๆ
เคยอ่านหนังสือการ์ตูนเค้าฮิตมีไว้กันมากเลย
ไม่รู้ว่าตอนนี้ ถือเป็นแฟชั่นหรือป่าวไม่รู้นะ เพราะถุงสีสันสวยๆ ทั้งนั้น ค่า อิอิ




ส่งกำลังใจให้พี่เต้ยค่า



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
สาวไกด์ใจซื่อ Travel Blog ดู Blog


 

โดย: Rinsa Yoyolive 8 พฤษภาคม 2557 22:15:27 น.  

 

ตามน้องเต้ยมาเที่ยวจีะ
น่าไปวัดนี้จังเลย

 

โดย: อุ้มสี 9 พฤษภาคม 2557 0:01:10 น.  

 

ขอบคุณที่พาเที่ยวได้ละเอียดมากเลยครับ เมื่อ 20 กว่าปีก่อนตอนยังละอ่อนมีโอกาสไปกับกรุ๊ปทัวร์ จำอะไรเกี่ยวกับวัดไม่ได้เลย เพราะไม่สนใจฟัง (ไม่มีภาระต้องเขียนบล็อคแบบตอนนี้) จดจำได้แค่ 2 อย่าง กวางที่วัดเชื่องมาก ยังมีรูปเอามือลูบหัวถ่ายรูปกับกวางอยู่ กับวิธีล้างมือจากกระบวย ^^

 

โดย: แมวเซาผู้น่าสงสาร 9 พฤษภาคม 2557 0:21:15 น.  

 

ตามมาเที่ยวด้วยคนค่ะ ชอบกวาน ใกล้ชิดมากๆ

 

โดย: มี๊เก๋+ป๊าโอ๋=ซีทะเล (kae+aoe ) 9 พฤษภาคม 2557 8:40:26 น.  

 

กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดด
ยิ่งเห็นยิ่งอยากไปเที่ยวญี่ปุ่นนนนนง่ะพี่เต้ย
รูปช่างเย้ายวนมาก ๆ ค่ะ

 

โดย: Close To Heaven 9 พฤษภาคม 2557 15:36:56 น.  

 

ตามพี่เต้ยมาเที่ยวเมืองนารา ญี่ปุ่นครับ กดโหวตให้เลย


ป.ล.ขอบคุณสำหรับที่กดโหวตให้ผมด้วยนะครับ


บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
สาวไกด์ใจซื่อ Travel Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: ปีศาจความฝัน 9 พฤษภาคม 2557 15:38:35 น.  

 

นอกจากอาหารแล้วที่ญี่ปุ่นนี่
ของที่ขายริมทางนี่น่าซื้อไปหมดเลยนะคะ

 

โดย: ปรัซซี่ 9 พฤษภาคม 2557 22:18:38 น.  

 

วัดนี้คนเที่ยวเยอะมากเลยนะคะ
เคยได้ยินชื่อเสียงมานานแล้วค่ะ
แต่ก็ไม่เคยได้ไปซะที

ขอบคุณสำหรับรีวิิวค่า ^^

 

โดย: lovereason 9 พฤษภาคม 2557 23:46:09 น.  

 

แน่นขนาดนี้ ไม่น่าผิดพลาดแล้วล่ะจ้ะ

เที่ยวฟรีกับเต้ยไปก่อนละกันพี่

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 10 พฤษภาคม 2557 22:13:37 น.  

 

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
อุ้มสี Hobby Blog ดู Blog
สาวไกด์ใจซื่อ Travel Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

วันนี้ชอบจังค่ะ

 

โดย: ~ ริมน้ำ_VoUฟ้า ~ (rimnam_kobfa ) 12 พฤษภาคม 2557 13:22:55 น.  

 

ตามมาเที่ยว มา Vote ด้วยค่ะ



สาวไกด์ใจซื่อ Travel Blog ดู Blog


 

โดย: คนผ่านทางมาเจอ 12 พฤษภาคม 2557 14:08:09 น.  

 

ตามมาเที่ยวด้วยคนค่ะ

 

โดย: แม่ออมบุญ 12 พฤษภาคม 2557 14:25:01 น.  

 

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
นธีทอง Business Blog ดู Blog
สายหมอกและก้อนเมฆ Photo Blog ดู Blog
สาวไกด์ใจซื่อ Travel Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

แง ๆ ๆ ๆ ๆ หนูอยากไปเที่ยววววววววววววว

 

โดย: Close To Heaven 12 พฤษภาคม 2557 19:37:22 น.  

 




More Funny Hello Comments

%%%%%%%%%%%%%%
ระลึกถึงเสมอค่ะคุณเต้ย

 

โดย: เกศสุริยง 12 พฤษภาคม 2557 22:05:45 น.  

 

ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตให้น้องซีนะคะ

 

โดย: มี๊เก๋+ป๊าโอ๋=ซีทะเล (kae+aoe ) 13 พฤษภาคม 2557 8:42:02 น.  

 

ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตให้น้องซีนะคะ

 

โดย: มี๊เก๋+ป๊าโอ๋=ซีทะเล (kae+aoe ) 13 พฤษภาคม 2557 8:42:02 น.  

 

กลับมาเที่ยวแล้ว บ้านนี้ต้องเที่ยวให้สมชื่อสิ อิอิ

พูดถึงเมืองนารา ผมนึกถึงกวางขึ้นมาก่อนเลย พอเลื่อนภาพลงมาก็ใช่เลย

วิธีการล้างมือดูเหมือนว่าทุกๆ ที่ใช้แบบนี้หมด เป็นธรรมเนียมของเค้าเลย

อาคารใหญ่มาก เทียบกับคนยิ่งเห็นได้ชัด อยากรู้ว่าถ้าเค้าปิดประตูจะเสียเวลาขนาดไหน

จากรูปคนเยอะนะครับ โมเดลจำลองน่าสนใจ ผมชอบพวกของจำลองเป็นทุนอยู่แล้วด้วย

ช่องที่ให้ลอดน่าลองครับ

แผ่นป้ายเขียนขอพร บางที่ผมเห็นมีคนวาดการ์ตูนลงไปด้วย พร้อมกับเขียนคำอวยพร เครื่องรางมีหมดอายุด้วย ของไทยเช้าพระใช้ได้ตลอดอายุไขเลย

+

 

โดย: คุณต่อ (toor36 ) 14 พฤษภาคม 2557 0:03:29 น.  

 

ตามๆไปด้วยคนค่า

 

โดย: Eat Lek Lek 14 พฤษภาคม 2557 8:40:56 น.  

 

มากดโหวดด้วยคน

ถ้าอกหัก...จะถูส่วนไหนของพระคะ
55555

 

โดย: สุริยาวดี 15 พฤษภาคม 2557 9:36:17 น.  

 

I hve bbeen bbrowsing online more than thee houts nowadays, yet I
bby no means discovered any innteresting articlke lie yours.
It iis prefty vallue enogh foor me. In mmy opinion, iff alll wbsite owneds annd
bloggefs made just rightt content maaterial aas youu did,
tthe webb will bee muchh moee uuseful than ever before. It iis perfecft time too
ake some planjs forr tthe futire aand iit iss time tto bee happy.
I_ve read thiss post and iff I could I wish too suggest youu few nteresting thigs oor tips.
Perhaps youu ccan write nexst articles referrding tto tbis article.
I wanmt tto reqd more things about it! I wikl immediately snatch
your rss as I ccan not iin fiinding youur email subscriptionn hypeerlink or newslettr
service. Do youu hhave any? Kibdly llet mme recognise in order that I ould subscribe.
Thanks. //foxnews.co.uk/

 

โดย: Sanora IP: 192.99.15.166 10 มีนาคม 2560 18:25:52 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สาวไกด์ใจซื่อ
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 203 คน [?]




ชอบอ่านหนังสือและดูหนังค่ะ ตอนนี้ทำงานด้านการท่องเที่ยวอยู่ นิสัยดีบ้างร้ายบ้าง แล้วแต่สภาวการณ์และคนที่เจอ


เนื้อหาและรูปภาพทั้งหมดในบล็อกสงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ไม่อนุญาตให้นำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของบล็อก


ติดต่อเจ้าของบล็อกได้ที่ theworpor@yahoo.com
หรือ
https://www.facebook.com/saoguide






Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2557
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
8 พฤษภาคม 2557
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สาวไกด์ใจซื่อ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.