Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
12 ธันวาคม 2554
 
All Blogs
 
ที่สุดแห่งอุคคหนิมิต (5)...ประวัติ บอกเล่า (6)...เสถียร จันทิมาธร

.. วิภีแห่งการปฎิบัติ พระอาจารย์มั่น ภูริภัตโต ที่สุดแห่งอุคคหนิมิต (5)



ไม่ว่าวาระแรก ปรากฏรูปอสุภะภายนอก เห็นคนตายอยู่ข้างหน้าห่างจากที่นั่งประมาณ 1 วา ผินหน้ามาทาง พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

มีสุนัขตัวหนึ่งดึงเอาไส้ออกไปกิน

ไม่ว่าวาระที่ 2 เมื่อร่างอสุภะได้กลับกลายเป็นวงแก้ว เพ่งอยู่ในวงแก้วอันขาวเลื่อมใสสะอาด คล้ายวงกสิณสีขาว

ไม่ว่าวาระที่ 3 อันกล่าวได้ว่าเป็นการไปสู่ "ภูเขา"

ไม่ว่าวาระที่ 4 ไปถึงฝั่งโน้น ปรากฏเห็นกำแพงใหญ่ ประกอบด้วยค่ายคู ประตูและหอรบอันมั่งคั่ง นึกอยากเข้าไปจึงเดินไปผลักประตู แต่ประตูไม่เปิด

ล้วนเกิดขึ้นระหว่างนั่งกัมมัฏฐาน ณ วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี

เป็นความต่อเนื่องของอุคคหนิมิต ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อ ที่ทุกอย่างอันปรากฏผ่าน "ท่านเล่าให้ฟัง" นี้มีความต่อเนื่องตลอด 3 เดือน

ในชั้นนี้จะยังไม่อธิบาย จะยังไม่ทำความเข้าใจ แต่จะให้อ่านเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและสัมพันธ์กับวาระ 1 วาระ 2 วาระ 3 วาระ 4 อันเป็นประสบการณ์ธรรมสำคัญยิ่งของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
โปรดอ่าน

วาระที่ 5 ทำอย่างเก่าอีก ปรากฏไปอย่างเก่า

สะพานจากสำเภาใหญ่ไปยังฝั่งโน้นปรากฏว่าใหญ่กว่าเก่ามาก ครั้นเดินตามสะพานนั้นไปได้ครึ่งสะพาน ปรากฏเห็นท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ (สิริจันโทเถร จันทร์) เดินสวนมาและกล่าวว่า

"อัฏฐังคิโก มัคโค"

แล้วต่างก็เดินต่อไปประตูใหญ่ได้

เข้าไปข้างในกำแพง ปรากฏมีเสาธงทองตั้งอยู่ท่ามกลางเวียงนั้นสูงตระหง่าน ต่อไปข้างหน้าปรากฏมีถนน

เป็นถนนที่สะอาดดี เตียนราบ มีเครื่องมุง มีประทีปโคมไฟติดเป็นดวงไปตามเพดานหลังคาถนน

มองไปข้างหน้าเห็นมีโบสถ์หลังหนึ่งตั้งอยู่จึงเดินเข้าไปในโบสถ์

ภายในโบสถ์มีทางจงกรม จึงได้เดินจงกรมไปๆ มาๆ อยู่ และต่อมาปรากฏมีธรรมาสน์อันหนึ่งวิจิตรด้วยเงิน จึงขึ้นไปนั่งบนธรรมาสน์นั้น

บนธรรมาสน์มีบาตรลูกหนึ่ง เปิดดูในบาตรมีมีดโกนเล่มหนึ่ง

พอมาถึงตรงนี้ก็อยู่ ไม่ปรากฏอะไรต่อไปอีก

วันต่อมาก็ยังเข้าไปถึงตรงนี้อีกทุกๆ วัน ทุกครั้งที่เข้าไปก็ปรากฏว่าในตัวท่านมีดาบสะพายอยู่เล่มหนึ่งกับมีรองเท้าสวมอยู่ด้วย

ปรากฏเป็นอย่างนี้อยู่ 3 เดือน

ครั้นต่อมาเมื่อออกจากที่แล้ว (คือ จิตถอนออกจากสมาธิ) เห็นอารมณ์ภายนอกก็ยังกระทบกระทั่งอยู่ร่ำไป

สวยก็เกิดรัก ไม่ดีก็ชัง เป็นอยู่อย่างนี้

ท่านจึงพิจารณาว่า การที่เราพิจารณาอย่างนี้ มันยังเป็นนอกอยู่ ไม่อยู่กะที่ และครั้นกระทบอารมณ์ก็ยังหวั่นไหวอยู่

นี้เห็นจะไม่ใช่ทางเสียแล้วกระมัง

เมื่อพิจารณาได้ความอย่างนี้จึงเริ่มแก้ด้วยอุบายวิธีใหม่ จึงตั้งต้นพิจารณากายนี้ทวนขึ้นและตามลงไป อุทธัง อโธ ติริยัญจาปี มัชเฌ เบื้องบนแต่ปลายเท้าขึ้นมา เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป แลด้านขวางสถานกลางโดยรอบ ด้วยการจงกรม

เวลาจะนอนก็นอนเสีย ไม่นั่งให้มันรวมเหมือนอย่างเก่า

ใช้อุบายนี้ทำประโยคพยายามพากเพียรอยู่โดยมิท้อถอย ตลอด 3 วันล่วงแล้วจึงนั่งพิจารณาอีก ทีนี้จิตจึงรวมลงและปรากฏว่ากายนี้แตกออกเป็น 2 ภาค พร้อมกับรู้ขึ้นในขณะนั้นว่า

"เออ ที่นี้ถูกแล้วละ เพราะจิตไม่น้อมไป และมีสติรู้อยู่กับที่"

นี้เป็นอุบายอันถูกต้องเป็นครั้งแรก

ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นประสบการณ์ธรรมในระหว่าง พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ปฏิบัติกัมมัฏฐานภาวนาตามแนวทางอัน พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล ได้สอนสั่ง

สำนวนที่ยกมาเป็นสำนวนอันปรากฏในงานเขียน พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส)

ถือว่าเป็นต้นแบบของงานวรรณกรรมชีวประวัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งต่อเนื่องไปยังงานของ พระอาจารย์วิริยังค์ ต่อเนื่องไปยังงานของ พระมหาบัว ญาณสัมปันโน และต่อเนื่องไปยังงานของ พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ

การทำความเข้าใจต่อสุบินนิมิต อุคคหนิมิต นี้จำเป็นต้องศึกษาอย่างเปรียบเทียบ ศึกษาในท่วงทำนองหาสัจจะจากความจริง



ประวัติ บอกเล่า (6) คอลัมน์ วิถีแห่งการปฏิบัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต  เสถียร จันทิมาธร


ไม่ว่าจะเป็นชีวประวัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต สำนวน พระอริยคุณาธาร หรือสำนวน พระวิริยังค์ หรือสำนวน พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ตลอดจนสำนวน พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ

ล้วนดำเนินไปในลักษณะ "ท่านเล่าว่า"

"ในการเรียบเรียงชีวประวัติของท่านอาจารย์ ได้อาศัยบันทึกคำบอกเล่าของท่านอาจารย์ตามที่ พระภิกษุทองคำ ญาโณภาโส บันทึกไว้ กับอาศัยปรึกษาไต่ถาม ท่านเทศก์ เทสรังสี ศิษย์ผู้ใหญ่รูปหนึ่ง ซึ่งมีโอกาสได้ติดตามท่านอาจารย์ไปถึงเชียงใหม่ ได้อยู่ในสำนักท่านอาจารย์นานกว่าศิษย์อื่นๆ และความจดจำของข้าพเจ้าเองประกอบกัน"

เป็นคำชี้แจงของ พระอริยคุณาธาร จากเสนาสนะป่าเขาสวนกวาง ขอนแก่น ลงวันที่ 11 มกราคม 2493

"แม้ข้าพเจ้าจะมีโอกาสได้อยู่ในสำนักท่านอาจารย์ชั่วเวลาน้อย ท่านอาจารย์ก็ได้บอกเล่าเรื่องอะไรต่ออะไรแก่ข้าพเจ้ามิใช่น้อย ชะรอยท่านจะเล็งเห็นว่าข้าพเจ้าจะได้เขียนชีวประวัติของท่านในอวสานสมัยก็อาจเป็นได้"

ขณะที่กล่าวสำหรับ พระวิริยังค์ และ พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ก็อยู่ในประสบการณ์ "ท่านเล่าว่า" ระหว่างที่ปฏิบัติรับใช้ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

เช่นเดียวกับ พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ ซึ่งก็คือ พระภิกษุทองคำ ญาโณภาโส นั่นเอง

ใครที่ได้อ่านสำนวนการเขียนต่างกรรมต่างวาระกันของพระอาจารย์ทั้ง 4 ย่อมสัมผัสได้ตั้งแต่ขั้นต้นคือ ท่วงทำนอง ลีลา การเขียน

ย่อมเป็นไปตาม "วาสนา" ของแต่ละท่าน

ขณะเดียวกัน รายละเอียด ข้อวัตร ปลีกย่อยต่างๆ ก็แตกต่างกันไป ตามแต่ละท่านจะได้รับฟังคำบอกเล่ามาอย่างไร

อย่างที่ พระวิริยังค์ กล่าวนั่นเอง

"การเกิดนิมิตที่ท่านเล่ามานี้ ผู้เขียนได้เขียนจากปากคำของท่านเอง ขณะที่ท่านอาจารย์มั่นนั่งอยู่ที่ศาลาเวลาบ่าย 2 โมงเศษ ผู้เขียนสนใจเป็นพิเศษขอจดลงในสมุดบันทึกเลย และท่านก็บอกผู้เขียนว่า

"ระวังอย่าได้ไปหลงในนิมิตเช่นนี้เพราะมันวิเศษจริงๆ ผู้ปฏิบัติทางจิตชอบจะมาติดอยู่เพียงแค่นี้แล้วสำคัญตนผิด เราเองก็สำคัญตัวเราเองมาแล้วและมันก็น่าจะหลงเพราะเป็นสิ่งอัศจรรย์มาก ที่วิปัสสนูปกิเลสก็เป็นเช่นนี้"

การตีความตาม "ท่านเล่าว่า" จึงมีความสำคัญเป็นอย่างสูง

หากสังเกตอย่างเข้มงวดและจริงจัง ไม่ว่าการตีความโดย พระอริยคุณธาร ไม่ว่าการตีความโดย พระวิริยังค์ ไม่ว่าการตีความโดย พระมหาบัว ญาณสัมปันโณ รวมถึงการตีความโดยพระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ มีความแตกต่างกันในรายละเอียด

ตรงนี้เองที่ทำให้การศึกษาประวัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มีความเข้มข้น

กล่าวสำหรับนิมิตอัน "ปรากฏ" ระหว่างพรรษาแรกๆ ณ วัดเลียบ อุบลราชธานี ท่าทีและความเห็นต่อนิมิตมีความแตกต่างกัน

ต่อ "สุบินนิมิต" อาจมีความเห็นไม่มากนัก แต่ต่อ "สมาธินิมิต" ค่อนข้างจริงจัง

เพราะว่านิมิตอันมาจาก "ความฝัน" เสมอเป็นเพียงการบ่งชี้ถึงวิถีแห่งชีวิต วิถีในแนวทางการปฏิบัติในอนาคต

การพิจารณาความฝันอาจดำเนินไปในลักษณะการตีความสัญลักษณ์

"บ้านนั้นคือความผิดทั้งหลาย และป่านั้นคือกิเลสซึ่งเป็นความผิดเหมือนกัน อันความที่บรรลุถึงทุ่งเวิ้งว้างนั้น คือละความผิดทั้งหลาย ประกอบแต่ความดีความงาม ขอนชาติได้แก่ชาติความเกิด ม้าได้แก่ตัวปัญญาวิปัสสนาจักมาแก้ความผิด

"การขึ้นสู่ม้าแล้วม้าพาวิ่งไปสู่ตู้พระไตรปิฎกแล้ว คือ เมื่อพิจารณาไปแล้วจักสำเร็จเป็นปฏิสัมภิทานุสาสน์ ฉลาดรู้อะไรๆ ในเทศนาวิธีทรมานแนะนำสั่งสอน สานุศิษย์ทั้งหลายให้ได้รับความเย็นใจและเข้าใจในข้อปฏิบัติทางจิต แต่จะไม่ได้ในจตุปฏิสัมภิทาญาณเพราะไม่ได้เปิดตู้นั้น"

ที่ไม่ควรมองข้าม การพิจารณาตีความ "สุบินนิมิต" นี้มิได้เป็นการตีความโดยผู้เขียน หากแต่เป็นการตีความอันดำเนินไปในลักษณะ "ท่านเล่าว่า"

ไม่ว่าจะเป็น "สุบินนิมิต" ไม่ว่าจะเป็น "สมาธินิมิต" มาจากการเล่าของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

เป็นการเล่าตามกรรมต่างวาระ เล่าตามความทรงจำ แต่การถ่ายทอดโดยผู้เขียนซึ่งเป็นศิษย์มีรายละเอียดไม่เหมือนกัน และในบางส่วนการตีความก็แตกต่างออกไป

สิ่งควรสนใจ คือ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ประเมินและสรุปอย่างไร

credit : //www.khaosod.co.th/
แต่งกรอบสวยๆ  lozocat



Create Date : 12 ธันวาคม 2554
Last Update : 13 ธันวาคม 2554 14:22:05 น. 0 comments
Counter : 930 Pageviews.

Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.