Group Blog
 
<<
มกราคม 2557
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
14 มกราคม 2557
 
All Blogs
 

ผู้ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีนในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส"

 มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์

มักซีมีเลียง ฟร็องซัว มารี อีซีดอร์ เดอ รอแบ็สปีแยร์ (ฝรั่งเศส: Maximilien François Marie Isidore de Robespierre; 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2301 - 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2337) เป็นอดีตประธานคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะที่ตั้งขึ้นเพื่อสอดส่องดูแลความมั่นคงปลอดภัยในสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 ช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งประธานของคณะนี้มีอำนาจจับกุมและสั่งประหารชีวิตผู้คนได้


มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2301 (ค.ศ. 1758) ที่เมืองอารัส แคว้นนอร์-ปาดกาแล ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาก็ได้เข้าเป็นผู้นำของกลุ่มฌากอแบ็งที่กล่าวหาพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส และพระนางมารี อองตัวแนต ว่า ได้ทรงกระทำการในสิ่งที่เป็นการขายชาติ ทั้งยังเรียกร้องให้ประหารชีวิตทั้งสองพระองค์อีกด้วย


แต่ก่อนหน้านั้นไม่นาน ในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) มีฝูงชนฝรั่งเศสกลุ่มใหญ่ลุกฮือทลายคุกบาสตีย์ในกรุงปารีส เพื่อต่อต้านระบอบกษัตริย์และขุนนางของฝรั่งเศส แล้วไม่นานชาวฝรั่งเศสจำนวนมากก็เข้าร่วมฝูงชนนี้ ทำให้การปฏิวัติสำเร็จอย่างรวดเร็ว ฝรั่งเศสเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่ประเทศอื่น ๆ ต่างคัดค้านไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัตินี้และพยายามกดขี่ข่มเหงฝรั่งเศส


ดังนั้น ต่อมาในพ.ศ. 2336 รอแบ็สปีแยร์ก็ฉวยโอกาสตอนตนกำลังมีชื่อเสียงโด่งดัง และช่วงที่ฝรั่งเศสกำลังถูกคุกคาม เข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะ เขาจึงได้กลายเป็นจอมเผด็จการอย่างแท้จริง ในเวลาปีเดียว เขาจับกุมและประหารผู้คนนับพัน ๆ ตั้งแต่ความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ จนถึงความผิดอุกฉกรรจ์ หรือแม้แต่การใส่ร้ายใส่ความโดยรอแบ็สปีแยร์ ต้องถูกประหารโดยเครื่องประหารกิโยติน เขาคิดว่าสิ่งที่เขาทำเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม แต่คนอื่น ๆ เรียกช่วงเวลาที่รอแบ็สปีแยร์อยู่ในตำแหน่งว่า สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว ศัตรูจึงขนานนามเขาว่า ดิกตาเตอร์ซงกิแนร์ หรือเผด็จการกระหายเลือด


ดังนั้นใน พ.ศ. 2337 จึงมีผู้คนจำนวนมหาศาลรวมตัวกันโค่นอำนาจและจับกุมรอแบ็สปีแยร์ เขาพยายามฆ่าตัวตาย แต่ไม่สำเร็จ ต้องตายโดยการถูกประหารด้วยเครื่องกิโยตินท่ามกลางผู้คนมากมายที่รุมล้อมในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2337 (ค.ศ. 1794)
 สมาชิกแห่งสมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศส
ดำรงตำแหน่ง
20 กันยายน ค.ศ. 1792 – 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1794
Deputy for the Third Estate of the Estates-General
เขตอาร์ตัว
ดำรงตำแหน่ง
6 พฤษภาคม ค.ศ. 1789 – 17 มิถุนายน ค.ศ. 1789
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด     6 พฤษภาคม ค.ศ. 1758
อารัส ประเทศฝรั่งเศส

 รอแบ็สปีแยร์ ประมาณปี ค.ศ. 1790 (ศิลปินนิรนาม) พิพิธภัณฑ์การ์นาวาแล กรุงปารีส
Deputy และสมาชิกแห่งคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัยแห่งรัฐ
ดำรงตำแหน่ง
27 กรกฎาคม ค.ศ. 1793 – 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1794
ดำรงตำแหน่ง
4 มิถุนายน ค.ศ. 1794 – 17 มิถุนายน ค.ศ. 1794
ประธานสมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศส
ดำรงตำแหน่ง
22 สิงหาคม ค.ศ. 1793 – 5 กันยายน ค.ศ. 1793

 เสียชีวิต     28 กรกฎาคม ค.ศ. 1794 (36 ปี)
ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
สัญชาติ     ฝรั่งเศส
พรรคการเมือง     ฌากอแบ็ง
ศิษย์เก่า     ลีเซหลุยส์-เลอ-กร็อง
วิชาชีพ     ทนายความและนักการเมือง
ศาสนา     เทวัสนิยม

ลายมือชื่อ

ผู้ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีนในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส"



มาดาม ดูว์ บารี

ฌาน เบกู, กงแต็ส ดู บาร์รี (ฝรั่งเศส: Jeanne Bécu, comtesse du Barry; 19 สิงหาคม ค.ศ. 1743 – 8 ธันวาคม ค.ศ. 1793) เป็นพระสนมเอกคนสุดท้ายของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส เป็นหนึ่งในเหยื่อผู้ถูกปราบปรามภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส และถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีน

ก่อนเข้าสู่ราชสำนักฝรั่งเศส มาดาม ดู บาร์รีมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะโสเภณีชั้นสูงผู้มีโฉมงดงาม ได้เข้าถวายตัวเป็นพระสนมในพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ในปี ค.ศ. 1769 ตั้งแต่อายุ 26 ปี โดยเป็นพระสนมเอกคนโปรด และมีอิทธิพลสูงสุดรองจากมาดาม เดอ ปงปาดูร์ ที่เสียชีวิตไปก่อนหน้านั้น

ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส มาดาม ดู บาร์รี ถูกกล่าวหาว่าให้การสนับสนุนทางการเงินต่อฝ่ายตรงข้าม และถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยกิโยตีนในปี ค.ศ. 1793


มารี อองตัวเนต
พระนามาภิไธย     มาเรีย แอนโทเนีย โจเซปปา โจฮันนา
พระอิสริยยศ     พระราชินีแห่งฝรั่งเศสและนาวาร์
ราชวงศ์     ฮับส์บูร์ก-ลอแรน
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ     2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1755
สวรรคต     16 ตุลาคม ค.ศ. 1793 (1755 พฤศจิกายน พ.ศ. 02 (-14 ชันษา))
พระราชบิดา     จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
พระราชมารดา     จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา
พระราชสวามี     พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส

Smileyมารี อ็องตัวแน็ต.....


หลุยส์ ฟิลิปที่ 2 ดยุกแห่งออร์เลอ็อง
หลุยส์ ฟิลิปป์ที่ 2 ดยุกแห่งออร์เลอองส์ (อังกฤษ: Louis Philippe II, Duke of Orléans หรือ Louis Philippe Joseph d'Orléans) (13 เมษายน ค.ศ. 1747 - 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1793) หลุยส์ ฟิลิปป์ที่ 2 ดยุกแห่งออร์เลอองส์ผู้เป็นดยุกแห่งออร์เลอองส์องค์ที่ 5 เป็นขุนนางชาวฝรั่งเศสของสายย่อยของราชวงศ์บูร์บองซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ครองฝรั่งเศสอยู่ในขณะนั้น หลุยส์ ฟิลิปป์เป็นผู้สนับสนุนการปฏิวัติฝรั่งเศสอย่างขันแข็งและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ฟิลิปป์ เอกาลีเต” (Philippe Égalité) แต่กระนั้นก็ยังตกเป็นเหยื่อของการถูกประหารชีวิตโดยกิโยตีนระหว่างสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว


ลูกชายของหลุยส์ ฟิลิปป์ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศสหลังจากการปฏิวัติเดือนกรกฎาคมในปี ค.ศ. 1830 หลังจากการสนับสนุนการปฏิวัติคำว่าฝ่ายออร์เลองนิสต์กลายมามีความหมายถึงขบวนการที่สนับสนุนระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

หลุยส์ ฟิลิปป์ที่ 2 ดยุกแห่งออร์เลอองส์
ขุนนางฝรั่งเศส
เกิด     13 เมษายน ค.ศ. 1747, Château de Saint-Cloud, ฝรั่งเศส
เสียชีวิต     6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1793, ปารีส, ฝรั่งเศส
บิดา     หลุยส์ ฟิลิปที่ 1 ดยุกแห่งออร์เลอ็อง
มารดา     หลุยส์ เฮนเรียตเดอบูร์บอง
ภรรยา     หลุยส์ มารี อเดเลดเดอบูร์บอง
บุตร/ธิดา     พระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส



พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส
พระบรมนามาภิไธย     หลุยส์-โอกุสต์
ราชวงศ์     ราชวงศ์บูร์บง
รัชกาลก่อนหน้า     พระเจ้าหลุยส์ที่ 15
รัชกาลถัดไป     พฤตินัย: พระเจ้าหลุยส์ที่ 17
นิตินัย: ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้าง
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ     5 กันยายน ค.ศ. 1754
พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส
สวรรคต     21 มกราคม ค.ศ. 1793
ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
พระราชบิดา     หลุยส์ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส
พระราชมารดา     มาเรีย โจเซฟาแห่งแซกโซนี
พระมเหสี     มารี อองตัวเนต
โอรส/ธิดา     4 พระองค์
 อ็องตวน ลาวัวซีเย
Antoine-Laurent de Lavoisier

วันที่เกิด     26 สิงหาคม ค.ศ. 1743
ปารีส , ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
วันที่เสียชีวิต     8 พฤษภาคม ค.ศ. 1794 (50 ปี)
ปารีส , ฝรั่งเศสสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1
สาขา     เคมี
มีอิทธิพลต่อ     Guillaume-François Rouelle
 ลายเซ็น
ผู้ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีนในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส"

อ็องตวน ลาวัวซีเย

อ็องตวน-โลร็อง เดอ ลาวัวซีเย (ฝรั่งเศส: Antoine-Laurent de Lavoisier เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: [ɑ̃twan lɔʁɑ̃ də lavwazje] ; 26 สิงหาคม พ.ศ. 2286 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2337) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสผู้ซึ่งต้องจบชีวิตลงโดยกิโยติน เขามีผลงานสำคัญคือ ได้ตั้งกฎการอนุรักษ์มวล (หรือกฎทรงมวล) และการล้มล้างทฤษฎีโฟลจิสตัน ซึ่งเป็นประโยชน์มากในการศึกษาวิชาเคมี


ภาพวาด เมอซีเยอร์ลาวัวซีเยและภรรยา (Portrait of Monsieur Lavoisier and his Wife) โดยฌัก-หลุยส์ ดาวิด จิตรกรชาวฝรั่งเศส

ชีวิตตอนต้น

อ็องตวน ลาวัวซีเย เกิดในตระกูลผู้ดีตระกูลหนึ่ง ต่อมาได้ศึกษาต่อยังวิทยาลัยมาซาแร็ง (Mazarin College) ในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ พฤกษศาสตร์ และเคมี เขามีความสนใจอย่างแรงกล้าในวิชาเคมี โดยการชักจูงของเอเตียน กงดียัก (Étienne Condillac)

ต่อมา อ็องตวนได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส พออายุได้ 25 ปี เขาได้เขียนบทความเกี่ยวกับการจุดไฟตามถนน ต่อมาในปี พ.ศ. 2314 เขาได้แต่งงานกับมารี-อาน ปีแยเร็ต ปอลซ์ (Marie-Anne Pierrette Paulze) ซึ่งมีอายุเพียง 13 ปี ในขณะที่อ็องตวนอายุได้ 28 ปี

ผลงานที่สำคัญ

ด้านวิทยาศาสตร์


ช่วงปี พ.ศ. 2318 อ็องตวนได้พัฒนาการผลิตดินปืน และการใช้โพแทสเซียมไนเตรต หรือดินประสิว ในการเกษตร งานที่สำคัญอย่างหนึ่งของเขาก็คือ การทดลองเกี่ยวกับปฏิกิริยาการเผาไหม้ เขากล่าวว่าการเผาไหม้เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับออกซิเจน และการสลายสารอาหารในสิ่งมีชีวิต ก็คือปฏิกิริยาการเผาไหม้เช่นเดียวกัน เพียงแต่ช้าและอ่อนกว่า จนทำให้ทฤษฎีโฟลจิสตัน ซึ่งกล่าวว่า เมื่อสสารถูกเผาไหม้ ก็จะปล่อยสารที่เรียกว่าโฟลจิสตันออกมา ต้องมีอันยกเลิกไป

นอกจากนี้ อ็องตวนยังได้ค้นพบว่า "อากาศที่ไหม้ไฟได้" ของเฮนรี คาเวนดิช ซึ่งอ็องตวนเรียกมันว่า ไฮโดรเจน (ภาษากรีกหมายถึง ผู้สร้างน้ำ) เมื่อรวมกับออกซิเจนจะได้หยดน้ำ ซึ่งไปตรงกับผลการทดลองของโจเซฟ พริสต์ลีย์

ในด้านปริมาณสัมพันธ์ (stoichiometry) อ็องตวนได้ทดลองเผาฟอสฟอรัสและกำมะถันในอากาศ และพิสูจน์ได้ว่ามวลของผลิตภัณฑ์มีมากกว่ามวลของสารตั้งต้น ซึ่งมวลที่เพิ่มได้มาจากอากาศนั่นเอง จึงทำให้เกิดกฎการอนุรักษ์มวล หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กฎทรงมวล

หนังสือของเขาชื่อ Traité Élémentaire de Chimie พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2332 ภายในมีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎการอนุรักษ์มวล และปฏิเสธการมีอยู่ของทฤษฎีโฟลจิสตัน

ด้านกฎหมายและการเมือง

นอกจากที่อ็องตวนจะศึกษาวิทยาศาสตร์แล้ว เขายังศึกษากฎหมายและการเมืองจนได้เป็นเนติบัณฑิต เมื่ออายุ 26 ปี เขาได้เป็นเจ้าพนักงานเก็บอากร ซึ่งเขาก็ได้ปรับปรุงระบบภาษีอากรและการคลัง พร้อมกับพัฒนาหน่วยวัดในระบบเมตริก ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศฝรั่งเศส

ชีวิตบั้นปลาย

ต่อมาอ็องตวนถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏโดยคณะปฏิวัติฝรั่งเศส และถูกตัดสินให้ประหารชีวิตโดยการตัดศีรษะ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2337 ผู้พิพากษาให้เหตุผลในการตัดสินครั้งนี้ว่า “สาธารณรัฐของเราไม่ต้องการนักปราชญ์” จนทำให้โฌแซ็ฟ-หลุยส์ ลากร็องฌ์ นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส กล่าวอย่างโศกเศร้าเสียใจว่าฝรั่งเศสจะไม่มีอะไรที่เหมือนผลงานของอ็องตวนไปชั่วศตวรรษ หนึ่งปีครึ่งให้หลังปรากฏว่าความผิดของอ็องตวนนั้นหามีไม่ ทรัพย์สินส่วนตัวของเขาถูกส่งให้แก่ภรรยาหม้าย พร้อมด้วยข้อความว่า "ถึงแม่หม้ายลาวัวซีเย ผู้ถูกตัดสินอย่างผิดพลาด"


รูปปั้นของอ็องตวน ลาวัวซีเย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี...



วั น นี้ ก ลั บ มาอ่านและทบทวนวิชาที่ตัวท่านขุนฯเคยเรียนอีกครั้งเป็นวิชาประวัติศาสตร์ต่างประเทศ อาจารย์ที่สอน มักจะบอกให้ท่านขุนเข้ามาอ่านค้นคว้าเพิ่มเติมในไซโครพิเดีย(วิกิพีเดียอยู่เสมอ)วันนี้พอกลับมาอ่านรู้สึกว่าเหมือนตัวเองได้กลับไปอยู่ในชั้นเรียนกำลังฟังอาจารย์สอน...หรือบรรยายอีกครั้ง...





 

Create Date : 14 มกราคม 2557
0 comments
Last Update : 14 มกราคม 2557 7:11:29 น.
Counter : 4651 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.