Group Blog
 
<<
มีนาคม 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
10 มีนาคม 2557
 
All Blogs
 
จุดจบของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ


จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 1000
สงครามสามสิบปีทำให้เยอรมนีราบเป็นหน้ากลอง ประชากรล้มตายไปมาก สันติภาพเวสฟาเลียทำให้อำนาจของเจ้าครองแคว้นต่าง ๆ ลดลง เพราะไม่อาจมีกองทัพเป็นของตนเองและไม่สามารถเข้าร่วมการเมืองระหว่างประเทศได้ ทำให้ออสเตรียแผ่อิทธิพลเข้ามาในเยอรมนีแต่ก็ต้องแข่งขันกับสวีเดนที่ได้ดินแดนทางเหนือของเยอรมันไปมาก ขณะเดียวกันทางตะวันตกพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสก็ทรงทำทุกวิถีทางเพื่อจะให้ได้แคว้นในลุ่มแม่น้ำไรน์ไปครอง

แต่แคว้นในเยอรมนีที่มีอำนาจที่สุดคือบรานเดนบวร์ก หรือเรียกว่าบรานเดนบวร์ก-ปรัสเซีย (Brandenburg-Prussia) เพราะอิเล็กเตอร์แห่งบรานเดนบวร์กนั้น เป็นดยุกแห่งปรัสเซีย (Duke of Prussia) อันเป็นตำแหน่งขุนนางของกษัตริย์โปแลนด์ ครองแคว้นปรัสเซียที่โปแลนดืยึดมาจากอัศวินทิวโทนิค ใน ค.ศ. 1701 บรานเดนบวร์ก-ปรัสเซียได้เลือนสถานะเป็นอาณาจักรในปรัสเซีย (Kingdom in Prussia) อาณาจักรปรัสเซียทำสงครามล้มล้างอิทธิพลของสวีเดนในเยอรมนีเหนือ และสะสมดินแดนเรื่อย ๆ จนใหญ่ขึ้น พระเจ้าเฟรเดอริคมหาราชแห่งปรัสเซีย ทรงเปลี่ยนชื่ออาณาจักรเป็นอาณาจักรแห่งปรัสเซีย (Kingdom of Prussia)

ใน ค.ศ. 1740 จักรพรรดินีมาเรีย เธเรซา ทรงเป็นสตรี ทำให้ไม่อาจครองบัลลังก์ได้โดยไม่มีข้อขัดแย้งตามกฎซาลิค (Salic Law) ทำให้พระเจ้าเฟรเดอริคบุกออสเตรียเพื่อปลดพระนางจากบัลลังก์ เป็นสงครามสืบราชสมบัติออสเตรีย (War of the Austrian Succession) พระเจ้าเฟรเดอริคทรงยึดแคว้นไซเลเซีย (Silesia) มาจากออสเตรียได้ ดังนั้นบรรดาประเทศต่าง ๆ ในยุโรปเห็นว่าการขยายตัวของปรัสเซียเป็นภัยจึงรวมกันทำสงครามกับปรัสเซียในสงครามเจ็ดปี (Seven Years' War) ปรัสเซียต่อสู้กับสามมหาอำนาจ (ฝรั่งเศส ออสเตรีย รัสเซีย) มีเพียงบริเตนเป็นพันธมิตร แต่ก็สามารถชนะสงครามได้ อาณาจักรปรัสเซียยิ่งแผ่ขยายไปอีกในการแบ่งประเทศโปแลนด์ (Partition of Poland) ใน ค.ศ. 1772 ค.ศ. 1793 และ ค.ศ. 1795


การยึดครองของนโปเลียน
ใน ค.ศ. 1789 ฝรั่งเศสเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส บรรดาชาติต่าง ๆ รวมตัวกันต่อต้านคณะปฏิวัติที่กำลังแผ่อิทธิพลออกมาจากฝรั่งเศส ใน ค.ศ. 1800 ตามสนธิสัญญาลูเนวิลล์ (Luneville) ยกเยอรมนีส่วนตะวันตกของแม่น้ำไรน์ทั้งหมดให้ฝรั่งเศส ใน ค.ศ. 1804 นโปเลียนปราบดาภิเษกตนเองเป็นจักรพรรดิ ทำให้ชาติต่างรวมตัวเป็นสัมพันธมิตรครั้งที่ 3 (Third Coalition) จนพ่ายแพ้นโปเลียนในการรบที่อุล์ม (Ulm) ใน ค.ศ. 1805 ทำสนธิสัญญาเพรสบูร์ก (Pressburg) ล้มล้างจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กลายเป็นจักรพรรดิออสเตรีย (Austrian Emperor) ขณะที่แคว้นต่าง ๆ ที่เหลือรวมตัวกันเป็น สมาพันธรัฐแห่งไรน์ (Confederation of the Rhine) เป็นรัฐบริวารของนโปเลียน แคว้นต่าง ๆ ก็ได้เลื่อนขั้น เช่น แซกโซนี บาวาเรีย วืตเตมบูร์ก ได้เป็นอาณาจักร สมาพันธรัฐนำโดยสังฆราช (Primate) คือ คาร์ล ธีโอดอร์ ฟอน ดัลเบิร์ก (Karl Theodore von Dalberg) รัฐต่าง ๆ ในสมาพันธรัฐจะต้องส่งทัพเข้าช่วยฝรั่งเศส โดยที่ฝรั่งเศสจะให้การปกป้องเป็นการตอนแทน

ปรัสเซียแพ้ฝรั่งเศสที่เยนา (Jena) และเออร์ชตัตด์ (Auerstedt) จนทำสนธิสัญญาทิลซิท (Tilsit) ใน ค.ศ. 1807 ปรัสเซียเสียทางตะวันออกของแม่น้ำเอลเบกลายเป็นแคว้นวอร์ซอว์ (Grand Duchy of Warsaw) และก่อตั้งราชอาณาจักรเวสฟาเลีย (Kingdom of Westphalia) ความพ่ายแพ้ของปรัสเซียทำให้เยอรมนีตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝรั่งเศส จนสุดท้ายสมาพันธรัฐประกอบด้วยสี่อาณาจักร (เวสฟาเลีย บาวาเรีย แซกโซนี วืตเตมบูร์ก) ห้าแกรนด์ดัชชี (บาเดน ฮีส เบิร์ก แฟรงก์เฟิร์ต และวืร์ซบูร์ก) สิบสามดัชชี สิบเจ็ดเจ้าชาย และนครรัฐอิสระสามนคร คือฮัมบูร์ก ลือเบค และเบรเมน

ใน ค.ศ. 1813 นโปเลียนพ่ายแพ้สัมพันธมิตรในการรบที่ไลพ์ซิจ (Leipzig) อำนาจของฝรั่งเศสจึงจบลง สมาพันธรัฐแห่งไรน์จึงถูกยุบ บรรดาชาติต่าง ๆ ในยุโรป จึงฟื้นฟูระบอบราชาธิปไตยในยุโรป จึงตั้งคองเกรสแห่งเวียนนา (Congress of Vienna) มาประชุมหารือ นำโดยเจ้าชายเมตเตอร์นิค (Metternich) อัครเสนาบดีออสเตรีย



ประวัติศาสตร์เยอรมนี เริ่มต้นด้วยการต้านทานการยึดครองโดยชาวโรมันของชนเจอร์มานิค ซึ่งเมื่อจักรวรรดิโรมันล่มสลายชนชาติเยอรมันก็กลายเป็นกลุ่มชนผู้มีอำนาจในยุโรปเข้าแทนที่ชาวโรมัน จนนำไปสู่กำเนิดจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ จักรวรรดิที่ 1 ในสมัยกลาง จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ธำรงอยู่กว่าพันปีแต่ก็เป็นเพียงจักรวรรดิที่มองไม่เห็น เพราะรัฐต่าง ๆ ในเยอรมันร้อยกว่ารัฐต่างแยกตัวเป็นอิสระจากพระจักรพรรดิ จนนโปเลียนยกเลิกจักรวรรดินี้ไปกลายเป็นสมาพันธรัฐเยอรมัน เป็นกลุ่มของรัฐต่าง ๆ จนราชอาณาจักรปรัสเซียสามารถรวมประเทศเยอรมนีได้โดยการนำของบิสมาร์ก ก็กลายเป็นจักรวรรดิเยอรมัน หรือ จักรวรรดิที่ 2

แต่ด้วยการปฏิวัติล้มระบอบกษัตริย์หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทำให้เยอรมนีกลายเป็นสาธารณรัฐไวมาร์ จนถูก อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำลัทธินาซีแผ่ขยายดินแดนไปทั่วยุโรปในสงครามโลกครั้งที่สอง หรือ จักรวรรดิที่ 3 จนฮิตเลอร์พ่ายแพ้เยอรมนีจึงถูกแบ่งเป็นสองส่วน คือ เยอรมนีตะวันออก และ เยอรมนีตะวันตก จนรวมกันกลายเป็นประเทศเยอรมนีอีกครั้งใน ค.ศ. 1990




ชนชาติเยอรมัน
ประมาณ 100 ปีก่อน ค.ศ. ชนชาติเยอรมันลงใต้จากสแกนดิเนเวียและแพร่กระจายไปทั่วตั้งแต่แม่น้ำไรน์จนถึงเทือกเขาอูราล และเผชิญหน้ากับการแผ่ขยายของจักรวรรดิโรมัน แม้ชาวโรมันจะพยายามจะพิชิตชาวเยอรมัน ใน ค.ศ. 9 ทัพโรมันพ่ายแพ้ชาวเยอรมันที่ป่าทอยโทบวร์ก (Teutoburg Forest) ทำให้ชาวโรมันเลิกล้มความคิดที่จะรุกรานเยอรมัน และชนชาติเยอรมันก็รุกคืบไปตั้งรกรากตามชายแดนจักรวรรดิโรมัน และแตกออกเป็นหลายเผ่า ที่มีชื่อเสียงคือ วิซิกอธ แวนดัล แฟรงก์ ฯลฯ และเข้ารีตคริสต์ศาสนานิกายอาเรียนิสม์ (Arianism) ซึ่งชาวโรมันไม่ยอมรับ

แต่ในศตวรรษที่ 4 ชาวฮั่นมาจากเอเชียเป็นนักรบบนหลังม้าที่ป่าเถื่อน เข้าบุกเผาทำลายหมู่บ้านและสังหารชาวเยอรมันอย่างโหดเหี้ยม ทำให้เผ่าเยอรมันต่าง ๆ ทนไม่ไหวต้องหลบหนีเข้าไปในจักรวรรดิโรมัน บ้างด้วยสันติวิธีบ้างก็บุกเข้าไป ทำให้จักรวรรดิโรมันอ่อนแอ จนใน ค.ศ. 410 โอโดอาเซอร์ (Odoacer) ผู้นำเผ่าเยอรมันเผ่าหนึ่ง ยึดกรุงโรมและปลดจักรพรรดิโรมันองค์สุดท้ายใน ค.ศ. 476 จักรวรรดิโรมันจึงล่มสลาย


การรบที่เมืองอุล์ม (Ulm).

เมื่อจักรวรรดิโรมันล่มสลายชาวแฟรงก์ที่ตั้งรกรากในฝรั่งเศสก็เรืองอำนาจที่สุดในยุโรปภายใต้ราชวงศ์เมโรวิงเจียน ในเยอรมนี มีเผ่าต่าง ๆ ปกครองตนเองได้แก่พวกซูเอบี (Suebi) พวกธือริงเงน (Thuringen) พวกแซกซอน (Saxons) พวกบาวาเรียน (Bayern) และพวกแฟรงก์ (Franks) ซึ่งจะกลายเป็นชื่อแคว้นต่าง ๆ ในเยอรมนี (สวาเบีย ธูรินเจีย แซกโซนี บาวาเรีย และฟรังโคเนีย ตามลำดับ) แต่เผ่าเหล่านี้ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของพวกแฟรงก์ ซึ่งแผ่ขยายอำนาจมาในศตวรรษที่ 5 ถึง 8 โดยเฉพาะสงครามกับพวกแซกซอนของพระเจ้าชาร์เลอมาญ (Charlemagne) ของชาวแฟรงก์ แห่งราชวงศ์คาโรลิงเจียน ทำให้พวกแซกซอนต้องเข้ารีตศาสนาคริสต์และอยู่ภายใต้การปกครองของพวกแฟรงก์

ยังมีเผ่าเยอรมันอีกเผ่า คือ พวกลอมบาร์ด (Lombards) เข้าบุกอิตาลี ทำให้พระสันตะปาปาทรงขอให้พระเจ้าชาร์เลอมาญทรงช่วยเหลือ พระเจ้าชาร์เลอมาญทรงขับไล่พวกลอมบาร์ดได้และได้รับการสวมมงกุฎจากพระสันตะปาปาเป็นจักรพรรดิโรมัน ใน ค.ศ. 800 เป็นจุดเริ่มต้นของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จักรวรรดิของพระเจ้าชาร์เลอมาญถูกแบ่งเป็นสามส่วนตามสนธิสัญญาแวร์ดังใน ค.ศ. 843 อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกจะกลายเป็นเยอรมนีในปัจจุบัน


จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในสมัยกลาง
ราชวงศ์คาโรแลงเจียนสิ้นสุดไปในอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก ผู้นำเผ่าทั้งสี่ (แซกโซนี บาวาเรีย ฟรังโคเนีย สวาเบีย) จึงเลือก ดยุกเฮนรีแห่งแซกโซนีเป็นกษัตริย์แห่งเยอรมนี (King of Germany) ใน ค.ศ. 955 ชาวแมกยาร์ (Magyars) หรือชาวฮังการี เป็นชนเผ่าเร่ร่อนจากเอเชีย บุกมาถึงเยอรมนี เข้าเผาทำลายปล้มสะดมหมู่บ้าน สร้างความเดือดร้อน แต่จักรพรรดิออตโตก็ทรงขับไล่พวกแมกยาร์ได้ในการรบที่เลคฟิล์ด (Lechfield) ตามการสนับสนุนของพระสันตะปาปา พระโอรสคือ พระเจ้าออตโต เข้าช่วยเหลือพระสันตะปาปาจากการยึดครองของกษัตริย์แห่งอิตาลี (อาณาจักรแฟรงก์กลาง) พระเจ้าออตโตนำทัพเข้าปราบยึดอิตาลี และได้รับการสวมมงกุฎจากพระสันตะปาปาเป็นจักรพรรดิออตโตที่ 1 (Otto I) ใน ค.ศ. 962 เป็นจักรพรรดิองค์แรกแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ใน ค.ศ. 1033 ราชอาณาจักรเบอร์กันดีในฝรั่งเศสถูกผนวกเข้ากับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ ทำให้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิมีอาณาเขตไพศาลทั่วยุโรปกลาง และยังแผ่ขยายไปทางตะวันออกปราบปรามชาวสลาฟต่าง ๆ ได้แก่ พวกเวนด์ (Wends) พวกโอโบเดอไรต์ (Oboderites) และพวกโปล (Poles) กลายเป็นแคว้นเม็คเคลนเบิร์ก (Mecklenburg) แคว้นโปเมอราเนีย (Pomerania) และแคว้นบรานเดนบวร์ก (Brandenburg) กษัตริย์แห่งโบฮีเมีย (Bohemia - Czech) ก็เข้าสวามิภักดิ์ ทำให้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แผ่ขยายอิทธิพลทั้งทางการเมืองและภาษาวัฒนธรรมไปยังดินแดนของชาวสลาฟทางตะวันออก เรียกว่า Ostsiedlung

จักรพรรดิเฮนรีที่ 4 ทรงต้องการจะรวบอำนาจในองค์การศาสนา เช่น การแต่งตั้งบิชอปต่าง ๆ มาอยู่ที่พระองค์ แต่พระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 8 ทรงไม่ยินยอมจึงเกิดข้อขัดแย้งในอำนาจการแต่งตั้งสงฆ์ (Investiture Controversy) พระสันตะปาปาทรงบัพพาชนียกรรม (ขับจากศาสนา) จักรพรรดิเฮนรีใน ค.ศ. 1072 ซึ่งเป็นโทษทีร้ายแรงยิ่งกว่าตายสำหรับคนสมัยนั้น และปลดจักรพรรดิเฮนรีจากตำแหน่ง ทำให้บรรดาขุนนางก่อกบฏแย่งอำนาจจากพระเจ้าเฮนรีและแยกตัว ทำให้พระเจ้าเฮนรียอมจำนน ใน ค.ศ. 1077 ทรงรอพระสันตะปาปาเท้าเปล่ากลางพายุหิมะที่คาโนสซา (Canossa) เพื่อขอขมาพระสันตะปาปา เป็นชัยชนะของฝ่ายศาสนาต่อฝ่ายโลก ให้อำนาจของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิเสื่อมลงแต่บัดนั้น จนใน ค.ศ. 1122 ทั้งสองฝ่ายจึงสงบศึกในโองการพระสันตะปาปาแห่งเมืองวอร์ม (Concordat of Worms)


ราชวงศ์โฮเฮนชเตาเฟิน ( ค.ศ. 1138 ถึง ค.ศ. 1254)
จักรพรรดิเฟรเดอริคที่ 1 แห่งราชวงศ์โฮเฮนชเตาเฟิน (Hohenstaufen) ทรงพยายามจะหยุดยั้งสงครามระหว่างพวกขุนนางในเยอรมนี โดยทรงแต่งตั้งดยุกเฮนรีแห่งแซกโซนี (Henry the Lion, Duke of Saxony) จากตระกูลเวล์ฟ (Welf) เป็นดยุกแห่งบาวาเรีย โดยเจ้าครองแคว้นเดิม คือมาร์เกรฟแห่งออสเตรีย (Margrave of Austria) ได้เลื่อนขั้นเป็นดยุก จักรพรรดิฟรีดริชทรงบุกอิตาลีเพื่อปราบกบฏและทำสงครามกับพระสันตะปาปาแต่อิตาลีรวมตัวเป็นสันนิบาตลอมบาร์ด (Lombard League) ต่อต้านพระจักรพรรดิและสนับสนุนพระสันตะปาปา จักรพรรดิฟรีดริชทรงกริ้วและปลดดยุกเฮนรีที่ไม่ช่วยเหลือพระองค์ ยกบาวาเรียให้ตระกูลวิตเตลสบาค (Wittlesbach) และแตกแคว้นแซกโซนีแบ่งเป็นหลายส่วน

จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 ทรงพยายามจะยึดอิตาลีอีกครั้ง โดยฝ่ายของพระองค์ เรียกว่าพวกกิบเบลลีน (Ghibelline) ต่อสู้กับพวกเกล์ฟ (Guelph) หรือตระกูลเวล์ฟที่ไปเข้าข้างพระสันตะปาปา จักรพรรดิเฟรเดอริคทรงต้องการจะพ้นจากความวุ่นวายในเยอรมนี จึงทรงมอบอำนาจให้เจ้าครองแคว้นต่าง ๆ ทำให้เจ้าครองแคว้นในเยอรมนีแยกตัวออกไปแตกกระจัดกระจายในสมัยพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 2 พระสันตะปาปาทรงเอาชนะจักรพรรดิได้


การปฏิวัติปี ค.ศ. 1848

ใน ค.ศ. 1226 จักรพรรดิฟรีดริชโปรดให้อัศวินทิวทัน (Teutonic Knights) ไปพิชิตชาวบอลติก (Balts) ที่ยังไม่เข้ารีตคริสต์ศาสนาทางเหนือในสงครามครูเสดตอนเหนือ (Northern Crusades) ทำสงครามอย่างโหดเหี้ยมกับชาวพื้นเมือง ทำให้อิทธิพลของเยอรมันและคริสต์ศาสนาเข้าสู่บริเวณบอลติก

จักรพรรดิเฟรเดอริคสิ้นพระชนม์ ทำให้ราชวงศ์โฮเฮนชเตาเฟินล่มสลาย จนกลายเป็นสมัยไร้จักรพรรดิ (Interregnum)


อิเล็กเตอร์ทั้งเจ็ดแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ ผู้เลือกจักรพรรดิ

เมื่อไม่มีผู้นำดยุกรูดอล์ฟแห่งออสเตรีย (Rudolf of Habsburg) จากตระกูลฮับส์บูร์กจึงได้รับเลือกเป็นกษัตริย์แห่งเยอรมนีใน ค.ศ. 1273 แต่ไม่ได้สวมมงกุฎเป็นจักรพรรดิ บรรดาเจ้าครองแคว้นต่าง ๆ ก็อาศัยโอกาสตั้งตนเป็นอิสระกันหมด ทำให้พระเจ้ารูดอล์ฟทรงมีอำนาจเฉพาะในแคว้นออสเตรียเท่านั้น ตระกูลสามตระกูล คือ ฮับส์บูร์ก ตระกูลลักเซมเบิร์ก (Luxembourg) และ ตระกูลวิตเตลสบาค (Wittelsbach) ผลัดกันเป็นกษัตริย์แห่งเยอรมนีใน
ค.ศ. 1312 พระเจ้าเฮนรีแห่งโบฮีเมีย ตระกูลลักเซมเบิร์กสวมมงกุฎเป็นจักรพรรดิ ทำให้มีจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์อีกครั้ง แต่นับแต่นั้นมาจักรพรรดิทุกพระองค์มีอำนาจเฉพาะในแคว้นของตนเท่านั้น เยอรมนีจึงแตกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย และรวมกันไม่ได้อีกเลยไปอีก 600 ปี

ราชวงศ์ลักเซมเบิร์กปกครองจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แต่มีอำนาจเฉพาะในแคว้นโบฮีเมียเท่านั้น แม้จักรพรรดิหลายพระองค์จะทรงพยายามกู้พระราชอำนาจคืนแต่ก็ไม่สำเร็จ ใน ค.ศ. 1350 กาฬโรคก็ระบาดมายังเยอรมนี คร่าชีวิตผู้คนไปหลายล้าน ใน ค.ศ. 1356 ออกพระราชโองการสารตราทอง (Golden Bull) ปรับปรุงระบบการปกครองจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ใหม่ โดยการแต่งตั้งเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกเจ็ดองค์ เป็นบรรพชิตสามองค์และเป็นขุนนางสี่คนที่รวมทั้ง

  1. อาร์ชบิชอปแห่งโคโลญ (Archbishop of Cologne, เยอรมัน: Erzbischof von Köln)
  2.     อาร์ชบิชอปแห่งไมนซ์ (Archbishop of Mainz, เยอรมัน: Erzbischof von Mainz)
  3.     อาร์ชบิชอปแห่งเทรียร์ (Archbishop of Trier, เยอรมัน: Erzbischof von Trier)
  4.     กษัตริย์แห่งโบฮีเมีย (King of Bohemia, เยอรมัน: König von Böhmen)
  5.     มาร์เกรฟแห่งบรันเดนบูร์ก (Margrave of Brandenburg, เยอรมัน: Markgraf von Brandenburg)
  6.     เคานต์พาลาทิเนตแห่งไรน์ (Count Palatinate of the Rhine, เยอรมัน: Plazgraf bei Rhein)
  7.     ดยุกแห่งแซกโซนี (Duke of Saxony, เยอรมัน: Herzog von Sachsen) เลื่อนขั้นมาจาก ซักแซน-วิทเทนเบิร์ก (Sachsen-Wittenberg)

ใน ค.ศ. 1414 พระเจ้าซิกิสมุนด์แห่งฮังการี (Sigismund) ทรงได้เป็นกษัตริย์แห่งเยอรมนี ในแคว้นโบฮีเมียเกิดลัทธินอกรีตของ แจน ฮุส (Jan Hus) แจน ฮุส ถูกเผาทั้งเป็นใน ค.ศ. 1415 ใน ค.ศ. 1417 ทรงแต่งตั้งให้ตระกูลโฮเฮนโซเลิร์น (Hohenzollern) เป็นมาร์กราฟแห่งบรันเดนบูร์ก ใน ค.ศ. 1419 พระเจ้าซิกิสมุนด์ได้เป็นกษัตริย์แห่งโบฮีเมีย แต่ชาวโบฮีเมียไม่ยอมรับ เพราะทรงสังหาร แจน ฮุส ก่อกบฏลุกฮือต่อต้าน พระเจ้าซิกิสมุนด์ทรงนำทัพเข้าปราบเรียกว่าสงครามฮุสไซท์ (Hussite War) ซึ่งพระเจ้าซิจิสมุนด์ก็ทรงไม่สามารถจะยึดแคว้นโบฮีเมียได้

  • ใน ค.ศ. 1437 ฟรีดิช ดยุกแห่งออสเตรีย พระชามาดาในพระเจ้าซิกิสมุนด์ ขึ้นเป็นจักรพรรดิฟรีดิชที่ 3 ทำให้ราชวงศ์ฮับส์บูร์กปกครองจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ไปอีก 400 ปี

จักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 1ทรงอภิเษกกับแมรีแห่งเบอร์กันดี (Mary of Burgundy) ทำให้ทรงได้รับแคว้นเบอร์กันดีและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ (Low Countries) มาครอง ทรงมอบแคว้นเบอร์กันดีให้พระโอรสคือฟิลิปเดอะแฮนด์ซัม (Philip the Handsome) ใน ค.ศ. 1495 ทรงออกจักรวรรดิปฏิรูป (Reichsreform) แบ่งรัฐต่างในจักรวรรดิเป็นกลุ่ม (Reichskreise) และตั้งศาลสูงสุดในจักรวรรดิ (Reichskammergeritch) การปฏิรูปของจักรพรรดิมักซีมีเลียนจะส่งผลต่อการปกครองของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ไปจนล่มสลาย


พระเจ้าซิกิสมุนด์
  • การปฏิรูปศาสนาและสงครามสามสิบปี
กษัตริย์ฝรั่งเศสทรงพยายามจะบุกยึดคาบสมุทรอิตาลีใน ค.ศ. 1494 ในสงครามอิตาลี (Italian Wars) จักรพรรดิแมกซิมิเลียนทรงร่วมมือกับชาติต่าง ๆ ในยุโรปและพระสันตะปาปาต้านการรุกรานของฝรั่งเศส ใน ค.ศ. 1519 พระโอรสคือพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งสเปน ขึ้นเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ เป็นการรวมสองอาณาจักรทำให้อาณาเขตของราชวงศ์แฮปสบูร์กแผ่ขยาย

พระสันตะปาปาทรงต้องการจะหาเงินมาสร้างวิหารอันสวยงามตามสถาปัตยกรรมเรเนสซองส์ จึงทรงขายบัตรไถ่บาป (indulgences) ในเยอรมนีเพื่อหาเงินโดยอ้างว่าใครซื้อบัตรนี้จะได้รับการไถ่บาป ซึ่งแน่นอนว่าได้รับการประท้วงจากทั้งชาวบ้านขุนนางและสงฆ์ทั้งหลาย การปฏิรูปศาสนา (The Reformation) จึงเริ่มใน ค.ศ. 1517 เมื่อ มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) ตอกตะปูคำประท้วง 95 ข้อ (95 Theses) ไว้หน้าโบสถ์ในเมืองวิทเทนเบิร์ก (Wittenburg) ลูเธอร์ได้รับการสนับสนุนจากอิเล็กเตอร์แห่งแซกโซนี จักรพรรดิชาร์ลส์และพระสันตะปาปาทรงเรียกประชุมสภาเมืองวอร์มส์ (Diet of Worms) บังคับให้ลูเธอร์ขอโทษพระสันตะปาปาและถอนคำประท้วงคืน แต่ลูเธอร์ไม่ยอม

นิกายลูเธอร์จึงแผ่ขยายไปทั่วเยอรมนี เป็นนิกายแรกของโปรเตสแตนต์ เพราะบรรดาเจ้าครองแคว้นต่างต้องการพ้นจากอำนาจของจักรพรรดิจึงใช่ศาสนาเป็นเครื่องมือ อิเล็กเตอร์แห่งแซกโซนีให้ลูเธอร์เก็บตัวอยู่ในปราสาทวาร์ตบูร์ก (Wartburg Castle) เพื่อความปลอกภัยและที่นั่นเองลูเธอร์แปลคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษาเยอรมันเป็นครั้งแรก

บรรดาชาวบ้านที่เข้านับถือนิกายลูเธอร์ (Lutheranism) จึงฉวยโอกาสก่อกบฏใน ค.ศ. 1524 ต่อเจ้านครต่าง ๆ ในสงครามชาวบ้าน (Peasant"s War) แต่เจ้าครองแคว้นก็ปราบปรามกบฏอย่างรวดเร็ว และขุนนางใหญ่คืออิเล็กเตอร์แห่งแซกโซนีและแลนด์กราฟแห่งฮีส (Landgrave of Hesse) ตั้งสันนิบาติชมาลคาดิค (Schmalkadic League) และชักชวนขุนนางอื่น ๆ เข้าร่วมอ้างว่าเพื่อปกป้องนิกายโปรเตสแตนต์ แต่ที่จริงเพื่อทำลายอำนาจของจักรพรรดิ จักรพรรดิชาร์ลส์ทรงง่วนอยู่กับสงครามต่างประเทศ ทำให้นิกายโปรเตสแตนต์สามารถแทรกซึมฝังรากลึกลงไปในเยอรมนี จนใน ค.ศ. 1546 ก็ทรงว่างสามารถมาปราบกบฏขุนนางโปรเตสแตนต์ เป็นสงครามชมาลคาดิค (Schmalkadic War) และปราบได้ใน ค.ศ. 1547 ใน ค.ศ. 1548 ทรงทำสันติภาพออกซ์บูร์ก (Peace of Augsburg) ยอมรับนิกายลูเธอร์ (แต่ไม่ยอมรับนิกายอื่น) และใช้คนในรัฐนั้นนับถือศาสนาตามเจ้าครองแคว้น (Cuius regio, eius regio)


เฟรเดอริค อิเล็กเตอร์พาลาติเนต กษัตริย์แห่งโบฮีเมีย "เหมันตกษัตริย์"
  • สมาพันธรัฐเยอรมัน
คองเกรสแห่งเวียนนาให้แคว้นต่าง ๆ ในจักรวรรดิโรมันเดิม รวมตัวกลายเป็นสมาพันธรัฐเยอรมัน (German Confederation) มีจักรพรรดิออสเตรียเป็นประมุข มีสภาสมาพันธรัฐ (Federal Assembly) ที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ตเป็นสภาหารือกิจการบ้านเมือง ทางปรัสเซียก็ได้รับการฟื้นฟูดินแดนคืน มีผลทำให้ออสเตรียและปรัสเซียเป็นสองมหาอำนาจที่แผ่อิทธิพลเข้าครอบงำเยอรมนี

แม้คองเกรสแห่งเวียนนาจะพยายามบีบให้ยุโรปกลับสู่ระบอบสมบูรณายาสิทธฺราชย์สักเพียงใด แต่ก็สายไปแล้ว เพราะด้วยอิทธิพลของฝรั่งเศสและนโปเลียน ทำให้แนวความคิดเสรีนิยม (Liberalism) ฝังรากลงไปในเยอรมนี ใน ค.ศ. 1817 พวกนักศึกษาหัวก้าวหน้าจัดงานเลี้ยงที่เมืองวาร์ตบูร์กเผาทำลายหนังสือที่สนับสนุนระบอบกษัตริย์ ใน ค.ศ. 1819 นักศึกษาคนหนึ่งสังหารอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเพราะตำหนิแนวความคิดเสรีนิยมและชาตินิยม (Nationalism) ของนักเรียน ทำให้เจ้าชายเมตเตอร์นิคทรงออกกฤษฎีกาคาร์ลสบาด (Karlsbad Decrees) ให้มีการเซนเซอร์หนังสือและควบคุมมหาวิทยาลัยมิให้แนวความคิดปฏิวัติแพร่ไป รวมทั้งลงโทษพวกเสรีนิยมด้วย แต่พวกเสรีนิยมก็เก็บความเคียดแค้นไว้ เกิดนักเขียนหลายท่านตามกระแสโรแมนติค (Romanticism) ที่มีผลงานปรัชญาต่อต้านระบอบกษัตริย์ เรียกว่า สมัยฟอร์ไมซ์ (Vormärz - สมัยก่อนเดือนมีนาคม)

การปฏิวัติอุตสาหกรรมเข้าสู่เยอรมนีในที่สุด สมาพันธรัฐเยอรมัน ยกเว้นออสเตรีย ทำข้อตกลงการค้าเสรีปลอดภาษีกับรัสเซีย รวมกันเป็นเขตเสรีการค้าโชลเฟอเรน (Zollverein)


พระเจ้ากุสตาฟที่ 2 แห่งสวีเดนสิ้นพระชนม์ในการรบที่ลืทเซน

ใน ค.ศ. 1848 เกิดการปฏิวัติทั่วยุโรป ในเยอรมนีก็เช่นกัน เรียกว่าการปฏิวัติเดือนมีนาคม (March Revolution) ในแคว้นต่าง ๆ ทั่วเยอรมัน บรรดาเจ้าครองนครต่างเกรงว่าตนจะประสบชะตากรรมเดียวกับกษัตริย์ฝรั่งเศส จึงยอมจำนนแต่โดยดี ขณะปฏิวัติกำลังจะร่างรัฐธรรมนูญที่สภาแฟรงเฟิร์ต และมอบบัลลังก์ให้พระเจ้าเฟรเดอริค วิลเฮมที่ 4 แห่งปรัสเซียไปครอง แต่ทรงปฏิเสธ ทำให้การปฏิวัติล้มเหลวจบลงทันที เจ้าครองแคว้นก็ลุกฮือต่อต้านอีกครั้ง คณะปฏิวัติจึงสลายตัว

การรวมประเทศเยอรมนีของปรัสเซีย

จักรวรรดิเยอรมันและสงครามโลกครั้งที่ 1


( Deutsches Reich, หรืออย่างไม่เป็นทางการว่า Deutsches Kaiserreich ; อังกฤษ: German Empire)เป็นชื่อที่ใช้เรียกเพื่อหมายถึงรัฐเยอรมันในช่วงตั้งแต่การประกาศเป็นจักรพรรดิเยอรมันของวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย (18 มกราคม พ.ศ. 2414) ถึงการสละราชสมบัติของวิลเฮล์มที่ 2 (9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461) รวมเวลา 47 ปี.ในสมัยนี้เยอรมนีรุ่งเรืองมากทั้งด้านเศรษฐกิจ การทหาร และอื่นๆถือว่าเป็นมหาอำนาจใหม่แห่งยุโรป มีอำนาจเทียบได้กับจักรวรรดิอังกฤษ แต่ช่วงหลังของจักรวรรดิเยอรมันได้มีปัญหากับบริเตนเรื่องการขยายอำนาจทางทะเล และ การสร้างจักรวรรดิอาณานิคมขึ้นมา จึงทำให้เกิดปัญหากับจักรวรรดิอังกฤษมหาอำนาจเดิม ปีค.ศ.1914 จักรวรรดิเยอรมนีรุ่งเรืองสุดขีด มีอาณานิคมทั่วโลก ทั้งในแอฟริกา อาทิ โตโก แคเมอรูน นามิเบีย และ แทนซาเนีย ส่วนในเอเชียก็มีบริเวณชิงเต่าของจีน และทางตอนเหนือของปาปัวนิวกินี รวมทั้งหมู่เกาะบางแห่งในมหาสมุทรแปซิฟิกด้วย ต่อมาจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีมีปัญหากับเซอเบียจึงเกิดสงครามขึ้นโดย จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีดึงจักรวรรดิเยอรมันเข้าร่วมสงครามในนามฝ่ายมหาอำนาจกลาง เป็นเหตุให้เยอรมันเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1ช่วงต้นสงครามฝ่ายมหาอำนาจกลางได้เปรียบฝ่ายสัมพันธมิตรหลายอย่างทั้ง กลยุทธทางการสงคราม และความแข็งแกร่งของทหาร ระหว่างสงครามเยอรมันได้ประดิษฐ์ แก๊สพิษ ที่ทำให้ทหารฝรั่งเศสหายใจติดขัดและอาจถึงตายได้ แต่ระหว่างสงครามพระโอรสของพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 2 ได้ขอร้องพระบิดาให้ทำสนธิสัญญาสงบศึกกับฝ่ายสัมพันธมิตรแต่ไม่สำเร็จ ช่วงท้ายของสงครามหลังจากที่อเมริกาเข้าร่วมสงคราม เยอรมันก็เริ่มเสียเปรียบ พันธมิตรของเยอรมันทั้ง ออสเตรีย-ฮังการีก็ประกาศยอมแพ้ ส่วนบัลแกเรียและออตโตมันแพ้สงครามให้กับสัมพันธมิตร ทำให้เยอรมนีต้องต่อสู้กับพันธมิตรอย่างโดดเดี่ยวและได้แพ้สงครามในค.ศ.1918 และได้เป็นจุดจบของจักรวรรดิเยอรมนี


คุยด้วยนดิหน่อย เป็นงัยบ้างขอรับเมื่ออ่านบล็อกหน้านี้จบแล้ว การเมืองสมัยโบราณและสมัยยุดปัจจุบัน ไม่ค่อยจะต่างกันมากนัก

การเมืองเป็นเรื่องของกิเลิสของแต่ละขั่วอำนาจ ที่โหดร้าย มุ่งแต่ประโยชน์ของตัวเองและครอบครัวมากกว่าเพื่อประชาชนแท้จริง

ขอบคุณพิเศษ  Wikipedia, the free encyclopedia
ขอบคุณตกแต่งบล็อกจากChomporn's Blog: แจกของแต่งบล๊อก

หมวดล็อก"วิ เ ค ร า ะ ห์ ก า ร เ มื อ ง แ ล ะ สั ง ค ม " ขอบคุณขอรับ



Create Date : 10 มีนาคม 2557
Last Update : 10 มีนาคม 2557 4:32:35 น. 33 comments
Counter : 8223 Pageviews.

 
ก่อนจะทำการส่งบล็อกนี้กังวลใจมากๆถึงมากที่สุดว่าจะรอดหรือเปล่า เพราะว่าเนื้อหาในบล็อกวันนี้ยาวมากๆอาจจะไม่ผ่าน(แต่รอดมาได้ดี่จัยขอรับ)ท่านขุนนั่งอ่านทุกตัวอักษร จะเห็นว่ามีการแต่งสีที่ชื่อบุคคลและเหจตุการณ์สำคัญๆขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมบล็อกท่านขุน ขอให้ทุกท่านโชดดีและร่ำรวยๆสุขภาพดีแข็งแรงกันทุกท่านนะขอรับ ขอบคุณขอรับ


โดย: ขุนเพชรขุนราม วันที่: 10 มีนาคม 2557 เวลา:4:39:18 น.  

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
sitsapan Music Blog ดู Blog
ALDI Food Blog ดู Blog
สายหมอกและก้อนเมฆ Photo Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog

การเมืองเป็นเรื่องไกลตัวต้องเปลียนใหม่ได้แล้วล่ะเป็นว่าใกล้ตัวแทนดีกว่าฮับๆเอิ๊กๆๆ


โดย: มายะนา โปโย (Opey ) วันที่: 10 มีนาคม 2557 เวลา:5:42:55 น.  

 
กว่าจะถึงจุดสิ้นสลาย ก็กินเวลานานและสูญเสียกันอย่างนับไม่ถ้วนเลยนะคะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เนินน้ำ Food Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog


โดย: ปลาทอง9 วันที่: 10 มีนาคม 2557 เวลา:18:50:19 น.  

 
ชาติแต่ละชาติกว่าจะรวบรวมประเทศได้นี่ต้องเสียเลือดเสียเนื้อไม่ใช่น้อยเลยนะคะ โรมันก็มีประวัติอันยาวนานแต่ก็มีจุดจบและล่มสลายไป ใดๆในโลกล้วนอนิจจัง (เข้าธรรมะซะงั้น)


โดย: คนสวยที่ไม่เคยสวย วันที่: 10 มีนาคม 2557 เวลา:22:24:19 น.  

 
แวะมาเยี่ยมส่งกำลังใจค่ะท่านขุน

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ซองขาวเบอร์ 9 Home & Garden Blog ดู Blog
ญามี่ About Weblog ดู Blog
mambymam Music Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: jamaica วันที่: 10 มีนาคม 2557 เวลา:22:34:12 น.  

 
ขอใช้เวลาอ่านหลายวันหน่อยค่ะ น่าสนใจมาก
อ่านวันเดียวตาลาย อ่านหน้าลืมหลังค่ะ

โหวตไว้ก่อนนะคะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog


โดย: ALDI วันที่: 11 มีนาคม 2557 เวลา:4:24:54 น.  

 
อรุณสวัสดิ์เจ้าค่าท่านขุนเจ้าขา
วันนี้พามาเยี่ยมชมจักรวรรดิโรมันเหรอค่า

เด๋วตอนเย็นมาเก็บตกค่า อยู่ในความสนใจ แต่ช้าๆอ่านไม่ทัน 55

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: พริ้วไหวไปตามลม วันที่: 11 มีนาคม 2557 เวลา:6:11:31 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับท่านขุน

ถ้ามองถึงความยิ่งใหญ่ในอดีต
คงไม่มีใครเชื่อเลยนะครับ
ว่าอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ขนาดนี้
จะล่มสลายได้



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 11 มีนาคม 2557 เวลา:6:38:18 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับ

โหวต และไลค์ส่งกำลังใจไปให้ท่านขุนด้วยครับ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog


โดย: **mp5** วันที่: 11 มีนาคม 2557 เวลา:7:25:03 น.  

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog
สวัสดียามเช้าค่ะท่านขุน อ่านประวัติศาสตร์ทีไรหน้ามืดตาลายทุกที แหะๆ วิทยาศาสตร์สนุกกว่าเยอะเลยค่ะ

ท่านขุนก็อย่าลืมรักษาสุขภาพเหมือนกันนะคะ


โดย: ประกายพรึก วันที่: 11 มีนาคม 2557 เวลา:8:50:05 น.  

 
กว่าจะได้ดินแดนมาก็เสียเลือดเสียเนื้อกันไม่น้อยเลยนะคะ

ไล้ค์ไว้ก่อนค่ะท่านขุน
ไว้มาใหม่ค่ะ





โดย: mambymam วันที่: 11 มีนาคม 2557 เวลา:8:56:56 น.  

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog
.....................

เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา หน้าที่เรารักษาสืบไป...

จ๊าก ก ก ก
เพลง เราสู้ มาได้ไงเนี่ย


โดย: รู้นะว่าคิดถึง วันที่: 11 มีนาคม 2557 เวลา:9:48:44 น.  

 

Smileyกะจะวิ่งไปขอบคุณเพื่อนๆแต่เนทคุณท่านขุนอืดช้ามากๆ ดึก ง่วง ด้วย งั้นขอทักทายไว้ที่ตรงนี้ก่อนนะขอรับ ว่าขอบคุณทุกท่านที่เข้าเยี่ยม และโหวต เดี๋ยวท่านขุนฯจะค่อยเดินไปเยี่ยมขอรับ


โดย: ขุนเพชรขุนราม วันที่: 11 มีนาคม 2557 เวลา:10:12:26 น.  

 
แวะมาทักทายค่ะ

ที่เมืองไทยร้อนมากค่ะ กลางวันแดดจ้า แต่วานนี้ฝนตกตอนเย็นด้วยค่ะ อากาศชวนปวดหัวมากๆ

เรื่องที่ท่านขุนนำมาน่าสนใจมากค่ะ แต่ยาวจัง คงต้องใช้เวลาอ่านนานหน่อย

สุขกายสุขใจนะคะ


โดย: สมุดบันทึกสีเทา วันที่: 11 มีนาคม 2557 เวลา:15:08:31 น.  

 
ดีค่าท่านขุน วันนี้ทักทายแบบแนวๆหน่อยนะเจ้าคะ


โดย: ลั่นทมขาว วันที่: 11 มีนาคม 2557 เวลา:18:46:36 น.  

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog


มาส่งกำลังใจให้ท่านชขนฯคนขยันเหมือนเดิมค่ะ


โดย: ดอยสะเก็ด วันที่: 11 มีนาคม 2557 เวลา:19:07:01 น.  

 
ตั้งใจจะเข้ามาโหวตบล็อกเมื่อวาน
แต่ท่านขุนเปลี่ยนหน้าหลักซะแล้ว
เดี๋ยวจะลองหาดูและตามไปโหวตให้ค่ะ



โดย: ฝากเธอ วันที่: 11 มีนาคม 2557 เวลา:21:24:53 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ
โหวตให้ท่านขุนจ้า


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog



โดย: หอมกร วันที่: 11 มีนาคม 2557 เวลา:23:06:10 น.  

 
เรื่องการเมือง... อ
น่ากลัวจัง

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กะว่าก๋า Dharma Blog ดู Blog
Sweet_pills Food Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

newyorknurse


โดย: newyorknurse วันที่: 12 มีนาคม 2557 เวลา:3:12:45 น.  

 
ขุนเพชรขุนราม Political Blog ดู Blog

สุดยอดแห่งความรู้เลยคะ


โดย: au_jean วันที่: 12 มีนาคม 2557 เวลา:6:54:10 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับท่านขุน



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 12 มีนาคม 2557 เวลา:6:56:20 น.  

 


โดย: กะว่าก๋า วันที่: 12 มีนาคม 2557 เวลา:7:19:29 น.  

 
เพิ่งรู้ว่า จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ ก็คือเยอรมันในปัจจุบันอิอิ ลึกซึ้งๆ


โดย: มายะนา โปโย (Opey ) วันที่: 12 มีนาคม 2557 เวลา:8:32:35 น.  

 
สวัสดียามเช้าค่ะท่านขุน
ตอนนี้เพื่อนดีขึ้นมากแล้วค่ะ ภายนอกแทบจะสมบูรณ์ร้อยเปอเซ็น แต่กระดูกข้างในเห็นหมอบอกว่ายังต้องดูไปก่อน พรุ่งนี้ต้องไปหาหมอค่ะท่านขุน ก็ลางานกันไว้แล้ว เตรียมเดินทางไปหาหมอที่กรุงเทพฯ กันค่ะ เฮ้อ ไม่อยากนั่งรถเลย กลั๊วกลัว




โดย: ประกายพรึก วันที่: 12 มีนาคม 2557 เวลา:9:16:56 น.  

 
สวัสดีค่ะท่านขุน
ไอริสคล้ายกับพุทธรักษาจริงๆด้วยค่ะ
ดอกเค้าสวยมีเสน่ห์ดี ชอบมากเลย
กำลังเห่อค่ะตอนนี้
เห็นว่าเมืองนอกขึ้นเยอะจนกลายเป็นวัชพืช
อยากให้บ้านเราขึ้นแบบนั้นจัง

เอาไอริสมาฝากจองที่ไว้ก่อนนะคะ



ไว้ดึกๆย่องมาใหม่ค่ะ
ขอบคุณท่านขุนด้วยนะคะ




โดย: mambymam วันที่: 12 มีนาคม 2557 เวลา:12:03:45 น.  

 
สวัสดียามบ่ายค่ะท่านขุน

ทานข้าวแล้วมานั่งทำงานแอร์เย็นๆ รู้สึกตาเริ่มปรือแล้วค่ะ
แวะมาทักทาย ก่อนจะแอบไปเฝ้าพระอินทร์ค่ะ Zzzz
คร่อกก


โดย: คนสวยที่ไม่เคยสวย วันที่: 12 มีนาคม 2557 เวลา:13:33:20 น.  

 
มาแสดงความยินดีด้วยนะคะกับสายสะพายค่ะ ^^



โดย: มี๊เก๋&ซีทะเล (kae+aoe ) วันที่: 12 มีนาคม 2557 เวลา:15:42:19 น.  

 
ขอบคุณค่ะ ขอให้สมพรปากเถอะ เพี้ยง ขอให้เจอรถตู้ที่ขับดีที่สุดในโลก 55555


โดย: ประกายพรึก วันที่: 12 มีนาคม 2557 เวลา:16:26:20 น.  

 
แวะมาขอบคุณสำหรับโหวตที่บล็อกค่ะ

มีความสุขกับการทำงานและชีวิตในวันนี้นะคะ


โดย: ฝากเธอ วันที่: 12 มีนาคม 2557 เวลา:20:34:13 น.  

 


โดย: หอมกร วันที่: 12 มีนาคม 2557 เวลา:20:54:48 น.  

 
สวัสดีค่ะท่านขุน


โดย: au_jean วันที่: 13 มีนาคม 2557 เวลา:3:13:55 น.  

 
ตอนนี้นักท่องเที่ยวจีนในเชียงใหม่เยอะมากจริงๆค่ะ ปีที่แล้วก็ว่าเยอะแล้วนะคะ กลับไปเมื่อปลายปีนี้ยิ่งเยอะเป็นทวีคูณเลยค่ะ ดีๆก็มีแย่ๆก็เยอะ เกือบขับรถสอยคนจีนไปหลายรอบแล้วค่ะ เพราะเค้ายังติดนิสัยจะข้ามถนนตรงไหนก็ข้าม หรือขี่จักรยานรอบๆคูเมือง แล้วอยากจอดก็จอดเลย บางทีเราตกใจจนกระทืบเบรคแรงๆเลยก็มีค่ะ อันตรายมากๆ เลยไม่ค่อยกล้าขับรถแล้วเวลากลับบ้าน

แอ๊กอัพบล๊อกแล้วค่ะท่านขุน จะทำตั้งแต่วันก่อนนู้นแล้ว แต่เว็บที่ฝากรูปมีปัญหาค่ะ เลยดองไว้ให้ได้ที่ก่อน 555


โดย: ปลาทอง9 วันที่: 13 มีนาคม 2557 เวลา:3:22:54 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับท่านขุน



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 13 มีนาคม 2557 เวลา:6:42:26 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.