เว็บเพื่อการเลี้ยงลูก,เว็บท่องเที่ยววังน้ำเขียว,สื่อสุขภาพ,ครอบครัวการเลี้ยงลูก,ทิปคอมพิวเตอร์
Group Blog
 
<<
เมษายน 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
17 เมษายน 2556
 
All Blogs
 

เด็กเล็กทารกสำลักทำอย่างไรรวมถึงการป้องกันการสำลัก

ปัญหาการสำลัก จะพบบ่อยในเด็กที่อายุตั้งแต่ 6 เดือนถึง 3 ปี เพราะเป็นช่วงวัยที่เด็กได้รับอาหารเสริม ที่มีลักษณะแข็งมากขึ้น และเป็นวัยที่เด็กสามารถใช้นิ้วมือหยิบจับอาหาร สิ่งของเข้าปากได้เอง จึงมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการสำลักจากการนำสิ่งของเข้าปาก โดยเฉพาะช่วง 1 ขวบปีขึ้นไปที่สามารถเดิน วิ่งเล่น หรือกระโดดไปมาได้แล้ว ควรเริ่มฝึกให้เด็กสามารถนั่งกินข้าวได้เองที่โต๊ะอาหาร เพื่อเป็นการสอนให้เด็กรู้จักเวลากิน และลดปัญหาการสำลัก ส่วนกรณีที่เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 6 เดือนสำลัก โดยส่วนมากแล้วพบได้ไม่บ่อย เพราะหากพ่อแม่รู้จักวิธีการป้อนนมที่ถูกต้อง โอกาสที่ลูกจะสำลักนมก็มีน้อยลง แต่หากลูกมีอาการสำลัก แล้วไม่มั่นใจ ก็ควรปรึกษาแพทย์โดยทันที ขอแนะนำแม่มือใหม่ว่า ควรให้ลูกได้รับนมแม่ เพราะโอกาสที่ลูกจะสำลักจากการกินนมแม่นั้นมีน้อยมาก แต่หากจำเป็นต้องให้ลูกได้รับนมผสม ก็ควรให้นมอย่างถูกวิธี และระมัดระวัง ดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น พ่อแม่ที่ยังอ่อนประสบการณ์อาจตกใจกับอาการสำลัก จับเด็กขึ้นทันที ทำให้นมที่ไหลค้างอยู่ในปาก ไหลย้อนกลับไปที่หลอดลม ทำให้เด็กเกิดการสำลักได้ ดังนั้น คุณพ่อแม่คุณแม่ควรจับเด็กนอนตะแคง เพื่อให้นมที่ค้างอยู่ใหลออกมาให้หมดก่อน
เรื่องที่ควรให้ความสำคัญคือ การเลือกอาหารที่เหมาะสมกับวัย วิธีการป้อนอาหาร การเลือกของเล่นให้ลูก รวมถึงการดูแลและปฐมพยาบาลเด็กในเบื้องต้นได้อย่างถูกวิธี ก็เท่ากับเป็นการเฝ้าระวังความปลอดภัยให้ลูกน้อยของคุณ



สังเกตุได้อย่างไรว่ามีการสำลัก
• ระหว่างที่เด็กกินนม แรกๆ เด็กจะไอ มีอาการเหมือนกับจะขย้อนนมหรืออาหารออกมา หากสำลักไม่มาก ก็อาจไอเล็กน้อย 2-3 ครั้งแล้วก็หายไป
• หากสำลักมาก เด็กจะไอแรงถึงขนาดหน้าเขียว หรือมีเสียงหายใจผิดปกติ ดังครึดคราด
• กรณีที่มีอาหารอื่นเข้าไปร่วมด้วย เด็กอาจตัวเขียว มีอาการข้างเคียงตามมา เช่น ไอเรื้อรัง มีเสียงหายใจผิดปกติ ลักษณะแบบนี้ควรรีบพาลูกน้อยพบคุณหมอ
• บางครั้งการสำลักอาจไม่จำเป็นต้องสำลักขณะที่ลูกกินนม เนื่องจากขณะที่เด็กนอนหลับ หูรูดกระเพาะอาหารจะค่อยๆ ผ่อนคลายตัว ทำให้นมไหลย้อนกลับขึ้นมา

การสำลักของเหลวในเด็กเล็ก อาจไม่ร้ายแรงมากนัก หากให้นมและดูแลลูกอย่างถูกวิธี เพราะหากของเหลวเข้าไปถึงหลอดทางเดินอาหาร กลไกในร่างกายจะสามารถดูดกลืนได้เองตามปกติแต่หากเป็นการสำลักวัตถุแปลกปลอมที่หลุดเข้าไปในปาก เมื่อวัตถุไหลลงไปถึงหลอดลม ทำให้เกิดการอุดตันทางเดินหายใจ เด็กจะขาดออกซิเจน จนถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิต

ป้องกันการสำลักได้อย่างไร

1. ควรให้ลูกได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกที่สำคัญ ควรเริ่มต้นให้อาหารเสริมตามวัยที่เหมาะสม คือเมื่ออายุ 4-6 เดือนไปแล้ว เพราะทักษะการดูดกลืนของลูกทำงานได้ดีมากขึ้นกว่าช่วงแรกเกิด และสามารถชันคอตั้งตรงได้ดี โอกาสที่จะเกิดการสำลักก็มีน้อยลง
2. ของเล่นชิ้นเล็กชิ้นน้อย หรือของเล่นที่สามารถแตกหักออกได้ง่ายไม่ควรนำมาให้ลูกเล่น เช่น กระพรวน กระดิ่ง เหรียญ ลูกปัด
3. เลือกประเภทอาหารที่เหมาะกับวัย เช่น โดยทั่วไปเด็กที่อายุน้อยกว่า 3 ปี ไม่แนะนำให้กินถั่วเม็ดเล็ก ข้าวโพด เมล็ดทานตะวัน เพราะมีโอกาสที่เด็กจะเกิดการสำลักได้ง่าย แต่หากจะนำมาปรุงให้กับเด็กเล็กๆ ก็ควรบดหรือตัดให้ขนาดเล็กพอควร
4. จับลูกเรอทุกครั้งหลังที่กินนมเสร็จ

วิธีช่วยเหลือเบื้องต้น
• เด็กเล็ก (0-2 เดือน) ที่คอยังไม่แข็ง ควรใช้วิธีอุ้มลูกนั่งตัก ใช้มือประคองช่วงขากรรไกรเพื่อประคองศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างลูบหลังขึ้นเบาๆ
• สำหรับเด็กที่คอแข็งดีแล้ว อาจใช้วิธีทำอุ้มพาดบ่า ใช้มือประคองด้านหลัง ลูบขึ้นเบาๆ
• สำลักนม จับเด็กนอนตะแดง ให้ศีรษะเด็กต่ำลง เพื่อป้องกันไม่ให้นมหรืออาหารที่อาจมีอยู่ในปากไหลย้อนกลับไปที่ปอด ที่สำคัญ ไม่ควรจับเด็กอุ้มขึ้นทันทีเมื่อเกิดอาการสำลัก
• วิธีตบหลัง โดยจับเด็กนอนคว่ำให้ศีรษะต่ำลงบนแขน แล้วใช้ฝ่ามือตบกลางหลังบริเวณกระดูก ติดต่อกัน 5  ครั้ง และสังเกตสิ่งแปลกปลอมในปากเด็ก ถ้าเห็นสิ่งแปลกปลอมให้เอาออก ถ้าไม่เห็นให้ทำขั้นตอนต่อไป
• วิธีกระแทกหน้าอก โดยจับเด็กพลิกหงายขึ้นบนตัก ในท่าศีรษะต่ำใช้นิ้วมือ 2 นิ้วกระแทกแรงๆ ลงบนกระดูกหน้าอก เหนือลิ้นปี่ 5 ครั้ง แล้วสังเกตสิ่งแปลกปลอมในปากเด็ก ตบหลังและกระแทกหน้าอกครบทั้ง 5 ครั้ง ติดต่อกันจนกว่าจะเห็นสิ่งแปลกปลอม

สิ่งสำคัญในการช่วยเหลือเด็ก ที่สำลักวัตถุของแข็งคือ ไม่ควรรีบใช้มือหยิบจับ หรือดึงของออกมาจากปากเด็ก เพราะนิ้วมืออาจไปกดทับสิ่งของที่อยู่ด้านใน และทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นบวมขึ้นและบางครั้งอาจดันทำให้สิ่งแปลกปลอมนั้นอุดกั้นทางเดินหายใจมากขึ้น การช่วยเหลือในเบื้อต้นจะสามารถทำได้ ก็ต่อเมื่อคุณมั่นใจว่า มองเห็นวัตถุสิ่งแปลกปลอม แล้วเปิดปากเด็กหยิบวัตถุออกมา




 

Create Date : 17 เมษายน 2556
0 comments
Last Update : 17 เมษายน 2556 17:16:23 น.
Counter : 1945 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


fnhero125
Location :
นครราชสีมา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add fnhero125's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.