เว็บเพื่อการเลี้ยงลูก,เว็บท่องเที่ยววังน้ำเขียว,สื่อสุขภาพ,ครอบครัวการเลี้ยงลูก,ทิปคอมพิวเตอร์
Group Blog
 
<<
กันยายน 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
21 กันยายน 2555
 
All Blogs
 
อาการ การป้องกัน โรคปอดอักเสบหรือปอดบวมในเด็ก

โรคปอดอักเสบหรือปอดบวมในเด็ก(Childhoodpneumonia)

อาการของโรคปอดอักเสบหรือปอดบวมในเด็ก(Childhood pneumonia)

คือการอักเสบ ติดเชื้อของเนื้อปอดรวมทั้งหลอดลมและถุงลมทำให้ความสามารถในการทำงานของอวัยวะเหล่านี้ลดลงโดยโรคปอดบวมเป็นโรคที่พบได้ทั่วไปเกิดได้กับคนทุกวัยเป็นโรคที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วยที่รุนแรงบางครั้งอาจทำให้เกิดความพิการหรือทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ป่วยระยะสุดท้าย

สำหรับประเทศไทยพบว่าโรคปอดอักเสบเป็นโรคที่พบได้มากและยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศเพราะอัตราป่วยและอัตราตายสูงข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ.2542 – 2548 อัตราการเกิดโรคปอดอักเสบในเด็กไม่ได้ลดลงและอัตราตายในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีก็ไม่ได้ลดลงเท่าที่ควรเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว (อัตราการป่วยของโรคปอดอักเสบในเด็กอายุต่ำกว่า5 ปีคิดเป็นร้อยละ 6.2 ต่อปี) นอกจากนี้ผู้ป่วยที่รอดชีวิตอาจจะประสบกับภาวะแทรกซ้อนหากมิได้แก้ไขจะทำให้มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเด็กและก่อให้เกิดความพิการขึ้นได้โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปีมีอัตราตายสูงที่สุด

โรคปอดอักเสบเกิดจากอะไรและอย่างไร

สาเหตุของโรคนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเชื้อแบคทีเรียหรือทั้งเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียร่วมกัน ส่วนน้อยเกิดจากเชื้อราพยาธิหรืออาจเกิดจากการแพ้หรือการระคายเคืองต่อสารที่สูดดมเข้าไป

ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในเด็กส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสมักเกิดจากการสัมผัสละอองของน้ำมูกน้ำลายหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อส่วนใหญ่แล้วยังไม่มียาต้านไวรัสยกเว้นไวรัสไข้หวัดใหญ่ร่างกายกำจัดเชื้อไวรัสโดยสร้างภูมิต้านทานมาทำลายเชื้อไวรัสผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรงอาจดีขึ้นได้เอง และมีอัตราการเสียชีวิตต่ำ

ส่วนผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในเด็กที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียนั้นพบว่าเกิดจากการติดเชื้อนิวโมคอคคัสมากที่สุดเพราะเชื้อแบคทีเรียนี้อาจพบอยู่ในเยื่อบุโพรงจมูกลำคอของคนเรา เมื่อร่างกายอ่อนแอหรือเยื่อบุดังกล่าวถูกทำลายเชื้อนิวโมคอคคัสก็จะหลุดเข้าสู่ร่างกายหรืออาจเกิดจากการสูดสำลักเอาเชื้อก่อโรคที่อยู่บริเวณคอเข้าไปในหลอดลมส่วนปลายหรือถุงลมปอดถ้าจำนวนเชื้อที่สูดสำลักเข้าไปที่ถุงลมมมากเกินกว่าร่างกายจะกำจัดออกได้เชื้อเหล่านี้จะแบ่งตัวและก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบตามมาทำให้เนื้อปอดถูกทำลายการแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงทำให้ผู้ป่วยขาดออกซิเจนได้

เชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบเข้าสู่ร่างกายได้หลายวิธีเช่นการสูดหายใจเข้าไป การสำลัก การกระจายของเชื้อตามกระแสเลือดไปสู่ปอด ในภาวะปกติระบบหายใจในร่างกายจะมีกลไกในการป้องกันไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคเข้าสู่หลอดลมหรือถุงลมปอดโดยร่างกายมีจมูกเป็นอวัยวะในการกรองเชื้อโรคและฝุ่นละอองไม่ให้เข้าสู่ปอดและขับสิ่งต่างๆออกจากร่างกายโดยการไอนอกจากนี้ในถุงลมปอดยังมีกลวิธีในการกำจัดเชื้อหลายอย่างเช่นเชื้ออาจถูกกำจัดออกจากร่างกายโดยมีเม็ดเลือดขาวมากินเชื้อโรคหรือมีระบบภูมิคุ้มกันมาทำลายเชื้อโรคเมื่อความสมดุลระหว่างเชื้อก่อโรคและกลไกในการป้องกันเชื้อโรคของระบบหายใจเสียไปผู้ป่วยก็มีโอกาสเกิดโรคปอดอักเสบได้

ผู้ป่วยปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เชื้อลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ที่สำคัญได้แก่ สมองและกระแสเลือด เป็นต้น ทำให้มีโอกาสเสียชีวิตสูงขึ้น

โรคปอดอักเสบในเด็กมีลักษณะอาการอย่างไร

อาการของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละรายทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุอายุของผู้ป่วยและความรุนแรงของโรคส่วนอาการที่สำคัญของโรคปอดอักเสบในเด็กส่วนใหญ่ได้แก่ ไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อยในบางรายอาจมีอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง ได้แก่มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะกระสับกระส่าย ร้องกวนและงอแงผู้ป่วยบางรายจะมีหนาวสั่นได้

อาการในเด็กทารกส่วนมากจะไม่มีลักษณะเฉพาะผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้หรือไม่มีไข้ก็ได้อาจมีอาการซึม อาเจียนและไม่ยอมดูดนมหรือน้ำ

ผู้ป่วยปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสมักมีอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้นนำมาก่อนเช่น ไข้ น้ำมูกไอมีเสมหะ ต่อมาผู้ป่วยเริ่มมีอาการหายใจลำบาก หายใจเร็ว จมูกบานซี่โครงบานและตัวเขียวได้ ส่วนมากอาการไม่รุนแรงอาจดีขึ้นได้เองและมีอัตราการเสียชีวิตต่ำ

ผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียมักจะมีอาการที่เกิดขึ้นเฉียบพลันดูป่วยหนักไอมากและมีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วยได้

ผู้ป่วยเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดอักเสบ

เด็กที่อายุน้อย

เด็กที่มีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย เด็กคลอดก่อนกำหนด

เด็กที่มีภาวะทุโภชนาการ

เด็กที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคปอดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องโรคทางสมอง

เด็กที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำหรืออยู่ในชุมชนแออัดสุขาภิบาลไม่ดี

เด็กที่ได้รับควันบุหรี่จากบุคคลรอบข้าง

เด็กที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กที่มีเด็กมากๆ

การวินิจฉัยโรคปอดอักเสบในเด็ก

จากการซักถามประวัติอาการการตรวจร่างกายและการตรวจระบบทางเดินหายใจองค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ใช้อัตราการหายใจเป็นการประเมินผู้ป่วยที่มีประวัติไข้และไอเป็นอาการนำอัตราการหายใจเป็นตัวอาการบ่งชี้ที่มีความไวและมีความจำเพาะที่ดีที่สุดในการให้การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นปอดอักเสบในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า5 ปี

การรักษาโรคปอดอักเสบในเด็ก

ขึ้นกับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุอายุของผู้ป่วยและความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยปอดอักเสบและมีอาการไม่รุนแรงมาก เช่นมีไข้ ไอและหายใจเร็วไม่มากนัก แพทย์อาจจะให้การรักษาให้ยาปฏิชีวนะรับประทาน(ในกรณีที่สงสัยว่าปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย)และนัดผู้ป่วยมาดูเป็นระยะๆ ได้ ผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า5ปีมักได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของอาการความรุนแรงของภาวะขาดน้ำ ภาวะพร่องออกซิเจนและยังอาจพิจารณาให้สารน้ำทางหลอดเลือดโยดการให้ออกซิเจนแพทย์จะพิจารณาให้ออกซิเจนในผู้ป่วยที่เขียวหอบมาก ซึมกระวนกระวายไม่ยอมกินนมและน้ำหายใจเร็วมากกว่า 70 ครั้งต่อนาทีส่วนการให้น้ำและอาหารต้องให้พอเพียงกับความต้องการของผู้ป่วย ช่วยลดความเหนียวของเสมหะและสามารถขับเสมหะออกจากร่างกายโดยการไอได้ง่ายขึ้นลดการคั่งค้างของเสมหะที่อุดกั้นทางเดินหายใจในเด็กได้และยังเป็นการทดแทนการสูญเสียน้ำจากร่างกายผู้ป่วยซึ่งเกิดจากภาวะไข้สูงหายใจหอบเร็ว

ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุการเลือกยาในกลุ่มใดต้องพิจารณาถึงอายุของผู้ป่วย ประวัติการสัมผัสเชื้อ โอกาสที่เชื้อจะดื้อยาและอาศัยข้อมูลจากการซักถามประวัติอาการอื่นๆประกอบ

การรักษาอื่นๆ คือยาลดไข้การเคาะปอดเพื่อให้เสมหะออกได้ การให้ยาขยายหลอดลม ฯลฯ

ผู้ป่วยปอดอักเสบในเด็กที่มีอาการหนักต้องรับไว้ในโรงพยาบาล

ผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 6 เดือน

ผู้ป่วยที่มีอาการหอบมาก ต้องการออกซิเจน

ผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน

ผู้ป่วยที่กินยาแล้วไม่ได้ผล

ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

พ่อแม่ไม่แน่ใจว่าจะดูแลเด็กได้ดีพอหรือไม่

ทำอย่างไรจึงจะปกป้องลูกน้อยจากโรคปอดอักเสบได้

การเลี้ยงดูเด็กให้มีสุขภาพแข็งแรงและสร้างสุขอนามัยที่ดีด้วยการล้างมือเป็นประจำจะช่วยลดการติดเชื้อที่สัมผัสติดมากับมือได้หรือใส่หน้ากากอนามัยควรเลี่ยงการพาเด็กเล็กไปในที่ชุมชนและสถานที่แออัดเป็นเวลานานๆ โดยหากบุตรหลานของท่านมีอาการไข้ ไอหอบควรรีบพามาพบแพทย์โดยเร็วเพื่อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาเสริมภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนสำหรับป้องกันโรคปอดบวม(Hib vaccine, Pneumococcalvaccine) รวมทั้งวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenzavaccine)




Create Date : 21 กันยายน 2555
Last Update : 21 กันยายน 2555 13:36:26 น. 1 comments
Counter : 5143 Pageviews.

 
สวัสดีค่ะ ขอขอบคุณที่แวะไปอวยพรวันเกิด (ย้อนหลัง) ให้ค่ะ ไม่ค่อยได้มีเวลาเข้าบล้อก เลยเพิ่งได้แวะมาค่ะ

ขออวยพรให้มีแต่ความสุขเช่นกันนะคะ

ข้อความในบล้อก มีประโยชน์และให้ความรู้มากเลยค่ะ


โดย: น้อยค่ะ (GLA_GAW ) วันที่: 13 ตุลาคม 2555 เวลา:21:41:19 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

fnhero125
Location :
นครราชสีมา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add fnhero125's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.