bloggang.com mainmenu search

สารพิษใน "เครื่องประทินโฉม" กำลังทำร้ายคุณอยู่หรือเปล่า ?!? : ตอนที่ 1

โดย สิงห์สีชมพู


วันนี้ "สิงห์สีชมพู" จะพาไปดูผลงานการศึกษาที่ใกล้ตัวผู้หญิงทุกคน เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเครื่องสำอางและเครื่องประทินโฉม ที่เราใช้อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน จากหนังสือเล่มล่าสุดของ "ดอว์น เมลโลว์ชิป" นักข่าวแนวสืบสวนชื่อดังของอังกฤษ ที่ชื่อว่า "Toxic Beauty"

"เมลโลว์ชิป" ได้ทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย เกี่ยวกับ "สารเคมี" ที่มีอยู่ในของใช้ประจำวัน เช่น สบู่ แชมพูสระผม น้ำยาทาเล็บ หรือแม้กระทั้งยาสีฟัน ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของเราในด้านต่างๆ

เริ่มจากสารที่ชื่อว่า "โซเดียม ลอรัล ซัลเฟต" (Sodium lauryl sulphate) หรือที่เรียกย่อๆ ว่า "SLS" ซึ่งเป็นสารทำความสะอาด มักถูกนำไปใช้ในสินค้าประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นแชมพู สบู่ หรือยาสีฟัน สารชนิดนี้สามารถแทรกซึมลงไปในชั้นผิวได้ถึง 5 - 6 ม.ม. ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการแพ้ และเป็นการเพิ่มโอกาสให้สารอื่นๆ เช่น สารพิษ สามารถแทรกซึมเข้าไปได้ง่ายมากขึ้น

หนังสือระบุต่อว่า การแช่ตัวในอ่างอาบน้ำเป็นการเปิดโอกาสให้ "สารชำระล้าง" สัมผัสกับส่วนที่อ่อนโยนได้ง่ายมากชึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการกระเพาะปัสสาวะติดเชื้อ โดยเฉพาะในเด็กและทารก ทั้งนี้ ในสหรัฐสินค้าพวกโฟมอาบน้ำสำหรับเด็กจะมีการติดสลากเตือนพ่อแม่เกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน



สารตัวร้ายชนิดที่ 2 คือ สารฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde) ซึ่งมักถูกนำไปเป็นส่วนผสมของน้ำยาทาเล็บ สบู่และเครื่องสำอางทั่วไป นอกจากนี้ ยังพบในน้ำยาเคลือบเงาเฟอร์นิเจอร์อีกด้วย สารชนิดกำลังถูกสงสัยว่าเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง และมักทำให้ผิวหนังหรือดวงตาเกิดอาการแพ้

แม้ว่าสำนักงานอาหารและยาของสหรัฐ จะไม่ห้ามใช้ "ฟอร์มัลดีไฮด์" ในเครื่องสำอาง แต่สินค้าที่มีส่วนผสมของสารดังกล่าวมากกว่า 0.05 % จะต้องระบุไว้ในฉลากอย่างชัดเจน พร้อมกับข้อความเตือนระบุว่า "contains formaldehyde" จึงจะสามารถวางขายให้สหภาพยุโรปได้ ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่ง

และสารตัวร้ายชนิดสุดท้าย (สำหรับสัปดาห์นี้) ก็คือ "Mineral talc" ซึ่งแป้งฝุ่นทาลคัม (Talcum) มักมีส่วนผสมชนิดนี้มากกว่า 90 % และมักถูกนำไปใช้ผลิตเครื่องสำอางหลายชนิด เช่น อายแชโดว์ แป้งเด็กและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น เพราะมีคุณสมบัติเด่น ที่ช่วยให้ผลิตภัณฑ์ติดอยู่กับผิวหนังและมีความโปร่งแสง

สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐเห็นว่าเครื่องสำอางที่ถูกผลิตจาก "Mineral talc" มีความปลอดภัย แต่เมื่อปี 1993 หน่วยงานพิษวิทยาแห่งชาติของอังกฤษพบว่า หนูที่สัมผัสกับเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของ Mineral talc โดยการสูดดม กลายเป็นโรคปอด มะเร็งปอด และมะเร็งต่อมหมวกไตชนิดหายาก นอกจากนี้ จากการศึกษาเรื่องนี้พบว่า จะเป็นเพิ่มโอกาสเกิดโรคมะเร็งรังไข่ 30 - 60 % ในกลุ่มของผู้หญิงที่ใช้แป้งฝุ่นทาตัวที่ผสม Mineral talc เป็นประจำ

สารพิษในเครื่องสำอางยังไม่หมดเพียงเท่านี้ รอติดตามต่อในสัปดาห์หน้านะคะ ^____^


ขอขอบคุณ
ที่มา :
มติชนออนไลน์ วันที่ 07 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552



สารพิษใน "เครื่องประทินโฉม" กำลังทำร้ายคุณอยู่หรือเปล่า ?!? : ตอนที่ 2

โดย สิงห์สีชมพู


จากสัปดาห์ที่แล้ว "สิงห์สีชมพู" ได้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับสารพิษ 3 ประเภทในเครื่องสำอางและของใช้ประจำวัน ที่ควรระวังเป็นพิเศษ จากหนังสือดีๆ อย่าง "Toxic Beauty" ผลงานการเขียนและรวบรวมข้อมูลโดย "ดอว์น เมลโลว์ชิป" นักข่าวแนวสืบสวนชื่อดังของอังกฤษ

สัปดาห์นี้เราจะมาดูกันต่อว่ายังมีอะไรอีกที่เราควรรู้ไว้ เริ่มจากสารที่ชื่อว่า "Paraphenylenediamine" หรือที่เรียกย่อๆ ว่า "สารพีพีดี" มักมีอยู่ในน้ำยาย้อมสีผม สารดังกล่าวมีส่วนเชื่อมโยงกับโรคผิวหนังอักเสบ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคผิวหนังเรื้อรังตามมา น้ำยายอมผมที่มีสารพีพีดียังคงถูกใช้อย่างแพร่หลายในอังกฤษและสหรัฐ แต่ถูกห้ามใช้ในประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศสและสวีเดนมาหลายปีแล้ว เพราะ "สารพีพีดี" ไม่ควรสัมผัสกับผิวหนัง ไม่ว่าส่วนใด ขณะที่การย้อมผมต้อง เราต้องชโลมน้ำยาสัมผัสกับหนังศรีษะโดยตรง

แต่หากเรายังต้องการเปลี่ยนสีผม ก็ยังมีหนทางที่สามารถหลีกเลี่ยงสารชนิดนี้ได้ โดยหันไปใช้น้ำยายอมผมจากธรรมชาติ โดยเฉพาะประเภทที่ผลิตจาก "พืชผัก" น้ำยายอมผมที่ผลิตจากผัก จะสกัดสีต่างๆ มาจากผัก เช่น หญ้าฝรั่น คาโมไมล์ ใบเมอเทิลสีดำ หรือวอลนัทสีเขียว ส่วนน้ำยายอมผมประเภท "เฮนน่า "ก็ผลิตมาจากธรรมชาติ แต่สามารถให้สีที่คงทนกล่าว แถมยังพบคนที่มีอาการแพ้ต่อน้ำยาประเภทนี้ได้น้อยอีกด้วย



สารพิษตัวที่ 2 ของสัปดาห์นี้ ได้แก่ "พาราเบน" (paraben) ที่มันถูกใช้เป็นส่วนผสมในวัตถุกันเสียสำหรับอาหารและเครื่องสำอาง ถูกพบมากใน "ลูกกลิ้งระงับกลิ่นกายและเหงื่อ" เราจึงควรเลี่ยง "ลูกกลิ้งระงับกลิ่นกายและเหงื่อ" ที่มีส่วนผสมของสารชนิดนี้และ "อะลูมิเนียม" เพราะสารพิษทั้งคู่นี้ได้ถูกตรวจสอบมากหลายปีแล้ว เหตุจากมันสามารถแสดงคุณสมบัติได้คล้ายคลึงกับฮอร์โมน Oestrogen ในเพศหญิงจากการทดลองในสัตว์ และเป็นที่รับรู้กันดีว่า ฮอร์โมน Oestrogen มีส่วนสำคัญในก่อและทำให้โรคมะเร็งลุกลาม

เมื่อปี 2004 อาจารย์ด้านเนื้องอกวิทยา แห่งมหาวิทยาลับรีดดิ้ง ประเทศอังกฤษ ได้ทำการศึกษาพบ "พาราเบน" ในเนื้อเยื่อเต้านมของคน จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมนี้ต่อเนื่องเวลานาน

เมื่อเรารู้ถึงพิษภัยและอันตรายของสารพวกนี้ ก็ย่อมมองหาเครื่องสำอางและของใช้ที่ปลอดภัย แต่กลับต้องงงงวยหรือหลงกลคำศัพท์สวยหรู ที่ระบุไว้ในฉลากสินค้าจำนวนมาก เช่น คำว่า "ไฮโป - อัลเลอร์เจนิก" (HYPOALLERGENIC) ที่สื่อความหมายว่า "ทำให้เกิดการแพ้ได้น้อย" หรือ คำว่า "ได้รับการตรวจสอบจากแพทย์แล้ว" (DERMATOLOGIST TESTED)

แต่ในความเป็นจริง 2 คำนี้แทบจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่เราใช้อยู่เลยด้วยซ้ำไป เพราะสินค้าแทบทุกประเภทสามารถระบุว่าเป็น HYPOALLERGENIC โดยเมื่อปี 2007 นายเดวิด กาวกรอดเจอร์ อาจารย์แพทย์ แห่งมหาวิทยาลัยเชฟฟิล เปิดเผยว่า "การใช้คำว่า HYPOALLERGENIC ไม่มีกฎหมายควบคุมแต่อย่างใด ผมเห็นสินค้ามากมายไปหมดที่ทำให้เราเกิดอาการแพ้ได้ แต่กลับระบุว่า HYPOALLERGENIC"

ขณะที่ทำคำว่า DERMATOLOGIST TESTED ก็แทบจะไร้ความหมายเช่นกัน เพราะมันสามารถถูกอ้างได้จากคนเพียงไม่กี่คน ที่ระบุว่าใช้สินค้าดังกล่าวแล้วไม่เกิดอาการใดๆ ตามมา

"การทดสอบในกรณีนี้อาจไม่มีความเป็นวิทยาศาสตร์เท่าไหร่ และไม่มีอะไรที่สามารถการันตีได้ว่า สินค้านี้จะไม่ทำให้คนอื่นๆ แพ้ เพราะการจะแพ้หรือไม่แพ้ มันขึ้นอยู่กับตัวบุคคล"


ขอขอบคุณ
ที่มา :
มติชนออนไลน์ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552


สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์


H O M E

Create Date :12 ธันวาคม 2552 Last Update :12 ธันวาคม 2552 12:37:07 น. Counter : Pageviews. Comments :1