bloggang.com mainmenu search
คอลัมน์ ต้นไม้ยา

โดย ธงชัย เปาอินทร์00 //www.thongthailand.com


เห็นชื่อที่นักพฤกษศาสตร์ตั้งว่า ต้นตะลุมพุก ก็พอจะคาดเดาได้รางๆว่า ไม้ต้นนี้ต้องมีพลังอะไรสักอย่าง แต่ก็เดาไม่ออกหรอก ต้องค้นคว้า ได้เรื่องเลยครับ แก่นไม้ต้นนี้เป็นสมุนไพรที่นำมาต้มรวมกับแก่นมะคังแดง ออกผลสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ร้องอ๋อเลย

ตะลุมพุก มีชื่ออื่นๆ ที่เรียกกันอีกหลายชื่อ ในหลายท้องถิ่น การจดจำจึงต้องจำชื่อหลักและชื่อวิทยาศาสตร์เป็นสำคัญ มิเช่นนั้น ชื่อที่อาจพ้องกันก็อาจผิดชนิดไปเลย เช่นไม้ต้นนี้ที่ขอนแก่นกลายเป็นต้นยอป่าเป็นต้น ตะลุมพุกในภาคกลางและใต้ตะวันตกเรียกว่ามะคังขาว ภาคเหนือเรียกมอกน้ำข้าวหรือมะข้าว ต่ำลงมาที่อุตรดิตถ์เรียกมะคัง อีสานเรียก ลุบปุ๊ก แต่ที่ลพบุรีเรียก ลุมพุก มึนไหมครับ ข้างทางสายภูเรือ-ภูหลวงก็ใช่เลย มีลูกดก ต้นเป็นหนามๆ ไง?

ข้อมูลจำเพาะ

     ตะลุมพุก มีชื่อวิทยาศาสตร์ taminadia uliginosa (Retz) Triveng & Sastre อยู่ในวงศ์ RUBIACEAE พบทั่วไปในป่าเบญจพรรณใกล้น้ำ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 100-800 ม. ในต่างประเทศก็เช่นที่ลาว เวียดนาม พม่า กัมพูชา ฯลฯ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 5-10 ม. ตามต้นมีหนามแหลม ใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ๆ รูปไข่กลับ ดอก ออกเดี่ยวๆ ตามซอกใบ กลีบดอกสีขาวมีกลิ่นหอม 6 กลีบ ออกดอกช่วง กค-สค

ประโยชน์ ปลูกประดับดอกขาวใหญ่ หอม ส่วนเนื้อไม้ ใช้กลึง แกะสลัก หรือด้ามเครื่องมือต่างๆ ด้านสมุนไพร พบว่า รากและผล ใช้รักษาโรคบิด แก่นไม้ ต้มรวมกับแก่นมะคังแดง เป็นยาบำรุงกำลัง

ขอขอบคุณ
ที่มา :
มติชนรายวัน วันที่ 02 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 หน้า 23


H O M E

Create Date :10 พฤศจิกายน 2552 Last Update :5 กุมภาพันธ์ 2553 19:23:19 น. Counter : Pageviews. Comments :0