bloggang.com mainmenu search

มีเดียมอนิเตอร์ สรุปผลการศึกษาผลสำรวจปรากฎการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในเครือข่ายสังคมออนไลน์ พร้อมหยิบกรณี ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ค พันธิป และฟอร์เวิร์ลเมล มาเป็นแหล่งอ้างอิง...

วันนี้ (3 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม ร่วมกันจัดการประชุมเครือข่ายวิชาการ และวิชาชีพสื่อสารมวลชน 1/2553 สื่อในวิกฤตการเมือง:สะท้อนปรากฏการณ์หรือแสวงหาทางออก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดกระบวนการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์สะท้อนการทำบทบาทหน้าที่การทำงานของสื่ออย่างเป็นระบบภายใต้กรอบการทำงาน เชิงวิชาการ และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อย่างมุ่งหวังให้เกิดผลประโยชน์อย่างแท้จริงในการประกอบวิชาชีพด้านสื่อสาร มวลชน

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า งานนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรร่วมเสวนาหลายราย ประกอบด้วย นายภัทระ คำพิทักษ์ บรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ นางสาวนฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายมานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณะนิเทศน์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และนางสาวอัจฉริยา อักษรอินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันฝึกอบรมศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค (เคเทค อะคาเดมี่) โดยมี นางสาวรัฏฐา โกมลวาธิน พิธีกร สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย เป็นผู้ดำเนินรายการ

นายธาม เชื้อสถาปนศิริ ผู้จัดการกลุ่มงานวิชาการโครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม หรือ มีเดียมอนิแตอร์ กล่าวว่า มีเดียมอนิเตอร์ ได้ศึกษาปรากฏการณ์ความขัดแย้ง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจตรวจสอบปรากฏการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาของการชุมนุมระหว่างวันที่ 12 มี.ค.-30 พ.ค.2553 ด้วยวิธีการวิจัยเนื้อหาผ่าน 4 กลุ่มช่องทางสื่อใหม่อย่าง

1.เว็บเฟซบุ๊ค 2.ทวิตเตอร์ 3.เว็บบอร์ดพันธิป และ 4.การใช้ฟอเวิร์ดเมล์

ผู้จัดการฝ่ายวิชาการมีเดียมอนิเตอร์กล่าวต่อว่า ผลการศึกษาพบว่า การใช้พื้นที่สื่อออนไลน์ เพื่อการสื่อสารทางการเมืองในระดับกว้างคึกคัก และเข้มข้นแต่ค่อนข้างไปในลักษณะที่สร้างความแตกแยกมากกว่าความสมานฉันท์ และการใช้สื่ออนไลน์ เพื่อการสื่อสารความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างชนชั้นกลางและกลุ่มผู้ชุมนุม ระหว่างผู้สนับสนุนรัฐบาล และผู้ต่อต้าน แม้จะมีเหนือหาจากฝั่งกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง/นปช.บ้าง แต่ก็พบว่าค่อนข้างน้อย อาจมาจากสาเหตุที่รัฐควบคุมหรือ สั่งปิดเว็บที่มีเนื้อหาหมิ่นประมาท ปลุกระดมและหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและสะท้อนว่า ผู้คนที่ใช้สื่อออนไลน์ในเชิงสันติวิธีการหาทางออกและข้อเสนอแนะของวิกฤตปัญหาทางการเมืองนั้นยังอยู่ในระดับที่ไม่เข้มข้น แบ่งออกเป็น 5 ประเด็น ดังนี้

1.กลุ่มรณรงค์ทางการเมืองผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ค

จากการสำรวจพบ 1307 เว็บ แบ่งเป็น 19 กลุ่มวัตถุประสงค์มากที่สุด คือ

1.กลุ่มต่อต้านคนเสื้อแดง

2.กลุ่มรักในหลวง/รักสถาบัน

3.กลุ่มรักประเทศไทย

4.กลุ่มสนับสนุนแดง

5.กลุ่มสนับสนุนรับบาล

6.กลุ่มต่อต้านรัฐบาล

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า จำนวนกลุ่มรณรงค์ที่มีวัตถุประสงค์ต่อต้านคนกลุ่มเสื้อแดงมีสัดส่วนมากสุด 32% รักในหลวง/รักสถาบัน11%รักประเทศไทย 9% สนับสนุนรัฐบาล 6%ขณะที่กลุ่มรณรงค์ทางการเมืองที่สนับสนุนคนเสื้อแดงมีเพียง9% จากสนับสนุน เสื้อแดง และ 6%จากกลุ่มต่อต้านรัฐบาล รวมกันเป็น 15% เท่านั้น

แต่หากพิจารณาสำรวจจำนวนสมาชิกของแต่ละกลุ่มเฟซบุ๊ค 30 อันดับแรก พบว่ากลุ่มที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดคือ กลุ่มมั่นใจว่าคนไทยเกิน1 ล้านคนต่อต้านการยุบสภา(556,339 คนณวันที่ 30 พ.ค.53)

2.ผู้ทรงอิทธิพลข่าวสารทางการเมืองข้อมูลข่าวสารผ่านไมโครเว็บทวิตเตอร์ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ

1.เนื้อหาที่เน้นเผยแพร่ข่าวการเมือง

2.กลุ่มเนื้อหาที่เน้นวิพากวิจารณ์การเมืองแต่มีเนื้อหาด้านอื่นสอดแทรก

3.กลุ่มเนื้อหาที่เน้นข้อมุลการจราจร

4.กลุ่มเนื้อหาที่เน้นด้านธรรมะ และ

5.กลุ่มเนื้อหาที่เน้นพูดคุยทั่วไป อีกทั้ง ข้อมูลจากlab/thaitrend พบ 20 อันดับ ที่ถูกอ้างอิงมากที่สุดในทวิตเตอร์ เป็นนักข่าวทั้งหมด 9 คนจาก 10 คน สังกัด เครือเนชั่นมากสุดถึง 8 คน ที่เหลือเป็นบุคคลจากวงการต่างๆ เช่น ดารา นักร้อง นักเขียน เป็นต้น

สำหรับ 10 อันดับ ทวิตเตอร์ของบุคคลที่มีผู้ติดตามมากที่สุด

1.@suthichai/สุทธิชัย หยุ่น/บรรณาธิการเครือเนชั่น

2.@noppatjak/นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์/นักข่าวเนชั่นทีวี

3.@Nattha_tvthai

4.@Neaw_NBC/Neaw /นักข่าวเนชั่นทีวี

5.@jin_nation/somroutai /นักข่าวเนชั่นทีวี

6.@satien_nna/satien viriya /นักข่าวเนชั่นทีวี

7.@can_nw/แคน สาริกา/บก.เนชั่นสุดสัปดาห์

8.@paisalvision/ไพศาล พืชมงคล/บก.เว็บไซต์ส่วนตัว paisalvision.com

9.@warakorn_NBC/Warakorn Pinrarod/นักข่าวเนชั่นทีวี

10.@Cake_NBC/Phitchaphat /นักข่าวเนชั่นทีวี

และ

10 อันดับทวิตเตอร์ขององค์กรสื่อที่มีผู้ติดตามมากที่สุด ได้แก่

1.@js100radio/ศูนย์วิทยุ จส.100

2.@ktnews/ กรุงเทพธุรกิจ

3.@ThaiPBS/TVThai

4.@nnanews/nation news agency

5.@BBTVChannel7

6.@PostToday/ โพสต์ทูเดย์

7.@Thairath_News/ไทยรัฐ

8.@MatichonOnline/มติชน

9.@voice_tv/ VoiceTV InternetTV

10.@Thaipost/ ไทยโพสต์

3.กระบวนการทางการเมืองผ่านเว็บบอร์ดสาธารณะพันธิปดอทคอม เนื้อหาหลักของเว็บบอร์ดห้องราชดำเนิน แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

1.โจมตีวิพากษ์วิจารณ์ฝั่งตรงข้าม

2.แจ้งข่าวสารเหตุการณ์ทั่วไป

3.สื่อสารกันภายในกลุ่ม

4.เปิดโอกาสให้แสดงข้อมูลสืบค้น แสวงหาข้อเท็จจริงของเหตุการณ์

5.พูดคุย เสนอแนะทางออกอย่างสันติวิธี/รณรงค์สร้างความสมานฉันท์

ลักษณะภาษาที่พบในห้องราชดำเนินแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1.ภาษาที่ไม่เหมาะสมประชดประชัน เสียดสีฝ่ายตรงข้าม

2.ภาษาที่สุภาพ แสดงความเป็นกลาง ปลอดอคติ และ

3.ภาษาพูดทั่วไป

4.ฟอร์เวิร์ดเมล์ทางการเมือง จากการสำรวจจากการสุ่มศึกษา พบ 46 ฟอร์เวิร์ดที่มีการส่งกันระหว่างเหตุการณ์ชุมนุม โดยแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม เนื้อหามากที่สุด คือ

1.กลุ่มวาทกรรมความรู้ ความจริงการชุมนุม /ความขัดแย้งทางการเมืองพบ 13 อีเมลล์

2. กลุ่มวาทกรรมรักชื่นชมในหลวงและบุคคลอื่น พบ 9 อีเมล์

3. มี 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มวาทกรรมตลกล้อเลียน-และกลุ่มวาทกรรม ประณาม ประจาน เท่ากัน พบกลุ่มละ 8 อีเมล์

4.มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวาทกรรมล้มเจ้า และวาทกรรมโน้มน้าวรณรงค์ทางการเมือง เท่ากัน พบกลุ่มละ 4 อีเมลล์

5.การสื่อสารทางการเมืองในเครือข่ายสังคมออนไลน์ แตกแยก/สมานฉันท์ แบ่งการสื่อสามรออกเป็น 2 แบบ คือ

1.กลวิธีการสื่อสารเพื่อสร้างความแตกแยกทางการเมือง พบ 5 กลวิธี ดังนี้

1.การแบ่งแยก

2.การโต้แย้งโต้เถียงที่ดุเดือด

3.การตรวจสอบ สอดแนมพฤติกรรม เฝ้าระวัง พฤติกรรม เฝ้าระวังพฤติกรรม /ทัศนคติบุคคล- กลุ่มบุคคลที่อันตราย

4.การกล่าวหา ประณาม แฉ และชักชวนให้กีกกันทางสังคม

5.การสร้างความเกลียดชัง และการปฏิเสธ การอยู่ร่วมกัน และ

2.กลวิธีการสื่อสารเพื่อสร้างความสมานฉันท์ทางการเมือง พบ 5 กลวิธี ดังนี้

1.การรวมกลุ่ม

2.การแสดงความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์

3.การตรวจสอบเฝ้าระวัง การรายงานข่าวของสื่อ

4.กลุ่มสื่อสารตรวจสอบขุดคุ้ยนำเสนอข้อมูลความจริงและความรู้ที่ปราศจากอคติ

5.การสื่อสารวาทกรรมสันติภาพ การให้อภัย ความรักความสามัคคี

นายธาม กล่าวด้วยว่าการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะดังนี้

1.ความน่าเชื่อถือของข้อมูล

2.ความรวดเร็วของข้อมูล

3.การหมิ่นประมาทและการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

4.การแสดงความคิดเห็นบนพื้นที่สาธารณะ

5.การรับส่ง สร้าง เผยแพร่ข้อความ

6.อคติ ความเกลียดชัง ความรุนแรง

7.บทบาทสื่อใหม่ในการเสริมสร้างคุณภาพของความรู้ ความคิดเห็นเสรีที่หลากหลาย และการส่งเสริมการสร้างความสมานฉันท์ ปรองดอง วาทกรรมล้มเจ้า และวาทกรรมโน้มน้าวรณรงค์ทางการเมือง เท่ากัน พบกลุ่มละ 4 อีเมลล์

Credit : ไทยรัฐออนไลน์

สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์

H O M E
Create Date :14 มิถุนายน 2553 Last Update :14 มิถุนายน 2553 18:22:37 น. Counter : Pageviews. Comments :0