bloggang.com mainmenu search

พิธีโล้ชิงช้า
ที่มาแห่งพิธีโล้ชิงช้า
จากการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับพิธีโล้ชิงช้าในหนังสือ “ของดีกรุงเทพฯ" พบว่า พิธีนี้ถือเป็นพิธีกรรมวันปีใหม่แบบโบราณของพราหมณ์ในดินแดนชมพูทวีป โดยมีที่มาจากคัมภีร์เฉลิมไตรภพซึ่งบันทึกเอาไว้ว่า...

พระอุมาเทวีทรงมีความปริวิตกว่า โลกจะถึงกาลวิบัติ พระนางจึงทรงพนันกับพระอิศวรโดยให้พญานาคขึงตนระหว่าง “ต้นพุทรา” ที่แม่น้ำ แล้วให้พญานาคแกว่งไกวตัว โดยพระอิศวรทรงยืนขาเดียวในลักษณะไขว่ห้าง เมื่อพญานาคไกวตัว เท้าพระอิศวรนั้นไม่ตกลง แสดงว่า โลกที่ทรงสร้างนั้น มั่นคงแข็งแรง พระอิศวรจึงทรงชนะพนัน

ดังนั้น พิธีโล้ชิงช้าจึงเปรียบเสาชิงช้าเป็น “ต้นพุทรา” ช่วงระหว่างเสาคือ “แม่น้ำ” ส่วนนาลีวันผู้โล้ชิงช้าคือ “พญานาค” โดยมีพระยายืนชิงช้านั่งไขว่ห้างอยู่บนไม้เบญจมาศ

นอกจากนี้ ยังเชื่อกันว่าเป็นพิธีกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ โดยเชื่อกันว่าพระอิศวรจะเสด็จลงมาเยี่ยมโลกมนุษย์ ปีละครั้งในเดือนยี่ ครั้งหนึ่งกำหนด 10 วัน คือจะลงมาในวันขึ้น 7 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เสด็จขึ้นกลับ คณะพราหมณ์จึงได้จัดพิธีต้อนรับขึ้นในระยะเวลาดังกล่าว เพื่อความเป็นสวัสดิมงคลแก่พระนคร

สำหรับการประกอบพิธีโล้ชิงช้านั้น ถือได้ว่าเป็นพิธีการที่สนุกสนานครึกครื้น เริ่มด้วยการตั้งโรงราชพิธี จากนั้นให้พราหมณ์อันเชิญพระอิศวร ครั้งได้ฤกษ์ดี ทางราชการจะให้ขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ชั้นพระยาพานทองแต่งตัวโอ่โถงสมมุติเป็นพระอิศวร เรียกว่า พระยายืนชิงช้า เสร็จแล้วให้มีกระบวนแห่ไปที่เสาชิงช้า

เมื่อพระยายืนฯ ไปถึงเสาชิงช้าก็เข้าไปนั่งในโรงราชพิธี จากนั้นให้ผู้ที่จะโล้ชิงช้าขึ้นชิงช้าทีละ 4 คน(โล้ 3 กระดาน รวมเป็น 12 คน) โดยมีเชือกที่ถือยึดไว้แน่นทั้งสี่ด้าน สองคนหันหน้าเข้าหากัน พนมมืออยู่กลางกระดาน มือสอดเชือกไว้ อีกสองคนอยู่หัวท้ายมีเชือกจับมั่นคง ถีบโล้ชิงช้าเพื่อฉวยเงินรางวัล 1 ตำลึง

ส่วนการที่จะฉวยเอาเงินรางวัลได้นั้น คนที่อยู่หัวกระดานเป็นคนฉวย โดยเงินนั้นผูกแขวนไว้กับฉัตรสูงที่ปักไว้แล้วมีคันทวยยื่นออกไประยะห่างพอที่จะโล้ชิงช้ามาถึงได้ คนดูที่อยู่ข้างล่างก็ "ตีปีก" เชียร์กันอย่างสนุกสนาน

การโล้ชิงช้านี้สำคัญอยู่ที่คนท้าย คือจะต้องเล่นตลก คือพอคนหน้าจะคาบถุงเงิน คนท้ายจะทำกระดานโล้ ให้เบี่ยงไปเสียบ้าง ทำกระดานโล้ให้เลยถุงเงินเสียบ้าง จึงจะเรียกเสียงฮา จากคนดูได้
สำหรับเรื่องเล่าปากต่อปากว่า ถ้าใครโล้ชิงช้าแล้วตกลงมาจะถูก "ฝัง" ไว้ที่ใต้ชิงช้านั้น เรื่องนี้ไม่เคยปรากฏว่ามีการตกหรือได้ฝังใครเลย และไม่มีตำราเล่มไหนบอกไว้ทั้งนั้น คงเป็นเรื่องเข้าใจผิดๆ ติดมาจากการฝังหลักเมืองมากกว่า

การโล้ชิงช้านี้ ได้มีติดต่อกันมาหลายรัชกาล จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 7 จึงได้ยกเลิกประเพณีการโล้ชิงช้าไปเสีย และพิธีนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นอีกเลย ซึ่งล่าสุดเมื่อคราวเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 222 ปี ถึงได้รื้อฟื้นพิธีจำลองกลับขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

ประวัติการซ่อมบูรณะเสาชิงช้าที่สำคัญ

พ.ศ.2327 รัชกาลที่1 ก่อสร้างเสาชิงช้า
พ.ศ.2361 รัชกาลที่2 เกิดฟ้าผ่าบนยอดเสา แต่ไม่เสียหายมากนัก
พ.ศ.2463 รัชกาลที่6 เสาชิงช้าผุทั้งหมดจึงมีการเปลี่ยนเสาไม้ บริจาคไม้โดย บริษัท หลุย ที เลียวโนเวนส์
พ.ศ.2478 ได้มีการซ่อมกระจังเดิมที่ผุหัก และได้ใช้มาจนทุกวันนี้
พ.ศ.2490 เกิดไฟไหม้ที่โคนเสาแต่ได้มีการซ่อมประทังไว้
พ.ศ.2513 เสาชิงช้าผุชำรุดมาก จนต้องเปลี่ยนเสาโครงสร้างทั้งหมด


กำหนดการประกอบพิธีบวงสรวงถอดเปลี่ยนเสาชิงช้า
วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2549
ณ บริเวณเสาชิงช้า ลานคนเมือง และวัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร
________________________________________
เวลา 10.30 น. คณะกรรมการอำนวยการบูรณะเสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการ ประชาชน ผู้ร่วมงาน พร้อมกันที่ประรำพิธี ณ บริเวณเสาชิงช้า ลานคนเมือง
เวลา 10.50 น. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร พร้อมกัน ณ พระวิหารหลวง วัดสุทัศน์
เวลา 11.00 น. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
- ถวายภัตตาหารเพลพระสงฆ์ 16 รูป ณ พระวิหารหลวงวัดสุทัศน์
- พระสงฆ์อนุโมทนากรวดน้ำ
เวลา 12.30 น. - พระสงฆ์ คณะพราหมณ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แขกผู้มีเกียรติ และผู้ร่วมงาน พร้อมกันที่ประรำพิธี ณ ลานคนเมือง
- ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจุดธูปเทียนที่โต๊ะบวงสรวง
- พระราชครูวามเทพมุนึประกอบพิธีบูชาฤกษ์ บูชาครูอาจารย์ ขออนุญาตถอดกระจังเสาชิงช้า
- เจิมเครื่องมือช่าง
เวลา 12.50 น. - ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
- พระสงฆ์ให้ศีล รับศีล 16 รูป
- พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ พรมน้ำพระพุทธมนต์ ให้คณะช่างผู้ทำการถอดหมุดเหนือยอดกระจังเสาชิงช้า
เวลา 13.29 น. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพร้อมคณะกรรมการอำนวยการบูรณะเสาชิงช้า กรุงเทพมหานครถือสายสูตร
ซึ่งเชื่อมโยงมาจากยอดกระจังเสาชิงช้า คณะช่างทำการถอดหมุดเหนือยอดกระจังเสาชิงช้า
- ผู้ร่วมพิธีตั้งจิตอธิษฐาน ร่วมอนุโมทนาการถอดเปลี่ยนเสาชิงช้า
- พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา
- เจ้าหน้าที่ประโคมสังข์ ฆ้อง บัณเฑาะว์
- นำกระจังที่ถอดลงมาวางบนนั่งร้านที่จัดเตรียมไว้
- ถวายเครื่องไทยธรรม
- ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกรวดน้ำอุทิศกุศลถวายเทพเทวา ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ถวายครูอาจารย์
- เสร็จพิธี

จัดพิธีฉลองเสาชิงช้าใหม่ ในวันที่ 11-13 กันยายน พ.ศ.2550

คลิกที่รูปเพื่อดูรูปใหญ่








ฉลองเสาชิงช้า.....ฉันไม่ใช่เด็กเมืองหลวง.....แต่ก็อยู่เมืองกรุง........พรุ่งนี้วันสุดท้ายแล้วจ้า

     เสาชิงช้า เป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมอันงดงามที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของกรุงเทพมหานคร และโบราณสถานอยู่คู่เมืองมานานร่วม 2 ศตวรรษ กำลังเป็นที่สนใจอย่างมาก เมื่อกรุงเทพฯได้จัด "พิธีสมโภชน์ฉลองเสาชิงช้าใหม่" ในวันพุธที่ 12 กันยายน 2550 มาดูประวัติความเป็นมาก่อนค่ะ

สร้างในสมัย : 8 เมษายน 2327(ร.1)

เมื่อพูดถึงกรุงเทพมหานคร หรือ กรุงรัตนโกสินทร์ มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ คนไทยและชาวต่างชาติน่าจะนึกถึง โดยเฉพาะโบราณสถาน ไม่ว่าจะเป็น พระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว ฯลฯ
แต่มีอยู่สิ่งหนึ่ง ที่หลายคนอาจจะคุ้นเคยเป็นอย่างดี เมื่อนึกถึงกรุงเทพ นั่นก็คือ เสาชิงช้า

     ปฏิมากรรมยักษ์สีแดงก่ำ ที่ตั้งอยู่ ระหว่าง ศาลาว่าการกรุงเทพฯ และ วัด สุทัศน์เทพวรารามนั้น เราเรียกกันสั้นๆว่า เสาชิงช้า มากว่า 2 ศตวรรษ และ แม้ว่าในปัจจุบันเราจะได้เห็นแต่เสาแดงที่ตั้งสงบนิ่งโดยปราศจากกระดานหรือที่ยืนชิงช้า แต่ในอดีตนั้น ชิงช้ายักษ์นี้ เป็นที่ประกอบพระราชพิธีอันสำคัญ มาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 และ มาสิ้นสุดเอาในสมัย รัชกาลที่ 7 ก่อนจะเปลี่ยนแปลงการปกครอง จาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็น ประชาธิปไตย ได้เพียงปีเดียว

เป็นที่ทราบกันดีว่า ศาสนาฮินดูนั้นเป็น ศาสนาที่มีบทบาทในสังคมไทย เทียบคู่มากับ พุทธศาสนามาเนิ่นนาน เมื่อมาถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระองค์ทรงพระราชทานที่ให้กับเหล่านักบวชพราหมณ์ ในเขตพระนครที่ไม่ห่างจาก พระบรมมหาราชวังมากนัก นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงโปรดให้สร้าง เทวสถาน เพื่อให้เป็นที่สถิตย์ของเทพเจ้าฮินดู พร้อมทั้งเสาชิงช้ายักษ์ เหมือนกับ สมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ เหตุที่เชื่อกันว่า ควรมีการโล้ชิงช้านั้น สมเด็จพระกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงสันนิษฐานว่าน่าจะมีไว้แก้บน และการแก้บนนี้จะต้องทำต่อหน้ากษัตริย์ เนื่องจาก กษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ( ตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช) แต่เนื่องจากกษัตริย์เองก็มีพระราชกรณียกิจที่ต้องทำมาก จึงได้ทรงแต่งตั้งให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มาเป็นผู้แทนพระองค์ และตัวแทนที่ว่านี้เรียกว่า พระยายืนชิงช้า

พิธีกรรมอันน่าหวาดเสียวนี้มาสิ้นสุดลงเมื่อปีพ.ศ.2474 ในสมัยพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากเศรษฐกิจในสมัยนั้นตกต่ำถึงขีดสุด จำต้องมีการลดค่าใช้จ่ายลงไปเป็นอันมาก และพิธีนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นอีกเลย

ที่มา : //travel.sanook.com/bangkok/bangkok_06429.php

ภาพนี้แปลกนะคะ ..........ดูอึมครึม .........แต่ก็สวยไปอีกแบบ

     เสาชิงช้าเดิมทรุดโทรมมาก ฉันได้ดูรายการกบนอกกะลาเขานำเสนอวิธีการกว่าจะได้เสาชิงช้ามา ต้องใช้ไม้สักทองถึง 6 ต้น ต้องขนส่งด้วยความยากลำบาก ชาวบ้านในหมู่บ้านมีความภาคภูมิใจที่ทรัพยากรในท้องถิ่นของตนได้มีส่วนในสถานที่ทางประวัติศาสตร์นี้ ไม้สักทองนำมาจากจังหวัดแพร่ค่ะ





สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2549อธิบดีกรมป่าไม้ (นายฉัตรชัย รัตโนภาส) ได้สั่งการให้สถานีบำรุงพันธุ์ไม้สัก(สถานีวนวัฒนวิจัยงาว ในปัจจุบัน) จังหวัดลำปาง ทำการขยายพันธุ์ไม้สักมงคลทั้ง 6 ต้น ที่สำนักงานกรุงเทพมหานครจะตัดไปบูร-ณฏิสังขรณ์เสาชิงช้า ในท้องที่อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ซึ่งทางสถานี ฯ ได้ดำเนินการไปเก็บกิ่ง ตา มาทำการติดตา เก็บยอดไปฟอกฆ่าเชื้อ และขยายพันธุ์ในห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และได้เก็บเมล็ดจากไม้สักดังกล่าว ซึ่งมีเมล็ดเพียง 5 ต้น ไปเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2549 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มตัดต้นไม้ต้นแรก และสามารถทำการ ขยายพันธุ์ไม้สักทั้ง 6 ต้นได้ในระดับหนึ่ง มีรูปด้วย


คนที่ตัดไม้ทำลายป่าจะคิดได้แบบนี้ไหมหนอ................

เล่าเรื่องงานฉลองเสาชิงช้าใหม่ต่อดีกว่าจ๊ะ...................................

     งานฉลองเสาชิงช้าไม่ได้มีขึ้นบ่อยค่ะ ครั้งหนึ่งในชีวิตเราจะได้มีโอกาสเข้าร่วมงานสำคัญทางประวัติศาสตร์ งานฉลองเสาชิงช้า ได้จัดไปแล้วค่ะตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน พรุ่งนั้วันที่ 13 เป็นวันสุดท้ายนะคะ มีการแสดงมากมาย และมีนิทรรศการให้ชมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้วย เราเป็นคนไทยต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้อง เมื่อก่อนถ้ามีใครถามว่ารู้จักเสาชิงช้าไหม ฉันก็จะตอบว่ารู้จัก แล้วเสาชิงช้ามีความสำคัญอย่างไร ฉันก็จะตอบแบบไร้เดียงสาว่า.....เป็นฉากหลังของละครเรื่องเปรตวัดสุทัศน์ ดูน่าเอ็นดูถ้าตอบแบบนี้จริงๆ มาดูกันค่ะว่าที่ผ่านมามีกิจกกรรมอะไรบ้างในงานฉลองเสาชิงช้า

11 กันยายน วันสุกดิบ (ในนิทรรศการเขาเขียนแบบนี้จริงๆนะ)

เวลา 14.00 น. มีพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงการสถาปนาเมืองพี่เมืองน้องระหว่างกรุงเทพฯกับจังหวัดแพร่ ที่ได้มอบไม้สักทองทั้ง 6 ต้นให้มาบูรณสังขรณเสาชิงช้า จากนั้นมีพิธีมอบรางวัลผู้ชนะการประกวดภาพถ่าย "มหัศจรรย์เสาชิงช้า" ต่อด้วยการเปิดนิทรรศการฉลองเสาชิงช้าและการเปิดกิจกรรมทัศนศึกษารถรางชมเมือง ฉันชอบไปนั่งบ่อยๆเวลาว่างๆ ค่ารถ 50 บาทค่ะ ช่วงเย็นมีพิธีเจริญพุทธมนต์(สวดมนต์เย็น) และการแสดงประชันปี่พาทย์ซึ่งหาชมได้ยากมาก

12 กันยายน ฉลองเสาชิงช้า

ช่วงเช้ามีพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 81 รูป และการสวดชุมนุมเทวดา โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ทรงเสด็จพระราชดำเนิน มีกิจกรรมแสง สี เสียงและนิทรรศการประวัติเสาชิงช้า มหรสพเฉลิมฉลองและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย เช่น โขน ละคร ลิเก ลำตัด เป็นต้น

13 กันยายน ฉลองต่อเนื่อง

เป็นการเฉลิมฉลองต่อเนื่อง โดยมีการเสวนาเรื่องความสำคัญ ความเป็นมาของเสาชิงช้า ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ภาคเช้า และการมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดภาพถ่ายเสาชิงช้า รถรางนำเที่ยว และภาคค่ำมีการแสดงมหรสพเฉลิมฉลองอีก 1 วัน ชื่อ "เมดเลย์มหรสพกรุงรัตนโกสินทร์แรกสร้างกรุงเทพฯถึงปัจจุบัน" โดยมีการร้อยเรียงละครชาตรี ลิเก ปี่พาทย์ภาษา แตรวง และลูกทุ่ง โดยครูมืดจากกรมศิลปากร ต่อด้วยการแสดงหุ่นละครเล็กทั้ง 9 ชุด แสดงร่วมกับวงดุริยางค์ทหารบก จนถึงเวลาสี่ทุ่ม

kaekyo มีโอกาสไปร่วมงาน 2 วันแรกเพราะอาจารย์บังคับ แต่ก็เต็มใจนะคะ เป็นวิชาเรียนศิลปวัฒนธรรมเจ้าค่ะ

ถ้าเพื่อนๆพี่ๆมีโอกาสก็ไปกันให้ได้นะคะ วันสุดท้ายนี้เสียดายจริงเชียว ไม่ว่างไป ต้องเคลียร์งานนำเสนอและมีสอบด้วย....เศร้า....

ขอขอบคุณ
ที่มา : Blog คุณ kaekyo

H O M E
Create Date :15 กันยายน 2550 Last Update :23 พฤศจิกายน 2552 20:34:22 น. Counter : Pageviews. Comments :3