bloggang.com mainmenu search

คอลัมน์ เกร็ดความรู้

นอกจากเราจะเป็นหวัดแล้ว ยังสามารถแบ่งการเป็นหวัดร้อน หวัดเย็นได้อีกด้วย แพทย์จีนแผนโบราณคิดว่า ในร่างกายมนุษย์ต้องมีสมดุลของหยิน-หยาง ร้อน-เย็น ถ้าเสียสมดุลไปก็จะเกิดโรค กรณีของโรคหวัดแพทย์จีนจะมีทั้งหวัดร้อน และหวัดเย็น แยกตามอาการดังนี้

● ถ้ามีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล มีไข้ต่ำๆ เสมหะสีเหลืองข้น ปวดหัว ปัสสาวะมีสีเข้มกว่าปกติ หงุดหงิด ไม่สบาย ครั่นเนื้อครั่นตัว แสดงว่าเป็น "หวัดเย็น"

● ถ้าเป็นหวัดแล้วมีอาการหนาวสะท้าน ซึม อ่อนเพลีย มือเท้าเย็น น้ำมูกใส เสมหะใส ปัสสาวะมาก แสดงว่าเป็น "หวัดร้อน"

ลักษณะของอุจจาระก็บอกได้เช่นกันว่า เรามีอาการร้อนหรือเย็นมากเกินไป

● ถ้าอุจจาระเป็นก้อนแข็ง สีเข้ม กลิ่นเหม็นผิดปกติ แสดงว่ามีอาการร้อน

● ถ้าอุจจาระเหลว ท้องร่วง แสดงว่ามีอาการเย็น

เมื่อร่างกายป่วยจากการเสียสมดุลร้อน-เย็น ตามหลักแพทย์แผนจีนจึงปรับสมดุลคืนมาด้วยการทานอาหารที่มีฤทธิ์ตรงกันข้าม ส่วนวิธีดูว่าอาหารใดมีฤทธิ์ใด ให้สังเกตจากรสชาติ

● ถ้ากินผลไม้หรืออาหารชนิดใดมากๆ แล้วรู้สึกคอแห้ง เจ็บคอ ก็แสดงว่ามีฤทธิ์ร้อน

● ถ้ากินผลไม้หรืออาหารชนิดใดแล้วชุ่มคอ กินมากๆ ท้องอืดแน่นหน้าอก ก็แสดงว่าเป็นอาหารฤทธิ์เย็น

อาหารฤทธิ์เย็นอย่างมะระ ฟักเขียว บวบ ไชเท้า ผักกาดขาว หน่อไม้ ดอกไม้จีน รากบัว ผักบุ้ง มะเขือเทศ ขึ้นฉ่าย เห็ดหูหนู เห็ดฟาง ถั่วเขียว ทับทิม เก๊กฮวย ส้ม บัวบก ส้มโอ แตงโม สับปะรด อ้อย มะขาม มะละกอ สาลี่ แห้ว แอปเปิ้ล มังคุด หอย ปลาไหล

อาหารฤทธิ์ปานกลางมีข้าว ข้าวโพด เม็ดบัว น้ำผึ้ง

อาหารฤทธิ์ร้อนมีข้าวเหนียว หอม กระเทียม พริก พริกไทย ขิง ข่า กะเพรา โหระพา ตะไคร้ เงาะ ลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียน ขนุน

ที่มาสำนักหอสมุดกลาง ม.รามคำแหง

Credit : มติชนรายวัน วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2551 หน้า 24
Pic : www.jaitalksabout.blogspot.com

สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์

H O M E
Create Date :23 กันยายน 2553 Last Update :23 กันยายน 2553 15:10:34 น. Counter : Pageviews. Comments :0