bloggang.com mainmenu search

คอลัมน์ ประสานักดูนก

โดย น.สพ.ไชยยันตร์ เกษรดอกบัว fvetchk@ku.ac.th

"นกแต้วแล้วชนิดใหม่ของเมืองไทย เช่น "Fairy Pitta" จนบัดนี้ยังไม่มีชื่อเสียงเรียงนามแบบไทยๆ เลย"

แม้จะคิดว่าชื่อเป็นเพียงชื่อ หากในชื่อมีความหมายสื่อนัยยะได้ ก็เพราะชื่อ-สกุลมิใช่หรือที่มนุษย์เช่นเราอุตส่าห์คิดค้นชื่อขึ้นมาเรียก สิ่งหนึ่งสิ่งใด จึงบอกความแตกต่างของวัตถุสิ่งของได้ ยิ่งถ้าชื่อหนึ่งชื่อนั้นสามารถสื่อความชัดเจนย่อมควรคิดให้มีนัยยะเอื้อการ เรียนรู้และเป็นเอกลักษณ์ของสิ่งนั้น

ก่อนอื่นขอแจงสักนิดว่า "นกแต้วแล้ว" เขียนได้ 2 แบบ หนึ่งถือตามราชบัณฑิตยสถาน สะกดคำว่า แร้ว ด้วย ร เรือ คือ นกแต้วแร้ว

สองถือตามคู่มือนกเมืองไทยของ "คุณหมอบุญส่ง เลขะกุล บิดาแห่งวงการดูนกไทย" ใช้ ล ลิง ว่า นกแต้วแล้ว ดังนั้น จะอ้างอิงหรือใช้แบบใดก็ตามแต่อัธยาศัย

ส่วนเจ้าแต้วแล้วหน้าใหม่ไฉไลตัวนี้ นักดูนกบางคนเรียกตามๆ กันมาว่า "นกแต้วแล้วนางฟ้า" บ้าง "นกแต้วแล้วหลากสี" บ้าง

ชื่อแรกแปลอย่างถอดความ หรือโดยพยัญชนะจากชื่ออังกฤษ หากรอบคอบในการคิดแล้ว ออกจะเสี่ยงให้งุนงงต่อคนช่างสงสัยไม่น้อย

"นางฟ้า" ทั้งคำไทยและคำอังกฤษ มี "เพศ" ยิ่งใช้คำว่า "นาง" (แนมแบบเนียนๆ อีกว่าแต่งงานแล้ว ถ้าเป็นนกแต้วแล้วสาวๆ ล่ะ?) ติดตัวมาด้วย แล้วอย่างนี้ไม่ชวนให้คิดหรือว่า นกแต้วแล้วชนิดนี้มีเฉพาะเพศเมียหรือไง ถ้าเป็นเช่นนั้น ป่านนี้คงสูญพันธุ์หมดแล้วมั้ง จะเรียกนกตัวผู้ว่า "นกแต้วแล้วนายฟ้า" พ่อแต้วฯ คงทำตาปะหลับปะเหลือกน่าดูนิ (ฮา)

ส่วนชื่อสองว่า "หลากสี" ออกจะเก๋เท่ชวนให้จินตนาการ สื่อสีสันของนกแต้วแล้ว

"นับสีบนตัวนกกันจะพบว่านกแต้วแล้วชนิดนี้เหมือนถูกละเลงด้วยเบญจรงค์บวกหนึ่ง คือ สีดำ แดง ฟ้า เขียว น้ำตาลอ่อน และน้ำตาลเข้ม คลับคล้ายคลับคลากับนกแต้วแล้วอีกชนิดที่มองเผินๆ แล้วเหมือนกันอย่างแพะกับแกะ (แต่ก็ไม่ใช่อยู่ดี!) คือ "นกแต้วแล้วธรรมดา" (Blue-winged Pitta)"

ซึ่งสาเหตุที่ตั้งชื่อดาษๆ แบบนี้เพราะพบเห็นบ่อยสุดในบรรดานกแต้วแล้ว 13 ชนิดในบ้านเรา "ชื่อจึงสื่อนัยยะของความชุกในการพบเห็นนกในธรรมชาติ" ซึ่งเป็นหลักการตั้งชื่อนกประการหนึ่ง

นอกนั้นชื่อนกอาจ "สื่อลักษณะเด่นของ "ชุดขน"" เช่น "นกแต้วหูยาว นกแต้วแล้วลาย นกแต้วแล้วสีน้ำเงิน นกแต้วแล้วอกเขียว" และ "นกแต้วแล้วท้องดำ"

สื่อถึง ""รูปลักษณ์"" (jizz/gesture) เช่น นกแต้วแล้วยักษ์ ""ถิ่นอาศัยหรือพื้นที่การแพร่กระจายพันธุ์"" เช่น "นกแต้วแล้วป่าชายเลน"

หรือ ""เป็นเกียรติแด่บุคคล"" (Eponym) อาทิ นักปักษีวิทยา กษัตริย์และราชสกุล ลูกเมียของเพื่อนหรือแม้แต่นายธนาคารก็เคยมี เช่น "Gurney"s Pitta" หรือ "นกแต้วแล้วท้องดำ"

"บางชนิดสื่อนัยยะสองอย่างในชื่อเดียว" เช่น "นกแต้วแล้วเขียวเขมร นกแต้วแล้วแดงมลายู" บ่งบอกทั้งสีสันและถิ่นอาศัยด้วย (แม้อาจจะชี้นำให้เข้าใจผิดได้ว่านกอาศัยอยู่เฉพาะในเขมรและมลายูหรือ หากสื่อแนวคิดของคนตั้งชื่อว่ามองในมุมกว้างและห่างจากตัวตน เพราะในทางกลับกันก็ใช่ว่านกแต้วแล้ว 2 ชนิดนี้จะพบทั่วไปในบ้านเราหากจำกัดอยู่ตามแนวรอยต่อของประเทศข้างต้นเท่า นั้น)

หรือบ่งบอกสีสันและรูปลักษณ์ เช่น "นกแต้วแล้วใหญ่หัวสีน้ำเงิน" และ "นกแต้วแล้วใหญ่หัวสีน้ำตาล"

เมื่อมีคู่คล้ายชวนให้สับสน ระหว่าง "Fairy Pitta" และ "นกแต้วแล้วธรรมดา" ชื่อที่จะเรียกหากันในวงการดูนกควรสื่อนัยยะชี้ชัดความแตกต่าง ไม่คลุมเครือ ใช้เปรียบเทียบระหว่างคู่คล้ายให้ชัดเจนและง่ายต่อการจำแนกชนิด แง่มุมหลักอย่างหนึ่งของการดูนกอย่างสนุกสนานท้าทาย

"หากสังเกตภาพ ของนกแต้วแล้วสองชนิดนี้ที่หลากสีเหมือนกันไม่มีเพี้ยน จะเห็นความแตกต่างที่เด่นชัด 3 ประการ ได้แก่ คิ้ว ขนสีฟ้าหรือน้ำเงินบนปีก และสีน้ำตาลบนอกและท้อง"

คงต้องอดใจรอและร่วมลุ้นว่าบรรดากูรูในวง การปักษีวิทยาบ้านเรา ในนามคณะกรรมการพิจารณาข้อมูลนกว่าจะขนานนามนกแต้วแล้วนางฟ้าหน้าใหม่ตัวนี้ ว่าอะไรครับ

Credit : มติชนรายวัน วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 หน้า 21

สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์

H O M E
Create Date :19 สิงหาคม 2553 Last Update :19 สิงหาคม 2553 18:38:09 น. Counter : Pageviews. Comments :0