bloggang.com mainmenu search
คอลัมน์ มุมบริการ

หลายคนมีข้อสงสัยว่าหากประสงค์จะขอตรวจสอบข้อมูลรายการบุคคลในฐานข้อมูลของกรมการปกครอง ซึ่งเป็นข้อมูลทางทะเบียนราษฎร และข้อมูลรายการบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการติดตามตัวบุคคลเพื่อนำตัวมาดำเนินคดี หรือกรณีที่ติดตามหาบุคคลซึ่งเป็นญาติพี่น้อง เนื่องจากไม่สามารถติดต่อหาตัวโดยทางอื่นๆ ได้ จะสามารถทำได้หรือไม่ และหากทำได้จะต้องดำเนินการอย่างไร?

ข้อมูลทางทะเบียนราษฎรถือเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลซึ่งมี พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการและกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้การคุ้มครองไว้ การที่จะเปิดเผยข้อมูลต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายและระเบียบในเรื่อง นั้นๆ กำหนดไว้ หากเจ้าหน้าที่เปิดเผยข้อมูลโดยไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายและระเบียบกำหนดไว้ แล้วเจ้าหน้าที่ก็อาจถูกฟ้องร้องจากเจ้าของข้อมูล ซึ่งเป็นความผิดและต้องรับโทษตามกฎหมายได้

ข้อมูลที่มีความสำคัญและ มีผู้ขอตรวจสอบเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ขอตรวจและคัดสำเนารายการบัตรประจำตัวประชาชนของผู้อื่น สามารถกระทำได้ในหลักเกณฑ์ ดังนี้

1.ผู้ที่ยื่นคำร้องขอตรวจหรือคัดสำเนารายการบัตรประจำตัวประชาชนของผู้อื่น จะต้องเป็นผู้ที่มีประโยชน์ได้เสียกับบุคคลผู้เป็นเจ้าของรายการตามบัตรหมาย เลขที่ขอตรวจหรือคัดสำเนาโดยตรงเท่านั้น สำหรับกรณีขอตรวจหรือคัดสำเนารายการบัตรของตนเอง แต่ไม่สะดวกที่จะมาดำเนินการเองก็สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาดำเนินการแทน ได้

2.การขอตรวจหรือคัดสำเนารายการบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับคดีความ หากบุคคลผู้เป็นเจ้าของรายการตามบัตรหมายเลขที่ขอตรวจหรือคัดสำเนานั้นเป็น บุคคลอื่น ผู้ยื่นคำร้องต้องมีเอกสารที่เกี่ยวข้องกับคดีความมาแสดง เช่น สำเนาคำฟ้อง สำเนาหมาย สำเนาตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เป็นต้น หากไม่มีเอกสารดังกล่าวพนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะทำการสอบสวนและบันทึกถ้อยคำ ของผู้ยื่นคำร้องให้ปรากฏชัดถึงการเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และการขอตรวจหรือคัดสำเนารายการบัตรประจำตัวประชาชนของบุคคลอื่นนั้น จะนำไปใช้เพื่อประโยชน์แก่รูปคดีอย่างไร และหากผู้ยื่นคำร้องให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ก็จะมีความผิดทางอาญาฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานได้

กรณีที่ทนายความยื่นคำร้องขอคัดสำเนารายการบัตรประจำตัวประชาชนของบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ ลูกความของตน โดยอ้างว่าเจ้าของรายการบัตรที่ขอคัดสำเนานั้นเป็นคู่กรณีซึ่งกำลังรวบรวม หลักฐานก่อนยื่นฟ้องคดีโดยมีเพียงหลักฐานใบแต่งทนายความ บัตรประจำตัวผู้แต่งทนายความ และบัตรประจำตัวทนายความ เพียงเท่านี้ยังไม่เพียงพอจะพิจารณาความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพราะทนายความผู้ยื่นคำร้องมีฐานะเป็นเพียงตัวแทนของผู้แต่งทนายความเท่า นั้น

สำหรับผู้ที่ต้องการข้อมูลคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ ณ ที่ว่าการอำเภอ ทุกแห่งทั่วประเทศ

Credit : มติชนรายวัน วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2551

สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์

H O M E
Create Date :25 พฤษภาคม 2553 Last Update :25 พฤษภาคม 2553 17:12:26 น. Counter : Pageviews. Comments :8