Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2556
 
25 กรกฏาคม 2556
 
All Blogs
 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ .. อุปาทานสี่

.





ภิกษุ ท.!
อุปาทานมี ๔ อย่าง เหล่านี้. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ?
สี่อย่างคือ :-
๑. กามุปาทาน ความถือมั่นใน กาม
๒. ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นใน ทิฎฐิ
๓. สีลัพพตุปาทาน ความถือมั่นใน ศีลพรต
๔. อัตตวาทุปาทาน ความถือมั่นใน วาทะว่าตน.

ภิกษุ ท.!
เหล่านี้แล คือ อุปาทานสี่อย่าง.
.
.
.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๘๘/๓๓๗.

(คำอธิบายตามนัยแห่งคัมถีร์ธัมมังสังคณี อภิธัมมปิฎก ๓๔/๓๐๖/๗๘๐ มีดังนี้:-)

ธรรมทั้งหลายชื่อ อุปาทาน เป็นอย่างไร ?
อุปาทาน สี่ คือ ..
- กามุปาทาน
- ทิฏฐุปาทาน
- สีลัพพตุปาทาน
- และอัตตวาทุปาทาน.

ในอุปาทานสี่นั้น, กามุปาทาน เป็นอย่างไร ?
- กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
- กามราคะ (ความยินดีในกาม)
- กามนันทิ (ความเพลินในกาม)
- กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม)
- กามสิเนหะ (ความเยื่อใยในกาม)
- กามปริฬาหะ (ความเร่าร้อนในกาม)
- กามมุจฉา (ความสยบในกาม)
- กามัชโฌสานะ (ความเมาหมกในกาม)
ในกามทั้งหลายใด ๆ. นี้ เรียกว่า กามุปาทาน

ในอุปาทานสี่นั้น, ทิฏฐุปาทาน เป็นอย่างไร ?
- ของที่ให้แล้วไม่มี,
- ของที่บูชาแล้วไม่มี,
- ของที่บวงสรวงแล้วไม่มี,
- ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี,
- โลกนี้ไม่มี,
- โลกอื่นไม่มี,
- มารดาไม่มี,
- บิดาไม่มี,
- สัตว์ผู้โอปปาติกะไม่มี,
- เหล่าสมณพราหมณ์ผู้ไปถูก ปฏิบัติถูก คือผู้ที่ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วจึงประกาศให้รู้ ไม่มีในโลก

ความเห็นมีลักษณะดังกล่าวนี้ ใด ๆ ..
- เป็นทิฎฐิ,
- ไปแล้วด้วยทิฎฐิ,
- รกชัฏด้วยทิฏฐิ,
- กันดารด้วยทิฎฐิ,
- เป็นข้าศึกด้วยทิฏฐิ,
- โยกโคลงด้วยทิฎฐิ,
- รึงรัดไว้ด้วยทิฎฐิ,
- การจับ, การจับยึดไว้, การยึดถือไว้อย่างแน่นหนา,
- การลูบคลำ, มรรคที่ชั่วช้า, ทางที่ผิด, ความเป็นที่ผิด,
- การสืบต่อลัทธิที่ผิด, ถือการแสวงหาในด้านที่ผิด.

นี้ เรียกว่า ทิฎฐุปาทาน.

ยกเว้น สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทานเสียแล้ว แม้ทั้งหมด เป็นมิจฉาทิฎฐิสิ้น ชื่อทิฎฐุปาทาน.

ในอุปาทานสี่นั้น, สีลัพพตุปาทาน เป็นอย่างไร ?
- ความสะอาดด้วยศีล,
- ความสะอาดด้วยวัตร
- ความสะอาดด้วยศีลพรต ของเหล่าสมณพราหมณ์ ในภายนอกแต่
ศาสนานี้

ความเห็นมีลักษณะดังกล่าวนี้ใด ๆ ..
- เป็นทิฏฐิ,
- ไปแล้วด้วยทิฏฐิ,
- รกชัฎด้วยทิฎฐิ,
- กันดารด้วยทิฎฐิ,
- เป็นข้าศึกด้วยทิฏฐิ,
- โยกโคลงด้วยทิฏฐิ,
- รึงรัดไว้ด้วยทิฏฐิ,
- การจับ, การจับยึดไว้, การยึดถือเอไว้อย่างแน่นหนา,
- การลูบคลำ มรรคที่ชั่วช้า, ทางที่ผิด, ความเป็นที่ผิด,
- การสืบต่อลัทธิที่ผิด, ถือการแสวงหาในด้านที่ผิด.

นี้ เรียกว่า สีลัพพตุปาทาน.

ในอุปาทานสี่นั้น, อัตตวาทุปาทาน เป็นอย่างไร ?
บุถุชนผู้ไม่ได้ยินได้ฟังในโลกนี้ ..
- ไม่ได้เห็นเหล่าพระอริยเจ้า
- ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
- ไม่ถูกแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า,
- ไม่ได้เห็นเหล่าสัตบุรุษ
- ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
- ไม่ถูกแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ;
- ย่อมเห็นเนื่องอยู่เสมอซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ว่าเป็นอัตตาก็ดี,
- ย่อมเห็นเนื่องอยู่เสมอ ซึ่งอัตตา เป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณก็ดี,
- ย่อมเห็นเนื่องอยู่เสมอ ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ว่ามีอยู่ในอัตตาก็ดี,
- หรือว่า ย่อมเห็นเนื่องอยู่เสมอ ซึ่งอัตตาว่ามีอยู่ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณก็ดี.

ความเห็นมีลักษณะดังกล่าวนี้ใด ๆ ..
- เป็นทิฏฐิ,
- ไปแล้วด้วยทิฏฐิ,
- รกชัฏด้วยทิฏฐิ,
- กันดารด้วยทิฏฐิ,
- เป็นข้าศึกด้วยทิฏฐิ,
- โยกโคลงด้วยทิฏฐิ,
- รึงรัดไว้ด้วยทิฏฐิ,
- การจับ. การจับยึดไว้, การยึดถือเอาไว้อย่างแน่นหนา,
- การลูบคลำ, มรรคที่ชั่วช้า, ทางที่ผิด, ความเป็นที่ผิด,
- การสืบต่อลัทธิที่ผิด, ถือการแสวงหาในด้านที่ผิด.

นี้เรียกว่า อัตตวาทุปาทาน.

เหล่านี้ คือ ธรรมทั้งหลาย ชื่อ อุปาทาน.




 

Create Date : 25 กรกฎาคม 2556
0 comments
Last Update : 25 กรกฎาคม 2556 6:07:38 น.
Counter : 731 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.