Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
16 ตุลาคม 2558
 
All Blogs
 
อริยสัจจากพระโอษฐ์ .. ผู้เป็นเกพลีบุคคล ในพุทธศาสนา

ภิกษุ ท.!
ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะเจ็ดประการ (สตฺตฏฺฐานกุสโล) ผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธีสามประการ (ติวิธูปปริกฺขี) เราเรียกว่า เกพลี๑ อยู่จบกิจแห่งพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้.

ภิกษุ ท.!
ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะเจ็ดประการ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท .!
ภิกษุในกรณีนี้ย่อม ..
.. รู้ชัดซึ่งรูป
.. รู้ชัดซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป
.. รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งรูป
.. รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป
.. รู้ชัดซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) แห่งรูป
.. รู้ชัดซึ่งอาทีนวะ (โทษอันต่ำทราม) แห่งรูป
.. รู้ชัดซึ่งนิสสรณะ (อุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น) จากรูป (รวมเจ็ดประการ).

(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความ
อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูป ทุกประการ ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์ เท่านั้น).

ภิกษุ ท.!
รูปเป็นอย่างไรเล่า ?

.. มหาภูตรูปสี่อย่างด้วย รูปที่อาศัยมหาภูตรูปสี่อย่างด้วย : นี้เราเรียกว่ารูป ;
.. การเกิดขึ้นแห่งรูป ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร;
.. ความดับไม่เหลือแห่งรูป ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งอาหาร ;
.. มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเองเป็น ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ..

1.. ความเห็นชอบ
2.. ความดำริชอบ
3.. การพูดจาชอบ
4.. การทำการงานชอบ
5.. การเลี้ยงชีวิตชอบ
6.. ความพยายามชอบ
7.. ความระลึกชอบ
8.. ความตั้งใจมั่นชอบ ;

สุขโสมนัสที่อาศัยรูปเกิดขึ้น อันใดๆ, นี้เป็น อัสสาทะแห่งรูป; ข้อที่รูป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา อันใด, นี้ เป็น อาทีนวะแห่งรูป;

การนำออกเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ กล่าวคือการละเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูป อันใด, นี้เป็น นิสสรณะเครื่องออกจากรูป
(รวมเป็นสิ่งที่ต้องรู้ชัดเจ็ดอย่าง).

ภิกษุ ท.!
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งรูปว่า ..
.. อย่างนี้ คือรูป,
.. อย่างนี้ คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป,
.. อย่างนี้ คือความดับไม่เหลือแห่งรูป,
.. อย่างนี้ คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป,
.. อย่างนี้คืออัสสาทะแห่งรูป,
.. อย่างนี้ คืออาทีนวะแห่งรูป,
.. อย่างนี้ คือนิสสรณะแห่งรูป,

ดังนี้แล้ว เป็น ผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งรูป; สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว. บุคคลเหล่าใด เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว, บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าหยั่งในธรรมวินัยนี้.

ภิกษุ ท.!
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งรูปว่า ..
.. อย่างนี้ คือรูป,
.. อย่างนี้ คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป,
.. อย่างนี้ คือความดับไม่เหลือแห่งรูป,
.. อย่างนี้ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป,
.. อย่างนี้คืออัสสาทะแห่งรูป,
.. อย่างนี้ คืออาทีนวะแห่งรูป,
.. อย่างนี้ คือนิสสรณะแห่งรูป,

ดังนี้แล้ว เป็นผู้ พ้นวิเศษแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือ เพราะความไม่ยึดมั่น ซึ่งรูป.

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี (สุวิมุตฺตา).

บุคคลเหล่าใด เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี, บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นเกพลี. บุคคลเหล่าใด เป็นเกพลี, วัฏฏะของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติ.

ภิกษุ ท.!
เวทนา เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท.!
หมู่แห่งเวทนาหกหมู่เหล่านี้ คือ ..
.. จักขุสัมผัสสชาเวทนา
.. โสตสัมผัสสชาเวทนา
.. ฆานสัมผัสสชาเวทนา
.. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา
.. กายสัมผัสสชาเวทนา
.. มโนสัมผัสสชาเวทนา :

นี้เราเรียกว่าเวทนา ; การเกิดขึ้นแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะ ..
.. ความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ;
.. ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ;
.. มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐ นั่นเอง เป็น ข้อปฏิบัติให้ถึงความ
ดับไม่เหลือแห่งเวทนา, ....ฯลฯ ....

[ข้อความต่อไปนี้ มีเนื้อความอย่างเดียวกับในกรณีแห่งรูป ต่างกันแต่เพียงว่านี้เป็นกรณีแห่งเวทนาเท่านั้น ไปจนถึงคำ ว่า .... สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้วิเศษแล้วด้วยดี (สุวิมุตฺตา.) ].

บุคคลเหล่าใด เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี, บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นเกพลี บุคคลเหล่าใดเป็นเกพลี, วัฏฏะของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติ.

ภิกษุ ท.!
สัญญา เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท.!
หมู่แห่งสัญญา
หกหมู่เหล่านี้ คือ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมม
สัญญา : นี้เราเรียกว่าสัญญา ;

.. ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ
.. เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ; ความดับไม่เหลือแห่งสัญญา ย่อมมี
.. เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐ นั่น
เอง เป็น ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสัญญา, .... ฯลฯ ....

[ข้อความต่อไปนี้ มีเนื้อความอย่างเดียวกับในกรณีแห่งรูป ต่างกันแต่เพียงว่านี้เป็นกรณีแห่งสัญญา เท่านั้นไปจนถึงคำ ว่า .... สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี(สุวิมุตฺตา).].

บุคคลเหล่าใด เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี, บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นเกพลี. บุคคลเหล่าใด เป็นเกพลี, วัฏฏะของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติ.

ภิกษุ ท.!
สังขาร ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
หมู่แห่งเจตนาหกหมู่เหล่านี้ คือ รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนาโผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา : นี้เราเรียกว่า สังขารทั้งหลาย; ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ; ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็น ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร, .... ฯลฯ ....

[ข้อความต่อไปนี้ มีเนื้อความอย่างเดียวกับในกรณีแห่งรูปต่างกันแต่เพียงว่านี้เป็นกรณีแห่งสังขารเท่านั้น ไปจนถึงคำว่า ....สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี (สุวิมุตฺตา).].

บุคคลเหล่าใด เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี, บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นเกพลี, บุคคลเหล่าใด เป็นเกพลี, วัฏฏะของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติ.

ภิกษุ ท.!
วิญญาณเป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท .!
หมู่แห่งวิญญาณหกหมู่เหล่านี้ คือจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณกายวิญญาณ มโนวิญญาณ : นี้เราเรียกว่าวิญญาณ; ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป: ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ย่อมมี
เพราะความดับไม่เหลือแห่งนามรูป ; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐ
นั่นเอง เป็น ข้อป ฏิบัติให้ถึงความดับ ไม่เห ลือแห่งวิญ ญ าณ ,.... ฯลฯ ...

[ข้อความต่อไปนี้ มีเนื้อความอย่างเดียวกับในกรณีแห่งรูป ต่างกันแต่เพียงว่านี้เป็นกรณีแห่งวิญ ญ าณ เท่านั้น ไปจนถึงคำ ว่า ....สมณ ะหรือพราหมณ ์เหล่านั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี(สุวิมุตฺตา).].

บุคคลเหล่าใด เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี, บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นเกพลี. บุคคลเหล่าใด เป็นเกพลี, วัฏฏะของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติ.

ภิกษุ ท !
ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะเจ็ดประการ (สตตฏฐานกุสโล) ด้วยอาการอย่างนี้ แล

ภิกษุ ท.!
ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธีสามประการ(ติวิธูปปริกฺขี) นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.!
ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็น ธาตุ; ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็น อายตนะ; ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็น ปฏิจจสมุปบาท.

ภิกษุ ท.!
ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธีสามประการ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.

ภิกษุ ท.!
ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะเจ็ดประการด้วย เป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธีสามประการด้วย เราเรียกว่า เกพลี อยู่จบกิจแห่งพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้, ดังนี้แล.
.
.
.
ขนฺธ.สํ. ๑๗/๗๖-๘๐/๑๑๘-๑๒๔.









๑. คำ ว่า "เกพลี" ไม่เป็นที่แจ่มแจ้งแก่นักศึกษาแห่งยุคปัจจุบัน มักจะแปลกันว่า ผู้บริบูรณ์ด้วยคุณ ทั้งปวง ข้าพเจ้าเข้าใจว่า เป็นคำ ใช้เรียกพระอรหันต์ ในความหมายที่ว่า เข้าถึงธรรมอันเป็นไกวัลย์ ในระดับเดียวกันกับปรมาตมันของฝ่ายฮินดู เป็นคำสาธารณะที่ใช้ร่วมกันทุกลัทธิแห่งยุคนั้น เช่นเดียว กับคำ ว่า อรหันต์ นั่นเอง จึงควรใช้ทับศัพท์ว่าเกพลี ไม่ควรแปล จนกว่าจะกลายเป็นคำ ที่รู้กันทั่วไป. ควรจะยุติเป็นอย่างไร ของท่านผู้รู้จงวินิจฉัยดูเองเถิด. - ผู้รวบรวม.


Create Date : 16 ตุลาคม 2558
Last Update : 16 ตุลาคม 2558 7:01:52 น. 0 comments
Counter : 2729 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.