Group Blog
 
<<
มกราคม 2556
 
3 มกราคม 2556
 
All Blogs
 
อริยสัจจากพระโอษฐ์ .. ผู้ไม่รู้อริยสัจ ชื่อว่าตกอยู่ในหลุมเพลิงเป็นนิจ

.





ภิกษุ ท. !
บุคคลเหล่าใด จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ ก็ตาม เมื่อไม่รู้อยู่ตามเป็นจริง ว่า ..
- นี้เป็นทุกข์,
- นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์,
- นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์,
- และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์;
ดังนี้,

เขาเหล่านั้น ย่อมยินดี ต่อสิ่งอันเป็นปัจจัยปรุงแต่ง ที่เป็นไปพร้อมเพื่อความเกิดเป็นต้น, เขาผู้ยินดีแล้ว ย่อมก่อสร้างปัจจัยนั้น ๆ ขึ้น (เพื่อตัวเอง), ครั้นก่อสร้างแล้ว ก็เร่าร้อนอยู่ เพราะความแผดเผา ของ ..
- ความเกิด
- ความแก่
- ความตาย
- ความโศก
- ความร่ำไรรำพัน
- ความทุกข์กาย
- ความทุกข์ใจ
- และความคับใจ.


(หมายเหตุ จขบ.

ความหมายในพระพุทธวจนะที่ยกมาชัดเจนมากในแง่ที่ว่า .. บุคคลที่ไม่รู้ในอริยสัจจ์สี่ แล้วย่อม ยินดีต่อสิ่งอันเป็นปัจจัยปรุงแต่ง .. เสมอไป

และอำนาจแห่งการปรุงแต่งนี้ ก็คืออำนาจแห่งสังขาร .. ย่อมเกิดขึ้นรุนแรงด้วยปัจจัยคืออวิชชาที่ท่วมท้นอยู่ในจิตวิญญาณอย่างยากที่จะต่อต้าน ยากที่จะหยุดยั้ง

ทีนี้เมื่อยินดีต่อสิ่งอันเป็นปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ก็ย่อมก่อสร้าง "ปัจจัยที่เป็นไปพร้อมเพื่อความเกิด" .. ภาษาตรงนี้อาจเข้าใจยากอยู่บ้าง ..

โลกทุกประการที่เกิดขึ้นใน"จิตที่ปราศจากความรู้ในอริยะสัจจ์ - คือจิตที่กอปรด้วยอวิชชา" ล้วนเกิดจากอำนาจแห่งการปรุงแต่งของสังขาร ผ่านทางทวารทั้ง 6 คือ

ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย จิตใจ ..
ที่กระทบกับ ..
รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสลูบไล้ เรื่องราว ..

แล้วทำให้รู้สึกในรสของอารมณ์ - feeling .. ภาวะนี้เองที่ภาษาพระ เรียกว่า "เวทนา"

เวทนา หรือความรู้สึกในรสของอารมณ์นี้ ก็เป็นปัจจัยให้เกิด ความทะยานอยาก, ความดิ้นรน, ความปรารถนา, ความเสน่หา ที่เรียกว่า "ตัณหา" ซึ่งมีสามประการคือ ..

- อยากได้ อยากครอบครองใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่น่ารักน่าใคร่ .. เช่น iPhone5, รถเบนซ์สปอร์ต, ดาราสาวสวย นางแบบหุ่นดี, บ้านริมทะเลแสนสวย, กระเป๋า รองเท้า ferragomo ฯลฯ

- อยากเป็นนั่น เป็นนี่ .. เช่น นายกรัฐมนตรี, CEO ปตท., นักบินอวกาศ, นักกอล์ฟอันดับ 1 ของโลก, นางงามจักรวาล, นักร้องยอดนิยมของโลก ฯลฯ

- ไม่อยากเป็นนั่น เป็นนี่ ผลักไส ต่อต้าน อยากตายเสีย อยากขาดสูญ อยากพรากพ้น เช่น .. ไม่อยากให้หุ้นตกจนตัวเองเจ๊ง, ไม่อยากเป็นคนที่พิกลพิการ, ไม่อยากเป็นชายที่หมดสมรรถภาพทางเพศ, ไม่อยากเป็นคนที่ถูกประนาม ประจาน, ไม่อยากเวียนว่ายตายเกิดอีก ฯลฯ

ตัวความอยากนี่หากเกิดขึ้นจนรุนแรงก็ย่อมสร้างความยึดมั่น ถือมั่น จนตั้งเป็นพฤติกรรมเตรียมพร้อมเพื่อนำจิตวิญญาณไปสู่การกระทำ หรือ ภาวะเร่าร้อนทางใจ จนเดือดดิ้นอยู่ในอกเพื่อรองรับการกระทำให้ได้มา ภาษาพระเรียกว่า "อุปาทาน"

ตัว อุปาทาน นี่เองที่จะสร้างทุกประการขึ้นมา (ผู้สร้าง - creator) ดังพระพุทธวจนะ ข้างบน .. สิ่งที่สร้าง จับยึด ยึดมั่น ถือมั่น วางไม่ลงนั้น ก็คือ "ตัวตนของผู้สร้าง - อัตตา (สมมุติ) "

แล้วก็กอดรัดฟัดเหวี่ยงเอากับ .. บรรดานี้
- ความเกิด
- ความแก่
- ความตาย
- ความโศก
- ความร่ำไรรำพัน
- ความทุกข์กาย
- ความทุกข์ใจ
- และความคับใจ.

ดังนั้น ความชัดเจนที่ว่าคือ เรื่อง ความเกิด ความแก่ ความตาย มันเกิดจาก ตัวตน-อัตตา จากอุปาทาน ที่เสพอารมณ์แล้ว อยากจนตัวสั่น !

ตัวสั่นด้วย เรื่องโน้น เรื่องนี้ เรื่องนั้น ทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางผิวกายบ้าง ทางจิตใจบ้าง ..

ที่พระพุทธองค์สอน .. ไม่เกี่ยว กับการเกิดจากท้องแม่ แก่หนังเหี่ยว ตายเข้าโลง เลย .. เพราะมันไม่ใช่ปัญหาตราบใดที่ไม่เกิด อุปาทาน เข้าไปกอดรักฟัดเหวี่ยงกับมัน ..

แต่มันจะเกิดเมื่อมองเห็นหนังหน้าเหี่ยว .. แล้วกลุ้มใจ ต้องไปดึง !
แต่มันจะเกิดเมื่อมองขาตัวเองที่แม่ให้มาแล้วรู้สึกว่า มันสั้นไปหน่อย .. มันโตไปหน่อย ไม่เรียวงามเหมือนนางแบบพวกนั้นเลย !
)


ภิกษุ ท. !
บุคคลเหล่านั้น เรากล่าว่า เขาไม่พ้นไปจากทุกข์ คือความเกิดเป็นต้น ไปได้เลย.

ภิกษุ ท. !
ส่วนบุคคลเหล่าใด จะเป็นสมณะหรือพรามหมณ์ ก็ตามเมื่อรู้ชัดตามเป็นจริงว่า ..
- นี้เป็นทุกข์,
- นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์.
- นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,
- และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
ดังนี้;

บุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่ยินดี ต่อสิ่งอันเป็นปัจจัยปรุงแต่ง ที่เป็นไปพร้อมเพื่อความเกิดเป็นต้น, เขาผู้ไม่ยินดีแล้ว ย่อมไม่ก่อสร้างปัจจัยนั้น ๆ ขึ้น (เพื่อตัวเอง), ครั้นไม่ก่อสร้างแล้ว ก็ไม่เร่าร้อนอยู่ เพราะความแผดเผาของ ..
- ความเกิด
- ความแก่
- ความตาย
- ความโศก
- ความร่ำไรรำพัน
- ความทุกข์กาย
- ความทุกข์ใจ
- และความคับแค้นใจ.

บุคคลเหล่านั้น ย่อมหลุดพ้นไปจากความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ.

เรากล่าวว่า เขาหลุดพ้นไปได้จากทุกข์ ดังนี้

ภิกษุ ท. !
เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า ..
- ทุกข์ เป็นอย่างนี้,
- เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
- ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
- ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้.
ดังนี้.
.
.
.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๖๓/๑๗๓๓-๑๗๓๔


Create Date : 03 มกราคม 2556
Last Update : 3 มกราคม 2556 6:28:38 น. 1 comments
Counter : 1223 Pageviews.

 

สวัสดีปีใหม่ 2013 จ้า.....

Image by สุขภาพสุขภาพช่องปากliveประเพณีไทยตรวจหวย



โดย: konseo วันที่: 3 มกราคม 2556 เวลา:15:34:44 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.