Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2558
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
13 สิงหาคม 2558
 
All Blogs
 
อริยสัจจากพระโอษฐ์ .. พระโสดาบันเป็นใครกัน ?

สารีบตร !
ที่มักกล่าวกันว่า 'โสดาบัน -โสดาบัน ดังนี้เป็นอย่างไรเล่า สารีบุตร ?

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
ท่านผู้ใด เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์แปดนี้อยู่ ผู้เช่านั้นแล ข้าพระองค์เรียกว่าเป็นพระโสดาบัน ผู้มีชื่ออย่างนี้ ๆ มีโคตรอย่างนี้ ๆ พระเจ้าข้า !"

สารีบุตร !
ถูกแล้ว ถูกแล้ว ผู้ที่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์แปดนี้อยู่ ถึงเราเองก็เรียกผู้เช่นนั้น ว่าเป็น พระโสดาบัน ผู้มีชื่ออย่างนี้ ๆมีโคตรอย่างนี้ ๆ.
.
.
.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๓๕/๑๔๓๒-๑๔๓๓.



(อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท.!
สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยธรรม ๔ ประการนี้เอง จึงเป็น พระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดาเที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า.

ธรรม๔ ประการนั้นเป็นอย่างไร ?
สี่ประการนั้นคือ :-

(๑) ภิกษุ ท.!
สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วย ความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในองค์พระพุทธเจ้า ว่าเพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและข้อปฏิบัติให้ถึงวิชชา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกคนควรฝึกอย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้.

(๒) ภิกษุ ท.!
สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วย ความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในองค์พระธรรม ว่าพระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว, เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าทานจงมาดูเถิด, เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว, เป็นสิ่งที่ผู้รู้ ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.

(๓) ภิกษุ ท.!
สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วย ความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์ว่าสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วเป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้วเป็นผู้ปฏิบัติให้รู้ธรรมเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว อันได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ. นั่นแหละคือสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนับ เป็นสงฆ์ควรรับทักษิณ าทาน เป็นสงฆ์ที่
บุคคลทั่วไปจะพึงทำอัญชลี เป็นสงฆ์ที่เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ดังนี้.

(๔) ภิกษุ ท.! สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วย ศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจของเหล่าอริยเจ้า : เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหา เป็นศีลที่ผู้รู้ท่านสรรเสริญ เป็นศีลที่ทิฏฐิไม่ลูบคลำ และเป็นศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ ดังนี้.

ภิกษุ ท.!
สาวกของพระอริยเจ้า ผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า.เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธวจนะดังนี้แล้ว ได้ตรัสเป็นคำร้อยกรองสืบต่อไปว่า :-

ท่านผู้ใดแล มีศรัทธา มีศีล มีความเลื่อมใส ทั้งมีการได้เห็นธรรมด้วย, ท่านผู้นั้นแหละเว้ย ที่จักเป็นผู้ได้รับความสุขอันหยั่งลงสู่พรหมจรรย์ ในกาลอันควรแล!
.
.
.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๙-๔๓๐/๑๔๑๔-๑๔๑๕.



(อีกนัยหนึ่ง)

อย่ากลัวเลย มหานาม !
อย่ากลัวเลย มหานาม !
ความตายของท่าน จักไม่ต่ำทราม กาลกิริยาของท่านจักไม่ต่ำทราม .

มหานาม !
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้มีปกติน้อมไปในนิพพานโน้มไปสู่นิพพาน เอนไปทางนิพพานโดยแท้.

ธรรมสี่ประการ อย่างไรเล่า ?
ธรรมสี่ประการคือ :-

มหานาม !
อริยสาวกในกรณีนี้

(๑) เป็นผู้ ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ว่า "เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและข้อปฏิบัติให้ถึงวิชชา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกคนควรฝึกอย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำ เริญจำ แนกธรรมสั่งสอนสัตว์" ดังนี้.

(๒) เป็นผู้ ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระธรรม ว่า "พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัวเป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน" ดังนี้.

(๓) เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ว่า "สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติให้รู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว อันได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษนั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์ควรรับทักษิณาทานเป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปจะพึงทำ อัญ ชลี เป็นสงฆ์ที่เป็นนาบุญ ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า" ดังนี้.

(๔) เป็นผู้ ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจของเหล่าพระอริยเจ้า : เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหา เป็นศีลที่ผู้รู้ท่านสรรเสริญ เป็นศีลที่ทิฏฐิไม่ลูบคลำ และเป็นศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ ดังนี้.

มหานาม !
เปรียบเหมือนต้นไม้น้อมไปในทิศปราจีน โน้มไปสู่ทิศปราจีน เอนไปทางทิศปราจีน. ต้นไม้นั้น เมื่อเขาตัดที่โคนแล้ว มันจะล้มไปทางไหน ?

"มักจะล้มไปทางทิศที่มันน้อมไปโน้มไป เอนไป พระเจ้าข้า !"

มหานาม !
ฉันใดก็ฉันนั้น : อริยสาวกประกอบแล้วด้วยธรรมสี่ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นผู้มีปกติน้อมไปในนิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน เอนไปทางนิพพานโดยแท้ แล.
.
.
.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๖๕-๔๖๖/๑๕๑๑-๑๕๑๒.



(อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท.!
สิกขาบทร้อยห้าสิบสิกขาบทนี้ ย่อมมาสู่อุทเทส (การยกขึ้นแสดงในท่ามกลางสงฆ์) ทุกกึ่งแห่งเดือนตามลำดับ อันกุลบุตรผู้ปรารถนาประโยชน์พากันศึกษาอยู่ในสิกขาบทเหล่านั้น.

ภิกษุ ท.!
สิกขาสามอย่างเหล่านี้มีอยู่ อันเป็นที่ประชุมลงของสิกขาบททั้งปวงนั้น.

สิกขาสามอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า?

คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา.

ภิกษุ ท.!
เหล่านี้แล สิกขาสามอย่าง อันเป็นที่ประชุมลงแห่งสิกขาบททั้งปวงนั้น.

ภิกษุ ท.!
ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำพอประมาณในสมาธิ ทำพอประมาณในปัญญา. เธอยังล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้างและต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านั้นบ้าง.

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใด ๆ กล่าวความอาภัพต่อการบรรลุโลกุตตรธรรม จักเกิดขึ้น
เพราะเหตุสักว่า การล่วงสิกขาบทเล็กน้อยและการต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านี้. ส่วน สิกขาบทเหล่าใด ที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ที่เหมาะสมแก่พรหมจรรย์, เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคง ในสิกขาบทเหล่านั้นสมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.

ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นรอบแห่งสังโยชน์สาม เป็นโสดาบัน เป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า.
.
.
.
ติก. อํ. ๒๐/๒๙๗/๕๒๖.

(ดูรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่อง พระโสดาบัน ได้อีก ที่หัวข้อว่า "เปรียบเทียบพระเสขะ-อเสขะ" หน้า ๕๖๐ แห่งหนังสือเล่มนี้).



Create Date : 13 สิงหาคม 2558
Last Update : 13 สิงหาคม 2558 7:17:23 น. 0 comments
Counter : 807 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.